1 / 104

วิชา ศ. 442 นโยบายการคลัง บทที่ 1. ทำไมต้องศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์การคลัง

วิชา ศ. 442 นโยบายการคลัง บทที่ 1. ทำไมต้องศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์การคลัง. โดย รศ. ดร. สกนธ์ วรัญญูวัฒนา คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. มุมมองเกี่ยวกับบทบาทของรัฐบาล.

favian
Télécharger la présentation

วิชา ศ. 442 นโยบายการคลัง บทที่ 1. ทำไมต้องศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์การคลัง

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. วิชา ศ. 442 นโยบายการคลังบทที่ 1.ทำไมต้องศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์การคลัง โดย รศ. ดร. สกนธ์ วรัญญูวัฒนา คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  2. มุมมองเกี่ยวกับบทบาทของรัฐบาลมุมมองเกี่ยวกับบทบาทของรัฐบาล • “The role of government is to create an environmentin which the entrepreneur is willing to take risk and be able to get a return on the risk taken.” • George W. Bush • “… the right public policies canfoster an environment that makes strong growth and job creation easier.” • From Kerry and Edwards “Our Plan For America”

  3. อะไรคือบทบาทที่เหมาะสมของรัฐบาลอะไรคือบทบาทที่เหมาะสมของรัฐบาล • ทางด้านรายจ่าย: รัฐบาลควรผลิตสินค้าหรือให้บริการสาธารณะประเภทใดบ้าง • ทางด้านรายรับ: รัฐบาลจะหารายรับได้อย่างไร

  4. 4 คำถามสำคัญของเศรษฐศาสตร์การคลัง • When should the government intervene in the economy? รัฐบาลควรจะเข้ามาแทรกแซงระบบเศรษฐกิจเมื่อไร • Howmight the government intervene? รัฐบาลจะแทรกแซงระบบเศรษฐกิจได้อย่างไร • Whatis the effect of those interventions on economic outcomes? อะไรคือผลของการแทรกแซงของรัฐบาล • Whydo governments choose to intervene in the way that they do? ทำไมรัฐบาลถึงเลือกที่จะแทรกแซงในรูปแบบนั้น

  5. รัฐบาลควรจะเข้ามาแทรกแซงระบบเศรษฐกิจเมื่อไรรัฐบาลควรจะเข้ามาแทรกแซงระบบเศรษฐกิจเมื่อไร • โดยปกติแล้ว ตลาดที่มีการแข่งขันสมบูรณ์จะทำให้เกิด “ประสิทธิภาพ” ในระบบเศรษฐกิจ • เป็นการยากที่จะบอกว่าการแทรกแซงของรัฐบาลเป็นการกระทำที่ถูกต้องหรือไม่ โดยปกติมักจะพิจารณาจาก • ความมีประสิทธิภาพ • ความเท่าเทียม

  6. รัฐบาลควรจะเข้ามาแทรกแซงระบบเศรษฐกิจเมื่อไรด้านความมีประสิทธิภาพรัฐบาลควรจะเข้ามาแทรกแซงระบบเศรษฐกิจเมื่อไรด้านความมีประสิทธิภาพ • ในระบบตลาดตามปกติ ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพจะเกิดขึ้น ณ จุดที่เส้นอุปสงค์และเส้นอุปทานตัดกัน • ในแง่ของสินค้าสาธารณะ – การป้องกันประเทศ การทำความสะอาดถนน

  7. รัฐบาลควรจะเข้ามาแทรกแซงระบบเศรษฐกิจเมื่อไรความล้มเหลวของตลาดรัฐบาลควรจะเข้ามาแทรกแซงระบบเศรษฐกิจเมื่อไรความล้มเหลวของตลาด การประยุกต์ • ในปี 2544 มีประชากรมากกว่า 45 ล้านคนหรือ 75 % ของประชากรทั้งหมดที่ไม่สามารถได้รับบริการสาธารณสุขที่เพียงพอ ในปี 2545 รัฐบาลใช้งบประมาณ 32,000 ล้านบาทในการจัดทำโครงการสาธารณสุขให้กับประชาชน • การที่ประชาชนไม่ได้รับบริการสาธารณสุขที่เหมาะสม จะทำให้เกิดผลกระทบภายนอกทางด้านลบขึ้น (negative externalities)จากการเจ็บป่วย แต่ประชาชนอาจจะไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับบุคคลอื่น

