1 / 103

สุจิตรา จางตระกูล ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้

บทบาทของประเทศไทยต่อการพัฒนา REDD+ ระดับนานาชาติ และการเตรียมความพร้อมในประเทศ. สุจิตรา จางตระกูล ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. ประเด็นนำเสนอ. ข้อมูลพื้นฐานและสาระสำคัญของ REDD+

isla
Télécharger la présentation

สุจิตรา จางตระกูล ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทบาทของประเทศไทยต่อการพัฒนา REDD+ ระดับนานาชาติ และการเตรียมความพร้อมในประเทศ สุจิตรา จางตระกูล ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

  2. ประเด็นนำเสนอ • ข้อมูลพื้นฐานและสาระสำคัญของ REDD+ • บทบาทของประเทศไทย (กรมอุทยานฯ) ต่อการพัฒนา REDD+ระดับนานาชาติ • - เป็นผู้แทนประเทศไทยในการเจรจาต่อรอง REDD+ • - เผยแพร่องค์ความรู้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง • 3. การเตรียมความพร้อมในประเทศในการดำเนินกิจกรรม REDD+

  3. ข้อมูลพื้นฐานและสาระสำคัญข้อมูลพื้นฐานและสาระสำคัญ ของ REDD+

  4. REDD+ Reducing Emissions from Deforestation and Forest Degradation in Developing countries (REDD) ; and the role of conservation, sustainable management of forests and enhancement of forest carbon stocks in developing countries (Plus) = REDD Plus คือ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการตัดไม้ทำลายป่า และการทำให้ป่าเสื่อมโทรม, กิจกรรมในการอนุรักษ์ป่าไม้ และการจัดการป่าไม้ที่ยั่งยืนในการเพิ่มคาร์บอนสต๊อกในพื้นที่ป่าในประเทศกำลังพัฒนา

  5. แล้วสาเหตุอะไรล่ะ ที่ทำให้เกิดREDD+??

  6. แนวคิดพื้นฐาน • IPCC ได้ประเมินว่า การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกอันเนื่องมาจากการตัดไม้ทำลายป่ามีประมาณ 17-20% ของการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกของทั้งโลก • ประเทศที่มีความประสงค์และความสามารถในการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการตัดไม้ทำลายป่าและการทำให้ป่าเสื่อมโทรมโดยสมัครใจ จะต้องได้รับการชดเชย และช่วยเหลือในการดำเนินการดังกล่าว เนื่องจากในการดำเนินการทั่วโลกในการแก้ปัญหาการตัดไม้ทำลายป่ายังไม่ประสบความสำเร็จ • อย่างไรก็ตาม REDD+ จะทำให้เกิดกรอบการทำงานใหม่ให้ประเทศที่มีปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า สามารถลดหรือชะลออัตราการตัดไม้ทำลายป่าที่มีอยู่เดิมในอดีตและปัจจุบันได้

  7. การปลดปล่อย CO2 จากกิจกรรมต่างๆ ทั่วโลก 20 % Of Emission around the world Source: Union of Concerned Scientists. Recognizing Forest’s Role in Climate Change. http://www.ucsusa.org/global_warming/solutions/recognizing-forests-role-in-climate-change.htm

  8. ปัญหาการลดลงของพื้นที่ป่าทั่วโลกปัญหาการลดลงของพื้นที่ป่าทั่วโลก Source: FAO (2011)

  9. Griscom and et al.,n.d.

  10. พื้นที่ป่าของประเทศไทยในช่วงปี 1973-2009

  11. เปอร์เซ็นต์พื้นที่ป่าของประเทศไทยในช่วงปี 1973-2009 • REDD+ จะทำให้เกิดกรอบการทำงานใหม่ให้ประเทศที่มีปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า สามารถลดหรือชะลออัตราการตัดไม้ทำลายป่าที่มีอยู่เดิมในอดีตและปัจจุบันได้

