1 / 47

การฟ้อง คดีอาญา การรวม พิจารณา และการถอนฟ้องคดีอาญา

การฟ้อง คดีอาญา การรวม พิจารณา และการถอนฟ้องคดีอาญา. ผู้มีสิทธิฟ้องคดีอาญา ป. วิ.อ. มาตรา ๒๘ “บุคคลเหล่านี้มีอำนาจฟ้องคดีอาญาต่อศาล (๑) พนักงานอัยการ (๒) ผู้เสียหาย” พนักงานอัยการ พนักงานอัยการจะฟ้องคดีอาญาใดจะต้องมีการสอบสวนในความผิดเรื่องนั้นก่อน(ม. 120 , 134)

gin
Télécharger la présentation

การฟ้อง คดีอาญา การรวม พิจารณา และการถอนฟ้องคดีอาญา

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การฟ้องคดีอาญา การรวมพิจารณา และการถอนฟ้องคดีอาญา ฟ้อง รวม ถอน

  2. ผู้มีสิทธิฟ้องคดีอาญาผู้มีสิทธิฟ้องคดีอาญา ป.วิ.อ. มาตรา ๒๘ “บุคคลเหล่านี้มีอำนาจฟ้องคดีอาญาต่อศาล (๑) พนักงานอัยการ (๒) ผู้เสียหาย” • พนักงานอัยการ • พนักงานอัยการจะฟ้องคดีอาญาใดจะต้องมีการสอบสวนในความผิดเรื่องนั้นก่อน(ม.120,134) • ถ้าเป็นความผิดต่อส่วนตัว จะต้องมีการร้องทุกข์ตามระเบียบ(ม.121) • พนักงานสอบสวนผู้ส่งสำนวนการสอบสวนจะต้องเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ(ม.18 ว.3,ม.19 ว.3,ม.20) • ในวันที่อัยการยื่นฟ้อง ให้จำเลยมา หรือคุมตัวมาศาล ฟ้อง รวม ถอน

  3. ป.วิ.อ. มาตรา ๑๖๒ “ถ้าฟ้องถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ให้ศาลจัดการสั่งต่อไปนี้ (๑) ในคดีราษฎรเป็นโจทก์ ให้ไต่สวนมูลฟ้อง แต่ถ้าคดีนั้นพนักงานอัยการได้ฟ้องจำเลยโดยข้อหาอย่างเดียวกันด้วยแล้ว ให้จัดการตามอนุมาตรา (๒) (๒) ในคดีพนักงานอัยการเป็นโจทก์ ไม่จำเป็นต้องไต่สวนมูลฟ้อง แต่ถ้าเห็นสมควรจะสั่งให้ไต่สวนมูลฟ้องก่อนก็ได้ ในกรณีที่มีการไต่สวนมูลฟ้องดั่งกล่าวแล้ว ถ้าจำเลยให้การรับสารภาพให้ศาลประทับฟ้องไว้พิจารณา” ป.วิ.อ. มาตรา ๑๖๕ “ในคดีซึ่งพนักงานอัยการเป็นโจทก์ ในวันไต่สวนมูลฟ้อง ให้จำเลยมาหรือคุมตัวมาศาล ให้ศาลส่งสำเนาฟ้องแก่จำเลยรายตัวไป เมื่อศาลเชื่อว่าเป็นจำเลยจริงแล้ว ให้อ่านและอธิบายฟ้องให้ฟัง และถามว่าได้กระทำผิดจริงหรือไม่ จะให้การต่อสู้อย่างไรบ้าง คำให้การของจำเลยให้จดไว้ ถ้าจำเลยไม่ยอมให้การก็ให้ศาลจดรายงานไว้ และดำเนินการต่อไป” ฟ้อง รวม ถอน

  4. ผู้เสียหาย • ผู้เสียหายได้แก่ ผู้เสียหายและผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหาย ตาม ม.2(4) • กรณีผู้เสียหายแท้จริงได้ยื่นฟ้องแล้วตายลง บุพการี ผู้สืบสันดาน สามีภริยา ของผู้เสียหายที่แท้จริงจะว่าต่อไปก็ได้(รับมรดกความ)(ม.29 ว.1) • ผู้เสียหายเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง ศาลต้องไต่สวนมูลฟ้องก่อนประทับรับฟ้อง • เว้นแต่คดีนั้นพนักงานอัยการได้ฟ้องจำเลยโดยข้อหาอย่างเดียวกันด้วยแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องไต่สวนมูลฟ้อง • คดีที่ผู้เสียหายเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง เป็นหน้าที่ศาลที่จะต้องแจ้งให้จำเลยทราบถึงการไต่สวนมูลฟ้อง ม.165 ว.3 ฟ้อง รวม ถอน

