1 / 21

การให้วัคซีนพิษสุนัขบ้าในเวชปฏิบัติ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่6 ขอนแก่น

การให้วัคซีนพิษสุนัขบ้าในเวชปฏิบัติ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่6 ขอนแก่น. ระบาดวิทยาโรคพิษสุนัขบ้า. การติดเชื้อส่วนใหญ่เกิดจากการสัมผัสเชื้อปนเปื้อนในนำ้ลายสัตว์ผ่านบาดแผลสัตว์กัด ประเทศตะวันตกมักเกิดจากการถูกสัตว์ป่า ค้างคาวกัด. ประเทศไทยมักเกิดจากสุนัขกัด

iona
Télécharger la présentation

การให้วัคซีนพิษสุนัขบ้าในเวชปฏิบัติ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่6 ขอนแก่น

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การให้วัคซีนพิษสุนัขบ้าในเวชปฏิบัติการให้วัคซีนพิษสุนัขบ้าในเวชปฏิบัติ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่6 ขอนแก่น

  2. ระบาดวิทยาโรคพิษสุนัขบ้าระบาดวิทยาโรคพิษสุนัขบ้า การติดเชื้อส่วนใหญ่เกิดจากการสัมผัสเชื้อปนเปื้อนในนำ้ลายสัตว์ผ่านบาดแผลสัตว์กัด ประเทศตะวันตกมักเกิดจากการถูกสัตว์ป่า ค้างคาวกัด

  3. ประเทศไทยมักเกิดจากสุนัขกัดประเทศไทยมักเกิดจากสุนัขกัด การติดเชื้อวิธีอื่น เช่น การปลูกถ่ายอวัยวะ ทั่วโลกมีการเสียชีวิตปีละ 30,000 รายทุกปี ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตประมาณ 30-70รายต่อปี ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักเป็นเด็ก ( ร้อยละ 40)

  4. ผู้ที่เสี่ยงต่อการสัมผัสโรคผู้ที่เสี่ยงต่อการสัมผัสโรค สัตวแพทย์ ผู้ดูแลสัตว์ เด็ก บุรุษไปรษณีย์ ผู้ที่ไม่ได้รับการดูแลบาดแผลอย่างถูกต้องและไม่ได้รับวัคซีน

  5. ผู้สัมผัสโรคไม่จำเป็นต้องป่วยเป็นโรคทุกราย พบร้อยละ 35-57 ขึ้นกับปัจจัยคือ ตำแหน่งบาดแผล บริเวณหน้า ศรีษะ มือ บริเวณที่มีเส้นประสาทมาก ลักษณะบาดแผล ขนาดใหญ่มีเลือดออกจะมีโอกาสสูงกว่าแผลถลอก

  6. สาเหตุ เชื้อ Rabies virus เป็น RNA virus อยู่ใน Genus Lyssavirus , Family rhabdoviruses มี 7serotypes 6 ใน 7serotypes พบในค้างคาว การเกิดโรคในคนมักพบจาก serotypes 1

  7. พยาธิกำเนิดและพยาธิสภาพพยาธิกำเนิดและพยาธิสภาพ เมื่อร่างกายได้รับเชื้อไวรัสผ่านบาดแผลหรือเยื่อบุจะเพิ่มจำนวนที่บริเวณกล้ามเนื้อรอบบาดแผล หลังจากนั้นเข้าสู่ระบบประสาทผ่านทาง neuromuscular junction และเคลื่อนที่ตามใยประสาทในอัตรา 8-20 มม.ต่อวัน เมื่อเดินทางถึง dorsal root ganglia จะเพิ่มจำนวนอีกและเข้าสู่ระบบประสาทส่วนปลายหรือสู่ระบบประสาทส่วนกลาง ระยะท้ายเข้าสู่ระบบประสาทอัตโนมัติ ไปสู่อวัยวะต่างๆของร่างกาย เช่น ต่อมนำ้ลาย หัวใจ ทางเดินอาหาร

  8. ลักษณะทางคลินิก ระยะฟักตัว : ตั้งแต่ 5-6 วันจนถึง หลายปี โดยทั่วไปจะปรากฏอาการภายใน 3 เดือน ประมาณร้อยละ 1-7 จะปรากฏอาการหลัง 1 ปี ระยะฟักตัวที่สั้นเชื่อว่าเกิดจากไวรัสเข้าสู่ระบบประสาทโดยตรงไม่แบ่งตัวที่บริเวณบาดแผล ซึ่งพบได้บ่อยกรณีมีการสัมผัสโรครุนแรงที่บริเวณใบหน้าหรือศรีษะ

  9. อาการของผู้ป่วย 1 ระยะอาการนำ : ไข้ อ่อนเพลีย ไม่จำเพาะ กินเวลาประมาณ 2-10 วัน อาจมีอาการระบบทางเดินอาหาร ทางเดินหายใจ เช่น ไอ ท้องเสีย ปวด คัน ชา บริเวณที่สัมผัสโรค 2 ระยะอาการทางระบบประสาท : มี 2 ลักษณะคือแบบ encephalitic rabies (มีอาการกลัวนำ้ กลัวลม )และ paralytic rabies (มักพบในกรณีถูกค้างคาวกัด) 3 ระยะหมดสติ : (coma )

  10. การดูแลรักษาภายหลังสัมผัสโรคพิษสุนัขบ้าการดูแลรักษาภายหลังสัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า ล้างบาดแผลด้วยนำ้และสบู่เพื่อลดจำนวนไวรัสที่บาดแผลใส่นำ้ยาฆ่าเชื้อ เช่น povidone iodine พิจารณาให้วัคซีนป้องกันโรค ( active immunization ) ร่วมกับการให้ อิมมูโนโกลบูลินตามแนวทาง

