1 / 23

CLINICAL RESEARCH

CLINICAL RESEARCH. BY T. JUKCHAI AND K. SURIYA. คำถามการวิจัย ( RESEARCH QUESTION ). คำถามวิจัยหลัก ( PRIMARY RESEARCH QUESTION ) การเย็บแผลเย็บแผล EPISIOTOMY ใน CASE STUDY และ CASE SERVICE มีอัตราการเกิด WOUND DEHISCENCE ต่างกันหรือไม่. ABSTRACT.

Télécharger la présentation

CLINICAL RESEARCH

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. CLINICAL RESEARCH • BY T. JUKCHAI AND K. SURIYA

  2. คำถามการวิจัย ( RESEARCH QUESTION ) • คำถามวิจัยหลัก( PRIMARYRESEARCH QUESTION ) • การเย็บแผลเย็บแผล EPISIOTOMY ใน CASE STUDY และ CASE SERVICE มีอัตราการเกิด WOUND DEHISCENCE ต่างกันหรือไม่

  3. ABSTRACT This research attempted to analyzed the relationship between episiotomy wound dehiscence and the birth attendants ( teaching case and service cases ) . A matched – pair , case control study was designed 38 cases of wound dehoscence were included and 2 control were matched to a case by gravid and month of dehiscence . Data were collected from the labour room record of The Obstetrics department and the medical record .All cases and controls were the normal transvaginal delivery during 1 Januaary 2002 – 31 October 2002. The findings were as follows 1.the prevalence of wound dehiscence of the Buddhachinaraj Hospital were 3.35 per 1,193 normal transvaginal delivery 2.The range of the age was 16 – 38 years , and the mean of the age was 25.23 years 3.The risk (Odds ratio) of the teaching case was 0.49 , less than the service case , and the 95% confidence interval was 2.2183 – 4.5814 , which represented “ there was no difference between the teaching case and the service case.

  4. บทคัดย่อ การวิจัยนี้ ต้องการวิเคราะห์ผลของการตัดและเย็บซ่อมฝีเย็บ เพื่อทราบถึงความสัมพันธ์ของการเกิดแผลฝีเย็บแยกกับวิธีการทำใน Teaching case หรือ Service case โดยศึกษาข้อมูลในสตรีที่คลอดปกติทางช่องคลอด ซึ่งได้รับการตัดและเย็บซ่อมฝีเย็บ ของโรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2545 ถึงวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2545 มีจำนวน 1,193 คน ใช้การศึกษาแบบ matched – pair , retrospective case – control study มีขนาดของกลุ่มตัวอย่าง 114 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบจับคู่ระหว่างการเคยหรือไม่เคยคลอดบุตรและเดือนที่เกิดแผลแยก มีอัตราส่วนระหว่างกลุ่มศึกษาต่อกลุ่มควบคุมเป็น 1 : 2 การวิเคราะห์ได้ข้อสรุปดังนี้ 1.อุบัติการณ์การเกิดแผลฝีเย็บแยกของโรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก เป็น 3.35 ต่อสตรีที่คลอดปกติและได้รับการเย็บซ่อมฝีเย็บ จำนวน 1,193 คน 2.ช่วงอายุของกลุ่มสตรีที่เกิดแผลแยก มีพิสัย 16 – 38 ปี มีค่าเฉลี่ย 25.23 ปี 3.การเย็บซ่อมฝีเย็บใน teaching case มีความเสี่ยงในการทำให้ เกิดแผลแยกหลังเย็บซ่อมน้อยกว่าใน service case 0.49 เท่า มีค่า 95% confidence interval ของ Odds ratioเท่ากับ 0.2183 – 4.5814 แสดงว่าการเกิดแผลฝีเย็บแยกใน teaching case ไม่แตกต่างกับใน service case