  5. ป.วิ.อ. มาตรา ๑๖๕ วรรค ๓“ในคดีราษฎรเป็นโจทก์ ศาลมีอำนาจไต่สวนมูลฟ้องลับหลังจำเลย ให้ศาลส่งสำเนาฟ้องแก่จำเลยรายตัวไป กับแจ้งวันนัดไต่สวนให้จำเลยทราบ จำเลยจะมาฟังการไต่สวนมูลฟ้อง โดยตั้งทนายให้ซักค้านพยานโจทก์ด้วยหรือไม่ก็ได้ หรือจำเลยจะไม่มา แต่ตั้งทนายมาซักค้านพยานโจทก์ก็ได้ ห้ามมิให้ศาลถามคำให้การจำเลย และก่อนที่ศาลประทับฟ้องมิให้ถือว่าจำเลยอยู่ในฐานะเช่นนั้น” ฟ้อง รวม ถอน

  6. การฟ้องคดีโดยเข้าเป็นโจทก์ร่วมการฟ้องคดีโดยเข้าเป็นโจทก์ร่วม • การเข้าเป็นโจทก์ร่วมแบ่งเป็น 2 กรณี • ผู้เสียหายเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการ • พนักงานอัยการเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับผู้เสียหาย • วัตถุประสงค์การเข้าเป็นโจทก์ร่วม • เพื่อเข้าร่วมในการดำเนินคดี • เพื่อเข้าไปตรวจสอบการดำเนินคดี • เพื่อใช้สิทธิในการอุทธรณ์ฎีกา ฟ้อง รวม ถอน

  7. 1. การดำเนินคดีอาญาโดยรัฐ ราชทัณฑ์ ฝ่ายปกครอง หรือตำรวจ ผู้เสียหาย อัยการ ศาล คุมประพฤติ ผู้เสียหาย สถานพินิจและ คุ้มครองเด็ก

  8. 2.การดำเนินคดีอาญาโดยเอกชน2.การดำเนินคดีอาญาโดยเอกชน ฟ้อง ศาล ผู้เสียหาย อัยการ

  9. ผู้เสียหายเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการ • เข้าเป็นโจทก์ร่วมได้เฉพาะความผิดที่เป็นผู้เสียหายเท่านั้น • ผู้เสียหายจะต้องร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมก่อนที่ศาลชั้นต้นพิพากษา ป.วิ.อ. มาตรา ๓๐ “คดีอาญาใดซึ่งพนักงานอัยการยื่นฟ้องต่อศาลแล้ว ผู้เสียหายจะยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในระยะใดระหว่างพิจารณาก่อนศาล ชั้นต้นพิพากษาคดีนั้นก็ได้” ฟ้อง รวม ถอน

  10. พนักงานอัยการขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับผู้เสียหายพนักงานอัยการขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับผู้เสียหาย • อัยการจะขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมได้ในเฉพาะความผิดอาญาแผ่นดินเท่านั้น • พนักงานอัยการมีอำนาจขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมได้ทุกระยะ (ชั้นต้นอุทธรณ์ ฎีกา) แต่ต้องก่อนคดีนั้นจะเสร็จเด็ดขาด(ถึงที่สุด) ป.วิ.อ. มาตรา ๓๑ “คดีอาญาที่มิใช่ความผิดต่อส่วนตัวซึ่งผู้เสียหายยื่นฟ้องแล้ว พนักงานอัยการจะยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในระยะใดก่อนคดีเสร็จเด็ดขาด ก็ได้” • ความผิดเรื่องนั้นต้องมีการสอบสวนโดยชอบด้วยกฎหมาย • ไม่มีคำวินิจฉัยในเรื่องนี้โดยตรง • น่าจะไม่ต้องสอบสวนก่อน พิจารณาจาก ฎีกาที่1319/2462 ฟ้อง รวม ถอน

  11. คำพิพากษาฎีกาที่ 1319/2462“จำเลยได้ใช้สาตราวุธสับฟันประตูสถานีรถไฟแตกหักเสียหาย อัยการจึงฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานทำให้เสียทรัพย์ ตามมาตรา โดยไม่มีผู้ร้องทุกข์ วินิจฉัยว่าอัยการก็มีอำนาจฟ้องได้ เพราะเท่ากับเป็นเจ้าทุกข์เสียเอง” ฟ้อง รวม ถอน

  12. ผลของการเข้าเป็นโจทก์ร่วมผลของการเข้าเป็นโจทก์ร่วม • มีฐานะเป็นคู่ความในคดี จึงมีสิทธินำพยานหลักฐานต่างๆเข้าสืบได้ • ผู้เข้าเป็นโจทก์ร่วมไม่มีสิทธิขอแก้ไขคำฟ้องหรือเพิ่มเติมคำฟ้องของโจทก์เดิม ดังนั้นถ้าคำฟ้องเดิมบกพร่อง ก็จะมีผลถึงคำฟ้องของโจทก์ร่วมด้วย ฟ้อง รวม ถอน

