1 / 108

วิชาเศรษฐศาสตร์กับการเข้าใจปัญหา ของสังคมมนุษย์

วิชาเศรษฐศาสตร์กับการเข้าใจปัญหา ของสังคมมนุษย์. สฤณี อาชวานันทกุล Fringer | คนชายขอบ http://www.fringer.org/ 28 พฤศจิกายน 2552.

hye
Télécharger la présentation

วิชาเศรษฐศาสตร์กับการเข้าใจปัญหา ของสังคมมนุษย์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. วิชาเศรษฐศาสตร์กับการเข้าใจปัญหาของสังคมมนุษย์วิชาเศรษฐศาสตร์กับการเข้าใจปัญหาของสังคมมนุษย์ สฤณี อาชวานันทกุล Fringer | คนชายขอบ http://www.fringer.org/ 28 พฤศจิกายน 2552 งานนี้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ Creative Commons แบบ Attribution Non-commercial Share Alike (by-nc-sa) โดยผู้สร้างอนุญาตให้ทำซ้ำ แจกจ่าย แสดง และสร้างงานดัดแปลงจากส่วนใดส่วนหนึ่งของงานนี้ได้โดยเสรี แต่เฉพาะในกรณีที่ให้เครดิตผู้สร้าง ไม่นำไปใช้ในทางการค้า และเผยแพร่งานดัดแปลงภายใต้ลิขสิทธิ์เดียวกันนี้เท่านั้น

  2. หัวข้อบรรยาย • พื้นฐานเรื่องเศรษฐศาสตร์ • การเติบโตทางเศรษฐกิจ • พื้นฐานเรื่องระบบตลาด • พรมแดนของเศรษฐศาสตร์ • การบริหารจัดการทรัพยากร: ที่ดินในศรีลังกา • แนะนำเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม

  3. 1. พื้นฐานเรื่องเศรษฐศาสตร์

  4. เศรษฐศาสตร์คืออะไร?

  5. “โจทย์ใหญ่” ของเศรษฐศาสตร์ • มนุษย์มีความต้องการไม่สิ้นสุด • แต่ทรัพยากรมีจำกัด • ทุนธรรมชาติ (ที่ดิน ฯลฯ) • ทุนมนุษย์ (แรงงาน ปัญญา ฯลฯ) • ทุนเงินตรา • ทุนทางสังคม ฯลฯ • ควรใช้และจัดสรรทรัพยากรแต่ละชนิด “อย่างไร”? • เรามี “ทางเลือก” อะไรบ้าง?

  6. สมมุติฐานเบื้องต้นของเศรษฐศาสตร์สมมุติฐานเบื้องต้นของเศรษฐศาสตร์ • คนเป็น “สัตว์เศรษฐกิจ” 100%? • คน “มีเหตุมีผล” 100%? • ถ้าสมมุติฐานเหล่านี้ไม่เป็นจริง ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์อาจอธิบาย “โลกแห่งความจริง” ไม่ได้ • บริบท และ เงื่อนไข เป็นสิ่งสำคัญ

  7. เศรษฐศาสตร์ศึกษาโจทย์ในหลายระดับเศรษฐศาสตร์ศึกษาโจทย์ในหลายระดับ สิ่งแวดล้อม การเมือง สถาบัน พัฒนา โลก / ประเทศ ข้อมูล การเงิน อุตสาหกรรม เครือข่าย การคลัง องค์กร ชื่อเสียง สวัสดิการ ปัจเจก

  8. คำถามใหญ่ของเศรษฐศาสตร์คำถามใหญ่ของเศรษฐศาสตร์ • ระบอบเศรษฐกิจควรผลิตสินค้าและบริการประเภทใดบ้าง? – เน้นการผลิตในภาคเกษตร หรืออุตสาหกรรม หรือบริการ หรือข้อมูล หรือ ฯลฯ? หรือควรเน้นกิจกรรมด้านกีฬา การพักผ่อน หรือที่อยู่อาศัย? • ระบอบเศรษฐกิจควรผลิตสินค้าและบริการอย่างไร? – ใช้แรงงานเป็นหลัก, ที่ดินเป็นหลัก, หรือทุนเป็นหลัก? ทำอย่างไรให้เกิดประสิทธิภาพ? • ใครควรได้ใช้สินค้าและบริการที่ผลิต? – แบ่งให้ทุกคนได้เท่าๆ กัน? ให้คนรวยได้มากกว่า? ให้คนทำงานหนักได้มากกว่า?

