1 / 46

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กับการพัฒนาการศึกษาของชาติ โดย ศ.ดร.พจน์ สะเพียรชัย

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กับการพัฒนาการศึกษาของชาติ โดย ศ.ดร.พจน์ สะเพียรชัย. ปราชญ์ = มีปัญญา รอบรู้ วิชชา = รู้แจ้งเห็นจริง ปราชญ์ + วิชชา = ปรัชญา คือ วิชาที่ว่าด้วยหลักแห่ง ความรู้และความจริง

gaura
Télécharger la présentation

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กับการพัฒนาการศึกษาของชาติ โดย ศ.ดร.พจน์ สะเพียรชัย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กับการพัฒนาการศึกษาของชาติ โดย ศ.ดร.พจน์ สะเพียรชัย

  2. ปราชญ์ = มีปัญญา รอบรู้วิชชา = รู้แจ้งเห็นจริง ปราชญ์ + วิชชา = ปรัชญา คือ วิชาที่ว่าด้วยหลักแห่ง ความรู้และความจริง Philosophy = Love of , or the search for, wisdom or knowledge คือ วิชาที่ว่าด้วยทฤษฎี การวิเคราะห์เชิงเหตุผลของหลักการปฏิบัติตน หลักคิด ความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติของสรรพสิ่งทั้งหลาย รวมถึง จริยศาสตร์สุนทรียศาสตร์ ตรรกศาสตร์ ญาณวิทยา และอภิปรัชญา ฯลฯ

  3. จริยศาสตร์ วิชาที่ว่าด้วยการแสวงหาความดีสูงสุดของชีวิต เกณฑ์ในการตัดสิน ความประพฤติของมนุษย์ อย่างไหนถูก - ไม่ถูก ดี - ไม่ดี ควร - ไม่ควร และ พิจารณาสถานภาพของค่าทางศีลธรรม (ความดี) สุนทรียศาสตร์ วิชาที่ว่าด้วยความงามและสิ่งที่งามใน ธรรมชาติ หรืองานศิลปะ (ความงาม) ตรรกศาสตร์ วิชาที่ว่าด้วยการคิดหาเหตุผล ว่าจะสมเหตุ สมผล ถูกต้องจริงหรือไม่ (ความถูกต้อง) ญาณวิทยา วิชาว่าด้วยการเข้าถึงความรู้ ความจริง (ค้นหา) อภิปรัชญา วิชาที่ว่าด้วยความแท้จริง เป็นเนื้อหาสำคัญ ของปรัชญา (ความแท้จริง)

  4. เศรษฐกิจพอเพียง “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 25 ปี ตั้งแต่ก่อนวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ

  5. ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันโลก ยุคโลกาภิวัตน์

  6. ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี

  7. หลักคิดของเศรษฐกิจพอเพียงหลักคิดของเศรษฐกิจพอเพียง การพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ การพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท โดยคำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจและการกระทำ

  8. ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีหลักพิจารณาอยู่ 5 ส่วน ดังนี้ 1. กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัย และวิกฤต เพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา

  9. 2. คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน

  10. 3. คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ พร้อม ๆ กัน ดังนี้ ● ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ

  11. ●ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่าง มีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ ●การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัว ให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล

  12. 4. เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ  เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ  เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

  13. 5. แนวทางปฏิบัติ / ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอ เพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี

  14. หลักความพอเพียง ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลวงทั้งภายนอกและภายใน

  15. พอประมาณ  พอดีพอเหมาะต่อความจำเป็น  พอควรแก่อัตภาพ  ไม่มากเกิน  ไม่น้อยเกิน

  16. ความมีเหตุผล  ตามหลักวิชา  ตามกฎเกณฑ์สังคม (รวมประเพณี – วัฒนธรรม)  ตามหลักกฎหมาย  ตามหลักศีลธรรม  ตามความจำเป็นในการดำเนินชีวิต / กิจกรรม

  17. ระบบภูมิคุ้มกันตัว (1) ด้านวัตถุ (2) ด้านสังคม (3) ด้านสิ่งแวดล้อม (4) ด้านวัฒนธรรม

  18. ระบบภูมิคุ้มกันด้านวัตถุระบบภูมิคุ้มกันด้านวัตถุ ภูมิคุ้มกันเข้มแข็งภูมิคุ้มกันบกพร่อง  มีเงินออม  มีหนี้ไม่ก่อรายได้  มีการประกันความเสี่ยง ขาดการประกันความเสี่ยง ในอนาคต ในอนาคต  มีการลงทุนเพื่อพัฒนา  ขาดการลงทุนเพื่อพัฒนา  มีการวางแผนระยะยาว  ขาดการวางแผนระยะยาว

