1 / 27

สถานการณ์โรคมือเท้าปาก จังหวัดสุรินทร์

สถานการณ์โรคมือเท้าปาก จังหวัดสุรินทร์. สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. Outline. - สถานการณ์โรคมือ เท้า ปาก ในประเทศไทยและจังหวัดสุรินทร์ สถานการณ์โรคมือ เท้า ปาก ในอำเภอต่างๆในจังหวัดสุรินทร์ ประวัติผู้ป่วยเสียชีวิตด้วยโรคมือ เท้า ปาก โรคมือ เท้า ปากและการรักษา แนวทางการเก็บสิ่งส่งตรวจ

Télécharger la présentation

สถานการณ์โรคมือเท้าปาก จังหวัดสุรินทร์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สถานการณ์โรคมือเท้าปากจังหวัดสุรินทร์สถานการณ์โรคมือเท้าปากจังหวัดสุรินทร์ สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค

  2. Outline • - สถานการณ์โรคมือ เท้า ปาก ในประเทศไทยและจังหวัดสุรินทร์ • สถานการณ์โรคมือ เท้า ปาก ในอำเภอต่างๆในจังหวัดสุรินทร์ • ประวัติผู้ป่วยเสียชีวิตด้วยโรคมือ เท้า ปาก • โรคมือ เท้า ปากและการรักษา • แนวทางการเก็บสิ่งส่งตรวจ • แนวทางเฝ้าระวัง สอบสวน และรายงานโรค กรณีสงสัยติดชื้อเอนเทอโรไวรัส (Enterovirus) ที่มีอาการรุนแรง และการระบาดของโรคมือ เท้า ปาก

  3. สถานการณ์โรคมือ เท้าปากในประเทศไทยเทียบกับค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลัง

  4. สถานการณ์โรคมือ เท้าปากในจังหวัดสุรินทร์เทียบกับค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลัง

  5. สถานการณ์โรคมือ เท้าปากในอำเภอเมืองเทียบกับค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลัง สถานการณ์โรคมือ เท้าปากในอำเภอชุมพลบุรีเทียบกับค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลัง สถานการณ์โรคมือ เท้าปากในอำเภอปราสาทเทียบกับค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลัง

  6. พี่สาวผู้ป่วยอายุ 4 ปี เรียนในศูนย์เด็กเล็กแห่งหนึ่ง Timeline: แสดงอาการผู้ป่วยชายอายุ 10 เดือนเสียชีวิตจากโรคมือ เท้า ปาก มีน้องชายของเด็กที่อยู่ในศูนย์เด็กเล็กป่วยเป็นโรคมือเท้าปาก เมื่อต้นเดือนมิ.ย. 57 พบพี่สาวของผู้ป่วยมีตุ่มขึ้นบริเวณปลายลิ้น ไม่มีไข้ เด็กชายอายุ 4 ปี อยู่ศูนย์เด็กเล็กเดียวกับพี่สาวผู้ป่วย มีผื่นขึ้นที่ฝ่ามือ ไม่มีไข้ ไปศูนย์เด็กเล็กกับมารดา (มารดาไปทำฟัน) ไปตลาดนัดกับมารดา 8/7/14 9/7/14 7/7/14 6/7/14 10/7/14 5/7/14 11/7/14 17/7/14 มีตุ่มแดงบริเวณขาหนีบ ๒ ข้าง และมีตุ่มแดงในปาก ลำคอ และศีรษะ รับประทานอาหาร นม ได้ตามปกติ ไม่ซึม ไม่ไข้ 5.30 น. หมดสติ ปลุกไม่ตื่น เรียกไม่รู้สึกตัว ตัวเขียว บิดานำไปรพ.ชุมพลบุรี 6.00 น.GCS E1V1M1 pupil-fixed dilation, no pulse DTX 232 mg%, EKG: Asystole, CPR เสียชีวิต Serum for EV71 Ab, Rectal swab for EV71 รอผล lab จากกรมวิทย์ CSF for EV71 8.00 น.ตุ่มในปากและที่น่องมากขึ้น ดูดนมไม่ได้ อาเจียนตลอด และได้ไปรักษาที่คลินิก แพทย์วินิจฉัยโรคมือเท้า ปาก แนะนำไปรักษารพ20.00 น. มีชักเกร็งตาลอย 5 ครั้ง และอ่อนเพลีย .

