1 / 66

เทคนิคในการจัดทำข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่าย ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

เทคนิคในการจัดทำข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่าย ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. พิพัฒน์ วรสิทธิดำรง ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลเขื่อนผาก อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ กลุ่มเพื่อนข้าราชการส่วนท้องถิ่น. www.thailocalgov.com โทร. 089-7581317 phiphatw@hotmail.com. ข้อแนะนำในการจัดทำงบประมาณรายจ่าย.

ila-golden
Télécharger la présentation

เทคนิคในการจัดทำข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่าย ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. เทคนิคในการจัดทำข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเทคนิคในการจัดทำข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่าย ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พิพัฒน์ วรสิทธิดำรง ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลเขื่อนผาก อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ กลุ่มเพื่อนข้าราชการส่วนท้องถิ่น www.thailocalgov.com โทร. 089-7581317 phiphatw@hotmail.com

  2. ข้อแนะนำในการจัดทำงบประมาณรายจ่ายข้อแนะนำในการจัดทำงบประมาณรายจ่าย • งบประมาณควรนำมาจากแผนพัฒนา • 2. การจัดทำงบประมาณควรให้สอดคล้องกับหนังสือซักซ้อม • ของ กรมฯ ทั้งประมาณการรายรับ ประมาณการรายจ่าย • โดยเฉพาะการตั้งจ่ายตามนโยบายของรัฐบาล

  3. 3. ควรมอบหมายให้ จนท.ไปสำรวจพื้นที่ดำเนินการก่อสร้าง ก่อนว่า สามารถรองรับโครงการได้จริงหรือไม่ มีความ เหมาะสม หรือคุ้มค่าหรือไม่ 4. ควรเขียนโครงการขอความเห็นชอบผู้มีอำนาจก่อน โดยมีประมาณการค่าใช้จ่าย และหรือแบบแปลนแนบ ประกอบด้วย

  4. 5. ควรเขียนคำชี้แจงประกอบงบประมาณให้ชัดเจน ถึงลักษณะ ปริมาณงาน เป็นอย่างไร และเขียนให้ครอบคลุมทุกรายการที่ประสงค์จะจ่าย เช่น - โครงการก่อสร้างควรบอก ขนาดกว้าง ยาว หนา สูง ลึก - ครุภัณฑ์ควรบอก SPEC. ที่ต้องการที่มีคุณลักษณะไม่ต่ำกว่า หรือไม่น้อยกว่า หากเป็นครุภัณฑ์นอกบัญชีมาตรฐานครุภัณฑ์ ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการ กำหนดคุณลักษณะที่ต้องการ สืบราคาจากผู้ประกอบการอย่างน้อย 3 ราย และขออนุมัตินายอำเภอก่อนขออนุมัติงบประมาณ - ค่าวัสดุควรบอกสิ่งที่ต้องการเท่าที่ระบุได้ - ค่าสวัสดิการควรควรกำหนดรวมทั้งฝ่ายการเมือง ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง และหรือบุคคลอื่นๆ ที่มีสิทธิได้รับด้วย เช่น ค่าเบี้ยเลี้ยงควรรวมถึง ผู้ที่ได้รับคำสั่งจากนายกให้ไปปฏิบัติงานเพื่อประโยชน์ของ อปท.ด้วย - โครงการฝึกอบรม ควรระบุว่าจะอบรมเรื่องอะไร อบรมใคร มีค่าใช้จ่ายหลัก อะไรบ้าง - โครงการเงินอุดหนุน ให้ระบุว่าอุดหนุนให้ใคร นำไปดำเนินการอะไร

  5. 6. การกำหนดประเภท หรือหมวดรายจ่าย ควรตรวจสอบ ให้ถูกต้อง อย่าให้ผิดหมวดรายจ่าย เช่น ค่าซ่อมแซม ค่าปรับปรุง ค่าขยายเขตไฟฟ้า 7. การตั้งจ่ายเป็นค่าเงินเดือน หรือสวัสดิการ หรือประโยชน์ ตอบแทน ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง ให้ตั้งจ่ายจากเงิน รายได้เท่านั้น ควรตรวจสอบจากประกาศ ก.กลาง ด้วย (ไม่รวมฝ่ายการเมือง)

