1 / 45

บทที่ 6

รายวิชาเศรษฐศาสตร์แรงงาน. บทที่ 6. การมีงานทำและการว่างงาน (Employment and Unemployment). โดย อ.มานิตย์ ผิวขาว สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ วิทยาเขตหนองคาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. หัวข้อ 6.1 ความหมายของการมีงานทำ 6.2 ประเภทของการมีงานทำ 6.3 ความสำคัญของการมีงานทำ

franz
Télécharger la présentation

บทที่ 6

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. รายวิชาเศรษฐศาสตร์แรงงานรายวิชาเศรษฐศาสตร์แรงงาน บทที่ 6 การมีงานทำและการว่างงาน(Employment and Unemployment) โดย อ.มานิตย์ ผิวขาว สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ วิทยาเขตหนองคาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  2. หัวข้อ • 6.1 ความหมายของการมีงานทำ • 6.2 ประเภทของการมีงานทำ • 6.3 ความสำคัญของการมีงานทำ • 6.4 การมีงานทำในประเทศไทย • 6.5 ความหมายของการว่างงาน • 6.6 ความสำคัญของปัญหาการว่างงาน • 6.7 การว่างงาน (Unemployment) กับตำแหน่งงานว่าง (Job vacancy) • 6.8 ตำแหน่งว่างและการบรรจุงาน • 6.9 การเคลื่อนไหวในตลาดแรงงาน • 6.10 ประเภทและสาเหตุการว่างงาน • 6.11 ทฤษฎีการว่างงาน (Theory of Unemployment) • 6.12 การแก้ปัญหาการว่างงาน

  3. 6.1 ความหมายของการมีงานทำ

  4. การมีงานทำ หมายถึง การที่บุคคลผู้อยู่ในกำลังแรงงานตั้งแต่อายุ 15 ปีขึ้นไปทุกคน ซึ่งในสัปดาห์แห่งการสำรวจเป็นผู้มีลักษณะดังนี้ • เป็นผู้มีงานทำโดยรับค่าจ้าง เงินเดือน ผลกำไร ส่วนแบ่งหรือค่าตอบแทนที่มีลักษณะอย่างอื่นสำหรับผลงานที่ทำ หรือ • ผู้ที่ไม่ได้ทำงาน แต่ยังคงมีตำแหน่งหน้าที่การงานหรือธุรกิจของตนเอง โดยหยุดงานชั่วคราวเนื่องจากเจ็บป่วย หยุดพักผ่อน หรือหยุดพักงานด้วยเหตุผลอย่างอื่น และจะได้รับค่าจ้างในระหว่างที่หยุดงานหรือไม่ก็ตาม หรือ • ผู้ซึ่งไม่ได้ทำงานและไม่ได้หางานทำ เพราะรอการบรรจุเข้าทำงาน หรือรอกลับเข้าทำงานในหน้าที่เดิมในกำหนดเวลา 20 วัน นับจากวันสัมภาษณ์ หรือ • ผู้ที่ทำงานโดยไม่ได้รับค่าจ้างในรัฐวิสาหกิจ หรือในไร่นาเกษตรกรของหัวหน้าครัวเรือน หรือ • สมาชิกในครัวเรือนที่มีความสัมพันธ์กันทางญาติโดยสมรส หรือรับมาเป็นบุตรบุญธรรม และเป็นผู้ที่มีชั่วโมงการทำงานตั้งแต่ 20 ชั่วโมงขึ้นไป

  5. 6.2 ประเภทของการมีงานทำ

  6. จำแนกตามอุตสาหกรรม เช่น สาขาการเกษตร สาขาอุตสาหกรรม สาขาบริการ เป็นต้น • จำแนกตามอาชีพ เช่น ผู้ปฏิบัติงานที่มีวิชาชีพ วิชาการ ผู้ปฏิบัติงานบริหารธุรการและจัดดำเนินการ ผู้ปฏิบัติงานอาชีพเสมียน เกษตรกร เป็นต้น • จำแนกตามสถานภาพทำงาน เช่น นายจ้าง ลูกจ้างรัฐบาล ลูกจ้างเอกชน ผู้มีงานทำส่วนตัว ผู้ที่ทำงานให้แก่ครอบครัวโดยไม่ได้รับค่าจ้าง เป็นต้น

