330 likes | 838 Vues
ตลาด ความหมายและการแบ่งตลาด. ความหมายของตลาด. ตลาด หมายถึง การที่ผู้ซื้อและผู้ขายสามารถติดต่อตกลงซื้อขายกันได้ โดยที่ผู้ซื้อและผู้ขายอาจมีโอกาสพบกันหรือไม่ก็ตาม ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดตลาด คือ ผู้ซื้อและผู้ขายมีความต้องการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการซึ่งกันและกัน
E N D
ตลาดความหมายและการแบ่งตลาดตลาดความหมายและการแบ่งตลาด
ความหมายของตลาด ตลาด หมายถึง การที่ผู้ซื้อและผู้ขายสามารถติดต่อตกลงซื้อขายกันได้ โดยที่ผู้ซื้อและผู้ขายอาจมีโอกาสพบกันหรือไม่ก็ตาม • ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดตลาด คือ ผู้ซื้อและผู้ขายมีความต้องการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการซึ่งกันและกัน • สินค้าที่ซื้อขายกัน มีทั้งสินค้าที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้ เช่น บริการการท่องเที่ยว เป็นต้น • ตลาดอาจมีขอบเขตตั้งแต่ระดับชุมชน ท้องถิ่น ประเทศ และระหว่างประเทศ
การแบ่งตลาด • วัตถุประสงค์ในการใช้สินค้า • ตลาดสินค้าผู้บริโภค และตลาดสินค้าผู้ผลิต • ลักษณะของตัวสินค้า • ตลาดสินค้าเกษตรกรรม และตลาดสินค้าอุตสาหกรรม • ลักษณะการแข่งขัน • ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ (perfect market) และตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์ (imperfect market)
1. ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ (Prefect Competition) ลักษณะของตลาด อุปสงค์ รายรับเฉลี่ย และรายรับหน่วยสุดท้าย ปริมาณการผลิตที่เหมาะสมที่สุด กำไรหรือขาดทุนของหน่วยธุรกิจ ดุลยภาพในระยะสั้นของหน่วยธุรกิจและอุตสาหกรรม ดุลยภาพในระยะยาวของหน่วยธุรกิจและอุตสาหกรรม
ลักษณะของตลาดแข่งขันสมบูรณ์ลักษณะของตลาดแข่งขันสมบูรณ์ • มีผู้ซื้อและผู้ขายสินค้าจำนวนมาก • สินค้ามีลักษณะเหมือนกันทุกประการ • ผู้ซื้อและผู้ขายมีความรู้เรื่องตลาดอย่างสมบูรณ์ • สามารถเคลื่อนย้ายปัจจัยในการผลิต และสินค้าเข้าออกจากตลาดได้โดยเสรี
อุปสงค์ของหน่วยธุรกิจอุปสงค์ของหน่วยธุรกิจ • ลักษณะเส้นอุปสงค์ หรือเส้นราคาจะเป็นเส้นที่ขนานกับแกนนอนและมีความยืดหยุ่นอย่างสมบูรณ์ อุปสงค์ของหน่วยธุรกิจ อุปสงค์และอุปทานของตลาด P P S P* D=AR=MR P* D Q Q Q*
