1 / 48

“กรอบมาตรฐานคุณวุฒิ : แนวคิด นโยบาย และแนวปฏิบัติ”

“กรอบมาตรฐานคุณวุฒิ : แนวคิด นโยบาย และแนวปฏิบัติ”. โดย ดร.ณรงค์ฤทธิ์ วราภรณ์ คณะกรรมการพัฒนากรอบมาตรฐานคุณวุฒิสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี วันที่ 1 1 สิงหาคม 255 3. เอกสารโดยคณะทำงานหลักสูตรนำร่อง มคอ.

hesper
Télécharger la présentation

“กรอบมาตรฐานคุณวุฒิ : แนวคิด นโยบาย และแนวปฏิบัติ”

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. “กรอบมาตรฐานคุณวุฒิ: แนวคิด นโยบาย และแนวปฏิบัติ” โดย ดร.ณรงค์ฤทธิ์ วราภรณ์ คณะกรรมการพัฒนากรอบมาตรฐานคุณวุฒิสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี วันที่ 11สิงหาคม 2553 เอกสารโดยคณะทำงานหลักสูตรนำร่อง มคอ.

  2. กรอบมาตรคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (มคอ.) บัณฑิตมีคุณภาพ พัฒนาชาติยั่งยืน

  3. TQF มีไว้ทำไม • สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรให้กับ ผู้จ้างงาน โรงเรียน ผู้ปกครอง นักเรียน ฯลฯ • สร้างความมีมาตรฐานและการเทียบเคียงกันระหว่างหลักสูตร ทั้งในประเทศ และระหว่างประเทศ เป็นการสร้างความสามารถในการแข่งขัน และเอื้ออำนวยต่อการเทียบโอนของนักศึกษาและการหางานทำของบัณฑิต • เป็นแหล่งอ้างอิงสำหรับสถาบันการศึกษา ในการกำหนดมาตรฐานและการประเมินผลสัมฤทธิ์

  4. กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ(Thai Qualifications Framework for Higher Education ; TQF : HEd) หมายถึงกรอบที่แสดงระบบคุณวุฒิการศึกษาระดับอุดมศึกษา ของประเทศ ซึ่งประกอบด้วย ระดับคุณวุฒิ การแบ่งสายวิชา ความเชื่อมโยงต่อเนื่องจากคุณวุฒิระดับหนึ่งไปสู่ระดับที่สูงขึ้น มาตรฐานผลการเรียนรู้ของแต่ละระดับคุณวุฒิซึ่งเพิ่มสูงขึ้นตามระดับของคุณวุฒิ ลักษณะของหลักสูตรในแต่ละระดับคุณวุฒิ ปริมาณการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับเวลาที่ต้องใช้ การเปิดโอกาสให้เทียบโอนผลการเรียนรู้จากประสบการณ์ ซึ่งเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต รวมทั้งระบบและกลไกที่ให้ความมั่นใจในประสิทธิผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติของสถาบันอุดมศึกษาว่าสามารถผลิตบัณฑิตให้บรรลุคุณภาพตามมาตรฐานผลการเรียนรู้

  5. บัณฑิตมีคุณภาพ พัฒนาชาติยั่งยืน มคอ. บอกให้รู้ว่าเรียนแล้วได้อะไร • ด้านคุณธรรม จริยธรรม • ด้านความรู้ • ด้านทักษะทางปัญญา • ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ • ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

  6. มคอ. บอกให้รู้ว่าเรียนแล้วได้อะไร ระดับที่๔ ปริญญาโท • ด้านคุณธรรม จริยธรรม สามารถจัดการปัญหาทางคุณธรรม จริยธรรมที่ซับซ้อนเชิงวิชาการหรือวิชาชีพ โดยคำนึงถึงความรู้สึกของผู้อื่น และเมื่อไม่มีข้อมูลทางจรรยาบรรณวิชาชีพหรือไม่มีระเบียบข้อบังคับ เพียงพอที่จะจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้น ก็สามารถวินิจฉัยอย่างผู้รู้ด้วยความยุติธรรมและชัดเจน มีหลักฐาน และตอบสนองปัญหาเหล่านั้นตามหลักการ เหตุผล และค่านิยมอันดีงาม ให้ข้อสรุปของปัญหาด้วยความไวต่อความรู้สึกของผู้ที่ได้รับผลกระทบ ริเริ่มในการยกปัญหาทางจรรยาบรรณที่มีอยู่เพื่อการทบทวนและแก้ไข สนับสนุนอย่างจริงจังให้ผู้อื่นใช้การวินิจฉัยทางด้านคุณธรรม จริยธรรมในการจัดการกับข้อโต้แย้งและปัญหาที่มีผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น แสดงออกซึ่งภาวะผู้นำในการส่งเสริมให้มีการประพฤติปฏิบัติตามหลักคุณธรรม จริยธรรม ในสภาพแวดล้อมของการทำงานและในชุมชนที่กว้างขวางขึ้น

