1 / 55

กฎหมายที่ใช้บังคับในปัจุบัน

ค่าเช่าบ้าน โดย พ.ต.ต.หญิง กาญจนา สงวนเขียว สว. งานงบดำเนินงาน 3 ฝ่ายการเงิน 2 โทร. 02-205-2103,02-205-2339. กฎหมายที่ใช้บังคับในปัจุบัน. พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. 2547 หนังสือเวียน ด่วนทีสุด ที่ กค 0409.5/ ว 32 ลง 19 มกราคม 2548

herman-neal
Télécharger la présentation

กฎหมายที่ใช้บังคับในปัจุบัน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ค่าเช่าบ้านโดย พ.ต.ต.หญิง กาญจนา สงวนเขียวสว. งานงบดำเนินงาน 3 ฝ่ายการเงิน 2โทร. 02-205-2103,02-205-2339

  2. กฎหมายที่ใช้บังคับในปัจุบัน • พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. 2547 • หนังสือเวียน ด่วนทีสุด ที่ กค 0409.5/ ว 32 ลง 19 มกราคม 2548 • พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 • หนังสือเวียน ที่ กค 0409.5/ ว 450 ลง 27 ธันวาคม 2550 • ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับ การเบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. 2549 • หนังสือเวียน ด่วนทีสุด ที่ กค 0409.5/ ว 162 ลง 10 พฤศจิกายน 2550 • หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการจัดข้าราชการเข้าพักอาศัยในที่พัก ของทางราชการ • หนังสือเวียน ที่ กค 0409.5/ ว 2 ลง 29 มกราคม 2550

  3. บุคคลผู้มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านตามกฎหมายนี้บุคคลผู้มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านตามกฎหมายนี้ 1.ข้าราชการพลเรือน 2.ข้าราชการฝ่ายตุลาการ 3.ข้าราชการอัยการ 4.ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย 5.ข้าราชการฝ่ายรัฐสภา 6.ข้าราชการตำรวจ 7.ข้าราชการทหาร 8.ข้าราชการครู

  4. คำนิยามตามกฏหมายที่สำคัญคำนิยามตามกฏหมายที่สำคัญ “เงินเดือน” หมายความว่า เงินเดือนสุทธิที่ข้าราชการได้รับ ทั้งนี้ เมื่อหักเงินเบิกลดเนื่องจาก การปรับชั้นเงินเดือนออกแล้ว และรวมกับเงินเพิ่มพิเศษรายเดือน สำหรับค่าวิชา (พ.ค.ว.) หรือเงินเพิ่มการเลื่อนฐานะ (พ.ล.ฐ.) หรือสำหรับประจำตำแหน่งที่ต้องฝ่าอันตรายเป็นปกติหรือสำหรับ การสู้รบ (พ.ส.ร.)

  5. การพิจารณาว่าเป็นการย้ายต่างท้องที่หรือไม่ การพิจารณาว่าเป็นการย้ายต่างท้องที่หรือไม่ คำนิยามว่า “ท้องที่” คือ 1.กรุงเทพมหานคร 2. กรณีเป็นต่างจังหวัดคือ อำเภอ กิ่งอำเภอ 3.ท้องที่ที่กระทรวงการคลังกำหนดให้เป็นท้องที่เดียวกันตามมาตรา ๕ ยังไม่มีเคยกำหนด

  6. การเกิดสิทธิได้รับค่าเช่าบ้าน มี 2 กรณี 1.ข้าราชการได้รับคำสั่งให้เดินทางเฉพาะบุคคล ตามมาตรา 7 2. ข้าราชการได้รับคำสั่งให้เดินทางทั้งสำนักงาน ตามมาตรา 8

  7. การเกิดสิทธิได้รับค่าเช่บ้าน กรณีที่ 1 • มาตรา7แห่งพรฎ 2547 ข้าราชการผู้ใดได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานในต่างท้องที่มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการเท่าที่ต้องจ่ายจริงตามที่สมควรแก่สภาพแห่งบ้าน แต่อย่างสูงไม่เกินจำนวนเงินที่กำหนดไว้ตามบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ ทั้งนี้ เว้นแต่ผู้นั้น • (1) ทางราชการได้จัดที่พักอาศัยให้อยู่แล้ว • (2) มีเคหสถานอันเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเองหรือคู่สมรสในท้องที่ที่ไปประจำสำนักงานใหม่ โดยไม่มีหนี้ค้างชำระกับสถาบันการเงิน • (3) ได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานใหม่ในท้องที่ที่เริ่มรับราชการครั้งแรกหรือท้องที่ที่กลับเข้ารับราชการใหม่ถูกยกเลิกโดยพรฎ ฉ 2 2551 วันที่ 11 ธันวาคม 2550 • (4) ได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานใหม่ในต่างท้องที่ตามคำร้องขอของตนเอง

