320 likes | 649 Vues
หลักสูตรการบริหารเศรษฐกิจ-การคลังสำหรับผู้บริหารระดับกลาง หัวข้อเรื่อง เศรษฐศาสตร์สาธารณะและนโยบายเศรษฐกิจของประเทศ โดย รองศาสตราจารย์ประเสริฐ ศีลพิพัฒน์ 1 ตุลาคม 2548 เวลา 13.00 น.-16.00 น. เศรษฐศาสตร์ คือ อะไร. เศรษฐศาสตร์ คือวิชาที่อธิบายถึงกระบวนการ
E N D
หลักสูตรการบริหารเศรษฐกิจ-การคลังสำหรับผู้บริหารระดับกลางหลักสูตรการบริหารเศรษฐกิจ-การคลังสำหรับผู้บริหารระดับกลาง หัวข้อเรื่อง เศรษฐศาสตร์สาธารณะและนโยบายเศรษฐกิจของประเทศ โดย รองศาสตราจารย์ประเสริฐ ศีลพิพัฒน์ 1 ตุลาคม 2548 เวลา 13.00 น.-16.00 น.
เศรษฐศาสตร์ คือ อะไร เศรษฐศาสตร์ คือวิชาที่อธิบายถึงกระบวนการ และเหตุผลของการแจกแจง หรือการจัดสรร หรือการกระจายทรัพยากรที่มีจำกัดให้สามารถ สนองความต้องการของมนุษย์ที่มีไม่จำกัด ให้ดีที่สุด
พฤติกรรมของบุคคลในการตัดสินใจพฤติกรรมของบุคคลในการตัดสินใจ • เลือกให้ได้รับความพอใจของตนสูงที่สุด • เลือกโดยให้สูญเสียน้อยที่สุด
พฤติกรรมของหน่วยธุรกิจพฤติกรรมของหน่วยธุรกิจ -กำไรสูงสุด (Profit Maximization) -ต้นทุนต่ำสุด (Minimize Cost)
เศรษฐศาสตร์สาธารณะ หมายถึง กระบวนการและเหตุผลในการจัดสรร หรือกระจายทรัพยากร หรือตัดสินใจ เลือกดำเนินการใดๆเพื่อให้ได้ผลตอบแทน หรือประโยชน์สูงสุดต่อสังคม/สาธารณะ
หลักเกณฑ์การตัดสินใจในกรอบ หลักเกณฑ์การตัดสินใจในกรอบ ของเศรษฐศาสตร์สาธารณะ • หลักต้นทุนและประโยชน์ • หลักต้นทุนประสิทธิผล • หลักการวิเคราะห์ทางสังคม
ผู้ทำหน้าที่เลือกหรือตัดสินใจแทนสังคม/สาธารณะ คือ -องค์กรสาธารณะ (Public Agency) -รัฐบาล (Government) -นิติบุคคลสาธารณะที่กฎหมายจัดตั้ง โดยไม่แสวงกำไร -มูลนิธิเพื่อสาธารณะประโยชน์
ประเภทของสินค้าและบริการประเภทของสินค้าและบริการ -สินค้าและบริการส่วนบุคคล (Private goods and service) -สินค้าและบริการสาธารณะ (Public goods and service)
ความแตกต่างระหว่างสินค้าส่วนบุคคลและสินค้าสาธารณะความแตกต่างระหว่างสินค้าส่วนบุคคลและสินค้าสาธารณะ -การยึดถือ แลกเปลี่ยน โอน ซื้อ/ขายกรรมสิทธิ์ -การจำแนกและการป้องกันผู้ซื้อและผู้ไม่ซื้อ มาใช้ประโยชน์จากสินค้านั้น -การตัดสินใจเลือกสินค้าสาธารณะมีผลกระทบ ข้างเดียว หรือผลกระทบต่อเนื่องถึงผู้อื่น
แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ในการจัดสรรทรัพยากรแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ในการจัดสรรทรัพยากร -ประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ (Economic Efficiency) -ความเป็นธรรม(Equity)
ประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ หมายถึง การใช้ทรัพยากรที่ได้จัดสรรแล้วให้เกิด ประโยชน์ สูงสุด โดยมีความสูญเปล่าน้อยที่สุด
ความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจ หมายถึงการได้มาซึ่งผลประโยชน์อย่างเป็นธรรมพอเหมาะกับภาระรับผิดชอบในการให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์นั้น
เครื่องมือที่ใช้ตัดสินใจในระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมเครื่องมือที่ใช้ตัดสินใจในระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม กลไกตลาดหรือกลไกราคา (Price Mechanism)
ปัญหาอุปสรรคการใช้กลไกตลาดปัญหาอุปสรรคการใช้กลไกตลาด -ความไม่สมบูรณ์ของตลาด -ความไม่สมบูรณ์ของข้อมูลและข้อสนเทศ -ความไม่เหมือนกันของสินค้าประเภทเดียวกัน -นโยบายของภาครัฐ
การวิเคราะห์โครงการบริการสาธารณะหรือ กึ่งสาธารณะที่เป็นโครงการที่ทำเพื่อสังคม -นำเงินรายได้จากโครงการที่มีกำไรมาชดเชยผลขาดทุน จากโครงการที่ทำประโยชน์เพื่อสังคม (Cross Subsidy) -ภาครัฐให้เงินอุดหนุนในการลงทุน
