1 / 40

ศาสตร์และศิลปะของการฟัง

ศาสตร์และศิลปะของการฟัง. ความหมายของการฟัง. ความสามารถในการรับรู้และเข้าใจความหมายของคำวลีประโยคและข้อความสำคัญ เข้าใจรายละเอียดใจความสำคัญสรุปความเกี่ยวกับเนื้อเรื่องที่ได้ฟังรวมทั้งเข้าใจจุดประสงค์ของผู้พูด

ernie
Télécharger la présentation

ศาสตร์และศิลปะของการฟัง

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ศาสตร์และศิลปะของการฟังศาสตร์และศิลปะของการฟัง

  2. ความหมายของการฟัง • ความสามารถในการรับรู้และเข้าใจความหมายของคำวลีประโยคและข้อความสำคัญ เข้าใจรายละเอียดใจความสำคัญสรุปความเกี่ยวกับเนื้อเรื่องที่ได้ฟังรวมทั้งเข้าใจจุดประสงค์ของผู้พูด • กระบวนการรับเอาสิ่งที่ได้ยิน ได้ฟังมาจัดระเบียบ เป็นคำ วลี หรือประโยค แล้วนำไปสู่การตีความหมายทางไวยากรณ์ร่วมกับบริบทของการใช้ภาษา (วัชรพล วิบูลยศริน)

  3. องค์ประกอบของการฟัง • ทักษะการรับรู้ (Perception skills)คือ ความสามารถในการจำแนกเสียงต่าง ๆ ได้และความสามารถจดจำคำที่ฟังได้ • ทักษะการวิเคราะห์ (Analysis skills) คือ ความสามารถในการจำแนกหน่วยทางไวยากรณ์และความสามารถในการจำแนกหน่วยทางภาษาจากสิ่งที่ฟังได้ • ทักษะการสังเคราะห์ (Synthesis skills) คือ ความสามารถในการเชื่อมโยงสิ่งต่าง ๆ ในตัวภาษาที่ได้ยิน และนำความรู้เดิมมาใช้ประกอบ เพื่อให้เกิดความเข้าใจในสิ่งที่ฟังอย่างถูกต้อง

  4. กระบวนการฟัง • การได้ยิน • การฟัง • การทำความเข้าใจ • การคิด • การนำไปใช้

  5. กระบวนการฟัง เป็นการรับรู้ทางกายภาพ โดยรับคลื่นเสียงแล้วส่งไปยังสมอง สมองจะรับรู้ว่าสิ่งนั้นคืออะไร การได้ยิน การฟัง การทำความเข้าใจ การคิด การนำไปใช้

  6. กระบวนการฟัง การได้ยิน การฟัง การทำความเข้าใจ การคิด การนำไปใช้ เมื่อเสียงผ่านเข้ามายังหูชั้นกลาง ก็จะเกิดการรับฟัง แล้วความสนใจจะตามมาทันที

  7. กระบวนการฟัง เสียงส่งต่อมาผ่านประสาทเสียง กระแสเสียงเข้าสู่สมอง เพื่อแปลผล การได้ยิน การฟัง การทำความเข้าใจ การคิด การนำไปใช้

  8. กระบวนการฟัง การได้ยิน การฟัง การทำความเข้าใจ การคิด การนำไปใช้ ผู้ฟังแปลความหมายตามประสบการณ์ และใช้ความคิดของตนประกอบการแปล

  9. กระบวนการฟัง เมื่อแปลความหมายแล้ว ผู้ฟังจะเลือกจำและนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ การได้ยิน การฟัง การทำความเข้าใจ การคิด การนำไปใช้

  10. ความสำคัญของการฟัง • การสื่อสารในชีวิตประจำวันของคนเราใช้การฟังมากกว่าทักษะอื่น • การฟังเป็นความสามารถในการรับรู้สิ่งที่ได้ยินแล้ว สามารถตีความหรือจับใจความสิ่งที่รับรู้นั้นสามารถเข้าใจและจดจำไว้ได้ • ผู้ที่ผ่านการฝึกทักษะการฟังจะมีทักษะทางปัญญาสูงกว่าผู้ที่ไม่ได้ฝึกและทักษะการฟังจะเพิ่มพูนขึ้นโดยการฝึก