  7. การติดเชื้อ Enterovirus 71 (EV71) • 20-50% of HFMD in Thailand caused by EV71 • Severe EV71 = midbrain Encephalitis - high fever 3 high fever 3-4 d. 4 d - dyspnea dyspnea, cough (rare) - acute pulmonary edema - acute cardiac failure (myocarditis -liked) • Mostly occur in young children (<5 yr)

  8. Virus Serotypes Clinical Diseases Polioviruses 3 types Asymptomatic infection, viral meningitis, paraalytic disease, poliomyelitis Coxsackie A viruses 23 types ( A1-A22, A24) Viral meningitis plus, rash, ARD, myocarditis, orchitis Coxsackie B viruses 6 types (B1-B6) Viral meningitis, but no orchitis Echioviruses 32 types Viral meningitis, with orchitis Other Enteroviruses 4 types(68-71) Viral meningitis, rash,ARD Categories of Enteroviruses

  9. Pathogenesis of enterovirus infection Replication in oropharynx Rhino,echo, coxsackie,polio Primary viremia Secondary viremia Target Tissue Skin Muscle Brain Meninges Liver Echo Coxsackie A Echo Coxsackie A, B Echo Polio Coxsackie Polio Coxsackie Echo Coxsackie

  10. อาการของการติดเชื้อในกลุ่ม Enterovirus 1. ผู้ป่วยมีไข้ร่วมกับอาการหอบเหนื่อยเฉียบพลัน และมีอาการหรืออาการแสดงที่บ่งชี้การติดเชื้อใน ระบบประสาทส่วนกลาง (CNS infection) อย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ 1.1 ชัก/เกร็ง (seizure/convulsion) หรือ 1.2 ตรวจร่างกายพบ meningeal sign หรือ encephalitis หรือ 1.3 สั่น (tremor) หรือ 1.4 แขน ขาอ่อนแรง (acute flaccid paralysis) หรือ 1.5 ตรวจร่างกายพบ myoclonic jerk ไม่ว่าผู้ป่วยจะมีหรือไม่มีอาการของโรคมือ เท้า ปาก (Hand-foot-mouth disease) หรืออาการ ของโรคแผลในคอหอย (Herpangina) ซึ่งผู้ป่วยจะมีเฉพาะแผลในปากโดยไม่มีผื่นหรือตุ่มน้ําที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า

  11. ข้อปฏิบัติ • รายงานผู้ป่วยทุกรายภายใน 24 - 48 ชั่วโมง โดยแจ้งข้อมูลเบื้องต้นเท่าที่มีรายละเอียดมา ทาง 1) เมล์ outbreak@health.moph.go.th หรือ 2) โทรแจ้งที่หมายเลข 0 2590 1881 หรือ 3) ส่งรายละเอียดผู้ป่วยตามแบบฟอร์ม - EV ไปที่สํานักระบาดวิทยา (โทรสาร 0 2591 8579) หมายเหตุ ในรายที่ผู้ป่วยมีอาการของโรคมือ เท้า ปาก (Hand-foot-mouth disease) หรือมี อาการแผลในปากเพียงอย่างเดียว (Herpangina) ร่วมด้วย ให้รายงานโรคตามระบบรายงาน 506 ด้วย โดยรายงานผู้ป่วยจากรหัส ICD10 ทั้งรหัส B08.4 และ B08.5 โดยรายงานเฉพาะ ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉยัจากแพทย์ • สอบสวนโรค สัมภาษณ์ผู้ป่วย ญาติ และค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติมจากสมาชิกครอบครัวในบ้าน โรงเรียน ศนูย์เด็กเล็ก และในชุมชนเดียวกัน • เก็บตัวอย่างส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการตามแนวทางที่กำหนด (เฉพาะผู้ป่วย และครอบครัว) • พิจารณาส่งต่อให้กุมารแพทย์เป็นผู้ดูแล