  7. (๒) ด้านความรู้ (๒) ด้านความรู้ มีความรู้และความเข้าใจอย่างถ่องแท้ ในเนื้อหาสาระหลักของสาขาวิชา ตลอดจนหลักการและทฤษฎีที่สำคัญและนำมาประยุกต์ในการศึกษาค้นคว้าทางวิชาการหรือการปฏิบัติ ในวิชาชีพ มีความเข้าใจทฤษฎี การวิจัยและการปฏิบัติทางวิชาชีพนั้นอย่างลึกซึ้งในวิชาหรือกลุ่มวิชาเฉพาะในระดับแนวหน้า มีความเข้าใจในวิธีการพัฒนาความรู้ใหม่ๆและการประยุกต์ ตลอดถึงผลกระทบของผลงานวิจัยในปัจจุบันที่มีต่อองค์ความรู้ในสาขาวิชาและต่อการปฏิบัติในวิชาชีพ ตระหนักในระเบียบข้อบังคับที่ใช้อยู่ในสภาพแวดล้อมของระดับชาติและนานาชาติที่อาจมีผลกระทบต่อสาขาวิชาชีพ รวมทั้งเหตุผล และการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต

  8. ( ๓ ) ด้านทักษะทางปัญญา (๓) ด้านทักษะทางปัญญา ใช้ความรู้ทางภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติในการจัดการบริบทใหม่ที่ไม่คาดคิดทางวิชาการและวิชาชีพ และพัฒนาแนวคิดริเริ่มและสร้างสรรค์เพื่อตอบสนองประเด็นหรือปัญหา สามารถใช้ดุลยพินิจในการตัดสินใจในสถานการณ์ที่มีข้อมูลไม่เพียงพอ สามารถสังเคราะห์และใช้ผลงานวิจัย สิ่งตีพิมพ์ทางวิชาการ หรือรายงานทางวิชาชีพ และพัฒนาความคิดใหม่ๆ โดยการบูรณาการให้เข้ากับองค์ความรู้เดิมหรือเสนอเป็นความรู้ใหม่ที่ท้าทายสามารถใช้เทคนิคทั่วไปหรือเฉพาะทาง ในการวิเคราะห์ประเด็นหรือปัญหาที่ซับซ้อนได้อย่างสร้างสรรค์ รวมถึงพัฒนาข้อสรุปและข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้องในสาขาวิชาการหรือวิชาชีพสามารถวางแผนและดำเนินการโครงการสำคัญหรือโครงการวิจัยค้นคว้าทางวิชาการได้ด้วยตนเอง โดยการใช้ความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ตลอดถึงการใช้เทคนิคการวิจัย และให้ข้อสรุปที่สมบูรณ์ซึ่งขยายองค์ความรู้หรือแนวทางการปฏิบัติในวิชาชีพที่มีอยู่เดิมได้อย่างมีนัยสำคัญ

  9. (๔) ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ (๔) ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ สามารถแก้ไขปัญหาที่มีความซับซ้อน หรือความยุ่งยากระดับสูงทางวิชาชีพได้ด้วยตนเองสามารถตัดสินใจในการดำเนินงานด้วยตนเองและสามารถประเมินตนเองได้ รวมทั้งวางแผนในการปรับปรุงตนเองให้มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานระดับสูงได้ มีความรับผิดชอบในการดำเนินงานของตนเอง และร่วมมือกับผู้อื่นอย่างเต็มที่ในการจัดการข้อโต้แย้งและปัญหาต่าง ๆ แสดงออกทักษะการเป็นผู้นำได้อย่างเหมาะสมตามโอกาสและสถานการณ์เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการทำงานของกลุ่ม

  10. (๕) ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (๕) ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ สามารถคัดกรองข้อมูลทางคณิตศาสตร์และสถิติเพื่อนำมาใช้ในการศึกษาค้นคว้าปัญหาสรุปปัญหาและเสนอแนะแก้ไขปัญหาในด้านต่าง ๆ สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ ได้อย่างเหมาะสมกับกลุ่มบุคคลต่างๆ ทั้งในวงการวิชาการและวิชาชีพ รวมถึงชุมชนทั่วไป โดยการนำเสนอรายงานทั้งในรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการผ่านสิ่งตีพิมพ์ทางวิชาการและวิชาชีพ รวมทั้งวิทยานิพนธ์หรือโครงการค้นคว้าที่สำคัญ