  6. 8. การกำหนดรายจ่ายประเภทต่างๆ จากเงินรายได้ หรือ เงินอุดหนุนทั่วไป ควรพิจารณาถึงห้วงระยะเวลาที่จะไดรับ หรือจ่ายเงินประกอบด้วย โดยเฉพาะในห้วงต้นปีงบประมาณ อาจมีปัญหาจากรายรับบางประเภท อาจได้รับล่าช้า ทำให้ไม่มีงบประมาณบริหารงาน

  7. 9. ให้พึงระมัดระวังในการตั้งจ่ายนอกเหนืออำนาจหน้าที่ หรือ ผิดระเบียบ เช่น - อุดหนุนโรงเรียนจ้างบุคลากร - ก่อสร้างอาคารในที่ดินของหน่วยงานอื่นโดยมิได้รับอนุญาต หรือในที่ดินของเอกชนที่ยังมิได้บริจาคให้ อปท. - การจัดซื้อสินค้าไปจำหน่าย เช่น ข้าวสาร หรือปุ๋ย รวมทั้งสมทบกองทุนให้กู้ยืม - ตั้งงบประมาณอุดหนุนให้หน่วยงานภายในของตนเอง เช่น ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร ศูนย์ อปพร.ท้องถิ่น

  8. 10. ให้ตรวจสอบจำนวนเงินที่ตั้งจ่ายในบางประเภทเพราะ มีกรอบวงเงินมิให้ตั้งจ่ายเกิน เช่น - สมทบกองทุนส่งเสริมกิจการ อบต. - สมทบกองทุนบำเหน็จบำนาญ - การประกันสังคม - ค่ารับรอง - ทุนการศึกษา - การไปศึกษาดูงาน - ค่าตอบแทนฝ่ายการเมือง - อัตราเงินเดือน เงินเพิ่ม ของข้าราชการ ลูกจ้าง

  9. 11. ควรเสนอสภาฯ ก่อนวันที่ 15 สิงหาคม พร้อมแบบแปลน และประมาณการค่าใช้จ่าย 12. ควรแนะนำให้นายกฯ ไปแถลงงบประมาณด้วยตนเอง หากไม่สามารถไปแถลงได้ให้มอบหมายเป็นหนังสือให้ รองนายก เลขานุการนายก เป็นผู้แถลงแทน

  10. 13. ควรแนะนำสภาฯ ในการพิจารณางบประมาณให้เป็นไป ตามระเบียบฯ เช่น - การเชิญประชุม - การกำหนดระเบียบวาระ - การพิจารณาในวาระรับหลักการ - การตั้งคณะกรรมการรับคำแปรญัตติ - การกำหนดวันรับคำแปรญัตติ - การดำเนินการของคณะกรรมการรับคำแปรญัตติ - การพิจารณาในวาระแปรญัตติ - การลงมติ - การตั้งคณะกรรมการหาข้อยุติ (ถ้ามี)

  11. 14. การเสนอร่างข้อบัญญัติให้นายอำเภอพิจารณา ให้เสนอโดยประธานสภาฯ พร้อมเอกสารประกอบ

  12. ข้อบัญญัติงบประมาณ รายจ่ายประจำ งบกลาง รายจ่ายเพื่อการลงทุน หมวดเงินเดือน รายจ่ายตามข้อผูกพัน หมวดค่าครุภัณฑ์ ห้ามตัด หมวดค่าตอบแทน หมวดค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง งบประมาณผูกพันต้องไม่เกินปีถัดไป >50% และไม่เกินปีงบประมาณถัดไป หมวดค่าใช้สอย หมวดค่าวัสดุ หมวดรายจ่ายอื่น หมวดเงินอุดหนุน

