610 likes | 1.1k Vues
การประชุมสัมมนา เรื่อง “ เส้นทางการพัฒนาพันธุ์สัตว์เพื่ออนาคต … ที่ยั่งยืน ” วันที่ 25 สิงหาคม 2555. โดย นายทศพร ศรีศักดิ์ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาพันธุ์สัตว์ กรมปศุสัตว์. ปุ๋ย/เคมี/อินทรีย์/ชีวภาพ. ๕.เกษตรอินทรีย์. การปรับตัว ( Adaptation ). ๓.ประสิทธิภาพการผลิต. พันธุ์.
E N D
การประชุมสัมมนา เรื่อง“เส้นทางการพัฒนาพันธุ์สัตว์เพื่ออนาคต…ที่ยั่งยืน”วันที่ 25 สิงหาคม 2555 โดย นายทศพร ศรีศักดิ์ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาพันธุ์สัตว์ กรมปศุสัตว์
ปุ๋ย/เคมี/อินทรีย์/ชีวภาพปุ๋ย/เคมี/อินทรีย์/ชีวภาพ ๕.เกษตรอินทรีย์ การปรับตัว (Adaptation) ๓.ประสิทธิภาพการผลิต พันธุ์ ๖.วิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ ๔.ความมั่นคงทางอาหาร เทคโนโลยี การเยียวยา(Mitigation) เครื่องจักรกลการเกษตร ๒.มาตรฐานสินค้า ๑.ลดต้นทุน การผลิต ๑.บริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการ ๓.ทะเบียนเกษตรกร อิเล็กทรอนิกส์ การพัฒนาการผลิต ๒.อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน (อกม) ๒.ขยายพื้นที่ชลประทาน ๗.พัฒนา อุตสาหกรรมการเกษตร ๑.เกษตร รุ่นใหม่ ๔.หลักประกันความมั่นคงให้เกษตรกร(สวัสดิการ) ๓.จัดที่ดินทำกินให้เกษตรกร Agenda Based การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและปัจจัยสนับสนุน การพัฒนาเกษตรกรและองค์กรเกษตรกร ๔.ฟื้นฟู/อนุรักษ์ดิน ๕.พัฒนาธุรกิจสถาบันเกษตรกร ๘.TV เกษตร ๖.การคุ้มครอง ที่ดินเพื่อการเกษตร ๕.ระบบเตือนภัยด้านการเกษตร นโยบายและแนวทางการปฏิบัติงาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ๖.ฟื้นฟูอาชีพเกษตรกร ผู้พักชำระหนี้ ๗.สภาเกษตรกรแห่งชาติ โครงการพระราชดำริ มันสำปะหลัง ข้าว Area Based ทุ่งกุลาร้องไห้ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ Commodity Based ปาล์มน้ำมัน ทุ่งสัมฤทธิ์ ยางพารา ลุ่มน้ำปากพนัง พื้นทีสูง ถั่วเหลือง/ถั่วเขียว นิคมเกษตร เขตจัดรูปที่ดิน ประมง(จืด/ทะเล) ไม้ผล ปศุสัตว์ เขตชลประทาน
ประสิทธิภาพการผลิต มาตรฐานสินค้า เทคโนโลยี Eทะเบียนเกษตรกร พันธุ์ อกม./อปศ. อาหาร ความมั่นคงอาหาร ลดต้นทุนการผลิต การพัฒนาเกษตรกรและองค์กรเกษตรกร พัฒนาการผลิต เกษตรกรรุ่นใหม่ โรคระบาดสัตว์ ปศุสัตว์อินทรีย์ AGENDABASED ฟื้นฟูอาชีพเกษตรกร TVปศุสัตว์ สภาเกษตรกรแห่งชาติ พัฒนาอุตสาหกรรมปศุสัตว์ ปรับตัว วิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ นโยบายและแนวทางการปฏิบัติงาน2555 เยียวยา โคนม COMMODITYBASED AREABASED พระราชดำริ กระบือ สุกร พื้นที่สูง ลุ่มน้ำปากพนัง โคเนื้อ ไก่ไข่ แพะเนื้อ เขตจัดรูปที่ดิน ไก่เนื้อ เขตชลประทาน แพะนม ไก่พื้นเมือง นิคมเกษตร