  11. ความสำคัญของการฟัง • การฟังมีบทบาทสำคัญต่อชีวิตประจำวันของคนปัจจุบัน เช่น ตื่นเช้าก่อนไปมหาวิทยาลัย ฟังคุณแม่สั่งข้อความ นั่งรถของคุณพ่อเปิดวิทยุฟังข่าว เมื่อเข้าห้องเรียนฟังอาจารย์บรรยายความรู้ อาจารย์เปิดเครื่องเล่นแถบบันทึกเสียงให้ฟังบทความประกอบการเรียน หลังเลิกเรียนก่อนกลับบ้านไปเดินซื้อของในห้างสรรพสินค้า ฟังเรื่องราวที่ทางห้างประกาศผ่านเครื่องขยายเสียง หลังทำการบ้านดูโทรทัศน์ ก่อนนอนฟังเพลงจากเครื่องเล่นแถบบันทึกเสียง

  12. ความสำคัญของการฟัง • การฟังเป็นทักษะการสื่อสารที่ใช้มากที่สุดในชีวิตประจำวัน มีผู้สำรวจข้อมูลการใช้ทักษะการสื่อสารโดยศึกษาการสื่อความหมายของผู้ใหญ่ใน ระยะเวลา 60 วัน ผลการสำรวจปรากฏว่าเวลาที่ใช้พูด 39% เขียน 11% ฟัง 42% และอ่าน 14% จากข้อมูลดังกล่าวทำให้เห็นว่าในชีวิตประจำวันเราใช้ทักษะการฟังมากที่สุด

  13. ความสำคัญของการฟัง • นักปราชญ์ไทยในอดีตจัดการฟังไว้เป็นอันดับแรกของหัวใจนักปราชญ์ ซึ่งมี 4 ประการ คือ สุ (สุต) หมายถึงการฟัง จิ (จินตนะ) หมายถึงการคิด ปุ (ปุจฉา) หมายถึงการถาม และลิ (ลิขิต) หมายถึงการเขียน ฉะนั้นจึงหมายความว่าผู้ที่จะเป็นนักปราชญ์จะต้องให้ความสำคัญกับการฟังทั้ง ฟังสารผ่านสื่ออากาศ สื่อบุคคล และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยผู้ที่รอบรู้เรื่องราวต่างๆ นี้มักได้รับยกย่องว่าเป็น “พหูสูต” ซึ่งหมายถึง ผู้ฟังมาก

  14. ความสำคัญของการฟัง • การฟังสารผ่านสื่อเป็นปัจจัยสำคัญของการคิด การพูด และการเขียน ผู้ที่ฟังได้อย่างมีประสิทธิภาพย่อมส่งเสริมให้การคิด การพูด และการเขียนเกิดประสิทธิผลไปด้วย กล่าวคือเมื่อผู้รับสารได้ฟังเรื่องราวหลากหลายจากสื่อต่างๆ ย่อมทำให้เกิดความคิดลึกซึ้ง กว้างขวาง มีเหตุผล และเมื่อต้องการถ่ายทอดความรู้หรือแสดงความคิดเห็นให้ผู้อื่นทราบ ไม่ว่าจะด้วยการพูดหรือการเขียนก็ย่อมกระทำได้ดี มีสาระ มีเหตุผล น่าเชื่อถือ น่าฟัง น่าอ่าน

  15. ความสำคัญของการฟัง • การฟังสารผ่านสื่อเป็นปัจจัยสำคัญในการแสวงหาความรู้ทั้งความรอบรู้ ความเป็นไปของสังคม ของประเทศชาติ ความรู้เพื่อการดำเนินชีวิต และความรู้ในศาสตร์แขนงต่างๆ รวมทั้งเพื่อการศึกษาหาความรู้ในมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของตน เช่น ฟังข่าวสารบ้านเมืองจากวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยหรือทางโทรทัศน์สถานี ต่างๆ เป็นต้น

  16. จุดมุ่งหมาย • ฟังเพื่อจับใจความสำคัญ • ฟังเพื่อความรู้ • ฟังเพื่อความบันเทิง • ฟังเพื่อแสดงความคิดเห็น • ฟังเพื่อการวิเคราะห์

  17. จุดมุ่งหมาย • ฟังเพื่อจับใจความสำคัญ • ฟังเพื่อความรู้ • ฟังเพื่อความบันเทิง • ฟังเพื่อแสดงความคิดเห็น • ฟังเพื่อการวิเคราะห์ ใจความสำคัญมีความหมายเช่นเดียวกับคำว่าประเด็นสำคัญของเนื้อเรื่อง ข้อใหญ่ใจความ แก่นสาร สาระสำคัญ ความคิดหลัก และมีลักษณะเป็นข้อความโดยสรุปที่เป็นแก่นแท้ของสารหรือความคิดที่เป็นหลักสำคัญของสารนั้นๆ

