1 / 64

การวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

www.cpdchiangmai.com. การวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา. โดย อาจารย์รัชกฤช นิธิธนภัทร์. การวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา. ความรู้ทั่วไปก่อนการวางแผนภาษีอากร. กลยุทธ์ 10 ประการในการวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา.

gil-cohen
Télécharger la présentation

การวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. www.cpdchiangmai.com การวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดย อาจารย์รัชกฤช นิธิธนภัทร์

  2. การวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

  3. ความรู้ทั่วไปก่อนการวางแผนภาษีอากรความรู้ทั่วไปก่อนการวางแผนภาษีอากร กลยุทธ์ 10 ประการในการวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 1. การเลือกใช้เกณฑ์เงินสดและการเลื่อนเวลาการจ่ายเงินภาระภาษีเงินได้ของบุคคลธรรมดานั้น กฎหมายกำหนดให้ใช้ “เกณฑ์เงินสด”ซึ่งต่างจากการเสียภาษีเงินได้ของบริษัทซึ่งใช้ “เกณฑ์สิทธิ” เกณฑ์เงินสด หมายความว่า ผู้เสียภาษียังไม่ต้องเสียภาษีหากยังไม่ได้รับเงินมาจริง ๆ ในบางกรณีบริษัทผู้จ่ายเงินสามารถนำเงินที่จะต้องจ่ายมาหักเป็นรายจ่ายได้เลยแม้จะยังไม่มีการจ่ายเงินจริง ตามหลักเกณฑ์สิทธิ์เกณฑ์สิทธิ์ หมายถึง บริษัท จะได้รับเงินหรือไม่ได้รับเงิน ก็ต้องบันทึกบัญชี เช่น ซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อ กรณีซื้อครั้งนี้ ยังไม่มีการจ่ายเงิน เพราะซื้อเชื่อ แต่ก็ต้องบันทึกบัญชี เดบิต ซื้อ เครดิต เจ้าหนี้ (แต่ถ้าซื้อสด จะเครดิต เงินสด) www.c.p.d.chiangmai.com อาจารย์รัชกฤช นิธิธนภัทร์

  4. ความรู้ทั่วไปก่อนการวางแผนภาษีอากรความรู้ทั่วไปก่อนการวางแผนภาษีอากร กลยุทธ์ 10 ประการในการวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีศึกษา:1. กรณีผู้รับเงินรู้ว่า ตนเองจะมีรายได้ในปีนี้เกิดขึ้นเท่าใด และคาดว่าจะมีรายได้ในปีหน้าเท่าใด การวางแผนภาษีโดยเกณฑ์เงินสด คือ การเลื่อนกำหนดเวลาการรับเงินออกไป ก็จะสามารถลดภาระภาษีได้ เช่น แทนที่จะได้รับเงินได้ในสิ้นปีนี้ เนื่องจากมีเงินได้เป็นจำนวนมาก ก็เลื่อนไปรับเงินในต้นปีถัดไป ซึ่งจะทำให้ภาระภาษีลดน้อยลง หากในปีถัดไปคาดว่าจะมีเงินได้น้อยกว่าเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเจ้าของธุรกิจครอบครัวสามารถที่จะควบคุมการรับจ่ายเงินของตนเองได้ สามารถใช้เกณฑ์เงินสดในการวางแผนภาษีหรือกำหนดภาระภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นในรูปของ ดอกเบี้ย ค่าเช่า หรือค่าจ้าง www.c.p.d.chiangmai.com อาจารย์รัชกฤช นิธิธนภัทร์

  5. ความรู้ทั่วไปก่อนการวางแผนภาษีอากรความรู้ทั่วไปก่อนการวางแผนภาษีอากร กลยุทธ์ 10 ประการในการวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2. การใช้เกณฑ์เงินสดในการยื่นภาษีหัก ณ ที่จ่าย เพราะระยะเวลาการนำส่งมีความแตกต่างกัน เช่น - หากผู้จ่ายเงินมีการหักภาษี ณ ที่จ่าย เงินได้ตามมาตรา 40(1) และ 40(2) เช่น ค่าจ้างแล้ว นายจ้างผู้จ่ายเงินก็มีหน้าที่ต้องนำส่งในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป - ในกรณีที่บริษัทนายจ้างต้องมีการจ่ายเงินค่าจ้างเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นเงินโบนัสแก่พนักงานที่มีจำนวนมากมายหลายร้อยคน การเลื่อนกำหนดการจ่ายเงินออกไปเพียง 1 วัน สามารถช่วยให้ภาระการนำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่าย เลื่อนออกไปได้ www.c.p.d.chiangmai.com อาจารย์รัชกฤช นิธิธนภัทร์

  6. ความรู้ทั่วไปก่อนการวางแผนภาษีอากรความรู้ทั่วไปก่อนการวางแผนภาษีอากร กลยุทธ์ 10 ประการในการวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เช่น บริษัทจ่ายเงินเดือนในวันที่ 31 มกราคม ภาระการนำส่งภาษี ณ ที่จ่าย คือ วันที่ 7 กุมภาพันธ์ หากบริษัทเลื่อนการจ่ายเงินเดือนไปในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ บริษัทจะสามารถเลื่อนภาระการนำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายออกไปเป็นวันที่ 7 มีนาคม เท่ากับมีระยะเวลาที่ต่างกันเกือบ 40 วัน ถ้าหากเป็นเงินหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตรามาก บริษัทนายจ้างที่รู้หลักการวางแผนภาษี ก็สามารถนำเงินดังกล่าวไปหมุนเวียนใช้ในกิจการอย่างอื่นได้ก่อน ซึ่งหากเป็นช่วงที่ดอกเบี้ยเงินกู้อยู่ในอัตราสูง การรู้จักการบริหารการเงินย่อมจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง www.c.p.d.chiangmai.com อาจารย์รัชกฤช นิธิธนภัทร์