  11. หลักการสำคัญของ TQF 1. เป็นเครื่องมือในการนำแนวนโยบายการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐาน การจัดการศึกษาตามที่กำหนดใน พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติฯ ในส่วนที่เกี่ยวกับมาตรฐานการอุดมศึกษาและการประกันคุณภาพการศึกษาสู่การปฏิบัติในสถาบันอุดมศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม 2. มุ่งเน้นที่ Learning Outcomesซึ่งเป็นมาตรฐานขั้นต่ำเชิงคุณภาพเพื่อ ประกันคุณภาพบัณฑิต 3. มุ่งประมวลกฎเกณฑ์และประกาศต่างๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องหลักสูตรและ การจัดการเรียนการสอนเข้าไว้ด้วยกันและเชื่อมโยงให้เป็นเรื่องเดียวกัน 4. เป็นเครื่องมือการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในการสร้างความเข้าใจและ ความมั่นใจในกลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้อง/มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น นักศึกษา ผู้ปกครอง ผู้ประกอบการ ชุมชน สังคมและสถาบันอื่นๆ ทั้งในและต่างประเทศเกี่ยวกับคุณลักษณะของบัณฑิตที่คาดว่าจะพึงมี

  12. หลักการสำคัญของ TQF (ต่อ) 5. มุ่งให้คุณวุฒิหรือปริญญาของสถาบันใดๆของประเทศไทย เป็นที่ยอมรับและเทียบเคียงกันได้กับสถาบันอุดมศึกษาที่ดีทั้งใน และต่างประเทศ โดยเปิดโอกาสให้สถาบันอุดมศึกษาสามารถจัด หลักสูตรตลอดจนกระบวนการเรียนการสอนได้อย่างหลากหลาย โดยมั่นใจถึงคุณภาพของบัณฑิตซึ่งจะมีมาตรฐานผลการเรียนรู้ ตามที่มุ่งหวัง สามารถประกอบอาชีพได้อย่างมีความสุขและภาคภูมิใจ เป็นที่พึงพอใจของนายจ้าง 6. ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต

  13. วัตถุประสงค์ของการดำเนินการ TQF 1. เพื่อส่งเสริมให้เกิดวัฒนธรรมคุณภาพในการจัดการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา และเป็นการประกันคุณภาพขั้นต่ำของบัณฑิตในแต่ละสาขา/สาขาวิชาของคุณวุฒิในระดับต่างๆ 2. เพื่อให้แต่ละสาขา/สาขาวิชามีการกำกับดูแลคุณภาพการผลิตบัณฑิตกันเองโดยบัณฑิตในสาขา/สาขาวิชาเดียวกันของแต่ละสถาบันฯมีคุณภาพไม่ต่ำกว่าที่กำหนดไว้ในมาตรฐานคุณวุฒิระดับการศึกษาของสาขา/สาขาวิชานั้นๆ 3. เพื่อนำไปสู่การลดขั้นตอน/ระเบียบ (deregulations) ในการดำเนินการให้กับสถาบันอุดมศึกษาที่มีความเข้มแข็งและความพร้อมในการจัดการศึกษา

  14. ระดับนโยบาย ระดับการนำไปสู่การปฏิบัติ มาตรฐานการอุดมศึกษา มาตรฐานด้านการบริหาร จัดการการอุดมศึกษา มาตรฐานด้านการสร้างและพัฒนาสังคมฐานความรู้ และสังคมแห่งการเรียนรู้ มาตรฐานด้านคุณภาพบัณฑิต กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา (TQF) มาตรฐานคุณวุฒิสาขา/สาขาวิชาที่ 1 มาตรฐานคุณวุฒิสาขา/ สาขาวิชาที่ 2 สกอ. มาตรฐานคุณวุฒิสาขา/ สาขาวิชาที่ 3 รายละเอียดของหลักสูตร(Programme Specification) แต่ละสาขาวิชาของสถาบันฯต่างๆ ม/ส

  15. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๒ (ต่อ) ใช้ทุกระดับ

  16. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๒ (ต่อ) ผลการเรียนรู้ มาตรฐาน

  17. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๒ (ต่อ)