  9. Stock vs. Flow

  10. Positive Statements: สามารถพิสูจน์ว่าเป็นจริงหรือเท็จได้ ด้วยการเช็คข้อมูลหรือค้นคว้าวิจัยเพิ่มเติม Normative Statements: เป็น “ความเห็น” หรือ “ความรู้สึกส่วนตัว” ที่พิสูจน์ว่าเป็นจริงหรือเท็จไม่ได้ด้วยการค้นคว้าวิจัย Positive & normative economics องค์ความรู้จากเศรษฐศาสตร์แขนงใหม่ๆ เช่น เศรษฐศาสตร์ สิ่งแวดล้อม เศรษฐศาสตร์ความสุข และเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม กำลังช่วยขยับขยาย “ขอบเขต” ของสิ่งที่นักเศรษฐศาสตร์ ศึกษา  แปลง Normative เป็น Positive economics

  11. “นักเศรษฐศาสตร์พูดอะไรก็ได้”?“นักเศรษฐศาสตร์พูดอะไรก็ได้”?

  12. S0 S1 S2 D0 “นักเศรษฐศาสตร์พูดอะไรก็ได้”?

  13. S0 D2 D1 D0 “นักเศรษฐศาสตร์พูดอะไรก็ได้”?

  14. กิจกรรมทางเศรษฐกิจ

  15. บริโภคหรือลงทุน?

  16. บริโภคหรือลงทุน?

  17. บริโภคหรือลงทุน?

  18. บริโภคหรือลงทุน?

  19. บัญญัติพื้นฐานของวิชาเศรษฐศาสตร์บัญญัติพื้นฐานของวิชาเศรษฐศาสตร์

  20. บัญญัติ #1: ภาวะได้อย่าง-เสียอย่าง • บัญญัติที่ 1: คนทุกคนเผชิญภาวะ “ได้อย่าง-เสียอย่าง” (tradeoffs) เสมอ • ประสิทธิภาพ vs. ความยุติธรรม - แต่ขึ้นอยู่กับว่าเรานิยามสองคำนี้อย่างไรด้วย • เรียน vs. เล่น, บริโภค vs. ลงทุน • “โลกนี้ไม่มีอะไรฟรี” (there is no free lunch)– เพราะอะไร?

  21. บัญญัติ #2: ต้นทุนคือสิ่งที่เรายอมเสีย • บัญญัติที่ 2: ต้นทุนของอะไรก็ตามคือสิ่งที่คุณยอมเสียไปเพื่อให้ได้สิ่งนั้นมา • “โลกนี้ไม่มีอะไรฟรี” (there is no free lunch) เพราะอย่างน้อยเราทุกคนก็มี “ต้นทุนค่าเสียโอกาส” (opportunity cost) • ตัวอย่างต้นทุนเช่น เวลา เงิน ความสุข ความสบาย ฯลฯ

  22. บัญญัติ #3: คิดทีละหน่วย (margin) • บัญญัติที่ 3:คนที่มีเหตุมีผลคิดแบบ “เพิ่มทีละหน่วย” (margin) คือคำนึงถึงประโยชน์และต้นทุน “ที่เพิ่มขึ้น” ไม่ใช่ค่าเฉลี่ย • สมมติว่าต้นทุนในการบินของเครื่องบินขนาด 200 ที่นั่ง เท่ากับ $100,000 • ถ้าเที่ยวบินเหลือที่นั่ง 10 ที่ ผู้โดยสารอยากจ่ายแค่ $300 สายการบินควรขายให้หรือไม่?