  13. ข้อสังเกต • ผู้เสียหายดำเนินกระบวนพิจารณาใดที่อาจทำให้การดำเนินคดีของพนักงานอัยการเกิดความเสียหาย พนักงานอัยการมีอำนาจห้ามไม่ให้กระทำการนั้นๆได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 32 ป.วิ.อ. มาตรา ๓๒ “เมื่อพนักงานอัยการและผู้เสียหายเป็นโจทก์ร่วมกัน ถ้าพนักงานอัยการเห็นว่าผู้เสียหายจะกระทำให้คดีของอัยการเสียหาย โดยกระทำหรือละเว้นกระทำการใดๆ ในกระบวนพิจารณา พนักงานอัยการมีอำนาจร้องต่อศาลให้สั่งผู้เสียหายกระทำหรือละเว้นกระทำการนั้นๆ ได้” • กรณีที่เป็นโจทก์ฟ้องคดีเองแล้ว ต่อมาขอเข้าเป็นโจทก์ร่วม (หรือกลับกัน) จะมีผลทำให้การขอเข้าเป็นโจทก์ร่วม หรือการฟ้องคดี (คดีของโจทก์คดีที่ 2) มีลักษณะเป็นการฟ้องซ้อนในคดีอาญา ตาม ป.วิ.อ. ม.15 ประกอบกับ ป.วิ.พ. ม.173 ว.2 (1) ฟ้อง รวม ถอน

  14. ป.วิ.อ. มาตรา ๑๕ “วิธีพิจารณาข้อใดซึ่งประมวลกฎหมายนี้มิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะให้นำบท บัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับเท่าที่พอจะใช้ บังคับได้” ป.วิ.พ. มาตรา 173 ว.2 (1)“นับแต่เวลาที่ได้ยื่นคำฟ้องแล้ว คดีนั้นอยู่ในระหว่างการพิจารณา และผลแห่งการนี้ (1) ห้ามมิให้โจทก์ยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกันต่อศาลอื่น และ......” ฟ้อง รวม ถอน

  15. ข้อสังเกต • การเข้าเป็นโจทก์ร่วมมีเฉพาะ ระหว่างอัยการกับผู้เสียหายเท่านั้น ไม่มีบทมาตราใดที่ให้ผู้เสียหาย เข้าเป็นโจทก์ร่วมกับผู้เสียหายได้ แม้ว่าจะเป็นผู้ได้รับความเสียหายในการกระทำของจำเลยครั้งเดียวกันก็ตาม • ศาลก็ไม่เคยอนุญาตให้กระทำได้เช่นเดียวกัน ฟ้อง รวม ถอน

  16. ผลของการที่ศาลไม่อนุญาตให้เข้าเป็นโจทก์ร่วมผลของการที่ศาลไม่อนุญาตให้เข้าเป็นโจทก์ร่วม • ถ้าศาลยกคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วม ผู้ขอเข้าเป็นโจทก์ร่วม สามารถอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งของศาลได้ทันทีเพราะเป็นคำสั่งที่ไม่รับคำคู่ความ ป.วิ อ.มาตรา 15 และ ป.วิ.พ.มาตรา 18 ฟ้อง รวม ถอน

  17. การรวมพิจารณาเป็นคดีเดียวกัน ป.วิ.อ. มาตรา ๓๓ “คดีอาญาเรื่องเดียวกันซึ่งทั้งพนักงานอัยการและผู้เสียหายต่างได้ยื่นฟ้องในศาลชั้นต้นศาลเดียวกันหรือต่างศาลกัน ศาลนั้นๆ มีอำนาจสั่งให้รวมพิจารณาเป็นคดีเดียวกัน เมื่อศาลเห็นชอบโดยพลการหรือโดยโจทก์ยื่นคำร้องในระยะใดก่อนมีคำพิพากษา แต่ทว่าจะมีคำสั่งเช่นนั้นไม่ได้ นอกจากจะได้รับความยินยอมของศาลอื่นนั้นก่อน” ฟ้อง รวม ถอน

  18. การขอรวมพิจารณาคดี • พนักงานอัยการกับผู้เสียหายต่างเป็นโจทก์ยื่นฟ้องคดีอาญาเรื่องเดียวกันต่อศาลเดียวกันหรือต่างศาลกัน • โจทก์ยื่นคำร้อง หรือ • ศาลเห็นโดยพลการ • หลักเกณฑ์การรวมพิจารณา • ศาลจะสั่งรวมพิจารณาได้ก่อนศาลหนึ่งศาลใดจะได้พิพากษาคดี • ศาลอื่นให้ความยินยอมในการรวมพิจารณา • ต้องเป็นการยื่นฟ้องคดีอาญาเรื่องเดียวกัน และจำเลยคนเดียวกัน • “คดีอาญาเรื่องเดียวกัน” หมายถึง คดีที่มีมูลมาจากการกระทำของจำเลย กรรมเดียวกัน ครั้งเดียวกัน โดยไม่ต้องพิจารณาถึงฐานความผิด หรือบทมาตรา ฟ้อง รวม ถอน