  18. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๒ (ต่อ)

  19. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๒ (ต่อ)

  20. 31

  21. ประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษาเรื่อง แนวทางการปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๒ (ต่อ) 32

  22. ประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษาเรื่อง แนวทางการปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๒ (ต่อ) 33

  23. ประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษาเรื่อง แนวทางการปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๒ (ต่อ) 34

  24. ประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษาเรื่อง แนวทางการปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๒ (ต่อ) 35

  25. มคอ. มีอะไรบ้าง มคอ. ๑ มาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา... สาขา/สาขาวิชา............ มคอ. ๒ รายละเอียดของหลักสูตร มคอ. ๓ รายละเอียดของรายวิชา มคอ. ๔ รายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนาม มคอ. ๕ รายงานผลการดำเนินการของรายวิชา มคอ. ๖ รายงานผลการดำเนินการของประสบการณ์ ภาคสนาม มคอ. ๗ รายงานผลการดำเนินการของหลักสูตร

  26. มีมาตรฐาน แต่ยังแต่งต่าง โดดเด่น ไม่ใช่เหมือนกันหมด • ยังมีความหลากหลายของหลักสูตร • บริหารจัดการตนเอง • ปกป้องชื่อเสียงของ สถาบันฯ หลักสูตร • นำไปสู่การขึ้นทะเบียนหลักสูตรที่ได้มาตรฐาน การเทียบเคียงข้ามประเทศ

  27. กรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ การนำกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติสู่การปฏิบัติ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2545 มาตรฐานการศึกษาของชาติ มาตรฐานการอุดมศึกษา ด้านการบริหารการจัดการ การอุดมศึกษา ด้านการสร้างและพัฒนาฐานความรู้และสังคมแห่งการเรียนรู้ ด้านคุณภาพบัณฑิต มาตรฐานคุณวุฒิระดับ....สาขา/สาขาวิชา......

  28. ไม่ ติดตาม การดำเนินการ ตาม TQF ใช่ 1 ใช่ เผยแพร่หลักสูตรที่ดำเนินการได้มาตรฐาน TQF 1 กก.อ.กำหนดหลักเกณฑ์การปรับปรุง ประกาศ ศธ. เรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ .พ.ศ. 2552 กรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ประกาศ กกอ. เรื่อง แนวทางการปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 มคอ.1 ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร มาตรฐานคุณวุฒิสาขา เกณฑ์กำหนดชื่อปริญญา สกอ. 5 ปี หลักเกณฑ์การเทียบโอน เกณฑ์/แนวทางอื่น ๆ มหาวิทยาลัย สภาสถาบันอนุมัติ เสนอ วางแผนปรับปรุง + พัฒนา 2 1 ปี รายละเอียดของหลักสูตร เสนอ 7 รายละเอียดของรายวิชาและภาคสนาม/ฝึกงาน สกอ. รับทราบ หลักสูตรและ บันทึกไว้ในฐาน ข้อมูล 3-4 รายงานประจำภาค /ประจำปีการศึกษา กระบวนการเรียนการสอน รายงานรายวิชา 5-6 การวัดและประเมินผล (POD Network) Teaching Unit การจัดสิ่งอำนวยความสะดวก สภาพแวดล้อม นักศึกษา/บัณฑิตได้รับการพัฒนาให้มีมาตรฐานผลการเรียนรู้ตามที่กำหนดไว้ในกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ (บัณฑิตมีคุณภาพเป็นที่พึงพอใจของผู้จ้างงานและสังคม)

  29. แนวทางสู่ การปฏิบัติ บัณฑิตมีคุณภาพ พัฒนาชาติยั่งยืน

  30. มาตรฐานการอุดมศึกษา ระดับนโยบย ระดับการนำไปสู่การปฏิบัติ มาตรฐานการอุดมศึกษา มาตรฐานการบริหาร จัดการการอุดมศึกษา มาตรฐานการสร้างและพัฒนาสังคมฐานความรู้ และสังคมแห่งการเรียนรู้ มาตรฐานคุณภาพบัณฑิต กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF) มาตรฐานสาขาวิชาที่ 1 มาตรฐาน สาขาวิชาที่ 2 มาตรฐาน สาขาวิชาที่ 3 มคอ. 2, 3, 4, 5, 6, 7

  31. การถ่ายทอดผลการเรียนรู้ จากกรอบมาตรฐานคุณวุฒิฯสู่หลักสูตร กรอบมาตรฐานคุณวุฒิฯแห่งชาติ มาตรฐานคุณวุฒิสาขา/สาขาวิชา หลักสูตร