  5. ความเป็นมาและความสำคัญของประเด็นปัญหาการวิจัยความเป็นมาและความสำคัญของประเด็นปัญหาการวิจัย • ปัญหาการเกิดแผลฝีเย็บแยกภายหลังการตัดฝีเย็บและเย็บซ่อม เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งมีผลกระทบต่อสุขภาพของมารดาหลายอย่าง อาทิเช่น ปัญหากระบังลมหย่อน ปัญหากลั้นปัสสาวะลำบาก ปัญหาการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะหรือระบบสืบพันธุ์ รวมถึงผลกระทบต่อสังคมในวงกว้าง เช่น การมีอัตราการทำงานเต็มเวลาของแรงงานลดลง การเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา ซึ่งปัญหาดังกล่าวนี้มีปัจจัยหลายด้านเกี่ยวข้อง ซึ่งบางอย่างสามารถควบคุมได้ • ประเด็นการวิจัยดังกล่าวนั้นเป็นประเด็นที่น่าสนใจในการศึกษาเพื่อหาแนวทางในการลดอุบัติการณ์การเกิดแผลฝีเย็บแยก ซึ่งในการวิจัยนี้ได้คัดเลือกกลุ่มวิจัยเป้าหมายในการวิจัยมาจากผู้ป่วยที่คลอดปกติของโรงพยาบาลพุทธชินราช ซึ่งได้รับการตัดและเย็บซ่อมฝีเย็บหลังคลอด โดยแพทย์ นิสิตแพทย์ หรือ พยาบาล มีตัวแปรอิสระของการทำวิจัย คือ การตัดและเย็บซ่อมฝีเย็บ และมีตัวแปรตามคือ การเกิดหรือไม่เกิดแผลฝีเย็บแยกภายหลังการตัดและเย็บซ่อมฝีเย็บ จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่อไป

  6. REVIEWOF RELATED LITERATURE • ค.ศ. 1973 SWEET AND LEDGERรายงานผู้ป่วย 21 ราย มีแผลติดเชื้อที่ perineum จาก episiotomy กลุ่มศึกษา 6,000 คน คิดเป็นอุบัติการณ์การ0.35% ( University of Michigan & Wayne County Hospital) • ปี 1990 Owen และ Hauthรายงานไว้เช่นกันว่ามีผู้ป่วยแผล episiotomy ติดเชื้อ 10 ราย ใน 20,000 ราย ซึ่งเป็นสตรีที่คลอดบุตรทางช่องคลอดเช่นเดียวกัน • ค.ศ 1993 GOLDABER และคณะ ศึกษาเกี่ยวกับ clinical morbidity และ mortality ใน case normal delivery หลังคลอด ใน 390 ราย มี morbidity rate ประมาณ 5.4% เป็น wound dehiscence 1.8% เฉพาะ infection 0.8% และแผลแยกร่วมกับ infection 2.8% สอดคล้องกับRamin และ คณะ ศึกษาเมื่อปี 1992 ว่าอุบัติการณ์การเกิด wound dehiscence 0.5% และสาเหตุส่วนใหญ่ 80% มาจาก infection • Elicia Kennedyแห่ง University of Arkansas for Medical science (2001) พบว่า case postpartum infection ประมาณการเกิด 1-8% ของการคลอดทั้งหมด และ infection ส่วนใหญ่เป็นเชื้อ staphylococcus และ streptococcus และการติดเชื้อหลังคลอดพบเป็นสาเหตุการตายของมารดาหลังคลอด 4-8% หรือประมาณ 0.6 ราย ต่อ 100,000 livebirth

  7. STATEMENT OF HYPOTHESIS • สำหรับคำถามหลัก • H0 : การเกิดแผลฝีเย็บแยกในสตรีคลอดปกติที่ได้รับการตัดและเย็บซ่อมฝีเย็บใน TEACHING CASEไม่แตกต่างกับการเย็บใน SERVICE CASE • H1 : การเกิดแผลฝีเย็บแยกในสตรีคลอดปกติที่ได้รับการตัดและเย็บซ่อมฝีเย็บใน TEACHING CASEแตกต่าง กับการเย็บใน SERVICECASE