  8. รัฐบาลควรจะเข้ามาแทรกแซงระบบเศรษฐกิจเมื่อไรการกระจายรายได้ใหม่รัฐบาลควรจะเข้ามาแทรกแซงระบบเศรษฐกิจเมื่อไรการกระจายรายได้ใหม่ • รัฐบาลสนใจทั้งขนาดของก้อนเค้กและขนาดของเค้กที่แต่ละคนในสังคมจะได้ • สังคมมักจะให้ค่าสำหรับการที่คนจนบริโภคเพิ่มขึ้น 1 บาทมากกว่าการที่คนรวยบริโภคเพิ่มขึ้น 1 บาท • การกระจายรายได้ใหม่เป็นการโอนทรัพยากรจากคนกลุ่มหนึ่งในสังคมไปยังคนอีกกลุ่มหนึ่ง

  9. รัฐบาลควรจะเข้ามาแทรกแซงระบบเศรษฐกิจเมื่อไรด้านความเท่าเทียมรัฐบาลควรจะเข้ามาแทรกแซงระบบเศรษฐกิจเมื่อไรด้านความเท่าเทียม • จากข้อมูลการกระจายรายได้ในประเทศไทย คน 20% รวยสุดของประเทศมีรายได้มากกว่า 50% ของรายได้ทั้งหมดในประเทศ • การกระจายรายได้ใหม่มักจะทำให้เกิดการสูญเสียประสิทธิภาพ • กฎหมายที่เกี่ยวกับการกระจายรายได้ใหม่สามารถทำให้พฤติกรรมของคนเปลี่ยนไป เช่น การเก็บภาษีจากคนรวยมากระจายให้คนจนอาจจะทำให้คนทั้งสองกลุ่มนี้ทำงานน้อยลง

  10. ดุลยภาพเศรษฐกิจและสวัสดิการสังคมดุลยภาพเศรษฐกิจและสวัสดิการสังคม รูปที่ 1.1 ดุลยภาพตลาด P a S c P1 E P* P2 d D b Q* Q Q*

  11. ดุลยภาพเศรษฐกิจและสวัสดิการสังคมดุลยภาพเศรษฐกิจและสวัสดิการสังคม รูปที่ 1.1 ดุลยภาพตลาด PM Providing the first unit gives a great deal of surplus to “society.” The surplus from the next unit is the difference between the demand and supply curves. S Social efficiency is maximized at Q*, and is the sum of the consumer and producer surplus. The area between the supply and demand curves from zero to Q* represents the surplus. P* This area represents the social surplus from producing the first unit. D 0 1 Q* QM

  12. PM S สามเหลี่ยมนี้แสดง lost surplus ต่อสังคม หรือที่เรียกว่า “deadweight loss.” social surplus จาก Q’ คือ พื้นที่นี้larger consumer and smaller producer surplus. P* การคุมราคาทำให้ปริมาณลดเหลือ Q´, และมี Excess Demand P2 D Q´ Q* QM