  23. บัญญัติ #4: คนตอบสนองต่อสิ่งจูงใจ • บัญญัติที่ 4:คนตอบสนองต่อสิ่งจูงใจ • “เช็คช่วยชาติ” • มาตรการภาษี • ซื้อ 2 แถม 1 • ราคาศูนย์บาท = “emotional hot button”

  24. วิธีวิทยาของเศรษฐศาสตร์(economic methodology)

  25. เศรษฐศาสตร์เล่าเรื่องด้วยแผนภาพเศรษฐศาสตร์เล่าเรื่องด้วยแผนภาพ สิ่งบันเทิง อาหาร ค่าใช้จ่ายในการบริโภค (บาท) O รายได้ต่อเดือน (บาท)

  26. เศรษฐศาสตร์เล่าเรื่องด้วย Time Series พันล้าน บาท ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศและอัตราการส่งออกของไทย ที่มา: กระทรวงพาณิชย์, ธนาคารแห่งประเทศไทย

  27. อัตราส่วนก็ใช้ “เล่าเรื่อง” ได้ อัตราส่วนการใช้เชื้อเพลิงต่อรายได้ต่อหัว ปี 2548 (จำนวนตันหรือเทียบเท่า ต่อรายได้ 1 USD) ที่มา:British Petroleum Statistical Review of World Energy 2006, World Bank

  28. ข้อมูล cross-section “เล่าเรื่อง” ได้ดีกว่า ชั้นรายได้ของครัวเรือน (percentile) ที่มา: สำนักงานสถิติแห่งชาติ

  29. scale ของกราฟ มีผลทางจิตวิทยา การบริโภคอาหารต่อปี (ต่อคน) รายได้ของ ผู้บริโภค (บาท) ปริมาณที่ซื้อ ต่อปี (กิโลกรัม) ปริมาณที่ซื้อต่อปี (กิโลกรัม) 0 5,000 10,000 15,000 20,000 10 25 45 70 100 รายได้ของผู้บริโภคต่อปี (บาท) fig

  30. scale ของกราฟ มีผลทางจิตวิทยา (ต่อ) รายได้ของ ผู้บริโภค (บาท) ปริมาณที่ซื้อ ต่อปี (กิโลกรัม) 0 5,000 10,000 15,000 20,000 10 25 45 70 100 ปริมาณที่ซื้อต่อปี (กิโลกรัม) การบริโภคอาหารต่อปี (ต่อคน) รายได้ของผู้บริโภคต่อปี (บาท) fig

  31. เมื่อไหร่ที่ “ข่าวดี” เป็นข่าวดีจริงๆ? อัตราการว่างงาน (%) Unemployment fig 1989 1990 1991 1992

  32. เมื่อไหร่ที่ “ข่าวดี” เป็นข่าวดีจริงๆ? (ต่อ) Rate of change in unemployment อัตราการว่างงาน (%) อัตราการเปลี่ยนแปลงของอัตราการว่างงาน (%) Unemployment fig 1989 1990 1991 1992

  33. มูลค่า = ปริมาณ x ราคา • การ “แยกส่วน” ตัวเลขต่างๆ ออกเป็นองค์ประกอบ จะทำให้เราเข้าใจได้ดีขึ้นว่า ใครได้หรือเสียประโยชน์จากตัวเลขที่สูงขึ้นหรือลดลง • ยกตัวอย่างมูลค่าการส่งออกข้าวเปรียบเทียบ 2545 เทียบกับ 2548: • จะเห็นได้ว่ามูลค่าส่งออกข้าวที่เพิ่มขึ้นนั้นเกิดจากราคาขายที่สูงขึ้นเป็นส่วนใหญ่ (93%) มาจากปริมาณเพิ่มขึ้นเป็นส่วนน้อย (7%) • เมื่อเทียบตัวเลขนี้กับราคาที่รัฐบาลรับซื้อข้าวเปลือก จะพบว่าคนที่ได้ประโยชน์ส่วนใหญ่จากมาตรการนี้คือพ่อค้าคนกลาง ไม่ใช่เกษตรกร มูลค่าส่งออกข้าว ส่วนต่างมูลค่าส่งออก พันล้านบาท 23 ส่วนต่างที่เกิดจากปริมาณข้าว 7% 93 70 ส่วนต่างที่เกิดจากราคาข้าว 93% ที่มา: กรมส่งเสริมการส่งออก