  7. 6.3 ความสำคัญของการมีงานทำ

  8. การมีงานทำ การมีรายได้ อุปสงค์เพิ่มขึ้น รองรับผลผลิต การผลิตสินค้า/บริการ

  9. 6.4 การมีงานทำในประเทศไทย

  10. ประชากร 62,936 อายุ 15 ปีขึ้นไป 47,057 (74.77%) อายุต่ำกว่า 15 ปี 15,879 (25.23%) กำลังแรงงานรวม 33,920 (72.08%) ไม่อยู่ในกำลังแรงงาน 13,137 (27.92%) ผู้มีงานทำ 32,173 (94.85%) ผู้ไม่มีงานทำ 1,096 (3.23%) รอฤดูกาล 651 (1.92%) ทำงานบ้าน 4,053 (30.85%) เรียนหนังสือ 4,160 (31.66%) ภาคเกษตรกรรม 13,585 (42.22%) กำลังหางานทำ 287 (88.85%) นอกภาคเกษตรกรรม 18,588 (57.78%) ไม่ออกหางานทำ9808 (11.15%) เด็ก คนชรา/ผู้ไม่สามารถทำงานได้ 2,955 (22.49%) อื่น ๆ 1,970 (15.00%) โครงสร้างประชากรและกำลังแรงงานในประเทศไทย ปี 2544

  11. 6.5 ความหมายของการว่างงาน

  12. หมายถึง บุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ซึ่งในสัปดาห์แห่งการสำรวจไม่ได้ ทำงานใด ๆ ทั้งสิ้น แต่ประสงค์จะทำงานและสามารถหางานทำได้ • เป็นบุคคลดังต่อไปนี้ • - ผู้ไม่ได้ทำงานใด ๆ ทั้งสิ้น แต่ออกหางานทำ • - ผู้ซึ่งไม่ได้ทำงานใด ๆ ทั้งสิ้นและไม่ได้หางานทำเนื่องจากเจ็บป่วย - ผู้ซึ่งไม่ได้ทำงานใด ๆ และไม่ได้หางานทำ เนื่องจากคิดหรือรู้ว่าหางานทำไม่ได้ • - ผู้ทำงานให้แก่ครอบครัวโดยไม่ได้รับค่าจ้าง ทำงานน้อยกว่า 20 ชั่วโมง และต้องการ • ทำงานเพิ่มขึ้น • กำลังแรงงาน = จำนวนผู้มีงานทำ + จำนวนผู้ว่างงาน • จำนวนผู้ว่างงาน = กำลังแรงงาน – จำนวนผู้มีงานทำ • อัตราการว่างงาน =

  13. 6.6 ความสำคัญของปัญหาการว่างงาน

  14. การว่างงาน เป็นอุปสรรคต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เป็นเครื่องชี้วัดภาวะเศรษฐกิจว่ามีปัญหากำลังการผลิตส่วนเกิน (Excess capacity) ประชากรขาดอำนาจซื้อ อุปสงค์มวลรวมลดลง การลงทุนลดลง การผลิตลดลง กระทบปัญหาสังคม

  15. 6.7 การว่างงาน (Unemployment) กับตำแหน่งงานว่าง (Job vacancy)

  16. W SL a b W1 ว่างงานช่วง ab W0 ตำแหน่งงานว่าง cd W2 DL c d 0 N N0 • ตำแหน่งงานว่าง คือ สภาวะที่นายจ้างหรือหน่วยธุรกิจที่กำลังเสาะแสวงหาคนงานเพื่อบรรจุเข้าทำงาน ณ อัตราค่าจ้างหนึ่ง หรือ ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง • จำนวนตำแหน่งงานว่างเท่ากับอุปสงค์ส่วนเกินในตลาดแรงงาน ตลาดเดียว

  17. ตลาด A ตลาด B W W ตำแหน่งงานว่างช่วง cd ว่างงานช่วง ab SL1 SL2 SL2 SL1 b a c d W0 W0 DL DL 0 0 N0 N1 N N0 N1 N ตำแหน่งงานว่างเมื่อมีความแตกต่างในอุปทานของแรงงาน

  18. ตลาด B ตลาด A W W ว่างงานช่วง ab ตำแหน่งงานว่างช่วง cd SL SL d a b c W0 W0 DL2 DL1 DL2 DL1 0 0 N0 N1 N N0 N1 N ตำแหน่งงานว่างเมื่อมีความแตกต่างในอุปสงค์ต่อแรงงาน

