1 / 21

ระบบสื่อสารอนาล็อก

ระบบสื่อสารอนาล็อก. อาจารย์ นัณฑ์ศิ ตา ชูรัตน์. ลักษณะรายวิชา. รหัสวิชา 3105-2016 ระบบสื่อสารอะนาล็อก (Analog Communication Systems) จำนวน 2 หน่วย กิต 2 คาบเรียน. จุดประสงค์รายวิชา.

Télécharger la présentation

ระบบสื่อสารอนาล็อก

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ระบบสื่อสารอนาล็อก อาจารย์นัณฑ์ศิตา ชูรัตน์

  2. ลักษณะรายวิชา รหัสวิชา 3105-2016 ระบบสื่อสารอะนาล็อก(Analog Communication Systems) จำนวน 2 หน่วยกิต 2 คาบเรียน

  3. จุดประสงค์รายวิชา • เพื่อให้มีความเข้าใจ หลักการมอดูเลชั่น และการดีมอดูเลชั่น ในเชิงคณิตศาสตร์ ของระบบ AM , BM ,SSB,FDM,FM,PM,PLL • เพื่อให้สามารถวัดและทดสอบระบบมอดูเลชั่น และดีมอดูเลชั่น ในระบบสื่อสารอะนาล็อก • เพื่อให้มีกิจนิสัยในการทำงานด้วยความประณีต รอบคอบ ปลอดภัย มีจริยธรรมในงานอาชีพ

  4. พื้นฐานการสื่อสารข้อมูลพื้นฐานการสื่อสารข้อมูล การสื่อสารข้อมูล (Data Communications) คือกระบวนการถ่ายโอนหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ โดยผ่านทางช่องสื่อสาร เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือคอมพิวเตอร์เป็นตัวกลางในการส่งข้อมูล เพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับเกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน

  5. โทรคมนาคม(Telecommunication) โทรคมนาคม (Telecommunication) คือ การติดต่อเพื่อการสื่อความหมายระหว่างผู้สง ข่าวสาร และผูรับขาวสารแตผูสงข่าวสารและผูรับขาวสารอาจจะอยูในสถานที่เดียวกันหรืออยูตางสถานที่กันก็ได หากอยู ตางสถานที่กันอาจจะต้องใช้ระบบการสื่อสาร เช่น โทรเลข, โทรศัพท์ หรือโทรสาร เพื่อการติดตอสื่อสาร ระหวางผูสงขาวสารและผูรับขาวสาร “Tele” เปนรากศัพทที่มาจากภาษากรีก หมายความวา “ไกล” หรือ ”อยู่ไกลออกไป” Telecommunications สามารถให้ความหมายอยางกวาง ๆ ตามรูปศัพทไดว่าหมายถึง “การสื่อสารไปยังผูรับปลายทางที่อยูไกลออกไป”

  6. ข้อสังเกต ปัจจุบันมักใช้คำว่า “การสื่อสารข้อมูล”“เครือข่าย”และระบบโทรคมนาคม” ร่วมกันเสมอ โดยเทคโนโลยีการสื่อสารและโทรคมนาคม ต่างก็เป็นเทคโนโลยีที่สนับสนุนและเอื้อประโยชน์ต่อกันและกัน การสื่อสารทำให้การใช้งานคอมพิวเตอร์มีความคล่องตัวและสะดวกสบายขึ้น ทำให้สามารถเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์ต่าง ๆ เป็นเครือข่ายเพื่อให้สามารถสื่อสารกันได้ ส่วนการสื่อสารข้อมูลระยะไกล ก็จำเป็นต้องพึ่งพาเทคโนโลยี

  7. วิธีการสื่อสาร (Communication Method) วิธีการสื่อสาร สามารถแบ่งออกเป็น 2 วิธีด้วยกัน คือ การสื่อสารบนพื้นที่เดียวกัน (Local) และการสื่อสารระยะไกล (Remote) ซึ่งสามารถสรุปได้ดังรายละเอียดต่อไปนี้ 1. การสื่อสารบนพื้นที่เดียวกันหรือแบบโลคอล 2. การสื่อสารระยะไกลหรือแบบรีโมต

