1 / 63

ดร.เชาวน์ นกอยู่ กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

สถานการณ์มลพิษน้ำ. ดร.เชาวน์ นกอยู่ กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 92 พหลโยธิน 7 สามเสนใน พญาไท กรุงเทพฯ 10400 E-mail : chao.n@pcd.go.th http://www.pcd.go.th. การตรวจสอบคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำ. การสำรวจภาคสนาม แม่น้ำทั่วประเทศ : 48 สาย จำนวน 360 สถานี

gage-foley
Télécharger la présentation

ดร.เชาวน์ นกอยู่ กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สถานการณ์มลพิษน้ำ ดร.เชาวน์ นกอยู่ กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 92 พหลโยธิน 7 สามเสนใน พญาไท กรุงเทพฯ 10400 E-mail : chao.n@pcd.go.th http://www.pcd.go.th

  2. การตรวจสอบคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำการตรวจสอบคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำ การสำรวจภาคสนาม • แม่น้ำทั่วประเทศ:48 สาย จำนวน 360 สถานี • ภาคกลาง (12 แม่น้ำ) 88 สถานี 4 ครั้ง/ปี • ภาคเหนือ (8 แม่น้ำ) 76 สถานี 2 ครั้ง/ปี • ภาคตะวันออก (10 แม่น้ำ) 60 สถานี 2 ครั้ง/ปี • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (10 แม่น้ำ) 86 สถานี 2 ครั้ง/ปี • ภาคใต้ (8 แม่น้ำ) 50 สถานี ครั้ง/ปี/ปี • ความถี่:ฤดูร้อน (น้ำน้อย) ฤดูฝน (น้ำมาก)

  3. แหล่งน้ำนิ่ง 4 แห่ง จำนวน 37 สถานี • บึงบอระเพ็ด 5 สถานี 4 ครั้ง/ปี • กว๊านพะเยา 10 สถานี 2 ครั้ง/ปี • หนองหาน 7 สถานี 2 ครั้ง/ปี • ทะเลสาบสงขลา 15 สถานี 2 ครั้ง/ปี

  4. ดัชนีคุณภาพน้ำ • ดัชนีทางกายภาพ (Physical Properties) • เช่น อุณหภูมิ สี กลิ่น รส ความขุ่น สารแขวนลอย • ดัชนีทางเคมี (Chemical Properties) • เช่น ออกซิเจนละลาย (DO)ความเป็นกรดและด่าง (pH)บีโอดี (BOD)สารอาหาร(Nutrients) • ดัชนีทางชีวภาพ (Biological Properties) • เช่น จุลินทรีย์หรือแบคทีเรียที่ปนเปื้อนในน้ำ

  5. การประมวลผล ข้อมูลดิบ

  6. คุณภาพน้ำแหล่งน้ำผิวดินทั่วประเทศ เปรียบเทียบตั้งแต่ ปี 2546 - 2548

  7. พารามิเตอร์คุณภาพน้ำที่สำคัญพารามิเตอร์คุณภาพน้ำที่สำคัญ • ค่าอุณหภูมิ (Temperature : องศาเซลเซียส) มีอิทธิพลโดยตรงและโดยอ้อมต่อการดำรงชีวิตของสัตว์น้ำโดยปกติในแม่น้ำ ลำคลองจะมีค่าอุณหภูมิอยู่ในช่วง 23–35 องศาเซลเซียส อุณหภูมิของแหล่งน้ำที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างผิดปกติ อาจเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำได้

  8. ค่าความเป็นกรด-ด่าง ของน้ำ (pH) ระดับความเป็นกรดหรือด่าง ซึ่งมีค่าอยู่ระหว่าง 0 – 14 ถ้า pH ต่ำกว่า 7 จะมีสภาพเป็นกรด ถ้า pH สูงกว่า 7 จะมีสภาพเป็นด่าง แหล่งน้ำที่ดีควรมีค่า pH ใกล้เคียง 7 ซึ่งสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ในหลายด้าน อาทิ การอุปโภคบริโภค การดำรงชีวิตของสัตว์น้ำ การเกษตรและอุตสาหกรรม ตามมาตรฐานแหล่งน้ำของประเทศ กำหนดให้ค่า pH ควรอยู่ในช่วง 5 – 9