  7. ความรู้ทั่วไปก่อนการวางแผนภาษีอากรความรู้ทั่วไปก่อนการวางแผนภาษีอากร กลยุทธ์ 10 ประการในการวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2. กำหนดเงินได้ที่ได้รับเป็นเงินได้ที่ได้รับการยกเว้นตามกฎหมายเงินได้ที่ได้รับการยกเว้นนั้น มีอยู่ด้วยกันหลายประเภทตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 42 ของประมวลรัษฎากร เงินได้ที่สำคัญที่กรรมการหรือเจ้าของกิจการหรือลูกจ้างจะสามารถประหยัด ไม่ต้องนำมารวมเพื่อเสียภาษี เช่น - เงินได้ที่เป็นดอกเบี้ยในการลงทุนของดอกเบี้ยสลากออมสิน - การฝากประจำประเภทออมทรัพย์หรือเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทรัพย์มรดก หรือ - การขาย สังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมิได้มาโดยการมุ่งค้ากำไร - หรือกำหนดเงินได้ให้เป็นการจัดอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา - เงินได้ที่ได้รับจากมรดกหรือการให้โดยเสน่หาตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมและประเพณี ซึ่งจะต้องกำหนดให้ถูกต้องและเหมาะสม เงินได้จากส่วนแบ่งกำไรของห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่ต้องเสียภาษีไปแล้ว www.c.p.d.chiangmai.com อาจารย์รัชกฤช นิธิธนภัทร์

  8. ความรู้ทั่วไปก่อนการวางแผนภาษีอากรความรู้ทั่วไปก่อนการวางแผนภาษีอากร กลยุทธ์ 10 ประการในการวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา นอกจากนี้ ยังมีเงินได้ที่กำหนดให้ยกเว้นไว้ในกฎกระทรวงฉบับที่ 126 อีกกว่า 78 ประเภท เช่น - เงินได้จากการขายกองทุนรวม - เงินประโยชน์ที่ผู้ประกันตนได้จากการประกันสังคม - เงินได้จากการขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ฯ - เงินได้จากธุรกิจการศึกษา - เงินได้จากค่าสินไหมทดแทนจากการประกันภัย ซึ่งเงินได้เหล่านี้เป็นเงินได้ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการกำหนดและวางแผนเงินได้ที่ตนจะได้รับอยู่ในประเภทดังกล่าว นอกจากนี้ อาจจะมีการยกเว้นภาษีเงินได้ให้ตามกฎหมายอื่น ๆ ด้วย เช่น เงินได้ที่เป็นเงินปันผลจากบริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนตาม พ.ร.บ. ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520เป็นต้น www.c.p.d.chiangmai.com อาจารย์รัชกฤช นิธิธนภัทร์

  9. ความรู้ทั่วไปก่อนการวางแผนภาษีอากรความรู้ทั่วไปก่อนการวางแผนภาษีอากร กลยุทธ์ 10 ประการในการวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 3. การเลือกใช้การหักค่าใช้จ่ายแบบหักเหมาตามประเภทเงินได้ผู้มีเงินได้ต้องทราบว่าเงินได้ประเภทใด กฎหมายให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ในอัตราใดตามกฎหมาย การหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมานี้มีข้อดีคือ ผู้เสียภาษีไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ว่ามีรายจ่ายจริงเท่ากับอัตราเหมาที่กำหนดตามกฎหมายหรือไม่ แต่กฎหมายก็ให้หักเหมาได้แม้จะมากกว่ารายจ่ายจริงก็ตาม วิธีการนี้ก็จะช่วยให้ผู้มีเงินได้และประกอบธุรกิจ ซึ่งมีปัญหาเรื่องการหักรายจ่าย เพราะคู่ค้าไม่มีเอกสารทางบัญชีมาหักเป็นรายจ่ายได้ตามกฎหมาย ก็อาจต้องพิจารณาเลือกองค์กรธุรกิจแบบบุคคลธรรมดาแทนที่จะเป็นรูปบริษัท อย่างไรก็ตาม กฎหมายก็ไม่ตัดสิทธิให้ผู้มีเงินได้ที่จะหักค่าใช้จ่ายตามความเป็นจริง หากสามารถแสดงหลักฐานทางบัญชีมาหักได้โดยความจริงแล้วอาจพิจารณาตั้งเป็นบริษัทก็จะดีกว่าเพราะอัตราภาษีเบื้องต้นอาจจะต่ำกว่า www.c.p.d.chiangmai.com อาจารย์รัชกฤช นิธิธนภัทร์

  10. ความรู้ทั่วไปก่อนการวางแผนภาษีอากรความรู้ทั่วไปก่อนการวางแผนภาษีอากร กลยุทธ์ 10 ประการในการวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 4. การหักค่าลดหย่อนตามกฎหมายการหักค่าลดหย่อนตามกฎหมายนั้น เป็นสิ่งที่ผู้วางแผนภาษีอากรควรต้องใช้ประโยชน์ให้สูงสุดในแง่ของการหักออกจากเงินได้และผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุนดังกล่าว ปัจจุบันผู้มีเงินได้สามารถหักค่าลดหย่อน เช่น - ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพเพื่อการเกษียณอายุ (RMF) ซึ่งหักได้ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 500,000 บาท - ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) หักได้ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 500,000 บาท (แต่เฉพาะผู้มีเงินได้ในปี 2552 สามารถหักค่าซื้อ RMF และ LTF ได้ถึงกองทุนละ 700,000 บาท รวมสูงถึง 1,400,000 บาท เพราะเป็นเรื่องที่รัฐบาลมุ่งให้การส่งเสริมเฉพาะกิจ) www.c.p.d.chiangmai.com อาจารย์รัชกฤช นิธิธนภัทร์