  12. 2. ผู้ป่วยมีอาการของโรคมือ เท้า ปาก (Hand-foot-mouth disease) หรือโรคแผลในคอหอย (Herpangina) ร่วมกับมีไข้สูง ≥ 39 องศาเซลเซียส และมีอาการแสดงอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ 2.1 อาเจียน 2.2 ท้องเสีย 2.3 ซึม 2.4 หอบเหนื่อย 2.5 อาการทางระบบประสาทส่วนกลาง (ดังข้างต้น) ข้อปฏิบัติ • ดําเนินการรายงาน สอบสวน และเก็บตัวอย่าง เช่นเดียวกับกรณีผู้ป่วยแบบที่ 1 • รายงานโรคตามระบบรายงาน 506 ด้วย โดยรายงานผู้ป่วยจากรหัส ICD10 ทั้งรหัส B08.4 (Hand-foot-mouth disease) และ B08.5 (Herpangina) โดยรายงานเฉพาะผู้ป่วยที่ได้รับ การวินิจฉัยจากแพทย์

  13. 3. ผู้ป่วยมีอาการของโรคมือ เท้า ปาก (Hand-foot-mouth disease) หรือมีโรคแผลในคอหอย (Herpangina) ที่ไม่มีอาการรุนแรง (ไม่ครบตามเกณฑ์ข้อ 1 หรือข้อ 2) ข้อปฏิบัติ • รายงานโรคตามระบบรายงาน 506 ด้วย โดยรายงานผู้ป่วยจากรหัส ICD10 ทั้งรหัส B08.4 และ B08.5 และควบคุมโรคตามแนวทางของกรมควบคุมโรค • ตรวจสอบว่ามีผู้ป่วยเป็นกลุ่มก้อนในหมู่บ้าน ศูนย์เด็กเล็ก สถานรับเลี้ยงเด็ก โรงเรียนหรือไม่

  14. หากพบผู้ป่วยมีลักษณะเป็นกลุ่มก้อน ได้แก่ - ผู้ป่วยมากกว่า 2 ราย ในศูนย์เด็กเล็ก สถานรับเลี้ยงเด็ก หรือห้องเรียนเดียวกันภายใน 1 สัปดาห์ - ผู้ป่วยมากกว่า 5 ราย ในโรงเรียนเดียวกัน หรือหมู่บ้านเดียวกันภายใน 1 สปัดาห์ ให้ดําเนินการดังนี้ - รายงานโรคตามระบบรายงาน 506 ด้วย โดยรายงานผู้ป่วยจากรหัส ICD10 ทั้งรหัส B08.4 (Hand-foot-mouth disease) และ B08.5 (Herpangina) โดยรายงานเฉพาะ ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ - สอบสวนโรคและรายงานผลการสอบสวนโรค ตามแบบฟอร์ม สอบสวนโรคมือเท้าปาก ในคู่มือนิยามโรคติดเชื้อ และส่งที่สำนักงานป้องกันควบคุมโรค - เก็บตัวอย่างส่งตรวจ (ตามแนวทางที่กำหนด) - ควบคุมโรคตามแนวทางของกรมควบคุมโรค

  15. การวินิจฉัยและการเก็บสิ่งส่งตรวจสำหรับผู้ป่วยสงสัย EV 71 1. Clinical diagnosis (suspicious when outbreak) 2. Viral identification :- - acute phase :- Throat swab culture and 1st serum specimen - convalescent phase :- stool culture and 2nd serum specimen 3. Polymerase Chain Reaction for EV 71