  13. First Fundamental Theorem of Welfare Economics ต้องตั้งคำถามว่าปัจจัยอะไรทำให้เกิดการไม่ได้ดุลยภาพขึ้นได้ ซึ่งได้แก่ “การล้มเหลวของตลาด” • ภายใต้ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ เมื่ออุปสงค์มวลรวมเท่ากับอุปทานมวลรวม สวัสดิการสังคมจะสูงที่สุด จากรูปที่ 1.1 คือที่จุด E • ตำแหน่งใดๆ ที่นอกเหนือจากจุดการบริโภคที่ Q* จะทำให้สวัสดิการสังคมทั้งด้านอุปสงค์และอุปทานต่ำกว่า E • นอกจากนี้การไม่อยู่ในดุลยภาพทำให้เกิดปัญหา deadweight loss กับสังคมขึ้นด้วย อันเป็นผลจากการที่มีการจัดสรรทรัพยากรใหม่เกิดขึ้น • การดำเนินนโยบายของรัฐบาลจึงต้องพิจารณาผลที่เกิดกับการสูญเสียของ consumer surplus และ supplier surplus ว่าเป็นอย่างไร โดยการกระจายผลที่เกิดขึ้นระหว่างบุคคลในสังคม ตัวอย่างการมีการควบคุมราคา (price Control) ที่ P2เกิด deadweight loss เท่ากับ P2 dEP* ซึ่งเกิดจากการควบคุมราคาทำให้เกิดการปริมาณที่สามารถนำไปใช้บริโภคได้

  14. Second Fundamental Theorem of Welfare Economics • สังคมยอมรับการเปลี่ยนแปลงประสิทธิภาพ หากมีการกระจายทรัพยากรที่เหมาะสมและมีการแลกเปลี่ยนที่เสรี • (Society can attain any efficient outcome by a suitable redistribution of resources and free trade) • ดังนั้นจากการพิจารณารูปที่ 1.1 ต้องดูด้วยว่าการกระจายการบริโภคระหว่างประชาชนเป็นอย่างไร • เป็นผลให้ในความเป็นจริงต้องเผชิญปัญหาการเลือกระหว่าง Equity-Efficiency Tradeoff เสมอ ซึ่งพิจารณาได้จาก Social Welfare Function ที่รวม welfare ของทุกๆ คนเข้าไว้ด้วยกัน

  15. รัฐบาลจะแทรกแซงระบบเศรษฐกิจได้อย่างไรรัฐบาลจะแทรกแซงระบบเศรษฐกิจได้อย่างไร • รัฐบาลสามารถแทรกแซงตลาดได้หลายทาง • การใช้ภาษีและการให้เงินอุดหนุน โดยผ่านกลไกราคา ตัวอย่าง การประกันราคาสินค้าเกษตรของรัฐบาล • กำหนดให้เอกชนต้องผลิตสินค้าหรือบริการบางอย่าง ต.ย. นายจ้างต้องมีการประกันสุขภาพให้ลูกจ้าง

  16. รัฐบาลจะแทรกแซงระบบเศรษฐกิจได้อย่างไรรัฐบาลจะแทรกแซงระบบเศรษฐกิจได้อย่างไร • การให้บริการสาธารณะ ตัวอย่าง โครงการประกันสุขภาพทั่วหน้า • การให้การสนับสนุนทางการเงินสำหรับการผลิตของภาคเอกชน ตัวอย่าง การให้สิทธิพิเศษทางภาษี (BOI) แก่ผู้ผลิตอุตสาหกรรม หรือ การให้ คูปองสำหรับการซื้อน้ำมันในราคาที่ต่ำแก่ชาวประมงรายย่อย

  17. อะไรคือผลของการแทรกแซงของรัฐบาลอะไรคือผลของการแทรกแซงของรัฐบาล การศึกษาผลกระทบทางการคลังจะมีทั้ง “ผลทางตรง” และ “ผลทางอ้อม” • ผลทางตรงมีสมมติฐานว่า “ไม่มีการตอบสนองทางพฤติกรรม” (“no behavioral responses”) และทำการวิเคราะห์ผลที่เกิดขึ้นโดยตรงจากการแทรกแซงของรัฐบาล (intended consequences) • ผลทางอ้อมเกิดจากการที่คนบางคนมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ซึ่งเป็นการตอบสนองต่อการแทรกแซงของรัฐบาล หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือเป็นผลที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจที่จะให้เกิด (“law of unintended consequences”)