รายรับเฉลี่ย (Average Revenue : AR) • รายรับเฉลี่ย หมายถึง รายรับต่อหน่วยที่ผู้ขายได้รับจากการขายสินค้า แต่ละหน่วย • รายรับเฉลี่ย เท่ากับ รายรับทั้งหมดหารด้วยจำนวนสินค้าที่ขายได้ AR = TR/Q AR = (P x Q)/Q AR= P • เส้นรายรับเฉลี่ยเป็นเส้นเดียวกับเส้นอุปสงค์ของหน่วยธุรกิจ
รายรับหน่วยสุดท้าย (Marginal Revenue : MR) • รายรับหน่วยสุดท้าย หมายถึง รายรับทั้งหมดที่เปลี่ยนแปลงไป เมื่อหน่วยธุรกิจเปลี่ยนแปลงปริมาณการขายสินค้าไป 1 หน่วย MR = TRn – TRn-1 MR = ΔTR/ ΔQ MR = (P x ΔQ) / ΔQ MR = P • เส้นรายรับหน่วยสุดท้ายเป็นเส้นเดียวกับเส้นรายรับเฉลี่ย และเส้นอุปสงค์ของหน่วยธุรกิจด้วย
ปริมาณการผลิตที่เหมาะสมที่สุดปริมาณการผลิตที่เหมาะสมที่สุด • เป้าหมายของหน่วยธุรกิจ คือ การแสวงหากำไรสูงสุดหรือขาดทุนน้อยที่สุด โดยการปรับปริมาณการผลิตให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เผชิญอยู่ • ปริมาณการผลิตดุลยภาพของหน่วยธุรกิจ(optimum output) คือ ปริมาณการผลิตที่ไม่สามารถเพิ่มกำไรได้อีก หรือกรณีขาดทุนก็เป็นปริมาณการผลิตที่ทำให้ขาดทุนน้อยที่สุด ไม่สามารถลดการขาดทุนได้อีก
จุดผลิตที่เหมาะสมที่สุด พิจารณาโดยใช้ Marginal Concept • พิจารณาจากต้นทุนส่วนเพิ่มและรายรับส่วนเพิ่ม • ปริมาณการผลิตที่เหมาะสมที่สุด • MC =MR ในช่วงที่ MC กำลังเพิ่มขึ้น • กำไรสูงสุด • ปริมาณการผลิตที่น้อยกว่า Q3 : การขยายการผลิตจะทำให้มีรายรับเพิ่มขึ้น • ปริมาณการผลิตที่มากกว่า Q3 : การลดการผลิตจะทำให้ขาดทุนลดลง C&R MC C A S E P D=AR=MR R Q Q1 Q2 Q3
ความแตกต่างระหว่าง TR และTC จะสามารถใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจกำหนดปริมาณผลผลิต เพื่อให้ได้กำไรสูงสุดในระยะสั้นได้ = TR – TC Slope TR = MR Slope TC = MC จากรูป สูงสุดเมื่อ Slope TR = Slope TC MR =MC จุดผลิตที่เหมาะสมที่สุด พิจารณาโดยใช้ Total Concept TC R,C TR Q Q1 Q2 - TFC
ความแตกต่างระหว่าง TR และTC จะสามารถใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจกำหนดปริมาณผลผลิต เพื่อให้ขาดทุนต่ำสุดในระยะสั้นได้ = TR – TC Slope TR = MR Slope TC = MC จากรูปจะขาดทุนต่ำสุดเมื่อ Slope TR = Slope TC MR =MC จุดผลิตที่เหมาะสมที่สุด พิจารณาโดยใช้ Total Concept (ต่อ) R,C TC TR Q* Q - TFC
