350 likes | 500 Vues
แนวทางการเสนอผลงาน. เพื่อขอตำแหน่งทางวิชาการ. 1. 3. 5. 7. 2. 4. 6. หัวข้อ. หัวข้อการนำเสนอ. คุณสมบัติ. การเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ. ผลการสอน. ผลงานทางวิชาการ. การเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ. การมีส่วนร่วมในผลงานวิชาการ. ข้อแนะนำ. คุณสมบัติ. ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ปริญญาตรี 9 ปี
E N D
แนวทางการเสนอผลงาน เพื่อขอตำแหน่งทางวิชาการ
1 3 5 7 2 4 6 หัวข้อ หัวข้อการนำเสนอ คุณสมบัติ การเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ ผลการสอน ผลงานทางวิชาการ การเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ การมีส่วนร่วมในผลงานวิชาการ ข้อแนะนำ
คุณสมบัติ ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ • ปริญญาตรี 9 ปี • ปริญญาโท 5 ปี • ปริญญาเอก 2 ปี ตำแหน่งรองศาสตราจารย์ ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี ตำแหน่งศาสตราจารย์ ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์มาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี
การเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ ศึกษากฎ –ระเบียบ-ความหมายของผลงานแต่ละประเภท • ระเบียบคณะกรรมการการอุดมศึกษา ว่าด้วยมาตรฐานหลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งคณาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2550 • ข้อบังคับมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ว่าด้วยการประชุมและการดำเนินงานของคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ พ.ศ. 2551 • ประกาศมหาวิทยาลัยกรุงเทพ เรื่อง หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติในการเสนอขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ พ.ศ. 2551 • ฯลฯ http://ireo.bu.ac.th
การเตรียมเอกสาร เสนอบันทึกผ่านตามสายงานพร้อมเอกสารดังนี้ • แบบประวัติส่วนตัว 1 ชุด • แบบประเมินคุณสมบัติโดยผู้บังคับบัญชา 1 ชุด • เอกสารประกอบการสอนหรือเอกสารคำสอน 6 ชุด • ผลงานทางวิชาการ 6 ชุด • ผลประเมินการเรียนการสอนของนักศึกษา 6 ชุด • หนังสือแจ้งความประสงค์เรื่องการรับรู้ข้อมูลฯ 1 ชุด
ขั้นตอนการดำเนินงาน ให้ความเห็นชอบ ให้ / ไม่ให้ ดำรงตำแหน่ง พิจารณาและลงมติจากข้อเสนอแนะของ กวจ. สมควร/ยังไม่สมควร ให้ดำรงตำแหน่ง ประธานมาจากคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ (กพว.) กรรมการ 3-5 คน ประชุม 1-2 ครั้ง เสนอแนะความเห็นว่าสมควร - ผ่าน - ไม่ผ่าน - แก้ไขปรับปรุง 30/60/90 วัน เลขาฯ กพว. เป็นประธาน, ผอ.สวก, ผู้บังคับบัญชาในสังกัด, ผู้บังคับบัญชาที่เกี่ยวข้อง พิจารณาว่าผลงานเข้าเกณฑ์หรือไม่ / แต่งตั้ง กวจ. • ตรวจสอบคุณสมบัติ • ตรวจสอบเอกสาร • เตรียมเอกสารเข้าสู่การประชุม กรรมการสภา กพว. (คณะกรรมการพิจารณาฯ) กวจ. (Readers) คณะอนุกรรมการ ประเมินผลการสอน กพว. (คณะกรรมการพิจารณาฯ) ฝ่ายเลขานุการฯ
เกณฑ์การประเมิน ชำนาญ 3.01 – 3.75 ชำนาญพิเศษ 3.76 – 4.50 เชี่ยวชาญ 4.51 – 5.00 ผลการสอน แบบประเมินผลการสอนโดยผู้บังคับบัญชา ระดับผู้ช่วยศาสตราจารย์ ต้องมีผลการสอนอยู่ในระดับ ชำนาญ ระดับรองศาสตราจารย์ ต้องมีผลการสอนอยู่ในระดับ ชำนาญพิเศษ ระดับศาสตราจารย์ ต้องมีผลการสอนอยู่ในระดับ เชี่ยวชาญ
ผลงานทางวิชาการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ก. ผลงานวิจัยซึ่งมีคุณภาพดีและได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่มาแล้ว ทั้งนี้ ไม่นับงานวิจัยที่ทำเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญาหรือประกาศนียบัตรใดๆหรือผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่นซึ่งมีคุณภาพดีและ ข. ผลงานแต่งหรือเรียบเรียง ตำรา หนังสือ หรือบทความทางวิชาการ ซึ่งมีคุณภาพดีและได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด
ผลงานทางวิชาการ กวจ. (ผู้ช่วยศาสตราจารย์) 3-5 คน ผลงานทุกหมวดต้องอยู่ในเกณฑ์ดี เกณฑ์การพิจารณา
ผลงานทางวิชาการ รองศาสตราจารย์ ก. ผลงานวิจัยซึ่งมีคุณภาพดีและได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่มาแล้ว ทั้งนี้ ไม่นับงานวิจัยที่ทำเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญาหรือประกาศนียบัตรใดๆหรือผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่นซึ่งมีคุณภาพดีและ ข. ผลงานแต่งหรือเรียบเรียง ตำรา หนังสือ ซึ่งมีคุณภาพดีและได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด
เกณฑ์การพิจารณาระดับ ผลงานทางวิชาการ กวจ.(รองศาสตราจารย์) 3-5 คน ผลงานทุกหมวดต้องอยู่ในเกณฑ์ดี
ผลงานทางวิชาการ ศาสตราจารย์ แบบที่ 1 ก. ผลงานวิจัยซึ่งมีคุณภาพดีมากและได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่มาแล้ว ทั้งนี้ ไม่นับงานวิจัยที่ทำเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญาหรือประกาศนียบัตรใดๆ หรือ ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่นซึ่งมีคุณภาพดีมากและ ข. ผลงานแต่งตำราหรือหนังสือ ซึ่งมีคุณภาพดีมากและได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด
ผลงานทางวิชาการ ศาสตราจารย์ แบบที่ 2 ก. ผลงานวิจัยที่มีคุณภาพดีเด่นซึ่งได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่มาแล้ว ทั้งนี้ ไม่นับงานวิจัยที่ทำเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญาหรือประกาศนียบัตรใดๆหรือ ข. ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ที่มีคุณภาพดีเด่นหรือ ค. ผลงานแต่งตำราหรือหนังสือ ซึ่งมีคุณภาพดีเด่นและได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด
เกณฑ์การพิจารณาระดับศาสตราจารย์เกณฑ์การพิจารณาระดับศาสตราจารย์ ผลงานทางวิชาการ แบบที่ 1 ดีมาก กวจ. 3-5 คน แบบที่ 2 ดีเด่น กวจ. 5 คน
การเผยแพร่ผลงานทางวิชาการการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ • เอกสารที่จัดทำเป็นรูปเล่มหรือถ่ายสำเนาเย็บเล่ม หรือ เป็นสื่ออื่นๆ ที่ได้ใช้ประกอบการสอนวิชาใดวิชาหนึ่งในหลักสูตรของมหาวิทยาลัยกรุงเทพมาแล้ว เอกสารประกอบการสอน
การเผยแพร่ผลงานทางวิชาการการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ • เอกสารที่จัดทำเป็นรูปเล่มด้วยการพิมพ์ หรือถ่ายสำเนาเย็บเล่ม หรือสื่ออื่นๆ ที่แสดงหลักฐานว่าได้เผยแพร่โดยใช้เป็น "คำสอน" ให้แก่ผู้เรียนในวิชานั้นๆ มาแล้ว เอกสารคำสอน
การเผยแพร่ผลงานทางวิชาการการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ งานวิจัย • การเผยแพร่รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ที่มีรายละเอียดและความยาว ต้องแสดงหลักฐานว่าได้ผ่านการประเมินคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และแสดงหลักฐานว่าได้เผยแพร่ไปยังวงวิชาการและวิชาชีพในสาขาวิชานั้น และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องในประเทศและต่างประเทศอย่างกว้างขวาง • เผยแพร่ในวารสารทางวิชาการ เป็นรูปเล่มสิ่งพิมพ์หรือเป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่มีกำหนดการเผยแพร่อย่างแน่นอนชัดเจน • เผยแพร่ในหนังสือรวมบทความวิจัยในรูปแบบอื่นที่มีผู้ทรงคุณวุฒิประเมินและตรวจสอบคุณภาพ • นำเสนอเป็นบทความวิจัยต่อที่ประชุมทางวิชาการ ซึ่งภายหลังได้มีผู้ทรงคุณวุฒิและนำไปรวมเล่มเผยแพร่ในหนังสือประมวลผลการประชุมทางวิชาการ (Proceedings) ของการประชุมทางวิชาการระดับชาติหรือนานาชาติ
การเผยแพร่ผลงานทางวิชาการการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ ผลงานวิชาการในลักษณะอื่น • การเผยแพร่ด้วยวิธีการพิมพ์ โดยโรงพิมพ์ (PRINTING HOUSE) หรือสำนักพิมพ์ (PUBLISHING HOUSE) หรือ โดยการถ่ายสำเนาเย็บเป็นรูปเล่ม หรือรูปแบบอื่นๆ • การเผยแพร่โดยสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ เช่น การเผยแพร่ในรูปของซีดีรอม ฯลฯ • การเผยแพร่โดยการจัดนิทรรศการ การจัดแสดง การจัดการแสดง หรือโดยมีการนำไปใช้หรือประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลาย ต้องเผยแพร่สู่สาธารณชนมาแล้วไม่น้อยกว่าสี่เดือน
การเผยแพร่ผลงานทางวิชาการการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ ตำรา • การเผยแพร่ด้วยวิธีการพิมพ์ โดยโรงพิมพ์ (PRINTING HOUSE) หรือสำนักพิมพ์ (PUBLISHING HOUSE) หรือโดยการถ่ายสำเนาเย็บเป็นรูปเล่ม หรือรูปแบบอื่นๆ • การเผยแพร่โดยสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ เช่น การเผยแพร่ในรูปของซีดีรอม ฯลฯ การเผยแพร่จะต้องเป็นไปอย่างกว้างขวางมากกว่าการใช้ในการเรียนการสอนวิชาต่างๆ ในหลักสูตรเท่านั้น จำนวนพิมพ์เป็นดัชนีที่อาจแสดงการเผยแพร่อย่างกว้างขวางได้ ต้องใช้ในการเรียนการสอนมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งภาคการศึกษา
การเผยแพร่ผลงานทางวิชาการการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ หนังสือ • การเผยแพร่ด้วยวิธีการพิมพ์ โดยโรงพิมพ์ (PRINTING HOUSE) หรือสำนักพิมพ์ (PUBLISHING HOUSE) • การเผยแพร่โดยสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ เช่น การเผยแพร่ในรูปของซีดีรอม ฯลฯ การเผยแพร่จะต้องเป็นไปอย่างกว้างขวางมากกว่าการใช้ในการเรียนการสอนวิชาต่างๆ ในหลักสูตรเท่านั้น จำนวนพิมพ์เป็นดัชนีที่อาจแสดงการเผยแพร่อย่างกว้างขวางได้ ต้องเผยแพร่สู่สาธารณชนมาแล้วไม่น้อยกว่าสี่เดือน
การเผยแพร่ผลงานทางวิชาการการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ บทความทางวิชาการ • เผยแพร่ในวารสารทางวิชาการ เป็นรูปเล่มสิ่งพิมพ์หรือเป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่มีกำหนดการเผยแพร่อย่างชัดเจน • เผยแพร่ในหนังสือรวมบทความในรูปแบบอื่นที่มีผู้ทรงคุณวุฒิประเมินและตรวจสอบคุณภาพของบทความต่างๆ ในหนังสือนั้นแล้ว • เผยแพร่ในหนังสือประมวลผลการประชุมทางวิชาการ (Proceedings) ของการประชุมทางวิชาการในระดับชาติ หรือระดับนานาชาติ ที่มีผู้ทรงคุณวุฒิประเมินและตรวจสอบคุณภาพของบทความที่นำเสนอ
การเผยแพร่ผลงานทางวิชาการการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ งานแปล • การเผยแพร่ด้วยวิธีการพิมพ์ โดยโรงพิมพ์ (PRINTING HOUSE) หรือสำนักพิมพ์ (PUBLISHING HOUSE) • การเผยแพร่โดยสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ เช่น การเผยแพร่ในรูปของซีดีรอม ฯลฯ การเผยแพร่จะต้องเป็นไปอย่างกว้างขวางมากกว่าการใช้ในการเรียนการสอนวิชาต่างๆ ในหลักสูตรเท่านั้น จำนวนพิมพ์เป็นดัชนีที่อาจแสดงการเผยแพร่อย่างกว้างขวางได้ ต้องเผยแพร่สู่สาธารณชนมาแล้วไม่น้อยกว่าสี่เดือน
การมีส่วนร่วมในผลงานวิชาการการมีส่วนร่วมในผลงานวิชาการ ผลงานทางวิชาการทุกประเภท ผู้ขอตำแหน่งต้องมีส่วนร่วมไม่น้อยกว่า 50% จึงจะสามารถเสนอขอผลงานได้
