1 / 18

หน่วยที่ 4

หน่วยที่ 4. การรับข้อมูล และ การแสดงผล. การเขียนผลลัพธ์ในปาสคาล. มี 2 คำสั่ง คือ 1. WRITELN 2. WRITE การเขียนผลลัพธ์ในปาส ค าลนั้นสามารถกำหนด ความยาวได้หลายรูปแบบ แต่ละบรรทัดนั้นเริ่มต้น เขียนชิดขอบซ้ายและจบลงด้วยจุดสิ้นสุดบรรทัด <EOLN> (อ่านว่า end of line)

hanne
Télécharger la présentation

หน่วยที่ 4

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. หน่วยที่ 4 การรับข้อมูล และ การแสดงผล

  2. การเขียนผลลัพธ์ในปาสคาลการเขียนผลลัพธ์ในปาสคาล • มี 2 คำสั่ง คือ 1. WRITELN 2. WRITE • การเขียนผลลัพธ์ในปาสคาลนั้นสามารถกำหนด ความยาวได้หลายรูปแบบ แต่ละบรรทัดนั้นเริ่มต้น เขียนชิดขอบซ้ายและจบลงด้วยจุดสิ้นสุดบรรทัด <EOLN> (อ่านว่า end of line) • การเขียนผลลัพธ์ ที่จอภาพในแต่ละบรรทัดจะมีความยาว 80 ตัวอักษร • กรณีที่ข้อมูลนำออกมีความยาวเกิน 80 ตัวอักษร  คอมพิวเตอร์แสดงผลจนถึง 80 ตัวอักษรและข้อความที่เหลือจะ แสดงชิดซ้ายในบรรทัดถัดไป

  3. 1. คำสั่ง WRITELN • เป็นคำสั่งที่ใช้แสดงข้อมูลส่งออกหนึ่งบรรทัด กรณีที่ต้องการเขียนนิพจน์หลายตัวในบรรทัดเดียวกันทำได้โดยใช้เครื่องหมายจุลภาคกั้น และสามารถเขียนรวมกับข้อความ การแสดงข้อมูลส่งออกนี้เริ่มจากขอบซ้ายของบรรทัดและข้อความนี้จะใส่จุดสิ้นสุดบรรทัดไว้ท้ายสุด เพื่อเป็นการบอกล่วงหน้าสำหรับข้อความแสดงผลต่อไปว่าให้ขึ้นบรรทัดใหม่  • มีรูปแบบ ดังนี้คือ WRITELN (<ตัวแปร> หรือ <ข้อความ>หรือ <นิพจน์>)

  4. คำสั่ง WRITELN (2ต่อ) • การเขียนบรรทัดว่างทำได้โดยใช้ข้อความสั่ง WRITELN; คำสั่งนี้จะจบบรรทัดปัจจุบัน และสั่งตัวชี้ตำแหน่ง (cursor) ให้เริ่มต้นบรรทัดใหม่ ถ้าตัวชี้ตำแหน่ง อยู่ที่จุดเริ่มต้นของบรรทัดอยู่แล้ว เมื่อมีการสั่งงานกับคำสั่งนี้ writeln จะแสดงบรรทัดว่าง

  5. ตัวอย่าง Hello World PROGRAM Hello_World; BEGIN writeln(‘Hello World’); readln; END. • ผลลัพธ์ • Hello World • _

  6. 2.คำสั่ง WRITE • เป็นคำสั่งที่มีรูปแบบเดียวกับคำสั่ง writeln การทำงานของคำสั่งนี้มีผลให้เขียนข้อมูลลงบรรทัดปัจจุบัน   เมื่อแสดงผลลัพธ์แล้วจะไม่ขึ้นบรรทัดใหม่

  7. ตัวอย่าง Hello World PROGRAM Hello_World; BEGIN write(‘Hello World’); readln; END. • ผลลัพธ์ • Hello World_

  8. ข้อแตกต่างระหว่าง WRITE กับ WRITELN • คำสั่ง WRITELNจะแสดงผลลัพธ์ออกมา แล้วขึ้นบรรทัดใหม่ให้ • คำสั่ง WRITE จะแสดงผลลัพธ์ออกมาโดยที่เคอร์เซอร์ยังอยู่ในบรรทัดเดิม

  9. ตัวอย่างการพิมพ์ค่า x ซึ่งเป็นตัวแปรชนิด real • PROGRAM test_write1; VAR x : real; y : char; BEGIN x := 123.456; y := ‘a’; write(‘x = ‘,x,’y = ‘,y); END. • ผลลัพธ์ • X = 1.23456000000006E+0002y=a

