1 / 29

ผศ.โสภา อ่อนโอภาส และคณะ

แนวคิดความรุนแรงในครอบครัว การประเมินความเสี่ยง และการช่วยเหลือเบื้องต้น. ผศ.โสภา อ่อนโอภาส และคณะ. แนวคิดความรุนแรงในครอบครัว. วัฒนธรรมความเชื่อเรื่องผู้ชายเป็นผู้นำ ระบบความคิดความเชื่อวิถีปฏิบัติและพฤติกรรม ความรักความสัมพันธ์ และเพศสัมพันธ์ของบุคคล

Télécharger la présentation

ผศ.โสภา อ่อนโอภาส และคณะ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. แนวคิดความรุนแรงในครอบครัว การประเมินความเสี่ยง และการช่วยเหลือเบื้องต้น ผศ.โสภา อ่อนโอภาส และคณะ

  2. แนวคิดความรุนแรงในครอบครัวแนวคิดความรุนแรงในครอบครัว • วัฒนธรรมความเชื่อเรื่องผู้ชายเป็นผู้นำ • ระบบความคิดความเชื่อวิถีปฏิบัติและพฤติกรรม ความรักความสัมพันธ์ และเพศสัมพันธ์ของบุคคล • อคติต่อเพศทางเลือก • โครงสร้างอำนาจ

  3. ลำดับขั้นความรุนแรงในครอบครัวลำดับขั้นความรุนแรงในครอบครัว • 1. ความรุนแรงทางจิตใจ • 2.ความรุนแรงทางวาจา • 3.ความรุนแรงต่อทรัพย์สิน • 4.ความรุนแรงต่อร่างกาย • 5.ความรุนแรงทางเพศ • 6.ความรุนแรงต่อชีวิต

  4. ครอบครัวเสี่ยงต่อความรุนแรงในครอบครัวครอบครัวเสี่ยงต่อความรุนแรงในครอบครัว

  5. ครอบครัวที่อาจมีความเสี่ยงความรุนแรงขึ้นในครอบครัวครอบครัวที่อาจมีความเสี่ยงความรุนแรงขึ้นในครอบครัว 1.ครอบครัวที่ผู้นำครอบครัวยึดถือตนเองเป็นสำคัญ 2. ครอบครัวที่มีสมาชิกเกี่ยวข้องกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และสิ่งเสพติด 3. ครอบครัวที่กำลังประสบปัญหาเศรษฐกิจ 4. ครอบครัวที่ต้องรับผิดชอบผู้ป่วยเรื้อรัง หรือผู้พิการ 5. ครอบครัวที่มีการทะเลาะกันบ่อยครั้งและมีความถี่สูงขึ้น 6.ครอบครัวที่ขาดความพร้อมการตั้งครอบครัว (ครอบครัววัยรุ่น)

  6. กระบวนการช่วยเหลือจากเหตุความรุนแรงกระบวนการช่วยเหลือจากเหตุความรุนแรง • การรับแจ้งเหตุ • การประเมินความเสี่ยง • การประสานส่งต่อ/ การติดตาม

  7. ขั้นตอนที่1 รับแจ้ง รับเข้า(ดำเนินการภายใน 24 ชั่วโมง) • การเก็บรวบรวมรายละเอียดเบื้องต้นทันที จากผู้แจ้งเหตุ และตัวผู้เสียหาย • ชื่อ สกุล อายุ / ที่อยู่ปัจจุบัน ที่สามารถติดต่อได้ • สถานที่ทำงาน / โทรศัพท์ • ความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับเด็กและครอบครัว • การรับทราบเหตุเบื้องต้น / ความเกี่ยวข้องกับเหตุที่เกิด

  8. ขั้นตอนที่1 รับแจ้ง รับเข้า(ดำเนินการภายใน 24 ชั่วโมง) • รายละเอียดของเหตุการณ์ • วันเวลา สถานที่เกิดเหตุ • สิ่งที่พบเห็น บุคคล ลักษณะของเหตุ (การละเมิดทางกาย เพศ การทำร้าย) • บุคคลที่เป็นผู้กระทำ ลักษณะท่าทาง การข่มขู่คุกคาม ภาษาที่ใช้ • ผู้เสียหาย สภาพทางร่างกาย จิตใจ ขณะเกิดเหตุ หลังการเกิดเหตุ • พยานผู้รู้เห็นเหตุการณ์ พยานผู้รับฟังเหตุการณ์ • การรับรู้ของพ่อแม่ ผู้ปกครอง ผู้ใกล้ชิด