  18. จุดมุ่งหมาย • ฟังเพื่อจับใจความสำคัญ • ฟังเพื่อความรู้ • ฟังเพื่อความบันเทิง • ฟังเพื่อแสดงความคิดเห็น • ฟังเพื่อการวิเคราะห์ การฟังเรื่องราวที่เป็นวิชาการ ข่าวสาร และข้อแนะนำต่าง ๆ การฟังเพื่อความรู้จำเป็นต้องฟังให้เข้าใจและจดสาระสำคัญได้ ความรู้ที่ได้รับในการฟังแต่ละครั้ง ต้องอาศัยความรู้เดิมหรือประสบการณ์เดิมด้วย จึงจะทำให้เข้าใจเรื่องนั้น ๆ ดีขึ้น และต้องแยกให้ได้ว่าตอนใดเป็นความรู้สึกนึกคิด ตอนใดเป็นข้อเท็จจริง หรือตอนใดเป็นความคิดเห็นของผู้พูด

  19. จุดมุ่งหมาย • ฟังเพื่อจับใจความสำคัญ • ฟังเพื่อความรู้ • ฟังเพื่อความบันเทิง • ฟังเพื่อแสดงความคิดเห็น • ฟังเพื่อการวิเคราะห์ การฟังเรื่องราวที่สนุกสนานเพลิดเพลิน ทำให้ผ่อนคลายความตึงเครียด ช่วยให้จิตใจเบิกบานแจ่มใส ลืมความกังวลต่างๆ ได้ ผู้ฟังอาจเกิดอารมณ์และความรู้สึกเพลิดเพลินเมื่อได้ฟังเสียง อาจเป็นเสียงมนุษย์ เสียงดนตรี เสียงธรรมชาติ หรือการได้ฟังเรื่องราวที่พอใจ เป็นต้น

  20. จุดมุ่งหมาย • ฟังเพื่อจับใจความสำคัญ • ฟังเพื่อความรู้ • ฟังเพื่อความบันเทิง • ฟังเพื่อแสดงความคิดเห็น • ฟังเพื่อการวิเคราะห์ ทุกคนมีอิสระในการคิด หากความคิดนั้นได้ผ่านการไตร่ตรองตามขั้นตอนที่เหมาะสมแล้ว เป็นกระบวนการ เกี่ยวข้องกับการประเมินคุณค่าของสาร แล้วถ่ายทอดความคิดนั้นเป็นภาษาพูดหรือภาษาเขียนตามกาลเทศะอันควรที่ตนพอใจ หรือเหมาะสม ฉะนั้นการฟังเพื่อแสดงความคิดเห็นจึงเป็นการฟัง เพื่อแสวงหาเหตุผลและข้อเท็จจริง

  21. จุดมุ่งหมาย • ฟังเพื่อจับใจความสำคัญ • ฟังเพื่อความรู้ • ฟังเพื่อความบันเทิง • ฟังเพื่อแสดงความคิดเห็น • ฟังเพื่อการวิเคราะห์ การแยกแยะส่วนต่าง ๆ ของสารออกมาพิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วน นับว่าเป็นกิจกรรมที่สำคัญมากเพราะผลของการวิเคราะห์ เราจะนำไปวินิจ วิจารณ์และวิพากษ์ในลำดับต่อไป

  22. ประโยชน์ ต่อตนเอง ต่อสังคม

  23. ประโยชน์ ต่อตนเอง ต่อสังคม การฟังที่ดีเป็นกระบวนการสื่อสารที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติในแง่ที่ผู้ฟังนำความรู้แง่คิดต่างๆไปใช้ โดยผู้ฟังเองได้รับผลดีจากการปฏิบัติ และสังคมได้ประโยชน์ทางอ้อม • การฟังที่ดีเป็นพฤติกรรมของผู้มีมารยาทในการเข้าสังคม ในวงสนทนาหรือในสถานที่และโอกาสต่างๆ ไม่มีผู้พูดคนใดที่ชอบให้คนอื่นแย่งพูดหรือไม่ยอมฟังคำพูดของตนเอง การฟังจึงเป็นพฤติกรรมที่ช่วยสร้างบรรยากาศของความเป็นมิตรทำให้เกิดความเข้าใจ  การยอมรับและความเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน

  24. ประโยชน์ ต่อตนเอง ต่อสังคม การฟังที่ดีเป็นกระบวนการสื่อสารที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติในแง่ที่ผู้ฟังนำความรู้แง่คิดต่างๆไปใช้ โดยผู้ฟังเองได้รับผลดีจากการปฏิบัติ และสังคมได้ประโยชน์ทางอ้อม • การฟังที่ดีทำให้เราได้รู้เรื่องราวที่ฟังโดยตลอด สามารถเข้าใจข้อความสำคัญของเรื่องที่ฟังและจุดมุ่งหมายของผู้พูด