  19. ภูมิคุ้มกันในตัว 1. ลดหนี้ / ลบหนี้ 2. การลงทุนที่เสี่ยงน้อย 3. กองทุนป้องกันวิกฤติ 4. การออม 5. การลงทุนพัฒนาสถาบัน / ประเทศชาติ

  20. ระบบภูมิคุ้มกันด้านสังคมระบบภูมิคุ้มกันด้านสังคม ภูมิคุ้มกันเข้มแข็ง ภูมิคุ้มกันบกพร่อง  รู้-รัก-สามัคคี  ระแวง-ทะเลาะเบาะแว้ง  ร่วมมือร่วมใจกัน ต่างคนต่างอยู่  มีคุณธรรม-ใฝ่ศาสนาธรรม  ทุศีล-ห่างไกลศาสนธรรม “สังคมสีขาว” เยื่อแห่งอบายมุขทั้งปวง  “อยู่เย็นเป็นสุข”“อยู่ร้อนนอนทุกข์” ทุนทางสังคมสูง  ทุนทางสังคมต่ำ

  21. วิธีสร้างภูมิคุ้มกันทางศีลธรรมแก่ลูกหลานวิธีสร้างภูมิคุ้มกันทางศีลธรรมแก่ลูกหลาน ภูมิคุ้มกันทางศีลธรรม  คุ้มกันต่อสิ่งชั่วร้ายทางศีลธรรม อันได้แก่ โลภะ โทสะ และโมหะ 1. ฐานเครือญาติที่มั่นคง 2. คำสอนของครอบครัว / ตระกูล 3. พาลูกเข้าวัด / ศึกษาและปฏิบัติธรรม 4. สอนลูกให้ออมและทำบุญ 5. ฝึก “ใจ” ให้เข้มแข็งยิ่ง ๆ ขึ้น - ข่มตนเอง - ปฏิเสธความชั่ว / ยึดมั่นความดี

  22. ระบบภูมิคุ้มกันด้านสิ่งแวดล้อมระบบภูมิคุ้มกันด้านสิ่งแวดล้อม ภูมิคุ้มกันเข้มแข็ง ภูมิคุ้มกันบกพร่อง  มีความรู้-สำนึก และ  ขาดความรู้-ขาดสำนึก หวงแหนในสิ่งแวดล้อม หวงแหนในสิ่งแวดล้อม  มีนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมขาดนโยบาย-ผู้บริหาร จากฝ่ายบริหาร ไม่สนใจ  สร้าง “สุขนิสัย”เต็มไปด้วย “ทุกขนิสัย”  สะอาด-เป็นระเบียบ  สกปรก-ขาดระเบียบ อยู่กับธรรมชาติ ทำลายธรรมชาติ

  23. ระบบภูมิคุ้มกันด้านวัฒนธรรมระบบภูมิคุ้มกันด้านวัฒนธรรม ภูมิคุ้มกันเข้มแข็ง ภูมิคุ้มกันบกพร่อง  มั่นคงในวัฒนธรรมไทย  ย่อหย่อน-ไม่ใส่ใจ- และเชิดชูวัฒนธรรมท้องถิ่น รู้สึกเป็นปมด้อยใน วัฒนธรรมไทย- วัฒนธรรมท้องถิ่น  เข้าใจและเป็นมิตรต่อ เหยียดหยาม-มุ่งร้าย วัฒนธรรมต่างถิ่นต่างชาติ ต่อต่างวัฒนธรรม

  24. สามเงื่อนไข 1. เงื่อนไขหลักวิชา ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอนและ 2. เงื่อนไขคุณธรรม ขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และ 3. เงื่อนไขการดำเนินชีวิต ให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และ ความรอบคอบ

  25. เงื่อนไขหลักวิชา-ความรู้เงื่อนไขหลักวิชา-ความรู้ ▶ นำหลักวิชาและความรู้เทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้ ▶ ทั้งในขั้นวางแผนและขั้นปฏิบัติงาน ▶ ด้วยความรอบรู้ ความรอบคอบและระมัดระวัง อย่างยิ่ง

  26. เงื่อนไขคุณธรรม ▶ เสริมสร้างพื้นฐานจิตใจ (ครอบครัว การศึกษา ศาสนา ฯลฯ) ▶ แก่ทุกคนในชาติ ▶ ให้มีคุณธรรม (ยึดมั่นในความดี – ความจริง – ความงาม) ▶“ซื่อสัตย์ สุจริต”

