1 / 20

การขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม ในประเทศ

การขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม ในประเทศ. ฝ่ายบุตรบุญธรรมในประเทศ โดย นางสาว อภิรชญา ชัยติกุล. คุณสมบัติของผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม. คุณสมบัติทางด้านกฎหมาย 1. ต้องมีอายุไม่ ต่ำกว่า 25 ปี และมีอายุ แก่กว่าเด็ก ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม อย่างน้อย 15 ปี

Télécharger la présentation

การขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม ในประเทศ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมในประเทศการขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมในประเทศ ฝ่ายบุตรบุญธรรมในประเทศ โดยนางสาวอภิรชญา ชัยติกุล

  2. คุณสมบัติของผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมคุณสมบัติของผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม • คุณสมบัติทางด้านกฎหมาย 1. ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี และมีอายุแก่กว่าเด็กที่จะเป็นบุตรบุญธรรมอย่างน้อย 15 ปี 2. ต้องเป็นผู้ที่ไม่ต้องห้ามที่จะเป็นผู้ปกครองเด็กตามมาตรา 1587 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ( ได้แก่ - ผู้ที่ศาลสั่งว่าเป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนคนไร้ความสามารถ - ผู้ซึ่งเป็นบุคคลล้มละลาย - ผู้ซึ่งไม่เหมาะสมจะเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์หรือทรัพย์สินของผู้เยาว์ - ผู้ซึ่งมีหรือเคยมีคดีในศาลกับผู้เยาว์ ผู้บพการีหรือพี่น้องร่วมบิดามารดา หรือร่วมบิดาหรือร่วมมารดากับผู้เยาว์ - ผู้ซึ่งบิดาหรือมารดาที่ตายได้ทำหนังสือระบุชื่อห้ามไว้มิให้เป็นผู้ปกครอง )

  3. คุณสมบัติของผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม(ต่อ)คุณสมบัติของผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม(ต่อ) • คุณสมบัติทางด้านสังคม 1. ผู้ขอรับเด็กที่จะเป็นบุตรบุญธรรมไม่ควรมีอายุมากเกินไป หรือห่างจากเด็กที่จะเป็นบุตรบุญธรรมมากเกินไป โดยเฉพาะกรณีขอรับเด็กกำพร้าที่ถูกทอดทิ้ง เป็นบุตรบุญธรรม • 2. เป็นผู้มีสุขภาพสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ • 3. เป็นผู้มีรายได้ และอยู่ในฐานะที่จะอุปการะเลี้ยงดูเด็ก ให้มีสภาพความเป็นอยู่ที่ดี

  4. คุณสมบัติของผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม(ต่อ)คุณสมบัติของผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม(ต่อ) • 4. ต้องมีเวลาดูแลเอาใจใส่เด็ก • 5. ต้องเป็นครอบครัวที่เหมาะสม มีเหตุผลอันสมควร และมีความคิดที่ต่อการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม ตามที่ปรากฏในรายละเอียดของรายงานการศึกษาสภาพครอบครัว • 6. สถานภาพการสมรสในกรณีขอรับเด็กในความอุปการะของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ผู้ขอฯ ควรจะมีคู่สมรส เพื่อเด็กจะได้มีครอบครัวที่สมบูรณ์

  5. สถานที่ยื่นคำขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมสถานที่ยื่นคำขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม • 1. ผู้มีภูมิลำเนา (ทะเบียนบ้าน) อยู่ในเขตกรุงเทพฯ ให้ยื่นคำขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมได้ที่ ศูนย์อำนวยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม • 2.ผู้มีภูมิลำเนา (ทะเบียนบ้าน) อยู่ในจังหวัดอื่นๆ ให้ยื่นคำขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมได้ที่ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด •  กรณีสามีภรรยามีทะเบียนบ้านคนละแห่ง ให้สามีภรรยายื่นคำขอพร้อมกัน ตามภูมิลำเนาของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง โดยไม่ต้องย้ายทะเบียนบ้านมาอยู่ด้วยกัน 

  6. การรับบุตรบุญธรรมมี 4 ประเภท • 1. การขอรับเด็กในความอุปการะของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ - ไม่เป็นครอบครัวอุปถัมภ์ - เป็นครอบครัวอุปถัมภ์มาก่อน • 2. การขอรับเด็กที่มีบิดามารดามอบให้ • 3. การขอรับเด็กที่ศาลให้ความยินยอม • 4. การขอรับเด็กในความอุปการะขององค์การสวัสดิภาพเด็ก