  32. ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ วัตถุประสงค์ของหลักสูตร กลุ่มเนื้อหาสาระสำคัญ ผลการเรียนรู้ โครงสร้างหลักสูตร รายวิชา การพัฒนา/ปรับปรุงหลักสูตร แบบเดิม วัตถุประสงค์ของหลักสูตร กลุ่มเนื้อหาสาระสำคัญ โครงสร้างหลักสูตร รายวิชา

  33. ผลการเรียนรู้ (Learning Outcomes) ผลการเรียนรู้ ต้องวัดได้ และครอบคลุมถึง คุณธรรม จริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ (ทักษะทางสังคม) ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ++ ด้านทักษะพิสัย (Psychomotor Skill)

  34. ผลการเรียนรู้ของแต่ละหลักสูตร มาจากไหน? สถานการณ์ภายนอก (เศรษฐกิจ/สังคม) ปรัชญา ปณิธาน ของมหาวิทยาลัย ปรัชญา ปณิธาน วัตถุประสงค์ ของหลักสูตร ความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต กรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ(ถ้ายังไม่มีมาตรฐานคุณวุฒิสาขา/สาขาวิชา) มาตรฐานคุณวุฒิสาขา/สาขาวิชา รวมถึง มาตรฐานวิชาชีพ (ถ้ามี) ความต้องการของผู้ใช้บัณฑิตในสาขาวิชา

  35. การบรรลุผลการเรียนรู้ของบัณฑิตการบรรลุผลการเรียนรู้ของบัณฑิต การดำเนินการหลักสูตร โครงสร้างหลักสูตร รายวิชา ปัจจัยนำเข้า (input) –นักศึกษา ทรัพยากร (resource) อาจารย์ / บุคลากรสนับสนุน ทรัพยากรสนับสนุนการเรียนการสอน กระบวนการเรียนการสอน/การประเมินผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา การบริหารจัดการ และกำกับดูแล การวางแผน ติดตาม ทวนสอบ ประเมิน แก้ไข

  36. การวางแผนหลักสูตร กำหนดผลการเรียนรู้ ทั้ง 5 ด้าน (อย่างน้อย) กำหนดโครงสร้างหลักสูตร และรายวิชา กระจายความรับผิดชอบต่อผลการเรียนรู้สู่รายวิชา กำหนดกลยุทธ์การสอนและการประเมินผลการเรียนรู้ สำหรับการเรียนรู้แต่ละด้าน กำหนดการติดตาม ทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา ประเมินผลการดำเนินการในระดับรายวิชา/หลักสูตร การบริหารจัดการ/การประกันคุณภาพ/การประเมิน กำหนดการทบทวนผลการดำเนินการและแก้ไขปรับปรุง

  37. คุณธรรม จริยธรรม ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคลองค์กรและสังคม มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ ทักษะทางปัญญา คิดอย่างมีวิจารณญาณและอย่างเป็นระบบ สามารถสืบค้น ตีความ และประเมินสารสนเทศ เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะกับการแก้ไขปัญหาทางคอมพิวเตอร์ได้อย่างเหมาะสม (ตย.) 3. Curriculum Mapping

  38. เอกสารที่ต้องจัดทำหลังการวางแผนหลักสูตรเอกสารที่ต้องจัดทำหลังการวางแผนหลักสูตร รายละเอียดของหลักสูตร (มคอ.2)โดยกรรมการจัดทำหลักสูตร รายละเอียดของรายวิชา (มคอ.3) และ รายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนาม (มคอ.4) โดย อ.ผู้สอน รายงานรายวิชา (มคอ.5) และ รายงานประสบการณ์ภาคสนาม (มคอ.6) โดย อ.ผู้สอน รายงานการดำเนินการหลักสูตร (มคอ.7) โดย คณาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

  39. ตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงาน

  40. ตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงาน

  41. บทสรุป รายละเอียดหลักสูตร เป็นส่วนหนึ่งของกลไกการประกันคุณภาพการศึกษา ด้านมาตรฐานคุณภาพบัณฑิต ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาของชาติและมาตรฐานคุณวุฒิของสาขาวิชา(ถ้ามี) เป็นแผนการดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ของหลักสูตร ที่คณาจารย์ทุกคนมีส่วนร่วม เป็นคำมั่นสัญญาที่สถาบันอุดมศึกษาให้กับสังคม

  42. Q&A ขอขอบคุณ narongrit@sit.kmutt.ac.th

More Related