  19. ผลของการที่ศาลสั่งให้รวมการพิจารณา • 1. การรับฟังพยานหลักฐาน ต้องรับฟังร่วมกัน • 2. สิทธิของโจทก์ร่วมแยกต่างหากจากกัน (คำฟ้องของโจทก์ร่วมฝ่ายอื่นบกพร่อง ไม่มีผลกระทบต่อฟ้องของโจทก์อื่น) ฟ้อง รวม ถอน

  20. การฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญาการฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา

  21. ความเข้าใจเบื้องต้น • คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา หมายถึง คดีแพ่งที่มีมูลมาจากการกระทำความผิดทางอาญา • การฟ้องคดีแพ่ง มีวัตถุประสงค์คือ การเรียกร้องทรัพย์สิน เรียกร้องค่าเสียหาย หรือเรียกร้องให้ทำตามสัญญาทางแพ่ง • การฟ้องคดีอาญา มีวัตถุประสงค์คือ การให้ผู้กระทำผิดถูกลงโทษจากรัฐ • การฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา จึงหมายถึง ฟ้องคดีเพื่อเรียกร้องทรัพย์สิน ค่าเสียหายในทางแพ่ง มีมูลเหตุมาจากการกระทำความผิดทางอาญา • คดีแพ่งที่มีมูลมาจากการกระทำความผิดอาญา เดิมเรียกว่า “คดีอาญาสินไหม” คดีอาญาสินไหม ผู้กระทำผิดนอกจากจะถูกลงโทษทางร่างกายแล้ว ยังจะต้องใช้เงินจำนวนหนึ่งให้แก่รัฐ (พินัย) และอีกจำนวนหนึ่งแก่ผู้เสียหายด้วย (สินไหม)(ถ้ามี)

  22. การฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีการฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดี • มีช่องทาง 4 ช่องทาง • ผู้เสียหายฟ้องทั้งคดีอาญา และคดีแพ่ง เป็นคดีเดียวกัน • ผู้เสียหายแยกฟ้องคดีแพ่ง ออกจากคดีอาญา • อัยการฟ้องคดีอาญา โดยมีคำขอส่วนแพ่งแทนผู้เสียหาย • ผู้เสียหายยื่นคำขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายเข้ามาในคดีที่อัยการเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง

  23. ผู้เสียหายฟ้องทั้งคดีอาญา และคดีแพ่ง เป็นคดีเดียวกัน • ข้อพิจารณา • ผู้เสียหายต้องฟ้องคดีอาญาเป็นคดีหลัก และมีคำขอส่วนแพ่งเป็นคำขอท้ายฟ้อง • ศาลที่รับฟ้องคือ ศาลที่มีอำนาจชำระคดีส่วนอาญา • จะฟ้องคดีอาญา และคดีแพ่ง ต่อศาลคดีส่วนแพ่งไม่ได้ มาตรา ๔๐ “การฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาจะฟ้องต่อศาลซึ่งพิจารณาคดีอาญาหรือต่อศาลที่มีอำนาจชำระคดีแพ่งก็ได้ การพิจารณาคดีแพ่งต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง” • ผู้เสียหายต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลเหมือนคดีแพ่งปกติ (ร้อยละสิบสลึง)

  24. ผู้เสียหายแยกฟ้องคดีแพ่ง ออกจากคดีอาญา • ข้อพิจารณา • ผู้เสียหายฟ้องเฉพาะคดีส่วนแพ่งต่อศาลแพ่ง • ถ้าผู้เสียหายฟ้องคดีส่วนอาญา มักจะไม่แยกฟ้องคดีส่วนแพ่ง เพราะไม่มีความจำเป็นที่จะต้องแยกฟ้อง • แต่ก็อาจจะมีการแยกฟ้องได้ ในกรณีที่หลงลืมไม่ได้ฟ้องคดีส่วนแพ่งไปกับคดีส่วนอาญา • ศาลที่รับฟ้องคือศาลที่มีอำนาจชำระคดีส่วนแพ่ง • ผู้เสียหายต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลเหมือนคดีแพ่งปกติ (ร้อยละสิบสลึง)

  25. ข้อพิจารณา • การพิจารณาคดีของศาลในส่วนคดีแพ่ง • ถ้าขณะฟ้องคดีส่วนแพ่ง ไม่มีการฟ้องคดีส่วนอาญา • ศาลที่รับฟ้องคดีส่วนแพ่ง พิจารณาคดีไปตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง • ถ้าขณะฟ้องคดีส่วนแพ่ง มีการฟ้องคดีส่วนอาญา • ถ้ายังไม่มีคำพิพากษาอันถึงที่สุด โดยมากศาลคดีส่วนแพ่งจะรอผลคำพิพากษาส่วนอาญาให้(ยุติ)ถึงที่สุดก่อน แล้วจึงพิจารณาคดีส่วนแพ่ง แต่ก็ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เช่นนั้นอย่างชัดเจน