  27. เงื่อนไขการดำเนินชีวิตเงื่อนไขการดำเนินชีวิต ▶ อดทน มีความเพียร ▶ มีสติ ▶ ใช้ปัญญา ▶ มีความรอบคอบ

  28. นำไปสู่ ถ้าปฏิบัติได้ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นคุณภาพของมนุษย์ การศึกษา ด้วย โดย นโยบายการศึกษา บริหารจัดการศึกษา ปฏิบัติการจัดการศึกษา

  29. ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พอประมาณ มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี มีเหตุผล ทางสายกลาง แนวทางการดำรงอยู่ การปฏิบัติตน ในทุกระดับ ครอบครัว ชุมชน รัฐ – ในการพัฒนา บริหารประเทศ แนวคิด หลักการ ความรอบรู้ ความรู้ในตัวคน ในหลักวิชา รอบคอบ ระมัดระวัง คุณธรรม ความซื่อสัตย์ สุจริต ความเพียร อดทน ขยันหมั่นเพียร มีสติ เงื่อนไข เชื่อมโยงวิถีชีวิต/เศรษฐกิจ/สังคม/สิ่งแวดล้อม/การเมือง สร้างสมดุล/มั่นคง/เป็นธรรม/ยั่งยืน พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง เป้าประสงค์

  30. นำปรัชญาเศรษรฐกิจพอเพียงนำปรัชญาเศรษรฐกิจพอเพียง การจัดการศึกษา ระดับนโยบาย สกศ. มีวิสัยทัศน์ นโยบาย ความมุ่งหมาย ยุทธศาสตร์ แผนงาน โครงการทางการศึกษา ระดับบริหาร สพฐ. สอศ. สกอ. สป. ระดับปฏิบัติ ม/ส โรงเรียน หลักสูตร ตำรา อุปกรณ์การเรียนการสอน ฯลฯ ระดับบุคคล อาจารย์ ครู นักศึกษา นักเรียน บุคลากร ทางการศึกษา และผู้เกี่ยวข้อง

  31. ตัวอย่างการดำเนินงานตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของสถาบันอุดมศึกษาตัวอย่างการดำเนินงานตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของสถาบันอุดมศึกษา 1. การจัดการเรียนการสอน -สอดแทรกปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในเนื้อหาวิชาต่าง ๆ จำนวน 73 แห่ง - เปิดสอนเป็นรายวิชา จำนวน 42 แห่ง - เปิดสอนในลักษณะเป็นสาขาวิชา จำนวน 10 แห่ง 2.การบริหารวิชาการ - ม/ส 32 แห่ง จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3. กิจกรรมนักศึกษา - ม/ส 73 แห่งมีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เช่น บันทึกบัญชีรายรับและรายจ่าย, ออมวันละหนึ่งบาท, รีไซเคิลขยะ, จัดกิจกรรมช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส, พัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น ฯลฯ 4. การสร้างผู้นำต้นแบบ - ม/ส 20 แห่ง มีการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักในการบริหารจัดการสถาบันศึกษาให้เป็นสถานศึกษาต้นแบบ

  32. การจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ/มาตรฐานการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ/มาตรฐาน เป้าหมาย ค/ม วางแผน ปฏิบัติ ประเมินสุดท้าย ประเมินย่อย ติดตาม ประเมินผล

  33. ขั้นตอนการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ขั้นตอนการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ ที่มีคุณภาพและมาตรฐาน 1. กำหนดมาตรฐาน 2. วางแผนการปฏิบัติงาน 3. ลงมือปฏิบัติงาน 4. ติดตามกำกับการปฏิบัติงาน 5. เปรียบเทียบผลการปฏิบัติงานกับมาตรฐาน 5.1 ระหว่างการดำเนินงาน 5.2 หลังเสร็จสิ้นการดำเนินงาน 6. พัฒนาปรับปรุง

  34. การประเมินคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษา ตัวชี้วัด (ค/ม) (indicator) ข้อมูลเชิงประจักษ์ (empirical data) ค/ม เกณฑ์ (ค/ม) (criteria) เปรียบเทียบ

  35. การวัดและประเมินผลการปฏิบัติงานการวัดและประเมินผลการปฏิบัติงาน ภารกิจ ผลที่คาดหวัง แผนงาน Outputs---(Impacts)---Outcomes งาน/โครงการ เปรียบเทียบ ผลงานที่เกิดขึ้นจริง Input Process Outputs---(Impacts)---Outcomes