  8. ขอบเขตของการวิจัย Maternal and newborn factor อายุมารดา ลำดับการคลอด การเกิดแผลแยก ภายหลังการเย็บซ่อมแผลฝีเย็บ LABOUR FACTOR SUTURE MATERIAL TYPE OF WOUND (EPISIOTOMY) SUTURE BY*** MONTH

  9. BASIC ASSUMPTION • การตัดและเย็บซ่อมฝีเย็บ กับการเกิดแผลฝีเย็บแยกในสตรีคลอดปกติทางช่องคลอออดมีความสัมพันธ์กันเป็นเส้นตรง • ผู้ทำการตัด และเย็บซ่อมฝีเย็บแต่ละคน ใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ชนิดเดียวกัน มีมาตรฐานเดียวกัน • การเก็บรวบรวมข้อมูลได้จาก Labour room reccord และ Medical record • ในการเก็บข้อมูลตั้งแต่ช่วง 1 มกราคม พ.ศ. 2545 - 31 ตุลาคม พ. ศ.2545 ไม่มีเหตุการณ์ที่กระทบต่อตัวแปร สภาพเป็นไปตามปกติ เคยเป็นมาอย่างไรก็คงเป็นไปอย่างนั้น

  10. คำนิยามศัพท์ที่ใช้ในการวิจัยคำนิยามศัพท์ที่ใช้ในการวิจัย • Key word • การคลอดปกติทางช่องคลอด • แผลฝีเย็บ • ผลแยกหลังเย็บซ่อมแผลฝีเย็บ • Teaching case • Service case

  11. EXPECTED OUTCOME • ทราบถึงความสัมพันธ์ของการตัดและเย็บซ่อมฝีเย็บระหว่าง TEACHING CASE กับ SERVICE CASE ต่อการเกิดแผลฝีเย็บแยก • เป็นข้อมูลในการหาแนวทางป้องกันหรือลดอุบัติการณ์การเกิดแผลฝีเย็บแยกภายหลังการตัดและเย็บซ่อมฝีเย็บ • เป็นข้อมูลเบื้องต้น เพื่อเป็นตัวอย่างและเป็นแนวทางในการศึกษาค้นคว้าวิจัยต่อไป

  12. METHODOLOGY • รูปแบบการวิจัย ( STUDY DESIGN ) • ANALYTICAL RETROSPECTIVE ,MATCHED - PAIR , CASE - CONTROL STUDY • ประชากรเป้าหมาย (TARGET POPULATION)

  13. ประชากรเป้าหมาย (TARGET POPULATION) • INCLUSION CRITERIA : • สตรีที่รับการตัดและเย็บซ่อมฝีเย็บภายหลังการคลอดปกติทางช่องคลอด ที่กลุ่มงานสูติ-นรีเวชกรรม โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก • สตรีกลุ่มดังกล่าว มีการคลอดบุตรครรภ์ละ 1 คน (ไม่นับรวมครรภ์แฝด) • สตรีที่ทำการคลอดปกติทางช่องคลอดที่โรงพยาบาลพุทธชินราช ซึ่งรับการตัดและเย็บซ่อมฝีเย็บ แล้วไม่ได้มารับการรักษาต่อที่โรงพยาบาลพุทธชินราช ถือว่าไม่เกิดแผลฝีเย็บแยก

  14. ประชากรเป้าหมาย (TARGET POPULATION) • EXCLUSION CRITERIA : • สตรีที่รับการตัดและเย็บซ่อมฝีเย็บภายหลังการคลอดปกติทางช่องคลอด ซึ่งไม่ได้รับการบันทึก ข้อมูลของผู้ทำการไว้

  15. SAMPLE SIZE • ใช้วิธีการปรับอัตราส่วน ระหว่างกลุ่มศึกษาต่อกลุ่มควบคุมเป็น 1 : 2 ซึ่งจากการใช้สูตรคำนวณ • กลุ่มศึกษาจำนวน 38 คน • กลุ่มควบคุมประมาณ 76 คน • เมื่อจับคู่ระหว่าง case และ control ได้ 38 คู่