  19. 6.8 ตำแหน่งว่างและการบรรจุงาน

  20. ปัจจัยในการตัดสินใจเปลี่ยนงานของแรงงานปัจจัยในการตัดสินใจเปลี่ยนงานของแรงงาน • รายได้ปัจจุบัน และรายได้ศักยภาพ(Potential earning: รายได้ที่เป็นไปได้) • เงื่อนไขการทำงาน • ค่าใช้จ่ายในรูปตัวเงิน และเวลาการแสวงหางาน • แหล่งรายได้และเงินสนับสนุนอื่น เช่น สวัสดิการสังคม เงินประกันการว่างงาน • กิจกรรมอื่นภายในบ้านหรือชุมชน เช่น การทำงานบ้าน • ข้อมูลข่าวสาร

  21. ทางเลือกในการสรรหาบุคคลเพื่อบรรจุตำแหน่งงานว่างของนายจ้างทางเลือกในการสรรหาบุคคลเพื่อบรรจุตำแหน่งงานว่างของนายจ้าง • ถ้าหาคนได้ยากก็ปรับลักษณะงาน หรือปรับใช้บุคคลคุณวุฒิต่ำกว่างานมากขึ้น • การใช้ปัจจัยทุน(เครื่องมือ เครื่องจักร)แทนปัจจัยคนมากขึ้น • ให้คนงานเดิมทำงานล่วงเวลา

  22. 6.9 การเคลื่อนไหวในตลาดแรงงาน

  23. สมาชิกครอบครัวที่ ไม่อยู่ในกำลังแรงงาน ผู้ถอนตัวออกจากตลาดแรงงาน ผู้เข้าใหม่และเข้าสู่ ตลาดอีกครั้ง ตำแหน่งงานว่าง ตลาดแรงงาน ผู้ว่างงาน ตำแหน่งงานว่างใหม่ ผู้ลาออก ผู้ลาออก จ้างใหม่ เรียกกลับ เกษียณ ผู้มีงานทำ อุปทานแรงงาน ปลดออก อุปสงค์แรงงาน การผลิต อุปสงค์สำหรับผลผลิต การเคลื่อนไหวไปมาระหว่างกลุ่มบุคคลที่มีงานทำและกลุ่มผู้ที่ว่างงานมีอยู่ตลอดเวลา

  24. 6.10 ประเภทและสาเหตุการว่างงาน

  25. จำแนกตามการตัดสินใจของบุคคลจำแนกตามการตัดสินใจของบุคคล • ผู้ว่างงานโดยสมัครใจ (Voluntary unemployment) • การว่างงานแบบไม่สมัครใจ (Involuntary unemployment) จำแนกตามข้อบกพร่องในตลาดแรงงาน • การว่างงานเพราะอุปสงค์รวมไม่เพียงพอ (deficit demand unemployment) -ว่างงานในระยะสั้น เรียกว่า การว่างงานอันเป็นผลมาจากวัฏจักรทางธุรกิจ(cyclical unemployment) -ว่างงานในระยะยาว เป็นการว่างงานอันเนื่องมาจากอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจไม่เพียงพอ(growth-gap unemployment) • การว่างงานเพราะความฝืดของกลไกตลาดแรงงาน(frictional unemployment) ) จากสาเหตุต่อไปนี้

  26. -นายจ้างและลูกจ้างไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับตลาดแรงงานพอเพียง- การผันเวียนโดยปกติ(normal turnover)ในตลาดแรงงาน- การที่อุปสงค์ต่อแรงานไม่สม่ำเสมอตลอดทั้งปี - การขาดประสิทธิภาพของตลาดแรงงาน - ต้นทุนในการแสวงหางานทำสูง • การว่างงานจากปัญหาโครงสร้าง(structural unemployment)-คุณสมบัติของคนในท้องถิ่นไม่ตรงตามตำแหน่งงานว่าง-การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีการผลิตที่นำระบบอัตโนมัติ(automation)-การผลิตผู้สำเร็จการศึกษาบางสาขามากเกินไปจนหางานทำไม่ได้ -การกำหนดอัตราค่าจ้างสูงกว่าระดับดุลยภาพ -การย้ายแรงงานทำไม่ได้หรือทำได้ไม่สะดวก

  27. W ว่างงานช่วง ab SL a b DL W1W0 E 0 N0 N1 N2 N การว่างงานจากปัญหาโครงสร้าง(จากการกำหนดอัตราค่าจ้างสูงกว่าระดับดุลยภาพ)

  28. ตลาด A ตลาด B ช่วง aE0ว่างงาน(ถูกปลดออก) W W SL SL E1 W0 a E0 W1 DL0 E0 W0 DL1 DL0 DL1 0 0 N1 N0 N N0 N1 N การจ้างงานของผู้เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เพิ่มขึ้น การจ้างงานช่างเหล็กที่ลดลง