การวิเคราะห์ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการพัฒนาโครงการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมการวิเคราะห์ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการพัฒนาโครงการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม -ผลประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับจากโครงการ โดยตรงและกำหนดระยะเวลา -การสร้างโอกาสการมีงานทำ และเพิ่มรายได้ -การมีส่วนช่วยสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของ “คน” อย่างไร
เศรษฐศาสตร์สาธารณะ มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องใดบ้าง -ปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ -การศึกษา -การสาธารณสุข -ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม -สวัสดิการ ฯลฯ
นโยบายสาธารณะที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญนโยบายสาธารณะที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 เช่น มาตรา 76, 78, 79 มาตรา 80, 81, 82, 86, 87
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 76 “รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของ ประชาชนในการกำหนดนโยบายการตัดสินใจทาง การเมือง การวางแผนพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง รวมทั้งการตรวจสอบการใช้อำนาจ รัฐทุกระดับ”
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 78 “รัฐต้องกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นพึ่งตนเองและตัดสินใจในกิจการท้องถิ่นได้เอง พัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น และระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการตลอดทั้งโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศในท้องถิ่นให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกันทั่วประเทศ รวมทั้งพัฒนาจังหวัดที่มีความพร้อมให้เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ โดยคำนึงถึงเจตนารมณ์ของประชาชนในจังหวัดนั้น”
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 79 “รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมใน การสงวนบำรุงรักษาและใช้ประโยชน์จากทรัพยากร ธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุลรวม ทั้งมีส่วนร่วมในการส่งเสริมบำรุงรักษาและคุ้มครองคุณภาพ สิ่งแวดล้อมตามหลักการการพัฒนาที่ยั่งยืน ตลอดจนควบคุม และกำจัดภาวะมลพิษที่มีผลต่อสุขภาพอนามัย สวัสดิภาพและ คุณภาพชีวิตของประชาชน”
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 80 “รัฐต้องคุ้มครองเด็กและพัฒนาเด็กและเยาวชน ส่งเสริม ความเสมอภาคของหญิงและชาย เสริมสร้างและพัฒนาความ เป็นปึกแผ่นของครอบครัวและความเข้มแข็งของชุมชน รัฐต้องสงเคราะห์คนชรา ผู้ยากไร้ ผู้พิการ หรือทุพพลภาพ และผู้ด้อยโอกาสให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและพึ่งตนเองได้”
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 81 “รัฐต้องจัดการศึกษาอบรมและสนับสนุนให้เอกชนจัดการศึกษาอบรมให้เกิดความรู้คู่คุณธรรม จัดให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาแห่งชาติ ปรับปรุงการศึกษาให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม สร้างเสริมความรู้และปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข สนับสนุนการค้นคว้าวิจัยในศิลปวิทยาการต่างๆ เร่งรัดพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาประเทศ พัฒนาวิชาชีพครู และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะและวัฒนธรรมของชาติ”
