1 / 43

สถานที่เที่ยวเมืองสุพรรณบุรี

สถานที่เที่ยวเมืองสุพรรณบุรี. ประวัติเมืองสุพรรณบุรี. ตราประจำจังหวัด เป็น รูปยุทธหัตถี หมายถึง การกระทำยุทธหัตถีระหว่างสมเด็จพระนเรศวรมหาราชกับพระมหาอุปราชาแห่งพม่า และบริเวณที่ทำยุทธหัตถีอยู่ในท้องที่อำเภอดอนเจดีย์. ประวัติเมืองสุพรรณบุรี.

holly-pope
Télécharger la présentation

สถานที่เที่ยวเมืองสุพรรณบุรี

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สถานที่เที่ยวเมืองสุพรรณบุรีสถานที่เที่ยวเมืองสุพรรณบุรี

  2. ประวัติเมืองสุพรรณบุรีประวัติเมืองสุพรรณบุรี ตราประจำจังหวัดเป็น รูปยุทธหัตถี หมายถึง การกระทำยุทธหัตถีระหว่างสมเด็จพระนเรศวรมหาราชกับพระมหาอุปราชาแห่งพม่า และบริเวณที่ทำยุทธหัตถีอยู่ในท้องที่อำเภอดอนเจดีย์

  3. ประวัติเมืองสุพรรณบุรีประวัติเมืองสุพรรณบุรี คำขวัญประจำจังหวัดเมืองยุทธหัตถี วรรณคดีขึ้นชื่อ เลื่องลือพระเครื่อง รุ่งเรืองเกษตรกรรม สูงล้ำประวัติศาสตร์ แหล่งปราชญ์ศิลปิน ภาษาถิ่นชวนฟัง

  4. หอคอยบรรหาร-แจ่มใส และ สวนเฉลิมภัทรราชินี ตั้งอยู่ใจกลางเมืองสุพรรณบุรี บนถนนนางพิม ตำบลท่าพี่เลี้ยง หอคอยบรรหาร-แจ่มใส เป็นหอคอยแห่งแรกและสูงที่สุดในประเทศไทย มีความสูงถึง 123 เมตร มีชั้นสำหรับชมวิวในระดับสูงสุด 78.75 เมตร และระดับต่ำลงมาคือ 72.75, 66.75 และ 33.75 เมตร ตามลำดับ บนหอคอยได้มีการติดตั้งกล้องส่องทางไกลไว้รอบด้าน มีร้านขายของที่ระลึกและอาหารว่าง มีการจัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับเมืองสุพรรณบุรี ทั้งด้านประวัติศาสตร์ วรรณคดี ศิลปวัฒนธรรม ชีวิตความเป็นอยู่ รวมถึงสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญและเรื่องราวน่ารู้ของจังหวัดสุพรรณบุรีไว้ทั้งหมด อัตราค่าเข้าชมผู้ใหญ่ 40 บาท เด็ก 20 บาท

  5. หอคอยบรรหาร-แจ่มใส และ สวนเฉลิมภัทรราชินี • และภายใน สวนเฉลิมภัทรราชินี ซึ่งเป็นสวนสาธารณะที่สมบูรณ์แบบ ในเนื้อที่ 15 ไร่ นอกจากจะเป็นที่ตั้งของหอคอยบรรหาร-แจ่มใส แล้ว ยังมีตึกแสดงผลงานของ ฯพณฯ บรรหารสวนน้ำพร้อมสไลเดอร์ สวนลายไทย สวนนกพิราบ สวนดอกไม้ สนามเด็กเล่น บ่อน้ำพุ สนามออกกำลังกาย ฯลฯ • หอคอยบรรหาร-แจ่มใส เปิดให้เข้าชุมทุกวัน เว้นวันจันทร์อัตราค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ 40 บาท เด็ก 20 บาท • สวนเฉลิมภัทรราชินี เปิดให้เข้าชมทุกวัน เว้นวันจันทร์ ตามวันและเวลาดังนี้วันอังคาร-ศุกร์ เวลา 10.00--19.00 น.วันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 1.00-20.30 น.อัตราค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ 10 บาท เด็ก 5 บาท • รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ โทร. (035) 522721

