1 / 19

E-Trading

E-Trading. ความแตกต่างระหว่างการซื้อขายแบบดั้งเดิม กับการซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ต. ซื้อขายแบบดั้งเดิม ลูกค้าส่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ให้พนักงานของโบรกเกอร์เป็นผู้ป้อนคำสั่งเข้าสู่ระบบซื้อขายของตลาดหลักทรัพย์ โดยสั่งทางโทรศัพท์ หรือมาสั่งด้วยตนเองที่ห้องค้าหลักทรัพย์ของโบรกเกอร์ก็ได้

holland
Télécharger la présentation

E-Trading

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. E-Trading

  2. ความแตกต่างระหว่างการซื้อขายแบบดั้งเดิมกับการซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ตความแตกต่างระหว่างการซื้อขายแบบดั้งเดิมกับการซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ต • ซื้อขายแบบดั้งเดิม • ลูกค้าส่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ให้พนักงานของโบรกเกอร์เป็นผู้ป้อนคำสั่งเข้าสู่ระบบซื้อขายของตลาดหลักทรัพย์ โดยสั่งทางโทรศัพท์ หรือมาสั่งด้วยตนเองที่ห้องค้าหลักทรัพย์ของโบรกเกอร์ก็ได้ • ซื้อขายได้ทุกกระดาน และระบุเงื่อนไขการเสนอสั่งซื้อได้ • ค่าธรรมเนียมไม่ต่ำกว่าร้อยละ 0.25 ของมูลค่าการซื้อขาย

  3. ความแตกต่างระหว่างการซื้อขายแบบดั้งเดิมกับการซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ต( ต่อ ) • ซื้อขายแบบออนไลน์ • ลูกค้าส่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์และตรวจสอบสถานะซื้อขายได้ด้วยตนเองผ่านเว็บไซต์ของโบรกเกอร์ • ต้องระบุราคาเสนอซื้อขายที่แน่นอน (Limit order) เท่านั้น ไม่สามารถระบุเงื่อนไขการเสนอซื้อขายได้ • ซื้อขายได้เฉพาะบนกระดานหลัก กระดานหน่วยย่อย และกระดานต่างประเทศ ด้วยวิธีจับคู่คำสั่งซื้อขายเข้าด้วยกันโดยอัตโนมัติ (Automated Order Matching: AOM) • ค่าธรรมเนียมไม่ต่ำกว่าร้อยละ 0.20 ของมูลค่าการซื้อขาย

  4. จุดเด่นในการซื้อขายหลักทรัพย์ผ่าน Internet   • ค่าคอมมิชชั่นถูกว่าส่งคำสั่งซื้อขายผ่านโบรกเกอร์ จาก 0.25% .... เหลือเพียง 0.20% • นำเสนอข้อมูลตลาดโดยรวม ข้อมูลหลักทรัพย์ (รายตัว) ข้อมูลข่าวประจำวัน • นำเสนอข้อมูลประกอบการตัดสินใจการลงทุนอย่างครบถ้วน • สามารถส่งคำสั่งซื้อขายด้วยตนเองได้ตลอด 24 ชั่วโมง หรือ 7 วันต่อสัปดาห์ • สามารถตรวจสอบราคาหุ้นใน Portfolio ของตัวเองได้ตลอดเวลา

  5. ทำไมต้องซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ตทำไมต้องซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ต • เริ่มต้นซื้อขายได้ด้วยเงินเพียง 5,000 บาท ด้วยเงิน 5,000 บาท นักลงทุนก็สามารถเริ่มลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ได้ • ปลอดภัย • เพิ่มความมั่นใจในความปลอดภัยของข้อมูล ด้วยระบบรหัสผ่าน 2 ชั้น และเสริมด้วยระบบ Secure Sockets Layer : SSL ซึ่งมีประสิทธิภาพสูง ในการป้องกันข้อมูลการซื้อขายและข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ • สะดวกสบาย สามารถส่งคำสั่งซื้อขายได้ทุกที่ ทุกเวลา จากบ้าน จากที่ทำงาน จากอินเทอร์เน็ต คาเฟ่ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ หรือที่อื่นๆที่สามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้ ตัดปัญหาการเดินทางฝ่ารถติดไปห้องค้า หรือต่อสายโทรศัพท์หาเจ้าหน้าที่การตลาด