  34. 2. การเติบโตทางเศรษฐกิจ

  35. การเติบโตทางเศรษฐกิจ

  36. ประโยชน์ของการเติบโตทางเศรษฐกิจประโยชน์ของการเติบโตทางเศรษฐกิจ

  37. ประโยชน์ของการเติบโตทางเศรษฐกิจประโยชน์ของการเติบโตทางเศรษฐกิจ นักเศรษฐศาสตร์โดยมากเชื่อว่า... • การเติบโตทางเศรษฐกิจทำให้เราผลิตทุกอย่างได้มากขึ้น โดยเฉพาะสินค้าอุปโภค • สินค้าอุปโภคบริโภคมากขึ้น  มาตรฐานความเป็นอยู่ดีกว่าเดิม  คุณภาพชีวิตดีขึ้น • เศรษฐกิจโต  รัฐเก็บภาษีได้มาก  โครงสร้างและสวัสดิการพื้นฐานดีขึ้น (ถนน โรงพยาบาล ฯลฯ) • ความมั่งคั่งที่สร้างนั้นจะ “ไหลริน” ลงมาสู่คนจนโดยอัตโนมัติ เช่น ผ่านการจ้างงาน และเมื่อรัฐบาลเก็บภาษีจากคนรวยได้มากขึ้น ก็จะช่วยคนจนได้มากขึ้น

  38. “ต้นทุน” ของการเติบโตทางเศรษฐกิจ

  39. “ต้นทุน” ของการเติบโตทางเศรษฐกิจ ตัวอย่างต้นทุนของการเติบโตทางเศรษฐกิจ • คนรวยรวยขึ้น คนจนอาจจนลงหรือลำบากกว่าเดิม  “รวยกระจุก จนกระจาย” • “ผลไหลริน” ในความเป็นจริงไม่ค่อยไหล • คอร์รัปชั่นบั่นทอนการกระจายรายได้และลดทอนคุณภาพของบริการภาครัฐ • องค์ประกอบของการเติบโตบางอย่างอาจไม่เป็นผลดีต่อประชาชน เช่น เพิ่มงบประมาณทางทหารเกินจำเป็น • องค์ประกอบ(composition) สำคัญกว่า ผลรวม(sum)

  40. ต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อมต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อม

  41. ค่าเสียโอกาสของการเติบโตทางเศรษฐกิจค่าเสียโอกาสของการเติบโตทางเศรษฐกิจ • เนื่องจากทรัพยากรมีจำกัด เราจึงมักจะต้องเลือกว่าจะเน้นการผลิตอะไรมากกว่ากัน ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ระหว่าง • สินค้าทุน (capital goods) กับ • สินค้าอุปโภคบริโภค (consumer goods) • การเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาวต้องอาศัยการลงทุนในสินค้าทุน เช่น เครื่องจักร ถนนหนทาง ทรัพย์สินทางปัญญา อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากเป็น “ปัจจัยการผลิต” ที่ผลิตสร้างการเติบโตในระยะยาว • แต่ก็ละเลยสินค้าอุปโภคบริโภคไม่ได้ เพราะรวมปัจจัยสี่ + เครื่องอำนวยความสะดวก + ปรับปรุงคุณภาพชีวิต

  42. ภาวะได้อย่าง-เสียอย่างของการเติบโตภาวะได้อย่าง-เสียอย่างของการเติบโต ค่าเสียโอกาสของสินค้าทุน K2-K1 = สินค้าอุปโภคบริโภค C1-C2 ที่ต้อง “เสียสละ” (ไม่ได้ผลิต) ปริมาณสินค้าทุน K2 ประโยชน์ K1 ต้นทุน ปริมาณสินค้าอุปโภคบริโภค C2 C1