  11. ความรู้ทั่วไปก่อนการวางแผนภาษีอากรความรู้ทั่วไปก่อนการวางแผนภาษีอากร กลยุทธ์ 10 ประการในการวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา - ค่าเบี้ยประกันชีวิตและดอกเบี้ยเงินกู้ยืมซื้อบ้านหักได้ 100,000 บาท - การหักค่าลดหย่อนจากเงินบริจาคเพื่อกุศลสาธารณะ ซึ่งปัจจุบันมีมากกว่า 615 แห่ง ซึ่งหักได้ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนแล้ว นอกจากจะได้ทำบุญช่วยเหลือสังคมแล้ว บางครั้งการบริจาคเงินดังกล่าวอาจมีของตอบแทนที่อาจมีมูลค่าในอนาคตได้หรือสิทธิส่วนลดในการรักษาพยาบาลจากโรงพยาบาลชั้นดีของรัฐบาล การหักค่าลดหย่อนที่กล่าวมานั้น นอกจากผู้มีเงินได้จะประหยัดเงินภาษีในแต่ละปีภาษีแล้ว เมื่อได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนในอนาคต เงินได้ดังกล่าวก็จะได้รับและที่ได้รับยกเว้นภาษีจากเงินดังกล่าวอีกครั้งหนึ่งเช่นกัน เช่น เมื่อได้รับเงินประกันชีวิตคืนเมื่อครบอายุ เงินได้จากการขายหน่วยลงทุนในกองทุน RMF และ LTF เมื่อครบกำหนดเงื่อนไขตามกฎหมาย www.c.p.d.chiangmai.com อาจารย์รัชกฤช นิธิธนภัทร์

  12. กลยุทธ์ 10 ประการในการวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีศึกษา:ขอให้ลองเปรียบเทียบระหว่างผู้ที่ใช้ประโยชน์ทางภาษีจากการหักค่าลดหย่อนประเภทต่าง ๆ กับผู้ที่มิได้ใช้ประโยชน์โดยคำนวณจากรายรับประเภทเงินเดือน ท่านจะเห็นความแตกต่างจากตารางด้านล่างนี้ www.c.p.d.chiangmai.com อาจารย์รัชกฤช นิธิธนภัทร์

  13. กลยุทธ์ 10 ประการในการวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 5. การกำหนดแหล่งเงินได้ในต่างประเทศการกำหนดแหล่งเงินได้ก็คือ กฎหมายไทยกำหนดให้เก็บภาษีทุกชนิดที่มีแหล่งเงินได้ในประเทศไทย - ไม่ว่าจะจ่ายเงินได้ดังกล่าวในประเทศไทยหรือไม่ - ไม่ว่าผู้มีเงินได้จะอยู่ในประเทศใดก็ตาม เว้นแต่ จะเข้ากรณียกเว้นตามอนุสัญญาภาษีซ้อน ในกรณีที่ผู้มีเงินได้มีแหล่งเงินได้นอกประเทศ - ไม่ว่าจะเป็นการได้จากการทำงาน - เงินปันผลก็ดี ขายทรัพย์สินในต่างประเทศก็ดี หรือได้รับรางวัลจากการไปแสดงงานในต่างประเทศก็ดี กฎหมายได้กำหนดไว้ว่า ถ้าหากมีเงินได้ในต่างประเทศและเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย (กล่าวคืออาศัยอยู่ในประเทศไทยตั้งแต่ 180 วันในปีปฏิทิน) จะต้องเสียภาษีจากเงินได้ดังกล่าว ก็ต่อเมื่อมีการนำเงินได้เข้ามาในประเทศไทยในปีเดียวกับที่ต้องเสียภาษี www.c.p.d.chiangmai.com อาจารย์รัชกฤช นิธิธนภัทร์

  14. กลยุทธ์ 10 ประการในการวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีศึกษา: 1. ในปี 2551 ธงไชย ใจดี ได้รับเงินรางวัลจากการแข่งขันกอล์ฟในต่างประเทศ จำนวน 10,000,000 บาท ซึ่งโดยปกติธงไชยจะต้องเสียภาษีในประเทศที่ได้รับเงินได้นั้น สมมติว่า เสียในอัตรา 15% ของเงินได้ หากในปี 2554 ธงไชยอยู่ในประเทศไทยไม่ถึง 180 วัน ธงไชยไม่ต้องนำเงินรางวัลนั้นมาเสียภาษีเงินได้ในประเทศไทยเลยไม่ว่าธงไชยจะนำเงินรางวัลเข้ามาในประเทศไทยในปีใดก็ตาม แต่หากในปี 2554 ธงไชยอยู่ในประเทศไทยตั้งแต่ 180 วันขึ้นไป และนำเงินได้นั้นเข้ามาในประเทศไทยในปีเดียวกันนั้น ธงไชยยังคงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีในประเทศไทยอีกในอัตราก้าวหน้าสูงสุดถึง 37% ซึ่งรวมแล้วธงไชยจะต้องเสียภาษีสูงถึง 52% www.c.p.d.chiangmai.com อาจารย์รัชกฤช นิธิธนภัทร์

  15. ความรู้ทั่วไปก่อนการวางแผนภาษีอากรความรู้ทั่วไปก่อนการวางแผนภาษีอากร กลยุทธ์ 10 ประการในการวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่ในกรณีที่ประเทศที่ธงไชยได้รับเงินได้มีอายุสัญญาภาษีซ้อนกับประเทศไทย ธงไชยอาจได้รับสิทธินำภาษีที่เสียในต่างประเทศนั้นนำมาหักเป็นเครดิตภาษีได้ แต่ก็นับว่าภาระภาษีของธงไชยจากเงินรางวัลยังคงสูงอยู่ ดังนั้น ในกรณีนี้ ธงไชยจึงไม่ควรนำเงินรางวัลที่ได้รับนั้นเข้ามาในประเทศไทยในปี 2554 เพื่อที่จะได้ไม่มีภาระภาษีในประเทศไทย2. กรณีนาย ก. ไปลงทุนในบริษัทในต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในต่างประเทศในปี 2553 และบริษัทที่ต่างประเทศได้กำไรประกาศจ่ายเงินปันผลให้นาย ก. หากนาย ก. นำเงินปันผลเข้ามาในปี 2554 นาย ก. จะไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ในประเทศไทย แต่ถ้านำเข้ามาในปี 2553 นาย ก. ต้องเสียภาษี www.c.p.d.chiangmai.com อาจารย์รัชกฤช นิธิธนภัทร์