  12. UNFCCC REDD+ REDD+ Partnership (ประเทศพัฒนาแล้ว และประเทศกำลังพัฒนา) FCPF/ UN-REDD กลุ่มประเทศ กำลังพัฒนา UNFCCC : United Nations Framework Convention on Climate Change REDD+ Partnership : หุ้นส่วนความร่วมมือระหว่างประเทศเฉพาะกิจในการดำเนินการกิจกรรมด้าน REDD + เพื่อเสริมศักยภาพประเทศกำลังพัฒนาในการดำเนินการ REDD+ ที่อยู่นอกกรอบ UNFCCC FCPF/UN-REDD : ตัวกลางในการเสริมศักยภาพ REDD+ ในการพิจารณาให้เงินสนับสนุนประเทศกำลังพัฒนา

  13. การดำเนินงานกลไกทางด้านป่าไม้ภายใต้ UNFCCC FAO (2011)

  14. เริ่มมีการเจรจา REDD+ กันตั้งแต่เมื่อไหร่ ?? • ถูกเสนอครั้งแรกในที่ประชุม COP11 (2005) โดยประเทศปาปาวนิกินี และ คอสตาริกา • ถูกบรรจุเข้าใน Bali Action Plan ในการประชุม COP 13 (2007) • COP 15(2009) : ให้ความสำคัญต่อบทบาทของ REDD+ และจะมีกลไกทางการเงินสนับสนุนการดำเนินการ (Copenhagen Accord) • COP 16 (2010) : เอกสารREDD+ ได้รับการเห็นชอบ (Cancun Agreement) • COP 17 (2011) : เห็นชอบในเรื่อง safeguard, REL, RL และแนวทางนโยบายและทางเลือกกลไกทางการเงิน

  15. RED REDD REDD+ : SBSTA/ AWG-LCA (UNFCCC)

  16. Process of REDD+ text Proposals and views by Parties or group of Parties Reading Negotiating text Through Facilitator / assignment ( bilateral consultation) -Revised negotiation text -Consolidated text Note by the chair, President

  17. กิจกรรมของREDD+ มีอะไรบ้าง??

  18. กระบวนการดำเนินงานของ REDD+ 3 ระยะ 1. เตรียมความพร้อมและเสริมศักยภาพ โดยการจัดทำ กลยุทธ์แห่งชาติ หรือแผนปฏิบัติงาน, นโยบายและมาตรการเกี่ยวกับ REDD+ 2. ดำเนินการตามกลยุทธ์แห่งชาติหรือแผนปฏิบัติงาน ซึ่งรวมถึงการเสริมศักยภาพด้านวิชาการและเทคโนโลยี ตลอดจนการจัดทำโครงการนำร่องที่แสดงผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินงานกิจกรรม REDD+ 3. การดำเนินกิจกรรม REDD+ ที่สัมฤทธิ์ผลในระดับชาติ ซึ่งจะต้องมีกระบวนการ ติดตาม ประเมินผลในรูปแบบ ตรวจวัดรายงานและสอบทาน ตรวจสอบของผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินงานด้าน REDD+ก่อนได้รับผลตอบแทนทางการเงิน ผ่านกองทุน หรือ กลไกตลาด (ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละประเทศ และผลการหารือ เจรจาในอนาคต) - ใช้เส้นฐานอ้างอิง (Reference Emission Level :REL/ Reference Level; RL) เป็นเกณฑ์พิจารณาถึงศักยภาพในการดำเนินงานด้าน REDD+

  19. BAU and crediting baselines Angelsen (2008) • BAU baseline is the benchmark for judging the impact of the REDD measures implemented (and ensuring additionality) • - Crediting baseline is the benchmark for rewarding the country (or project) if emissions are below that level or not giving any reward.