  16. ผลการวิจัย ( RESULT ) • ข้อมูลพื้นฐานของตัวอย่างที่นำมาศึกษา • normal delivery 1193 • Morbidity 40 • select 38 • Prevalence 3.352891869 • พิสัยของอายุ = 16 – 38 ปี • อายุเฉลี่ย = 25.23 ปี

  17. Odds ratio= 0.49 • teaching case มีความเสี่ยงในการทำให้เกิดแผลแยกหลังเย็บซ่อมน้อยกว่าใน service case 0.49 เท่า • Chi – square = 3.58 ; P value = 0.179 • การเกิดแผลฝีเย็บแยกในสตรีคลอดปกติที่ได้รับการตัดและเย็บซ่อมฝีเย็บใน Teaching caseไม่แตกต่างกับใน Service case • 95 % Confidence interval = 0.2183 – 4.5814 • ไม่มีความสัมพันธ์กันระหว่างการตัดและเย็บซ่อมฝีเย็บทั้งใน teaching case และ service case

  18. ข้อสรุป (CONCLUSION) • การเย็บซ่อมฝีเย็บใน teaching case มีความเสี่ยงในการทำให้เกิดแผลแยกหลังเย็บซ่อมน้อยกว่าใน service case 0.49 เท่า • การเกิดแผลฝีเย็บแยกในสตรีคลอดปกติที่ได้รับการตัดและเย็บซ่อมฝีเย็บใน Teaching case ไม่แตกต่าง กับใน Service case

  19. วิจารณ์ (DISCUSSION) • อุบัติการณ์การเกิดแผลฝีเย็บแยกภายหลังการตัดและเย็บซ่อมฝีเย็บของสตรีที่คลอดปกติของโรงพยาบาลพุทธชินราช มีอุบัติการณ์การเกิดประมาณ 3.18 ซึ่งมีค่าค่อนข้างสูงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับการศึกษาอื่นที่ผ่านมาจากการทบทวนวรรณกรรม อาจเป็นไปได้ว่า case ที่นำมาศึกษานี้หมายรวมถึงที่เป็น wound dehiscence และ wound infection ที่มีdehiscence ร่วมด้วย ส่วนการศึกษาผลงานของท่านอื่นๆที่อุบัติการณ์ต่ำกว่านั้นเพราะคิดแยกเฉพาะwound dehiscence อย่างเดียว • ส่วนความเสี่ยงต่อการเกิด wound dehiscence ใน teaching case น้อยกว่า ใน service case อาจเป็นได้ว่า หัตถการที่ทำใน teaching case นั้น ทำภายใต้การควบคุมดูแลของแพทย์ประจำบ้าน และอาจารย์แพทย์จึงเสี่ยงที่จะเกิดความผิดพลาดในขั้นตอนจนเกิด complication ตามมาน้อย • ประโยชน์ที่ได้จากการศึกษาวิจัยนี้สรุปได้ว่า การเรียนการสอนในโรงเรียนแพทย์ซึ่งต้องมีการฝึกปฏิบัติในผู้ป่วยจริง ทำให้ถูกมองว่าอาจเป็นปัจจัยในการเพิ่มภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยได้ เนื่องจากมีประสบการณ์และความรู้น้อย ความผิดพลาดจากการฝึกปฏิบัติจริงในผู้ป่วยอาจส่งผลเสียต่อผู้ป่วย หรือแม้แต่ ต่อ นักศึกษาผู้ปฏิบัติเองได้ แต่ในความเป็นจริง การเรียนการสอนในลักษณะดังกล่าวได้ทำภายใต้การควบคุมดูแลของอาจารย์แพทย์และแพทย์ประจำบ้าน เพื่อลดปัญหาดังกล่าว