  8. คุณสมบัติพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูล (Fundamental Characteristics) เมื่อการสื่อสารข้อมูลได้เกิดขึ้น อุปกรณ์การสื่อสารจะต้องถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบการสื่อสาร ด้วยการรวมส่วนของฮาร์ดแวร์และ ซอฟต์แวร์เข้าไว้ด้วยกันเพื่อให้สามารถทำการสื่อสารได้ ผลของระบบการสื่อสารข้อมูลจะขึ้นอยู่กับคุณสมบัติพื้นฐาน 3 ประการด้วยกัน คือ 1. การส่งมอบ (Delivery) 2. ความถูกต้องแน่นอน (Accuracy) 3. ระยะเวลา (Timeliness)

  9. องค์ประกอบพื้นฐานของระบบการสื่อสารข้อมูลองค์ประกอบพื้นฐานของระบบการสื่อสารข้อมูล ระบบการสื่อสารข้อมูล ประกอบด้วยองค์ประกอบพื้นฐานทั้ง 5 ดังต่อไปนี้ 1. ผู้ส่งข้อมูล (Sender/Source) 2. ผู้รับข้อมูล (Receiver/Destination) 3. ข้อมูล/ข่าวสาร (Message) 4. ตัวกลางในการส่งข้อมูล (Transmission Medium) 5. โปรโตคอล (Protocol)

  10. Protocol Protocol Data Medium Sender Receiver การสื่อสารข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ การสื่อสารข้อมูลด้วยโทรศัพท์

  11. ชนิดของสัญญาณที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลชนิดของสัญญาณที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูล สัญญาณดิจิตอล (digital Signal) สัญญาณดิจิตอล หรือเรียกว่า “สัญญาณพัลซ์(Pulse Signal)” สัญญาณที่มีระบบของสัญญาณเพียง 2 ระดับ คือ สูงและต่ำ การเปลี่ยนระดับสัญญาณจะไม่มีความต่อเนื่องกัน (Discrete) โดยปกติแล้วระดับสูงจะแทนด้วยตัวเลข 1 และระดับต่ำจะแทนด้วย 0

  12. ชนิดของสัญญาณที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูล (ต่อ) ส่วนสัญญาณดิจิตอลเมื่อเพิ่มระยะทางในการส่งขึ้นจะส่งผลให้สัญญาณดิจิตอลจางหายไป (เปลี่ยนจาก 1 เป็น 0) ดังนั้นจึงจำเป็นต้องใช้เครื่องทวนสัญญาณ (Repeater) ในการกู้ข้อมูลคืนมาแล้วจึงส่งสัญญาณออกไปใหม่

  13. ชนิดของสัญญาณที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูล (ต่อ) สัญญาณอนาล็อก (Analog Signal) สัญญาณอนาล็อก คือ สัญญาณที่อยู่ในรูปแบบของคลื่น (Waveform) ที่มีความต่อเนื่องกัน (Continuous) มีการเปลี่ยนแปลงระดับของสัญญาณขึ้น – ลงตามขนาดของสัญญาณ (Amplitude) และมีความถี่ (Frequency) ที่เรียกว่า Hertz (Hz) ตัวอย่างของสัญญาณอนาล็อก เช่น เสียงพูด (Voice) กระแสไฟฟ้าสลับ เป็นต้น

