1 / 22

แถลงข่าว โรคมือเท้าปาก โดย นายแพทย์สุระ วิเศษศักดิ์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด

แถลงข่าว โรคมือเท้าปาก โดย นายแพทย์สุระ วิเศษศักดิ์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด. วันที่ 16 กรกฎาคม 2555 เวลา 13.30 น ณ ห้องแก้วมุกดา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด. สถานการณ์โรค มือ เท้า ปาก ( HFMD) ประเทศไทย.

gur
Télécharger la présentation

แถลงข่าว โรคมือเท้าปาก โดย นายแพทย์สุระ วิเศษศักดิ์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. แถลงข่าว โรคมือเท้าปากโดยนายแพทย์สุระ วิเศษศักดิ์นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด วันที่ 16 กรกฎาคม 2555 เวลา 13.30 น ณ ห้องแก้วมุกดา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด

  2. สถานการณ์โรค มือ เท้า ปาก (HFMD) ประเทศไทย ปี 2555ตั้งแต่ 1 ม.ค. - 9 ก.ค.55 มีรายงานผู้ป่วย 12,581 ราย ไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิต อัตราป่วย 19.80 ต่อประชากรแสนคน พบมากในเด็กอายุ 1 ปี (ร้อยละ 28.19) อายุ 2 ปี ร้อยละ25.94 และอายุ 3 ปี ร้อยละ 17.45

  3. สถานการณ์โรคมือเท้าปาก จำแนกรายจังหวัด ประเทศไทย ปี 2555

  4. สถานการณ์โรค มือ เท้า ปาก (HFMD) จ.ร้อยเอ็ด ปี 2555ตั้งแต่ 1 ม.ค. - 15 ก.ค.55 มีรายงานผู้ป่วย 176 ราย ไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิต อัตราป่วย 13.44 ต่อประชากรแสนคน จำนวนผู้ป่วยมากกว่าปี 2554 ประมาณ 2.7 เท่า

  5. กลุ่มอายุผู้ป่วยโรคมือเท้าปาก (HFMD) จ.ร้อยเอ็ด ปี 2555 ร้อยละ @กลุ่มอายุที่พบว่ามีรายงานผู้ป่วยสูงสุด คือ กลุ่มอายุ 1- 2 ปี (ร้อยละ 55.11) และ กลุ่มอายุ 3 - 4 ปี (ร้อยละ 32.39) @ส่วนใหญ่พบการระบาดในศูนย์เด็กเล็ก @ปัจจัยเสี่ยง : การเล่นคลุกคลีกับเด็กที่ป่วย การใช้แก้วน้ำ ผ้าเช็ดมือร่วมกัน

  6. ปัจจัยเสี่ยง

  7. สถานการณ์โรคมือเท้าปาก จำแนกรายอำเภอ จ.ร้อยเอ็ด ปี 2555 พบผู้ป่วย 176 ราย 16 อำเภอ

  8. จำนวนผู้ป่วยโรคมือเท้าปาก จำแนกรายอำเภอ รายเดือน จ.ร้อยเอ็ด ปี 2555

  9. โรค มือ เท้า ปาก (Hand Foot Mouth Disease) • สาเหตุ • เกิดจากเชื้อไวรัสลำไส้ หรือ เอนเทอโรไวรัส หลายชนิด • (EV71) • พบบ่อยในกลุ่มเด็กทารก และ เด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี • โรคเกิด ประปรายตลอดปี • เพิ่มมากขึ้น ในหน้าฝน ช่วงอากาศเย็น และ ชื้น • โดยทั่วไป อาการไม่รุนแรง • ผื่น และตุ่มน้ำใส หายได้เอง ในเวลา 5 - 7 วัน

  10. เชื้อเอนเทอโรไวรัส

  11. อาการที่สำคัญ 1 • หลังได้รับเชื้อ 3-6 วัน จะเริ่มแสดงอาการป่วย • เริ่มด้วย มีไข้ต่ำๆ อ่อนเพลีย • ต่อมาอีก1-2 วัน จะพบ ตุ่ม หรือ ผื่นนูนสีแดงเล็ก(มักไม่คัน) ที่ฝ่ามือ นิ้วมือ(มักอยู่ที่ด้านข้างของนิ้ว) ฝ่าเท้า(มักอยู่ที่ส้นเท้า) • บริเวณอื่น : หัวเข่า ข้อศอก หรือ ก้น • ในปาก : เป็นตุ่มแดงที่ลิ้น เหงือก หรือ กระพุ้งแก้ม

  12. อาการที่สำคัญ 2 • ตุ่มจะกลายเป็น ตุ่มพองใส บริเวณ รอบๆอักเสบ และ แดงกดแล้วเจ็บ ต่อมา จะแตกออก เป็นแผลหลุมตื้นๆ ระยะนี้ เด็กจะมีอาการ เจ็บปากรับประทานอาหารได้น้อย • อาการจะทุเลา และ หายเป็นปกติ ภายใน 7-10 วัน