  36. พระบรมราโชวาทเกี่ยวกับการเป็นครูพระบรมราโชวาทเกี่ยวกับการเป็นครู       “...ครูที่แท้นั้นเป็นผู้ทำแต่ความดี  คือ  ต้องหมั่นขยันและอุตสาหะพากเพียร ต้องเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และเสียสละ  ต้องหนักแน่นอดกลั้นและอดทน  ต้องรักษาวินัย  สำรวมระวังความประพฤติปฏิบัติของตนให้อยู่ในระเบียบแบบแผนที่ดีงาม ต้องปลีกตัวปลีกใจจากความสะดวกสบายและความสนุกรื่นเริงที่ไม่สมควรแก่เกียรติภูมิของตน ต้องตั้งใจให้มั่นคงแน่วแน่ ต้องซื่อสัตย์รักษาความจริงใจ  ต้องเมตตาหวังดี ต้องวางใจเป็นกลางไม่ปล่อยไปตามอำนาจอคติ ต้องอบรมปัญญาให้เพิ่มพูนสมบูรณ์ขึ้นทั้งด้านวิทยาการและความฉลาดรอบรู้ในเหตุผล..."  (พระราชทานแก่ครูอาวุโสประจำปี 2522  28 ตุลาตม 2523)

  37. พระราชดำริเกี่ยวกับการสอนพระราชดำริเกี่ยวกับการสอน   “...เป็นที่ทราบตระหนักในทุกวันนี้แล้วว่า นักเรียนจำเป็นต้องเรียนรู้วิชาการต่างๆ อย่างกว้างขวาง มิฉะนั้นจะไม่เพียงพอสำหรับการปฏิบัติหน้าที่การงานและการดำรงชีวิตในสมัยปัจจุบัน เพราะปัจจุบันนี้โลกเรากำลังเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี อีกเหตุหนึ่งที่นับว่าสำคัญ คือ วิชาการทั้งปวงนั้นถึงจะมีประเภทมากมายเพียงใดก็ตามแต่เมื่อนำมาใช้สร้างสรรค์สิ่งใดก็ต้องใช้ร่วมกัน หรือต้องนำมาประยุกต์เข้าด้วยกันเสมอ... ดังนั้น ผู้จัดการศึกษาจึงต้องถือเป็นกิจสำคัญที่จะสอนให้นักเรียนได้เข้าใจซึมทราบว่าวิชาต่างๆมีความสัมพันธ์ถึงกันและมีอุปการะแก่กันทั้งฝ่ายวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ไม่มีวิชาใดที่นำมาใช้โดยลำพังตัวหรือเฉพาะอย่างได้เลย ครูทุกคนจะต้องสามารถนำวิชาการในหลักสูตรการสอนให้สัมพันธ์กันให้ได้...”   (3 สิงหาคม 2521)

  38. พระราชดำริเกี่ยวกับการสอนพระราชดำริเกี่ยวกับการสอน พระบาทสมเด็จกระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริถึงการศึกษาหาความรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งว่าต้อง ศึกษาเพื่อให้เกิด "ความฉลาดรู้" ซึ่งมีหลักการอันเป็นคุณสมบัติพื้นฐานของการเรียนรู้ 2 ประการ คือ"....เมื่อจะศึกษาสิ่งใดเรื่องใดให้รู้จริง ควรจะได้ศึกษาให้ตลอดครบถ้วนทุกแง่ทุกมุม ไม่ใช่เรียนรู้แต่เพียงบางส่วนบางตอน หรือเพ่งเล็งเฉพาะเพียงบางแง่บางมุม..." "...ต้องพิจารณาศึกษาเรื่องนั้นๆ ด้วยความคิดจิตใจที่ตั้งมั่นเป็นปรกติและเที่ยงตรงเป็นกลาง ไม่ยอมให้รู้เห็นและเข้าใจตามอำนาจความเหนี่ยวนำของอคติ ไม่ว่าจะเป็นอคติฝ่ายชอบหรือฝ่ายชัง" (22 มิถุนายน 2525)