  6. บึงฉวาก บึงฉวากอยู่ในอำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นส่วนหนึ่งของแม่น้ำท่าจีน ที่เกิดการทับถมของตะกอนดินโคลน จึงถูกแยกตัวออกมาเป็นบึงใหญ่ ที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีระบบนิเวศอันหลากหลาย ภายในพื้นที่กว่า 1,700 ไร่ อุดมไปด้วยพรรณไม้น้ำนานาชนิด โดยเฉพาะบัวแดง ในยามเช้าจะชูช่อบาน อวดโฉมเป็นจำนวนมาก ท่ามกลางบรรยากาศที่เงียบสงบ นักท่องเที่ยวสามารถนำเต็นท์มาตั้งแคมป์พักได้

  7. บึงฉวาก ด้วยสภาพแวดล้อมของบึงที่มีความเหมาะสมและสมบูรณ์ด้วยพรรณไม้น้ำนานาชนิด เช่น บัว กก อ้อ ธูปฤาษี ผักตบ สาหร่ายหลากชนิด เป็นต้น จึงเป็นที่อยู่อาศัยของนกน้ำนกทุ่งประมาณ 70 ชนิด มีทั้งนกประจำถิ่นและนกอพยพที่ผ่านมาอาศัยหรือพักพิงชั่วคราว อาทิ อีโก้ง นกกาบบัว และนกอพยพอย่างนกเป็ดแดงที่มาในช่วงฤดูหนาว นกปากห่างที่มาในช่วงเดือนตุลาคม นกคูท และเป็ดเปียที่จัดเป็นนกอพยพที่หาดูได้ยากก็เคยพบเห็นที่นี่ รวมถึงเป็ดแดงจำนวนนับหมื่นๆ ตัวในช่วงฤดูหนาว นอกนั้นก็มีเป็ดคับแค เป็ดผี นกอีโก้ง นกอีแจว นกกระสานวล นกกระสาแดง นกกระยาง ฯลฯ ด้วยเหตุนี้ทางการจึงประกาศให้พื้นที่ของบึงฉวากเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่า

  8. บึงฉวาก นอกจากนี้บึงฉวากยังเป็นแหล่งรวมปลานานาพันธุ์ เช่น ปลาช่อน ปลาตะเพียน ปลาสลิด ฯลฯ ปัจจุบันบึงฉวากได้รับการประกาศเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำตามสนธิสัญญาแรมซาร์ เมื่อปี พ.ศ. 2541 และประกาศเป็นเขตห้ามล่าเมื่อปี พ.ศ. 2525 บึงฉวากจึงมีความสำคัญทั้งในแง่ที่เป็นแหล่งน้ำ แหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ และยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและทางเกษตร ทั้งยังได้จัดสรรพื้นที่โดยรอบบึงฉวากเพื่อการศึกษาและวิจัย อาทิ สวนรวมพันธุ์ไก่ บ่อจระเข้น้ำจืด อุทยานผักพื้นบ้าน สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ ฯลฯ

  9. ศาลหลักเมือง

  10. ศาลหลักเมือง อยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำสุพรรณบุรี (แม่น้ำท่าจีน) ห่างจากฝั่งแม่น้ำไปตามถนนมาลัยแมน เดิมเป็นศาลไม้ทรงไทยมีเทวรูปพระอิศวรและพระนารายณ์สวมหมวกเติ๊ก(หมวกทรงกระบอก) สลักด้วยหินสีเขียวปัจจุบันได้สร้างศาลเป็นรูปวิหารและเก๋งจีนเจ้าพ่อหลักเมืองนี้เป็นพุทธประติมากรรมสลักบนแผ่นหินแบบนูนต่ำในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน แบบศิลปเขมรอายุราว พ.ศ.1185–1250 หรือประมาณ 1,300-1,400 ปีมาแล้ว มีพระนามว่า พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร หรือที่เรียกกันว่า พระนารายณ์สี่กร เป็นที่สักการะบูชาทั้งชาวไทยและชาวจีน ตามประวัติกล่าวว่า ประมาณ 150 ปีมาแล้วมีผู้พบพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร จมดินจมโคลนอยู่ริมคลองศาลเจ้าพ่อจึงได้ช่วยกันอัญเชิญขึ้นข้างบนพร้อมกับสร้างศาลเป็นที่ประทับ