  16. ความรู้ทั่วไปก่อนการวางแผนภาษีอากรความรู้ทั่วไปก่อนการวางแผนภาษีอากร กลยุทธ์ 10 ประการในการวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 6. เลือกเสียภาษีในอัตราต่ำสำหรับเงินได้บางประเภทหลักการวางแผนที่สำคัญข้อหนึ่งที่ผู้เขียนเคยกล่าวไว้ว่า“ที่ใดที่มีอัตราภาษีที่แตกต่างกัน ที่นั่นมีช่องทางในการวางแผนภาษีเสมอ”ด้วยเหตุที่กฎหมายกำหนดให้เงินได้หลายประเภทที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้แล้ว ไม่จำต้องถูกนำไปรวมกับเงินได้อื่น ๆ เพื่อเสียเงินได้ตามปกติ(ภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป) ดังนั้น ผู้มีเงินได้ที่ต้องเสียภาษีอัตราก้าวหน้าในอัตราสูง ๆ เช่น 20% - 37% จึงอาจกำหนดประเภทเงินได้ที่ได้รับ โดยสามารถเลือกเสียภาษีในอัตราที่ต่ำกว่าได้ เช่น เงินได้ที่ได้รับเป็นเงินปันผล กฎหมายให้สิทธิผู้มีเงินได้ที่จะเลือกเสียภาษีในอัตรา 10% เท่ากับภาษีที่ถูกหักไว้ ณ ที่จ่าย หรือจะเลือกนำเงินปันผลนั้นไปขอเครดิตภาษีเงินปันผล ซึ่งผู้ที่จะได้รับประโยชน์จากการขอเครดิตภาษีเงินปันผลจะต้องเสียภาษีในอัตราต่ำ www.c.p.d.chiangmai.com อาจารย์รัชกฤช นิธิธนภัทร์

  17. ความรู้ทั่วไปก่อนการวางแผนภาษีอากรความรู้ทั่วไปก่อนการวางแผนภาษีอากร กลยุทธ์ 10 ประการในการวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยหลักก็คือ ถ้าหากเงินได้ของผู้มีเงินได้ที่ได้รับนั้น มีรายได้ทุกชนิดรวมตลอดปีภาษีที่ได้รับนั้นต่ำกว่า 4 ล้านบาท แล้วผู้มีเงินได้ทุกคนจะขอคืนภาษีจากการเครดิตภาษีคืนเสมอ หรือกำหนดเงินได้ประเภทดอกเบี้ย ไม่ว่าจะเกิดจากการลงทุนโดยการฝากเงินหรือซื้อหุ้นกู้ หรือการให้กู้ยืมเงินแก่บริษัทที่ผู้มีเงินได้เป็นผู้ถือหุ้นและคิดดอกเบี้ยในอัตราตลาด ซึ่งในกรณีการให้กู้ยืมนี้นอกจากบริษัทจะหักดอกเบี้ยเป็นรายจ่ายได้แล้ว ผู้มีเงินได้ยังมีสิทธิเลือกเสียภาษีจากดอกเบี้ยที่ได้รับในอัตรา 15% เท่ากับภาษีที่ถูกหักไว้ ณ ที่จ่ายโดยไม่จำเป็นที่จะต้องนำเงินได้นั้นไปรวมเพื่อเสียภาษีตามปกติผู้วางแผนจะได้ผลตอบแทน 2 ต่อ ก็คือ หักเป็นรายจ่ายของบริษัทได้และในฐานะเจ้าของกิจการหรือผู้ถือหุ้นก็สามารถได้รับผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ยซึ่งสูงกว่าอัตราเงินฝากในปัจจุบัน www.c.p.d.chiangmai.com อาจารย์รัชกฤช นิธิธนภัทร์

  18. ความรู้ทั่วไปก่อนการวางแผนภาษีอากรความรู้ทั่วไปก่อนการวางแผนภาษีอากร กลยุทธ์ 10 ประการในการวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา อย่างไรก็ดี การดำเนินงานดังกล่าวจะต้องระวังไม่ให้การประกอบธุรกิจของกรรมการหรือผู้ถือหุ้น เข้าข่ายเป็นการประกอบธุรกิจเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ ซึ่งจะทำให้ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะในอัตรา 3.3% ของรายรับดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมนอกจากนี้ ยังมีเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้โดยมาทางมรดกหรือการให้โดยเสน่หาหรือได้มาโดยมิได้มุ่งค้าหากำไร หากยอมให้หักภาษี ณ ที่จ่าย ก็ไม่ต้องนำไปรวมเงินได้หรือเงินได้ที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานซึ่งกฎหมายให้หักรายจ่ายได้สูง ให้หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยไม่ต้องไปรวมเสียภาษีตอนปลายปี www.c.p.d.chiangmai.com อาจารย์รัชกฤช นิธิธนภัทร์

  19. กลยุทธ์ 10 ประการในการวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 7. กำหนดประเภทเงินได้ที่ไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายผู้วางแผนภาษีควรกำหนดเงินได้ที่ได้รับนั้น ให้อยู่ในเงินได้ประเภทที่ไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย หรือถ้าหักก็หักในอัตราต่ำ เพื่อสร้างสภาพคล่องทางการเงินให้แก่ธุรกิจหรือผู้มีเงินได้ และไม่ต้องไปขอคืนภาษีซึ่งอาจจะถูกตรวจสอบภาษีได้กรณีศึกษา 1. กรณีที่การจ่ายค่าเช่ารถโดยมีคนขับกับทำสัญญารับค่าขนส่งคนโดยสาร ก็มีความแตกต่างของการหักภาษี ณ ที่จ่าย ค่าเช่ารถต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 5% แต่กับค่าขนส่งหัก 1% รวมทั้งยังได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอีกด้วย สิ่งเหล่านี้ก็เป็นเรื่องของการกำหนดประเภทเงินได้ให้เหมาะสมและถูกต้องโดยการทำสัญญาและความเป็นจริงทางธุรกิจ www.c.p.d.chiangmai.com อาจารย์รัชกฤช นิธิธนภัทร์