  16. ผู้ป่วยสงสัย Enterovirusที่จะมีอาการรุนแรง/HFMD หรือมีการระบาดเป็นกลุ่มก้อน ขั้นตอนการเก็บตัวอย่างส่งตรวจ เก็บ Stool 8 กรัม (2 นิ้วหัวแม่มือ) 7 วัน หลังป่วยแต่ไม่เกิน 14 วัน เก็บใส่ภาชนะที่สะอาดแล้วปิดฝาให้แน่น ที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส(รีบนำส่งให้เร็วที่สุด) เก็บ Throat swab ในสัปดาห์แรกของการเริ่มป่วยโดยใช้ไม้ swab ก้านพลาสติกเก็บลงใน VTM สีชมพู ที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส(รีบนำส่งให้เร็วที่สุด) เก็บเลือด (Clotted blood) 2 ครั้ง (Paired serum)ประมาณ 3มิลลิกรัม ครั้งแรกทำเร็วที่สุดภายใน 3 วันหลังเริ่มป่วย ครั้งที่สองห่างจากครั้งแรก 14 วัน ผลพบระดับแอนติบอดีในซีรั่มคู่ต่างกันอย่างน้อย 4 เท่า ที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส(รีบนำส่งให้เร็วที่สุด) เก็บ CSF ปริมาณ 2 มิลลิลิตร ใส่ภาชนะปลอดเชื้อ (รีบนำส่งให้เร็วที่สุด) เก็บ Rectal swab ภายใน2สัปดาห์แรกหลังวันเริ่มมีไข้ โดยใช้ไม้ swab ก้านพลาสติกเก็บลงใน VTM สีชมพู ที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส(รีบนำส่งให้เร็วที่สุด) ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 9 นครราชสีมา Tel.044-346006-13 Fax.044-346018 ***กรณีพบผู้ป่วยน้อยกว่า 20 คน ให้เก็บตัวอย่างจากผู้ป่วยจำนวน 5 คนที่มีประวัติไข้ หรือมีอาการ Herpangina/Hand-foot-mouth lesion ในกลุ่มก้อนเดียวกัน ***กรณีพบการระบาดเป็นกลุ่มก้อนตั้งแต่ 20 คนขึ้นไปให้เก็บตัวอย่างจากผู้ป่วย 6 - 10 คนที่มีประวัติไข้ หรือมีอาการ Herpangina/Hand-foot-mouth lesion ในกลุ่มก้อนเดียวกัน กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ Tel.02-5910000 Fax.02-5915974 ห้องส่งตัวอย่าง ต่อ 99248, 99614 ห้อง Lab ไวรัส ต่อ 99210

  17. โรคมือ เท้า ปากติดต่อได้อย่างไร • น้ำมูก น้ำลาย น้ำจากตุ่มพองและแผลในปาก หรือติดจากการไอจามรดกัน • อุจจาระของผู้ป่วย เชื้อเข้าร่างกายทางปาก โดยติดมากับมือ หรือภาชนะที่ใช้ร่วมกัน เช่น ช้อน แก้วน้ำ หรือของเล่น • ติดต่อกันได้ง่ายในสถานที่ที่มีเด็กอยู่ร่วมกันจำนวนมาก • การแพร่ติดต่อเกิดขึ้นค่อนข้างง่ายในช่วงสัปดาห์แรกของการป่วย และแม้อาการทุเลาลงแล้ว ก็ยังอาจแพร่เชื้อได้บ้าง เนื่องจากเชื้อจะถูกขับออกมากับอุจจาระได้นานถึง 6-8 สัปดาห์ • แสดงอาการป่วยภายใน 3 - 5 วันหลังได้รับเชื้อ โดยไข้เป็นอาการแสดงเริ่มแรกของโรค

  18. Treatment 1. รักษาตามอาการ เช่นยาแก้ปวด, Xylocaineฯลฯ 2. ทานอาหารที่ไม่ร้อน ไม่เค็ม 3. เฝ้าระวัง HFMD ชนิดที่มีอาการรุนแรง (ถ้ามี ควร admit และ investiagateเชื้อ) 4. ใช้ IVIG, ECMO ใน severe life threatening HFMD

