1 / 114

การกำหนดเป็นรายได้ประชาชาติดุลยภาพ

การกำหนดเป็นรายได้ประชาชาติดุลยภาพ. โดยในบทที่ 2 เรื่องบัญชีรายได้ประชาชาติ เราได้ทราบความหมายต่าง ๆ ของรายได้ประชาชาติ ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้ รายได้ประชาชาติ (NI หรือ Y) หมายถึง - - มูล ค่าของผลผลิตที่ระบบเศรษฐกิจสามารถผลิตขึ้นได้ในรอบระยะเวลาหนึ่ง (Product Approach)

ivory
Télécharger la présentation

การกำหนดเป็นรายได้ประชาชาติดุลยภาพ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การกำหนดเป็นรายได้ประชาชาติดุลยภาพการกำหนดเป็นรายได้ประชาชาติดุลยภาพ

  2. โดยในบทที่ 2 เรื่องบัญชีรายได้ประชาชาติเราได้ทราบความหมายต่างๆของรายได้ประชาชาติซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้ รายได้ประชาชาติ (NI หรือ Y)หมายถึง --มูลค่าของผลผลิตที่ระบบเศรษฐกิจสามารถผลิตขึ้นได้ในรอบระยะเวลาหนึ่ง (Product Approach) -มูลค่าของรายได้ทั้งหมดที่เจ้าของปัจจัยการผลิตได้รับ (Income Approach) -มูลค่าของรายได้ที่จ่ายไปเพื่อซื้อผลผลิตทั้งหมดที่ระบบเศรษฐกิจสามารถผลิตได้ (Expenditure Approach)

  3. จากความหมายของรายได้ประชาชาติจะเห็นได้ว่าแท้ที่จริงแล้วรายได้ประชาชาติก็คือผลผลิตรวมของประเทศหรือ“อุปทานมวลรวม” (Aggregate Supply)นั่นเอง เพราะฉะนั้นจะได้ว่า AS = Y

  4. ส่วนในบทที่ 3 เรื่องส่วนประกอบของรายได้ประชาชาติเป็นการศึกษาความต้องการใช้จ่ายของหน่วยเศรษฐกิจต่างๆได้แก่ - ครัวเรือน :รายจ่ายเพื่อการบริโภค (C) - ธุรกิจ : รายจ่ายเพื่อการลงทุน (I) - รัฐบาล : รายจ่ายของภารรัฐบาล (G) - และกรณีที่ติดต่อกับต่างประเทศ : รายได้สุทธิจากการส่งออก (X-M)

  5. โดยความต้องการใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในแต่ละรอบระยะเวลานั้นเป็นการแสดงให้เห็นถึงความต้องการสินค้าและบริการหรือก็คือ“อุปสงค์มวลรวม”(Aggregate Demand) นั่นเองหรืออาจเรียกว่าความต้องการใช้จ่ายมวลรวม (Desired Aggregate Expenditure : DAE ) เพราะฉะนั้นจะได้ว่า AD = DAE = C + I + G + (X-M)

  6. ภาวะดุลยภาพหมายถึงภาวะที่สมดุลหรือภาวะที่ไม่มีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงอีกต่อไปในการศึกษาเศรษฐศาสตร์จุลภาคเราจะศึกษาถึงอุปสงค์และอุปทานดุลยภาพซึ่งเป็นตัวกำหนดราคาและปริมาณของสินค้าและบริการแต่สำหรับการศึกษาเศรษฐศาสตร์มหภาคจะศึกษาอุปสงค์มวลรวมและอุปทานมวลรวมของสินค้าและบริการและตัวกำหนดกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญในระบบเศรษฐกิจเช่นรายได้ประชาชาติผลิตผลรวมการจ้างงานภาวะเงินเฟ้อซึ่งมีผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของเราทุกคนภาวะดุลยภาพหมายถึงภาวะที่สมดุลหรือภาวะที่ไม่มีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงอีกต่อไปในการศึกษาเศรษฐศาสตร์จุลภาคเราจะศึกษาถึงอุปสงค์และอุปทานดุลยภาพซึ่งเป็นตัวกำหนดราคาและปริมาณของสินค้าและบริการแต่สำหรับการศึกษาเศรษฐศาสตร์มหภาคจะศึกษาอุปสงค์มวลรวมและอุปทานมวลรวมของสินค้าและบริการและตัวกำหนดกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญในระบบเศรษฐกิจเช่นรายได้ประชาชาติผลิตผลรวมการจ้างงานภาวะเงินเฟ้อซึ่งมีผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของเราทุกคน

  7. รายได้ประชาชาติดุลยภาพ (EquilibriumNational Income :YE)หมายถึงระดับรายได้ประชาชาติที่ผลผลิตมวลรวมมีจำนวนเท่ากับความต้องการมวลรวมของระบบเศรษฐกิจณระดับราคาที่เป็นอยู่และระดับรายได้ประชาชาติดุลยภาพนี้จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงตราบเท่าที่ตัวแปรที่เป็นตัวกำหนดรายได้ประชาชาติซึ่งได้แก่ C , I , G , (X-M)เหล่านี้ไม่มีการเปลี่ยนแปลง

  8. ระดับรายได้ประชาชาติดุลยภาพจะเกิดขึ้นเมื่ออุปทานมวลรวมเท่ากับอุปสงค์มวลรวมระดับรายได้ประชาชาติดุลยภาพจะเกิดขึ้นเมื่ออุปทานมวลรวมเท่ากับอุปสงค์มวลรวม ดังนั้นจึงได้ว่า AS = AD

  9. ดังนั้นในการพิจารณารายได้ประชาชาติดุลยภาพจึงสามารถพิจารณาได้ 2 เงื่อนไขดังต่อไปนี้ 1ระดับรายได้ประชาชาติที่อุปทานมวลรวมเท่ากับอุปสงค์มวลรวม นั่นคือรายได้ประชาชาติจะอยู่ในภาวะดุลยภาพเมื่อมูลค่าของสินค้าและบริการที่ผลิตได้ในระยะเวลานั่นเท่ากับความต้องการซื้อสินค้าและบริการ AS = ADหรือAS = DAE

  10. อุปทานมวลรวม(Aggregate Supply : AS)หรืออาจเรียกว่า “ผลผลิตมวลรวมของประเทศ”หมายถึงปริมาณของสินค้าและบริการทั้งหมดที่สนองความต้องาการของคนทั้งประเทศหรืออาจหมายถึง “รายได้ประชาชาติ” นั่นเอง AS = Y อุปสงค์มวลรวม (Aggregate Demand : AD)หรืออาจเรียกว่า“ความต้องการใช้จ่ายมวลรวม” (Desired Aggregate Expenditure : DAE ) หมายถึง ค่าใช้จ่ายทั้งหมดของคนทั้งประเทศ AD = DAE = C + I + G + (X-M)

  11. 2. ระดับรายได้ประชาชาติที่ทำให้ส่วนรั่วไหลของกระแสรายได้เท่ากับส่วนอัดฉีดของการแสรายได้ ส่วนรั่วไหล(Leakage)คือรายการต่างๆที่ทำให้กระแสหมุนเวียนของรายได้ประชาชาติลดลงรายการที่ถือเป็นส่วนรั่วไหลได้แก่ การออม (S) ภาษี (T) การนำเข้า (M)

  12. ส่วนอัดฉีด(Injection)คือรายการต่างๆที่ทำให้กระแสหมุนเวียนของรายได้ประชาชาติเพิ่มขึ้นรายการที่ถือเป็นส่วนอัดฉีดได้แก่ส่วนอัดฉีด(Injection)คือรายการต่างๆที่ทำให้กระแสหมุนเวียนของรายได้ประชาชาติเพิ่มขึ้นรายการที่ถือเป็นส่วนอัดฉีดได้แก่ การลงทุน (I) การใช้จ่ายของรัฐบาล (G) การส่งออก (X)

  13. วิธีการกำหนดรายได้ประชาชาติดุลยภาพวิธีการกำหนดรายได้ประชาชาติดุลยภาพ ในการวิเคราะห์รายได้ประชาชาติดุลยภาพจะแบ่งประเภทของเศรษฐกิจออกเป็น 3 แบบจำลองคือ 1. กรณีระบบเศรษฐกิจแบบปิดไม่มีภาครัฐบาล 2. กรณีระบบเศรษฐกิจแบบปิดมีภาครัฐบาล 3. กรณีระบบเศรษฐกิจแบบเปิด

  14. กรณีระบบเศรษฐกิจแบบปิดที่ไม่มีภาครัฐบาล ในระบบเศรษฐกิจแบบปิดไม่มีภาครัฐบาลจะมีหน่วยเศรษฐกิจ 2 หน่วยคือภาคครัวเรือนและภาคเอกชนดังนั้นรายจ่ายมวลรวมในระบบเศรษฐกิจแบบนี้จะประกอบด้วยรายจ่ายในการบริโภคมวลรวมของภาคครัวเรือน (C)และรายจ่ายในการลงทุนมวลรวมของภาคเอกชน (I)เท่านั้น เพราะฉะนั้น DAE = C + I