  20. ในการเตรียมความพร้อม REDD+ ใครจะให้เงิน ?? ประเทศพัฒนาแล้ว สนับสนุนเงินทุน สนับสนุนเงินทุน ในรูปแบบทวิภาคี FCPF /UN-REDD ให้เงินทุนเพื่อเตรียมความพร้อม REDD+ เสนอ R-PP ประเทศกำลังพัฒนา FCPF/UN-REDD : ตัวกลางในการเสริมศักยภาพ REDD+ ในการพิจารณาให้เงินสนับสนุนประเทศกำลังพัฒนา

  21. Griscom and et al.,n.d.

  22. UN-REDD Countries receiving support to National Programmes Other partner countries www.un-redd.org

  23. Countries receiving support to National Programmes Other partner countries www.un-redd.org

  24. Donor Contributions www.un-redd.org

  25. Budget Allocations to UN-REDD Programmes (2009-2011) www.un-redd.org

  26. FCPF www.forestcarbonpartnership.org

  27. Lao People’s Democratic Republic Liberia Madagascar Mexico Mozambique Nepal Nicaragua Panama Papua New Guinea Paraguay Peru Suriname Tanzania Thailand Uganda Vanuatu Vietnam Argentina Bolivia, Plurinational State of Cameroon Cambodia Central African Republic Chile Colombia Congo, Democratic Republic of Congo, Republic of Costa Rica El Salvador Ethiopia Gabon Ghana Guatemala Guyana Honduras Indonesia Kenya REDD+ Country Participants

  28. Donor Participants • Government of Australia • Government of Canada • Government of Denmark • Government of Finland • Government of France • Government of Germany • Government of Italy • Government of Japan • Government of the Netherlands • Government of Norway • Government of Spain • Government of Switzerland • Government of the United Kingdom • Government of the United States of America www.forestcarbonpartnership.org

  29. ผลการประชุมที่ผ่านมา มีอะไรบ้าง ??

  30. ผลการประชุม SBSTA 35 (Technical issues) (ในการประชุม COP 17)

  31. ผล.. COP17 1.แนวทางเกี่ยวกับระบบการจัดหาข้อมูลว่า safeguards ถูกคำนึงและเคารพอย่างไร (การป้องกันผลกระทบต่อชุมชนและทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จากการดำเนินกิจกรรม REDD+) 1.1 เห็นชอบว่าระบบการจัดหาข้อมูลสำหรับ safeguards ที่อ้างไว้ในภาคผนวก 1 ของ Cancun agreement) ถูกคำนึงถึงและเคารพ ตามสภาพการณ์ ศักยภาพ อธิปไตย และข้อกฎหมายของประเทศ และเกี่ยวข้องกับข้อบังคับ ข้อตกลงระหว่างประเทศ และเคารพเรื่องเพศ (gender) 1.2 เห็นชอบว่าประเทศกำลังพัฒนาที่ดำเนินกิจกรรม REDD+ ควรจัดหาข้อมูลแบบสรุปว่า safeguards ที่อ้างไว้ในภาคผนวก 1 ของ Cancun agreement) มีการคำนึงและเคารพอย่างไรตลอดของการดำเนินกิจกรรม REDD+

  32. 1.3 ตัดสินใจว่าข้อมูลแบบสรุปในข้อ 2 นั้นควรจัดหาเป็นช่วงเวลาและถูกรวมไว้ในรายงานแห่งชาติซึ่งสอดคล้องกับมติของ COP เกี่ยวกับแนวทางของรายงานแห่งชาติจากประเทศภาคีสมาชิกที่ไม่รวมประเทศพัฒนาแล้ว หรือช่องทางอื่นที่ได้รับการยอมรับจาก COP 1.4 ได้ร้องขอให้ SBSTA สำหรับการประชุมครั้งที่ 36 พิจารณาระยะเวลาของการนำเสนอข้อมูลแบบสรุปในครั้งแรกหรือในครั้งต่อมาด้วยข้อคิดเห็นเพื่อเสนอแนะเป็นมติเพื่อการยอมรับจาก COP 1.5 ร้องขอ SBSTA สำหรับการประชุมครั้งที่ 36 พิจารณาความต้องการสำหรับแนวทางต่อไปที่รับประกันความโปร่งใส ความคงที่ ความเข้าใจ และประสิทธิผล เมื่อมีการแจ้งว่า safeguards ถูกคำนึงถึงและเคารพอย่างไร และถ้ามีความเหมาะสม ก็พิจารณาแนวทางเพิ่มเติม และรายงานต่อ COP .ในการประชุม COP18