  29. การว่างงานตามฤดู(seasonal unemployment) • การว่างงานแอบแฝง(disguised unemployment) • การว่างงานในลักษณะการทำงานต่ำระดับ(underemployment) -ที่เห็นได้ชัดเจน(visible underemployment) คือทำงานน้อยกว่าปกติโดยไม่สมัครใจ -ที่เห็นได้ไม่ชัดเจน(invisible underemployment) ทำงานปกติ แต่ใช้ความรู้ ความสามารถต่ำกว่าที่ตนมีอยู่

  30. 6.11 ทฤษฎีการว่างงาน • (Theory of Unemployment)

  31. ทฤษฎีการว่างงานโดยสมัครใจของคลาสสิกทฤษฎีการว่างงานโดยสมัครใจของคลาสสิก • การว่างงานทั้งหมดล้วนเป็นการว่างงานโดยสมัครใจ • ตลาดแรงงานมีการแข่งขันสมบูรณ์ ระดับราคา(P) และอัตราค่าจ้างที่เป็นตัวเงิน(W) เคลื่อนไหวขึ้นลงได้โดยเสรี(ทำให้ค่าจ้างแท้จริงไม่เปลี่ยนแปลง) • คนงานมีความรู้เกี่ยวกับราคา(P)อย่างสมบูรณ์ และเป็นคนมีเหตุผล(Rational)ตลอดเวลา จึงไม่เกิดปัญหาภาพลวงตาทางการเงิน(money illusion)

  32. w=(W/P) SL DL A w2 w1w0 B E F C 0 N0 N1 N2 N UV = M - ON1 เมื่อ UV = แรงงานที่ว่างงานโดยสมัครใจ M = กำลังแรงงาน ON1 = แรงงานที่มีงานทำ

  33. ทฤษฎีการว่างงานโดยไม่สมัครใจของเคนส์ทฤษฎีการว่างงานโดยไม่สมัครใจของเคนส์ • ตลาดแรงงานไม่สามารถปรับตัวเองได้อย่างเสรี • เกิดการว่างงานโดยไม่สมัครใจ(involuntary unemployment) หรือที่เรียกว่า การว่างงานเพราะอุปสงค์มวลรวมมีไม่เพียงพอ • ค่าจ้างที่เป็นตัวเงินสามารถปรับตัวขึ้นได้ แต่ไม่มีวันลดลงต่ำกว่าเดิม หรือเรียกว่า อัตราค่าจ้างที่เป็นตัวเงินแข็งตัว(money wage rigidity) • ปัจจัยต่าง ๆ ในตลาดสินค้าและตลาดเงินคอยขัดขวางไม่ให้เศรษฐกิจปรับตัวเข้าสู่ดุลยภาพการจ้างงานเต็มที่ • อุปสงค์ต่อแรงงานและอุปทานของแรงงานขึ้นอยู่กับค่าจ้างที่เป็นตัวเงิน(money wage:W) ไม่ใช่ขึ้นอยู่กับค่าจ้างแท้จริง(real wage:w) • แรงงานเกิดปัญหา “ภาพลวงตาทางการเงิน” (money illusion) เพราะเมื่อราคาสินค้าเปลี่ยนไป แรงงานจะไม่ทราบว่าค่าจ้างแท้จริง(real wage) ของตนได้เปลี่ยนแปลงไป

  34. W SL A B W1 DL0 DL1 0 N0 N1 N -ดุลยภาพเดิมอยู่ที่ จุด A อัตราค่าจ้าง OW1 การจ้างงานหรือมีงานทำเท่ากับ ON1 -เมื่อเศรษฐกิจตกต่ำ อุปสงค์มวลรวมภายในระบบเศรษฐกิจลดลง เกิดปัญหาสินค้าล้นตลาด(อุปทานสินค้ามีเกินอุปสงค์มวลรวมหรือความต้องการ) ทำให้ระดับราคาสินค้าลดลง อุปสงค์ต่อแรงงานลดลงด้วย -เกิดการว่างงานโดยไม่สมัครใจ(involuntary unemployment) ช่วง BA หรือ N0 N1