  13. ขั้นตอนการจัดทำงบประมาณขั้นตอนการจัดทำงบประมาณ เจ้าหน้าที่งบประมาณ - ตรวจสอบ - วิเคราะห์ - จัดทำงบประมาณ หน่วยงานต่าง ๆ ประมาณการรายรับ - รายจ่าย หน่วยงานคลัง - รายงานการคลัง - สถิติ นำเสนอต่อสภา (ภายในวันที่ 15 สิงหาคม) ผู้บริหารท้องถิ่น -พิจารณาอนุมัติ ให้ตั้งงบประมาณ สภาท้องถิ่น - ให้ความเห็นชอบ ประกาศโดยเปิดเผย ให้ประชาชนทราบ ผู้ว่าราชการจังหวัด/นายอำเภอ - พิจารณาอนุมัติ นายก อปท. ลงนาม

  14. ขั้นตอนการประชุมพิจารณาขั้นตอนการประชุมพิจารณา วาระที่ 1 รับหลักการ อภิปราย พิจารณาภาพรวมของร่างฯ ไม่รับหลักการ รับหลักการ แจ้ง นายกวันถัดไป / นายอำเภอ ภายใน 3 วัน สภากำหนดระยะเวลารับคำแปรญัตติ ข้อ48 พิจารณาตั้งคณะกรรมการหาข้อยุติ รับคำแปรญัตติ >24 ชม. ข้อ45 ว.3 ห้ามแปรญัตติเพิ่ม หรือตัดที่ กม.กำหนด สภาเลือก ส.อบต. 3 คน นายกเลือกคนภายนอก 3 คน ยื่นต่อ ปธ.คณะกรรมการรับคำแปรญัตติ ข้อ49 ว.2 เลือกประธาน 1คน คณะกรรมการพิจารณา สรุปญัตติ นายอำเภอแต่งตั้ง

  15. ขั้นตอนการประชุมพิจารณาขั้นตอนการประชุมพิจารณา คณะกรรมการส่งร่างข้อบัญญัติให้ ปธ.สภา ปธ.สภาส่งร่างให้ ส.อบต.>24 ชม. ข้อ 50 ว.แรก วาระที่ 2 แปรญัตติ สภาพิจารณาเป็นรายข้อ เฉพาะที่แปรญัตติ ข้อ 51 ข้อที่ไม่แปรญัตติถือว่าสภารับแล้ว ร่างเดิมของนายก ร่างของผู้แปรญัตติ เลขานุการสภาสรุป รวบรวมร่างข้อบัญญัติ

  16. ขั้นตอนการประชุมพิจารณาขั้นตอนการประชุมพิจารณา วาระที่ 3 ลงมติ สภาพิจารณาลงมติโดยไม่มีการอภิปราย เห็นชอบ ไม่เห็นชอบ ส่งให้นายอำเภอพิจารณา

  17. ขั้นตอนการพิจารณางบประมาณขั้นตอนการพิจารณางบประมาณ 60 15 ส.ค. นายกเสนอ สภาพิจารณา สภายืน 15 ส่ง ผวจ.พิจารณา นอ.พิจารณา 15 เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย นายกประกาศ ให้ นอ.อนุมัติ ร่างตก

  18. กรณีสภาไม่รับหลักการ ร่างข้อบัญญัติงบประมาณ นอ.แต่งตั้งกรรมการ 7 คน 7 วัน ประธาน(ผู้ทรงคุณวุฒิ) 7 วัน 7 วัน สภาเลือก ส.อบต. 3 คน นายกเลือกผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คน หาข้อยุติความขัดแย้ง แก้ไข ปรับปรุงร่างข้อบัญญัติ

  19. ระยะเวลาการพิจารณาข้อบัญญัติของคณะกรรมการฯระยะเวลาการพิจารณาข้อบัญญัติของคณะกรรมการฯ 15 คณะกรรมการพิจารณา ไม่ทัน ปธ.วินิจฉัยชี้ขาด รายงาน นอ. ส่งให้นายก อบต. นายกไม่เสนอ 7 สภาพิจารณา 30 นอ.รายงาน ผวจ.สั่งให้พ้น พ้นกำหนด/ ไม่เห็นชอบ นอ.เสนอ ผวจ.ยุบสภา ร่างข้อบัญญัติตก