  43. การเติบโตและศักยภาพในการผลิตการเติบโตและศักยภาพในการผลิต เมื่อประเทศยังใช้ศักยภาพในการผลิตไม่เต็มที่ เศรษฐกิจจะขยายตัวจากจุด A ไป B ได้ ทั้งสินค้าทุนและสินค้าอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้น ปริมาณสินค้าทุน B K2 A K1 ปริมาณสินค้าอุปโภคบริโภค C2 C1

  44. ในระยะยาว ต้องเพิ่มศักยภาพในการผลิต ปริมาณสินค้าทุน เมื่อประเทศผลิตเต็มศักยภาพแล้ว การเติบโตต้องอาศัยการเพิ่มศักยภาพ เช่น เพิ่มทรัพยากร (ค้นพบน้ำมัน, แรงงานต่างด้าว) หรือปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิต (เทคโนโลยี, ปรับปรุงการศึกษา) B K2 A K1 ปริมาณสินค้าอุปโภคบริโภค C2 C1

  45. การเพิ่มศักยภาพที่ดีระยะสั้นแต่อาจไม่ยั่งยืนการเพิ่มศักยภาพที่ดีระยะสั้นแต่อาจไม่ยั่งยืน ปริมาณสินค้าทุน การเพิ่มศักยภาพที่เอียงไปข้างสินค้าอุปโภคมากกว่าสินค้าทุน เช่น เงินลงทุนจากต่างชาติอาจเน้นผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคเพื่อส่งออก ประเทศเติบโตในระยะสั้น แต่ยั่งยืนหรือเปล่า? (อย่าลืมว่าสินค้าทุนเสื่อมตามกาลเวลา) B A K2 K1 ปริมาณสินค้าอุปโภคบริโภค C2 C1

  46. วิวัฒนาการ (?) ของระบบเศรษฐกิจ ระดับเสรีภาพทางเศรษฐกิจ ของประชาชน ทุนนิยมเสรีมีเพียงบางธุรกิจในบางประเทศ ในระดับโลกยังเป็นทุนนิยมสามานย์อยู่ “ทุนนิยมธรรมชาติ” “ทุนนิยมก้าวหน้า” ทุนนิยมเสรี (แนวคิด กระแสหลัก) ทุนนิยมผูกขาด/ ทุนนิยมสามานย์/ ทุนนิยมพวกพ้อง ทุนนิยมในไทยยังเป็น “ทุนนิยมสามานย์” อยู่ สาเหตุหลักๆ อาจเป็นเพราะ: • ธนกิจการเมืองยังเฟื่องฟู • โครงสร้างศักดินา/อำนาจนิยมยังอยู่ • กฎหมายป้องกันการผูกขาดไม่มีผล • กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค สังคม ฯลฯ ยังใช้ไม่ได้จริง เศรษฐกิจผูกขาด โดยรัฐ ระดับความยั่งยืนของระบบเศรษฐกิจ

  47. ปัญหาของสังคม:‘มายาคติ’ ที่ไม่เป็นจริง (1) มายาคติ ข้อเท็จจริง • เงินซื้อได้ทุกอย่าง • GDP วัด ‘สุขภาพสังคม’ ได้ • ประโยชน์จากทุนนิยมเสรี จะ ‘ไหล’ ลงมาสู่คนทุกระดับชั้นเอง โดยที่รัฐไม่ต้องแทรกแซงตลาด – “The rising tide lifts all boats” • รัฐไม่ควรแตะ “ส่วนเกิน” ของคนรวย เพราะส่วนเกินเหล่านั้นมาจากการทำงานหนักซึ่งก่อให้เกิดผลผลิตที่เป็นประโยชน์ • เงินซื้อความสุข, ความปลอดภัย, ฯลฯ ไม่ได้ ถ้ากลไกต่างๆ ไม่ทำงาน • Human Development Index (Amartya Sen) วัดระดับ ‘ความสุข’ ของประชาชนได้ดีกว่า GDP • ความมั่งคั่งของคนจำนวนมากมาจากมรดกหรือการเก็งกำไร ไม่ใช่การทำงานหนัก • “In the long run, we’re all dead”(John M. Keynes)