  11. ศาลหลักเมือง ในคราวเสด็จประพาสต้นเมื่อ พ.ศ. 2447 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเคยเสด็จทรงกระทำพลีกรรมเจ้าพ่อหลักเมืองและพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ก่อเขื่อนรอบเนินศาล ทำชานสำหรับคนบูชา สร้างกำแพงแก้ว ต่อตัวศาลออกมาเป็นเก๋งแบบจีนสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์กับเจ้าพระยายมราช ทรงสนพระทัยในการปรับปรุงศาลเจ้าพ่อหลักเมืองเมื่อในราว พ.ศ. 2480 ทุกปีในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7 ของจีนจะมีพิธีงานประเพณี  “ทิ้งกระจาด” (หรือ พิธีทิ้งทาน) จัดที่สมาคมจีน ซึ่งเป็นพิธีกรรมของพุทธศาสนาลัทธิมหายาน ถือเป็นการจำเริญเมตตาแก่ดวงวิญญาณที่ล่วงลับไปแล้ว โดยนำสิ่งของต่างๆ ที่ผู้ตายใช้สอยและสิ่งของจำเป็นอื่นๆ มาแจกแก่ผู้ยากจนสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 035521690

  12. พิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกรพิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกร

  13. พิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกรพิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกร พิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกร ก่อตั้งขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสที่ประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีน มีความสัมพันธ์ทางการทูตครบ 20 ปี เมื่อปี พ.ศ. 2539 ภายในจัดแสดงประวัติศาสตร์ของจีน แบ่งเป็นห้อง 18 ห้องรูปแบบแปลกตาด้วยภาพ แสงสีเสียง และเทคนิคพิเศษ น่าชมเป็นอย่างยิ่ง

  14. พิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกรพิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกร จีน...เป็นประเทศที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน และเป็นชนชาติที่มีอารยะธรรมยาวนานกว่า 5000 ปีตั้งแต่สมัยเสินหนง....เป็นหัวหน้าเผ่าแซ่เจียง เมื่อ 5,000 ปี ก่อน เป็นผู้คิดประดิษฐ์คันไถด้วยไม้ - ค้นคิดยาสมุนไพรชนิดต่างๆ และสอนให้ผู้คนรู้จักการปลูกข้าว ทำไร่ไถนาเข้ามาในยุคโบราณ..สืบกษัตริย์สายพันธุ์มังกร.......ยุค ราชวงค์เซี่ย...ราชวงค์ซาง... ราชวงโจว..จนถึงยุค..เลียดก๊ก ซึ่งมี 7 ก๊กใหญ่ที่ครองอำนาจจิ๋นซีฮ่องเต้ เป็นจักรพรรดิองค์แรก

  15. พิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกรพิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกร พิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกร (อุทยานมังกรสวรรค์) เปิดทุกวันจันทร์ และวันพุธ – วันอาทิตย์ หยุดทุกวันอังคารวันธรรมดา รอบแรก เวลา 10.00 น. รอบสุดท้ายเวลา 16.00 น. ( เปิดเข้าทุก 1 ชั่วโมง)วันหยุด รอบแรก 09.00 น. รอบสุดท้าย 17.00 น. (เปิดเข้า ทุก 20 นาที)ค่าเข้าชมชาวไทย ผู้ใหญ่ 299 บาท เด็ก 149 บาท ชาวต่างประเทศ ผู้ใหญ่ 499 บาท เด็ก 299 บาท โทร. 035-526211 - 2