  15. การวิเคราะห์รายได้ประชาชาติดุลยภาพมี 2 วิธีคือ 1 การวิเคราะห์รายได้ประชาชาติเท่ากับความต้องการใช้จ่ายมวลรวม นั่นคือ รายได้ประชาชาติดุลยภาพ จะเกิดขึ้นเมื่อ Y = DAE = C + I

  16. โดยมีสมการดังนี้ C = Ca + bYd หรือ C = Ca + bY และ I = Ia หมายเหตุในระบบเศรษฐกิจอย่างง่ายที่มี 2 ภาคเศรษฐกิจการไม่มีภาครัฐบาลเข้ามาเกี่ยวข้องก็จะตัดกิจกรรมที่รัฐบาลจะต้องปฏิบัติออกไปนั่นคือไม่มีการเก็บภาษีดังนั้น รายได้ประชาชาติ = รายได้ส่วนบุคคล = รายได้ที่ใช้จ่ายได้จริง NI / Y = PI = DI / Yd ***ซึ่งในที่นี้จะแทนค่ารายได้ประชาชาติด้วยตัวแปร Y

  17. รายได้ประชาชาติ (Y) ความต้องการบริโภค C = 20+0.75Y การออม S = -20+0.25Y ความต้องการลงทุน ( I a = 40 ) ความต้องการใช้จ่ายมวลรวม (DAE) สภาวะ การปรับตัว 80 80 0 40 120 DAE  Y เพิ่มการผลิต 120 110 10 40 150 DAE  Y เพิ่มการผลิต 180 155 25 40 195 DAE  Y เพิ่มการผลิต 240 200 40 40 240 DAE  Y รายได้ดุลยภาพ 300 245 55 40 285 DAE  Y ลดการผลิต 360 290 70 40 330 DAE  Y ลดการผลิต 400 320 80 40 360 DAE  Y ลดการผลิต

  18. จากสมการการบริโภคและสมการการลงทุนจะได้ว่าจากสมการการบริโภคและสมการการลงทุนจะได้ว่า DAE = C + I หรือ DAE = Ca + bY + Ia ดังนั้นรายได้ประชาชาติดุลยภาพจะเกิดขึ้นก่อต่อเมื่อ Y = DAE = Ca + bY + Ia

  19. DAE Y = DAE DAE = Ca + bY + I E C = Ca + bY 60 Ia = 40 20 Ia 40 Y 0 YE = 240

  20. 2. การวิเคราะห์ส่วนรั่วไหลเท่ากับส่วนอัดฉีด นั่นคือ รายได้ประชาชาติดุลยภาพ จะเกิดขึ้นเมื่อ S = I ซึ่งสามารถอธิบายได้ดังนี้ จากY = DAE และเนื่องจาก Y = C + S และ DAE = C + I ดังนั้นจะได้ว่า C + S = C + I เพราะฉะนั้น S = I

  21. การปรับตัวเข้าสู่จุดดุลยภาพจะอาศัยเงื่อนไข 2 ประการดังนี้ 1 การลงทุนที่เกิดขึ้นจริง = การลงทุนที่ตั้งใจ + การลงทุนที่ไม่ตั้งใจ 2 การออมที่เกิดขึ้นจริง = การออมที่ตั้งใจ ระดับรายได้ประชาชาติดุลยภาพ= การออมที่ตั้งใจ = การลงทุนที่ตั้งใจ

  22. รายได้ประชาชาติ การบริโภค การออมที่ตั้งใจ การลงทุนที่ตั้งใจ การลงทุนที่ไม่ตั้งใจ การลงทุนที่เกิดขึ้นจริง การออมที่เกิดขึ้นจริง การปรับตัว 80 80 0 40 -40 0 0 เพิ่มการผลิต 120 110 10 40 -30 10 10 เพิ่มการผลิต 180 155 25 40 -15 25 25 เพิ่มการผลิต 240 200 40 40 0 40 40 รายได้ดุลยภาพ 300 245 55 40 15 55 55 ลดการผลิต 360 290 70 40 30 70 70 ลดการผลิต 400 320 80 40 40 80 80 ลดการผลิต

  23. DAE S = -Ca + (1-b)Y Ia 40 Y 0 YE = 240 -20

  24. ตัวอย่างที่ 1 กำหนดให้ C = 100 + 0.8Y Ia = 50 จงแสดงการคำนวณหารายได้ประชาชาติดุลยภาพทั้ง 2 เงื่อนไข

  25. ณระดับดุลยภาพ Y = DAE และ DAE = C + Ia เพราะฉะนั้น Y = C + Ia = 100 + 0.8Y + 50 = 150 + 0.8Y 0.20 Y = 150 YE = 750 เพราะฉะนั้นรายได้ประชาชาติดุลยภาพ = 750