กำไรหรือขาดทุนของหน่วยธุรกิจกำไรหรือขาดทุนของหน่วยธุรกิจ • กำไรปกติ: กำไรตามเป้าหมายที่หน่วยธุรกิจกำหนดซึ่งจะไม่ต่ำกว่ากำไรที่หน่วยธุรกิจสามารถหาได้จากทางอื่น • กำไรเกินปกติ: กำไรที่เกินกว่าเป้าหมายที่หน่วยธุรกิจกำหนด • ขาดทุน: กำไรที่ต่ำกว่าเป้าหมายที่หน่วยธุรกิจกำหนด
ลักษณะเส้น TC และ AC C, TC+ กำไรปกติ C, TC AC+ กำไรปกติ AC Q Q
ดุลยภาพในระยะสั้นของหน่วยธุรกิจและอุตสาหกรรมดุลยภาพในระยะสั้นของหน่วยธุรกิจและอุตสาหกรรม • ความหมายของดุลยภาพ • ดุลยภาพของหน่วยธุรกิจ (equilibrium of the firm) หมายถึง สภาวะความสมดุลที่เกิดขึ้นกับหน่วยธุรกิจ ซึ่งเมื่อหน่วยธุรกิจอยู่ในดุลยภาพแล้ว หน่วยธุรกิจจะไม่เปลี่ยนแปลงปริมาณการผลิตอีกต่อไป นั่นคือ ปริมาณการผลิตในขณะนั้นๆ เป็นปริมาณการผลิตที่เหมาะสมที่สุดของหน่วยธุรกิจ • ดุลยภาพของอุตสาหกรรม (equilibrium of the industry) หมายถึง สภาวะความสมดุลที่เกิดขึ้นกับอุตสาหกรรม ซึ่งเมื่ออุตสาหกรรมอยู่ในดุลยภาพแล้วจะไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงจำนวนหน่วยธุรกิจและจำนวนการผลิตในอุตสาหกรรมอีกต่อไป นั่นคือ จำนวนการผลิตและจำนวนหน่วยธุรกิจที่มีอยู่ในขณะนั้น เป็นจำนวนที่เหมาะสมที่สุดของอุตสาหกรรม
ภาวะดุลยภาพในระยะสั้นของหน่วยธุรกิจและอุตสาหกรรมภาวะดุลยภาพในระยะสั้นของหน่วยธุรกิจและอุตสาหกรรม • ปริมาณการผลิตที่เหมาะสมที่สุดของหน่วยธุรกิจจะเกิดขึ้น ณ จุดที่ MC=MR • ในระยะสั้น ดุลยภาพของหน่วยธุรกิจจะเกิดขึ้น ณ จุดที่ SMC=MR • ได้รับกำไรเกินปกติ • ได้รับกำไรปกติ • หน่วยธุรกิจขาดทุน • ขาดทุนแต่ทนผลิตอยู่ในระยะสั้น • ขาดทุนและควรหยุดผลิต
TR = OPAQ TC = OCBQ = CPAB 1. กำไรเกินปกติ : P > ATC R,C,P MC AC A P D=AR=MR C B Q O Q
TR = OPAQ TC = OPAQ = 0 2. กำไรปกติ (จุดคุ้มทุน): P = ATC R,C,P MC AC A P D=AR=MR Q O Q1 Q Q2
TR = OPBQ TC = OCAQ = - PCAB สามารถชดเชยการขาดทุนในส่วนของ FC ได้เท่ากับ P2PBD ดังนั้น หน่วยธุรกิจจะยังคงดำเนินการผลิตต่อไป เนื่องจากการผลิตจะสามารถชดเชย FC ได้บางส่วน 3.1 ขาดทุนแต่ทนผลิตอยู่ในระยะสั้น : P > AVC R,C,P MC AC AVC A C P B D=AR=MR P2 D Q O Q
TR = OPBQ TC = OCAQ = - PCAB ขาดทุนในส่วนของ FC เท่ากับPCAB หากไม่ทำการผลิตเลย ก็จะขาดทุนเท่ากับ FC เช่นเดียวกัน 3.2 จุดปิดกิจการ (shut down point): P = AVC R,C,P MC AC AVC A C P D=AR=MR B Q O Q
