320 likes | 1.14k Vues
ระบบปฏิบัติการ TPS. (Transaction Processing Systems). TPS หมายถึง.
E N D
ระบบปฏิบัติการ TPS (Transaction Processing Systems)
TPS หมายถึง ระบบปฏิบัติการทางธุรกิจ หรือที่เรียกว่า TPS หมายถึง ระบบสารสนเทศที่ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้น โดยใช้เครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์เข้ามาเป็นอุปกรณ์หลักของระบบ เพื่อให้ทำงานเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานภายองค์การมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยที่ TPS จะช่วยสนับสนุนให้การดำเนินงานในแต่ละวันขององค์การให้เป็นไปอย่างเรียบร้อยและเป็นระบบ นอกจากนี้ TPS ยังช่วยให้ผู้ใช้สามารถเรียกสารสนเทศมาอ้างอิงอย่างสะดวกและถูกต้องในอนาคต
ระบบสารสนเทศแบบประมวลรายการ (TPS) เป็นระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับการบันทึกและประมวลข้อมูลที่เกิดจากธุรกรรมหรือการปฏิบัติงานประจำหรืองานขั้นพื้นฐานขององค์การ เช่น การซื้อขายสินค้า การบันทึกจำนวนวัสดุคงคลัง เมื่อใดก็ตามที่มีการทำธุรกรรมหรือปฏิบัติงานในลักษณะดังกล่าวข้อมูลที่เกี่ยวข้องจะเกิดขึ้นทันที เช่น ทุกครั้งที่มีการขายสินค้า ข้อมูลที่เกิดขึ้นก็คือ ชื่อลูกค้า ประเภทของลูกค้า จำนวนและราคาของสินค้าที่ขายไป รวมทั้งวิธีการชำระเงินของลูกค้า
วัตถุประสงค์ของ TPS 1) มุ่งจัดหาสารสนเทศทั้งหมดที่หน่วยงานต้องการตามนโยบายของหน่วยงานหรือตามกฎหมาย เพื่อช่วยในการปฏิบัติงาน 2) เพื่อเอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติงานประจำให้มีความรวดเร็ว 3) เพื่อเป็นหลักประกันว่าข้อมูลและสารสนเทศของหน่วยงานมีความถูกต้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและรักษาความลับได้ 4) เพื่อเป็นสารสนเทศที่ป้อนข้อมูลเข้าสู่ระบบสารสนเทศที่ใช้ในการตัดสินใจอื่น เช่น MRS หรือ DSS
หน้าที่ของ TPS • การจัดกลุ่มของข้อมูล คือ การจัดกลุ่มข้อมูลลักษณะเหมือนกันไว้ด้วยกัน • การคิดคำนวณ การคิดคำนวณโดยใช้วิธีการคณิตศาสตร์ เช่น บวก ลบ คูณ หาร เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์ • การเรียงลำดับข้อมูล การจัดเรียงข้อมูลเพื่อทำให้การประมวลผลง่ายขึ้น • การสรุปข้อมูล เป็นการลดขนาดของข้อมูลให้เล็กหรือกะทัดรัดขึ้น • การเก็บ การบันทึกเหตุการณ์ที่มีผลต่อการปฏิบัติงาน
ลักษณะสำคัญของระบบสารสนเทศแบบ TPS • มีการประมวลผลข้อมูลจำนวนมาก • แหล่งข้อมูลส่วนใหญ่มาจากภายในและผลที่ได้เพื่อตอบสนองต่อผู้ใช้ภายในองค์การเป็นหลัก • กระบวนการประมวลผลข้อมูลมีการดำเนินการเป็นประจำ • มีความสามารถในการเก็บฐานข้อมูลจำนวนมาก • มีการประมวลผลข้อมูลที่รวดเร็ว เนื่องจากมีปริมาณข้อมูลจำนวนมาก • TPSจะคอยติดตามและรวบรวมข้อมูลภายหลังที่ผลิตข้อมูลออกมาแล้ว
กระบวนการของ TPS 1) Batch processing การประมวลผลเป็นชุดโดยการรวบรวมข้อมูลที่เกิดจากธุรกรรมที่เกิดขึ้นและรวมไว้เป็นกลุ่มหรือเป็นชุด เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง 2) Online processing คือ ข้อมูลจะได้รับการประมวลผลและทำให้เป็นเอาท์พุททันทีที่มีการป้อนข้อมูลของธุรกรรมเกิดขึ้น เช่น การเบิกเงินจากตู้ ATM 3) Hybrid systems เป็นวิธีการผสมผสานแบบที่ 1) และ2) โดยอาจมีการรวบรวมข้อมูลที่เกิดขึ้นทันทีแต่การประมวลผลจะทำในช่วงกระยะเวลาที่กำหนด เช่น แคชเชียร์ที่ป้อนข้อมูล
หน้าที่ การทำงานของ TPS • งานเงินเดือน (Payroll) • การสั่งซื้อสินค้า (Purchasing) • การเงินและการบัญชี • การขาย (Sales) • วัสดุคงคลัง
เป้าหมายของ TPS เป้าหมายของ TPS หมายถึง การลดของเสีย ซึ่งของเสียในนิยามของ TPS มี 7 ข้อดังนี้ • การผลิตมากเกินความจำเป็น • มีสต็อกวัตถุดิบมากเกินความจำเป็น • การเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็น ไม่ว่าจะเป็นพนักงานหรือเครื่องจักร
เป้าหมายของ TPS (ต่อ) 4) เคลื่อนย้ายที่ไม่จำเป็น ต่างกับข้อ 3 ตรงที่การเคลื่อนย้ายนี้หมายถึงเคลื่อนย้ายส่วนประกอบต่างๆ 5) การรอคอยที่ไม่จำเป็น 6) ใส่สิ่งที่ไม่จำเป็นให้กับลูกค้า 7) มีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นมาก
ตัวอย่าง TPS ร้านเช่าหนังสือ ก็จะมีข้อมูลทุกวัน เช่น รวบ จำนวนผู้มาเช่าหนังสือ, จำนวนหนังสือที่มีการยืม, ประเภทหนังสือ, จำนวนเงินค่าเช่าหนังสือ, จำนวนค่าปรับส่วนหนังสือล่าช้า เป็นต้น ถ้ามีการนำข้อมูลมาเก็บและรวบรวม ก็จะทำให้ทราบว่าหนังสือประเภทใดมีการยืมมากที่สุด, จำนวนหนังสือเพียงพอต่อความต้องการของลูกค้าหรือไม่, จำนวนเงินรายได้ในแต่ละวัน แต่ละเดือน เป็นต้น ซึ่งข้อมูลสามารถนำมาพิจารณาได้ว่า ควรจะมีการซื้อหนังสือ เพิ่มเติมหรือไม่ เป็นต้น
บรรณานุกรม • https://sites.google.com/site/ajansupinyaclassroom/home/subject5/rabbptibatikarthangthurkic • http://tharinee55.blogspot.com/2012/11/esstpsmrsdsskwsoas.html
สมาชิกในกลุ่ม นางสาวกฤติกาเลื่อนกฐิน รหัสนักศึกษา 556209110001-0 นางสาวจิรพรรณ เลี่ยนพานิช รหัสนักศึกษา 556209110002-8 นางสาวปิยนุช รักแก้ว รหัสนักศึกษา 554409110035-6 สาขาระบบสารสนเทศทางธุรกิจ
จบการนำเสนอ ขอบคุณค่ะ