  35. สาเหตุจากตลาดเงิน เคนส์เห็นว่าการที่ราคาสินค้าลดลง จะทำให้ปริมาณเงินแท้จริงเพิ่มขึ้นด้วย การที่ปริมาณเงินแท้จริงเพิ่มขึ้น ในขณะที่อุปสงค์ต่อเงินไม่เปลี่ยนแปลง ทำให้อัตราดอกเบี้ยลดลง อย่างไรก็ตามในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำนั้น แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยจะลดลงก็ไม่ทำให้เกิดการลงทุนเพิ่มสูงขึ้น การว่างงานจึงยังคงอยู่ นอกจากนี้แล้วการที่อัตราดอกเบี้ยต่ำมาก ๆ ไม่ว่าปริมาณเงินจะเพิ่มขึ้นมาเท่าไร(จากผลของการที่ราคาลดลงทำให้ปริมาณเงินแท้จริงเพิ่มสูงขึ้นดังกล่าวมาแล้วข้างต้น) ประชาชนจะเก็บเงินหรือถือเงินไว้ทั้งหมด ในช่วงดังกล่าวจึงเกิดกับดักสภาพคล่อง(liquidity trap) จากผลของการเพิ่มขึ้นของปริมาณดังกล่าว การที่คนถือเงินโดยไม่ทำการใช้จ่ายก็จะทำให้อุปสงค์มวลรวมไม่ได้เพิ่มขึ้นแต่อย่างใด

  36. ทฤษฎีการว่างงานของพวกโครงสร้างนิยมทฤษฎีการว่างงานของพวกโครงสร้างนิยม สาเหตุของการว่างงานเพราะโครงสร้าง • การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี เช่น การผลิตเครื่องจักรใหม่ การใช้เครื่องจักรแทนแรงงาน • การเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์อันเนื่องมาจากรายได้เปลี่ยนไป หรือรสนิยมเปลี่ยนไป ทำให้ความต้องการแรงงานเปลี่ยนแปลงไปด้วย • การแข่งขันจากต่างประเทศ ทำให้อุตสาหกรรมบางอย่างภายในประเทศเกิดการหดตัวหรือผลิตลดลง • ปัจจัยทางสถาบันโดยเฉพาะการกระทำของรัฐบาล ในกรณีที่รัฐบาลมีนโยบายเปลี่ยนไป เช่น การตั้งกำแพงภาษี หรือให้สิทธิพิเศษทางภาษี • การที่โครงสร้างเศรษฐกิจเปลี่ยนไป • ให้ผู้จบการศึกษามาไม่ตรงกับความต้องการแรงงานของตลาดแรงงาน

  37. ทฤษฎีการแสวงหางานทำของนีโอคลาสสิกทฤษฎีการแสวงหางานทำของนีโอคลาสสิก ฟรีดแมน และ เฟลฟ์ส • ระบบเศรษฐกิจมีอัตราการว่างงานตามธรรมชาติ(natural rate of unemployment)อยู่อัตราหนึ่ง อัตราการว่างงานดังกล่าวถูกกำหนดโดยการว่างงานฝืด(frictional unemployment: ความฝืดตัวของตลาดแรงงาน) และการว่างงานเพราะโครงสร้างทางเศรษฐกิจ (structural unemployment) • การดำเนินนโยบายการบริหารอุปสงค์มวลรวม(demand management policy :ของเคนส์) แบบขยายตัว อาจมีผลช่วยลดอัตราการว่างงานลงต่ำกว่าอัตราธรรมชาติเฉพาะในระยะสั้นเท่านั้น แต่ในระยะยาวเมื่อคนงานมีประสบการณ์เกี่ยวกับผลของการดำเนินนโยบายการเงิน-การคลังแบบขยายตัว คนงานจะสามารถปรับพฤติกรรมการเสนอขายแรงงานของตนอย่างถูกต้อง ทำให้อัตราการว่างงานเข้าสู่อัตราธรรมชาติอย่างเดิม

  38. อัตราการว่างงานตามธรรมชาติ หรือ การว่างงานที่ระดับเศรษฐกิจอยู่ในภาวะสมดุลเต็มที่(full equilibrium rate of unemployment) ซึ่งไม่ก่อให้เกิดอุปสงค์และอุปทานแรงงานส่วนเกินในตลาดแรงงาน • ArthurOkun (1961) กรณี อัตราการว่างงานเท่ากับ 3.7 % จะไม่เกิดความแตกต่างระหว่างผลผลิตที่เศรษฐกิจอยู่ในภาวะการสมดุลเต็มที่(Yfe) กับผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง(Y) • ตามแนวคิดนี้ การว่างงานมี 3 ประเภท 1)การว่างงานเพราะผลแห่งการตัดสินใจที่ไม่ต้องการให้สมาชิกบางคนทำงานในตลาด 2) การว่างงานในรูปของการลงทุนแสวงหางานทำ 3) การว่างงานเพราะความบกพร่องในตลาดแรงงาน

