490 likes | 815 Vues
ส่วนที่ 1 สิทธิในบำเหน็จของลูกจ้าง ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้าง พ.ศ. 2519 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 8 พ.ศ. 2552).
E N D
ส่วนที่ 1 สิทธิในบำเหน็จของลูกจ้าง ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้าง พ.ศ. 2519 และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 8 พ.ศ. 2552)
ลูกจ้างมีสิทธิได้รับบำเหน็จ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1. ลูกจ้างประจำ - บำเหน็จปกติ - บำเหน็จรายเดือน - บำเหน็จพิเศษ - บำเหน็จพิเศษรายเดือน 2. ลูกจ้างชั่วคราว - บำเหน็จพิเศษ
ลูกจ้างประจำ ที่มีสิทธิได้รับบำเหน็จ 1. ลูกจ้างประจำ ที่จ้างเป็นรายเดือน รายวัน และรายชั่วโมง 2. จ้างไว้ปฏิบัติงานที่มีลักษณะประจำไม่มีกำหนดเวลาตามอัตราและจำนวนที่กำหนด 3. จ่ายค่าจ้างจากเงินงบประมาณ ไม่รวม ลูกจ้างประจำที่มีสัญญาจ้าง และลูกจ้าง ที่จ้างปฏิบัติงานในต่างประเทศ
ลูกจ้างชั่วคราว ที่มีสิทธิได้รับบำเหน็จ 1. ลูกจ้างชั่วคราว ที่จ้างเป็นรายเดือน รายวัน และรายชั่วโมง 2. จ้างไว้ปฏิบัติงานที่มีลักษณะชั่วคราว และหรือโดยมีกำหนดเวลาจ้าง 3. จ่ายค่าจ้างจากเงินงบประมาณ
ประเภทบำเหน็จของลูกจ้าง 1. บำเหน็จปกติ 2. บำเหน็จรายเดือน 3. บำเหน็จพิเศษ 4. บำเหน็จพิเศษรายเดือน 5
1. บำเหน็จปกติ เงินตอบแทนของลูกจ้างประจำที่ออกจากงาน เนื่องจากทำงานมานาน โดยจ่ายครั้งเดียว เหตุที่ก่อให้เกิดสิทธิบำเหน็จปกติ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
1. ลาออกโดยไม่มีความผิด /กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงและถูกโทษปลดออก ต้องมีอายุงาน 5 ปีขึ้นไป 2. อายุครบ 60 ปี / เจ็บป่วย /ขาดคุณสมบัติ (สัญชาติ/ทุพพลภาพ/ตำแหน่งทางการเมือง) /ตำแหน่งถูกยุบ/เลิก ต้องมีอายุงาน 1 ปีขึ้นไป
3. ลูกจ้างประจำตายระหว่างรับราชการ มีอายุงาน 1 ปีขึ้นไป และความตายนั้นมิได้เกิดจากการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง ให้ตกแก่ทายาทเป็นมรดก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยไม่ถือเป็นสินสมรส
สูตรคำนวณบำเหน็จปกติ บำเหน็จปกติ* = อัตราค่าจ้างเดือนสุดท้าย xจำนวนเดือนที่ทำงาน** 12 * เศษของบาท(เศษสตางค์) ให้ปัดทิ้ง **เศษของเดือนถ้าถึง 15 วัน ให้ปัดเป็น 1 เดือน 9
การนับเวลาราชการ • 1. เวลาระหว่างรับราชการปกติ • 2. เวลาทวีคูณ = เวลาที่ กม.ให้นับเพิ่มอีก 1 เท่า • - ตามที่ ก.กลาโหมกำหนด • - ในเขตประกาศกฎอัยการศึก • 3. การตัดเวลาราชการ • - เวลาที่ไม่ได้รับเงินเดือน - เวลาระหว่างรับเบี้ยหวัด • - วันลาในระหว่างประกาศกฎอัยการศึก
2. บำเหน็จรายเดือน ลูกจ้างประจำผู้มีสิทธิรับบำเหน็จปกติ ซึ่งมี เวลาทำงาน 25 ปีขึ้นไป จะแสดงความประสงค์ขอรับเป็นบำเหน็จรายเดือนแทนก็ได้ โดยสิทธิในบำเหน็จรายเดือน เริ่มตั้งแต่วันที่ออก จากงานจนกระทั่งตาย 11
สูตรคำนวณบำเหน็จรายเดือนสูตรคำนวณบำเหน็จรายเดือน บำเหน็จรายเดือน* = อัตราค่าจ้างเดือนสุดท้าย xจำนวนเดือนที่ทำงาน** 12 50 *เศษของบาท(เศษสตางค์) ให้ปัดทิ้ง **เศษของเดือนถ้าถึง 15 วัน ให้ปัดเป็น 1 เดือน หรือ บำเหน็จรายเดือน = บำเหน็จปกติ/50 12