แผนงาน/งบประมาณปี 2555 กรมปศุสัตว์ได้รับงบประมาณ รวม 4,752.98 ล้านบาท มี 4 ผลผลิต และ 1 โครงการ ได้แก่ 1 ผลผลิตพัฒนาการผลิตปศุสัตว์ งบประมาณ 1,209.88 ล้านบาท 2 ผลผลิตพัฒนาสุขภาพสัตว์ งบประมาณ 2,499.26 ล้านบาท 3 ผลผลิตสินค้าเกษตรมีคุณภาพฯ งบประมาณ 701.67 ล้านบาท 4 ผลผลิตเกษตรกรได้รับการส่งเสริมฯ งบประมาณ 286.91 ล้านบาท 1 โครงการ คือ โครงการส่งเสริมอาชีพชายแดนใต้ งบประมาณ 55.24 ล้านบาท ทั้งนี้รวมถึงงบบุคลากรที่รวมอยู่ด้วย 58.4% ซึ่งงบประมาณแต่ละผลผลิตมีงบประมาณร้อยละ 54 คงเหลือ งบประมาณที่จะใช้ ร้อยละ 45.2 ในปี 2554 งบฯ เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วประมาณร้อยละ 1 (48 ล้านบาท)
อัตรากำลังของกรมปศุสัตว์ ในปี 2555 กรมปศุสัตว์มีบุคลากร 11,455 คน ในการขับเคลื่อนภารกิจของกรมปศุสัตว์ โดยในขณะที่บุคลากรของกรมปศุสัตว์มีไม่เพียงพอต่อการพัฒนาปศุสัตว์ จะต้องทำให้บุคลากรของกรมฯ มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลขึ้น ดังนั้นจะต้องมีการพัฒนาให้บุคลากรเป็นคนดี คนเก่ง และทำงานอย่างมีความสุข
นโยบายด้านสุขภาพสัตว์นโยบายด้านสุขภาพสัตว์ หน่วยควบคุมโรค ให้ความสำคัญของการปราบโรค AI / ND / FMD / Bru. / T.B. / PRRS / อหิวาต์สุกร /EIA โดยให้ สคบ.ไปทำจัดแผนกำจัดโรคให้ชัดเจนตามกรอบที่ OIE กำหนด และให้หมดไปจากประเทศไทย ส่วนโรคที่จะต้องควบคุมและแพร่ระบาดให้น้อยที่สุด คือ โรค Duck Plaque อหิวาต์ เป็ด - ไก่ เฮโมรายิกเซพติซีเมีย แบลคเลค และโรคที่ต้องไม่ให้เกิดในประเทศไทย (Exotic Disease) เช่น BSE นิปาห์ รินเดอร์เปสต์PPR
นโยบายด้านสุขภาพสัตว์นโยบายด้านสุขภาพสัตว์ หน่วยควบคุมโรค ได้มอบหมายให้สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดที่มีอำเภอไม่ถึง 10 อำเภอ ให้ตั้งหน่วยเฉพาะกิจ 1 หน่วย และให้มีหน่วยงานเฉพาะกิจ 2 หน่วย ถ้ามีอำเภอมากกว่า 10 อำเภอขึ้นไป ซึ่งแต่ละหน่วยมีอัตรากำลังอย่างน้อย 10 คน ซึ่งมีความพร้อมที่จะปฏิบัติงานได้อย่างตลอดเวลา ให้ปศุสัตว์เขตออกคำสั่งประจำเขตหนึ่งหน่วย มี 10 คน ใช้บุคลากรภายในเขตเป็นเจ้าหน้าที่ประจำหน่วยเฉพาะกิจ พร้อมส่งสำเนาคำสั่งให้ สคบ. โดย อปส.ได้สั่งการให้ สคบ.เป็นเจ้าภาพในการจัดทำแผนปฏิบัติงานของหน่วยเฉพาะกิจร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น เขต / สพส . / สพท. หรือหน่วยงานใดที่เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมความพร้อมทุกด้านให้หน่วยเฉพาะกิจ พร้อมปฏิบัติเมื่อมีโรคระบาดเกิดขึ้น
ด่านกักกันสัตว์ ในช่วงอุทกภัยที่ผ่านมา ด่านกักกันสัตว์ต่าง ๆ สามารถสร้างชื่อเสียงให้กับกรมปศุสัตว์ ในเรื่องการให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนเกี่ยวกับปัญหาสัตว์เลี้ยง พร้อมทั้งผลักดันให้ด่านกักกันสัตว์เข้มงวดมากขึ้นเรื่องการป้องกันโรคระบาดเข้าประเทศตามชายแดนและระหว่างประเทศอื่น ๆ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาคุณภาพตรวจสอบสินค้าปศุสัตว์ทั้งนำเข้าและส่งออกให้ได้มาตรฐานรับรองการเข้าสู่สากลของประเทศอาเซียน
ปศุสัตว์ตำบล เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องโอนให้ท้องถิ่น จะทำอย่างไรให้ท้องถิ่นเห็นถึงประโยชน์ที่คุ้มค่าของการมีปศุสัตว์ตำบล และดำเนินการจ้างหรือกำหนดอัตราของท้องถิ่นเอง ปศุสัตว์ตำบลทำทุกงานของกรมฯ ที่ลงถึงท้องถิ่น ทุกกอง/สำนักต้องมีส่วนในการสนับสนุนงบประมาณ และติดตามงาน