  16. ตลาดร้อยปี ตลาดสามชุก • เป็นตลาดห้องแถวไม้ 2 ชั้นขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำสุพรรณบุรี(ท่าจีน) และรายล้อมด้วยบรรยากาศของบ้านเรือนรวมถึงเรื่องราวของผู้คนในอดีต โดยแทบไม่มีการดัดแปลงเสริมแต่ง ย้อนอดีตกลับไปยุคสมัยที่ตลาดสามชุกเฟื่องฟู ยุคนั้นชาวบ้านจะนำของพื้นเมือง รวมทั้ง เกลือ ฝ้าย แร่ สมุนไพร มาแลกเปลี่ยนซื้อขายให้กับพ่อค้าที่เป็นชาวเรือ • ต่อมาเมื่อริมแม่น้ำสุพรรณ กลายเป็นแหล่งทำนาที่สำคัญ มีโรงสีไฟขนาดใหญ่เกิดขึ้นหลายแห่ง ตลาดสามชุกก็กลายเป็นตลาดข้าวที่สำคัญ มีการค้าขายกันอย่างคึกคัก ทำให้ตลาดสามชุกไม่จำกัดบริเวณอยู่เฉพาะริมน้ำ แต่ยังขยายมาถึงริมฝั่ง โดยแต่ละปีมีการเก็บภาษีได้จำนวนมาก พร้อมๆกับมีการตั้งนายอากรคนแรก ชื่อ “ขุนจำนง จีนารักษ์”

  17. ตลาดร้อยปี ตลาดสามชุก • ช่วงเวลาเฟื่องฟูของตลาดสามชุกกินเวลานานหลายสิบปี แต่หลังจากที่มีการตัดถนนผ่านสามชุก ผู้คนเปลี่ยนไปใช้ถนนเป็นเส้นทางสัญจรมากขึ้น ส่งผลให้ วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ และการค้าที่ตลาดสามชุกเริ่มซบเซา แต่ตลาดสามชุกก็ยังคงดำเนินวิถีของตลาดห้องแถวไปอย่างต่อเนื่อง • ด้วยความที่ วิถีชีวิตและลักษณะทางกายภาพของชุมชนตลาดสามชุกมีกาลเปลี่ยนแปลงน้อยมาก แม้ว่าจะผ่านกาลเวลามานับร้อยปี เหตุนี้ประชาคมชาวตลาดสามชุกจึงได้มีการปรับปรุง ฟื้นฟู และร่วมกันอนุรักษ์สถาปัตยกรรมไม้ของตลาดสามชุกไว้เป็นมรดกทางวัฒนธรรม รวมทั้งพัฒนาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และแหล่งเรียนรู้ของชุมชน เพื่อให้ตลาดสามชุกกลับมีชีวิตชีวาขึ้นอีกครั้ง

  18. ตลาดร้อยปี ตลาดสามชุก การเดินทาง สู่ตลาดสามชุก จากกรุงเทพฯ ผ่าน อ. บางบัวทอง จ. นนทบุรี ไปจนถึงตัว จ.สุพรรณบุรี ระยะทางประมาณ 107 กม. จากนั้นไปตามหลวงหมายเลข 340 แยกเข้า อ. สามชุก ตัวตลาดอยู่ริมแม่น้ำสุพรรณติดกับที่ว่าการอำเภอสามชุก

  19. หมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทย(หมู่บ้านควาย)หมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทย(หมู่บ้านควาย) ควาย....กับ...คน ผูกพันกันมาแต่โบราณ โดยเฉพาะวิถีชีวิตคนไทยในอดีต เราได้ใช้แรงงานควายเพื่อการเกษตร จนสามารถพูดได้ว่า.... ควายคือชีวิตของคนไทย คนไทยในอดีต ยกย่อง ควาย ว่าเป็นสัตว์ที่มีบุญคุณ โดยจะทำขวัญควายเมื่อสิ้นฤดูไถหว่านเพื่อแสดงความกตัญญูต่อควาย สมัยก่อนเราจะไม่ฆ่าควายเพื่อกินเนื้อ แต่จะเลี้ยงดูอยู่ด้วยกันจนกว่าจะแก่เฒ่า  และตายตามอายุขัย แต่ปัจจุบัน...หลายอย่างเปลี่ยนไป เทคโนโลยีที่ทันสมัย เข้ามาแทนที่ ทำให้คนมองคุณค่าของควาย ที่สำคัญและยิ่งใหญ่มาตั้งแต่อดีตกาลนั้น ได้สูญหายลงไปอย่างน่าเสียดาย...