  9. ค่าการนำไฟฟ้าของน้ำ (Conductivity : S/cm) แสดงถึงความสามารถของน้ำในการเป็นสื่อนำไฟฟ้า ส่วนใหญ่จะแปรผันโดยตรงกับความเค็มของน้ำ ในน้ำแหล่งน้ำปกติจะมีค่าการนำไฟฟ้า ประมาณ 150 – 300 S/cm ถ้ามีค่าเกิน 1,000 S/cm อาจไม่เหมาะสำหรับการผลิตประปาเพราะจะเริ่มมีรสเค็มหรือมีการปนเปื้อนสารละลาย ขณะที่ถ้ามีค่าเกิน 2,000 S/cm จะไม่เหมาะสำหรับนำมาใช้เพื่อการชลประทาน เพราะจะส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของพืช

  10. 4) ค่าความเค็มของน้ำ (Salinity : ppt) แสดงระดับความเค็มจะแปรผันโดยตรงกับค่าการนำไฟฟ้า มีหน่วยวัดเป็นพีพีที (ppt, part per thousand, ส่วนในพันส่วน) น้ำที่มีความเค็มมากย่อมไม่เหมาะต่อการใช้ประโยชน์เพื่อการประปา การเกษตร และการเพาะเลี้ยงสัตว์ น้ำจืดปกติจะเริ่มมีรสเค็มที่ความเค็มประมาณ 0.5 พีพีที ซึ่งเริ่มไม่เหมาะจะนำมาใช้เพื่อการประปา ขณะที่ความเค็มประมาณ 1 พีพีที ไม่เหมาะจะนำมาใช้เพื่อการชลประทาน นอกจากนี้ ค่าความเค็มมีค่าเกินกว่า 7 พีพีที จะไม่เหมาะต่อการเพาะเลี้ยงและการดำรงชีวิตของสัตว์น้ำจืด

  11. ค่าออกซิเจนละลาย (Dissolved Oxygen, DO : มิลลิกรัมต่อลิตร) ปริมาณออกซิเจนละลายในแหล่งน้ำ มีความจำเป็นต่อการหายใจของพืชและสัตว์น้ำ แหล่งน้ำที่เหมาะแก่การดำรงชีวิตการขยายพันธุ์และการอนุรักษ์สัตว์น้ำ ควรมีค่า DO ไม่ต่ำกว่า 5 มิลลิกรัมต่อลิตร ทั้งนี้โดยทั่วไปสัตว์น้ำส่วนใหญ่จะดำรงสัตว์อยู่ได้อย่างปกติที่ระดับของค่า DO ไม่ต่ำกว่า 3 มิลลิกรัมต่อลิตร

  12. ค่าความขุ่นของแหล่งน้ำ (Turbidity : NTU,Nephelometic Turbidity Unit) แสดงถึงความสามารถในการดูดกลืนแสงของแหล่งน้ำ ถ้ามีความขุ่นสูงแสดงว่ามีการส่องผ่านของแสงน้อย ซึ่งเกิดจากตะกอน สาหร่าย หรือสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ที่แขวนลอยในน้ำ โดยทั่วแหล่งน้ำไม่ควรมีค่าความขุ่นเกินกว่า 100 NTU เพราะจะส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของสัตว์และพืชน้ำ อาทิเช่น บัดบังแสงสำหรับการสังเคราะห์แสงของพืชน้ำ และการหาอาหารของสัตว์น้ำ เป็นต้น