การทำเครื่องหมายและขึ้นทะเบียนสัตว์แห่งชาติ NID เป็นนโยบายที่สำคัญในการแสดงหลักฐานของสัตว์ที่มีประวัติที่ชัดเจน สามารถตรวจสอบย้อนกลับระบบความปลอดภัยในสินค้าปศุสัตว์ เป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ โดยการเลิกใช้ระบบเบอร์หูของธนาคารโค-กระบือ เพื่อยกระดับการค้าระหว่างประเทศให้ดีขึ้นและตามที่กฎหมายกำหนดทั้งนี้ อปส.ได้มอบหมายให้ สทป. และ สพพ. ไปร่วมหารือกันเพื่อจัดทำแผนความเป็นไปได้เกี่ยวกับ NiD
ปรับระบบการเลี้ยง สคบ. และสพท. ผลักดันการปรับปรุงการเลี้ยงเพื่อควบคุมโรคระบาดให้ได้อย่างน้อย ไก่พื้นเมืองให้มีเล้านอน ป้องกันลมฝนหนาว จับไก่ฉีดวัคซีน เป็ดไล่ทุ่ง ควบคุมจำกัดพื้นที่การเลี้ยง ช่วยเหลือส่งเสริมการเลี้ยงในโรงเรือน สุกรรายย่อย วัคซีน ทำอย่างไรจึงจะแก้วัตถุประสงค์ระเบียบเงินทุนให้จำหน่ายต่างประเทศได้
LAB ให้ สสช. ทำมาตรฐาน Lab ให้ครอบคลุมเป็นเครือข่าย ระเบียบการเก็บเงินค่าเก็บตัวอย่าง ให้เดินหน้า รวมทั้งเร่งรัดระเบียบเก็บเงินในการตรวจตัวอย่างให้มีผลบังคับใช้โดยเร็ว ทำ Model รถตู้ให้บริการหน่วยปศุสัตว์เคลื่อนที่ เป็นแม่แบบให้จังหวัดต่าง ๆ เพื่อจังหวัดจะได้ของบจากผู้ว่าราชการจังหวัด ซื้อรถเพื่อทำคลินิกเคลื่อนที่ และให้ สสช. เป็นพี่เลี้ยง Lab เบื้องต้นประจำจังหวัด
นโยบายด้านการผลิตสัตว์นโยบายด้านการผลิตสัตว์ จะต้องอาศัยการวิจัยและพัฒนา ผู้เชี่ยวชาญจะต้องแทนกรมฯ ว่า งานวิจัยจะตอบปัญหาเกษตรกร งานวิจัยอะไรที่จะต้องพัฒนาในระดับสูงกองบำรุงพันธุ์สัตว์ให้สร้างฟาร์มเครือข่ายเพื่อผลิตสัตว์ทดแทน สร้างการมีส่วนร่วมให้เกษตรกรในการผลิตสัตว์พันธุ์ดีให้เพียงพอ ศึกษาการเป็นไปได้ในการจัดตั้งกองทุน เงินทุนหมุนเวียนที่เพียงพอ สำหรับการผลิตสัตว์จำหน่ายกองอาหารสัตว์จัดตั้งคลังเสบียงสัตว์สำรองประจำตำบล การผลิตหญ้าแห้งส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ การเร่งรัดขยายพันธุ์หญ้าพันธุ์ดี (พันธุ์เนเปียร์ ปากช่อง 1) โครงการศึกษาพัฒนาอาหารสัตว์ในพระราชดำริ ซึ่งสมเด็จ-พระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงเน้นเรื่องอาหารสัตว์ โดยให้ผู้บริหารใส่ใจในเรื่องด้าน อาหารสัตว์ และขยายผลให้เกิดความมั่นคงด้านอาหารขึ้นสทป. การถ่ายโอนงานผสมเทียมให้สหกรณ์โคนมที่มีศักยภาพ ขยายศูนย์ผลิตน้ำเชื้อพ่อพันธุ์ ให้เอกชนเป็น center ในอินโดจีน โครงการเร่งรัดการผลิตโคเนื้อคุณภาพ 50,000 ตัว (Flagship Project) ให้ สทป.เร่งรัดดำเนินการ เนื่องจากโครงการนี้เป็นโครงการที่ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรฯ จะทำการติดตาม
นโยบายด้านมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์นโยบายด้านมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์ โรงฆ่าสัตว์ เร่งรัดโรงฆ่าสัตว์ที่ยื่นขอรับใบอนุญาต(ฆจส.1) ให้ได้ใบอนุญาตตั้งโรงฆ่าสัตว์ฯ (ฆจส.2) มาตรฐานฟาร์ม เป็น Pre-harvest ให้ สคบ.,สพส.,กผง. หารือเรื่องนี้ให้ได้ว่าจะทำอย่างไรให้ผู้บริโภคสินค้าปศุสัตว์มีความตื่นตัวและเข้าใจด้านมาตรฐานสินน้าปศุสัตว์ เขียงสะอาด สารเร่งเนื้อแดง และสารตกค้าง ให้เดินหน้าทำต่อไป