  20. ข้อสั่งการ/ข้อหารือ การจัดทำงบประมาณ การตั้งงบประมาณรายจ่าย ให้ใช้แผนเป็นแนวทางในการจัดทำงบประมาณ เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหา ความต้องการของประชาชนให้ตรงจุด และให้มีการตรวจสอบว่าเป็นไปตามระเบียบหรือไม่ก่อนเสนอผู้มีอำนาจอนุมัติ (มท 0808.2/ว 80 ลว.16 มค.49)

  21. ข้อสั่งการ/ข้อหารือ การจัดทำงบประมาณ หลักเกณฑ์การจ่ายเงินอุดหนุน เป็นกิจกรรมที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ แต่ อปท.ไม่สามารถดำเนินการเองได้ ประชาชนได้รับประโยชน์โดยตรง หากไม่ดำเนินการอาจทำให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนได้ กลุ่มหรือชุมชนที่ขอรับเงินอุดหนุน ต้องมีการบริหารภายใน มีระเบียบ ข้อบังคับของกลุ่ม และเป็นที่ยอมรับของ อปท. (ด่วนมาก ที่ มท 0808.2/ว 2611 ลว.4 สค.47)

  22. ข้อสั่งการ/ข้อหารือ การจัดทำงบประมาณ - การตั้งงบประมาณไปดูงานในและต่างประเทศ (ตั้งได้เฉพาะบุคลากร อปท.) คิดจากรายได้ทุกประเภทของปีที่ผ่านมา รายได้ไม่เกิน 50 ล้าน ตั้งได้ไม่เกิน 3% รายได้เกิน 50 - 300 ล้าน ตั้งได้ไม่เกิน 2.5% รายได้เกิน 300 ล้าน ตั้งได้ไม่เกิน 2% (ด่วนที่สุด ที่ มท 0808.2/ว 3446 ลว.19 ตค.48)

  23. ข้อสั่งการ/ข้อหารือ การจัดทำงบประมาณ - การตั้งงบประมาณค่ารับรองในการต้อนรับคณะบุคคล ตั้งได้ไม่เกินปีละ 1% ของรายได้ ไม่รวมเงินอุดหนุน (มท 0808.4/ว 2381 ลว. 28 กค.48)

  24. ข้อสั่งการ/ข้อหารือ การจัดทำงบประมาณ - การตั้งงบประมาณ เงินเดือน และประโยชน์ตอบแทน อื่น ของพนักงานและลูกจ้าง ตั้งได้ไม่เกิน 40% จากฐานรายได้ทุกประเภท ของงบประมาณรายจ่ายประจำปีรวมเงินอุดหนุนด้วย (มท 0804.3/ 43820 ลว.22 พ.ค.49)

  25. ข้อสั่งการ/ข้อหารือ การจัดทำงบประมาณ - ข้อหารือจ.ลพบุรี การสอนเสริมนักเรียนชั้นมัธยมเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา “พรบ.การศึกษาแห่งชาติ มิได้บัญญัติถึงการสอนเสริมไว้ ดังนั้น จึงมิใช่อำนาจหน้าที่” (มท 0804.3/1045 ลว.7 กพ.48)

  26. ข้อสั่งการ/ข้อหารือ การจัดทำงบประมาณ - การตั้งงบประมาณในการจัดการจราจร ปกติให้จ่ายจากค่าปรับจราจร เว้นแต่กรณีจำเป็นให้จ่ายจากรายได้ตามความจำเป็น โดยตั้งจ่ายในงบกลาง ประเภทรายจ่ายตามข้อผูกพัน กิจการที่เกี่ยวกับการจราจร การทาสีตีเส้น แผงกั้นจัดทำป้ายสัญญาณไฟจราจร หรืออุปกรณ์ที่ใช้ควบคุมการสัญจร กิจการที่ไม่เกี่ยวกับการจราจร การก่อสร้างอาคารเก็บรถ การจัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิง การจัดซื้อรถยนต์ รถจักรยานยนต์ ไซเรนติดตั้งรถยนต์-รถจักรยานยนต์ ไฟหยุดตรวจ วัสดุครุภัณฑ์สำนักงาน ค่าจ้างลูกจ้างช่วยปฏิบัติงานของตำรวจจราจร และขนส่งจังหวัด (ด่วนมาก ที่ มท 0313.4/ว 3203 ลว.4 ตค.39)