  9. ขั้นตอนที่1 รับแจ้ง รับเข้า(ดำเนินการภายใน 24 ชั่วโมง) • บทบาทของผู้รับแจ้ง • ปลอบโยน ทำความเข้าใจอารมณ์ ความรู้สึกของผู้เสียหาย รับฟังหากผู้เสียหายมีสติบอกเล่าเหตุการณ์ รายละเอียดต่าง ๆ • ให้กำลังใจผู้แจ้งเหตุ รับรองเรื่องการรักษาความลับ • ให้หลักประกันว่าการเปิดเผยข้อมูลจะดำเนินการอย่างระมัดระวัง กรณีเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม และต้องแจ้งต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่ ตำรวจ

  10. ขั้นตอนที่2 ประเมินความเสี่ยงเบื้องต้น(ดำเนินการภายใน 24 ชั่วโมง) • รวบรวมข้อมูลและกลั่นกรองเพื่อพิจารณา/ประเมินความเสี่ยง • ประเมินระดับความเสี่ยง ระดับสูง ต่ำหรือภาวะฉุกเฉิน • การตรวจสอบข้อเท็จจริงเพิ่มเติม • การพิจารณาความช่วยเหลือในระดับที่เหมาะสม เน้นความปลอดภัยเป็นฐาน ผ่านผู้เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 คน จาก ตำรวจ พนักงานเจ้าหน้าที่ ผู้ใหญ่บ้าน/กำนัน ผู้นำชุมชนที่ได้รับการยอมรับ ครูที่เกี่ยวข้อง เจ้าหน้าที่อนามัย แพทย์ พยาบาล ผู้นำใน อบต. ผู้นำศาสนา (ระมัดระวังเรื่องความลับ ที่จะมีผลกระทบต่อเด็กและครอบครัว)

  11. ภาวะเสี่ยงในระดับสูง:ส่งผลกระทบรุนแรงต่อร่างกายและความปลอดภัยในชีวิตภาวะเสี่ยงในระดับสูง:ส่งผลกระทบรุนแรงต่อร่างกายและความปลอดภัยในชีวิต • สมาชิกในครอบครัวอยู่ในภาวะถูกทำร้ายทางเพศโดยบุคคลในครอบครัว • สมาชิกในครอบครัวถูกทำร้ายทางร่างกายโดยถูกผู้ดูแลชก ต่อย เตะ ใช้ไฟจี้ • สมาชิกในครอบครัวอยู่ในภาวะยากลำบาก หรือขาดผู้ดูแล • เด็กมีแนวโน้มจะถูกค้ามนุษย์ หรือขายเพื่อทำงานบริการทางเพศ

  12. ภาวะเสี่ยงในระดับสูง:ส่งผลกระทบรุนแรงต่อร่างกายและความปลอดภัยในชีวิตภาวะเสี่ยงในระดับสูง:ส่งผลกระทบรุนแรงต่อร่างกายและความปลอดภัยในชีวิต • เด็กหรือสมาชิกครอบครัวถูกใช้แรงงานในสถานที่อันตรายและส่งผลเสียต่อร่างกายอย่างรุนแรง • เด็กหรือสมาชิกในครอบครัวถูกลงโทษอย่างร้ายแรง กักขังโดดเดี่ยว • สมาชิกในครอบครัวได้รับผลกระทบรุนแรงจากสารเสพติด สุรา

  13. ภาวะเสี่ยงระดับต่ำ • ภาวะเสี่ยงที่เคยเกิดขึ้นแต่ปัจจัยเสี่ยงได้หมดไป เช่น ผู้กระทำต่อเด็กและสมาชิกครอบครัวถูกจับกุมแล้ว หรืออาจจะยังจับกุมไม่ได้แต่พ่อแม่ ชุมชนมีระบบเฝ้าระวังติดตามภาวะเสี่ยงอย่างใกล้ชิด หรือมีการมอบหมายเรื่องการป้องกันความเสี่ยงซ้ำอย่างชัดเจน

  14. ขั้นตอนที่ 3 ประสาน ส่งต่อ • การประสานงานกับหน่วยงาน/ทีมงานสหวิชาชีพ • คุยกับผู้เสียหายในสถานที่ปลอดภัย เป็นส่วนตัว ระมัดระวังเรื่องการเปิดเผยข้อมูล การถูกล้อเลียน ทั้งในส่วนครอบครัวและเครือญาติ การเตรียมความรู้สึกกรณีเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม • การทำงานกับญาติหรือผู้ใกล้ชิดหรือผู้ที่ไว้วางใจ เพื่อสื่อสารสถานการณ์และหาข้อเท็จจริงเพิ่ม • การค้นหาทรัพยากร บุคคลที่ไว้วางใจในบ้าน