  13. ค่าความสกปรกในรูปสารอินทรีย์หรือบีโอดี (Biochemical Oxygen Demand, BOD : มิลลิกรัมต่อลิตร) ในแหล่งน้ำ ที่มีค่าบีโอดีสูงแสดงว่ามีความสกปรกมาก และน้ำเน่าเสีย โดยทั่วไปแหล่งน้ำผิวดินที่อนุรักษ์ไว้สำหรับการดำรงชีวิตสัตว์น้ำ และการผลิตประปา ค่าบีโอดีไม่ควรเกิน 1.5 มิลลิกรัมต่อลิต ถ้าจะอนุรักษ์แหล่งน้ำไว้เพื่อในการเกษตร ค่าบีโอดีไม่ควรเกิน 2.0 มิลลิกรัมต่อลิตร แหล่งน้ำที่อนุรักษ์ไว้ใช้ประโยชน์เพื่อกิจกรรมด้านการอุตสาหกรรม ไม่ควรมีค่าบีโอดีเกินกว่า 4.0 มิลลิกรัมต่อลิตร

  14. ปริมาณแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมด (Total Coliform Bacteria, TCB) การตรวจแบคทีเรียชนิดนี้ในแหล่งน้ำจะแสดงถึงความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนของเชื้อโรคที่ทำให้เกิดโรคในระบบทางเดินอาหาร เช่น โรคอหิวาตกโรค โรคบิด ไทฟอยด์ หรืออุจจาระร่วง เป็นต้น ตามมาตรฐานคุณภาพแหล่งน้ำ กำหนดให้แหล่งน้ำที่เหมาะในการผลิตประปา และการเล่นกีฬาทางน้ำ ไม่ควรมีแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมดเกินกว่า 5,000 หน่วย (เอ็มพีเอ็นต่อ 100 มิลลิลิตร) ในขณะที่แหล่งน้ำที่เหมาะแก่การเกษตรไม่ควรมีปริมาณแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมดเกินกว่า 20,000 หน่วย

  15. ปริมาณแบคทีเรียกลุ่มฟีคอลโคลิฟอร์ม (Fecal Coliform Bacteria, FCB) การตรวจพบแบคทีเรียชนิดนี้ในแหล่งน้ำ จะเป็นการยืนยันเพิ่มขึ้นจากค่าการตรวจวัดปริมาณแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมด ว่าแหล่งน้ำนั้นมีโอกาสปนเปื้อนของเชื้อโรคที่ทำให้เกิดโรคในระบบทางเดินอาหาร ตามมาตรฐานแหล่งน้ำ กำหนดให้แหล่งน้ำที่เหมาะในการผลิตประปาและการเล่นกีฬาทางน้ำไม่ควรมีปริมาณแบคทีเรียกลุ่ม ฟีคอลโคลิฟอร์ม เกินกว่า 1,000 หน่วย (เอ็มพีเอ็นต่อ 100 มิลลิลิตร) ขณะที่แหล่งน้ำที่เหมาะการเกษตรไม่ควรมีปริมาณแบคทีเรียกลุ่มฟีคอลโคลิฟอร์ม เกินกว่า 4,000 หน่วย

  16. ปริมาณของแข็งแขวนลอยในน้ำ (Suspended Solid, SS : มิลลิกรัมต่อลิตร) สารแขวนลอยในแหล่งน้ำ อาจเกิดจากการระบายน้ำทิ้งจากแหล่งชุมชน โรงงาน อุตสาหกรรม หรือการเกษตร รวมทั้งเกิดจากการชะล้างหน้าดินโดยน้ำฝน แหล่งน้ำที่ให้ผลผลิตทางการประมงที่ดีควรมีค่าสารแขวนลอยอยู่ในช่วง 25 – 80 มิลลิกรัมต่อลิตร แต่ถ้าอยู่ในช่วงระหว่าง 80 – 400 มิลลิกรัมต่อลิตร จะทำให้ผลผลิตลดลง แหล่งน้ำเหมาะจะนำมาใช้สำหรับการผลิตประปา ควรมีสารแขวนลอยไม่เกินกว่า 25 มิลลิกรัมต่อลิตร