  8. มาตรา 3แห่งพรฎ ฉบับที่ 2 2550แก้ไขมาตรา 7 ที่ (1) ทางราชการได้จัดที่พักอาศัยให้อยู่แล้ว มาตรา 7 ข้าราชการผู้ใดได้รับคำสั่งให้เดินทาง ไปประจำสำนักงาน ในต่างท้องที่มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการเท่าที่ต้องจ่ายจริงตามที่สมควรแก่สภาพแห่งบ้าน แต่อย่างสูงไม่เกินจำนวนเงินที่กำหนดไว้ตามบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ ทั้งนี้ เว้นแต่ผู้นั้น (2) มีเคหสถานอันเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเองหรือคู่สมรสในท้องที่ที่ไปประจำสำนักงานใหม่โดยไม่มีหนี้ค้างชำระกับสถาบันการเงิน (3) ได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานใหม่ในต่างท้องที่ตาม คำร้องขอของตนเอง ความในวรรคหนึ่ง ให้ใช้บังคับแก่ข้าราชการผู้ได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานในต่างท้องที่ ที่เป็นท้องที่ที่เริ่มรับราชการครั้งแรกหรือท้องที่ที่กลับเข้ารับราชการใหม่ด้วย

  9. จังหวัดนครราชสีมา กรุงเทพ ไม่กำหนดระยะเวลา หรือ 1 ปี อ.เมือง สาธร อ.สีคิ้ว บางแค อ.วังน้ำเขียว บางเขน 9 เดือน ดอนเมือง มีนบุรี

  10. มาตรา 7 แห่งพรฎ ฉบับที่ 2 2550 สิทธิของข้าราชการผู้ที่ได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานในท้องที่ที่เริ่มรับราชการครั้งแรกหรือท้องที่ที่กลับเข้ารับราชการใหม่ ให้เริ่มมีสิทธิการได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการเมื่อได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานในต่างท้องที่ตั้งแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้มีผลใช้บังคับ มีผลใช้บังคับวันที่วันที่ 11 ธันวาคม 2550 ย้ายกลับมาในท้องที่บรรจุครั้งแรกก่อนวันที่ 11 ธค 50 ไม่เกิดสิทธิ ย้ายกลับมาในท้องที่บรรจุครั้งแรกหลังวันที่ 11 ธค 50 เกิดสิทธิ 11 ธค 50

  11. การพิจาณาคำร้องขอย้ายของตนเอง มาตรา 7 (3) • การร้องขอย้ายไปในท้องที่ใด จังหวัดใด สำนักงานใดแล้วส่วนราชการมีคำสั่งให้ย้ายตามคำร้องที่ประสงค์ ย่อมให้ไม่เกิดสิทธิค่าเช่าบ้าน เว้นแต่เป็นการย้ายไปไม่ตรงกับที่ได้แจ้งความประสงค์ไว้ • การร้องขอย้ายที่ต้องห้ามตามมาตรา 7 (3) พิจารณาตามข้อเท็จจริง ซึ่งการที่คำสั่งย้ายไม่ได้ระบุว่าเป็นการย้ายตามคำร้อง แต่ข้อเท้จจริงมีการร้องขอย้ายที่เกิดจากตัวข้าราชการ ย่อมไม่เกิดสิทธิค่าเช่าบ้าน • การโอนไปรับราชการอีกส่วนราชการหนึ่งไม่ถือเป็นการย้ายตามคำร้องขอของตนเองทุกกรณี เว้นแต่การโอนนั้นตนเองได้สละสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านตามหนังสือเวียน ด่วนที่สุด ที่ กค 0526.5/ว 109 ลว 20 ธ.ค. 2542 • การสอบเลื่อนระดับ แล้วให้แจ้งความประสงค์เลือกท้องที่ไม่ถือเป็นการร้องของย้าย • ร้องขอย้ายในท้องที่เดิมสิทธิไม่เปลี่ยน

  12. ประเด็นสำคัญ มาตรา 7 • ข้าราชการขอลาออกไปประกอบธุรกิจของตนเองแล้วกลับเข้ารับราชการใหม่หน่วยงานเดิมหรือหน่วยงานใหม่ สิทธิยังไม่เกิด • ลักษณะของค่าเช่าบ้าน แยกจากค่าไฟฟ้า น้ำ เฟอร์นิเจอร์ • ท้องที่ที่ตั้งสำนักงานชั่วคราวเป็นท้องที่ที่ข้าราชาการรับราชการประจำด้วยสามารถเบิกค่าเช่าบ้านได้ • มีหรือใช้สิทธิเบิกค่าเช่าบ้านในท้องที่เดียวกับที่มีบ้านของบิดามารดา หากต่อมาบิดาหรือมารดาเสียชีวิต ไม่ได้ทำพินัยกรรมในเรื่องบ้านไว้ บ้านจะตกทอดเป็นมรดกแก่ทายาท ข้าราชการหมดสิทธิเบิกค่าเช่าบ้าน ด่วนมาก ที่ กค 0526.5/ ว 25 31 มี.ค. 2543

  13. หนังสือเวียน ด่วนที่สุด 0409.5/ ว 19 13 มี.ค. 2549 • ข้าราชการร้องขอย้ายก่อน 26 มิ.ย.41 ให้ดูว่า ก่อน 26 มิ.ย.41 ไม่ติดข้อต้องห้าม ก็ให้มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านได้ต่อไปจนกว่าจะหมดสิทธิ เช่น ต่อมาถูกจัดบ้านพักหลัง 26 มิ.ย. 41 แล้วภายหลังถูกจัดออกอีกก็มีสิทธิเบิกได้ต่อไป • แต่กรณีข้าราชการรายใดก่อนวันที่ 26 มิ.ย. 41 ติดข้อต้องห้าม แม้ต่อมาหลัง 26 มิ.ย. 41 ไม่ได้จัดบ้านพักให้ ก็ยังคงไม่มีสิทธิเบิกเพราะติดหลักการร้องขอย้ายของตนเอง ประเด็นนี้มีความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องเสร็จที่ 139/2544 • กรณีจัดบ้านพักให้แก่คู่สมรส ที่อยู่คนละส่วนราชการ ไม่ถือว่าข้าราชการถูกจัด แม้วันที่26 มิ.ย. 41 จะอยู่บ้านพักของคู่สมรสด้วย