  20. กลยุทธ์ 10 ประการในการวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีศึกษา: 2. การกำหนดความแตกต่างระหว่างสัญญาซื้อขายกับสัญญาจ้างทำของ ซึ่งถ้าหากเป็นสัญญาจ้างทำของต้องถูกหักภาษีในอัตรา 3% และยังมีภาระต้องติดอากรแสตมป์ด้วยในอัตรา 0.1% ของค่าจ้างทั้งหมดตามสัญญา แต่หากเป็นสัญญาซื้อขาย ค่าซื้อขายจะไม่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย และสัญญาซื้อขายไม่ต้องติดอากรแสตมป์ การกำหนดทำสัญญาซื้อขายกับสัญญาจ้างนั้น เป็นการเปลี่ยนประเภทเงินได้จากเงินได้ซื้อขายกับค่าจ้างนั้นสามารถกระทำได้ ถ้าหากคู่สัญญาได้มีการวางแผนอย่างรอบคอบ www.c.p.d.chiangmai.com อาจารย์รัชกฤช นิธิธนภัทร์

  21. กลยุทธ์ 10 ประการในการวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 8. กำหนดผลประโยชน์ที่ไม่ได้เป็นตัวเงินโดยปกติผลประโยชน์ที่ได้รับนั้นแม้จะไม่ใช่ตัวเงินที่ผู้มีเงินได้ได้รับมาโดยตรง แต่ตามหลักถือเป็นเงินได้ที่ต้องเสียภาษี เช่น การให้สวัสดิการแก่พนักงาน ไม่ว่าจะเป็นอาหาร ค่ารักษาพยาบาล เครื่องแบบพนักงาน การจัดรถรับส่งพนักงาน หรือแม้แต่การให้หุ้นแก่พนักงาน เป็นต้น แต่ในบางครั้งการกำหนดผลประโยชน์ที่ไม่ใช่ตัวเงินอาจเข้าลักษณะที่เป็นเงินได้ที่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ เช่น เครื่องแบบไม่เกิน 2 ชุด ต่อปี เบี้ยประกันภัยสำหรับกรมธรรม์ประกันภัยกลุ่มส่วนที่คุ้มครองค่ารักษา พยาบาลของลูกจ้างที่นายจ้างจ่ายให้ เป็นต้น ซึ่งการให้สิ่งเหล่านี้ต้องไปพิจารณาว่าประเภทใดที่ต้องเป็นเงินได้ ประเภทใดเป็นเงินได้ทีได้รับยกเว้น ประเภทใดเป็นเงินได้ที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย เป็นเรื่องที่สำคัญมาก และที่สำคัญที่สุดเมื่อบริษัทจ่ายไปแล้วควรต้องหักเป็นรายจ่ายได้ สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ควรต้องให้ความสำคัญกับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของกฎหมายด้วย www.c.p.d.chiangmai.com อาจารย์รัชกฤช นิธิธนภัทร์

  22. กลยุทธ์ 10 ประการในการวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 9. การตั้งหน่วยภาษีขึ้นใหม่การพิจารณาตั้งหน่วยภาษีใหม่ ไม่ว่าจะเป็นในฐานะคณะบุคคลหรือบริษัทก็อาจเป็นอีกแนวทางหนึ่งซึ่งใช้ในการวางแผนภาษี เนื่องจากการที่กระจายหน่วยภาษีหลาย ๆ หน่วยนั้น ย่อมเป็นการกระจายภาระภาษีเงินได้และจะทำให้เสียภาษีในอัตราต่ำ นอกจากนี้ ผู้มีเงินได้อาจจะแก้ปัญหาเรื่องของการจัดทำเอกสาร ใบเสร็จรับเงินต่าง ๆ ที่บริษัทไม่สามารถทำธุรกิจกับผู้ค้าบางอย่าง อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ผู้มีเงินได้มีรายได้มากในขณะเดียวกันก็มีรายจ่ายที่สูงพอสมควร การพิจารณาจัดตั้งบริษัทให้เป็นหน่วยภาษีและเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ก็จะมีประโยชน์เช่นเดียวกัน ที่สำคัญคือ ต้องระมัดระวังว่า การตั้งคณะบุคคลหรือการกระจายหน่วยภาษีจะต้องเป็นไปตามหลักนิติกรรมสัญญา มีความแท้จริงมีสาระสำคัญกว่ารูปแบบ (Substance over the Form) ไม่ใช่เพียงแค่จัดตั้งคณะบุคคลอย่างเดียว หากเป็นเงินได้จากการบริการก็ต้องมีการให้บริการอย่างแท้จริง และมีหลักฐานสนับสนุนที่สามารถพิสูจน์ถึงการให้บริการหรือการลงทุนได้ www.c.p.d.chiangmai.com อาจารย์รัชกฤช นิธิธนภัทร์

  23. ความรู้ทั่วไปก่อนการวางแผนภาษีอากรความรู้ทั่วไปก่อนการวางแผนภาษีอากร กลยุทธ์ 10 ประการในการวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีศึกษา: หลักฐานการรับเงินหรือใบเสร็จ เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบกิจการในรูปแบบบริษัทให้ความสำคัญ เนื่องจากหากปราศจากสิ่งดังกล่าว อาจส่งผลให้บริษัทไม่สามารถนำรายจ่ายนั้นมาหักในการคำนวณภาษีได้ ทำให้เสียภาษีเพิ่มเติมทั้ง ๆ ที่เป็นรายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัทและมีการจ่ายเงินออกไปจริง ผู้เสียภาษีจึงอาจพิจารณาจัดตั้งหน่วยคณะบุคคล หรือเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ แล้วให้คณะบุคคลเป็นผู้ซื้อสินค้าจากคู่ค้าที่ไม่มีหลักฐานการรับเงิน และนำสินค้ามาขายต่อให้กับบริษัทในอัตรากำไรที่มีความเหมาะสม โดยมีการออกใบเสร็จให้ถูกต้อง แม้ว่าคณะบุคคลจะไม่มีใบเสร็จจากคู่ค้า แต่คณะบุคคลสามารถหักค่าใช้จ่ายในอัตราเหมาได้ตามกฎหมาย แต่การมีคณะบุคคลหลายคณะบุคคลมากเกินไปอาจทำให้เกิดปัญหาว่า คณะบุคคลดังกล่าวเป็นหน่วยภาษีจริงหรือตั้งเพื่อหนีภาษี ดังนั้น หลักสาระสำคัญกว่ารูปแบบ (Substance over the Form) ในการวางแผนภาษีอากรจึงมีความสำคัญ www.c.p.d.chiangmai.com อาจารย์รัชกฤช นิธิธนภัทร์