  33. 2. Modalities สำหรับเส้นฐานการปล่อยอ้างอิง (reference emission level, REL)และเส้นฐานอ้างอิง(reference level,RL)จากป่าไม้ 2.1 เห็นชอบว่าRELและ RLในรูปของตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี คือฐานสำหรับการประเมินการดำเนินกิจกรรม REDD+ ของประเทศ 2.2 เห็นชอบว่า step-wise approach สำหรับการทำ REL,RLของประเทศอาจถูกใช้ได้ตามความเหมาะสมเพื่อช่วยในการปรับปรุงข้อมูล วิธีการให้ดีขึ้น 2.3 เห็นชอบว่าประเทศกำลังพัฒนาควรอัพเดต REL, RL เป็นช่วงเวลาตามความเหมาะสม โดยขึ้นอยู่กับความรู้และแนวโน้มใหม่ๆ,ขอบเขตและวิธีการที่มีการปรับปรุงใหม่

  34. 2.4 ได้ร้องขอให้ SBSTA นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับ REL, RL ใน UNFCCC REDD web platform รวมทั้งข้อคิดเห็นเกี่ยวกับ REL และ RL ที่มีการส่งไปแล้ว 2.5 เห็นชอบในการกำหนดกระบวนการที่สามารถประเมินเชิงเทคนิคเกี่ยวกับ REL และ RL ที่มีการเสนอไปหรือมีการอัพเดตโดยประเทศภาคีสมาชิกซึ่งสอดคล้องกับข้อ 2.3 และแนวทางที่มีการพัฒนาโดย SBSTA .ในการประชุม SBSTA ครั้งที่ 36

  35. บทบาทของประเทศไทยทีประสบความสำเร็จในการเจรจาต่อรองในที่ประชุม REDD+: SBSTA 35 • มีการเสนอแก้ไขร่างเอกสารระหว่างการเจรจาต่อรอง โดยเสนอให้มีการใช้คำว่า “should”ซึ่งมีความหมายที่เป็นความสมัครใจ (voluntary) มากกว่าการใช้ “shall” ซึ่งมีความหมายในเชิงภาคบังคับ (mandatory) ที่เกี่ยวกับการจัดทำและการให้ข้อมูลเกี่ยวกับ Safeguards ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ • การดำเนินการจัดทำข้อมูล Safeguards ต้องยึดหลักอธิปไตยและกฎหมายของประเทศ • การให้ข้อมูลสรุปของ Safeguardsต้องดำเนินการตาม decision 1/CP.16 • ความโปร่งใสในการรายงานเกี่ยวกับ Safeguards สามารถดำเนินการได้โดยผ่านการจัดทำรายงานแห่งชาติ (NationalCommunications)ซึ่งดำเนินการโดยหน่วยงานประสานงานกลาง(focal point) ของ UNFCCCของแต่ละประเทศ

  36. Methodological guidance for activities relating to reducing emission from deforestation and forest degradation and the role of conservation, sustainable management of forest and enhancement of forest carbon stocks in developing countries 1. Guidance on systems for providing on how safeguards are addressed and respected 2. Modalities for forest reference levels and forest reference emission levels 3. Modalities for measuring, reporting and verifying

  37. ผลการประชุม AWG-LCA : REDD+ (Policy approach and positive incentives)

  38. ผลการประชุม… (COP 16) เป้าหมาย การสนับสนุนที่เพียงพอและคาดหวังได้ให้แก่ประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งประเทศภาคีสมาชิกควรมีเป้าหมายในการลดและหยุดผลกระทบต่อพื้นที่ป่าและการสูญเสียคาร์บอนในพื้นที่ป่าอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยคำนึงถึงสถานภาพและศักยภาพของแต่ละประเทศ

  39. กิจกรรม REDD+ • ลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการตัดไม้ทำลายป่า • ลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการทำให้ป่าเสื่อมโทรม • การอนุรักษ์คาร์บอนสต๊อค • การจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน • การเพิ่มคาร์บอนสต๊อคในพื้นที่ป่า (กิจกรรมที่ประเทศกำลังพัฒนาต้องดำเนินการเมื่อเข้าร่วมกลไกREDD+)