TR = OPDQ TC = OP2AQ = - PP2AD ขาดทุนในส่วนของ FC เท่ากับP1P2AB ขาดทุนในส่วนของ VC เท่ากับ PP1BD 3.3 ขาดทุนและควรหยุดผลิต : P < AVC R,C,P MC AC AVC A P2 B P1 D=AR=MR P D Q O Q ดังนั้น หน่วยธุรกิจจะไม่ดำเนินการผลิตต่อไป เพราะการผลิต นอกจากจะไม่สามารถชดเชย FC ได้แล้ว ยังทำให้ขาดทุนในส่วนของ VC เพิ่มขึ้นอีก
เส้นอุปทานในระยะสั้นของหน่วยธุรกิจเส้นอุปทานในระยะสั้นของหน่วยธุรกิจ • การเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์เกิดจากจำนวนผู้ซื้อในตลาดเพิ่มขึ้น • ผู้ผลิตจะเริ่มทำการผลิตสินค้าออกจำหน่าย ตั้งแต่ระดับที่เกินกว่าจุดปิดกิจการ เป็นต้นไป ดังนั้น เส้นอุปทานก็คือเส้น MC ที่อยู่เหนือจุดปิดการ P P S MC AC AVC P3 P2 D3 P1 D2 P D1 จุดปิดกิจการ D Q Q Q*
เส้นอุปทานในระยะสั้นของอุตสาหกรรมเส้นอุปทานในระยะสั้นของอุตสาหกรรม P P P S1 S2 Sm 20 10 Q Q Q 40 80 80 40 80 160
ดุลยภาพในระยะยาวของหน่วยธุรกิจและอุตสาหกรรมดุลยภาพในระยะยาวของหน่วยธุรกิจและอุตสาหกรรม • ภาวะดุลยภาพในระยะยาว • การปรับปริมาณการผลิตในระยะยาว เมื่อหน่วยธุรกิจในอุตสาหกรรมมีกำไรเกินปกติอยู่ในระยะสั้น • การปรับปริมาณการผลิตในระยะยาว เมื่อหน่วยธุรกิจในอุตสาหกรรมขาดทุน แต่ทนทำการผลิตเพื่อลดส่วนขาดทุนให้น้อยลง • เส้นอุปทานในระยะยาวของหน่วยธุรกิจและอุตสาหกรรม • กรณีอุตสาหกรรมมีต้นทุนคงที่ • กรณีอุตสาหกรรมมีต้นทุนเพิ่มขึ้น • กรณีอุตสาหกรรมมีต้นทุนลดลง
ภาวะดุลยภาพในระยะยาว เมื่อหน่วยธุรกิจมีกำไรเกินปกติ • เดิมผู้ผลิตได้รับกำไรเกินปกติทำให้ดึงดูดผู้ผลิตรายใหม่เข้ามาสู่อุตสาหกรรม • ดุลยภาพในระยะยาว : LMC=MR ซึ่งได้รับเพียงกำไรปกติ S1 P C, R LMC S2 LAC S3 P1 MR1=AR1 P2 MR2=AR2 P3 MR3=AR3 กำไรปกติ หยุดดึงดูดผู้ผลิตรายใหม่ D Q Q Q1 Q2 Q3 q3 q2 q1
ภาวะดุลยภาพในระยะยาว เมื่อหน่วยธุรกิจขาดทุน แต่ยังทนทำการผลิตต่อไป • ในระยะยาวหน่วยธุรกิจที่ขาดทุนจะเลิกผลิตและออกจากอุตสาหกรรม • ดุลยภาพในระยะยาว : LMC=MR ซึ่งหน่วยธุรกิจได้รับกำไรปกติ LMC P C,R S3 LAC S2 P3 MR3=AR3 S1 MR2=AR2 P2 กำไรปกติ จำนวนหน่วยธุรกิจคงที่ MR1=AR1 P1 D Q Q
เส้นอุปทานในระยะยาว กรณีอุตสาหกรรมมีต้นทุนคงที่ • อุตสาหกรรมมีต้นทุนคงที่ หมายถึง การขยายขนาดของอุตสาหกรรม จะไม่ทำให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยของธุรกิจเกิดการเปลี่ยนแปลง • ในระยะยาวเส้นอุปทานของหน่วยธุรกิจและอุตสาหกรรม จะเป็นเส้นขนานกับแกนนอน ณ ระดับราคาสินค้าในตลาด • นั่นคือ หน่วยธุรกิจและอุตสาหกรรมสามารถผลิตสินค้าออกขายได้ครบถ้วนตามจำนวนอุปสงค์ที่เพิ่มสูงขึ้น และเสนอขายสินค้าแต่ละหน่วยได้ในราคาเดิม