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 82 “รัฐต้องจัดและส่งเสริมการสาธารณสุขให้ประชาชน ได้รับบริการที่ได้มาตราฐานและมีประสิทธิภาพอย่าง ทั่วถึง”
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 86 “รัฐต้องส่งเสริมให้ประชากรวัยทำงานมีงานทำ คุ้มครอง แรงงานโดยเฉพาะแรงงานเด็กและแรงงานหญิง จัดระบบ แรงงานสัมพันธ์การประกันสังคม รวมทั้งค่าตอบแทนแรง งานให้เป็นธรรม”
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 87 “รัฐต้องสนับสนุนระบบเศรษฐกิจแบบเสรีโดยอาศัยกลไกตลาดกำกับ ดูแลให้มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม คุ้มครองผู้บริโภค และป้องกันการผูกขาด ตัดตอนทั้งทางตรงและทางกอ้อม รวมทั้งยกเลิกและละเว้นการตรากฎหมายและกฎเกณฑ์ที่ควบคุมธุรกิจที่ไม่สอดคล้องกับความจำเป็นทางเศรษฐกิจและต้องไม่ประกอบกิจการแข่งขันกับเอกชน เว้นแต่มีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงของรัฐ รักษาผลประโยชน์ส่วนรวม หรือการจัดให้มีการสาธารณูปโภค”
ตัวอย่าง นโยบายของคณะรัฐมนตรีเพื่อบริหาร ราชการแผ่นดิน ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540
มาตรา 79 รัฐบาลมีนโยบายในการฟื้นฟูสภาพและคุณภาพ การป้องกัน การเสื่อมโทรมหรือการสูญสิ้นไปและการนำกลับมาใช้ใหม่ซึ่งทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ ให้เอื้อต่อการดำรงชีวิตเกิดความสมดุลในการพัฒนา และเป็นรากฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอย่างยั่งยืน
มาตรา 80 สร้างหลักประกันสุขภาพทั่วหน้า เพื่อลดรายจ่ายโดยรวมของ ประเทศและประชาชน ในการดูแลรักษาสุขภาพ โดยเสียค่าใช้จ่าย 30 บาทต่อครั้ง และสร้างโอกาสในการเข้าถึงบริการสาธารณสุข ที่ได้มาตราฐานอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน รวมทั้งมีนโยบายในการ สร้างครอบครัวให้อบอุ่นและเข้มแข็ง เป็นหน่วยพื้นฐานในการฟื้นฟู เศรษฐกิจและเป็นภูมิคุ้มกันจากปัญหาสังคมแก่สมาชิกทุกวัยใน ครอบครัวพร้อมทั้งมีนโยบายในการส่งเสริมผู้ด้อยโอกาสให้มี คุณภาพชีวิตที่ดี และพึ่งพาตนเองได้
มาตรา 81 รัฐบาลตระหนักว่าการกอบกู้ภาวะเศรษฐกิจของประเทศให้กลับฟื้นตัวนั้น จำเป็นต้องพึ่งพาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อพัฒนาภาคการ ผลิตและบริการ รวมทั้งด้านการศึกษา รัฐบาลจะปฏิรูปการศึกษาตามเจตนา รมณ์แห่งรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 เพื่อพัฒนาสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งความรู้ อันเป็นเงื่อนไขไปสู่ระบบ เศรษฐกิจฐานความรู้ ให้คนไทยทั้งปวงได้รับโอกาสเท่าเทียมกันที่จะเรียนรู้ และฝึกอบรมได้ตลอดชีวิต และมีปัญญาเป็นทุนไว้สร้างงานและสร้างรายได้ และนำประเทศให้รอดพ้นจากวิกฤติเศรษฐกิจและสังคม โดยยึดหลัก “การศึกษาสร้างชาติ สร้างคน และสร้างงาน”และมีนโยบายในการอนุรักษ์ เผยแพร่ และสืบสานศิลปวัฒนธรรมไทย
ความสัมพันธ์ระหว่างนโยบายสาธารณะและการพัฒนาเศรษฐกิจความสัมพันธ์ระหว่างนโยบายสาธารณะและการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ -อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ -GDP Per Capita -การกระจายรายได้ -ความอยู่ดีมีสุข
ความอยู่ดีมีสุข ความอยู่ดีมีสุข หมายถึง การมีสุขภาพอนามัยที่ดีทั้งร่างกาย และจิตใจ มีความรู้ มีงานทำที่ทั่วถึง มีรายได้พอเพียงต่อการ ดำรงชีพ มีครอบครัวที่อบอุ่นมั่งคง อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี และอยู่ภายใต้ระบบบริหารจัดการที่ดีของภาครัฐ