  18. อะไรคือผลของการแทรกแซงของรัฐบาลการขยายการประกันสุขภาพอะไรคือผลของการแทรกแซงของรัฐบาลการขยายการประกันสุขภาพ การประยุกต์ • ผลทางตรงในการมีโครงการประกันสุขภาพทั่วหน้าสำหรับประชาชน: มีคนที่ได้เข้าอยู่ในโครงการนี้ 45 ล้านคนโดยประมาณ มีต้นทุน 32,000 ล้านบาทณ เริ่มต้นโรงการ • ผลทางอ้อม: มีการเบียดออก “crowd-out” จากการประกันสุขภาพจากแหล่งอื่น เพื่อรับบริการฟรีของรัฐบาล • คำถามสำคัญ:มีประชาชนกี่คนที่มีการตอบสนองต่อโครงการประกันสุขภาพของรัฐบาลในลักษณะนี้ ทฤษฎีเองไม่ได้บอกแนวทางหรือขนาดของผลกระทบที่เกิดขึ้น

  19. ทำไมรัฐบาลถึงเลือกที่จะแทรกแซงในรูปแบบนั้นๆทำไมรัฐบาลถึงเลือกที่จะแทรกแซงในรูปแบบนั้นๆ • รัฐบาลไม่ได้เข้ามาแทรกแซงเฉพาะเมื่อมีความล้มเหลวของตลาดเกิดขึ้นหรือเพื่อการกระจายรายได้ใหม่เท่านั้น • เครื่องมือในการวิเคราะห์ของเศรษฐศาสตร์การเมือง (political economy)ทำให้เราเข้าใจถึงการตัดสินใจในการเลือกนโยบายสาธารณะของรัฐบาล • ความล้มเหลวของตลาดทำให้เกิดความไม่มีประสิทธิภาพของตลาด การเข้าแทรกแซงของรัฐบาลก็ก่อให้เกิดความล้มเหลวได้เช่นเดียวกัน จึงอาจเกิดการแทรกแซงที่ไม่เหมาะสมขึ้นได้

  20. ทำไมรัฐบาลถึงเลือกที่จะแทรกแซงในรูปแบบนั้นทำไมรัฐบาลถึงเลือกที่จะแทรกแซงในรูปแบบนั้น • แต่ละประเทศจะมีนโยบายสาธารณะที่แตกต่างกัน • U.S.: Private health insurance (ขณะนี้กำลังแก้ไขกฎหมายเพื่อคุ้มครองประชาชนมากขึ้น) • Canada: National public health insurance • Germany: Mandates private health coverage • U.K.: Free national health care

  21. ความจริงเกี่ยวกับขนาดและการแทรกแซงของรัฐในระบบเศรษฐกิจความจริงเกี่ยวกับขนาดและการแทรกแซงของรัฐในระบบเศรษฐกิจ • ขนาดของรัฐบาลมักนิยมวัดในรูปของการเปรียบเทียบกับ GDP และอาจจะปรับด้วยอัตราเงินเฟ้อ หรือจำนวนการเพิ่มของประชากรในประเทศ

  22. ที่มา: สศค

  23. การขยายตัวขนาดภาครัฐตามปรากฎการณ์ข้ามเวลาการขยายตัวขนาดภาครัฐตามปรากฎการณ์ข้ามเวลา

  24. กฎวิธีการใช้นโยบายการคลังกฎวิธีการใช้นโยบายการคลัง • การใช้นโยบายการคลังแม้เป็นการตัดสินใจโดยฝ่ายการเมือง แต่มีแนวทางในการบริหารการใช้นโยบายการคลังที่กำหนดเป็นกรอบกว้างให้พิจารณา • การสมดุลของงบประมาณ (Budget balance) ในแต่ละปีงบประมาณ ซึ่งอาจขยายไปสู่การกำหนดความสมดุลของประเภทรายการ อาทิ รายจ่ายประจำหรือรายจ่ายลงทุนของงบประมาณ • การกู้ยืม (Borrowing) กรอบการควบคุมคือการกู้ยืมจากธนาคารกลางของประเทศ • ภาระหนี้สาธารณะ (Public Debt) พิจารณาจากสัดส่วนของขนาดหนี้สาธารณะต่อ GDP ต้องอยู่ในขนาดที่เหมาะสม สามารถบริหารภาระหนี้สาธารณะได้ (ปัจจุบันประเทศไทยมีแนวโน้มสัดส่วนดังกล่าวเพิ่มขึ้น แต่ยังอยู่ในขนาดที่บริหารจัดการได้ โดยใช้ความยั่งยืนทางการคลังเป็นเครื่องมือในการกำกับ)