  26. ข้อพิจารณา • มีคำพิพากษาคดีส่วนอาญาอันถึงที่สุดแล้ว ศาลที่รับฟ้องคดีส่วนแพ่งต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาส่วนอาญา จะฟังเป็นอย่างอื่นไม่ได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๔๖ “ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา” • หลักเกณฑ์ที่ศาลคดีแพ่งต้องถือข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาคดีส่วนอาญา • ประเด็นในคดีอาญาและในคดีแพ่งต้องมีประเด็นอย่างเดียวกันโดยไม่ต้องคำนึงถึงผลแห่งคำพิพากษาในคดีอาญา • คำพิพากษาศาลส่วนอาญาต้องได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงนั้นๆด้วย ศาลคดีส่วนแพ่งจึงจะต้องถูกบังคับให้ถือข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาส่วนอาญา • คำพิพากษาส่วนอาญาต้องยุติหรือถึงที่สุด(ยุติ) • คู่ความในคดีอาญา และคดีแพ่งเป็นคู่ความเดียวกัน

  27. ง. 1)ประเด็นในคดีอาญาและในคดีแพ่งต้องมีประเด็นอย่างเดียวกันโดยไม่ต้องคำนึงถึงผลแห่งคำพิพากษาในคดีอาญา คำพิพากษาฎีกาที่ 1369/2514 จำเลยถูกฟ้องคดีอาญาหาว่าขับรถยนต์โดยประมาทชนรถยนต์ของโจทก์เสียหาย ศาลพิพากษาลงโทษคดีถึงที่สุดไปแล้ว โจทก์มาฟ้องคดีแพ่งเรียกค่าเสียหายฐานละเมิด จำเลยต่อสู้ว่าเหตุที่รถชนกัน เกิดจากความประมาทของคนขับรถโจทก์ ดังนี้ ประเด็นที่ว่าจำเลยประมาทหรือไม่ ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาคดีส่วนอาญา

  28. ผู้เสียหายกับจำเลยขับรถชนกัน อัยการฟ้องจำเลยกระทำโดยประมาท ประเด็นคดีอาญา -จำเลยประมาท หรือไม่ ผู้เสียหาย(โจทก์)ฟ้องจำเลยฐานะละเมิด จำเลยฟ้องแย้ง ขอแบ่งส่วน การละเมิด ประเด็นคดีแพ่ง -จำเลยประมาท หรือไม่ -โจทก์ประมาท หรือไม่

  29. คำพิพากษาฎีกาที่ 1229/2498 ฟ้องว่าบุกรุก ศาลยกฟ้องว่า จำเลยไม่มีเจตนาบุกรุกแต่ไม่ได้ชี้ว่าที่ดินเป็นของใคร ฟ้องคดีแพ่ง ใหม่ว่าที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ห้ามจำเลยเข้าเกี่ยวข้อง ไม่เป็นฟ้องซ้ำ (ศาลคดีแพ่งฟังข้อเท็จจริงว่า ทรัพย์เป็นของโจทก์ได้) โจทก์ฟ้องคดีอาญาข้อหาบุกรุก โจทก์ฟ้องคดีแพ่งขับไล่ -ทรัพย์เป็นของใคร -เจตนาหรือไม่ -ทรัพย์เป็นของโจทก์หรือไม่ -จำเลยมีสิทธิในที่ดินหรือไม่

  30. ง.2)ศาลคดีส่วนอาญาได้วินิจฉัยต้องได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงนั้นๆด้วยง.2)ศาลคดีส่วนอาญาได้วินิจฉัยต้องได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงนั้นๆด้วย คำพิพากษาฎีกาที่ 3075/2533 ในคดีอาญาที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองกับพวกในความผิดฐานแจ้งความเท็จและบุกรุกตึกแถวพิพาทในคดีนี้ เมื่อศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสองกับพวกไม่มีเจตนากระทำความผิด ไม่ใช่เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดถึงกรรมสิทธิ์ในตึกแถวพิพาทจึงนำมาตรา 46 มาใช้บังคับเพื่อให้ศาลในคดีแพ่งฟ้งข้อเท็จจริงว่าตึกแถวพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 ไม่ได้