  20. หมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทย(หมู่บ้านควาย)หมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทย(หมู่บ้านควาย) หมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทย  ชมการจำลองวิถีชีวิตของชุมชนชาวบ้านในแถบชนบทประกอบด้วย หมู่บ้านชนบทไทย ที่แสดงถึงวิถีชีวิตของชาวนาไทยสมัยโบราณเรือนปลายนา เรือนของชานาที่ค่อนข้างยากจนเรือนศรีประจันต์ เป็นเรือนไม้ไผ่หลังคามุงจากมีใต้ถุน เรือนไทยหมู่ภาคกลางประกอบด้วย เรือนคหบดี เรือนแพทย์แผนไทย เรือนโหราจารย์ ลานแสดงศิลปวัฒนธรรม ลานแสดงควาย สวนพืชสมุนไพร

  21. วัดไผ่โรงวัว ตั้งอยู่ที่ ตำบลบางตาเถรห่างจากตัวจังหวัดสุพรรณบุรีประมาณ 43 กิโลเมตร หรือจากกรุงเทพฯประมาณ 70 กิโลเมตร ตามเส้นทางสายตลิ่งชัน-สุพรรณบุรีมีทางแยกซ้ายก่อนถึงสามแยกลาดบัวหลวงเข้าสู่วัดไผ่โรงวัววัดนี้สร้างเมื่อ พ.ศ. 2469 เป็นวัดที่มีพุทธ-ศาสนิกชนและบุคคลทั่วไป นิยมไปเที่ยวชมกันมาก หลวงพ่อขอม  ได้ดำเนินการก่อสร้าง “พระพุทธโคดม” เป็นพระพุทธรูปโลหะสำริดองค์ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยเริ่มก่อสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2502 ใช้เวลาก่อสร้างนานถึง 17 ปีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงยกพระเกตุมาลา เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2512 

  22. วัดไผ่โรงวัว ภายในวัดมีสิ่งก่อสร้างเกี่ยวกับพุทธศาสนาได้แก่ “สังเวชนียสถาน 4 ตำบล” คือสถานที่ที่พระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ ปฐมเทศนา และปรินิพพานกับงานประติมากรรมหรือภาพปั้นเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัตินรกภูมิรวมทั้งวรรณคดีและประวัติศาสตร์ นอกจากนี้ยังมี “พระธรรมจักร” หล่อด้วยทองสำริดใหญ่ที่สุดในโลก “พระกะกุสันโธ” พระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่ที่สุดในโลก “ฆ้องและบาตร” ใหญ่ที่สุดในโลก “พระวิหารร้อยยอด” รวมทั้งสิ่งก่อสร้างอื่นๆ อีกมากมาย

  23. อนุสรณ์ดอนเจดีย์ พระนเรศวร

  24. อนุสรณ์ดอนเจดีย์ พระนเรศวร พระนเรศวรทรงแสดงฝีมือในการรบ.... ปีพศ.๒๑๑๗ พระเจ้าหงสวาดีบุเรงนองสิ้นพระชนม์ ราชบุตรชื่อมังเอิญหรือมังไชยสิงห์ ได้ขึ้นครองราชย์ต่อพระนามว่าพระเจ้านันทบุเรง ตามธรรมเนียมประเพณีแล้วบรรดาประเทศราชที่เป็นเมืองขึ้นจะต้องเดินทางไปถวายบังคมกษัตริย์องค์ ใหม่แสดงความจงรักภักดีรวมทั้งไทยด้วย แต่ว่าเมืองคังมีเจ้าฟ้าไทยใหญ่เป็นผู้ครองนครไม่เดินทางมาร่วม หมายถึงกระด้างกระเดืองคิดแข็งเมือง ทางพระเจ้านันทบุเรงได้สั่งให้ยกทัพไปปราบเมืองคัง เพื่อแสดงอำนาจบารมี โดยมีการจัดทัพเป็น ๓ กองทัพคือ ๑ กองทัพพระมหาอุปราช เป็นโอรสของพระเจ้านันทบุเรง มีชื่อเดิม มังสามเกียด หรือมังกะยอชะวา ๒ กองทัพพระสังกะทัต เป็นราชบุตรของพระเจ้าตองอู มีชื่อเดิม นัดจินหน่อง ๓ กองทัพสมเด็จพระนเรศวร เป็นโอรสของพระมหาธรรมราชากษัตริย์ไทย