  6. ทำไมต้องซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ต ( ต่อ ) • ส่งคำสั่งซื้อขายได้ตลอด 24 ชม. เพราะการซื้อขายทางอินเทอร์เน็ต ไม่ได้มีข้อจำกัดในเรื่องเวลาส่งคำสั่ง จึงสามารถส่งคำสั่งได้ตลอดทั้ง 24 ชั่วโมง แม้แต่ตอนตลาดหลักทรัพย์ปิดทำการ หรือในวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ • หากส่งคำสั่งในช่วงที่ตลาดหลักทรัพย์เปิดทำการ คำสั่งก็จะส่งตรงสู่ตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งสามารถตรวจสอบสถานะคำสั่งได้ทันทีจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ สำหรับคำสั่งซื้อขายที่ส่งเข้ามาในขณะที่ตลาดหลักทรัพย์ไม่ได้เปิดทำการ คำสั่งก็จะถูกจัดเรียงตามลำดับเวลาที่ส่งคำสั่งเข้ามา และจะถูกส่งไปยังตลาดหลักทรัพย์ทันทีที่ตลาดเปิดทำการ

  7. ทำไมต้องซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ต ( ต่อ ) • พร้อมพรั่งด้วยข้อมูลข่าวสาร สามารถค้นหาข้อมูลข่าวสารที่มีอยู่มากมายและทันสมัยตลอดเวลา ทั้งข้อมูลราคาหลักทรัพย์เรียลไทม์ รายละเอียดบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ บทวิเคราะห์จากฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ ข้อมูลทางสถิติ ข้อมูลปัจจุบันและย้อนหลังเพื่อช่วยในการตัดสินใจ • คุ้มค่าด้วยค่าใช้จ่ายต่ำกว่า ซื้อขายด้วยตัวเอง จูงใจด้วยค่าคอมมิชชั่นระดับต่ำ เพียงแค่ 0.2 % เท่านั้น

  8. ทำไมต้องซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ต ( ต่อ ) มีข้อมูลอินเทอร์เน็ตอะไรช่วยการตัดสินใจ เว็บไซต์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อรองรับการซื้อขายหุ้นออนไลน์นั้น ไม่ได้พัฒนาขึ้นเพื่อให้บริการรับส่งคำสั่งซื้อขายเท่านั้น แต่ยังเพียบพร้อมด้วยข้อมูลข่าวสารประกอบการตัดสินใจลงทุน ปัจจุบันข้อมูลที่ให้บริการบนเว็บไซต์ส่วนใหญ่ประกอบด้วย - ข้อมูลหุ้นเรียลไทม์ (Real-time trading information)ได้แก่ ราคาเสนอซื้อ-เสนอขายหลักทรัพย์ ดัชนีราคาหลักทรัพย์ ปริมาณและมูลค่าการซื้อขาย ภาพรวมการซื้อขาย สรุปอันดับหลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายมากที่สุด ราคาเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นหรือลดลง เป็นต้น ส่วนใหญ่จะสามารถเรียกดูข้อมูลย้อนหลังได้ - ข้อมูลของบริษัทจดทะเบียน (Listed Companies Info)เช่นรายชื่อคณะกรรมการบริษัท ลักษณะหรือประเภทธุรกิจ งบการเงินประจำงวดต่างๆ รวมทั้งข่าวสารความเคลื่อนไหวอื่นๆของแต่ละบริษัท โดยสามารถเรียกดูข้อมูลย้อนหลังได้

  9. ทำไมต้องซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ต ( ต่อ ) - รายงานและบทวิเคราะห์หลักทรัพย์ ส่วนใหญ่จะเป็นบทวิเคราะห์ที่จัดทำโดยนักวิเคราะห์ของแต่ละโบรกเกอร์ อาจแยกเป็นวิเคราะห์ข่าวประจำวัน รายงานหุ้นเด่นวันนี้ บทวิเคราะห์รายอุตสาหกรรม รายหลักทรัพย์ วิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน และการวิเคราะห์ทางเทคนิค - ความเคลื่อนไหวของดัชนี และข่าวสารของตลาดหุ้นต่างประเทศที่สำคัญนอกจากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น โบรกเกอร์มักมีรูปแบบในการนำเสนอบริการเสริมอื่นๆ เพื่อให้ลูกค้ามีข้อมูลพร้อมประกอบการตัดสินใจ เช่น เครื่องมือในการวิเคราะห์ทางเทคนิค ระบบเตือนอัตโนมัติทางโทรศัพท์มือถือ ระบบโอนเงินทางอินเทอร์เน็ต เป็นต้น