  17. คุณภาพน้ำแหล่งน้ำ ผิวดินทั่วประเทศ ปี 2548

  18. คุณภาพน้ำแหล่งน้ำจืดทั่วประเทศโดยรวม ในเดือนมกราคม-มิถุนายน 2549 คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์ดี พอใช้ เสื่อมโทรม และเสื่อมโทรมมาก คิดเป็นร้อยละ 27 49 19 และ 5 ตามลำดับ คุณภาพน้ำในแหล่งน้ำที่สำคัญของประเทศไทย ในรอบหกเดือนปี 2549 (มกราคม - มิถุนายน)

  19. เมื่อเปรียบเทียบกับคุณภาพน้ำในเดือนกรกฎาคม-ธันวาคม 2548 พบว่า คุณภาพน้ำที่อยู่ในเกณฑ์ดี พอใช้ และเสื่อมโทรม มีการ เปลี่ยนแปลงเล็กน้อย โดยแหล่งน้ำส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์พอใช้ และแหล่งน้ำที่อยู่ในเกณฑ์เสื่อมโทรมมากเพิ่มขึ้น จากช่วงครึ่งปีหลัง 2548

  20. แหล่งน้ำที่เสื่อมโทรมมาก ได้แก่ • แม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ตั้งแต่ จ.นนทบุรี ถึง จ.สมุทรปราการ • โดยมีปัญหาการปนเปื้อนของแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มสูง ค่าแอมโมเนียสูง และค่าออกซิเจนละลายต่ำ • แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง ตั้งแต่ จ.นครปฐม ถึง จ.สมุทรสาคร • โดยมีปัญหาการปนเปื้อนของแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มสูง และค่าออกซิเจนละลายต่ำ • แม่น้ำลำตะคองตอนล่าง ในพื้นที่ อ.เมือง จ.นครราชสีมา • โดยมีปัญหาการปนเปื้อนของแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มสูง และค่าความสกปรกในรูปสารอินทรีย์สูง • ทั้งนี้ปัญหาคุณภาพน้ำที่เกิดขึ้นเกิดจากการระบายน้ำทิ้งจากกิจกรรมต่างๆ เช่น เกษตรกรรม ชุมชนและอุตสาหกรรม ซึ่งส่วนใหญ่ไม่ได้ผ่านกระบวนการปรับปรุงคุณภาพน้ำให้ได้ตามมาตรฐานก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ

  21. เป็นที่น่าสังเกตว่า แหล่งน้ำโดยรวมทั่วประเทศในช่วงครึ่งปีแรก 2549 มีเกณฑ์คุณภาพน้ำโดยรวมดีขึ้นจากครึ่งปีหลัง 2548 โดยพบว่า • แหล่งน้ำที่อยู่ในเกณฑ์พอใช้ในครึ่งปีหลัง 2548 ขึ้นมาอยู่ในเกณฑ์ดีในช่วงครึ่งปีแรก 2549 • โดยส่วนใหญ่จะเป็นแหล่งน้ำในภาคเหนือ ภาคตะวันออกและภาคกลาง • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ • แม่น้ำสงครามและมูล ขยับลงจากคุณภาพน้ำดีมาเป็นพอใช้ • แม่น้ำเสียว ขยับขึ้นจากคุณภาพน้ำพอใช้เป็นดี • ภาคใต้เปลี่ยนแปลงเล็กน้อย • แม่น้ำหลังสวน ขยับขึ้นจากคุณภาพน้ำพอใช้เป็นดี • ทั้งนี้คุณภาพน้ำที่เปลี่ยนแปลง ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างได้แก่ ฤดูกาล ปริมาณน้ำต้นทุนของแหล่งน้ำ ปริมาณน้ำฝน การชะล้างน้ำเสียจากแหล่งกำเนิดต่างๆ ลงสู่แหล่งน้ำ เป็นต้น

  22. สรุปคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำที่สำคัญของประเทศไทย ในรอบหกเดือนปี 2549 (มกราคม - มิถุนายน)