  25. อนุสรณ์ดอนเจดีย์ พระนเรศวร เมืองคังมีทำเลอยู่บนเขาทางขึ้นก็เป็นซอกเขา ยากต่อการเข้ายึด เริ่มการศึกทาง พระมหาอุปราชเข้าตีก่อนและแพ้ลงมา ครั้งที่สองให้พระสังกะทัตเข้าตีก็ไม่สำเร็จ ต่อไปเป็นหน้าที่ของสมเด็จพระนเรศวร ด้วยทรงพระปรีชาสามารถจึงตีเมืองคังได้สำเร็จและจับตัวเจ้าฟ้าไทยใหญ่มาถวายพระเจ้านันทบุเรงอีกด้วย การศึดครั้งนี้สร้างความอับอายให้พระเจ้านันทบุเรงมาก เพราะต้องการให้ราชโอรสชนะ ใช่แต่เรื่องการศึกเท่านั้นในยามว่างก็มีการนำไก่ชนมาตีกัน ระหว่างไก่ของสมเด็จพระนเรศวรและพระมหาอุปราช ผลคือไก่ชนของพระนเรศวรตีชนะทำเอาพระมหาอุปราชเสียหน้าจึงตรัสว่า “ ไก่เชลยตัวนี้เก่งจริงหนอ ” พระนเรศวร ทรงได้ยินดังนั้นจึงตรัสกลับไปว่า “ ไก่ตัวนี้อย่าว่าแต่จะพนันเอาเดิมพันเลย ถึงจะชนเอาบ้านเอาเมืองก็ได้ ” ( ถ้าลำดับเหตุการณ์ตั้งแต่สมัยที่สมเด็จพระนเรศวรทรงขับไล่เขมร การตีเมืองคัง ได้สำเร็จ จนถึงการชนไก่ จะเห็นว่าสมเด็จพระนเรศวรทรงมีพระบารมีเหนือกว่า ทางฝ่ายพม่ามากนัก)

  26. อนุสรณ์ดอนเจดีย์ พระนเรศวร • การแสดงแสง-สี-เสียง ในงานอนุสรณ์ดอนเจดีย์จะมีการแสดงทุกปีในช่วงวันที่ 25 มกราคม ของทุกปีประกอบด้วยการแสดงของเหล่านักแสดงนับพันคนและการชนช้างการฟ้อนรำที่งดงาม และเรื่องราวของประวัติศาสตร์สมัยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชที่ให้ทั้งความรู้ ความสนุกสนานและเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณขององค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช • การเดินทางอยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 31 ก.ม.

  27. วัดป่าเลไลยก์ กล่าวกันเสมอว่า ถ้ามาเมืองสุพรรณ แล้วไม่ได้แวะมากราบไหว้หลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์ ก็เหมือนมาไม่ถึงเมืองสุพรรณด้วยที่วัดป่าเลไลยก์เป็นวัดสำคัญในจังหวัดสุพรรณเป็นวัดที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานเป็นสถานที่หนึ่งในวรรณคดีเรื่อง ขุนช้าง-ขุนแผนเป็นวัดที่คนทั่วไปต้องหาโอกาสมากราบไหว้สักครั้งหนึ่ง.....................

  28. วัดป่าเลไลยก์ วัดป่าเลไลยก์ มีความเกี่ยวข้องกับวรรณคดีอันลือชื่อของไทยคือ เสภาขุนช้างขุนแผนนิราศเมืองสุพรรณของสุนทรภู่เสภาขุนช้างขุนแผนเมื่อนางทองประศรี พาพลายแก้วไปอยู่เมืองกาญจน์เก็บหอมรอมริบ จนกระทั่งมีฐานะเป็นเศรษฐี และเมื่อพลายแก้วเติบโตก็ได้บรรพชาเป็นสามเณรและได้มาเรียนคาถาอาคม พร้อมกับเทศน์มหาชาติ กับสมภารมีแห่งวัดป่าเลไลยก์เพื่อเป็นการอนุรักษ์เรื่องราวดีๆ   ทางวัดป่าเลไลยก์ ได้จัดให้มีเทศน์มหาชาติขึ้นเป็นประจำทุกปี และสร้างเรือนขุนช้าง เป็นเรือนไทย ไม้สัก เพื่อให้ลูกหลานได้ทัศนศึกษาสืบต่อไป....... ปัจจุบันวัดป่าเลไลยก์ มีสถานะเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร

  29. วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ

  30. วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ อยู่ถนนสมภารคง แยกจากถนนมาลัยแมนไปประมาณ 300 เมตร เขตตำบลรั้วใหญ่ ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำสุพรรณบุรี ในสมัยก่อนเป็นศูนย์กลางของเมืองสุพรรณภูมิ เป็นวัดคู่บ้านคู่เมือง มีอายุไม่ต่ำกว่า 600 ปี ปรางค์องค์ประธานเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ แต่ถูกลักลอบขุดค้นหาทรัพย์สินจนทรุดโทรมไปมาก กรุในองค์พระปรางค์นี้เป็นต้นกำเนิดพระพิมพ์ผงสุพรรณบุรีที่โด่งดังมาก อันเป็นหนึ่งใน “เบญจภาคี” 5 พระเครื่องยอดนิยม อันได้แก่ พระสมเด็จนางพญาของสมเด็จพระพุทธาจารย์(โต) วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพมหานคร พระผงสุพรรณ จังหวัดสุพรรณ พระสมเด็จนางพญา จังหวัดพิษณุโลก พระทุ่งเศรษฐี จังหวัดกำแพงเพชรและพระรอด จังหวัดลำพูน นักโบราณคดีหลายท่านให้ความเห็นว่า ปรางค์องค์นี้น่าจะเป็นศิลปะการก่อสร้างสมัยอู่ทองสุพรรณภูมิ เพราะจากหลักฐานการก่อสร้างองค์ปรางค์เป็นการก่ออิฐไม่ถือปูน ซึ่งเป็นวิธีการเก่าแก่ก่อนสมัยอยุธยา

  31. วัดพระนอน

  32. วัดพระนอน ตั้งอยู่ตำบลพิหารแดง เลยวัดหน่อพุทธางกูรไปเล็กน้อย วัดพระนอนนี้อยู่ติดกับแม่น้ำท่าจีน สร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ ภายในวัดมี อุทยานมัจฉา อยู่บริเวณริมน้ำหน้าวัด มีปลานานาชนิดชุกชุม ทั้งปลาสวาย ปลาตะเพียน ปลาแรด ทางวัดประกาศเป็นเขตอภัยทาน ปลูกต้นไม้ ทั้งไม้ผลและไม้ประดับ บริเวณวัดจึงร่มรื่นสวยงาม และเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจที่ขึ้นหน้าขึ้นตาแห่งหนึ่งของจังหวัด และยังมีวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปปางไสยาสน์สลักจากหิน มีลักษณะแปลกกว่าที่อื่น คือ เป็นพระพุทธรูปอยู่ในลักษณะนอนหงายขนาดเท่าคนโบราณยาวประมาณ 2 เมตร ลักษณะคล้ายกับพระนอนที่เมืองกุสินารา ประเทศอินเดีย สถานที่ปรินิพพานของพระพุทธเจ้า และยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวหนึ่งใน Unseen Thailand อีกด้วย

  33. อุทยานแห่งชาติพุเตย ดินแดนแห่งขุนเขา ป่าหนึ่งเดียวที่สมบูรณ์ที่สุดของเมืองสุพรรณ เป็นชายป่าผืนสุดท้ายของป่าห้วยขาแข้งเป็นสถานที่ที่เหมาะกับนักเดินทางที่หลงใหลในธรรมชาติ ความสงบเงียบ ป่าเขา น้ำตก ความงดงามงามของดวงอาทิตย์ยามเช้า ไอหมอก ความหนาวเย็น และวิถีชีวิตของชนชาวกระเหรี่ยง......

  34. อุทยานแห่งชาติพุเตย ป่าสนสองใบธรรมชาติมีประมาณกว่า 1,300 ต้นอยู่บนเทือกเขาพุเตยเป็นป่าแปลกมหัศจรรย ์เพราะป่าสนจะเจริญเติบโตในพื้นที่ภูเขาสูงชัน มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,000 เมตรขึ้นไป แต่ป่าสนแห่งนี้เจริญเติบโตบนพื้นที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลเพียง 763 เมตรเท่านั้นสภาพป่าสมบูรณ์มากจนได้รับเลือกให้เป็นศูนย์แม่พันธุ์ไม้สนสองใบในภาคกลาง บางต้นมีขนาดใหญ่วัดได้ถึง 2-3 คนโอบห่างจากที่ทำการหน่วยพิทักษ์อุทยานฯ ที่ 1 (พุเตย) ประมาณ 12 กิโลเมตร