  10. เปิดบัญชีซื้อ - ขาย • ต้องใช้เงินเท่าไหร่ในการเปิดบัญชี Internet Trading การซื้อขายหุ้นทางอินเทอร์เน็ตเปิดโอกาสให้นักลงทุนที่มีทุนน้อยเข้ามาได้ง่ายกว่าแบบดั้งเดิม เนื่องจากนักลงทุนสามารถเลือกเปิดบัญชีฝากเงินแบบ Pre-paid ซึ่งคือบัญชีที่จะต้องโอนเงินเข้ามาในบัญชีซื้อขายก่อน แล้วจึงสามารถซื้อขายได้ภายในวงเงินที่โอนเข้ามานั้น ฝาก 5,000 บาทก็เล่นได้ไม่เกิน 5,000 บาท หากต้องการซื้อหุ้นเพิ่ม ก็เพียงแค่โอนเงินเข้ามาเพิ่ม อำนาจการซื้อก็จะเพิ่มขึ้น ซึ่งหากฝากมากขึ้น ก็บริหารพอร์ตได้คล่องตัวขึ้นตามไปด้วย สะดวกสำหรับนักลงทุนเพราะไม่ต้องฝากเงินไว้กับโบรกเกอร์นาน ๆ โดยที่ยังไม่ได้ทำการซื้อขาย แต่ก็มีโบรกเกอร์หลายแห่งที่แม้ในช่วงที่ไม่ได้ซื้อขาย แต่ยังคงมีเงินไว้อยู่กับโบรกเกอร์ ก็ยังคงได้รับดอกเบี้ยเป็นผลตอบแทนด้วย ซึ่งมักจะสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์

  11. เปิดบัญชีซื้อ – ขาย ( ต่อ ) • ต้องใช้เงินเท่าไหร่ในการเปิดบัญชี Internet Trading ( ต่อ ) กรณีที่เล่นบัญชีเงินสด Cash Balance แบบซื้อก่อนจ่ายทีหลังในระยะ T+3 ก็สามารถนำเงินไปฝากไว้กับโบรกเกอร์ก่อน ซึ่งมีอยู่หลายรายที่ไม่คิดเงินฝากขั้นต่ำ โบรกเกอร์บางรายก็อาจจะกำหนดเงินฝากขั้นต่ำไว้ เช่น 50,000 บาท ซึ่งได้ผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ย ส่วนวงเงินเล่นหุ้นนั้น ทางโบรกเกอร์จะกำหนดวงเงินซื้อขายหุ้นมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับเงื่อนไขและนโยบายของแต่ละบริษัท สภาวะตลาด และความน่าเชื่อถือของลูกค้า เช่น ดูจากบัญชีเงินฝากธนาคาร ตำแหน่งหน้าที่การงาน เป็นต้น

  12. ขั้นตอนในการเปิดบัญชีซื้อ - ขายหุ้นทางอินเตอร์เน็ต • ขั้นตอนที่ 1 ติดต่อกับโบรกเกอร์ เพื่อขอเปิดบัญชีซื้อขายหุ้นผ่านอินเทอร์เน็ต • ขั้นตอนที่ 2 กรอกใบคำร้องขอเปิดบัญชี พร้อมเตรียมหลักฐานที่ใช้การเปิดบัญชีบุคคลธรรมดา กรอกแบบฟอร์มเพิ่มเติมอื่น ๆ เช่น วิธีการชำระเงินหลักทรัพย์ที่ซื้อขายผ่าน Internet (ขึ้นอยู่กับโบรกเกอร์แต่ละแห่ง และความต้องการใช้งานของแต่ละบุคคล) • ขั้นตอนที่ 3รอผลการพิจารณาจากโบรกเกอร์ ใช้เวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์ • ขั้นตอนที่ 4เข้าสู่การซื้อขายออนไลน์ 24 ชม. ผ่านระบบ Daytrade

  13. ประเภทการเปิดบัญชี • บัญชีแคชบาลานซ์ (Cash Balance หรือ Pre-paid หรือ Cash Deposit) เป็นบัญชีที่ต้องฝากเงินไว้กับโบรกเกอร์จำนวนหนึ่งก่อน สำหรับเป็นเงินชำระค่าหุ้นที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และถือว่าเงินจำนวนนั้นเป็นอำนาจซื้อ เมื่อถึงวันชำระค่าหุ้น (T+3) โบรกเกอร์จะหักเงินออกไปจากส่วนที่ฝากนี้ชำระเป็นค่าหุ้นไปอัตโนมัติ ถ้าหากต้องการซื้อหุ้น แต่วงเงินไม่พอ ก็สามารถโอนเงินเพิ่ม เพื่อให้อำนาจซื้อเพิ่มขึ้นได้ บางโบรกเกอร์ก็จะให้ดอกเบี้ยเงินฝากด้วย

  14. บัญชีแคชบาลานซ์ ข้อดี เปิดโอกาสให้ผู้ที่มีทุนน้อย สามารถซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ตได้ แม้มีเพียงหนึ่งหมื่นบาทสามารถซื้อขายได้ตามกำลังซื้อของตน และให้ความสะดวกกับนักลงทุน ไม่ต้องนำเงินไปฝากกับโบรกเกอร์ ในขณะที่ยังไม่มีการซื้อขายข้อจำกัด ต้องมีเงินหรือหลักทรัพย์ฝากไว้ก่อนทำการซื้อขาย กรณีเงินไม่พอต้องโอนเงินเพิ่มก่อน