  7. การให้ความยินยอมในการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมการให้ความยินยอมในการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม • 1. กรณีผู้รับบุตรบุญธรรมหรือผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม ถ้ามีคู่สมรสอยู่ต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสก่อน ในกรณีที่คู่สมรสไม่อาจให้ความยินยอมได้ หรือไปเสียจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ และหาตัวไม่พบเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี ต้องร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งอนุญาตแทนการให้ความยินยอมของคู่สมรสนั้น (ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๕๙๘/๒๕)

  8. การให้ความยินยอมในการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม (ต่อ) • 2. ถ้าผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมมีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีผู้นั้นต้องให้ความยินยอมด้วย • 3. กรณีบิดามารดาเด็กไม่ได้จดทะเบียนสมรส - มารดาให้ความยินยอม บิดาเด็กให้ความเห็นชอบ - หากมารดาเด็กแจ้งว่าไม่สามารถติดตามบิดาเด็กได้ และบิดาเด็กไม่ได้จดทะเบียนรับรองบุตร มารดาเด็กให้ความยินยอมเพียงคนเดียวได้ โดยมารดาเด็กบันทึกถ้อยคำเกี่ยวกับสถานภาพการสมรส ตามแบบ ป.ค. 14 พร้อมพยาน 2 คน - มารดาเด็กเสียชีวิต หรือ ทอดทิ้ง >> ร้องศาล - บิดาเด็กจดทะเบียนรับรองบุตร + มารดาเด็ก >> บิดามารดาให้ความยินยอม - บิดาเด็กจดทะเบียนรับรองบุตร + มารดาเด็กเสียชีวิต >> บิดา - บิดาเด็กจดทะเบียนรับรองบุตร + มารดาเด็กทอดทิ้ง >> บิดา + ร้องศาล

  9. การให้ความยินยอมในการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม (ต่อ) • 4. กรณีบิดามารดาเด็กจดทะเบียนสมรส - บิดามารดาให้ความยินยอมทั้ง 2 คน - เสียชีวิต + มีชีวิตอยู่ >> ฝ่ายมีชีวิตอยู่เป็นผู้ให้ความยินยอม - ทอดทิ้งทั้ง 2 คน >> ร้องศาล - เสียชีวิตทั้ง 2 คน >> ร้องศาล - ทอดทิ้ง + มีชีวิตอยู่ >> ร้องศาลให้ความยินยอมแทนฝ่ายที่ทอดทิ้ง + ฝ่ายมีชีวิตอยู่ให้ความยินยอม

  10. การให้ความยินยอมในการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม (ต่อ) • 5. กรณีบิดามารดาเด็กจดทะเบียนหย่า - ไม่มีบันทึกการหย่าเรื่องบุตร >> ให้ความยินยอมทั้ง 2 คน - บันทึกการหย่าให้บุตรอยู่ในอำนาจปกครองของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง >> ฝ่ายที่มีอำนาจปกครองให้ความยินยอมเพียงคนเดียว ( บันทึกการหย่าให้บุตรอยู่ในอำนาจปกครองของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หากต่อมาฝ่ายที่มีอำนาจปกครองบุตรตามบันทึกข้อตกลงการหย่าถึงแก่กรรม ให้อำนาจปกครองบุตรนั้นกลับไปเป็นของอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งยังมีชีวิตอยู่ ) - แต่หากฝ่ายที่มีอำนาจปกครองทอดทิ้ง >> ร้องศาล - บันทึกการหย่าให้บุตรอยู่ในความอุปการะ/ดูแล>> บิดามารดาเด็ก (คณะกรรมการกฤษฎีกา มีความเห็นว่าถ้าระบุว่าบุตรอยู่ในความดูแลของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งนั้น มิได้มีข้อความโดยชัดแจ้งว่าทั้งสองฝ่ายได้ตกลงกันให้ใครเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร จึงยังไม่อาจถือได้ว่าบิดามารดาได้ทำความตกลงกันให้ฝ่ายใดเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรแต่ผู้เดียว ดังนั้น ให้ถือว่าอำนาจปกครองยังอยู่กับทั้งสองฝ่าย)