  10. ตัวอย่าง โปรแกรมต่อไปนี้ เป็นการคำนวณหาผลบวกของนิพจน์ a + b โดย a และ b เป็นตัวแปรชนิด integer PROGRAM test_write2; VAR a,b : integer; BEGIN a := 3; b := -1; write(‘sum = ‘, a+b); END. • ผลลัพธ์ • sum = 2

  11. ตัวอย่าง จากโปรแกรมต่อไปนี้ ให้พิมพ์สตริงออกมา PROGRAM test_write3; BEGIN write(‘RED’,’WHITE’,’ BLUE’); END. • ผลลัพธ์ • REDWHITE BLUE

  12. การอ่านข้อมูลในปาสคาลการอ่านข้อมูลในปาสคาล • มี 2 คำสั่ง คือ 1. READLN 2. READ • เมื่อโปรแกรมเรียกใช้  read หรือ readln เครื่องคอมพิวเตอร์จะหยุดรอรับข้อมูลที่ผู้ใช้พิมพ์เข้าทางแป้นพิมพ์ การที่ผู้ใช้กด enter นั้นเป็นการใส่ <EOLN>ค่าที่พิมพ์เข้าไปนี้จะเก็บไว้ในส่วนความจำของ เครื่องคอมพิวเตอร์โดยเปลี่ยนไปเป็นรหัสไบนารี่ที่เหมาะสมและเก็บไว้ในตัวแปรตามที่กำหนดไว้ในคำสั่ง read ถ้าผู้ใช้ใส่ค่าซึ่งมีประเภทข้อมูลไม่ตรงกับชนิดของตัวแปรจะเกิดข้อผิดพลาดขึ้น เครื่องคอมพิวเตอร์จะแสดงคำเตือนข้อผิดพลาดและการทำงานของโปรแกรมอาจจะหยุดชะงัก

  13. 1. คำสั่ง READLN • มีรูปแบบดังนี้ READLN (ชื่อตัวแปร 1, ชื่อตัวแปร 2, ..., ชื่อตัวแปร n) • ชื่อตัวแปร = ตัวแปรที่ได้ประกาศไว้ซึ่งมีประเภทข้อมูลตรงกับค่าที่ผู้ใช้จะนำมาใส่ข้อมูล

  14. 2. คำสั่ง READ • มีรูปแบบดังนี้ READ (ชื่อตัวแปร 1, ชื่อตัวแปร 2, ..., ชื่อตัวแปร n)

  15. ข้อแตกต่างระหว่าง READ กับ READLN • คำสั่ง READLN จะมีผลให้ต้องอ่านข้อมูลจากบรรทัดใหม่ • คำสั่ง READ จะมีผลให้สามารถอ่านข้อมูลจากบรรทัดเดิมได้เลย

  16. ตัวอย่าง โปรแกรมรับค่าข้อมูลชื่อและอายุผ่านคีย์บอร์ดและแสดงผลทางหน้าจอ Please enter your name: tata How old are you ? 12 tata is 12 years old. PROGRAM read_write; VAR age : integer; name : string; BEGIN write(‘Please enter your name: ’); readln(name); write(‘How old are you ? ‘ ); readln(age); writeln(name,’ is ’,age,’ years old.’) END.

  17. คำสั่งการรับข้อมูลจากที่เรียนมาแล้วมีดังนี้ :- คำสั่ง Read , Readln; คำสั่ง Readkey:char , KeyPressed : Boolean; **หมายเหตุ** ในกรณีที่ลืมรูปแบบการใช้คำสั่ง(syntax) ขณะที่ใช้ Virtual pascal สามารถพิมพ์คำสั่ง แล้วกดปุ่ม Ctrl + F1 หรือไปที่ Menu Help และเลือก Topic search จะมีหน้าต่างเล็กที่อธิบายคำสั่งพร้อมด้วยตัวอย่างง่ายๆ ประกอบการใช้คำสั่งนั้นๆ

  18. คำสั่งการแสดงผลจากที่เรียนมาแล้วมีดังนี้ :- • คำสั่ง Write , Writeln; • ในกรณีที่ต้องการที่จะแสดงผลออกทางเครื่องพิมพ์ให้ใช้คำ ‘LST’ เช่น Writeln(‘LST’ , ‘Pascal programming’); เป็นต้น • ในกรณีที่มีเลขทศนิยมและต้องการที่จะแสดงผลรับที่ประกอบด้วยเลขจำนวนเต็มและจำนวนหลักของเลขทศนิยม สามารถใช้เลขบอกจำนวนหลักหลังตัวแปรนั้นๆคั่นด้วยตัว : เช่น x := 123.456789; Writeln(‘ ผลลัพธ์ = ’ , x:5:2 ); บนจอภาพจะแสดงข้อความ ผลลัพธ์ = 123.46 เป็นต้น

More Related