  48. ปัญหาของสังคม:‘มายาคติ’ ที่ไม่เป็นจริง (2) มายาคติ ข้อเท็จจริง • ทุกภาคส่วนควรมุ่งเน้นการสร้างประสิทธิภาพสูงสุดอย่างเดียว • เนื่องจากระบบตลาดเป็นระบบที่ดีที่สุดในการสร้างประสิทธิภาพ รัฐจึงควรปล่อยให้ระบบตลาดทำงานด้วยตัวของมันเอง • ประสิทธิภาพอย่างเดียวอาจไม่ทำให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม (หรืออย่างน้อยก็สังคมที่มีมนุษยธรรม) : สถานการณ์ที่มีเศรษฐีไม่กี่คนในขณะที่คนหลายล้านคนต้องอดอาหารตายอาจ “มีประสิทธิภาพสูงสุด” (Pareto optimal) แล้ว หากไม่มีทางที่จะช่วยให้ใครรอดชีวิตโดยไม่ทำให้เศรษฐีเสียประโยชน์ • มีแนวโน้มสูงที่จะเกิด “ทุนนิยมสามานย์” หากรัฐไม่ควบคุมตลาดอย่างแข็งขันและเป็นอิสระอย่างแท้จริงจากภาคธุรกิจ

  49. ปัญหาของสังคม:‘มายาคติ’ ที่ไม่เป็นจริง (3) มายาคติ ข้อเท็จจริง • สมองมนุษย์มีศักยภาพพอที่จะเข้าใจการทำงานของธรรมชาติอย่างสมบูรณ์ • ธรรมชาติเปรียบเสมือนเป็น ‘เครื่องจักร’ ที่เดินอย่างเที่ยงตรงตามกฎเกณฑ์แน่นอนตายตัว • ดังนั้น มนุษย์จึงสามารถเอาชนะและควบคุมธรรมชาติได้ • ปัญหาสิ่งแวดล้อมหลายประการ เช่น โลกร้อน กำลังบ่อนทำลายโลก และชัดเจนว่าเกิดจากน้ำมือมนุษย์ • กฎวิทยาศาสตร์ใหม่ๆ เช่น Relativity, Uncertainty, Incompleteness พิสูจน์ชัดเจนว่า ความไม่แน่นอนและความไม่สัมบูรณ์เป็นสัจธรรมของโลก และพรมแดนความรู้ของมนุษย์แปลว่าไม่มีวัน ‘เอาชนะ’ ธรรมชาติได้

  50. ปัญหาของสังคม:‘มายาคติ’ ที่ไม่เป็นจริง (4) มายาคติ ข้อเท็จจริง • ทุกบริษัทควรตั้งเป้าหมายที่“ผลตอบแทนสูงสุดต่อผู้ถือหุ้น” เพราะผู้ถือหุ้นย่อมคำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวมอยู่แล้ว • ดังนั้น บริษัทที่มุ่งเน้นเป้าหมายนี้จะช่วยให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อส่วนรวมโดยอัตโนมัติ • ปัญหาข้อมูลไม่เท่าเทียมกัน (asymmetric information) ระหว่างผู้บริหารบริษัทกับผู้ถือหุ้น และระหว่างบริษัทกับผู้บริโภค/สังคม ทำให้เกิดการหลอกลวงและฉ้อฉลง่ายและปกปิดง่ายด้วย • ทุกฝ่ายมีผลประโยชน์ทับซ้อน • แนวโน้มที่จะได้กำไรสูงกว่าจากการเก็งกำไรระยะสั้นในตลาดหุ้น เทียบกับเงินปันผลในระยะยาวทำให้ผู้ถือหุ้น ‘มักง่าย’ กว่าที่ควร • ผู้ถือหุ้นในตลาดหลักทรัพย์สมัยใหม่ไม่กระจุกตัวเหมือนในอดีต – ‘ความเป็นเจ้าของ’ ลดลง

More Related