  27. ข้อสั่งการ/ข้อหารือ การจัดทำงบประมาณ - การจัดหาครุภัณฑ์ที่มีราคาสูงกว่าบัญชีมาตรฐานครุภัณฑ์ ให้ขออนุมัติต่อนายอำเภอ/ผู้ว่าราชการจังหวัด และชี้แจงเหตุผลให้ชัดเจนในคำชี้แจงประกอบงบประมาณ เมื่องบประมาณอนุมัติแล้วสามารถจัดหาตามวิธีการพัสดุ โดยไม่ต้องนำบัญชีมาตรฐานครุภัณฑ์มาตรวจสอบและควบคุมราคาอีก (กรณี อบต. ด่วนมาก ที่ มท0318/ว 1794 ลว.5 มิย.38 กรณีเทศบาล ที่ มท 0313.4/ว 2047 ลว.25 มิย.39)

  28. ข้อสั่งการ/ข้อหารือ การจัดทำงบประมาณ • ข้อหารือ จ.พิจิตร การจัดซื้อรถเกี่ยวข้าว เพื่อใช้ในการรับจ้างเกี่ยวข้าว “ เป็นการแข่งขันกิจการที่เอกชนดำเนินการอยู่ ต้องห้ามตาม ม.87 รัฐธรรมนูญ” • (มท 0808.2/47481 ลว.7 กค.49)

  29. ข้อสั่งการ/ข้อหารือ การจัดทำงบประมาณ - ข้อหารือ จ.สระแก้ว การปรับปรุงระบบระบายน้ำในเขตทหาร ค่ายสุรสิงหนาท “ที่ดินเป็นที่ราชพัสดุอยู่ในความดูแลของหน่วยทหาร ซึ่งสามารถขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานต้นสังกัดได้อยู่แล้ว และกิจการดังกล่าวไม่มีลักษณะเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ของประชาชนโดยรวม จึงไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่” (มท 0804/1209 ลว.7 ตค.47)

  30. ข้อสั่งการ/ข้อหารือ การจัดทำงบประมาณ - ข้อหารือ จ.สุพรรณบุรี การติดตั้งเคเบิลทีวีกลางเพื่อให้ประชาชนได้ทราบข้อมูลข่าวสาร “หากในพื้นที่ไม่มีคลื่นสัญญาณ และการดำเนินการไม่เป็นการแข่งขันกับเอกชนสามารถดำเนินการได้ แต่ต้องเป็นไปตาม พรบ.อื่นที่เกี่ยวข้องด้วย” (มท 0804.3/3646 ลว.16 พค.48)

  31. ข้อสั่งการ/ข้อหารือ การจัดทำงบประมาณ - ข้อหารือ จ.เชียงราย การตั้งงบประมาณอุดหนุนชมรม อปท. เห็นว่าชมรมดังกล่าวไม่มีเจตนารมณ์ในการดำเนินการเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สาธารณะกับประชาชนในเขตพื้นที่โดยตรง จึงไม่อยู่ในความหมายขององค์กรประชาชนที่จะรับเงินอุดหนุนได้ (มท 0808.2/2830 ลว.8 เมย.48)

  32. ข้อสั่งการ/ข้อหารือ การจัดทำงบประมาณ • ข้อหารือ จ.สุพรรณบุรี โรงเรียนขอรับเงินอุดหนุนจัดสร้างห้องคอมพิวเตอร์ และจัดซื้อครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยี “เป็นกิจการที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ แต่ อปท.ไม่สามารถดำเนินการเองได้ และ หากไม่ดำเนินการอาจก่อให้เกิดความเสียหาย” สามารถอุดหนุนได้ • (มท 0808.2/2756 ลว.4 เมย.48)