  14. มาตรา 14 • ให้ข้าราชการมีสิทธิได้รับเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการตั้งแต่วันที่ข้าราชการ ผู้นั้นได้เช่าอยู่จริง แต่ไม่ก่อนวันที่รายงานตัวเพื่อเข้ารับหน้าที่ • ให้สิ้นสุดในวันที่ขาดจากอัตราเงินเดือนหรือวันที่อยู่ในข่ายหมดสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการตามพระราชกฤษฎีกานี้ • ถ้าผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ไปรับราชการในท้องที่อื่นไม่สามารถออกเดินทางไปได้ในวันที่ส่งมอบหน้าที่ให้มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการต่อไปอีกไม่เกินสิบวันนับแต่วันส่งมอบหน้าที่ เว้นแต่มีความจำเป็นจะต้องอยู่ต่อไปอีก ให้เบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการต่อไปได้เท่าที่จำเป็นโดยได้รับ การอนุมัติจากผู้ออกคำสั่งแต่งตั้ง

  15. ประเด็นสำคัญมาตรา 14 • ทำสัญญาเช่าก่อนไปรายงานตัว ช่วงก่อนไปรายงานตัวเบิกไม่ได้ • รายงานตัวกับหน่วยงานแล้ว แต่ยังไม่ได้เช่าบ้าน ก็ไม่มีสิทธิมาเบิกเงินค่าเช่าบ้านจากทางราชการ • ไม่ได้อยู่จริงเพราะพฤติกรรมพิเศษ สามารถเบิกต่อไปได้ วันที่ขาดจากอัตราเงินเดือนหรือวันที่ที่อยู่ในข่ายหมดสิทธิได้รับค่าเช่าบ้าน เช่น • วันที่ได้รับแต่งตั้งให้ไปดำรงตำแหน่งใหม่ โดยขาดจากอัตราเงินเดือนเดิม และไปตั้งเบิกเงินเดือน ณ สำนักงานเบิกเงินเดือนแห่งใหม่ • วันถัดจากวันที่ข้าราชการถึงแก่ความตาย • วันพ้นจากราชการตามกฎหมายบำเหน็จบำนาญ • วันที่ได้รับอนุญาตให้ออกจากราชการ • วันที่ผ่อนชำระบ้านหมดตามนัยมาตรา 17 • วันที่ไปทำงานองค์กรระหว่างประเทศ แม้บางกรณีจะสามารถให้นับระยะเวลาราชการเหมือนเต็มเวลาราชการได้ก็ตาม ถือว่าขาดจากอัตราเงินเดือนตั้งแต่วันที่มีคำสั่งให้ออกจากราชการ

  16. หลักเกณฑ์การเบิกค่าเช่าซื้อบ้านมาตรา 17 • ข้าราชการต้องมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้าน • ได้เช่าซื้อหรือผ่อนชำระเงินกู้เพื่อชื้อบ้าน • ต้องเป็นบ้านที่ตั้งอยู่ในท้องที่ที่ไปประจำสำนักงานใหม่ หรือที่ทำงาน • ต้องใช้เป็นที่อยู่อาศัยและได้อาศัยอยู่จริง

  17. เงื่อนไขการใช้สิทธิเบิกค่าเช่าชื้อเงื่อนไขการใช้สิทธิเบิกค่าเช่าชื้อ (1) ตนเอง หรือคู่สมรส ได้ทำการผ่อนชำระค่าเช่าซื้อหรือผ่อนชำระเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้านในท้องที่นั้น จะเบิกจ่ายได้เฉพาะบ้านหลังแรกเท่านั้น เว้นแต่บ้านหลังที่เคยใช้สิทธิถูกทำลายหรือเสียหายเนื่องจากภัยพิบัติจนไม่สามารถพักอาศัยอยู่ได้ ม. 17 (1) (2) หากเช่าซื้อหรือกู้เงินเพื่อชำระราคาบ้านร่วมกับบุคคลอื่นซึ่งไม่ใช่คู่สมรสและมีกรรมสิทธิ์รวมกับบุคคลอื่นในบ้านนั้น จะเบิกจ่ายค่าเช่าซื้อหรือค่าผ่อนชำระเงินกู้ได้ตามสัดส่วนแห่งกรรมสิทธิ์สำหรับบ้านหลังดังกล่าว ม. 17 (2)