  25. ประโยชน์ ต่อตนเอง ต่อสังคม การฟังที่ดีเป็นกระบวนการสื่อสารที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติในแง่ที่ผู้ฟังนำความรู้แง่คิดต่างๆไปใช้ โดยผู้ฟังเองได้รับผลดีจากการปฏิบัติ และสังคมได้ประโยชน์ทางอ้อม • การฟังที่ดีช่วยสามารถพัฒนาสมรรถภาพการใช้ภาษาในทักษะด้านอื่นๆ กล่าวคือ การฟังช่วยให้ผู้ฟังเรียนรู้กระบวนการพูดที่ดีของคนอื่น  นับตั้งแต่การเลือกหัวข้อหรือประเด็นในการพูด การปรับปรุงบุคลิกภาพในการพูด และวิธีการเสนอสารที่มีประสิทธิผล

  26. ประโยชน์ ต่อตนเอง ต่อสังคม การฟังที่ดีเป็นกระบวนการสื่อสารที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติในแง่ที่ผู้ฟังนำความรู้แง่คิดต่างๆไปใช้ โดยผู้ฟังเองได้รับผลดีจากการปฏิบัติ และสังคมได้ประโยชน์ทางอ้อม • การฟังที่ดีเป็นพื้นฐานที่ทำให้เกิดสมรรถภาพทางความคิด ผู้ฟังได้พัฒนาพื้นฐานความรู้ และสติปัญญาจากการรวบรวมข้อมูลและข้อคิดต่างๆ จากการฟัง

  27. ประโยชน์ ต่อตนเอง ต่อสังคม การฟังที่ดีเป็นกระบวนการสื่อสารที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติในแง่ที่ผู้ฟังนำความรู้แง่คิดต่างๆไปใช้ โดยผู้ฟังเองได้รับผลดีจากการปฏิบัติ และสังคมได้ประโยชน์ทางอ้อม • การฟังที่ดีทำให้เราได้เพิ่มศัพท์ และเพิ่มพูนการใช้ถ้อยคำภาษาได้อย่างรัดกุมและเหมาะสม ผู้ฟังจะสังเกตการใช้ศัพท์และถ้อยคำของผู้พูด  ศึกษาวิธีการใช้ถ้อยคำหรือสำนวนโวหารจากผู้พูดแล้วจดจำ ไปเป็นแบบอย่างในการพูดและการเขียน

  28. ประโยชน์ ต่อตนเอง ต่อสังคม การฟังที่ดีเป็นกระบวนการสื่อสารที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติในแง่ที่ผู้ฟังนำความรู้แง่คิดต่างๆไปใช้ โดยผู้ฟังเองได้รับผลดีจากการปฏิบัติ และสังคมได้ประโยชน์ทางอ้อม • การฟังที่ดีทำให้เราได้เพิ่มศัพท์ และเพิ่มพูนการใช้ถ้อยคำภาษาได้อย่างรัดกุมและเหมาะสม ผู้ฟังจะสังเกตการใช้ศัพท์และถ้อยคำของผู้พูด  ศึกษาวิธีการใช้ถ้อยคำหรือสำนวนโวหารจากผู้พูดแล้วจดจำ ไปเป็นแบบอย่างในการพูดและการเขียน

  29. ประโยชน์ ต่อตนเอง ต่อสังคม ตัวอย่างเช่น การฟังการอภิปรายเรื่อง การรักษาสุขภาพ ส่วนบุคคล ผู้ฟังได้รับความรู้แนวคิดต่างๆ ในการรักษาสุขภาพจากการฟัง • การฟังที่ดีทำให้เราได้เพิ่มศัพท์ และเพิ่มพูนการใช้ถ้อยคำภาษาได้อย่างรัดกุมและเหมาะสม ผู้ฟังจะสังเกตการใช้ศัพท์และถ้อยคำของผู้พูด  ศึกษาวิธีการใช้ถ้อยคำหรือสำนวนโวหารจากผู้พูดแล้วจดจำ ไปเป็นแบบอย่างในการพูดและการเขียน

  30. ประโยชน์ ต่อตนเอง ต่อสังคม ถ้าผู้ฟังนำไปปฏิบัติตาม ผู้ฟังย่อมมีสุขภาพ พลานามัยแข็งแรงสมบูรณ์ในขณะเดียวกันสังคมนั้นจะมีสมาชิกของสังคมที่มีสุขภาพที่แข็งแรง สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ • การฟังที่ดีทำให้เราได้เพิ่มศัพท์ และเพิ่มพูนการใช้ถ้อยคำภาษาได้อย่างรัดกุมและเหมาะสม ผู้ฟังจะสังเกตการใช้ศัพท์และถ้อยคำของผู้พูด  ศึกษาวิธีการใช้ถ้อยคำหรือสำนวนโวหารจากผู้พูดแล้วจดจำ ไปเป็นแบบอย่างในการพูดและการเขียน