นโยบายด้านส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์นโยบายด้านส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ โดยการสร้างความเข้มแข็งให้เกษตรกรรายย่อย โดยการผลักดันให้พัฒนาอาชีพการเลี้ยงสัตว์บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง สามารถให้เกษตรกรสามารถดำรงชีพอยู่ได้ พัฒนาระบบการผลิต และการตลาด การฟื้นฟูเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติต่าง ๆ รวมทั้งโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และโครงการธนาคารโค-กระบือ สำหรับโครงการธนาคารโค-กระบือทำกลุ่มให้เข้มแข็ง และมีกี่กลุ่ม รวมทั้งถ่ายโอนให้ดูแลเอง
การจัดการภัยพิบัติด้านปศุสัตว์การจัดการภัยพิบัติด้านปศุสัตว์ ก่อนเกิดภัย เตรียมความพร้อม (วิเคราะห์ความเสี่ยงในการเกิดภัยในพื้นที่ จัดเตรียมสถานที่อพยพสัตว์ระดับหมู่บ้าน / ตำบล แหล่งเสบียงสัตว์ จัดหาแหล่งน้ำ / การขนส่งน้ำ) ซักซ้อมแผน แจ้งเตือนภัย และให้ข้อมูลที่สำคัญแก่เกษตรกร เพื่อเตรียมความพร้อมในการเผชิญเหตุ
การจัดการภัยพิบัติด้านปศุสัตว์การจัดการภัยพิบัติด้านปศุสัตว์ (กปศ. เป็นหน่วยงานเดียวใน กษ. ที่ต้องเข้าไปช่วยเหลือสัตว์ในขณะเกิดภัย) ดูแลสุขภาพสัตว์ อพยพสัตว์ ป้องกันควบคุมโรคระบาดสัตว์ สนับสนุนเสบียงสัตว์ ของบภัยพิบัติจากผู้ว่าฯ ทันที หากงบผู้ว่าฯ ไม่เพียงพอให้เสนอเรื่องถึงกรมฯ เพื่อขอใช้เงินทดรองราชการอำนาจปลัด กษ. (50 ล้านบาท) การประเมินผลกระทบ ต้องกำหนดคำจัดความของ “สัตว์ที่ได้รับผลกระทบ” ให้ชัดเจนเพื่อประเมินค่าชดเชยให้ใกล้เคียงกับความจริง หลังเกิดภัย การฟื้นฟูด้านสุขภาพสัตว์ การฟื้นฟูด้านอาหารสัตว์ การฟื้นฟูอาชีพ
ยุทธศาสตร์รายสินค้าปศุสัตว์ยุทธศาสตร์รายสินค้าปศุสัตว์ ปัจจุบันกรมฯ ได้แบ่งตามโครงสร้างลักษณะงาน แต่การรวมทุกลักษณะงานให้ครบในแต่ละชนิดสัตว์ (Commodity) ยังไม่ชัดเจน ส่งผลให้การพัฒนาครบวงจรในรายชนิดสัตว์ ไม่มีหน่วยงานรับผิดชอบ กรมปศุสัตว์ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานยุทธศาสตร์รายสินค้า ปศุสัตว์ขึ้น โดยให้รองอธิบดีแต่ละท่านทำหน้าที่ดูแลสินค้ายุทธศาสตร์รายสินค้าแต่ละชนิด ดังนี้ รอธ.ธนิตย์ อเนกวิทย์ ดูแลยุทธศาสตร์โคเนื้อ กระบือ แพะ แกะ รอธ.อยุทธ์ หรินทรานนท์ ดูแลยุทธศาสตร์โคนม รอธ.นิรันดร เอื้องตระกูลสุข ดูแลยุทธศาสตร์สุกร รอธ.วิมลพร ธิติศักดิ์ ดูแลยุทธศาสตร์ ไก่เนื้อ ไก่ไข่ และไกพื้นเมือง เป็ดไล่ทุ่ง ซึ่งมีปศุสัตว์เขตเป็นเลขาในแต่ละยุทธศาสตร์ ทั้งนี้ได้กำหนดกรอบไว้ 5 ประการด้วยกัน คือ การศึกษาวิจัย บริการ พัฒนา กฎหมาย และอื่น ๆ (ภายในและนอกประเทศ)
วิสัยทัศน์การบริหารการพัฒนาปศุสัตว์วิสัยทัศน์การบริหารการพัฒนาปศุสัตว์ นายทศพร ศรีศักดิ์ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาพันธุ์สัตว์ ก้าวไกลวิชาการ องค์กรทันสมัย(Modern) ใส่ใจประชาชน บริการประทับใจ คน (HQ) สะดวก วิจัย (Research) คุณภาพชีวิต ความรู้/เทคโนโลยี(KM) รวดเร็ว เครื่องมือ/อุปกรณ์ (EQ) พัฒนา (Development) ความปลอดภัย โปร่งใส ข้อมูล ( IT ) ถ่ายทอดเทคโนโลยีTechnology Transfer สิ่งแวดล้อม ระบบ ( CS ) เป็นธรรม ประโยชน์สุข เกษตรกร/ประชาชน บุคคลากรในองค์กร ประเทศชาติ/เศรษฐกิจ