  18. เงื่อนไขการใช้สิทธิเบิกค่าเช่าชื้อ ต่อ • (3) จะต้องเป็นการผ่อนชำระกับสถาบันการเงิน และสัญญาต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด • (4) จะต้องไม่เคยใช้สิทธินำหลักฐานการชำระค่าเช่าซื้อหรือค่าผ่อนชำระเงินกู้สำหรับบ้านหลังหนึ่งหลังใดในท้องที่นั้นมาแล้ว เว้นแต่เป็นกรณีที่ได้รับแต่งตั้งให้กลับไปรับราชการในท้องที่ที่เคยใช้สิทธินั้นอีก และเป็นการใช้สิทธินำหลักฐานการชำระค่าเช่าซื้อหรือค่าผ่อนชำระเงินกู้ตามที่ได้เคยใช้สิทธิมาแล้ว หรือขณะที่ย้ายมารับราชการในท้องที่นั้นบ้านที่เคยใช้สิทธิได้โอนกรรมสิทธิ์ไปแล้ว • (5) หากเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้านสูงกว่าราคาบ้าน ให้นำค่าผ่อนชำระเงินกู้มาเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการได้ โดยให้คำนวณตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด

  19. เงื่อนไขการใช้สิทธิเบิกค่าเช่าชื้อ ต่อ • ให้นำบทบัญญัติมาตรา 9 ถึงมาตรา 14 มาใช้บังคับกับการเช่าซื้อหรือการผ่อนชำระเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้านโดยอนุโลม

  20. ประเด็นสำคัญมาตรา 17 • ซื้อบ้านแล้วยังไม่ได้เข้าอยู่จริง สามารถเบิกค่าเช่าบ้านมาตรา 7 ได้ต่อไป จนกว่าจะใช้สิทธิเบิกค่าเช่าซื้อมาตรา 17 หนังสือ 0526.5/ว25 ลง 31 มี.ค.43 • ใช้สิทธิเบิกค่าเช่าซื้ออยู่ สามารถนำบ้านออกให้เช่าได้ ผู้เช่าสามารถนำหลักฐานการเช่ามาเบิกค่าเช่าบ้านได้ด้วย • ซื้อคอนโด 2 ห้องเจาะทะลุฝาเป็นที่อยู่อาศัยในลักษณะ 1 หลัง เบิกได้ในวงเงินที่ซื้อ 2 ห้อง ทำสัญญาในคราวเดียวกันและสัญญาซื้อขายฉบับเดียวกัน

  21. ประเด็นสำคัญ • บ้านเป็นสินส่วนตัวของภริยา นับเป็นบ้านหลังแรก ข้าราชการเบิกไม่ได้ เนื่องจากไม่มีกรรมสิทธิ์ในบ้านหลังนั้น • ซื้อบ้าน 2 หลังมาในคราวเดียวกัน เลือกหลังใดหลังหนึ่ง แต่ถ้าเป็นซื้อช่วงเช่าและบ่าย ถือว่าคนละคราวเดียวกัน

  22. ประเด็นสำคัญมาตรา 17 ต่อ • เบิกย้อนหลังส่วนที่ขาดได้ หนังสือ ด่วนที่สุด 0409.5/ ว 15 ลว 6 ก.พ. 2547 และ ว 49 พ.ศ.2534 • คู่สมรสมีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านทั้งคู่ในท้องที่เดียวกัน เบิกค่าเช่าซื้อได้คนเดียว ต่อมาฝ่ายหนึ่งย้ายไปในท้องที่อื่นและมีสิทธิ สามารถใช้สิทธิเช่าซื้อต่อเนื่อง มาตรา 18และอีกฝ่ายหนึ่งสามารถให้สิทธิเช่าซื้อในท้องนั้นมาตรา 7ได้ต่อไป

  23. ประเด็นสำคัญมาตรา 17 ต่อ • กู้เงินสร้างบ้านหลายครั้ง ยังไม่เสร็จในคราวเดียว ให้ถือจำนวนเงินค่าสร้างจนถึงวันที่เข้าอยู่อาศัยบ้านหลังนั้นจริงเป็นหลัก ไม่ว่าจะกู้ครั้งเดียวหรือหลายครั้ง แต่การกู้ภายหลังจากสร้างบ้านเสร็จแล้ว ไม่ใช้การกู้เงินเพื่อชำระราคาบ้าน ด่วนมาก 0502/ ว 49 ลง 29 มี.ค.2534 • กรณีมีสัดส่วนของกรรมสิทธิ์เกิดขึ้น จะเป็นกรณีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านต่ำกว่าต่ำกว่าสัญญากู้เงิน ต้องสถาบันการเงินคำนวณ เช่น ราคาบ้าน 1 ล้าน กู้เงิน 1 ล้าน มีกรรมสิทธิ์ 2 คน คนละครึ่ง ต้องให้ธนาคารคำนวณหากกู้เงิน 5 แสนบ้าน จะต้องผ่อนชำระเดือนละเท่าไร (ระเบียบข้อ 7)

  24. ประเด็นสัดส่วนกรรมสิทธิ์ประเด็นสัดส่วนกรรมสิทธิ์ • กรณีข้าราชการซื้อบ้านที่มีกรรมสิทธิ์ 3 คน คือ สามี ภริยา และบิดา หลังโฉนดที่ดิน การแบ่งสัดส่วนกรรมสิทธิ์ข้าราชการในการเบิกค่าเช่าซื้อ คิดเป็น ⅔ และฝ่ายบิดา⅓ • กรณีข้าราชการซื้อบ้านที่มีกรรมสิทธิ์ 2 ฝ่าย คือ กรณีที่สามีหรือภริยาเพียงฝ่ายเดียวทำสัญญาร่วมกับบิดา การแบ่งสัดส่วนกรรมสิทธิ์คิดเป็น ½