  13. การติดต่อ • สัมผัสโดยตรงจากสารคัดหลั่ง : จมูก, ลําคอ และ นํ้าในตุ่มใส • อุจจาระของผู้ป่วยซึ่งมีเชื้อไวรัสอยู่ (fecal - oral route ) • แพร่กระจายมากที่สุด คือ ในสัปดาห์แรกที่ผู้ป่วยมีอาการ • ยังแพร่เชื้อได้จนกว่ารอยโรคจะหายไป แต่ก็ยังพบเชื้อในอุจจาระผู้ป่วยต่อได้อีกประมาณ 2-3 สัปดาห์ • เชื้อเอนเทอโรไวรัส สามารถทนสภาวะกรดในทางเดินอาหารมนุษย์ได้ • เชื้อมีชีวิตอยู่ในอุณหภูมิห้องได้ 2-3 วัน • โรคนี้ไม่สามารถติดต่อ จากคนสู่สัตว์ หรือ จากสัตว์สู่คนได้

  14. การรักษา • หายได้เอง ( 7 วัน) • การรักษาประคับประคอง และ บรรเทาอาการ • การลดไข้ และลดอาการเจ็บปวด จากแผลในปาก • ภาวะแทรกซ้อน อยู่ในความดูแลแพทย์ • มีภูมิคุ้มกัน เฉพาะต่อเชื้อไวรัสที่ก่อโรค • ผู้ปกครอง/ครูพี่เลี้ยง • สังเกตอาการที่อาจมีภาวะแทรกซ้อนรุนแรง : ไข้สูง ซึม อาเจียนบ่อยๆ ไม่ยอมรับประทานอาหารและ นํ้าแจ้งผู้ปกครอง /แจ้งจนท. รพ.สต.

  15. จะทำลายเชื้อได้อย่างไรจะทำลายเชื้อได้อย่างไร • โดยแสงอัลตราไวโอเล็ต ในสภาพที่แห้ง • โดยการต้มที่ 50-60oC นาน 30 นาที • โดยใช้น้ำยาซักล้างทั่วไป โซเดียมไฮโปคลอไรด์ 1% • โดยใช้น้ำประปา ที่มีคลอรีน 0.2-0.5 ppm. • โดยวิธีทำให้ปราศจากเชื้อ

  16. การป้องกันโรค • โรคนี้ ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน • ป้องกันโดยการ รักษาสุขอนามัย • หลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของร่วมกัน เช่น แก้วน้ำ หลอดดูด ผ้าเช็ดหน้า และผ้าเช็ดมือ เป็นต้น • จัดให้มีอ่างล้างมือ และส้วมที่ถูกสุขลักษณะ

  17. การป้องกันโรค • หากพบเด็กป่วย รีบป้องกัน ไม่ให้เชื้อแพร่ ไปยังเด็กคนอื่น ๆ • แนะนำผู้ปกครองให้รีบพาเด็กไปพบแพทย์และหยุดรักษาตัวที่บ้านประมาณ 7 วันหรือจนกว่าจะหายเป็นปกติ • ไม่ควรพาเด็กไปในสถานที่แออัด เช่น สนามเด็กเล่น สระว่ายน้ำ และ ห้างสรรพสินค้า

  18. มาตรการช่วงที่เกิดโรคระบาดต้องเน้นการสกัดกั้นการแพร่กระจายของเชื้อ ซึ่งอาจมีความจำเป็นจะต้องประกาศเขตติดโรคและปิดสถานที่ อาคาร สระว่ายน้ำ สนามเด็กเล่น ฯลฯ หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับเด็กป่วย และเน้น การล้างมือบ่อยๆ หากมีเด็กป่วยจำนวนมากในโรงเรียน หรือสถานรับเลี้ยงเด็ก ควรทำอย่างไร

  19. แจ้งการระบาดไปยังหน่วยงานบริการสาธารณสุขในพื้นที่ (สอบสวนการระบาด ให้ความรู้ และคำแนะนำ) • เผยแพร่คำแนะนำเรื่อง โรคมือเท้าปาก แก่ผู้ปกครอง และเด็กนักเรียน รวมทั้งส่งเสริมพฤติกรรมอนามัยที่ช่วยป้องกันโรคติดต่อ โดยเฉพาะการล้างมือและการรักษาสุขอนามัยของสภาพแวดล้อม • ควรแยกของใช้ไม่ให้ปะปนกัน เช่น แก้วน้ำ ช้อนอาหาร ฯลฯ • เฝ้าระวัง โดยตรวจเด็กทุกคนหากพบคนใดที่มีอาการโรคมือ เท้า ปาก ต้องรีบแยกออกและให้หยุดเรียน 7-10 วัน หรือจนกว่าจะหาย

  20. การค้นหาผู้ป่วย

  21. ขอบคุณ

More Related