“ชีวิตเบิกบาน การงานเป็นสุขหัวใจบริการเป็นเลิศ”
“ชีวิตเบิกบาน การงานเป็นสุขหัวใจบริการเป็นเลิศ”
“ชีวิตเบิกบาน การงานเป็นสุขหัวใจบริการเป็นเลิศ” --
หลักการทำงานที่ใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน มีดังนี้ 1. จงทำดี เพื่อความดี อย่าทำดี เพื่อหวังผลตอบแทน “DO GOOD FOR GOODNESS DON’T FOR RETURN” 2. ยึดหลัก 5 ร. คือ ริเริ่ม รอบรู้ รวดเร็ว เรียบร้อย รอบคอบ ริเริ่ม >มีความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนางานเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ส่วนรวมเป็นหลัก รอบรู้ >มีความรู้ในหน้าที่ความรับผิดชอบของตนเอง และสนใจศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม เพื่อนำมาใช้ในการปรับปรุงทำงานตลอดเวลา รวดเร็ว >มีความตื่นตัวอยู่เสมอ สามารถปฏิบัติงานด้วยความรวดเร็ว ฉับพลันในระยะ เวลาสั้น กะทัดรัด แก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง และทันเหตุการณ์ เรียบร้อย >มีผลงานที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถวัดผลสัมฤทธิ์ของงานได้ และเกิด ประโยชน์แก่ส่วนร่วม รอบคอบ >มีความโปร่งใส ในการปฏิบัติงานทุกขั้นตอน ถูกต้อง ตามระเบียบแบบแผน และสามารถตรวจสอบได้ตลอดเวลา
หลักการทำงานที่ใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน มีดังนี้ 3. ยึดแนวทาง “ I AM READY” I ntegrity ทำงานอย่างมีศักดิ์ศรี A ctiveness ขยัน ตั้งใจ ทำงานเชิงรุก M orality ศีลธรรม คุณธรรมมี R elevance รู้ทันโลก ปรับตัวทันโลก ตรงกับสังคม E fficiency มุ่งเน้นประสิทธิภาพ A ccountability รับผิดชอบต่อผลงาน ต่อสังคม D emocracy มีใจและการกระทำที่เป็นประชาธิปไตย เสมอภาค มีส่วนร่วม โปร่งใส Y ield มีผลงาน มุ่งเน้นผลงาน วิสัยทัศน์องค์กร “เป็นองค์กรนำการปศุสัตว์ไทยก้าวไกลสู่สากล” วัฒนธรรมองค์กร “บริการด้วยจิต ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแก้ไขปัญหา พัฒนาสู่ความยั่งยืน” (Service Mind Team Spirit Acountability Sustainability)
สำนักพัฒนาพันธุ์สัตว์สำนักพัฒนาพันธุ์สัตว์ Bureau of Animal Husbandry and Genetic Improvement
วิสัยทัศน์ เป็นองค์กรหลัก ในการวิจัยและพัฒนาการผลิตสัตว์ของประเทศ พันธกิจ วิจัยและพัฒนาสัตว์พันธุ์ดี บริการเทคโนโลยีการผลิตสัตว์ ส่งเสริมการจัดเศรษฐกิจพอเพียง ยุทธศาสตร์ 1. เพิ่มขีดความสามารถด้านการวิจัยและพัฒนาพันธุ์สัตว์ 2. บริการเทคโนโลยีการผลิตสัตว์ เพื่อความมั่นคงทางอาหาร 3. ส่งเสริมระบบเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเสริมสร้างอาชีพให้แก่เกษตรกร 4. เสริมสร้างสมรรถนะในการบริหารองค์กรด้วยระบบการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี สำนักพัฒนาพันธุ์สัตว์ กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