  24. กลยุทธ์ 10 ประการในการวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 10. ภาษีแต่งงาน กรณีมีคู่สมรส ให้แยกยื่นต้องยอมรับว่าประมวลรัษฎากรของไทยนั้น กำหนดเงินได้ให้นำเงินได้ไปรวมหรือแยกเพื่อเสียภาษีสำหรับคู่สมรส หากเป็นเงินได้ 40 (1) และ (2) โดยการรวมหรือแยกยื่นนั้น ภาระภาษีก็จะต่างกัน ผู้เขียนคิดว่า ถ้าคู่สมรสมีเงินได้หลายประเภท การยื่นเสียภาษีเงินได้จากการเป็นคู่สมรส ก็ควรจะแยกยื่นจะดีกว่า เพราะสามารถหักค่าลดหย่อน หักค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ ในกรณีที่ภรรยามีรายได้อย่างอื่นนอกจากเงินได้จากมาตรา 40 (1) (2) เช่น มีเงินได้จากการให้บริการ เป็นเงินได้จากการแสดงภาพยนตร์ เป็นเงินได้จากการลงทุนอื่น ๆ แล้ว กฎหมายให้นำเงินได้ประเภทอื่น ๆ นำมารวมเป็นเงินได้ของสามีเพิ่มเติม www.c.p.d.chiangmai.com อาจารย์รัชกฤช นิธิธนภัทร์

  25. กลยุทธ์ 10 ประการในการวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ดังนั้น ถ้าหากสามีต้องเสียภาษีในอัตราสูงอยู่แล้ว การนำเงินได้ของภรรยามารวม ก็จะทำให้เงินได้นั้นอยู่ในอัตราสูง ไม่ว่าจะแยกหรือรวมยื่นอีกต่อไป ดังนั้น หากภรรยามีเงินได้สูงกว่าสามีก็มีเป็นจำนวนมาก ตามกฎหมายจึงไม่สามารถลดภาระภาษีได้ เว้นแต่ว่าภรรยาและสามีนั้นจะสามารถโอนเงินได้เข้าเป็นรูปของนิติบุคคลหรือบริษัทซึ่งจะทำให้ภาระภาษีลดน้อยลงได้ ถ้าหากเปรียบเทียบกรณีศึกษา ก็จะดูได้ว่า ยกตัวอย่างเช่นมีถ้าหากมีภรรยาเป็นดารา ถ้ารู้จักการวางแผนภาษีก็สามารถนำไปนำไปหักภาษีลงไปได้ และภาษีเงินได้ของภรรยาก็ไม่ต้องนำมารวมเป็นเงินได้อย่างอื่น ทำให้ในอัตราสูงมาก ก็อาจเลือกการตั้งบริษัทเป็นหน่วยภาษีรับรายได้แทน www.c.p.d.chiangmai.com อาจารย์รัชกฤช นิธิธนภัทร์

  26. รูปแบบการวางแผนภาษีอากรรูปแบบการวางแผนภาษีอากร การวางแผนภาษีอากร การแยกฐานภาษี การเลือกประเภทเงินได้ การเลือกหักค่าใช้จ่าย การเลือกหักค่าลดหย่อน การเลือกรายได้ยกเว้น การเลือกเสียภาษีโดยวิธีหักภาษี ณ ที่จ่าย www.c.p.d.chiangmai.com อาจารย์รัชกฤช นิธิธนภัทร์

  27. การวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาการวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เงินได้พึงประเมิน เงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี กรณีโสด กรณีสมรส กรณีหย่า กรณีตาย www.c.p.d.chiangmai.com อาจารย์รัชกฤช นิธิธนภัทร์

  28. หลักแหล่งเงินได้ ผู้มีเงินได้พึงประเมินหมายถึงใครบ้าง หน้าที่งาน (๔๐(๑)(๒)) กิจการที่ทำ (๔๐(๒)(๖)(๗)(๘)) เนื่องจากกิจการนายจ้างในประเทศไทย (ดูบริษัทไทยบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายหรือไม่) หากบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายถือว่ามีแหล่งเงินได้เกิดขึ้นในประเทศไทย บริษัทไทยต้องไม่บันทึกเป็นค่าใช้จ่าย www.c.p.d.chiangmai.com อาจารย์รัชกฤช นิธิธนภัทร์

  29. หลักถิ่นที่อยู่ ผู้มีเงินได้นั้นอยู่ในประเทศไทยครบ 180 วันในหนึ่งปีภาษี มีเงินได้เกิดขึ้นในต่างประเทศเนื่องจากหน้าที่งาน กิจการ ทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศ ได้นำเงินได้นั้นเข้ามาในประเทศไทยในปีภาษีนั้น สรรพากรตีความค่อนข้างเคร่งครัด www.c.p.d.chiangmai.com อาจารย์รัชกฤช นิธิธนภัทร์

  30. หลักถิ่นที่อยู่ แนวทางการวางแผนภาษี แหล่งเงินได้เกิดขึ้นนอกประเทศ ส่วนใหญ่ เป็นนักกีฬา นักแสดง เก็บสะสมเงินได้ดังกล่าวไว้ที่ต่างประเทศ ไม่นำเงินได้นั้นเข้ามาในปีภาษีที่เกิดเงินได้ www.c.p.d.chiangmai.com อาจารย์รัชกฤช นิธิธนภัทร์

  31. เงินได้พึงประเมิน " เงินได้พึงประเมิน "หมายความว่า เงินได้อันเข้าลักษณะพึงเสียภาษีในหมวดนี้ เงินได้ที่กล่าวนี้ให้หมายความรวมตลอดถึงทรัพย์สิน หรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับ ซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน เงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้สำหรับเงินได้ประเภทต่าง ๆ ตามมาตรา 40 และเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ ด้วย www.c.p.d.chiangmai.com อาจารย์รัชกฤช นิธิธนภัทร์