  14. ชนิดของสัญญาณที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูล (ต่อ) ในการส่งข้อมูลเป็นสัญญาณอนาล็อกนั้นเมื่อระยะทางในการส่งข้อมูลเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จะส่งผลให้พลังงานของสัญญาณอ่อนลงเรื่อย ๆ ดังนั้นในการส่งสัญญาณอนาล็อกที่ระยะทางไกล ๆ จึงจำเป็นต้องมีเครื่องขยายสัญญาณ (Amplifier) เพื่อเพิ่มพลังงานให้กับสัญญาณ แต่ข้อเสียของการใช้เครื่องขยายสัญญาณคือจะทำให้เกิดสัญญาณรบกวน (Noise) ดังนั้นจึงจำเป็นต้องใช้วงจรกรองสัญญาณ (Filter) เพื่อกรองเอาสัญญาณรบกวนออก

  15. Modulation Demodulation

  16. คำศัพท์ควรรู้ Hertz (Hz) : หน่วยวัดความถี่ของสัญญาณข้อมูลแบบ Analog โดยนับจำนวนรอบของสัญญาณที่เกิดขึ้นภายใน 1 วินาที (รอบ/วินาที) Bit Rate : อัตราความเร็วในการส่งข้อมูลแบบดิจิตอลวัดจำนวนบิตข้อมูลที่ส่งได้ในช่วงระยะเวลา 1 วินาทีมีหน่วยเป็น Bit Per Second (bps) Bandwidth : ระยะความถี่ที่สามารถส่งสัญญาณผ่านระบบสื่อสารระบบหนึ่ง ๆ ได้

  17. ประเภทของการรับ - ส่งสัญญาณข้อมูล • รับส่งข้อมูลครั้งละหลาย ๆ บิตพร้อมกัน • จำนวนของสายสื่อสารเท่ากับจำนวนบิตของข้อมูลที่ ต้องการส่งไปแบบขนานกัน • เสียค่าใช้จ่ายมากกว่าการรับส่งข้อมูลแบบอนุกรม • ไม่สามารถส่งไปในระยะทางที่ไกล ๆ ได้เนื่องจากข้อมูลแต่ละบิตอาจจะไปถึงปลายทางไม่พร้อมกัน เร็วกว่าการส่งแบบอนุกรม • นิยมใช้ในการรับส่งเพียงใกล้ ๆ เช่นการส่งข้อมูลออกไปพิมพ์ที่เครื่องพิมพ์เป็นต้น • แบบขนาน (Parallel Transmission)

  18. ประเภทของการรับ - ส่งสัญญาณข้อมูล(ต่อ) • แบบอนุกรม (Serial Transmission) • รับส่งข้อมูลครั้งละ 1 บิตเรียงตามลำดับกันไป • ใช้สายสื่อสารเพียงเส้นเดียวเท่านั้น • สามารถส่งไปได้ในระยะทางที่ไกล ๆ • นิยมใช้ในการสื่อสารข้อมูลผ่านทางสายโทรศัพท์ เมาส์ และ COM Port

  19. ทิศทางของการสื่อสารข้อมูลทิศทางของการสื่อสารข้อมูล • แบบทิศทางเดียว (Simplex Transmission) ผู้ส่งสามารถส่งข้อมูลได้เพียงทางเดียวเท่านั้น ผู้รับไม่สามารถส่งข้อมูลตอบกลับมาได้เช่น การกระจายเสียงทางวิทยุและการแพร่ภาพทางโทรทัศน์ เป็นต้น • แบบทางใดทางหนึ่ง (Half-duplex Transmission) แต่ละฝ่ายสามารถรับ – ส่งข้อมูลได้แต่จะไม่สามารถทำได้ในเวลาเดียวกันเช่น การใช้วิทยุสื่อสารของตำรวจ กระดานสนทนา (Web board) อีเมล์ เป็นต้น • แบบสองทิศทาง (Full-duplex Transmission) สามารถรับส่ง – ข้อมูลได้พร้อมกันทั้งสองทางตัวอย่างเช่น การคุยโทรศัพท์ การสนทนาออนไลน์ในห้องสนทนา (Chat Room) เป็นต้น

  20. ทิศทางของการสื่อสารข้อมูล (ต่อ)

  21. ลองคิดดู ? 1 2 3

More Related