หน้าที่ความรับผิดชอบ สำนักพัฒนาพันธุ์สัตว์ 1. ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการบำรุงพันธุ์สัตว์ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง 5. ศึกษา วิเคราะห์ และวิจัย และกำหนดมาตรฐานคุณลักษณะของพันธุกรรมสัตว์ 2. ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย พัฒนา และสร้างสัตว์พันธุ์ดีที่ให้ผลผลิตสูงเหมาะสมกับสภาพการเลี้ยงของเกษตรกรในประเทศ 6. ให้คำปรึกษา แนะนำ และถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตสัตว์พันธุ์ดีแก่เกษตรกร และผู้เกี่ยวข้องทั้งในประเทศ และต่างประเทศ 3. ศึกษา วิเคราะห์ และวิจัยเทคโนโลยีการผลิตสัตว์พันธุ์ดี การจัดการฟาร์ม การทดสอบพันธุ์สัตว์ และการกระจายสัตว์พันธุ์ดีให้เกษตรกรเครือข่ายและเกษตรกรทั่วไป 7. บริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพด้านปศุสัตว์ 8. พัฒนาระบบ รูปแบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการในการตรวจรับรองมาตรฐานปศุสัตว์อินทรีย์ 4. ศึกษา วิเคราะห์ และวิจัยการอนุรักษ์และพัฒนาสัตว์พื้นเมือง สัตว์หายาก และสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ ทั้งที่เลี้ยงอยู่ในถิ่นกำเนิดเดิมและสัตว์ต่างถิ่น เพื่อใช้ประโยชน์จากแหล่งพันธุกรรม และพัฒนาสู่การใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน 9. ปฏิบัติงานร่วมกับ หรือให้การสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
หน้าที่ความรับผิดชอบ ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ 1. วิจัย สร้างพันธุ์สัตว์ที่เป็นพันธุ์คัดที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม ให้สถานีวิจัยทดสอบพันธุ์สัตว์และเอกชนรับไปทดสอบและกระจายพันธุ์สู่เกษตรกร 2. ศึกษา วิจัย เพื่อแก้ปัญหาประสิทธิภาพการผลิตปศุสัตว์ในภูมิภาค เพื่อปรับให้เหมาะสมกับสภาพภูมิศาสตร์และสภาพสังคม เศรษฐกิจของเกษตรกร 3. กำกับ ดูแลการปฏิบัติงานของสถานีวิจัยทดสอบพันธุ์สัตว์ 4. กำกับ ดูแล ให้คำปรึกษาและแก้ไขปัญหาของศูนย์บำรุงพันธุ์สัตว์ในอุปการะของกรมปศุสัตว์ 5. ดำเนินการตรวจสอบและรวบรวมข้อมูล เพื่อการรับรองพันธุ์และจดทะเบียนสัตว์ของเกษตรกร ตามกฎหมายว่าด้วยการบำรุงพันธุ์สัตว์ สำนักพัฒนาพันธุ์สัตว์ กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
หน้าที่ความรับผิดชอบ สถานีวิจัยทดสอบพันธุ์สัตว์ 1. ดำเนินการทดสอบพันธุ์สัตว์ เพื่อประเมินพันธุกรรมสัตว์ต้นตระกูล และกระจายพันธุ์หลัก และพันธุ์ขยายสู่เกษตรกร เพื่อปรับปรุงพันธุ์สัตว์ของประเทศ 2. ศึกษา วิจัย และรวบรวมข้อมูลวิชาการต่าง ๆ ที่ได้รับมอบหมายจากศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ 3. ร่วมกับศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ในการติดตาม ตรวจสอบ กำกับ ดูแล ให้คำปรึกษา แนะนำ และแก้ไขปัญหาให้แก่ศูนย์บำรุงพันธุ์ในอุปการะของกรมปศุสัตว์ และเป็นแหล่งข้อมูลเบื้องต้นในการรับรองพันธุ์สัตว์ ตามกฎหมายว่าด้วยการบำรุงพันธุ์สัตว์ 4. ดำเนินการอนุรักษ์และรวบรวมพันธุกรรมสัตว์พื้นเมือง สัตว์หายาก และสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ ทั้งในและนอกถิ่นกำเนิดเดิม สำนักพัฒนาพันธุ์สัตว์ กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ปัญหาการผลิตสัตว์และแนวทางแก้ไขปัญหาการผลิตสัตว์และแนวทางแก้ไข