  23. สถานการณ์คุณภาพแหล่งน้ำ ภาคเหนือ • แหล่งน้ำที่ตรวจสอบ ทั้งหมด 11 แหล่งน้ำ ได้แก่ แม่น้ำปิง วัง ยม น่าน กวง กก ลี้ อิง แม่จาง และแหล่งน้ำนิ่ง ได้แก่ กว๊านพะเยา และบึงบอระเพ็ด • แหล่งน้ำที่มีคุณภาพน้ำดี ได้แก่ แม่น้ำอิง ปิง วัง กก และแม่จาง • แหล่งน้ำที่มีคุณภาพน้ำพอใช้ ได้แก่ แม่น้ำยม น่าน และลี้ • แหล่งน้ำที่มีคุณภาพน้ำเสื่อมโทรม ได้แก่ แม่น้ำกวง บึงบรเพ็ดและกว๊านพะเยา

  24. โดยสรุปแล้ว แหล่งน้ำภาคเหนือ ส่วนใหญ่ คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์ ดีและพอใช้ • ปัญหาคุณภาพน้ำที่สำคัญคือ การปนเปื้อนของแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมดและฟีคอลโคลิฟอร์มในชุมชนเมือง โดยเฉพาะในชุมชนหนาแน่นที่อยู่ริมแม่น้ำ • คุณภาพน้ำบางตัว คือ ออกซิเจนละลาย และความสกปรกในรูปบีโอดี มีปัญหาในบางบริเวณดังกล่าวข้างต้น • สังเกตว่า ช่วงฤดูฝน ทุกแม่น้ำ มีความขุ่นสูง เนื่องจากการชะล้างหน้าดินจาก กิจกรรมการเกษตรในพื้นที่ที่มีความลาดชันสูง

  25. สถานการณ์คุณภาพแหล่งน้ำ ภาคกลาง • แหล่งน้ำที่ตรวจสอบ ทั้งหมด 12 แหล่งน้ำ ได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยา ท่าจีน แม่กลอง แควใหญ่ แควน้อย ป่าสัก ลพบุรี น้อย สะแกกรัง เพชรบุรี ปราณบุรี และกุยบุรี • แหล่งน้ำที่มีคุณภาพน้ำดี ได้แก่ แม่น้ำแควใหญ่ แควน้อย และเพชรบุรีตอนบน • แหล่งน้ำที่มีคุณภาพน้ำพอใช้ ได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยาตอนบน ท่าจีนตอนบน แม่กลอง กุยบุรี น้อย และปราณบุรี • แหล่งน้ำที่มีคุณภาพน้ำเสื่อมโทรม ได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยาตอนกลาง ท่าจีนตอนกลาง เพชรบุรีตอนล่าง ป่าสัก ลพบุรี และสะแกกรัง แหล่งน้ำที่มี • แหล่งน้ำที่มีคุณภาพน้ำเสื่อมโทรมมาก ได้แก่ แม่น้ำท่าจีนตอนล่างและเจ้าพระยาตอนล่าง

  26. โดยสรุปแล้ว แหล่งน้ำภาคกลาง ส่วนใหญ่ คุณภาพน้ำแม่น้ำอยู่ในเกณฑ์พอใช้และเสื่อมโทรม • โดย แม่น้ำท่าจีนตอนล่างและเจ้าพระยาตอนล่าง อยู่ในเกณฑ์เสื่อมโทรมมาก เนื่องจากการปนเปื้อนของแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์ม แอมโมเนียสูง และออกซิเจนละลายต่ำ • ปัญหาคุณภาพน้ำที่สำคัญของแหล่งน้ำภาคกลางคือ การปนเปื้อนของแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมดและฟีคอลโคลิฟอร์ม ออกซิเจนละลาย และแอมโมเนีย • แหล่งน้ำที่คุณภาพน้ำดี คือ แควใหญ่ แควน้อย

  27. สถานการณ์คุณภาพแหล่งน้ำ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ • แหล่งน้ำที่ตรวจสอบ ทั้งหมด 11 แหล่งน้ำ ได้แก่ แม่น้ำพอง ชี มูล ลำปาว เสียว สงคราม เลย อูน ลำชี และลำตะคอง แหล่งน้ำนิ่งคือ หนองหาน • แหล่งน้ำที่มีคุณภาพน้ำดี ได้แก่ อูน เสียวและลำปาว • แหล่งน้ำที่มีคุณภาพน้ำพอใช้ ได้แก่ แม่น้ำสงคราม มูล ชี พอง ลำชี เลย ลำตะคองตอนบนและหนองหาน • แหล่งน้ำที่มีคุณภาพน้ำเสื่อมโทรมมาก ได้แก่ ลำตะคองตอนล่าง