การมีส่วนร่วมในผลงานวิชาการการมีส่วนร่วมในผลงานวิชาการ งานวิจัย ต้องเป็นผู้วิจัยหลักรับผิดชอบครอบคลุมส่วนต่างๆ ดังนี้ • การออกแบบการวิจัย • การวิเคราะห์ข้อมูล • การสรุปผลการวิจัย • ข้อเสนอแนะ
ข้อแนะนำ การเสนอผลงานต้องมีเนื้อหาที่แสดงความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่เสนอขอตำแหน่ง ไม่เปลี่ยนความเชี่ยวชาญ
ข้อแนะนำ การขอตำแหน่งทางวิชาการโดยวิธีพิเศษ • การเปลี่ยนแปลงความเชี่ยวชาญ • การข้ามระดับ • คุณสมบัติไม่ครบตามเกณฑ์
ข้อแนะนำ กวจ. 5 คน คะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 4 ใน 5 คุณภาพ ผศ./รศ. ระดับดีมาก ศ. ระดับดีเด่น
ข้อแนะนำ ผลงานต้องครอบคลุมครบถ้วนตรงกับสาขาที่ขอตำแหน่ง
ข้อแนะนำ ให้ระมัดระวังเกี่ยวกับจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ ตามเกณฑ์ 5 ข้อ ดังนี้
ข้อแนะนำ • ความซื่อสัตย์ทางวิชาการ ไม่นำผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน ไม่ลอกเลียนผลงานของผู้อื่น ไม่นำผลงานในเรื่องเดียวกันไปเผยแพร่ในวารสารวิชาการมากกว่าหนึ่งฉบับ ที่จะทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นผลงานใหม่ • ให้เกียรติและอ้างถึงบุคคลหรือแหล่งที่มาของข้อมูลที่นำมาใช้ • ไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ทางวิชาการจนละเลยหรือละเมิดสิทธิผู้อื่น • ผลงานต้องได้มาจากการศึกษาโดยใช้หลักวิชาการ เสนอผลตามความเป็นจริง • นำผลงานไปใช้ประโยชน์ในทางที่ชอบธรรมและชอบด้วยกฎหมาย
ข้อแนะนำ ประมวลข้อเสนอแนะของ กวจ. (ปีการศึกษา 2550-2551) เอกสารประกอบการสอน/เอกสารคำสอน/ตำรา/หนังสือ การพิมพ์ • ควรตรวจทานเครื่องหมาย ตัวสะกด และวรรคตอนให้ถูกต้อง • รูปแบบการพิมพ์ ขอให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งเล่ม • ควรมีสารบัญรูปภาพที่นำมาใช้ และใส่เลขที่รูปภาพทุกรูป
ข้อแนะนำ เอกสารประกอบการสอน/เอกสารคำสอน/ตำรา/หนังสือ เนื้อหา • ควรมีความทันสมัยในสาขาวิชาชีพ • ควรใช้คำศัพท์ตามราชบัณฑิตยสถาน/มาตรฐานวิชาชีพ • ควรใช้คำศัพท์คำเดียวกัน • ควรเรียงลำดับเนื้อหาให้มีความเชื่อมโยงและต่อเนื่องกัน • ควรครอบคลุมเนื้อหาวิชาทั้งหมด • ควรมีการสรุปความคิดเห็นของผู้เขียน นอกเหนือจากการเรียบเรียงมาจากแหล่งต่างๆ
ข้อแนะนำ เอกสารประกอบการสอน/เอกสารคำสอน/ตำรา/หนังสือ การอ้างอิง • ควรใช้ระบบอ้างอิงที่เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งเล่ม • ควรใช้แหล่งอ้างอิงที่ทันสมัยตามสาขาวิชาชีพ • ควรมีการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลและรูปภาพที่นำมาจากเว็บไซต์ • ควรจัดทำบรรณานุกรมให้ครบถ้วน/ตรงกับการอ้างอิง • ควรระมัดระวังเรื่องลิขสิทธิ์: กรณีนำผลงานของผู้อื่นจำนวนมากมาอ้างอิง ต้องขออนุญาตจากเจ้าของผลงาน • ควรเขียนเชิงอรรถ (Footnote) เมื่อคัดลอกผลงานมาจากที่อื่น
ข้อแนะนำ การวิจัย • ควรเลือกหัวข้อการวิจัยที่จะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอนในสาขาวิชา/สังคม • ควรอภิปรายและให้ข้อเสนอแนะผลที่เกิดจากการวิจัยและในการวิจัยครั้งต่อไป • ควรมีการอ้างอิงเมื่อนำแบบสอบถาม/ข้อมูลของผู้อื่นมาใช้
ข้อแนะนำ บทความทางวิชาการ • ควรเป็นงานเขียนที่มีการวิเคราะห์ประเด็นในรายละเอียด • ควรแสดงทัศนะและภูมิปัญญาของผู้เขียน • ควรมีการสรุปประเด็น โดยอาจนำความรู้จากแหล่งต่างๆ มาสังเคราะห์ • มีการเขียนอ้างอิงที่ถูกต้อง • มีการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการ/วิชาชีพที่มี Peer Review