  39. W SLxP2 SLx P1 DLxP2 DLxP1 E w2 w1 B 0 N1 N การคาดคะเนกับการว่างงาน กรณีการเพิ่มปริมาณเงิน

  40. ทฤษฎีการว่างงานในตลาดแรงงานทวิลักษณ์ (unemployment in the dual labor market) • ตลาดแรงงานปฐมภูมิ(primary) ประกอบด้วยงานที่มีค่าจ้างสูง มีความก้าวหน้าและมั่นคง มีสภาพการทำงานที่ดี มีระเบียบการทำงานที่ชัดแจ้ง ฯลฯ • ตลาดทุติยภูมิ (secondary) ประกอบด้วยงานขั้นต่ำ ค่าจ้างต่ำ ไม่มีโอกาสก้าวหน้า • แรงงานในตลาดทุติยภูมิจะย้ายไปหางานทำในตลาดปฐมภูมิไม่ได้ เพราะขาดคุณสมบัติต่าง ๆ ที่ไม่ใช่คุณสมบัติทางการศึกษา แต่เป็นคุณสมบัติเรื่อง “การยอมรับทางสังคม(social acceptability)” ซึ่งวัดด้วยเพศ ผิว ค่านิยมทางสังคม ชื่อสถาบันการศึกษา ฯลฯ

  41. 6.12 การแก้ปัญหาการว่างงาน

  42. กรณีการว่างงานประเภทไม่สมัครใจเพราะอุปสงค์มวลรวมมีไม่เพียงพอกรณีการว่างงานประเภทไม่สมัครใจเพราะอุปสงค์มวลรวมมีไม่เพียงพอ • ให้รัฐบาลดำเนินนโยบายการเงิน-การคลังแบบขยายตัว เช่น การเพิ่มปริมาณเงิน การเพิ่มรายจ่ายของรัฐบาล การลดภาษี เป็นต้น กรณีการว่างงานเพราะโครงสร้าง • สนับสนุนและส่งเสริมการฝึกฝนและอบรมคนงานให้มีความรู้ ความสามารถ เหมาะสมกับความต้องการ • มาตรการทางภาษีเพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกรรมวิธีการผลิตและการใช้เครื่องจักรต่าง ๆ • ส่งเสริมการโยกย้ายแรงงานจากท้องที่ที่ไม่มีงานไปสู่ท้องที่ที่ต้องการแรงงานโดยไม่ให้เสียค่าใช้จ่ายสูงนัก

  43. กรณีการว่างงานเกิดจากความฝืดของกลไกตลาดกรณีการว่างงานเกิดจากความฝืดของกลไกตลาด • ยกเลิกมาตรการที่บิดเบือนกลไกของตลาดแรงงาน เช่น ยกเลิกกฎหมายค่าจ้างขั้นต่ำ • ส่งเสริมปรับปรุงข่ายงานและการกระจายข่าวสารตลาดแรงงานให้มีมากขึ้นและรวดเร็วขึ้น กรณีตลาดแรงงานทวิลักษณ์ • การใช้กลไกทางกฎหมายและการเมือง เพื่อแก้ปัญหาการกีดกันอย่างจงใจ • เพิ่มโอกาสการมีงานทำและโอกาสการรับฝึกงานของตลาดแรงงานปฐมภูมิ และการกระตุ้นอุปสงค์มวลรวมทำให้ตลาดปฐมภูมิดูดซับแรงงานจากตลาดทุติยภูมิมากขึ้น

  44. ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

  45. ข้อ 8. ประเทศไทยประสบปัญหาแรงงานหลายอย่าง ทั้งปัญหาแรงงานเด็ก ปัญหาแรงงานสตรี ปัญหาแรงงานต่างด้าว และปัญหาแรงงานเดินทางไปทำงานต่างประเทศ ปัญหาดังกล่าวมีสาเหตุที่แตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร? และท่านเห็นว่าปัญหาแรงงานด้านใดที่มีแนวโน้มจะมีระดับปัญหาและผลกระทบของปัญหาเพิ่มขึ้นมากที่สุดในอนาคต? ให้อธิบายแนวโน้มและผลกระทบ ตลอดจนแนวทางในการแก้ไขปัญหาของปัญหาแรงงานดังกล่าว (8 คะแนน)

More Related