  31. คำพิพากษาฎีกาที่ 2286/2529 โจทก์เคยฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาในข้อหาบุกรุกที่พิพาท ซึ่งศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้ยกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานโจทก์ไม่พอฟังว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินตามฟ้อง ซึ่งเท่ากับฟังว่าโจทก์ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทและคดีถึงที่สุดแล้ว โจทก์มาฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งหาว่าจำเลยได้เข้าครอบครอง ที่ดินโจทก์ขอให้ขับไล่ซึ่งมีประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยอย่างเดียวกัน ว่าโจทก์มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทหรือไม่ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง นี้ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาส่วนอาญาตาม ป.วิ.อ.มาตรา 46

  32. ง.3)คำพิพากษาคดีส่วนอาญาต้องยุติ(ถึงที่สุด)ง.3)คำพิพากษาคดีส่วนอาญาต้องยุติ(ถึงที่สุด) • คดีอาญาต้องห้ามอุทธรณ์ ถึงที่สุดเมื่อศาลชั้นต้นได้อ่านพิพากษา • คดีอาญาไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ คดีถึงที่สุดเมื่อไม่มีการอุทธรณ์ภายในกำหนด 1 เดือนนับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาศาลชั้นต้น • คดีอาญาต้องห้ามฎีกา ถึงที่สุดเมื่อศาลอุทธรณ์ได้อ่านคำพิพากษา • คดีอาญาไม่ต้องห้ามฎีกา ถึงที่สุดเมื่อไม่มีการฎีกาภายในกำหนด 1 เดือนนับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ • คดีอาญาในชั้นฎีกาถึงที่สุดเมื่อได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกา

  33. คำพิพากษาฎีกาที่ 623/2529 คดีอาญาศาลชั้นต้นตัดสินแล้วแต่ยังอยู่ในอายุอุทธรณ์ แม้จะเป็นคดีต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 22 แต่โจทก์ก็อาจอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายได้ การตายของจำเลยระหว่างอายุอุทธรณ์ทำให้คดีอาญาระงับไปและทำให้โจทก์หมดสิทธิอุทธรณ์เป็นเหตุให้คดีระงับไปก่อนจะถึงที่สุดจะนำข้อเท็จจริงในคดีอาญาที่ยังไม่ถึงที่สุดมารับฟังในคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญาไม่ได้ จะต้องพิจารณาข้อเท็จจริงใหม่

  34. คำพิพากษาฎีกาที่ 1229/2498 ฟ้องว่าบุกรุก ศาลยกฟ้องว่า จำเลยไม่มีเจตนาบุกรุกแต่ไม่ได้ชี้ว่าที่ดินเป็นของใคร โจทก์ไปฟ้องคดีแพ่ง ใหม่ว่าที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ห้ามจำเลยเข้าเกี่ยวข้อง ไม่เป็นฟ้องซ้ำ (ศาลคดีแพ่งฟังข้อเท็จจริงว่า ทรัพย์เป็นของโจทก์ได้) โจทก์ฟ้องคดีอาญาข้อหาบุกรุก โจทก์ฟ้องคดีส่วนแพ่ง -ทรัพย์เป็นของใคร -เจตนาหรือไม่ -ทรัพย์เป็นของโจทก์ หรือไม่

  35. ง.4)คู่ความในคดีอาญา และคดีแพ่งเป็นคู่ความเดียวกัน ศาลคดีแพ่งจึงจะต้องถือข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาคดีส่วนอาญา • เป็นไปตามหลัก คำพิพากษาของศาลไม่ผูกพันบุคคลภายนอกคดี • คำพิพากษาของศาลผู้พันเฉพาะคู่ความเท่านั้น คือ โจทก์ จำเลย คำพิพากษาฎีกาที่ 36/2501 • แต่สำหรับคดีซึ่งพนักงานอัยการได้ฟ้องคดีอาญา แม้ผู้เสียหายจะมิได้เข้าเป็นคู่ความ(โจทก์ร่วมกับอัยการ)ด้วยก็ตาม ผู้เสียหาย และจำเลยก็ต้องผูกพันในผลแห่งคำพิพากษาในคดีอาญาด้วย เพราะถือว่าอัยการฟ้องแทนผู้เสียหาย • แต่ข้อยกเว้นนี้ใช้เฉพาะคดีที่ราษฎรสามารถเป็นผู้เสียหายในทางอาญาในความผิดนั้นได้เท่านั้น(คำพิพากษาฎีกาที่ 1997/2524 )

  36. คำพิพากษาฎีกาที่ 36/2501ฟ้องลูกจ้างในทางอาญา ข้อเท็จจริงในคดีส่วนอาญาจะใช้ยันนายจ้างให้ร่วมรับผิดชอบไม่ได้ คำพิพากษาฎีกาที่ 1997/2524จำเลยถูกอัยการฟ้องข้อหากระทำผิดต่อ พ.ร.บ จราจรทางบกซึ่งโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ทั้งถือไม่ได้ว่าพนักงานอัยการอยู่ในฐานะฟ้องคดีแทนโจทก์ คำพิพากษายกฟ้องจึงไม่ผูกพันโจทก์ ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจึงไม่ต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาส่วนอาญา