  25. ประเด็น • มาตรา 17 (5) ราคาบ้านต่ำกว่าสัญญากู้เงิน ต้องให้สถาบันการเงินคำนวณ ตามระเบียบข้อ 7 ตัวอย่าง • ซื้อบ้าน 9 แสน กู้เงินจริง 7 แสน ระยะเวลา 20 ปี ผ่อนเดือนละ 5 พัน มีสิทธิ 3 บ้าน สรุปเบิกได้ 7 แสน ระยะเวลา 20 ปี เดือนละ 3 พัน • ซื้อบ้านราคาจริง 5 แสน ทำสัญญาซื้อขายต่อที่ดิน 1 แสน สิทธิ 3 พัน ต้องให้ธนาคารคำนวณ ซึ่งหากคำนวณได้เดือนละ 2,500 บาท ก็เบิกได้ 2,500 บาท • ซื้อต่ำกว่ากู้ ยึด วงเงินการซื้อขายเป็นหลัก • กู้ต่ำกว่าซื้อ ยึก วงเงินกู้เป็นหลัก

  26. ประเด็นสำคัญ • จดทะเบียนหย่าแล้วยกบ้านให้คู่สมรสหรือบุตรหมดสิทธิได้รับค่าเช่าบ้าน • คู่สมรสของข้าราชการทำสัญญาซื้อขายบ้านในระหว่างสมรสเพียงฝ่ายเดียว ข้าราชการนำหลักฐานมาเบิก ค่าเช่าซื้อได้ โดยแสดงหลักฐานการสมรส ตามระเบียบ ข้อ 21

  27. หลักเกณฑ์การใช้สิทธิเช่าชื้อต่อเนื่องมาตรา 18 • ในท้องที่เดิมข้าราชการต้องเคยได้ใช้สิทธินำหลักฐานการชำระค่าเช่าซื้อฯ มาเบิกค่าเช่าบ้านตามมาตรา 17 • ย้ายไปในท้องที่ใหม่ตนเองมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้าน • มีสิทธินำหลักฐานในท้องที่เดิมมาเบิกค่าเช่าบ้านในท้องที่ใหม่ได้

  28. ประเด็นสำคัญมาตรา 18 • หากเป็นกรณีมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านและได้ซื้อแต่ยังไม่นำมาเบิก ต่อมาเมื่อได้ย้ายไปต่างท้องที่ สามารถนำสิทธิในที่เดิมมาเบิกในที่ใหม่ได้ตามระเบียบข้อ18 และข้อ 19 แต่จะใช้สิทธิเช่าซื้อต่อเนื่องตามมาตรา 18

  29. การเกิดสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านกรณีสำนักงานย้ายการเกิดสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านกรณีสำนักงานย้าย • มาตรา 8 ข้าราชการผู้ใดต้องไปปฏิบัติราชการประจำสำนักงานในต่างท้องที่เนื่องจากสำนักงานที่ปฏิบัติราชการประจำอยู่เดิมได้ย้ายสถานที่ทำการไปตั้งในท้องที่ใหม่มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการตามพระราชกฤษฎีกานี้เช่นเดียวกับข้าราชการซึ่งได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานในต่างท้องที่ตามมาตรา 7 เว้นแต่ท้องที่ใหม่ที่สำนักงานได้ย้ายไปนั้นอยู่ใกล้เคียงกับท้องที่ที่ตั้งสำนักงานเดิมตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด อธิบาย หากส่วนราชการใดย้ายสำนักงานไปตั้งในท้องที่ใหม่ข้าราชการทั้งสำนักงานจะเกิดสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านถ้าติดข้อต้องห้ามที่ทำให้ไม่เกิดสิทธิ เว้นแต่ท้องที่ที่สำนักงานย้ายไปเป็นท้องที่ใกล้เคียงตามหลักเกณฑ์ข้างต้น อย่างไรก็ตามแม้ว่ากรณีดังกล่าวข้าราชการของสำนักงานที่ย้ายไปจะไม่เกิดสิทธิได้รับค่าเช่าบ้าน แต่ไม่ตัดสิทธิข้าราชการผู้ที่มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านอยู่ในท้องที่เดิมอยู่ก่อนแล้วเว้นแต่จะเข้าข้อต้องห้ามตามมาตรา 7 ในท้องที่ใหม่

  30. ท้องที่ใกล้เคียงของกรุงเทพฯท้องที่ใกล้เคียงของกรุงเทพฯ เมื่อย้ายสำนักงานไปไม่ทำให้เกิดสิทธิ ๑.จังหวัดนนทบุรี ๑.๑ อำเภอเมืองนนทบุรี ๑.๒อำเภอบางกรวย ๑.๓อำเภอบางบัวทอง ๑.๔อำเภอบางใหญ่ ๑.๕อำเภอปากเกร็ด ๒. จังหวัดปทุมธานี ๒.๑อำเภอเมืองปทุมธานี ๒.๒อำเภอคลองหลวง ๒.๓อำเภอธัญบุรี ๒.๔อำเภอลำลูกกา ๓.จังหวัดสมุทรปราการ ๓.๑อำเภอเมืองสมุทรปราการ ๓.๒อำเภอบางบ่อ ๓.๓อำเภอบางพลี ๓.๔อำเภอพระประแดง ๓.๕อำเภอพระสมุทรเจดีย์ ๔.จังหวัดสมุทรสาคร ๔.๑อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดนครปฐม ๕.๑อำเภอพุทธมณฑล