3. บำเหน็จพิเศษ เงินที่จ่ายให้แก่ ลูกจ้างประจำและลูกจ้างชั่วคราว ที่ได้รับอันตราย/ป่วยเจ็บ/ถูกประทุษร้าย เพราะเหตุปฏิบัติงานในหน้าที่ ซึ่งแพทย์ที่ทางราชการรับรองได้ตรวจและแสดงว่าไม่สามารถปฏิบัติงานในหน้าที่ได้อีก โดยจ่ายเป็นก้อนครั้งเดียว 13
สำหรับลูกจ้างประจำ นอกจากจะได้รับบำเหน็จปกติแล้ว ให้ได้รับบำเหน็จพิเศษนี้ด้วย เว้นแต่ อันตรายที่ได้รับหรือการป่วยเจ็บนั้น เกิดจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง หรือ จากความผิดของตนเอง 14
เหตุที่ก่อให้เกิดสิทธิบำเหน็จพิเศษของลูกจ้างประจำ และลูกจ้างชั่วคราวแบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ 1. กรณีทุพพลภาพ จ่ายให้เจ้าตัว 2. กรณีเสียชีวิต จ่ายให้ทายาท
กรณีทุพพลภาพ 1. ในเวลาปกติ - ลูกจ้างประจำ = 6-24 เท่าของอัตราเงินเดือน - ลูกจ้างชั่วคราว = 3 ใน 4 ส่วนของอัตราที่ลูกจ้างประจำได้รับ 2. หน้าที่พิเศษ - ลูกจ้างประจำ = 36-42 เท่าของอัตราเงินเดือน - ลูกจ้างชั่วคราว = 3 ใน 4 ส่วนของอัตราที่ลูกจ้างประจำได้รับ
กรณีเสียชีวิต 1. ในเวลาปกติ - ลูกจ้างประจำ = 30 เท่าของอัตราเงินเดือน - ลูกจ้างชั่วคราว = 3 ใน 4 ส่วนของอัตราที่ลูกจ้างประจำได้รับ 2. หน้าที่พิเศษ - ลูกจ้างประจำ = 48 เท่าของอัตราเงินเดือน - ลูกจ้างชั่วคราว = 3 ใน 4 ส่วนของอัตราที่ลูกจ้างประจำได้รับ
4. บำเหน็จพิเศษรายเดือนลูกจ้างประจำผู้มีสิทธิรับบำเหน็จพิเศษจะแสดงความประสงค์ขอรับเป็นบำเหน็จพิเศษรายเดือนก็ได้ โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้1. ปฏิบัติหน้าที่ในเวลาปกติ = (6 - 24 เท่าของค่าจ้างเดือนสุดท้าย) / 50 2. ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ ก.กลาโหมกำหนด = (36-42 เท่าของค่าจ้างเดือนสุดท้าย) / 50 18
ส่วนที่ 2 การยื่นเรื่องขอรับบำเหน็จ และการเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้อง
1. กรอกแบบที่กำหนด - แบบขอรับบำเหน็จ (แบบ 5313) กรณีขอรับบำเหน็จรายเดือน - แบบขอลดหย่อนภาษี (แบบ สรจ.1) กรณีบัญชีเงินฝากธนาคารมีชื่อเป็นบัญชีร่วม - แบบแสดงเจตนาขอให้โอนเงิน (แบบ สรจ.2) 20
2. ถ่ายสำเนาเอกสารและรับรองสำเนาถูกต้อง ทุกฉบับด้วยตัวเอง - บัตรประจำตัวประชาชน หรือทะเบียนบ้าน - หน้าแรกของสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร (บัญชีกระแสรายวัน หรือ ออมทรัพย์ เท่านั้น) - อื่นๆ เช่น หลักฐานการเปลี่ยนชื่อ/นามสกุล3. ยื่นเอกสารตามข้อ 1. และ 2. ให้ส่วนราชการต้นสังกัด (ส่วนราชการผู้ขอ) 21
4. เมื่อส่วนราชการต้นสังกัดรับเรื่อง จะพิมพ์สลิป ลงทะเบียนรับให้ผู้มีสิทธิ เพื่อใช้ติดตามเรื่องกับ ส่วนราชการต้นสังกัด หรือสำนักงานคลังเขต 1 ต่อไป 5. ส่วนราชการ ส่งให้สำนักงานคลังเขต 1 ดำเนินการตรวจอนุมัติต่อไป 22
เมื่อสำนักงานคลังเขต 1 ได้รับเรื่องขอรับบำเหน็จบำนาญ จากส่วนราชการครบทั้ง 2 ส่วน คือ 1. แบบขอรับบำเหน็จบำนาญ และเอกสารประกอบ 2. ข้อมูลในระบบ e-pension จึงจะดำเนินการตรวจอนุมัติ 23
3. เมื่อเรื่องได้รับการอนุมัติสำนักงานคลังเขต 1 จะส่งหนังสือการสั่งจ่ายแจ้งให้ผู้รับบำเหน็จบำนาญทราบ 4. ผู้รับบำเหน็จไปแสดงตนต่อส่วนราชการผู้เบิก 5. ส่วนราชการผู้เบิกทำบันทึกขอเบิกเงินในระบบ 6. กรมบัญชีกลางโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของผู้รับบำเหน็จบำนาญ 24