เส้นทางการพัฒนาพันธุ์สัตว์เพื่ออนาคตที่ยั่งยืนเส้นทางการพัฒนาพันธุ์สัตว์เพื่ออนาคตที่ยั่งยืน
การพัฒนาพันธุ์สัตว์ เพื่ออนาคต...ที่ยั่งยืน
บริการของสำนักพัฒนาพันธุ์สัตว์บริการของสำนักพัฒนาพันธุ์สัตว์ • ผลิตสัตว์พันธุ์ดี • พัฒนาเครือข่าย • ถ่ายทอดเทคโนโลยี • รับรองพันธุ์สัตว์
ผลิตสัตว์พันธุ์ดี • มีวัตถุประสงค์ของการปรับปรุงพันธุ์ (breeding objective) ที่ชัดเจน เป็นรูปธรรมในเชิงผลตอบแทนทางการเงิน • ต้องสร้างความโดดเด่นและแตกต่าง เพื่อให้แข่งขันได้ • พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานให้สามารถเป็นองค์กรต้นแบบ
ผลิตสัตว์พันธุ์ดี • พัฒนามาตรฐานการปฏิบัติทางการผลิตสัตว์ที่ดี ( Good Animal Husbandry Practice :GAHP ) เพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับการผลิตปศุสัตว์ที่มีความสำคัญทางการค้า มีศักยภาพทางการค้า เพื่อผลักดันให้เป็นมาตรฐานอาเซียน ในการเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน
พัฒนาเครือข่าย • พัฒนาเครือข่ายผลิตสัตว์ ให้มีการดูแลสัตว์ตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการผลิตสัตว์ที่ดี (GAHP) • การผลิตต้องดำเนินการเป็นห่วงโซ่ทั้งหมด ต้องเชื่อมไปด้วยกัน สร้างพันธมิตรทั้งภายในและนอกองค์กร • ขยายเครือข่ายความร่วมมือการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ และการรับรองพันธุ์สัตว์ในระดับภูมิภาค
ถ่ายทอดเทคโนโลยี • ถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีที่เหมาะสมให้กับเกษตรกร • สนับสนุนเกษตรกรรายย่อยเข้าสู่ระบบมาตรฐาน • สนับสนุนการสร้างมูลค่าเพิ่ม
รับรองพันธุ์สัตว์ • พัฒนาระบบการขึ้นทะเบียนและรับรองพันธุ์สัตว์ เพื่อรับรองพันธุ์สัตว์ รับรองระดับสายเลือด รับรองพันธุ์ประวัติ และรับรองลักษณะและพันธุกรรมด้านผลผลิต เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มแก่สัตว์พันธุ์ของประเทศไทย
อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ และพิธีสารนาโงยา ในการดำเนินการเพื่อรองรับหลักการเข้าถึงและแบ่งปันผลประโยชน์จากการใช้ทรัพยากรพันธุกรรมของปศุสัตว์
อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นความตกลงระหว่างประเทศด้านสิ่งแวดล้อม ที่ต้องการให้มี ความร่วมมือระหว่างประเทศระหว่างหน่วยงาน ทั้งภาครัฐ และ เอกชน ระหว่างประชาชนชาวโลก ในการรักษาความ หลากหลายทางชีวภาพ และการใช้ประโยชน์ระบบนิเวศ ชนิดพันธุ์ และพันธุกรรมอย่างยั่งยืน
วัตถุประสงค์ของอนุสัญญาฯวัตถุประสงค์ของอนุสัญญาฯ การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ การใช้ประโยชน์องค์ประกอบของความหลากหลาย ทางชีวภาพอย่างยั่งยืน การแบ่งปันผลประโยชน์จากการใช้ทรัพยากรพันธุกรรมอย่างยุติธรรมและเท่าเทียม