  31. หลักเกณฑ์ท้องที่ใกล้เคียงกรณีต่างจังหวัดหลักเกณฑ์ท้องที่ใกล้เคียงกรณีต่างจังหวัด • กรณีสำนักงานได้ย้ายที่ตั้งสำนักงานภายในจังหวัดเดียวกันหรือระหว่างจังหวัดจะต้องเป็นท้องที่ติดต่อกันและมียานพาหนะประจำทางให้บริการ

  32. มาตรา 9 • ข้าราชการผู้ใดไม่มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการเพราะเหตุที่มีเคหสถานอันเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเองหรือคู่สมรสตามมาตรา 7(2) แม้ว่ากรรมสิทธิ์ในเคหสถานได้โอนไปด้วยเหตุใด ก็ไม่ทำให้เกิดสิทธิที่จะได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการในระหว่างรับราชการในท้องที่นั้น เว้นแต่เคหสถานนั้นถูกทำลายหรือเสียหายเนื่องจากภัยพิบัติจนไม่สามารถพักอาศัยอยู่ได้ -รวมทั้งการถูกเวียนคืนที่ดินก็ไม่เกิดสิทธิ -คู่สมรสมีบ้านสินส่วนตัวอยู่ในท้องที่ที่ข้าราชการรับราชการ ขายออกไป ข้าราชการก็ไม่เกิดสิทธิได้รับค่าเช่าบ้าน

  33. มาตรา 10 • ข้าราชการและคู่สมรสรับราชการในท้องที่เดียวกันและ ต่างก็มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านให้เบิกจ่ายได้เฉพาะคนใดคนหนึ่ง • ข้าราชการผู้ใดมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการตาม พระราชกฤษฎีกานี้และมีคู่สมรสเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานคร พนักงานส่วนท้องถิ่น หรือพนักงานหรือลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจ ถ้าคู่สมรสของผู้นั้นได้ใช้สิทธิเบิกค่าเช่าบ้านหรือข้าราชการผู้นั้นได้อยู่ในที่พักอาศัยที่ทางราชการจัดให้แก่คู่สมรสในท้องที่เดียวกัน ข้าราชการผู้นั้นไม่มีสิทธิ

  34. มาตรา 12 • การลดหรืองดเบิกจ่ายเงินเดือนแก่ข้าราชการผู้ใด เนื่องจากการถูกตัดเงินเดือนหรือ การลาโดยไม่มีสิทธิได้รับเงินเดือน • ไม่กระทบต่อสิทธิของผู้นั้นที่จะได้รับค่าเช่าบ้าน • ให้มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการเสมือนหนึ่งไม่มีการลดหรืองดเบิกจ่ายเงินเดือน • เว้นแต่เป็นการลาติดตามคู่สมรสซึ่งย้ายไปรับราชการในต่างประเทศ • การลาไปศึกษาต่อ ไม่ใช้การได้รับคำสั่งให้เดินทางไปต่างท้องที่ • ไปเช่าบ้านที่อื่นที่ไม่ใช่ในท้องที่เคยปฏิบัติงานไม่ได้ • (ถ้าอ้างว่าเดินทางไปกลับที่ทำงานได้ เบิกได้หรือไม่) • - ถ้ายังคงมีความจำเป็นต้องเช่าเก็บสัมภาระ หรือครอบครัวไม่ได้ย้ายไปอยู่ด้วยเบิกได้ • - แต่ให้ผู้อื่นเช่าช่วงรอรับส่วนต่างเบิกไม่ได้เพราะเป็นกรณีไม่มีความเดือนร้อนในเรื่องที่อยู่อาศัย

  35. มาตรา 13 ข้าราชการผู้ใดซึ่งมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการถูกสั่งพักราชการหรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน หรือมีกรณีอื่นใดอันเป็นเหตุให้ถูกงดเบิกจ่ายเงินเดือนให้งดเบิกจ่ายค่าเช่าบ้านข้าราชการ เมื่อกรณีถึงที่สุด ถ้าปรากฏว่าผู้นั้นมีสิทธิได้รับเงินเดือนในระหว่างกรณีเช่นว่านั้นสำหรับเดือนใด ให้มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้าน -กรณีถูกไล่ออกแล้วอุทธรณ์ผ่านไม่ถือว่าเป็นการกลับเข้ารับราชการใหม่ ตามหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ กค 0409.5/ ว 87 ลง 30 กรกฎาคม 2547

  36. มาตรา 15 • ในกรณีที่ข้าราชการซึ่งได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการอยู่แล้วในท้องที่หนึ่งและต่อมาได้รับแต่งตั้งให้ไปรับราชการในท้องที่อื่นซึ่งตนมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ให้ข้าราชการผู้นั้นมีสิทธินำหลักฐานการชำระค่าเช่าบ้านในท้องที่เดิมมาเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการในท้องที่ใหม่ได้ ถ้าคู่สมรสหรือบุตรซึ่งอยู่ในอุปการะของข้าราชการผู้นั้นไม่อาจติดตามข้าราชการผู้นั้นไปได้ และมีความจำเป็นต้องอาศัยอยู่ในบ้านในท้องที่เดิมต่อไป • ใช้ หลักเกณฑ์หนังสือเวียน ด่วนที่สุด ที่ กค 0409.5/ ว 15 ลว 6 ก.พ. 47 ประเด็น 4 ได้หรือไม่ ซึ่ง ว 15 เป็นกรณีทางราชการกลับแนววินิจฉัย