  37. อัยการฟ้องคดีอาญา โดยมีคำขอส่วนแพ่งแทนผู้เสียหาย • ข้อพิจารณา • อัยการต้องฟ้องคดีอาญาเป็นคดีหลัก และมีคำขอส่วนแพ่งให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ให้แก่ผู้เสียหาย ตาม มาตรา 43 • อัยการสามารถขอให้จำเลยคืน หรือใช้ราคาทรัพย์ได้เฉพาะความผิดที่กำหนดเท่านั้น • อัยการสามารถขอให้จำเลยคืน หรือใช้ราคาทรัพย์ได้เท่านั้น ส่วนค่าเสียหายอื่นๆ อัยการขอให้ไม่ได้ • ค่าเสียหายส่วนที่อัยการขอแทนผู้เสียหายไม่ได้ ผู้เสียหายสามารถเรียกร้องเอาได้โดย • ขอเข้าเป็นโจทก์ร่วม และเพิ่มคำขอในส่วนแพ่ง (ส่วนที่อัยการแทนไม่ได้) • ขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ตนเอง โดยไม่เข้าเป็นโจทก์ร่วมตาม ม.44/1 • ผู้เสียหายต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลเหมือนคดีแพ่งปกติ (ร้อยละสิบสลึง) • ศาลที่รับฟ้องคือศาลที่มีอำนาจชำระคดีส่วนอาญา

  38. ป.วิ.อ. มาตรา ๔๓ “คดีลักทรัพย์ วิ่งราว ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ โจรสลัด กรรโชก ฉ้อโกงยักยอกหรือรับของโจร ถ้าผู้เสียหายมีสิทธิที่จะเรียกร้องทรัพย์สินหรือราคาที่เขาสูญเสียไปเนื่องจากการกระทำผิดคืน เมื่อพนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีอาญา ก็ให้เรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายด้วย” มาตรา ๔๔ “การเรียกทรัพย์สินหรือราคาคืนตามมาตราก่อน พนักงานอัยการจะขอรวมไปกับคดีอาญาหรือจะยื่นคำร้องในระยะใดระหว่างที่คดี อาญากำลังพิจารณาอยู่ในศาลชั้นต้นก็ได้ คำพิพากษาในส่วนเรียกทรัพย์สินหรือราคาให้รวมเป็นส่วนหนึ่งแห่งคำพิพากษาในคดีอาญา”

  39. ผู้เสียหายยื่นคำขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายเข้ามาในคดีที่อัยการเป็นโจทก์ยื่นฟ้องผู้เสียหายยื่นคำขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายเข้ามาในคดีที่อัยการเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง • ข้อพิจารณา • กรณีนี้เป็นกรณีที่ผู้เสียหายไม่เป็นโจทก์ หรือโจทก์ร่วมในคดีอาญา มีเพียงอัยการเท่านั้นที่ฟ้องจำเลยต่อศาล • ช่องทางนี้ เกิดขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาข้อจำกัด 3 ช่องทางแรก • การเรียกร้องกระทำโดยผู้เสียหายยื่นคำร้องต่อศาลขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสิน ไหมทดแทนแก่ตน(ค่าเสียหาย) • ผู้เสียหายต้องยื่นคำร้องก่อนเริ่มสืบพยาน ในกรณีที่ไม่มีการสืบพยานให้ยื่นคำร้องก่อนศาลวินิจฉัยชี้ขาดคดี • คำร้องถือว่าเป็นคำฟ้อง ถ้ายื่นคำร้องตามช่องทางนี้แล้ว ถ้าไปฟ้องคดีแพ่งจำเลยเป็นคดีใหม่อีกจะมีลักษณะเป็นการฟ้องซ้อน • ผู้เสียหายต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลตาม ป.วิ.พ.