ความเป็นมา ๑. อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (CONVENTION ON BIOLOGICAL : CBD) ๒๒ พฤษภาคม ค.ศ. ๑๙๙๒ เนื้อหาของ CBD ได้รับการรับรอง ณ กรุงไนโรบี ประเทศเคนยา - ๕-๑๔ มิถุนายน ค.ศ. ๑๙๙๒ ในการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา ณ นครริโอ เดอจาเนโร CBD ได้รับการลงนามจาก ๑๕๗ ประเทศ
ความเป็นมา (ต่อ) ๒. พิธีสารนาโงยาในการดำเนินงานเพื่อรองรับหลักการเข้าถึงและแบ่งปันผลประโยชน์จากการใช้ทรัพยากรพันธุกรรม - ออกเพื่อให้เป็นไปตามมาตรา ๑๕ CBD และตามเจตนารมณ์ของ CBD ซึ่งมีอยู่ ๓ ประการ
พิธีสารนาโงยา(Nagoya Protocol) ว่าด้วยการเข้าถึงทรัพยากรพันธุกรรมและการแบ่งปันผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการใช้ ประโยชน์ทรัพยากรพันธุกรรมอย่างเท่าเทียมและยุติธรรม ดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของ CBD ให้มีการแบ่งปันผลประโยชน์จากการใช้ทรัพยากรพันธุกรรมอย่างเท่าเทียมและยุติธรรม และสนับสนุนการดำเนินการตามข้อกำหนดในเรื่องการเข้าถึงและ แบ่งปันผลประโยชน์ของอนุสัญญาฯ อย่างมีประสิทธิภาพ วัตถุประสงค์ เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการแบ่งปันผลประโยชน์จากการใช้ทรัพยากรพันธุกรรมอย่างเท่าเทียมและยุติธรรม รวมถึง โดยการเข้าถึงและการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม ซึ่งสนับสนุนการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและใช้ประโยชน์องค์ประกอบของความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน
ประเทศไทยอยู่ระหว่างพิจารณาลงนามเป็นภาคีพิธีสารฯ ซึ่งเปิดให้ลงนามในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2554 – 1 กุมภาพันธ์ 2555 (ได้ลงนามแล้วเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2555) ปัจจุบันประเทศไทยออกกฎหมายภายในประเทศ จำนวน 1 ฉบับ เพื่อรองรับพิธีสารนาโงยา คือ “ระเบียบ คณะกรรมการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาติ (กอช.) ว่าด้วยหลักเกณฑ์และ วิธีการในการเข้าถึงทรัพยากรชีวภาพและการได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากทรัพยากรชีวภาพ พ.ศ. 2554” พิธีสารนาโงยา(Nagoya Protocol) ว่าด้วยการเข้าถึงทรัพยากรพันธุกรรมและการแบ่งปันผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการใช้ ประโยชน์ทรัพยากรพันธุกรรมอย่างเท่าเทียมและยุติธรรม
ประโยชน์ที่ประเทศไทยจะได้รับประโยชน์ที่ประเทศไทยจะได้รับ พิธีสารนาโงยาฯ พิธีสารเสริมฯ และแผนกลยุทธ์ไอจิ-นาโงยา ใช้เป็นกรอบ ในการจัดทาแผน กฎ ระเบียบและข้อบังคับ การดำเนินงานด้านการอนุรักษ์ ใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน การแบ่งปัน ผลประโยชน์จากทรัพยากรพันธุกรรมอย่างเท่าเทียมและยุติธรรม เพื่อความ มั่นคงทางนิเวศและฐานทรัพยากรของชาติ ซึ่งเป็นทุนการพัฒนาสังคมไทย อย่างยั่งยืน เพิ่มพูนความร่วมมือกับนานาประเทศในด้านวิชาการและ เทคโนโลยี อันจะก่อให้เกิดความก้าวหน้าในการศึกษาและวิจัยความ หลากหลายทางชีวภาพ