  40. ประเทศกำลังพัฒนาที่มีเป้าหมายในการดำเนินการดังกล่าวข้างต้น และต้องการความช่วยเหลือที่เพียงพอและคาดหวังได้ ซึ่งรวมถึงแหล่งเงินสนับสนุนและการสนับสนุนทางเทคนิคและวิชาการ ควรพัฒนาการดำเนินการตามสถานภาพและศักยภาพของประเทศดังนี้ 3. ระบบการสำรวจติดตามและรายงานการปฏิบัติกิจกรรม REDD+ อย่างโปร่งใส 2. การจัดทำเส้นฐานอ้างอิงป่าไม้ของประเทศ 1. ยุทธศาสตร์แห่งชาติหรือแผนปฏิบัติการ 4. ระบบที่ให้ข้อมูลในการดำเนินการด้านการป้องกันการเกิดผลกระทบเชิงสังคมและ สิ่งแวดล้อมโดยเคารพต่ออธิปไตยของประเทศ

  41. เมื่อประเทศกำลังพัฒนา มีการพัฒนาและดำเนินการ ตามยุทธศาสตร์แห่งชาติหรือแผนปฏิบัติการ ควรคำนึงถึง…. • สาเหตุและปัจจัยของการตัดไม้ทำลายป่าและการทำให้ป่าเสื่อมโทรม • เรื่องเกี่ยวกับที่ดิน • การบริหารจัดการป่าไม้ • บทบาทของเพศในการร่วมดำเนินการดังกล่าว • การป้องกันผลกระทบด้านมิติสังคมและสิ่งแวดล้อม การดำเนินการดังกล่าวจะมีกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ชุมชนพื้นเมืองท้องถิ่น เป็นต้น

  42. กิจกรรม REDD+ จะมีการดำเนินการ เป็น 3 ระยะดังนี้ 1. มีการวางนโยบายยุทธศาสตร์แห่งชาติหรือแผนปฏิบัติการและการพัฒนาศักยภาพ 2. ดำเนินตามนโยบายยุทธศาสตร์แห่งชาติและแผนปฏิบัติการที่สามารถพัฒนาในการเสริมศักยภาพ พัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี ตลอดจนกิจกรรมนำร่องที่แสดงผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินการ 3. ขั้นตอนการตรวจวัดรายงานและตรวจสอบแสดงผล ผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินการ ( การดำเนินการอาจเริ่มที่ระยะใดก็ได้ตามสภาพความเหมาะสมและศักยภาพของประเทศระดับของการได้รับการสนับสนุน )

  43. ผล… COP16(ต่อ) • เป้าหมายที่ทุกประเทศควรลดและหยุดการสูญเสียพื้นที่ป่าและคาร์บอนสต็อก ตามศักยภาพของประเทศ โดยเน้นว่าการสนับสนุนจะต้องมีให้แก่ประเทศกำลังพัฒนาดำเนินการดังกล่าวอย่างเพียงพอ • มีการเร่งเร้าให้ประเทศภาคีสมาชิกกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้วสนับสนุนผ่านช่องทางพหุภาคีและทวิภาคี ในการพัฒนายุทธศาสตร์แห่งชาติหรือแผนปฏิบัติการ แนวทางนโยบายและเสริมศักยภาพตลอดจนการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีและกิจกรรมนำร่อง

  44. การพิจารณาเกี่ยวกับด้าน safeguards ทั้งมิติเชิงสังคมและสิ่งแวดล้อม • ร้องขอให้ AWG-LCA พิจารณาทางเลือกกลไกทางการเงิน เพื่อดำเนินการ Full Implementation ของ Result based action ภายหลัง โดยให้จัดทำรายงานและข้อเสนอต่อ COP 17 เอกสารที่เกี่ยวข้องกับ REDD+ อยู่ใน chapter III- C ของเอกสาร FCCC/AWGLCA/2010/L.7 (Cancun agreement) ได้รับการรับรองจากที่ประชุม COP 16

More Related