  11. การให้วัคซีน ในอดีต มีการใช้วัคซีนซึ่งได้มาจากการเพาะเชื้อในสมองหนู แต่ให้ผลการป้องกันโรคไม่ดีและมีผลข้างเคียงมาก ปัจจุบันในประเทศไทยได้เลิกใช้เเล้ว วัคซีนที่มีขายในประเทศไทยได้แก่ Purified Chick Embryo Cell Rabies Vaccine( PCECV) ขนาด 1 มิลลิลิตร Purified Vero cell Rabies Vaccine ( PVRV)ขนาด 0.5 มิลลิลิตร Purified Duck Embryo Cell Rabies Vaccine (PDEV)ขนาด 1 มิลลิลิตร Human Diploid Cell Rabies Vaccine (HDCV)ขนาด 1 มิลลิลิตร

  12. ประเทศไทยแนะนำการใช้วัคซีน 2สูตร การฉีดเข้ากล้ามแบบมาตรฐาน (IM ) 1-1-1-1-1 Day 0-3-7-14-28 หรือ30 การฉีดเข้าในผิวหนัง(ID ) 2-2-2-0-1-1 2-2-2-0-2-0 Day 0-3-7-14-28 หรือ30-90

  13. ขนาดที่ใช้ การฉีดเข้ากล้ามขนาด 0.5 หรือ 1 ซีซี แล้วแต่ชนิดวัคซีน 1 หลอด เมื่อละลายแล้ว ฉีดเข้ากล้ามเนื้อต้นแขน หรือต้นขาในเด็กเล็ก ห้ามฉีดเข้าสะโพกเพราะภูมิคุ้มกันเกิดขึ้นไม่ดี การฉีดเข้าในผิวหนังใช้ปริมาณ 0.1 ซีซี การฉีดเข้าผิวหนัง 8 จุด ไม่แนะนำให้ใช้ในประเทศไทย

  14. ไม่ควรเปลี่ยนวิธีการฉีดสลับไปมา ควรอธิบายกำหนดการรับวัคซีนตามนัดแก่ผู้ป่วย/ผู้ ปกครอง กรณีตั้งครรภ์แล้วจำเป็นต้องฉีด ยังไม่มีรายงานความผิดปกติของทารก

  15. การให้ RIG ที่มีความเสี่ยงระดับ 3 ขึ้นไปควรได้ RIG ปัจจุบัน RIG มี 2 ชนิด คือ เซรุ่มที่ทำจากม้า ขนาดที่ใช้ 40 U/KG (Equine Rabies Immunoglobulin , ERIG) เซรุ่มที่ทำจากคน ขนาดที่ใช้ 20 U/KG (Human Rabies Immunoglobulin, HRIG ) ฉีดรอบบาดแผลให้มากที่สุด ที่เหลือฉีดเข้ากล้าม บาดแผลที่ตา ให้หยอดบริเวณแผลที่ตา

  16. HRIG โดยทั่วไปไม่ต้องทำการทดสอบก่อนฉีด แต่มีราคาแพงและทำจากเลือดคน ERIG ทำจากเลือดม้า พบอาการแพ้ได้ จึงต้องทำการทดสอบก่อน เจือจาง ERIG 1:100 ด้วย NSS แล้วฉีด ERIG ที่เจือจาง 0.02 มิลลิลิตร เข้าในผิวหนังจนเกิดรอยนูน 3 มม. ฉีดNSS อีกข้างเปรียบเทียบ รอ 15-20 นาที ถ้าบริเวณที่ฉีด ERIG มีรอยนูน บวมแดงขนาด 6 มม ขึ้นไปและมีรอยแดง โดยปฏิกิริยามากกว่าบริเวณที่ฉีดนำ้เกลือให้แปลผลบวก

  17. แนะนำให้ฉีด RIG เร็วที่สุดตามข้อบ่งชี้ แต่ในกรณีที่ฉีดวัคซีนไปก่อนนานเกิน 7 วันไม่แนะนำให้ฉีด RIG เนื่องจากRIG อาจรบกวนการสร้างภูมิคุ้มกันจากวัคซีน

  18. การให้การรักษาภายหลังเคยได้รับวัคซีนมาก่อนการให้การรักษาภายหลังเคยได้รับวัคซีนมาก่อน ผู้ที่เคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าชนิดเซลล์เพาะเลี้ยงหรือไข่เป็ดฟักบริสุทธิ์ครบอย่างน้อย 3 เข็ม เมื่อมีการสัมผัสโรคพิษสุนัขบ้าและจำเป็นต้องรับการรักษา เช่น บาดแผลระดับ 2 หรือ3 ให้การรักษาโดยการฉีดกระตุ้น ไม่จำเป็นต้องให้ RIG ผู้ที่ได้รับวัคซีนจากสมองสัตว์ให้ทำการรักษาเหมือนไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน

  19. การให้การรักษาภายหลังเคยได้รับวัคซีนมาก่อนการให้การรักษาภายหลังเคยได้รับวัคซีนมาก่อน กรณีเคยได้รับเข็มสุดท้ายมาภายใน6 เดือน ฉีดเข็มกระตุ้น1 เข็มโดยการฉีดเข้ากล้าม 1 โด๊ส หรือ เข้าในผิวหนังบริเวณต้นแขน 1จุด ใน Day 0 กรณีเคยได้รับเข็มสุดท้ายมามากกว่า 6 เดือน ฉีดเข็มกระตุ้น 2เข็มโดยการฉีดเข้ากล้าม 1 โด๊ส หรือ เข้าในผิวหนังบริเวณต้นแขน 1จุด ใน Day 0และ Day3

  20. Thank you

More Related