1 / 33

กฎหมายว่าด้วยนิติกรรมและสัญญา

กฎหมายว่าด้วยนิติกรรมและสัญญา. อ.จักรภพ ศิริภากรกาญจน์. นิติกรรม. ปพพ. มาตรา 149 “นิติกรรม หมายความว่า การใด ๆ อันทำลงโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัคร มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ”. ลักษณะของนิติกรรม.

Télécharger la présentation

กฎหมายว่าด้วยนิติกรรมและสัญญา

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. กฎหมายว่าด้วยนิติกรรมและสัญญากฎหมายว่าด้วยนิติกรรมและสัญญา อ.จักรภพ ศิริภากรกาญจน์

  2. นิติกรรม • ปพพ. มาตรา 149 • “นิติกรรม หมายความว่า การใด ๆ อันทำลงโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัคร มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ”

  3. ลักษณะของนิติกรรม • 1. ต้องเป็นการกระทำของบุคคลโดยการแสดงเจตนา • 2. ต้องเป็นการกระทำโดยชอบด้วยกฎหมาย • 3. ต้องเป็นการกระทำมี่มุ่งประสงค์จะผูกนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคล • 4.ต้องเป็นการกระทำโดยสมัครใจ • 5. ต้องมีวัตถุประสงค์ที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ

  4. 1. นิติกรรมเป็นการแสดงเจตนาของบุคคล • การแสดงเจตนาโดยชัดแจ้ง • การแสดงเจตนาโดยปริยาย • การแสดงเจตนาโดยการนิ่ง

  5. 2. นิติกรรมเป็นการกระทำโดยชอบด้วยกฎหมาย

  6. 2.1 วัตถุประสงค์ต้องชอบด้วยกฎหมาย • ปพพ. มาตรา 150 • “การใดมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย เป็นการพ้นวิสัยหรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน การนั้นเป็นโมฆะ”

  7. วัตถุประสงค์ของนิติกรรม?วัตถุประสงค์ของนิติกรรม? • 1. วัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย • 2. วัตถุประสงค์เป็นการพ้นวิสัย • 3. วัตถุประสงค์เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน

  8. 2.2 ถ้าไม่ทำตามแบบของนิติกรรมเป็นโมฆะ • ปพพ. มาตรา 152 • “การใดมิได้ทำให้ถูกต้องตามแบบที่กฎหมายบังคับไว้ การนั้นเป็นโมฆะ”

  9. แบบของนิติกรรม • 1.ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ • 2. จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ • 3. ทำเป็นหนังสือต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ • 4. ทำเป็นหนังสือ • หลักฐานเป็นหนังสือ ?

  10. 3. นิติกรรมต้องมุ่งผูกนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคล • 3.1การแสดงเจตนาซ่อนเร้น • ปพพ. มาตรา 154 • “การแสดงเจตนาใดแม้ในใจจริงผู้แสดงเจตนาจะมิได้เจตนาให้ตนต้องผูกพันตามที่ได้แสดงออกมาก็ตาม หาเป็นเหตุให้การแสดงเจตนาเป็นโมฆะไม่ เว้นแต่คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งจะได้รู้ถึงเจตนาอันซ่อนอยู่ในใจของผู้แสดงนั้น”

  11. 3.2 การแสดงเจตนาลวง • ปพพ. มาตรา 155 วรรคหนึ่ง • “การแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กับคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งเป็นโมฆะ...”

  12. 3.3 นิติกรรมอำพราง • ปพพ. 155 วรรคสอง • “ถ้าการแสดงเจตนาลวงตามวรรคหนึ่งทำขึ้นเพื่ออำพรางนิติกรรมอื่น ให้นำบทบัญญัติของกฎหมายอันเกี่ยวกับนิติกรรมที่ถูกอำพรางมาใช้บังคับ”

  13. 4. นิติกรรมต้องเป็นการกระทำโดยสมัครใจ • 4.1 การแสดงเจตนาโดยสำคัญผิด • ปพพ. มาตรา 156 “การแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมเป็นโมฆะ ความสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมตามวรรคหนึ่ง ได้แก่ ความสำคัญผิดในลักษณะของนิติกรรม ความสำคัญผิดในตัวบุคคลซึ่งเป็นคู่กรณีแห่งนิติกรรม และความสำคัญผิดในทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรม เป็นต้น”

  14. ปพพ. มาตรา 157 วรรคหนึ่ง • “การแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคลหรือทรัพย์สินเป็นโมฆียะ”

  15. 4.2 การแสดงเจตนาโดยถูกกลฉ้อฉล • ปพพ. มาตรา 159 วรรคหนึ่ง • “การแสดงเจตนาเพราะถูกกลฉ้อฉลเป็นโมฆียะ”

  16. 4.3 การแสดงเจตนาโดยถูกข่มขู่ • ปพพ. มาตรา 164 วรรคหนึ่ง • “การแสดงเจตนาเพราะถูกข่มขู่เป็นโมฆียะ”

  17. 5. นิติกรรมต้องก่อให้เกิดความเคลื่อนไหวแห่งสิทธิ • ก่อ • เปลี่ยนแปลง • โอน • สงวน • ระงับ

  18. โมฆะกรรม vs โมฆียะกรรม

  19. โมฆะกรรม • ปพพ. มาตรา 172 วรรคหนึ่ง • “โมฆะกรรมนั้นไม่อาจให้สัตยาบันแก่กันได้ และผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดจะยกความเสียเปล่าแห่งโมฆะกรรมขึ้นกล่าวอ้างก็ได้”

  20. โมฆียะกรรม • ปพพ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง • “โมฆียะกรรมเมื่อบอกล้างแล้ว ให้ถือว่าเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก.....”