  19. สิ่งที่ดำเนินการไปแล้วสิ่งที่ดำเนินการไปแล้ว • 1. ประชุมพี่เลี้ยงศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในพื้นที่อำเภอ • ชุมพลบุรีและอำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ เพื่อคัดกรองโรคมือ เท้า ปากโดยใช้แบบคัดกรองที่พัฒนาขึ้น • 2. ประชุมแพทย์ และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข จากโรงพยาบาล รพ.สต. ในอำเภอชุมพลบุรี เพื่อชี้แจงแนวทางการเฝ้าระวังโรคคัดกรองในโรงพยาบาล การสอบสวนและเก็บตัวอย่างเพิ่มเติมกรณีพบผู้ป่วยอาการรุนแรง • 3. ชี้แจงแนวทางการเก็บและการส่งสิ่งส่งตรวจแก่ที่ประชุมกลุ่มบุคลากรทางห้องปฏิบัติการในจังหวัดสุรินทร์ • สิ่งที่ต้องดำเนินการต่อ • 1. ติดตามและประเมินผลการเฝ้าระวังโรคมือเท้าปาก ในศูนย์พัฒนาเด็กในพื้นที่อำเภอชุมพลบุรีและอำเภอท่าตูม และติดตามสถานการณ์การระบาดของโรคมือเท้าปาก ในอำเภอเมือง และอำเภออื่นของจังหวัดสุรินทร์ เพื่อควบคุมการระบาดของโรคในวงกว้าง • 2. การจัดหา VTM ให้เพียงพอ • 3. สำรวจวิธีการคัดกรองและป้องกันโรคมือเท้าปากตามมาตรฐานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ทั้งจังหวัดสุรินทร์ ปัญหา • วิธีการเก็บสิ่งส่งตรวจ specimen สำหรับ Enterovirus • VTM มีไม่เพียงพอ • ผู้ป่วยที่ได้รับการหยุดเรียนไม่ได้รับการ Isolate อย่างชัดเจน ยังคงแพร่เชื้อต่อไปในชุมชน

  20. แนวทางคัดกรองและควบคุมเด็ก/นักเรียน สงสัย โรคมือ เท้า ปาก - คัดกรองเด็กนักเรียนตามศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่ตนรับผิดชอบทุกวันที่เปิดเรียน ถ้าหากพบผู้ป่วยสงสัย โรคมือ เท้า ปาก ให้หยุดเรียน 7 วัน - รายงานการคัดกรองให้กับรพ.สต.ทราบเป็นรายวัน รับผู้ป่วยสงสัย โรคมือ เท้า ปากจากศูนย์เด็กและส่งต่อ ไปรับการรักษาและยืนยันโรคที่ รพช. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก/โรงเรียนประถม • ส่งต่อข้อมุลเด็กป่วยไปให้ • อสม. • แจ้งผู้นำชุมชนในพื้นที่ที่มีผู้ป่วยหลายรายหรืออาการรุนแรง ผู้ปกครอง อสม. รพ.สต. บ้านเด็กป่วย: ออกตรวจ หรือดูอาการที่บ้านของเด็กที่ป่วยเป็นโรคมือ เท้า ปากทุกวันเป็นเวลา 7 วัน บ้านอื่นๆ:ให้คำแนะนำแก่ผู้ปกครองในการช่วยดูอาการเด็กในบ้านทุกวันเมื่อพบให้แจ้งอสม.และแยกออกจากเด็กอื่น/คัดกรองเด็กในชุมชน ผู้ปกครองเด็กป่วย:กันเด็กป่วยไม่ให้เล่นกับเด็กคนอื่น(ภายในบ้าน/นอกบ้าน) ผู้ปกครองเด็กไม่ป่วย:กันเด็กไม่ป่วยไม่ให้ไปเล่นกับเด็กป่วย • ให้ความรู้ในการป้องกันโรคมือเท้าปาก • อสม. • ผู้ปกครอง/ชุมชนในพื้นที่สำคัญ รพช. สสอ. -ร่วมออกสอบสวนโรคในกรณีcluster ใหญ่ -บันทึกในรง. 506 ท้องถิ่น รายงานการคัดกรองหรือ zero reportให้กับรพช.(ทั้งกรณีที่พบและไม่พบผู้ป่วยที่สงสัยเป็นโรคมือ เท้า ปาก) อาทิตย์ละ 2-3 ครั้ง ติดตามสถานการณ์และประชาสัมพันธ์ชาวบ้านได้รับทราบ และประชาสัมพันธ์ให้ผู้ปกครองตระหนักการในแยกเด็กป่วย สนับสนุนอุปกรณ์ที่จำเป็นแก่ศูนย์เด็กเล็กในการทำ Big cleaning day

More Related