  33. ข้อสั่งการ/ข้อหารือ การจัดทำงบประมาณ - ข้อหารือ จ.อุทัยธานี ขอเงินอุดหนุนศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัด ซึ่งมีหน้าที่ช่วยเหลือและพัฒนาเด็กพิการที่บกพร่องทางสติปัญญาและทางการได้ยิน โดยขอรับเงินอุดหนุนค่าอาหาร ค่าวัสดุการเรียนการสอน และค่าจ้างครูการศึกษาพิเศษ “ค่าอาหาร และค่าวัสดุการเรียนการสอน หากเห็นว่าอยู่ในอำนาจหน้าที่สามารถอุดหนุนได้ แต่สำหรับค่าจ้างครูการศึกษาพิเศษ ไม่สามารถอุดหนุนได้ เว้นแต่ได้รับการถ่ายโอนภารกิจ” (มท 0808.2/1024 ลว. 7 กพ.48)

  34. ข้อสั่งการ/ข้อหารือ การจัดทำงบประมาณ • ข้อหารือ คณะกรรมาธิการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน อบต.สามารถตั้งงบประมาณช่วยเหลือความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนในการจัดรถรับ-ส่งนักเรียน กรณีทางราชการไม่ได้ตั้งงบประมาณดังกล่าวไว้ ได้หรือไม่ • อบต.สามารถตั้งงบประมาณหมวดค่าตอบแทน ใช้สอย และวัสดุ ประเภทรายจ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งบริการ เพื่อจัดหารถรับ-ส่งนักเรียนได้ • (ด่วนมากที่ มท 0893.4/0247 ลว.5 มค.49)

  35. ข้อสั่งการ/ข้อหารือ การจัดทำงบประมาณ - ข้อหารือ จ.ระยอง อบต.ตั้งงบประมาณอุดหนุนกลุ่มเกษตรกรทำไร่สับปะรด เพื่อช่วยเหลือการศึกษานักเรียน โดยให้ผู้ปกครองได้กู้ยืมไปใช้จ่าย “การตั้งจ่ายงบประมาณผิดวัตถุประสงค์ของกลุ่มอาชีพที่ขอรับ จึงไม่สามารถตั้งจ่ายได้” (ด่วนมาก ที่ มท 0808.2/394 ลว.18 มค.48)

  36. ข้อสั่งการ/ข้อหารือ การจัดทำงบประมาณ - ข้อหารือ จ.ชุมพร วัดขอรับเงินอุดหนุนเพื่อจัดซื้อกระเบื้องมุงหลังคาศาลาพักศพ “ศาลาพักศพเป็นส่วนหนึ่งของกิจการสุสานและฌาปนสถาน ซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ของ อปท.” จึงสามารถอุดหนุนได้ (มท 0808.2/10359 ลว.11 พย.47)

  37. ข้อสั่งการ/ข้อหารือ การจัดทำงบประมาณ • ข้อหารือ จ.กาญจนบุรี การตั้งเงินอุดหนุนเป็นค่าใช้จ่ายในการอำนวยการของศูนย์รวมข้อมูลข่าวสารการจัดซื้อจัดจ้างของ อบต.ระดับอำเภอ “ระเบียบพัสดุ กำหนดให้ อบต.จัดตั้งศูนย์ฯ ณ สถานที่ตามที่นายอำเภอเห็นชอบ โดยให้ อบต.ใด อบต.หนึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหาร และให้ทุก อบต.ร่วมกันรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่พึงมี • (มท 0808.3/9314 ลว.3 ธค.46 และระเบียบพัสดุฯ)

  38. ข้อสั่งการ/ข้อหารือ การจัดทำงบประมาณ • ข้อหารือ จ.พิจิตร การตั้งงบประมาณอุดหนุนเพื่อสมทบก่อสร้าง ม.รามคำแหง สาขาวิทยบริการ “เป็นการพัฒนาบุคคลในด้านการศึกษาให้แก่เยาวชน และประชาชนในท้องถิ่นได้มีโอกาสศึกษาในระดับอุดมศึกษา และบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ปกครองที่ไม่ต้องส่งบุตรหลานไปเรียน กทม.” สามรถตั้งงบประมาณได้ • (มท 0808.3/12967 ลว.5 พย.46)