  35. อุทยานแห่งชาติพุเตย หมู่บ้านกระเหรี่ยงตะเพินคี่ เป็นป่าที่สวยงาม และเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านกะเหรี่ยง ชนกลุ่มน้อยที่อาศัยมากว่า 200 ปีผืนป่า และต้นน้ำตะเพินคี่ ยังคงสภาพสมบูรณ์เหมาะแก่การท่องเที่ยวเชิงผจญภัยล่องไพร เป็นดินแดนแห่งความหนาวเย็นในหน้าหนาวอุณหภูมิจะลดลง 5-6  ํC ยอดเขาเทวดาที่ความสูงกว่า 1000 เมตรและยังเป็นดินแดนรอยต่อของสามจังหวัด สุพรรณบุรี-อุทัยธานี-กาญจนบุรี

  36. อุทยานแห่งชาติพุเตย น้ำตกตะเพินคี่น้อยเป็นน้ำตกขนาดเล็กอยู่ใกล้กับหมู่บ้านตะเพินคี่มีน้ำไหลตลอดปี เป็นความงดงามทางธรรมชาติที่คนภายนอกไม่ค่อยได้มีโอกาสไปสัมผัส เหมาะสำหรับผู้ที่รักการเดินทางแบบผจญภัยเล็กๆการเดินทาง หน้าฝนควรเป็นรถขับเคลื่อน 4 ล้อ ส่วนหน้าแล้งรถยนต์นั่งธรรมดาก็สามารถไปได้ น้ำตกตะเพินคี่ใหญ่เป็นน้ำตกขนาดเล็กมีสองชั้นความสูงประมาณชั้นละ 5-6 เมตร มีน้ำไหลตลอดปีเพราะเป็นต้นน้ำและบ่อน้ำผุด ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ

  37. รอยพระพุทธบาทวัดเขาดีสลักรอยพระพุทธบาทวัดเขาดีสลัก

  38. รอยพระพุทธบาทวัดเขาดีสลักรอยพระพุทธบาทวัดเขาดีสลัก เป็นรอยพระพุทธบาทจำลองสร้างด้วยหินสีเขียวมีลักษณะแตกต่างจากรอยพระพุทธบาทที่พบตามที่อื่นๆ คือ เป็นรอยพระพุทธบาทนูน ขนาดกว้างประมาณ 65.5 ซม. ยาว 141.5 ซม.นักโบราณคดีให้ความเห็นว่าเป็นศิลปะสมัยทวาราวดีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 14-16 นอกจากนี้ยังพบโพรงหินภายในมีพระพุทธรูปและโบราณวัตถุต่าง ๆ อีกหลายชนิด

  39. รอยพระพุทธบาทวัดเขาดีสลักรอยพระพุทธบาทวัดเขาดีสลัก กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณวัตถุและสร้างมณฑปทรงไทยสวยงามครอบไว้มีการดูแลโดยรอบบริเวณอย่างดี มีถนนราดยางขึ้นสู่มณฑปบนยอดเขามองเห็นทุ่งโล่งกว้าง และทิวเขาสลับสับซ้อนของอำเภออู่ทองและสร้างระฆัง 72 ใบ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวครบรอบ 72 พรรษา ผู้สนใจประวัติศาสตร์และโบราณคดีน่าไปศึกษาอย่างยิ่ง

  40. รอยพระพุทธบาทวัดเขาดีสลักรอยพระพุทธบาทวัดเขาดีสลัก ช่วงหน้าฝน ราวเดือนสิงหาคม-กันยายน จะมีดอกไม้ป่าสีขาวออกดอกบานสะพรั่งสวยงามทั่วทั้งเขาและรอบๆบริเวณวัด

  41. THE END

  42. จัดทำโดย นางสาวศิริวรรณ วิทย์วรนาถ รหัสนิสิต 5210101916 คณะเกษตร ภาควิชาคหกรรมศาสตร์ หมู่บรรยายที่ 3 หมู่ปฏิบัติ 12 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน

More Related