  25. กฎวิธีการใช้นโยบายการคลังกฎวิธีการใช้นโยบายการคลัง • ทุนสำรองทางการคลัง (Fiscal Reserves) เป็นการกำหนดทุนสำรองเพื่อใช้ยามฉุกเฉิน • กฎที่ไม่ชัดเจน (Implicit Rules) • เป็นหลักเกณฑ์อื่น ที่มีผลต่อการบริหารนโนบายการคลัง อาทิ เช่นนโยบายอัตราแลกเปลี่ยน เป็นต้น • กฎอื่นๆ เช่นการใช้จ่ายในด้านใดด้านหนึ่งเป็นพิเศษ การศึกษา สาธารณสุข เป็นต้น หรือสัดส่วนรายจ่ายประจำ-ลงทุน

  26. บทบาทของภาครัฐในการพัฒนาเศรษฐกิจบทบาทของภาครัฐในการพัฒนาเศรษฐกิจ

  27. วัตถุประสงค์โดยทั่วไปของการดำเนินนโยบายการคลังวัตถุประสงค์โดยทั่วไปของการดำเนินนโยบายการคลัง • เพื่อให้เกิดผลต่อการทำงานของระบบเศรษฐกิจ • ปรับเปลี่ยนอุปสงค์มวลรวมและอุปทานมวลรวม • แก้ปัญหาความล้มเหลวของตลาด • เพื่อทำให้เกิดสวัสดิการของสังคมที่สูงที่สุด (เป้าหมายสูงสุดของการดำเนินการทางเศรษฐกิจของรัฐบาล) • สินค้าสาธารณะ (Public Goods) • การผูกขาด (Monopoly) • ผลภายนอก (Externalities) • ตลาดไม่สมบูรณ์ (Imperfect market) • ข้อมูลไม่สมบูรณ์ (Imperfect market) • การไม่มีดุลยภาพ (Disequilibrium)

  28. เป็นความคิดตั้งแต่สมัย Adam Smith ที่สังคมต้องการสินค้าและบริการบางชนิดเช่นสินค้าสาธารณะเพื่อสังคม โดยอาจใช้ทั้งมาตรการทางรายได้หรือรายจ่าย วัตถุประสงค์ของการดำเนินนโยบายการคลัง (แนวคิดเดิม) • การจัดสรรทรัพยากร (Allocation of Resources) • สินค้าสาธารณะ (Public goods) • การทำให้มีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในระดับมหภาค (Macroeconomic Stabilization) • การจ้างงานเต็มที่ • การมีเสถียรภาพของราคา • บัญชีดุลการชำระเงินที่สมดุล • การกระจายรายได้ใหม่ (Income Redistribution) • การขยายตัวเศรษฐกิจ Economic Growth Promotion มีความหมายที่แตกต่างกันระหว่างประเทศพัฒนาและกำลังพัฒนา โดยในประเทศพัฒนาแล้วจะทำให้ได้ใกล้ full employment แต่ประเทศกำลังพัฒนากำหนดได้ลำบากว่าคืออะไร ความหมายที่แตกต่างกันระหว่างประเทศพัฒนาและกำลังพัฒนา ในประเทศพัฒนาแล้วการกระจายรายได้ทำไห้มีการบริโภคมากขึ้นและการจ้างงานมากขึ้น แต่ประเทสกำลังพัฒนามุ่งเพื่อสร้างความเท่าเทียมและโอกาส Musgrave, Public Finance, 1959