  32. ประเภทเงินได้พึงประเมินประเภทเงินได้พึงประเมิน (1) เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงานไม่ว่าจะเป็นเงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ เงินค่าเช่าบ้าน เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่นายจ้างให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า เงินที่นายจ้างชำระหนี้ใดๆ ซึ่งลูกจ้างมีหน้าที่ต้องชำระ และเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใดๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน www.c.p.d.chiangmai.com อาจารย์รัชกฤช นิธิธนภัทร์

  33. ประเภทเงินได้พึงประเมินประเภทเงินได้พึงประเมิน (2) เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้ ไม่ว่าจะเป็นค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า ค่าส่วนลด เงินอุดหนุนในงานที่ทำ เบี้ยประชุม บำเหน็จ โบนัส เงินค่าเช่าบ้าน เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่ผู้จ่ายเงินได้ให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า เงินที่ผู้จ่ายเงินได้จ่ายชำระหนี้ใดๆ ซึ่งผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องชำระ และเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใดๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้นั้นไม่ว่าหน้าที่ หรือตำแหน่งงาน หรืองานที่รับทำให้นั้นจะเป็นการประจำหรือชั่วคราว www.c.p.d.chiangmai.com อาจารย์รัชกฤช นิธิธนภัทร์

  34. ประเภทเงินได้พึงประเมินประเภทเงินได้พึงประเมิน (3) ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์หรือสิทธิอย่างอื่น เงินปี หรือเงินได้มีลักษณะเป็นเงินรายปีอันได้มาจากพินัยกรรม นิติกรรมอย่างอื่น หรือคำพิพากษาของศาล www.c.p.d.chiangmai.com อาจารย์รัชกฤช นิธิธนภัทร์

  35. ประเภทเงินได้พึงประเมินประเภทเงินได้พึงประเมิน (4) เงินได้ที่เป็น   (ก) ดอกเบี้ยพันธบัตร ดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยหุ้นกู้ ดอกเบี้ยตั๋วเงิน ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมไม่ว่าจะมีหลักประกันหรือไม่ ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียมเฉพาะส่วนที่เหลือจากถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายดังกล่าว หรือผลต่างระหว่างราคาไถ่ถอนกับราคาจำหน่ายตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออกและจำหน่ายครั้งแรกในราคาต่ำกว่าราคาไถ่ถอน รวมทั้งเงินได้ที่มีลักษณะทำนองเดียวกันกับดอกเบี้ย ผลประโยชน์หรือค่าตอบแทนอื่นๆ ที่ได้จากการให้กู้ยืม หรือจากสิทธิเรียกร้องในหนี้ทุกชนิด ไม่ว่าจะมีหลักประกันหรือไม่ก็ตาม www.c.p.d.chiangmai.com อาจารย์รัชกฤช นิธิธนภัทร์

  36. ประเภทเงินได้พึงประเมินประเภทเงินได้พึงประเมิน (ข) เงินปันผล เงินส่วนแบ่งของกำไรหรือ ประโยชน์อื่นใดที่ได้จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล กองทุนรวม หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทย จัดตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรมหรืออุตสาหกรรม เงินปันผล หรือเงินส่วนแบ่งของกำไรที่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียมเฉพาะส่วนที่เหลือจากถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายดังกล่าว www.c.p.d.chiangmai.com อาจารย์รัชกฤช นิธิธนภัทร์

  37. ประเภทเงินได้พึงประเมินประเภทเงินได้พึงประเมิน (ค) เงินโบนัสที่จ่ายแก่ผู้ถือหุ้น หรือผู้เป็นหุ้นส่วนในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล(ง) เงินลดทุนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเฉพาะส่วนที่จ่ายไม่เกินกว่ากำไรและเงินที่กันไว้รวมกัน(จ) เงินเพิ่มทุนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งตั้งจากกำไรที่ได้มาหรือเงินที่กันไว้รวมกัน(ฉ) ผลประโยชน์ที่ได้จากการที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลควบเข้ากัน หรือรับช่วงกัน หรือเลิกกัน ซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าเงินทุน www.c.p.d.chiangmai.com อาจารย์รัชกฤช นิธิธนภัทร์

  38. ประเภทเงินได้พึงประเมินประเภทเงินได้พึงประเมิน (ช) ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนการเป็นหุ้นส่วน โอนหุ้น หุ้นกู้ พันธบัตร หรือตั๋วเงิน หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออก ทั้งนี้ เฉพาะซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน (5) เงินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้เนื่องจาก (ก) การให้เช่าทรัพย์สิน(ข) การผิดสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน(ค) การผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อนซึ่งผู้ขายได้รับคืนทรัพย์สินที่ซื้อขายนั้น โดยไม่ต้องคืนเงินหรือประโยชน์ที่ได้รับไว้แล้ว www.c.p.d.chiangmai.com อาจารย์รัชกฤช นิธิธนภัทร์

  39. ประเภทเงินได้พึงประเมินประเภทเงินได้พึงประเมิน (6) เงินได้จากวิชาชีพอิสระ คือ วิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลปะ วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม หรือวิชาชีพอิสระอื่น ซึ่งจะได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดชนิดไว้ (7) เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ (8) เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง หรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ใน (1) ถึง (7) แล้ว www.c.p.d.chiangmai.com อาจารย์รัชกฤช นิธิธนภัทร์

  40. การหักค่าใช้จ่าย มาตรา42 ทวิเงินได้พึงประเมินตามความในมาตรา 40(1) และ (2) ยอมให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ร้อยละ 40 แต่รวมกันต้องไม่เกิน 60,000 บาทในกรณีสามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ตามวรรคหนึ่ง และความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้ต่างฝ่ายต่างหักค่าใช้จ่ายได้ตามเกณฑ์ในวรรคหนึ่ง www.c.p.d.chiangmai.com อาจารย์รัชกฤช นิธิธนภัทร์

  41. การหักค่าใช้จ่าย มาตรา42 ตรีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(3) เฉพาะที่เป็นค่าแห่งลิขสิทธิ์ยอมให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ร้อยละ 40 แต่ต้องไม่เกิน 60,000 บาท ในกรณีสามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ตามวรรคหนึ่ง และความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้ต่างฝ่ายต่างหักค่าใช้จ่ายได้ตามเกณฑ์ในวรรคหนึ่ง อาจารย์รัชกฤช นิธิธนภัทร์