  11. การอ้างข้อกฎหมายเพื่อยกเว้นการทดลองเลี้ยงดูการอ้างข้อกฎหมายเพื่อยกเว้นการทดลองเลี้ยงดู • ผู้ขอรับเด็กเป็นญาติฝ่ายมารดา เช่น ตา ยาย ลุง ป้า น้า พี่ พี่สาวหรือน้องสาวร่วมมารดาเดียวกันกับเด็ก หรือพี่เขยพี่สาวของเด็ก • กรณีผู้ขอรับเด็กเป็นญาติฝ่ายบิดา และบิดามารดาเด็กจดทะเบียนสมรส หรือบิดาเด็กจดทะเบียนรับรองบุตร เช่น ปู่ ย่า ลุง ป้า หรืออาของเด็ก (ตามมาตรา 19 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พ.ศ. 2522 และแก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2533)

  12. การอ้างข้อกฎหมายเพื่อยกเว้นการทดลองเลี้ยงดู (ต่อ) • 2. ผู้ขอรับเด็กเป็นญาติสืบสายโลหิตกับเด็ก และมีคู่สมรส ซึ่งจดทะเบียนอย่างน้อย 6 เดือน และประสงค์จะขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมร่วมกัน เช่น ตาเลี้ยงยายแท้ ปู่เลี้ยงย่าแท้ ลุงเขยป้าแท้ ลุงและป้าสะใภ้ อาเขยอาแท้จริงของเด็ก เป็นต้น • (ตามมาตรา 19 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พ.ศ. 2522 และแก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2533 และกฎกระทรวงฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2543) หมวด 4 ข้อ 27 (2) ออกตามความในพระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พ.ศ. 2522)

  13. การอ้างข้อกฎหมายเพื่อยกเว้นการทดลองเลี้ยงดู (ต่อ) • ผู้ขอรับเด็กเป็นญาติสืบสายโลหิตทางฝ่ายบิดาของเด็ก ซึ่งบิดามารดาเด็กไม่ได้จดทะเบียนสมรส หรือบิดาเด็กไม่ได้จดทะเบียนรับรองบุตร ได้แก่ ทวด ปู่ ย่า ลุง ป้า หรืออาของเด็ก • (ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2543) หมวด 4 ข้อ 27 (1) ออกตามความในพระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พ.ศ. 2522)

  14. การอ้างข้อกฎหมายเพื่อยกเว้นการทดลองเลี้ยงดู (ต่อ) • กรณีขอรับบุตรของคู่สมรส • (ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2543) หมวด 4 ข้อ 27 (3) ออกตามความในพระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พ.ศ. 2522) • 5. กรณีขอรับเด็กถูกทอดทิ้งไว้กับผู้ขอรับเด็ก โดยผู้ขอรับเด็กได้อุปการะเลี้ยงดูเด็กที่จะเป็นบุตรบุญธรรมนั้นมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี และศาลได้มีคำสั่งอนุญาตแทนการให้ความยินยอมของบิดามารดาเด็ก • (ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2543) หมวด 4 ข้อ 27 (5) ออกตามความในพระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พ.ศ. 2522)

  15. การอ้างข้อกฎหมายเพื่อยกเว้นการทดลองเลี้ยงดู (ต่อ) • กรณีผู้ได้รับอนุญาตจากกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการให้อุปการะเลี้ยงดูเด็กที่ถูกทอดทิ้งแบบครอบครัวอุปถัมภ์ และได้อุปการะเลี้ยงดูเด็กที่จะเป็นบุตรบุญธรรมนั้นมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี โดยมีผลการเลี้ยงดูเป็นที่น่าพอใจ • (ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2543) หมวด 4 ข้อ 27 (4) ออกตามความในพระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พ.ศ. 2522)

  16. การตรวจสภาพจิตตามกระบวนการทดสอบทางจิตวิทยาการตรวจสภาพจิตตามกระบวนการทดสอบทางจิตวิทยา • โรงพยาบาลของรัฐ / เอกชน ที่มีนักจิตวิทยาคลินิก ที่สามารถทำแบบทดสอบทางจิตวิทยาได้ ไม่จำเป็นต้องมีจิตแพทย์ประจำอยู่โรงพยาบาลนั้น