  39. พระราชดำริเกี่ยวกับการสอนพระราชดำริเกี่ยวกับการสอน พระบาทสมเด็จกระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริถึงการเรียนรุ้ว่า บุคคลสามารถเรียนรู้ได้ 3 ลักษณะ คือ    "...เรียนรู้ตามความรู้ความคิดของผู้อื่น...""...เรียนรู้ด้วยการขบคิดพิจารณาของตนเองให้เห็นเหตุผล...""...เรียนรู้จากการปฏิบัติฝึกฝนจนประจักษ์ผลและเกิดความคล่องแคล่วชำนาญ"พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงดำริการเรียนรู้ทั้ง  3  ลักษณะดังกล่าวว่า"...จำเป็นจะต้องกระทำไปด้วยกันให้สอดคล้องอุดหนุนส่งเสริมกัน จึงจะช่วยให้เกิดความรู้จริง..." (22 มิถุนายน 2525)

  40. พระบาทสมเด็จกระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริ ถึงการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติฝึกฝนว่า"...การหาโอกาสนำความรู้ภาคทฤษฎีมาลงมือปฏิบัติก็ดีการฝึกหัดปฏิบัติงานเพื่อใช้แรง ใช้ฝีมือ ใช้ความละเอียดถี่ถ้วนก็ดีเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง และต้องกระทำมิให้น้อยไปกว่าภาคทฤษฎีเพราะการศึกษาภาคนี้เป็นประโยชน์สร้างเสริมปัจจัยสำคัญของชีวิตในด้านความขยันขันแข็งความเข็มแข็ง  ความอดทนพยายามความละเอียดรอบคอบของบุคคลได้อย่างมากที่สุดผู้ที่ปรกติทำอะไรด้วยตนเองจะเป็นผู้มีอิสระ ไม่ต้องพึ่ง  ไม่ต้องอาศัยผู้ใดไม่ต้องผิดหวังและจะได้รับผลสำเร็จสมใจนึกเสมอไป..." (27 มิถุนายน 2523)

  41. ดวงประทีปส่องสว่างนำทางการสอนของครูดวงประทีปส่องสว่างนำทางการสอนของครู ครู - ▶ ผู้มีความรู้ - ▶ ผู้ทำความดีด้วยความจริงใจ - ▶ ผู้มีความสามารถในการถ่ายทอด

  42. ดวงประทีปส่องสว่างนำทางการสอนของครูดวงประทีปส่องสว่างนำทางการสอนของครู การเป็นครู ▶ขยันและอุตสาหะ ▶ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และเสียสละ ▶ มั่นคง แนวแน่ หนักแน่น อดทน สำรวม มีระเบียบวินัย ▶ ซื่อสัตย์ ▶ เมตตา หวังดี และใจเป็นกลาง ▶ เพิ่มพูนปัญญาเป็นประจำ ▶ ปลีกตัวปลีกใจในสิ่งที่ไม่สมควรแก่เกียรติภูมิ

  43. ดวงประทีปส่องสว่างนำทางการสอนของครูดวงประทีปส่องสว่างนำทางการสอนของครู หลักการสอน 1. สรรพสิ่งมีความสัมพันธ์กัน 2. การสอนเป็นทั้งศิลป์และศาสตร์ 3. ครูจึงต้องนำวิชาต่างๆ ในหลักสูตรมาสอน ให้สัมพันธ์กัน 4. จุดประสงค์การสอนเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อชีวิต

  44. ดวงประทีปส่องสว่างนำทางการสอนของครูดวงประทีปส่องสว่างนำทางการสอนของครู วิธีการจัดการเรียนรู้ 1. จัดการเรียนรู้ด้วยความตั้งใจ 2. จัดการเรียนรู้ให้ปราศจากอคติใดๆ ครูต้องจัดกระบวนการเรียนรู้1. จัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับการเรียนรู้2. จัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับกระบวนการเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้มีดังนี้1. ศึกษา2. คิดวิเคราะห์3. ปฏิบัติ

  45. ถ้าครู อาจารย์ ผู้บริหารการศึกษาทุกระดับ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น พ่อแม่ ครอบครัว ตัวนักเรียน นิสิต นักศึกษาเอง ชุมชน จังหวัด และระดับประเทศ ได้น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หลักการและแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียงไปวางแผน และนำไปสู่การปฏิบัติได้มากเท่าไร ก็จะทำให้เกิดคุณภาพของชีวิต เศรษฐกิจ และสังคม ได้รับการพัฒนาอย่างแน่นอน รวมทั้งการศึกษาด้วย ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาในระดับตัวบุคคล การศึกษาในระดับชุมชน และสังคมโดยรวมก็จะได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน เป็นการศึกษาตลอดชีวิต เป็นการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ และนำไปสู่การปฏิบัติเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคมของคน ทั้งส่วนตัวและส่วนรวมของประเทศ

  46. ขอขอบพระคุณ

More Related