  29. วิธีการนำนโยบายการคลังมาใช้วิธีการนำนโยบายการคลังมาใช้ • การจัดสรรทรัพยากรและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ • โดยจัดการเกี่ยวกับโครงสร้างภาษี ราคาของบริการสาธารณะ วิธีการก่อหนี้ สถาบันของรัฐ ปัจจัยพื้นฐานต่างๆ การจัดสรรทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพ การออม การสะสมทุน และการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ • ความมีเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจ (ระยะสั้น-ระยะยาว) • โดยจัดการเกี่ยวกับอุปสงค์มวลรวม การออม ฯลฯ • ความเท่าเทียมและความยากจน • โดยจัดการเกี่ยวกับโครงสร้างภาษี นโยบายรายจ่าย การสร้างระบบโครงข่ายความคุ้มครองทางสังคม (social safety net)

  30. วัตถุประสงค์ทั่วไปในการนำนโยบายการคลังมาใช้วัตถุประสงค์ทั่วไปในการนำนโยบายการคลังมาใช้ • เพื่อกำหนดการทำงานของระบบเศรษฐกิจ; • การปรับตัวของอุปสงค์มวลรวมและอุปทานมวลรวม • แก้ไขความล้มเหลวของตลาด ตัวอย่าง โครงการประกันสุขภาพทั่วหน้า การลงทุนด้านการศึกษา • เพื่อให้ได้สวัสดิการสังคมสูงสุด (เป็นเป้าประสงค์ประสงค์สำคัญที่สุดของการทำหน้าที่ของรัฐบาล) รัฐบาลไม่อาจจะจำกัดในหน้าที่ด้านใดด้านหนึ่งมากเกินไป

  31. ความมีประสิทธิผลของนโยบายการคลังความมีประสิทธิผลของนโยบายการคลัง การเป็นเครื่องมือในการจัดการทางด้านอุปสงค์ (ระยะสั้น) ซึ่งผลก็ขึ้นอยู่กับ: • การตอบสนองของภาคเอกชน (ความสัมพันธ์ของพฤติกรรมต่างๆ: การบริโภค การลงทุน การออม การนำเข้า และการส่งออก) • นโยบายในระดับมหภาค: นโยบายการเงินการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยน การเคลื่อนไหวของทุน • ปัจจัยภายนอก • ความคาดหวังของสังคมและความน่าเชื่อถือของภาครัฐ

  32. วัตถุประสงค์ของนโยบายการคลัง (แนวคิดใหม่) • รักษาไว้ซึ่งภาวการณ์ของการแข่งขันทางเศรษฐกิจ (Maintain of competitive economic environment) • รักษาไว้ซึ่งการมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ (Maintain of economic stability) • การกระจายรายได้ใหม่ (Income redistribution) • การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม (Environmental protection and preservation) The World Bank, The State in the Changing World:1997

  33. แนวคิด 2 กระแส • การปล่อยให้กลไกตลาดทำงาน (Market Based Strategy) • รัฐบาลเป็นผู้ให้แนวทาง • สร้างให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้กลไกตลาดทำงานได้ (Create market environment) • การควบคุมโดยตรงจากรัฐบาล (Total government control) • การรวมศูนย์การตัดสินใจไว้ที่ส่วนกลาง (Centralized in decision making) • การมีแผนที่ไม่ยืดหยุ่น (Rigid planning)

  34. ข้อวิจารณ์บทบาทของภาครัฐข้อวิจารณ์บทบาทของภาครัฐ • ไม่มีความจำเป็น • ไม่มีประสิทธิภาพ • ไม่เกิดผลิตภาพ (Productivity) เท่าที่ควร • ภาคเอกชนสามารถดำเนินการได้ดีกว่า • เกิดผลของการเบียดออก ‘Crowding out’ จากภาคเอกชน • เกิดการแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจ (Rent seeking)

  35. ภาครัฐควรจะทำอะไร วางรากฐานทางปัจจัยพื้นฐาน • ส่งเสริมทางด้านการศึกษา • พัฒนาเทคโนโลยี • สนับสนุนให้เกิดระบบการเงินที่เหมาะสม • ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ • ป้องกันไม่ให้สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมลง • สร้างและดูแลระบบโครงข่ายความคุ้มครองทางสังคม “รัฐบาลในประเทศที่เกิดใหม่ (emerging countries) ต้องเข้าใจถึงข้อจำกัดของตนเอง เพื่อหาระดับและคุณภาพของการลงทุนที่เหมาะสม)