  39. ข้อสั่งการ/ข้อหารือ การจัดทำงบประมาณ - ข้อหารือ จ.อุตรดิตถ์ และ จ.เชียงใหม่ แนวทางปฏิบัติในการจัดหารถนักเรียน “อปท.มีหน้าที่ในการส่งเสริมพัฒนา เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ ดังนั้น จึงเป็นอำนาจหน้าที่ และสามารถจัดหารถรับ- ส่งนักเรียนในเขตพื้นที่ได้ และหากไม่มีผู้ประกอบการรถรับจ้าง ก็สมารถเช่ารถยนต์ส่วนบุคคลมาดำเนินการได้ตามความเหมาะสมและจำเป็น (ด่วนมาก ที่ มท 0893.4/9427 ลว.5 มค.49 และ มท 0313.4/16192 ลว.15 สค.44)

  40. ข้อสั่งการ/ข้อหารือ การจัดทำงบประมาณ - ข้อหารือ จ.สมุทรสาคร อุดร และตราด การโอนงบประมาณ “การโอนตามข้อ 26 ทุกประเภท เป็นอำนาจของผู้บริหาร ส่วนการโอนหมวดค่าครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง ตามข้อ 27 ต้องขออนุมัติสภาท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นการโอนไปตั้งจ่ายเป็นรายการใหม่ การโอนงดรายการในหมวดค่าครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง เว้นแต่เป็นการโอนที่ไม่ทำให้เกิดผลกระทบต่องบประมาณรายจ่ายในหมวดค่าครุภัณฑ์ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง และไม่ทำให้ลักษณะ ขนาด ปริมาณ คุณภาพเปลี่ยนไป เป็นอำนาจของผู้บริหารท้องถิ่นตามข้อ 26”(มท 0808.3/1169 ลว.30 มค.46 มท 0313.4/23181 ลว.12 ตค.44 และ มท 0313.4/13989 ลว.7 สค.43)

  41. ข้อสั่งการ/ข้อหารือ การจัดทำงบประมาณ - ข้อหารือ จ.ร้อยเอ็ด การตั้งงบประมาณอุดหนุน เพื่อปฏิสังขรณ์พระพุทธรูป วัดบูรพาภิราม “เป็นการบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น การดำเนินการดังกล่าวเป็นอำนาจหน้าที่ของ อปท. สามารถอุดหนุนได้ (มท 0313.4/14363 ลว.26 กค.44)

  42. การตั้งงบประมาณให้ทุนการศึกษาผู้ด้อยโอกาสการตั้งงบประมาณให้ทุนการศึกษาผู้ด้อยโอกาส รายได้ไม่เกิน 50 ล้าน ตั้งได้ปีละไม่เกิน 3% ดังนี้ 1. การศึกษาขั้นพื้นฐาน ช่วยเหลือเป็นค่าวัสดุ อุปกรณ์การเรียน ชุดนักเรียน หนังสือ และให้นำหลักเกณฑ์การตั้งงบประมาณ เพื่อช่วยเหลือประชาชน 2543 มาบังคับโดยอนุโลม 2. ระดับอุดมศึกษา ให้ทุนได้ไม่เกินปีละ 33,000 บาท นส. ที่ มท 0808.2/ว 1365 ลว. 30 เม.ย.2550

  43. ข้อซักถาม การจัดทำงบประมาณ - ข้อซักถาม ชมรมกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ขอรับเงินอุดหนุนเพื่อดำเนินการจัดสายตรวจชุมชนในเขต อปท.ได้หรือไม่ ให้พิจารณาว่า ชมรมกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน มีหน้าที่ในการบริการสาธารณะหรือไม่ ปกติแล้วชมรมดังกล่าวจัดตั้งขึ้นมาเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ หรือให้ความช่วยเหลือเฉพาะสมาชิกของชมรมเท่านั้น จึงเห็นว่าชมรมกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ไม่มีหน้าที่ในการบริการสาธารณะ (เทียบเคียงกับการอุดหนุนให้แก่ชมรม อปท. ตามข้อหารือ จ.เชียงราย)