  15. ประเภทการเปิดบัญชี ( ต่อ ) • บัญชีเงินกู้ยืมเพื่อซื้อขายหลักทรัพย์ (Credit Ballance ) เป็นบัญชีรูปแบบหนึ่งของบัญชีมาร์จิ้นซึ่งอำนาจซื้อหลักทรัพย์ (Purchasing Power) จะขึ้นอยู่กับหลักประกันและมูลค่าขึ้นลงตามราคาตลาดของหลักทรัพย์ที่มีอยู่ในบัญชีเครดิตบาลานซ์ (Market-to-Market) โดยการกู้ยืมเงินจากโบรกเกอร์ หรือยืมหลักทรัพย์เพื่อขายชอร์ต ต้องได้รับวงเงินและวางหลักทรัพย์ค้ำประกันตามอัตราที่แต่ละแห่งกำหนด บัญชีประเภทนี้ ลูกค้าควรศึกษากฎระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และมีความเข้าใจเป็นอย่างดีเกี่ยวกับภาวะขึ้นลงของหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์

  16. บัญชีเงินกู้ยืมเพื่อซื้อขายหลักทรัพย์บัญชีเงินกู้ยืมเพื่อซื้อขายหลักทรัพย์ ข้อดีลูกค้ามีอำนาจซื้อมากกว่าเงินสดหรือทรัพย์สินที่มี ข้อจำกัดต้องมีการจ่ายอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ กรณีชำระเงินเกินเวลาที่กำหนด

  17. เอกสารที่ใช้ในการเปิดบัญชีเอกสารที่ใช้ในการเปิดบัญชี • บุคคลธรรมดา -  แบบฟอร์มคำขอเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์-  สัญญาแต่งตั้งตัวแทนนายหน้าเพื่อซื้อขายหลักทรัพย์ พร้อมค่าอากรแสตมป์ 30 บาท หรือ 35 บาท-  สัญญาดูแลและรักษาทรัพย์สินของลูกค้า (ถ้ามี)-  บัตรตัวอย่างลายมือชื่อ -  สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน บัตรข้าราชการ หรือหนังสือเดินทาง-  สำเนาทะเบียนบ้าน-  สำเนาบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร-  สำเนาใบแจ้งรายการบัญชีธนาคารหรือสำเนาสมุดเงินฝากย้อนหลัง 6 เดือน-  เอกสารแสดงเงินเดือน-  แบบคำขอใช้บริการซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต (เฉพาะกรณีเลือกซื้อขายผ่านระบบอินเทอร์เน็ต)-  แบบคำขอใช้บริการจ่ายชำระระบบอัตโนมัติ/แบบคำขอให้หักบัญชีเงินฝาก/แบบคำขอใช้บริการโอนเงินผ่านระบบ Tele-Banking (กรณีให้บริษัทหักค่าซื้อจากบัญชี และ/หรือนำเงินค่าขายเข้าบัญชี)

  18. เอกสารที่ใช้ในการเปิดบัญชี (ต่อ) • นิติบุคคล -   แบบฟอร์มคำขอเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์-   สัญญาแต่งตั้งตัวแทนนายหน้าเพื่อซื้อขายหลักทรัพย์ พร้อมค่าอากรแสตมป์ 30 บาท-   สัญญาดูแลและรักษาทรัพย์สินของลูกค้า (ถ้ามี)-   หนังสือมอบอำนาจ (เซ็นโดยกรรมการผู้มีอำนาจ) พร้อมค่าอากรแสตมป์ ฉบับละ 30 บาท-   หนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท-   สำเนาหนังสือบริคณห์สนธิ วัตถุประสงค์ ทะเบียนรายชื่อผู้ถือหุ้น -   สำเนาบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร-   งบการเงินย้อนหลัง 3 ปี-   บัตรตัวอย่างลายมือชื่อของกรรมการผู้มีอำนาจ-   สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจ-   สำเนาทะเบียนบ้านของกรรมการผู้มีอำนาจ-   แบบคำขอใช้บริการจ่ายชำระระบบอัตโนมัติ /แบบคำขอให้หักบัญชีเงินฝาก / แบบคำขอใช้บริการโอนเงินผ่านระบบ Tele-Banking (กรณีที่ต้องการให้บริษัทหักค่าซื้อจากบัญชี และ/หรือนำเงินค่าขายเข้าบัญชี)

  19. เอกสารที่ใช้ในการเปิดบัญชี ( ต่อ ) • กรณีมอบอำนาจให้บุคคลอื่นกระทำการแทน -  หนังสือมอบอำนาจ พร้อมค่าอากรแสตมป์ ฉบับละ 30 บาท-  บัตรตัวอย่างลายมือชื่อของผู้รับมอบอำนาจ-  สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ-  สำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ

More Related