  36. การออกแบบนโยบายการคลังที่เหมาะสมการออกแบบนโยบายการคลังที่เหมาะสม ดู Heller, Peter, “Considering the IMF’s Perspective on a “Sound Fiscal Policy,” IMF Policy Discussion Paper, July 2002

  37. ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การคลังทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การคลัง • หน้าที่ของรัฐบาล: จัดสรรทรัพยากร กระจายรายได้ใหม่ และรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ (Musgrave) • รายรับของรัฐบาล - เป็นค่าใช้จ่ายในการผลิตสินค้าสาธารณะและให้บริการสาธารณะ - กระจายรายได้ใหม่ - ทำให้เกิดความสมดุลของเศรษฐกิจมหภาค • การหารายรับเพิ่มขึ้นของรัฐบาลมีต้นทุนเกิดขึ้น - ผลกระทบของการเก็บภาษีที่มีต่อแรงจูงใจในการทำงาน - ต้นทุนการบริหารจัดการในการจัดเก็บภาษี - การสูญเสียสวัสดิการ (welfare loss) - เกิดความไม่เท่าเทียมกันมากขึ้นจากภาระภาษีที่ตกอยู่กับชั้น รายได้ต่าง ๆ

  38. รายจ่ายของรัฐบาล • หลักการทั่วไปทางทฤษฎีของนโยบายรายจ่ายสาธารณะ • รายจ่ายสาธารณะจะไม่มีประสิทธิภาพ ถ้าทำให้เกิดการเบียดออกของรายจ่ายเอกชน • สินค้าและบริการสาธารณะบางประเภท (ที่ภาคเอกชนไม่ผลิต)สามารถช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและทำให้สวัสดิการของประชาชนดีขึ้น • รัฐบาลสามารถทำให้เกิดความเท่าเทียมกันในสังคมได้ โดยการให้เงินช่วยเหลือหรือเงินอุดหนุนกับคนกลุ่มที่ยากจนหรือกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ

  39. รายรับของรัฐบาล • ความมีประสิทธิภาพจะเกิดขึ้นได้ต้องมีลักษณะการจัดเก็บภาษีดังนี้ - เป็นการเก็บภาษีสินค้าที่มีความยืดหยุ่นต่ำ - เก็บภาษีการบริโภค มากกว่าการเก็บภาษีจากแรงงานหรือทุน - มีฐานภาษีที่กว้าง • การก่อหนี้สาธารณะเป็นการชะลอการหารายรับเพิ่มขึ้นของรัฐบาลไปในอนาคต (Ricardian equivalence)

  40. บทบาทของรัฐบาลสมัยใหม่บทบาทของรัฐบาลสมัยใหม่ • มีบทบาทในการออกกฎข้อบังคับ (regulation) ใช้นโยบายภาษี และนโยบายรายจ่ายสาธารณะ เพื่อแก้ไขปัญหาความล้มเหลวของตลาด (market failure) เพิ่มความมีประสิทธิภาพ (efficiency) และการเจริญเติบโต (growth) ในระบบเศรษฐกิจ • มีบทบาทในการใช้นโยบายสาธารณะ เพื่อเป็นเครื่องมือในการช่วยให้เกิดความเท่าเทียมกันในสังคมและคุ้มครองคนที่ด้อยโอกาสในสังคม • ต้องคำนึงถึงความล้มเหลวของรัฐบาลด้วย จึงต้องมีการกำหนดขนาดและบทบาทของรัฐบาลให้เหมาะสม