  28. โดยสรุปแล้ว แหล่งน้ำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนใหญ่ คุณภาพน้ำแม่น้ำอยู่ในเกณฑ์ดีและพอใช้ โ • ตลอดหลายปีที่ผ่านมามีเพียงแม่น้ำลำตะคองตอนล่าง อยู่ในเกณฑ์เสื่อมโทรมมาก • ปัญหาคุณภาพน้ำที่สำคัญของภาคตะวันออกเฉียงเหนือคือ การปนเปื้อนของแบคทีเรียกลุ่มฟีคอลโคลิฟอร์มในพื้นที่ชุมชนหนาแน่น

  29. สถานการณ์คุณภาพแหล่งน้ำ ภาคตะวันออก • แหล่งน้ำที่ตรวจสอบ ทั้งหมด 9 แหล่งน้ำ ได้แก่ แม่น้ำบางปะกง ปราจีนบุรี นครนายก ระยอง ประแสร์ พังราด จันทบุรี เวฬุ และตราด • แหล่งน้ำที่มีคุณภาพน้ำดี ได้แก่ แม่น้ำเวฬุ ตราด จันทบุรีตอนบน และตอนล่าง • แหล่งน้ำที่มีคุณภาพน้ำพอใช้ ได้แก่ แม่น้ำบางปะกง ปราจีนบุรี นครนายก พังราด ประแสร์และระยองตอนบน • แหล่งน้ำที่มีคุณภาพน้ำเสื่อมโทรม ได้แก่ แม่น้ำระยองตอนล่างและจันทบุรีตอนกลาง

  30. โดยสรุปแล้ว แหล่งน้ำภาคตะวันออก ส่วนใหญ่คุณภาพน้ำแม่น้ำอยู่ในเกณฑ์ดี และพอใช้ • ปัญหาคุณภาพน้ำที่สำคัญคือ การปนเปื้อนของแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมดและฟีคอลโคลิฟอร์มในพื้นที่ชุมชนหนาแน่น • และการรุกล้ำของน้ำทะเลในช่วงฤดูแล้ง

  31. สถานการณ์คุณภาพแหล่งน้ำ ภาคใต้ • แหล่งน้ำที่ตรวจสอบ ทั้งหมด 7 แหล่งน้ำ ได้แก่ แม่น้ำปากพนัง ตาปี พุมดวง ชุมพร หลังสวน ตรัง และแหล่งน้ำนิ่ง ได้แก่ ทะเลสาบสงขลา ทะเลน้อย และทะเลหลวง • แหล่งน้ำที่มี คุณภาพน้ำดี ได้แก่ แม่น้ำตาปีตอนบน และหลังสวน • แหล่งน้ำที่มีคุณภาพน้ำพอใช้ ได้แก่ แม่น้ำตาปีตอนล่าง ตรัง ปากพนัง ชุมพร พุมดวง ทะเลหลวง ทะเลน้อย • แหล่งน้ำที่มีคุณภาพน้ำเสื่อมโทรม ได้แก่ ทะเลสาบสงขลา

  32. โดยสรุปแล้ว แหล่งน้ำภาคใต้ ส่วนใหญ่คุณภาพน้ำแม่น้ำอยู่ในเกณฑ์พอใช้ • ปัญหาคุณภาพน้ำที่สำคัญของภาคใต้คือ การปนเปื้อนของแบคทีเรียกลุ่มฟีคอลโคลิฟอร์ม ในพื้นที่ชุมชนหนาแน่น • สังเกตพบว่าค่าแอมโมเนีย เกือบทุกแหล่งน้ำมีค่าเกินมาตรฐานที่กำหนด • บริเวณที่เป็นปัญหาอยู่เสมอ คือ ทะเลสาบสงขลา บริเวณปากคลองสำโรง อ.เมือง จ.สงขลา

