1 / 29

การกำหนดชื่อปริญญาในหลักสูตร

การกำหนดชื่อปริญญาในหลักสูตร. หลักเกณฑ์การกำหนดชื่อปริญญาพ.ศ. 2549 ของกระทรวงศึกษาธิการ. ชื่อปริญญา. ให้ชื่อปริญญาตาม พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาของแต่ละสถาบันในกรณีที่ยังไม่มีการกำหนดชื่อปริญญาในพระราชกฤษฎีกาให้ใช้ชื่อปริญญาตามหลักเกณฑ์การกำหนดชื่อปริญญา พ.ศ. 2549.

irma-sharpe
Télécharger la présentation

การกำหนดชื่อปริญญาในหลักสูตร

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การกำหนดชื่อปริญญาในหลักสูตรการกำหนดชื่อปริญญาในหลักสูตร • หลักเกณฑ์การกำหนดชื่อปริญญาพ.ศ. 2549 ของกระทรวงศึกษาธิการ

  2. ชื่อปริญญา ให้ชื่อปริญญาตาม พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาของแต่ละสถาบันในกรณีที่ยังไม่มีการกำหนดชื่อปริญญาในพระราชกฤษฎีกาให้ใช้ชื่อปริญญาตามหลักเกณฑ์การกำหนดชื่อปริญญา พ.ศ. 2549

  3. หลักเกณฑ์การกำหนดชื่อปริญญา แบ่งเป็น 4 ประเภทดังนี้ • 1. ปริญญาศิลปศาสตร์ 2. ปริญญาวิทยาศาสตร์ 3. ปริญญาวิชาชีพ 4. ปริญญาทางเทคโนโลยี

  4. ชื่อปริญญา 1. ปริญญาศิลปศาสตร์ • กลุ่มสาขามนุษยศาสตร์ • กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ • ปริญญาวิทยาศาสตร์ • กลุ่มวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ • กลุ่มวิทยาศาสตร์ประยุกต์

  5. ชื่อปริญญา • 3. ปริญญาวิชาชีพ • กลุ่มที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ • กลุ่มที่ไม่ได้กำหนดให้มีองค์กรวิชาชีพแต่เป็นศาสตร์ในลักษณะเชิงวิชาชีพหรือกึ่งวิชาชีพ • 4. ปริญญาทางเทคโนโลยี

  6. ศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) • กลุ่มมนุษยศาสตร์ - ปรัชญา ภาษา ประวัติศาสตร์ • กลุ่มสังคมศาสตร์ - สังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ การจัดการ คหกรรมศาสตร์ อุตสาหกรรมบริการ

  7. ตัวอย่างหลักสูตรและชื่อปริญญา (1) ชื่อหลักสูตร ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา... Bachelor of Arts Program in … ชื่อปริญญา ศิลปศาสตรบัณฑิต (...) ศศ.บ. (...) Bachelor of Arts (…) B.A. (…)

  8. วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) • กลุ่มวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ - เคมี ชีววิทยา คณิตศาสตร์ • กลุ่มวิทยาศาสตร์ประยุกต์ - เกษตรศาสตร์ วิทยาการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ วิทยาศาสตร์การแพทย์

  9. ตัวอย่างชื่อหลักสูตรและชื่อปริญญา (2) ชื่อหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา... Bachelor of Science Program in … ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (...) วท.บ. (...) Bachelor of Science (…) B.Sc. (…)

  10. ปริญญาวิชาชีพ • ศึกษาศาสตร์ (ศษ.บ.) • นิติศาสตร์ (น.บ.) • แพทยศาสตร์ (พ.บ.) • วิศวกรรมศาสตร์ (วศ.บ.) • สถาปัตยกรรมศาสตร์ (สถ.บ.) ฯลฯ

  11. ตัวอย่างชื่อหลักสูตรและชื่อปริญญา (3) ชื่อหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา... Bachelor of Engineering Program in … ชื่อปริญญา วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (...) วศ.บ. (...) Bachelor of Engineering (…) B.Eng. (…)

  12. ปริญญาในลักษณะวิชาชีพหรือกึ่งวิชาชีพปริญญาในลักษณะวิชาชีพหรือกึ่งวิชาชีพ • สาขาวิชาวิจิตรศิลป์และประยุกต์ศิลป์ • สาขาวิชาบริหารธุรกิจ • สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์

  13. ตัวอย่างชื่อหลักสูตรและชื่อปริญญา (4) ชื่อหลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชา... Bachelor of Fine Arts Program in … ชื่อปริญญา ศิลปบัณฑิต (...) ศล.บ. (...) Bachelor of Fine Arts (…) B.F.A. (…)

  14. ปริญญาทางเทคโนโลยี • ให้ใช้เฉพาะปริญญาตรีในลักษณะการนำวิทยาศาสตร์ประยุกต์ไปใช้พัฒนาความรู้และทักษะเชิงปฏิบัติการเฉพาะและมีลักษณะหลักสูตรแบบพหุวิทยาการ (Multidisciplinary)

  15. ตัวอย่างชื่อหลักสูตรและชื่อปริญญา (5) ชื่อหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชา... Bachelor of Technology Program in … ชื่อปริญญา เทคโนโลยีบัณฑิต (...) ทล.บ. (...) Bachelor of Technology (…) B.Tech. (…)

  16. บันทึกหลักการและเหตุผลประกอบร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญา ในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะและครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัย.......................พ.ศ. .... พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยชื่อปริญญาฯ

  17. หลักการกำหนดปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัย......................