  21. ผู้มีสิทธิบอกล้างโมฆียะกรรมผู้มีสิทธิบอกล้างโมฆียะกรรม • ปพพ. มาตรา 175 “โมฆียะกรรมนั้น บุคคลต่อไปนี้จะบอกล้างเสียก็ได้ • ผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้เยาว์ซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว แต่ผู้เยาว์จะบอกล้างก่อนที่ตนบรรลุนิติภาวะก็ได้ถ้าได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรม

  22. (2) บุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ เมื่อบุคคลนั้นพ้นจากการเป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ หรือผู้อนุบาล หรือผู้พิทักษ์ แล้วแต่กรณี แต่คนเสมือนไร้ความสามารถจะบอกล้างก่อนที่ตนจะพ้นจากการเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถก็ได้ถ้าได้รับความยินยอมของผู้พิทักษ์

  23. (3) บุคคลผู้แสดงเจตนาเพราะสำคัญผิด หรือถูกกลฉ้อฉล หรือถูกข่มขู่ • (4) บุคคลวิกลจริตในขณะที่จริตของบุคคลนั้นไม่วิกลแล้ว • ถ้าบุคคลผู้ทำนิติกรรมอันเป็นโมฆียะถึงแก่ความตายก่อนมีการบอกล้างโมฆียะกรรม ทายาทของบุคคลดังกล่าวอาจบอกล้างโมฆียะกรรมนั้นได้

  24. การให้สัตยาบัน ปพพ. มาตรา 177 “ถ้าบุคคลผู้มีสิทธิบอกล้างโมฆียะกรรมตามมาตรา 175 ผู้หนึ่งผู้ใด ได้ให้สัตยาบันแก่โมฆียะกรรม ให้ถือว่าการนั้นเป็นอันสมบูรณ์มาแต่เริ่มแรก.....”

  25. วิธีการบอกล้างหรือให้สัตยาบันโมฆียกรรมวิธีการบอกล้างหรือให้สัตยาบันโมฆียกรรม • มาตรา 178 • “การบอกล้างหรือให้สัตยายันแก่โมฆียกรรม ย่อมทำได้โดยการแสดงเจตนาแก่คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเป็นบุคคลที่มีตัวกำหนดได้แน่นอน”

  26. สัญญา

  27. สาระสำคัญของสัญญา • 1. มีคู่สัญญาตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไป • 2. ต้องมีการแสดงเจตนาเสนอสนองตรงกัน

  28. การก่อให้เกิดสัญญา • สัญญาเกิดจากคำเสนอและคำสนองที่ตรงกัน

  29. มัดจำ • มาตรา 377 • “เมื่อเข้าทำสัญญา ถ้าได้ให้สิ่งใดไว้เป็นมัดจำ ท่านให้ถือว่าการที่ให้มัดจำนั้นย่อมเป็นพยานหลักฐานว่าสัญญานั้นได้ทำกันขึ้นแล้ว อนึ่งมัดจำนี้ย่อมเป็นประกันการที่จะปฏิบัติตามสัญญานั้นด้วย”

  30. มัดจำเป็นพยานหลักฐานว่าสัญญานั้นได้ทำขึ้นมัดจำเป็นพยานหลักฐานว่าสัญญานั้นได้ทำขึ้น • เช่น • มาตรา 456 วรรคสอง • “สัญญาจะขายหรือจะซื้อ ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญ หรือได้วางประจำไว้ หรือได้ขำระหนี้บางส่วนแล้ว จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่”

  31. มัดจำเป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญามัดจำเป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญา • มาตรา 378 • “มัดจำนั้น ถ้ามิได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น ท่านให้เป็นไปดังจะกล่าวต่อไปนี้ คือ • (1) ให้ส่งคืน หรือจัดเอาเป็นการใช้เงินบางส่วนในเมื่อชำระหนี้ • (2) ให้ริบ ถ้าฝ่ายที่วางมัดจำละเลยไม่ชำระหนี้ • (3) ให้ส่งคืน ถ้าฝ่ายที่รับมัดจำละเลยไม่ชำระหนี้”

  32. เบี้ยปรับ • มาตรา 379 • “ถ้าลูกหนี้สัญญาแก่เจ้าหนี้ว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งเป็นเบี้ยปรับเมื่อตนไม่ชำระหนี้ก็ดี หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควรก็ดี เมื่อลูกหนี้ผิดนัดก็ให้ริบเบี้ยปรับ”

  33. การเลิกสัญญา • มาตรา 386 • “ถ้าคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งมีสิทธิเลิกสัญญาโดยข้อสัญญาหรือโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย การเลิกสัญญาเช่นนั้นย่อมทำด้วยแสดงเจตนาแก่อีกฝ่ายหนึ่ง”

More Related