  31. กิจกรรม 1 ฝึกการฟัง • การฟังบรรยาย • การฟังอภิปราย • การฟังคำสั่ง • การฟังเพลง • การฟังข่าว

  32. ตัวอย่างของบุคคลที่ฟังเพลงแล้วไม่ประสบความสำเร็จตัวอย่างของบุคคลที่ฟังเพลงแล้วไม่ประสบความสำเร็จ เพลง Gloomy Sunday เพลงเก่าแก่เกือบ 80 ปี จากกรุงฮังการี เป็นเพลงที่ฟังแล้วมีคนอยากฆ่าตัวตายมากที่สุด เพราะมีคนฆ่าตัวตายจากการฟังเพลงนี้ไปแล้วกว่า 200 คนทั่วโลก

  33. เพลง Gloomy Sunday Sunday is gloomy, my hours are slumberlessDearest the shadows I live with are numberlessLittle white flowers will never awaken youNot where the black coach of sorrow has taken youAngels have no thought of ever returning youWould they be angry if I thought of joining you? Gloomy is Sunday, with shadows I spend it allMy heart and I have decided to end it allSoon there’ll be candles and prayers that are sad I knowLet them not weep let them know that I’m glad to goDeath is no dream for in death I’m caressing youWith the last breath of my soul I’ll be blessing you

  34. มารยาทในการฟัง ฟังอย่างตั้งใจ ปรบมือให้ด้วยความชื่นชม ไม่ทานขนมขณะฟัง ไม่ส่งเสียงดังหรือพูดแข่ง แสดงความเคารพก่อนออกจากห้อง ไม่จ้องแต่จะจับผิด แสดงความคิดเห็นได้หลังฟังจบ

  35. วิธีการฝึกเพื่อให้เกิดความสามารถในการฟังวิธีการฝึกเพื่อให้เกิดความสามารถในการฟัง ฝึงฟังเพื่อรับรู้และเข้าใจเรื่องราว ฝึกฟังเพื่อจับใจความสำคัญของเรื่อง ฝึกวิเคราะห์จุดมุ่งหมายหรือเจตนาของผู้พูด ฝึกวินิจสารฝึกประเมินค่าของสาร

  36. การพิจารณาความสามารถในการฟังการพิจารณาความสามารถในการฟัง • ความรู้ ความจำและความเข้าใจ • ตอบคำถามจากเรื่องได้ • เล่าเรื่องที่ฟังได้ • ทำตามคำสั่งได้ • การวิเคราะห์ • แยกแยะองค์ประกอบของเรื่อง (นำ เรื่อง สรุป) • แยก “เหตุ” และ “ผล” ได้

  37. การพิจารณาความสามารถในการฟังการพิจารณาความสามารถในการฟัง • การจับใจความสำคัญ • บอกได้ว่าส่วนใดเป็นใจความสำคัญหรือพลความ • จดบันทึกเรื่องราวโดยย่อได้ • การตีความ • บอกความหมายที่แท้จริงของสาร • บอกจุดมุ่งหมายหรือเจตนาของผู้พูด • บอกได้ว่าส่วนใดเป็น “ข้อเท็จจริง” และ “ข้อคิดเห็น”

  38. การพิจารณาความสามารถในการฟังการพิจารณาความสามารถในการฟัง • การประเมินค่า • บอกประโยชน์ได้ • บอกความน่าเชื่อถือได้ • บอกวิธีการพูดจากเรื่องได้

  39. กิจกรรม 1 • ฟังเรื่อง “พิษทางใจ” ของวินทร์ เลียววาริณ แล้วตอบคำถามต่อไปนี้ • เนื้อเรื่องกล่าวถึงอะไร • วัตถุประสงค์ของผู้เขียน • อธิบายและยกตัวอย่างการใช้น้ำเสียงในการเล่าเรื่อง • ข้อคิดที่ได้รับ • การนำข้อคิดไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน

  40. กิจกรรม 2 • ฟังบทสนทนาจากคลิปวีดิโอต่อไปนี้แล้วตอบคำถาม • ผู้สนทนามีกี่คน ใครบ้าง • บทสนทนากล่าวถึงเรื่องอะไร • ผู้ฟังได้รับประโยชน์อะไรจากการฟังบทสนทนาข้างต้น

More Related