  41. ตัวแปรที่มีความเกี่ยวข้องตัวแปรที่มีความเกี่ยวข้อง • ความแตกต่างของนโยบายและปัจจัยเชิงสถาบัน(การเมือง วัฒนธรรมกฎหมาย ฯลฯ)จะส่งผลให้เกิดผลลัพธ์ของการใช้จ่ายของรัฐบาลที่แตกต่างกันในแต่ละประเทศ • World Development Report (WDR) 2004 ชี้ให้เห็นถึงปัจจัยสำคัญต่างๆ: • นโยบายจัดสรรงบประมาณและการบริหารจัดการ เช่นการใช้จ่ายป้องกันประเทศ vs. การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน • ความสำคัญและการจัดลำดับชั้นของรัฐบาล • คุณภาพของการบริหารภาคสาธารณะ • ปัจจัยอื่น ๆ – บทบาทของภาคเอกชน

  42. ข้อจำกัดของนโยบายการคลังในประเทศกำลังพัฒนาข้อจำกัดของนโยบายการคลังในประเทศกำลังพัฒนา 1. ภาคเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนามักจะอยู่นอกระบบตลาดค่อนข้างมาก(non-monetized) ทำให้การใช้มาตรการทางการคลังของรัฐบาลอาจจะไม่มีประสิทธิภาพหรือล้มเหลวได้2. ข้อมูลทางสถิติไม่ครบถ้วน เช่นรายได้ รายจ่าย การออม การลงทุน การจ้างงาน เป็นต้น ทำให้ยากในการกำหนดนโยบายการคลังให้สมเหตุสมผลและมีประสิทธิภาพ

  43. 3. การดำเนินนโยบายทางการคลังจะไม่ประสบผลสำเร็จ ถ้าประชาชนไม่เข้าใจผลที่จะเกิดขึ้นของนโยบาย และให้ความร่วมมือกับรัฐบาล ทั้งนี้เนื่องจากในประเทศกำลังพัฒนา คนส่วนใหญ่ขาดความรู้ความเข้าใจนโยบายที่ใช้4. มีการหลบเลี่ยงภาษีหรือการยกเว้นภาษีของคนจำนวนหนึ่ง ซึ่งไม่ได้ให้ความสำคัญกับบทบาทในการพัฒนาประเทศของตนเอง ทำให้เกิดผลกระทบต่อการดำเนินนโยบายการคลัง5. การดำเนินนโยบายการคลังต้องมีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่จะมีการบริหารจัดการที่ไม่ดีและไม่มีประสิทธิภาพ ซึ่งมีผลกระทบต่อผลของการดำเนินนโยบายการคลัง

  44. นโยบายการคลังที่เหมาะสมนโยบายการคลังที่เหมาะสม • ดำเนินนโยบายการคลังที่เหมาะสมในระยะสั้น • การให้ความสำคัญกับการดำเนินนโยบายการคลังในระยะปานกลาง และมีการคำนึงถึงผลในระยะยาว • ให้ความสำคัญกับความยั่งยืนทางการคลัง (fiscal sustainability) • รัฐบาลต้องมีศักยภาพในการดำเนินนโยบายการคลังให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย • ให้ความสำคัญกับเนื้อหาโครงสร้าง (Structural Content) ของนโยบายการคลัง (ความมีประสิทธิภาพของระบบภาษี และคุณภาพของการใช้จ่ายสาธารณะ) • ให้ความสำคัญกับคุณภาพที่ดี (ธรรมาภิบาล) ในการบริหารจัดการรายรับและรายจ่ายของรัฐบาล

  45. ดำเนินนโยบายการคลังที่เหมาะสมในระยะสั้นดำเนินนโยบายการคลังที่เหมาะสมในระยะสั้น • ต้องมีความครอบคลุมครบถ้วน (Comprehensive) • สามารถวัดผลกระทบของนโยบายการคลังในการทำให้เกิดความสมดุลทางการคลังและเศรษฐกิจมหภาค • ผลของการเบียดออก (Crowding-out effects) • ผลของ Ricardian equivalence ต้องครอบคลุมทุกๆ ระดับของรัฐบาล เงินในและนอกงบประมาณ รัฐวิสาหกิจต่างๆ และแม้แต่เครื่องมือกึ่งการคลังทั้งหลาย รวมทั้งเครื่องมือที่เป็น automatic stabilizer ทั้งหลาย

More Related