  18. เหตุผล เนื่องจากได้มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัย.....................ขึ้นตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัย.................พ.ศ. .... และมหาวิทยาลัย................ได้เปิดสอนหลักสูตรสาขาวิชาต่าง ๆ แล้ว ประกอบกับมาตรา 56 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัย...............พ.ศ. 2547 บัญญัติให้การกำหนดปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีภา จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

  19. ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชาครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัย...........................พ.ศ. ....

  20. ...................ให้ไว้ ณ วันที่........................................พ.ศ. ....เป็นปีที่ .. ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า

  21. โดยที่เป็นการสมควรกำหนดปริญญา ในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัย..................... อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและมาตรา ๕๖ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัย.................พ.ศ. .... จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตรา พระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้

  22. มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัย.........................พ.ศ. ....” มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

  23. มาตรา ๓ ให้กำหนดปริญญาในสาขาวิชา และอักษรย่อสำหรับสาขาวิชาของมหาวิทยาลัย..................... ดังนี้ • สาขาวิชาการศึกษา มีปริญญาสามชั้น คือ • (ก) เอก เรียกว่า “ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “ค.ด.” • (ข) โท เรียกว่า “ครุศาสตรมหาบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “ค.ม.” • (ค) ตรี เรียกว่า “ครุศาสตรบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “ค.บ.”

  24. สาขาวิชาเทคโนโลยี มีปริญญาหนึ่งชั้น คือ ตรี เรียกว่า • “เทคโนโลยีบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “ทล.บ.” • (๓) สาขาวิชานิติศาสตร์ มีปริญญาสามชั้น คือ • (ก) เอก เรียกว่า “นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “น.ด.” • (ข) โท เรียกว่า “นิติศาสตรมหาบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “น.ม.” • (ค) ตรี เรียกว่า “นิติศาสตรบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “น.บ.”

  25. (๔) สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มีปริญญาสามชั้น คือ (ก) เอก เรียกว่า “บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “บธ.ด.” (ข) โท เรียกว่า “บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “บธ.ม.” (ค) ตรี เรียกว่า “บริหารธุรกิจบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “บธ.บ.” (๕) สาขาวิชาวิจิตรศิลป์และประยุกต์ศิลป์ มีปริญญาสามชั้น คือ (ก) เอก เรียกว่า “ศิลปดุษฎีบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “ศ.ด.” (ข) โท เรียกว่า “ศิลปมหาบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “ศ.ม.” (ค) ตรี เรียกว่า “ศิลปบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “ศ.บ.”

  26. (๖) สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ มีปริญญาสามชั้น คือ (ก) เอก เรียกว่า “วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “วท.ด.” (ข) โท เรียกว่า “วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “วท.ม.” (ค) ตรี เรียกว่า “วิทยาศาสตรบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “วท.บ.” (๗) สาขาวิชาศิลปศาสตร์ มีปริญญาสามชั้น คือ (ก) เอก เรียกว่า “ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “ศศ.ด.” (ข) โท เรียกว่า “ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “ศศ.ม.” (ค) ตรี เรียกว่า “ศิลปศาสตรบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “ศศ.บ.” ทั้งนี้ ให้ระบุชื่อวิชาเอกไว้ในวงเล็บต่อท้ายปริญญาด้วย ถ้ามี

  27. มาตรา ๕ สีประจำสาขาวิชา มีดังนี้ • สาขาวิชาการศึกษา สีฟ้า • สาขาวิชาเทคโนโลยี สีม่วง • สาขาวิชานิติศาสตร์ สีขาว • สาขาวิชาบริหารธุรกิจ สีชมพู • สาขาวิชาวิจิตรศิลป์และประยุกต์ศิลป์ สีแดงเลือดนก • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ สีเหลือง • สาขาวิชาศิลปศาสตร์ สีแสด

  28. ผู้สนองพระบรมราชโองการ.............................นายกรัฐมนตรีผู้สนองพระบรมราชโองการ.............................นายกรัฐมนตรี

  29. การเสนอร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาการเสนอร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญา มหาวิทยาลัย สกอ. เสนอเลขาธิการ ครม. รมว. อนุมัติหลักการ ครม. ตรวจพิจารณา กฤษฎีกา ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เลขาธิการ ครม.

More Related