  15. ขั้นตอนที่ 3 ประสาน ส่งต่อ • การติดต่อผู้มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ปกครองหรือญาติ ผู้นำชุมชนหรือในกรณีที่เป็นความเสี่ยงสูงหรือฉุกเฉิน ควรติดต่อ ประสานงานกับบุคลากรในพื้นที่จังหวัด อำเภอ ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง และสามารถดำเนินงานที่เป็นประโยชน์

  16. ข้อเท็จจริงที่ควรได้จากการทำงานในขั้นแรกข้อเท็จจริงที่ควรได้จากการทำงานในขั้นแรก • ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผู้ถูกกระทำ (ควรมีการเยี่ยมบ้าน) • ชื่อ ที่อยู่ อายุ • วันเวลา ลักษณะการล่วงละเมิด การทำร้ายที่เกิดขึ้น • ความถี่ของการล่วงละเมิด ทำร้าย ความต่อเนื่องของเหตุการณ์ • สภาวะทางอารมณ์ของผู้ถูกกระทำขณะที่พูดถึงเหตุการณ์ • การรับรู้และปฏิกิริยาของของบุคคลในครอบครัว

  17. ข้อเท็จจริงที่ควรได้จากการทำงานในขั้นแรกข้อเท็จจริงที่ควรได้จากการทำงานในขั้นแรก • ผู้เสียหาย เคยเปิดเผยข้อมูลการถูกทำร้าย/ละเมิด แก่บุคคลใดมาก่อนหรือไม่ / ปฏิกิริยาตอบรับเป็นอย่างไร • ผู้ที่เสียหายหรือผู้ถูกกระทำเชื่อใจ วางใจได้ • ความต้องการของผู้เสียหายต่อกรณีที่เกิดขึ้น • การสื่อสารให้ผู้เสียหาย เข้าใจสถานการณ์ และมีความมั่นใจมากขึ้นว่าจะได้รับความช่วยเหลือ

  18. ข้อเท็จจริงที่ควรได้จากสมาชิกในครอบครัวข้อเท็จจริงที่ควรได้จากสมาชิกในครอบครัว • จำนวนและรายละเอียดของสมาชิกในบ้าน พร้อมความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับผู้เสียหาย • คนอื่นๆ ในบ้านมีความเสี่ยงต่อการถูกล่วงละเมิด/การทำร้ายหรือไม่ • ความสัมพันธ์ของคนในบ้าน ที่มีต่อผู้เสียหาย กรณีที่คนใกล้ชิดในบ้านเป็นผู้กระทำ • การยอมรับปัญหา และความร่วมมือในการช่วยเหลือ

  19. การตัดสินใจ เรื่องการตรวจร่างกาย/บาดแผล • การประเมินในการเข้ารับการตรวจร่างกาย รักษาบาดแผล ฟื้นฟูจิตใจ อารมณ์ เพื่อความปลอดภัยของผู้เสียหาย • กรณีเร่งด่วนหรือมีความเสี่ยงสูง ต้องส่งตรวจสุขภาพทันที เพื่อตรวจสอบบาดแผลและผลกระทบอื่น ๆ เช่น การตั้งครรภ์ โรคติดต่อ ผลกระทบทางจิตใจ พร้อมกับขอให้มีการบันทึกหลักฐานทั้งหมดให้ได้มาตรฐานในการปฏิบัติ เพื่อใช้ในกระบวนการยุติธรรม

  20. ข้อพึงระวัง • แจ้งผู้ถูกกระทำว่าจะมีการรักษาความลับอย่างเคร่งครัด • ทำให้ผู้เสียหายรู้สึกปลอดภัยและไว้วางใจที่จะให้ข้อมูล • ต้องฟังอย่างตั้งใจและใส่ใจเรื่องราวที่เกิดขึ้น • ช่วยให้ผู้ถูกกระทำได้ระบายความรู้สึกมากที่สุด

  21. ทักษะสำคัญในการช่วยเหลือเบื้องต้นทักษะสำคัญในการช่วยเหลือเบื้องต้น • การฟัง • การถาม • การให้กำลังใจ • การให้บริการปรึกษา