  17. กรณีขอรับเด็กกำพร้าในความอุปการะของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการกรณีขอรับเด็กกำพร้าในความอุปการะของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ 3. พมจ. ส่งคำขอรับบุตรบุญธรรมให้ศูนย์ฯ บุตรบุญธรรม 4. ศดบ. เสนอเรื่องต่ออธิบดีเพื่อขออนุมัติคุณสมบัติ 2. เยี่ยมบ้านเพื่อสอบสภาพครอบครัว 1.รับเรื่อง/ตรวจสอบหลักฐาน 8. ศดบ. เสนอเรื่องต่ออธิบดีเพื่อขออนุมัติทดลองเลี้ยงดู 7. สถานสงเคราะห์แจ้งประวัติเด็กให้ ศดบ. 6. ศดบ. แจ้งสถานสงเคราะห์ เพื่อขอให้ผู้ขอฯ ไปพิจารณาดูเด็ก 5. ศดบ. แจ้ง พมจ. ประสานงานแจ้งผู้ขอฯ ไปพิจารณาดูเด็กที่สถานสงเคราะห์ 9. ศดบ. แจ้งพมจ. ประสานงานแจ้งผู้ขอฯ รับมอบเด็กที่สถานสงเคราะห์ - แจ้งสถานสงเคราะห์ มอบเด็ก และลงนามในแบบ บธ. 8 10. ศดบ. แจ้ง พมจ. ติดตามผลการทดลองเลี้ยงดูนับตั้งแต่ผู้ขอฯ ลงนามในแบบ บธ. 8 11. พมจ. ส่งรายงานผลการทดลองเลี้ยงดู 3 ครั้ง 12. ศดบ. เสนออธิบดีเห็นชอบผลการทดลองเลี้ยงดู 14. ศดบ. แจ้ง พมจ. ประสานงานแจ้งผู้ขอรับเด็กให้ดำเนินการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม 13. ศดบ. เสนอคณะกรรมการพิจารณาอนุมัติจดทะเบียนบุตรบุญธรรม 16. ศดบ. แจ้งสถานสงเคราะห์เพื่อย้ายชื่อเด็กออกจากสถานสงเคราะห์ 15. พมจ. นำส่งทะเบียนรับบุตรบุญธรรม

  18. กรณีขอรับเด็กกำพร้าในความอุปการะของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ (เป็นครอบครัวอุปถัมภ์มาก่อน) 1.พมจ / สถานสงเคราะห์อนุญาตให้ผู้ขอฯ เป็นผู้อุปการะเด็กแบบครอบครัวอุปถัมภ์ 2. พมจ. / สถานสงเคราะห์ ติดตามผลการเลี้ยงดูแบบครอบครัวอุปถัมภ์ 4 ครั้งต่อปี 3. ผู้ขอฯ ยื่นคำขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม 4. พมจ. ส่งคำขอรับบุตรบุญธรรมให้ศูนย์ฯ บุตรบุญธรรมพร้อมบันทึกอนุมัติให้เป็นครอบครัวอุปถัมภ์และรายงานผลการเลี้ยงดู 6. ศดบ. เสนอเรื่องต่ออธิบดีเพื่อขออนุมัติคุณสมบัติ 5. ศดบ. ประสานสถานสงเคราะห์ส่งประวัติเด็ก 9. พมจ. นำส่งทะเบียนรับบุตรบุญธรรม 8. ศดบ. แจ้ง พมจ. ประสานงานแจ้งผู้ขอรับเด็กให้ดำเนินการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม 7. ศดบ. เสนอคณะกรรมการพิจารณาอนุมัติจดทะเบียนบุตรบุญธรรม 10. ศดบ. แจ้งสถานสงเคราะห์เพื่อย้ายชื่อเด็กออกจากสถานสงเคราะห์

  19. ขั้นตอนการดำเนินการ กรณีขอรับเด็กที่มีบิดามารดา / เด็กที่มีคำสั่งศาล ยื่นคำขอ - ตรวจสอบเอกสาร สอบสภาพครอบครัว อนุมัติคุณสมบัติของผู้ขอรับเด็ก กรณียกเว้นการทดลองเลี้ยงดู กรณีต้องทดลองเลี้ยงดู อนุมัติคุณสมบัติให้ทำการทดลองเลี้ยงดูไม่น้อยกว่า 6 เดือน คณะอนุกรรมการพิจารณาอนุมัติให้จดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม เสนอเห็นชอบผลการทดลองเลี้ยงดู แจ้งอำเภอดำเนินการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม ภายใน 6 เดือน

  20. การเก็บแฟ้มประวัติการรับบุตรบุญธรรมการเก็บแฟ้มประวัติการรับบุตรบุญธรรม

More Related