  20. ข้อเสนอแนะ ( RECOMMEDATIONS ) • ทั้งกลุ่ม teaching case และกลุ่ม service case ต่างไม่สัมพันธ์กับการเกิดแผลฝีเย็บแยก เนื่องจากทั้งสองกลุ่มมีมาตรฐานในการปฏิบัติที่ใกล้เคียงกัน ดังนั้นการที่จะลดอุบัติการณ์ลงในอนาคต ควรพิจารณาองค์ประกอบในด้านต่างๆของทั้งสองกลุ่ม • ปัญหาในการวิจัยนี้ คือ การมีกลุ่มศึกษาจำนวนน้อยเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมจำนวนมาก และมีข้อจำกัดในด้านเวลา จึงเลือกใช้การศึกษาแบบ Matched-pair , Case-control และในการศึกษาวิจัย ไม่สามารถซักประวัติซักประวัติอื่น • การบันทึกข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์ของเวชระเบียน กลุ่มผู้ป่วยที่เกิดแผลฝีเย็บแยกแต่ไม่ได้มาติดจามผลที่โรงพยาบาลพุทธชินราช ซึ่งการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอาจทำได้โดยการเพิ่มช่วงระยะเวลาของการศึกษา และจับคู่กลุ่มศึกษาและกลุ่มควบคุมให้มีลักษณะที่ใกล้เคียงกันมากขึ้น

  21. กิตติกรรมประกาศ • ขอขอบพระคุณ อาจารย์นายแพทย์ศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย อาจารย์ที่ปรึกษา คณะผู้วิจัย ซึ่งได้ให้คำปรึกษาชี้แนะข้อบกพร่องที่ต้องแก้ไขปรับปรุง ตลอดช่วงที่ทำงานวิจัยตั้งแต่วันแรกจนงานสำเร็จ • อาจารย์นายแพทย์นภดล สุชาติ เกี่ยวกับการใช้งาน computer โปรแกรมทางสถิติทำให้การประมวลผลสะดวกรวดเร็วขึ้น • อาจารย์แพทย์หญิงสุชิลา ศรีทิพยวรรณ กลุ่มงานสูติ นรีเวชกรรม ที่ให้คำปรึกษาชี้แนะในเบื้องต้นเกี่ยวกับหัวข้อศึกษา • เจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายของโรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลกที่เอื้อเฝื้อ และอำนวยความสะดวกในการเก็บข้อมูล จนในที่สุดงานวิจัยได้สิ้นสุดลง FINISH

  22. เอกสารอ้างอิง ( REFFERENCE ) • บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์ . คู่มือการวิจัย การเขียนรายงาน การวิจัยและวิทยานิพนธ์ .กรุงเทพฯ 2540 • ศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย และคณะ. ภาพบางด้าน 4,โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก .พิษณุโลก : 2531 • วิโรจน์ วรรณภิระ, สุชิลา ศรีทิพยวรรณ. เอกสารประกอบการเรียนการสอน ,การผ่าตัดฝีเย็บช่องคลอด“.กลุ่มงานสูติ-นรีเวชกรรม , โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก :2545 • ธีระพร วุฒยวนิช , นิมิตร มรกต, กิตติกา กาญจนรัตนากร. วิจัยทางการแพทย์. บริษัทกลางเวียงการพิมพ์ จำกัด . พิมพ์ครั้งที่ 1 . เชียงใหม่ : 2542 • ธีระ ทองสง , ชเนนทร์ วนาภิรัตน์ . สูติศาสตร์. ฉบับเรียบเรียงครั้งที่ 4 . พี . บี . ฟอเรนบุ๊คส์ เซนเตอร์ . กรุงเทพ ฯ :2541 • F. GARY CUNNINGHAM ,NORMAN F. GANT ,KENNETH J. LEVENO ,LARRY C.GILSTRAP III , JOHN C. HAUTH , KATHARINE D. WENSTROM . WILLIAMS OBSTETRICS , 21STEDITION . McGRAW – HILL : 2001

More Related