  22. การฟัง ความหมาย คือการรับฟังความคิด อารมณ์ ความรู้สึกและปัญหาของผู้พูด วัตถุประสงค์ 1.เปิดโอกาสให้ผู้พูดระบายอารมณ์ ความรู้สึก 2.ให้ผู้พูดตระหนักว่ามีผู้ยินดีรับฟังและช่วยแหลือ 3.ผู้พูดมีโอกาสทบทวนความคิด ความรู้สึกของตนเอง

  23. เทคนิคการฟัง • ฟังอย่างไม่ตัดสิน • ฟังเพื่อร่วมรับรู้ความรู้สึกและเนื้อหาของผู้พูด เป็นการสร้างความสัมพันธ์ • ฟังแบบไม่ขัดจังหวะผู้พูด ให้ผู้พูดได้ระบายอารมณ์ ความรู้สึกเต็มที่

  24. เทคนิคการฟัง (ต่อ) • ฟังเพื่อมองให้เห็นใจของเราที่แปรเปลี่ยนไปทุกครั้งที่เราได้ฟัง  • การฟังด้วยหัวใจ จะมีคุณกับทั้งคนฟังและคนที่ได้รับการรับฟัง เป็นพื้นที่แห่งความไว้วางใจ ที่ทั้งสองฝ่ายสร้างขึ้นมาร่วมกัน คนที่ได้รับการรับฟังจะได้ระบายความอึดอัด ความคิดความรู้สึกโดยที่เขาจะไม่รู้สึกว่าถูกตัดสิน ยอมรับเขาได้ตามที่เขาเป็น บางครั้งเขาอาจจะเห็นทางออกได้ด้วยตัวเอง เพราะมีคนฟังเขาด้วยหัวใจ

  25. การถาม ความหมาย คือ การตั้งคำถามเพื่อค้นหาข้อมูล ปัญหาและความต้องการของผู้ให้ข้อมูล วัตถุประสงค์ 1. เป็นการให้โอกาสแก่ผู้ให้ข้อมูลได้บอกถึงความรู้สึกและเรื่องราวต่างๆ 2. เป็นการช่วยเหลือให้ผู้ให้ข้อมูลเข้าใจถึงปัญหามากขึ้น ตลอดจนได้ใช้เวลาคิดคำนึงและทำความเข้าใจปัญหาของตน

  26. แนวทางการถาม • คำถามปิดเป็นการถามเพื่อทราบข้อมูลเฉพาะที่เกี่ยวกับผู้ใช้บริการ โดยผู้ใช้บริการไม่ต้องใช้เวลามากนัก ในการคิดและข้อมูลมักไม่ค่อยเปลี่ยนแปลง เช่น หนูอายุเท่าไหร่ • คำถามเปิด เปิด เป็นคำถามที่ไม่ได้กำหนดขอบเขตของการตอบ ช่วยผู้ให้ข้อมูลได้มีโอกาสพูดถึงความคิด ความรู้สึก และสิ่งที่เป็นปัญหาตามความต้องการของตน การใช้คำถามเปิดจะมีลักษณะของคำถามที่ใช้คำว่า “อะไร” “อย่างไร” “เพราะอะไร”

  27. การให้กำลังใจ • ความหมาย เป็นการแสดงความสนใจ ความเข้าใจในสิ่งที่ผู้ให้ข้อมูลได้พูดมาแล้ว และเป็นการสนับสนุนให้เขาได้พูดต่อไป • วัตถุประสงค์ เพื่อสื่อถึงความใส่ใจ ความเข้าใจของฟังที่มีต่อผู้ให้ข้อมูล ทำให้เกิดความรู้สึกว่าตนเองเป็นที่เข้าใจ เป็นที่ยอมรับ เกิดความอบอุ่นใจและเกิดกำลังใจในการแก้ไขปัญหา

  28. แนวทางการให้กำลังใจ • มีกิริยาท่าทางที่แสดงว่าได้รับรู้ และได้ยินในสิ่งที่เขาพูดออกมา เช่น การพยักหน้า ยิ้ม ฯลฯ • มีการอุทานตอบรับ เช่น ฮึม…. ค่ะ • มีการทวนคำสำคัญๆที่ผู้ให้ข้อมูลได้พูดออกมา • แสดงความเงียบเพื่อให้เวลาในการคิด • มีคำพูดที่ให้กำลังใจที่สอดคล้องกับสถานการณ์

  29. ร่วมสร้างสรรค์สังคมที่ปลอดความรุนแรงร่วมสร้างสรรค์สังคมที่ปลอดความรุนแรง

More Related