  37. หลักเกณฑ์การจัดบ้านพัก ว 2 • ความเป็นมา มติ คณะรัฐมนตรี วันที่ 8 เม.ย. 2546 สรุปได้ว่า กรณี ศธ เสนอให้ไม่ต้องจัดให้กับผู้ที่เบิกค่าเช่าซื้ออยู่ ซึ่มติเห็นควรให้ไม่ต้องจัดให้กับผู้เช่าซื้อไปพลางก่อนในระหว่างรอผลการศึกษา ของ กค และให้ กค ร่วมกับ กพ.กพร รับไปพิจารณาทั้งระบบ ให้เชิญผู้แทน ปปช และ สตง มาร่วมพิจารณาให้เสร็จภายใน 6 เดือน เป็นที่มา ว7

  38. การกำหนดที่พักสำหรับข้าราชการระดับใด เป็นอำนาจของใคร ?- เป็นอำนาจของผู้มีอำนาจจัดที่พัก ของส่วนราชการ 3

  39. หลักเกณฑ์ในการใช้ดุลพินิจกำหนดที่พักของทางราชการหลักเกณฑ์ในการใช้ดุลพินิจกำหนดที่พักของทางราชการ ความจำเป็นและเหมาะสม ความประหยัดและประโยชน์ของ ทางราชการเป็นสำคัญ สามารถปรับเปลี่ยนได้ (ข้อ 3 วรรคแรก) 4

  40. ขั้นการจัดบ้านพัก • กำหนดคุณสมบัติผู้มีสิทธิในบ้านพักแต่ละหน่วย • จัดข้าราชการเข้าพัก

  41. รูปแบบการกำหนดคุณสมบัติผู้มีสิทธิเข้าพักรูปแบบการกำหนดคุณสมบัติผู้มีสิทธิเข้าพัก • แบ่งตามระดับ ซี หรือ ชั้นยศ • กำหนดตามตำแหน่งบริหาร เช่น ผวจ นายอำเภอ ผู้ช่วยต่างๆ • กำหนดแบบทั่วไป ทุกหน่วยสามารถจัดทุกคนเข้าพักได้ • กำหนดตามลักษณะพิเศษของข้าราชการแต่ละคน เช่น ลักษณะครอบครัว สภานภาพสมรส

  42. การจัดข้าราชการเข้าพักแบ่งเป็น 2 กรณี กรณีที่ 1 ข้าราชการระดับ 7 ขึ้นไปหรือเทียบเท่า (ข้าราชการทหารตำรวจ ยศชั้นพันโท) เมื่อถูกจัดต้องเข้าอยู่ • เป็นข้าราชการระดับ 7 มีบ้านพักที่กำหนดระดับ 7 หรือสามารถจัดระดับ 7 เข้าพักได้ • ไม่ว่าข้าราชการผู้จะมีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านหรือไม่สามารถเข้าบ้านพักได้ • ไม่ว่าจะเป็นผู้ใช้สิทธิเบิกค่าเช่าซื้ออยู่ก่อนแล้วหรือไม่ • หากเป็นบ้านพักกำหนดแบบทั่วไป c7 ที่มีไม่มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้าน จะเรียกร้องบ้านพักไม่ได้ ทั้งนี้เพราะการตัดสินใจให้ข้าราชการผู้ใดเข้าอยู่เป็นอำนาจของผู้มีสิทธิจัดบ้านพักเป็นผู้พิจารณา กรณีดังกล่าวบ้านพักสำหรับ c7 ยังไม่ได้ถูกกำหนดไว้อย่างแน่นอนว่าหลังใด

  43. การจัดข้าราชการเข้าบ้านพักกรณีที่ 2 ข้าราชการ c6 ลงมาหรือเทียบเท่า • จัดผู้มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านเป็นหลัก ผู้ไม่มีสิทธิจัดให้อยู่ชั่วคราว • ถ้าเป็นผู้ใช้สิทธิเช่าซื้ออยู่ ไม่ต้องจัด • ย้ายภายในท้องที่ที่เช่าซื้ออยู่ไม่ต้องจัดเข้า • ย้ายต่างท้องที่จัดเข้าบ้านพักได้ แม้ท้องที่เดิมเคยใช้สิทธิเบิกค่าเช่าซื้อ แต่ถ้าได้ใช่สิทธิมาตรา 17 หรือ 18 ในท้องที่ใหม่แล้วไม่ต้องจัดเข้าบ้านพัก ←

  44. สละบ้านพักหมดสิทธิได้รับค่าเช่าบ้าน ข้อ 3 (6) วรรคสอง ลักษณะการสละบ้านพัก • จัดบ้านพักให้แล้ว ไม่ได้เข้าใช้ประโยชน์ไม่พักอาศัยในที่อื่น • แจ้งเหตุผลขอออกจากบ้านพัก ยังไม่ได้รับผลการพิจารณาให้ออกหรือไม่ ได้ออกจากบ้านพักไปก่อน สิทธิกลับคืนมาเมื่อรื้อถอนทั้งหมด ข้อ 5 หรือจัดใหม่ทั้งหมด ข้อ 10 ข้าราชการที่สละบ้านพักไม่มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้าน ภายหลังสามารถขอเข้าบ้านพักได้ ถ้าบ้านพักว่าง แต่เป็นการจัดบ้านพักลักษณะชั่วคราว ข้อ 4 ←