  42. การหักค่าใช้จ่าย มาตรา43เงินได้พึงประเมินตามความในมาตรา 40(5) ยอมให้หักค่าใช้จ่ายได้ตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา มาตรา44เงินได้พึงประเมินตามความในมาตรา 40(6) ยอมให้หักค่าใช้จ่ายได้ตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา ( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502 มาตรา 6 ) มาตรา 45เงินได้พึงประเมินตามความในมาตรา 40 (7) ยอมให้หักค่าใช้จ่ายได้ตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา อาจารย์รัชกฤช นิธิธนภัทร์

  43. การหักค่าใช้จ่าย มาตรา 46เงินได้พึงประเมินตามความในมาตรา 40(8) ยอมให้หักค่าใช้จ่ายได้ตามที่จะได้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา อาจารย์รัชกฤช นิธิธนภัทร์

  44. การหักค่าใช้จ่ายตามกฤษฎีกาการหักค่าใช้จ่ายตามกฤษฎีกา ให้เช่าทรัพย์สิน หักเหมา 10% - 30% หรือหักตามจริง ผิดสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน หักเหมา 20% การผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อน หักเหมา 20% ประกอบโรคศิลปะ หักเหมา 60% หรือตามจริง วิชาชีพอื่น หักเหมา 30% หรือตามจริง รับเหมา หักเหมา 70% หรือตามจริง มาตรา 40(8) หักเหมา 40% - 85% หรือตามจริง อาจารย์รัชกฤช นิธิธนภัทร์

  45. เงินได้ที่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ที่ได้รับการยกเว้นภาษี (1) ค่าเบี้ยเลี้ยงหรือค่าพาหนะ ซึ่งลูกจ้างหรือผู้รับหน้าที่หรือตำแหน่งงาน หรือผู้รับทำงานให้ ได้จ่ายไปโดยสุจริตตามความจำเป็นเฉพาะ ในการที่จะต้องปฏิบัติการตามหน้าที่ของตนและได้จ่ายไปทั้งหมดในการนั้น อาจารย์รัชกฤช นิธิธนภัทร์

  46. เงินได้ที่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ที่ได้รับการยกเว้นภาษี • (3) เงินค่าเดินทางซึ่งนายจ้างจ่ายให้ลูกจ้าง เฉพาะส่วนที่ลูกจ้างได้จ่ายทั้งหมดโดยจำเป็นเพื่อการเดินทางจากต่างถิ่นในการเข้ารับงานเป็นครั้งแรก หรือในการกลับถิ่นเดิมเมื่อการจ้างได้สิ้นสุดลงแล้ว แต่ข้อยกเว้นนี้มิให้รวมถึงเงินค่าเดินทางที่ลูกจ้างได้รับในการกลับถิ่นเดิม และในการเข้ารับงานของนายจ้างเดิมภายในสามร้อยหกสิบห้าวัน นับแต่วันที่การจ้างครั้งก่อนได้สิ้นสุดลง อาจารย์รัชกฤช นิธิธนภัทร์

  47. เงินได้ที่รับการยกเว้นภาษีเงินได้ที่รับการยกเว้นภาษี (8) ดอกเบี้ยดังต่อไปนี้ (ก) ดอกเบี้ยสลากออมสิน หรือดอกเบี้ยเงินฝากออมสินของรัฐบาลเฉพาะประเภทฝากเผื่อเรียก(ข) ดอกเบี้ยเงินฝากประเภทออมทรัพย์ที่ได้รับจากสหกรณ์(ค) ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักรที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามประเภทออมทรัพย์ เฉพาะกรณีที่ผู้มีเงินได้ได้รับดอกเบี้ยดังกล่าวในจำนวนรวมกันทั้งสิ้นไม่เกิน 10,000 ตลอดปีภาษีนั้น ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด อาจารย์รัชกฤช นิธิธนภัทร์

  48. เงินได้ที่รับการยกเว้นภาษีเงินได้ที่รับการยกเว้นภาษี (9) การขายสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดก หรือสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร แต่ไม่รวมถึงเรือกำปั่น เรือที่มีระวางตั้งแต่ 6 ตันขึ้นไป เรือกลไฟ หรือเรือยนต์ที่มีระวางตั้งแต่ 5ตันขึ้นไป หรือแพ (10) เงินได้ที่ได้รับจากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา เงินได้ที่ได้รับจากการรับมรดก หรือจากการให้โดยเสน่หาเนื่องในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี อาจารย์รัชกฤช นิธิธนภัทร์

  49. เงินได้ที่รับการยกเว้นภาษีเงินได้ที่รับการยกเว้นภาษี (11) รางวัลเพื่อการศึกษาหรือค้นคว้าในวิทยาการ รางวัลสลากกินแบ่งหรือสลากออมสินของรัฐบาล รางวัลที่ทางราชการจ่ายให้ในการประกวดหรือแข่งขัน ซึ่งผู้รับมิได้มีอาชีพในการประกวดหรือแข่งขัน หรือสินบนรางวัลที่ทางราชการจ่ายให้เพื่อประโยชน์ในการปราบปรามกระทำความผิด (13) ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด เงินที่ได้จากการประกันภัย หรือการฌาปนกิจสงเคราะห์ อาจารย์รัชกฤช นิธิธนภัทร์

  50. เงินได้ที่รับการยกเว้นภาษีเงินได้ที่รับการยกเว้นภาษี (14) เงินส่วนแบ่งของกำไรจากห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ซึ่งต้องเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้ แต่ไม่รวมถึงเงินส่วนแบ่งของกำไรจากกองทุนรวม (16) เงินได้ที่ได้รับจากกองมรดก ซึ่งต้องเสียภาษีตามความในมาตรา 57 ทวิ (17) เงินได้ตามที่จะได้กำหนดยกเว้นโดยกฎกระทรวง อาจารย์รัชกฤช นิธิธนภัทร์

More Related