  33. คุณภาพน้ำทะเลชายฝั่งทั่วประเทศ ปี 2548 • สถานการณ์คุณภาพน้ำทะเลชายฝั่งทั่วประเทศ ปี 2548 จำนวน 242 สถานี ในช่วงฤดูแล้ง (มีนาคม-เมษายน) และฤดูฝน (สิงหาคม-กันยายน) ซึ่งประเมินโดยใช้ดัชนีคุณภาพน้ำทะเล (Marine Water Quality Index) พบว่ามีสถานีที่มีคุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์ดีมากร้อยละ 3 ดีร้อยละ 43 พอใช้ร้อยละ 44 เสื่อมโทรมร้อยละ 9

  34. 9 % 1 % 3 % 43 % 44 % ดีมาก ดี พอใช้ เสื่อมโทรม เสื่อมโทรมมาก

  35. บริเวณที่มีคุณภาพน้ำทะเลเสื่อมโทรมอยู่ในพื้นที่อ่าวไทยตอนใน ได้แก่ ปากแม่น้ำเจ้าพระยา ท่าจีน แม่กลอง บางปะกง ปากคลอง 12 ธันวา และหน้าโรงงานฟอกย้อม กม.35 • โดยปัญหาที่พบยังคงเป็นปริมาณแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมด ที่มีค่าสูงกว่ามาตรฐานคุณภาพน้ำ ทะเลชายฝั่ง แบคทีเรียกลุ่มฟีคอลโคลิฟอร์ม และ Enterococcus sp. มีค่าสูงกว่าร่างมาตรฐานคุณภาพน้ำทะเล • เนื่องจากได้รับอิทธิพลโดยตรงจากแหล่งอุตสาหกรรมชุมชนบริเวณปากแม่น้ำ และอุตสาหกรรมชายฝั่ง ซึ่งส่วนใหญ่ไม่มีการบำบัดน้ำเสีย ที่เหมาะสมและเพียงพอ • นอกจากนี้ยังพบว่าพื้นที่อ่าวไทยฝั่งตะวันออก บริเวณอ่าวชลบุรี ปากน้ำระยอง ปากคลองแกลง อ่าวไทยฝั่งตะวันตก บริเวณปากคลองบ้านแหลม ปากคลองบ้านบางตะบูน และฝั่งอันดามัน หาดชาญดำริปากแม่น้ำระนอง มีคุณภาพน้ำทะเลเสื่อมโทรม • สำหรับภาพรวมคุณภาพน้ำทะเลทั่วประเทศ พบว่า พารามิเตอร์อื่นๆ ได้แก่ ปริมาณโลหะหนัก ส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานฯ ยกเว้นแมงกานีส สังกะสี ทองแดง และเหล็ก ที่ยังตรวจพบค่าสูงเกินเกณฑ์มาตรฐานฯ และมักพบขยะพลาสติกลอยอยู่บนผิวน้ำ บริเวณปากคลอง ปากแม่น้ำ และท่าเทียบเรือ และมีคราบน้ำมันลอยอยู่ทั่วไป

  36. Marine Water Quality Index • พารามิเตอร์ที่นำมาคำนวณ คือ ออกซิเจนละลาย แบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมด ฟอสเฟต-ฟอสฟอรัส ไนเตรท-ไนโตรเจน อุณหภูมิ สารแขวนลอย ความเป็นกรด-ด่าง แอมโมเนีย-ไนโตรเจน • สำหรับพารามิเตอร์กลุ่มยาฆ่าแมลง (Pesticide) และกลุ่มสารเป็นพิษ (Toxic elements) นั้น หากพบว่าค่าความเข้มข้นเกินมาตรฐานคุณภาพน้ำทะเลชายฝั่ง จะกำหนดให้ดัชนีบ่งชี้คุณภาพน้ำชายฝั่งบริเวณนั้นมีค่าเป็น “0” โดยทันทัน

More Related