  44. ข้อซักถาม การจัดทำงบประมาณ - ข้อซักถาม ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของ อปท.ที่ตั้งอยู่ในโรงเรียนเอกชน ผู้จัดการโรงเรียนเอกชนทำโครงการขอรับเงินอุดหนุนได้หรือไม่ อปท.ไม่สามารถอุดหนุนเงินให้โรงเรียนเอกชนเบิกจ่ายแทนได้

  45. ข้อซักถาม การจัดทำงบประมาณ - ข้อซักถาม สำนักที่ดินขอรับเงินอุดหนุน เพื่อจ้างพนักงานบันทึกข้อมูล และคัดแยกใบเสร็จรับเงินที่จะจัดสรรให้ อปท. ได้หรือไม่ “กรณีดังกล่าวมิใช่กิจการที่เป็นอำนาจหน้าที่ของ อปท. จึงไม่ควรอุดหนุน”

  46. ข้อซักถาม การจัดทำงบประมาณ - ข้อซักถาม การอุดหนุนเงินให้วัด เพื่อบรรพชาภาคฤดูร้อน อุดหนุนได้หรือไม่ “การดำเนินการดังกล่าวหากพิจารณาเห็นว่า เป็นการส่งเสริมการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ตาม ม.67 (5) ก็สามารถอุดหนุนได้

  47. ข้อซักถาม การจัดทำงบประมาณ - ข้อซักถาม การอุดหนุนเงินให้วัด เพื่อดำเนินการจัดสนามสอบธรรมะ สามารถอุดหนุนได้หรือไม่ “การสอบธรรมะ ถึงแม้จะเป็นกิจกรรมด้านการศาสนา แต่มิใช่ภารหน้าที่ของ อปท.ที่จะต้องทำ เพราะหากไม่ดำเนินการก็ไม่ทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนเสียหาย อีกทั้งการเลื่อนระดับชั้นธรรมะ เป็นสิทธิของผู้เข้าสอบเฉพาะบุคคล จึงไม่ควรอุดหนุน

  48. ข้อซักถาม การจัดทำงบประมาณ - ข้อซักถาม กรณีนายกฯยื่นญัตติร่างข้อบัญญัติงบประมาณต่อสภาและประชุมยังไม่แล้วเสร็จภายในวันที่ 15 สิงหาคม จะผิดระเบียบหรือไม่ กฎหมายกำหนดให้ผู้บริหารท้องถิ่น ยื่นร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีให้สภาพิจารณาภายในวันที่ 15 สิงหาคม เท่านั้น หากไม่แล้วเสร็จพิจารณาต่อไปได้

  49. ข้อซักถาม การจัดทำงบประมาณ - ข้อซักถาม กรมพลังงานทหารก่อสร้างถนนผ่านหมู่บ้าน ต่อมาร่องระบายน้ำข้างถนนชำรุด อปท.จะเข้าไปดำเนินการซ่อมแซมได้หรือไม่ ให้ตรวจสอบว่าถนนสายดังกล่าวเป็นทรัพย์สินของหน่วยงานใดที่ขึ้นทะเบียนบัญชีทรัพย์สินไว้ หากมีหน่วยงานรับผิดชอบและหน่วยงานนั้นอนุญาตก็ดำเนินการได้ หากไม่มีหน่วยงานใดรับผิดชอบถือว่าอยู่ในอำนาจดูแลของ อปท.

  50. ข้อซักถาม การจัดทำงบประมาณ - ข้อซักถาม ที่ว่าการอำเภอ หรือสำนักงานที่ดินขอเงินอุดหนุนไปปรับปรุง หรือก่อสร้างห้องน้ำ โดยอ้างว่าเพื่อบริการประชาชนในเขต อปท.ที่มาติดต่อราชการ กรณีดังกล่าขอเงินอุดหนุนได้หรือไม่ การปรับปรุงที่ว่าการอำเภอ และสำนักงานที่ดิน มิใช่ภารกิจอันเป็นอำนาจหน้าที่ของ อปท.

More Related