  40. มาตรา ๔๔/๑ในคดีที่พนักงานอัยการเป็น โจทก์ ถ้าผู้เสียหายมีสิทธิที่จะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพราะเหตุได้รับอันตรายแก่ ชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือได้รับความเสื่อมเสียต่อเสรีภาพในร่างกายชื่อเสียงหรือได้รับความเสีย หายในทางทรัพย์สินอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดของจำเลย ผู้เสียหายจะยื่นคำร้องต่อศาลที่พิจารณาคดีอาญาขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ตนก็ได้ การยื่นคำร้องตามวรรคหนึ่ง ผู้เสียหายต้องยื่นคำร้องก่อนเริ่มสืบพยาน ในกรณีที่ไม่มีการสืบพยานให้ยื่นคำร้องก่อนศาลวินิจฉัยชี้ขาดคดี และให้ถือว่าคำร้องดังกล่าวเป็นคำฟ้องตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความแพ่งและผู้เสียหายอยู่ในฐานะโจทก์ในคดีส่วนแพ่งนั้น ทั้งนี้ คำร้องดังกล่าวต้องแสดงรายละเอียดตามสมควรเกี่ยวกับความเสียหายและจำนวนค่าสินไหมทดแทนที่เรียกร้อง หากศาลเห็นว่าคำร้องนั้นยังขาดสาระสำคัญบางเรื่อง ศาลอาจมีคำสั่งให้ผู้ร้องแก้ไขคำร้องให้ชัดเจนก็ได้ คำร้องตามวรรคหนึ่งจะมีคำขอประการอื่นที่มิใช่คำขอบังคับให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนอันเนื่องมาจากการ กระทำความผิดของจำเลยในคดีอาญามิได้ และต้องไม่ขัดหรือแย้งกับคำฟ้องในคดีอาญาที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ และในกรณีที่พนักงานอัยการได้ดำเนินการตามความในมาตรา ๔๓ แล้ว ผู้เสียหายจะยื่นคำร้องตามวรรคหนึ่งเพื่อเรียกทรัพย์สินหรือราคาทรัพย์สินอีกไม่ได้

  41. การพิจารณาคดีส่วนแพ่งการพิจารณาคดีส่วนแพ่ง • ในกรณีที่มีการฟ้องคดีส่วนอาญา และส่วนแพ่งมาด้วยกัน ศาลมีอำนาจสั่งให้โจทก์แยกฟ้องคดีแพ่งเป็นคดีหนึ่งได้ มาตรา ๔๑ “ถ้าการพิจารณาคดีแพ่งจักทำให้การพิจารณาคดีอาญาเนิ่นช้าหรือติดขัดศาลมีอำนาจสั่งให้แยกคดีแพ่งออกจากคดีอาญา และพิจารณาต่างหากโดยศาลที่มีอำนาจชำระ”

  42. การพิจารณาคดีส่วนแพ่งการพิจารณาคดีส่วนแพ่ง • ในการพิจารณาคดีส่วนแพ่ง ถ้าศาลเห็นว่าพยานหลักฐานที่สืบมาในส่วนอาญาไม่เพียงพอ ศาลมีอำนาจสืบพยานหลักฐานเพิ่มเติมได้ มาตรา ๔๒ “ในการพิจารณาคดีแพ่ง ถ้าพยานหลักฐานที่นำสืบแล้วในคดีอาญายังไม่เพียงพอ ศาลจะเรียกพยานหลักฐานมาสืบเพิ่มเติมอีกก็ได้ ในกรณีเช่นนั้นศาลจะพิพากษาคดีอาญาไปทีเดียว ส่วนคดีแพ่งจะพิพากษาในภายหลังก็ได้”

  43. คำพิพากษาคดีส่วนแพ่ง • คำพิพากษาคดีส่วนแพ่งต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่ง โดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำผิดหรือไม่ตามมาตรา 47วรรคแรก มาตรา ๔๗ “คำพิพากษาคดีส่วนแพ่งต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่ง โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าจำเลยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิดหรือไม่....” • คำพิพากษาฎีกาที่ 2737/2517

  44. คำพิพากษาฎีกาที่ 2737/2517โจทก์ฟ้องจำเลยในข้อหายักยอก แต่โจทก์มิได้บรรยายรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญว่ายักยอกไปแต่ละครั้งเท่าใดและเมื่อใด ดังนี้ จำเลยไม่อาจเข้าใจข้อหาได้ถูกต้องจึงเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ ตามมาตรา 158ฟ้องไม่สมบูรณ์ ลงโทษจำเลยไม่ได้ แต่จำเลยก็รับว่าได้ยักยอกเบียดบังเงินจำนวน 11,726 บาทไป อำนาจของพนักงานอัยการที่จะว่ากล่าวเกี่ยวกับคำขอส่วนแพ่งยังคงมีอยู่ต่อไป ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจสั่งให้จำเลยคืนเงินจำนวนดังกล่าวแก่ผู้เสียหายได้

  45. การพิพากษาคดีส่วนอาญา แม้พนักงานอัยการจะไม่ได้ฟ้องคดีแพ่งแทนผู้เสียหาย หรือเจ้าของ ศาลก็มีอำนาจสั่งให้คืนทรัพย์สินของกลางแก่เจ้าของได้ • คำสั่งศาลจำกัดเฉพาะ การสั่งให้คืนทรัพย์เท่านั้น ส่วนค่าเสียหายอื่นๆศาลสั่งให้โดยไม่มีการขอไม่ได้ มาตรา ๔๙ “แม้จะไม่มีฟ้องคดีส่วนแพ่งก็ตาม เมื่อพิพากษาคดีส่วนอาญา ศาลจะสั่งให้คืนทรัพย์สินของกลางแก่เจ้าของก็ได้”

  46. ขอบคุณครับ ฟ้อง รวม ถอน

More Related