  45. ประเด็นสำคัญ • จัดให้กับข้าราชการผู้ไม่มีสิทธิเป็นการจัดชั่วคราว ข้อ 4 • จัดบ้านพักให้ก่อนหลักเกณฑ์ ว 7 วันที่ 20 มกราคม 2547 ไม่ว่ามีสิทธิหรือไม่ อยู่ได้ต่อไปจนกว่าจะย้ายหรือพ้นจากตำแหน่ง ข้อ 9 • การจัดบ้านพักใหม่ทั้งหมดตามหลักเกณฑ์ข้อ 10 ←

  46. ระเบียบการเบิกเงินค่าเช่าบ้านระเบียบการเบิกเงินค่าเช่าบ้าน ระเบียบ กค ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้าน ข้าราชการ พ.ศ. 2549 การเบิกจ่ายค่าเช่าบ้านแบ่งเป็น 2 กรณี • กรณีปกติหรือข้าราชการทำงานในสำนักงานตรงกับสำนักเบิกเงินเดือน • กรณีข้าราชการทำงานต่างสำนักเบิกเงินเดือน มีขั้นตอนการเบิกจ่ายแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน • การขอใช้สิทธิขอรับเงินค่าเช่าบ้านในครั้งแรก • การขอเบิกเงินค่าเช่าบ้านรายเดือน

  47. กรณีปกติหรือข้าราชการทำงานในสำนักงานตรงกับสำนักเบิกเงินเดือนกรณีปกติหรือข้าราชการทำงานในสำนักงานตรงกับสำนักเบิกเงินเดือน • ขั้นตอนการขอรับเงินค่าเช่าบ้านในครั้งแรก ใช้แบบ 6005 1. ผู้รับรองสิทธิ คือ ผู้บังคับบัญชาที่สำนักงานที่ข้าราชการปฏิบัติราชการ ข้อ 8 2. คณะกรรมการตรวจสอบสิทธิตามข้อ 9 ผู้มีอำนาจแต่งตั้ง คกก คือ บุคคลตามข้อ 10 ที่สำนักงานที่ข้าราชการปฏิบัติราชการ 3. การอนุมัติให้เบิกค่าเช่าบ้านจากทางราชการได้ คือ บุคคลข้อ 10 ที่สำนักงานที่ข้าราชการปฏิบัติราชการ • ขั้นตอนการขอเบิกค่าเช่าบ้านรายเดือน • การรับรองตนเอง • ผู้อนุมัติตามข้อ 10

  48. กรณีข้าราชการทำงานต่างสำนักเบิกเงินเดือนกรณีข้าราชการทำงานต่างสำนักเบิกเงินเดือน • ขั้นตอนการขอรับเงินค่าเช่าบ้านในครั้งแรก ใช้แบบ 6005 1. ผู้รับรองสิทธิ คือ ผู้บังคับบัญชาที่สำนักงานที่ข้าราชการปฏิบัติราชการ ข้อ 8 2. คณะกรรมการตรวจสอบสิทธิตามข้อ 9 ผู้มีอำนาจแต่งตั้ง คกก คือ บุคคลตามข้อ 10 ที่สำนักงานที่เบิกเงินเดือนของข้าราชการ 3. การอนุมัติให้เบิกค่าเช่าบ้านจากทางราชการได้ คือ บุคคลข้อ 10 สำนักงานที่เบิกเงินเดือนของข้าราชการ • ขั้นตอนการขอเบิกค่าเช่าบ้านรายเดือน ใช้แบบ 6006 • การรับรองตนเอง • ผู้อนุมัติคือบุคคลตามข้อ 10 สำนักงานที่เบิกเงินเดือนของข้าราชการ

  49. ประเด็นสำคัญของระเบียบประเด็นสำคัญของระเบียบ • ค่าเช่าบ้านถือเป็นค่าใช้จ่ายเมื่อส่วนราชการได้รับแบบ 6006 ตามข้อ 12 ความสัมพันธ์กับการจัดบ้านพัก • กรณีการยื่นแบบ 6005 ใหม่ตามข้อ 15 มีข้อ 17 เป็นข้อยกเว้น • กรณีซื้อที่ดินหลายแปลง นำมาเบิกได้กี่แปลง • กรณีซื้อบ้านแฝด นำมาเบิกได้กี่หลัง • เบิกจ่ายค่าเช่าบ้านให้ก่อนสิ้นเดือนได้หรือไม่

  50. ประเด็นสำคัญของระเบียบประเด็นสำคัญของระเบียบ • ค้างชำระหลายเดือนกับธนาคาร นำไปจ่ายครั้งเดียวถ้าไม่แยกเดือน จำนวนเงิน เบิกได้เพียงเดือนเดียว ที่ กค 0526.5/ ว 25 30 มี.ค. 2541 • ใบเสร็จรับเงินต้องใช้ต้นฉบับ และให้หมายรวมถึง หลักฐานการจ่ายเงินของธนาคารแต่ไม่ได้ใช่กรณีใบเสร็จหาย ว 6589 14 ก.พ. 2528 • สัญญาเช่าบ้านจะทำในรูปแบบบันทึกหรือข้อตกลงก็ได้ แต่ต้องมีรายการตามระเบียบข้อ 13 (1)

More Related