เส้นอุปทานในระยะยาวกรณีอุตสาหกรรมมีต้นทุนคงที่ (ต่อ) • เส้นอุปทานของอุตสาหกรรม : เป็นเส้นโยงต่อจุดดุลยภาพเมื่อผู้ผลิตได้รับเพียงกำไรปกติ นั่นคือเส้น LS • เส้นอุปทานของหน่วยธุรกิจ : เป็นเส้นที่ลากโยงต่อจุดต่ำสุดของเส้น LAC ที่ทำให้ผู้ผลิตได้รับเพียงกำไรปกติ นั่นคือเส้น LRS C,R P S1 S2 LAC1 LAC2 E P2 E1 E2 e2 e1 P1 LS LRS D2 D1 Q Q q1 q2 Q1 Q Q2
เส้นอุปทานในระยะยาวกรณีอุตสาหกรรมมีต้นทุนเพิ่มขึ้น • อุตสาหกรรมมีต้นทุนเพิ่มขึ้น หมายถึง การขยายขนาดของอุตสาหกรรม จะทำให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยของหน่วยธุรกิจเพิ่มขึ้น ซึ่งเกิดจากการไม่ประหยัดภายนอก • ในระยะยาวเส้นอุปทานของหน่วยธุรกิจและอุตสาหกรรม จะเป็นเส้นที่ลาดขึ้นจากซ้ายไปขวา • นั่นคือ ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น หน่วยธุรกิจจะนำสินค้าออกขายเพิ่มขึ้น ก็ต่อเมื่อราคาสินค้าเพิ่มขึ้นคุ้มกับต้นทุนต่อหน่วยที่เพิ่มขึ้น
เส้นอุปทานในระยะยาวกรณีอุตสาหกรรมมีต้นทุนเพิ่มขึ้น (ต่อ) • เส้นอุปทานของอุตสาหกรรม (เลื่อนไปทางขวา) และ LAC ของหน่วยธุรกิจ (เลื่อนสูงขึ้น) เลื่อนจนกว่า ระดับราคาสินค้าในตลาดเท่ากับระดับต่ำสุดของเส้น LAC พอดี C,R P S1 S2 LAC1 LAC2 E P LS LRS e2 P2 e1 E2 P1 E1 D2 D1 Q Q
เส้นอุปทานในระยะยาวกรณีอุตสาหกรรมมีต้นทุนลดลงเส้นอุปทานในระยะยาวกรณีอุตสาหกรรมมีต้นทุนลดลง • อุตสาหกรรมมีต้นทุนลดลง หมายถึง การขยายขนาดของอุตสาหกรรม จะทำให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยของหน่วยธุรกิจลดลง ซึ่งเกิดจากการประหยัดภายนอกที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรม • ในระยะยาวเส้นอุปทานของหน่วยธุรกิจและอุตสาหกรรม จะเป็นเส้นที่ลาดจากซ้ายลงมาทางขวา • นั่นคือ ต้นทุนต่อหน่วยลดลง หน่วยธุรกิจก็จะสามารถนำสินค้าออกเสนอขายเพิ่มขึ้นในราคาที่ลดลงได้
เส้นอุปทานในระยะยาว กรณีอุตสาหกรรมมีต้นทุนลดลง (ต่อ) • เส้นอุปทานของอุตสาหกรรม (เลื่อนไปทางขวา) และ LAC ของหน่วยธุรกิจ (เลื่อนสูงขึ้น) เลื่อนจนกว่า ระดับราคาสินค้าในตลาดเท่ากับระดับต่ำสุดของเส้น LAC พอดี C,R P S1 LAC1 S2 E LAC2 P E1 e1 P2 e2 P1 LRS LS E2 D2 D1 Q Q