  26. จาก C = 100 + 0.8Y ฉะนั้นจะได้ S = -100 + 0.2Y และ Ia = 50 ณจุดดุลยภาพ S = I แทนค่า -100 + 0.2Y = 50 0.2Y = 150 Y = 750 เพราะฉะนั้นรายได้ประชาชาติดุลยภาพ = 750

  27. กรณีระบบเศรษฐกิจแบบปิดมีภาครัฐบาลกรณีระบบเศรษฐกิจแบบปิดมีภาครัฐบาล ในระบบเศรษฐกิจแบบปิดและมีภาครัฐบาลจะประกอบด้วยหน่วยเศรษฐกิจ 3 หน่วยคือภาคครัวเรือนภาคเอกชนและภาครัฐบาลดังนั้นรายจ่ายมวลรวม (DAE)ในระบบเศรษฐกิจแบบนี้ประกอบด้วยรายจ่ายในการบริโภค (C) รายจ่ายในการลงทุน (I) และรายจ่ายของรัฐบาล (G) เพราะฉะนั้น DAE = C + I + G

  28. การวิเคราะห์รายได้ประชาชาติดุลยภาพมี 2 วิธีคือ1 การวิเคราะห์รายได้ประชาชาติเท่ากับความต้องการใช้จ่ายมวลรวม หมายเหตุในระบบเศรษฐกิจแบบปิดมีภาครัฐบาลเข้ามาเกี่ยวข้องก็จะมีกิจกรรมที่รัฐบาลจะต้องปฏิบัติ นั๋นคือมีการเก็บภาษีดังนั้น Y = DAE = C + I + G Yd = Y – T

  29. จะได้สมการต่าง ๆ ดังนี้ C = Ca + bYd I = Ia G = Ga และจะได้ DAE = C + Ia + Ga หรือ DAE = Ca + bYd + Ia + Ga ดังนั้นรายได้ประชาชาติดุลยภาพจะเกิดขึ้นเมื่อ Y = DAE = Ca + bYd +Ia + Ga

  30. รายได้ประชาชาติ (Y) การบริโภคและการลงทุน (C + I) รายจ่าย รัฐบาล (G) รายจ่ายมวลรวม (DAE) การปรับตัว 80 120 15 135 เพิ่มการผลิต 120 150 15 185 เพิ่มการผลิต 180 195 15 210 เพิ่มการผลิต 240 240 15 255 เพิ่มการผลิต 300 285 15 300 ดุลยภาพ 360 330 15 345 ลดการผลิต 400 360 15 375 ลดการผลิต

  31. C , I , G Y = DAE DAE2 = C + I + G E DAE1 = C + I Y 0 YE = 300

  32. และการเก็บภาษีเงินได้มีหลายวิธีแต่ในที่นี้จะพิจารณาเพียง 2 วิธีคือ 1) การเก็บภาษีแบบเหมาจ่ายจะมีจำนวนภาษีที่เก็บได้แน่นอนเพราะภาษีแบบนี้จะไม่ขึ้นอยู่กับระดับเงินได้ 2) การเก็บภาษีในอัตราคงที่จะกำหนดเป็นร้อยละของเงินได้ซึ่งจะมีผลทำให้จำนวนภาษีที่ต้องเสียเปลี่ยนแปลงไปตามเงินได้กล่าวคือถ้ามีเงินได้สูงจำนวนภาษีที่จัดเก็บจะสูงขึ้นด้วย

  33. ดังนั้นสมการการบริโภคจะเปลี่ยนเป็น 2 แบบคือ (1) ภาษีแบบเหมาจ่าย T = Ta C = Ca + bYd C = Ca + b ( Y – Ta ) C = Ca + b Y – bTa

  34. (2) ภาษีแบบอัตราคงที่ T= Ta + tY โดย Ta= ภาษีเมื่อรายได้เท่ากับศูนย์ t = ความโน้มเอียงหน่วยสุดท้ายของภาษี เพราะฉะนั้น t หรือMPT=T Y

  35. 2. การวิเคราะห์ส่วนรั่วไหลเท่ากับส่วนอัดฉีด ในระบบเศรษฐกิจแบบปิดและมีภาครัฐบาลส่วนรั่วไหลคือการออมและภาษีส่วนอัดฉีด คือการใช้จ่ายของรัฐบาลและการลงทุน เพราะฉะนั้นรายได้ประชาชาติดุลยภาพกำหนดขึ้นได้จาก S + T = I + G

  36. S , T , G S + T 1 S + T 0 S + T 2 E1 E0 E2 I + G 0 Y Y1 Y0 Y2

  37. ตัวอย่างที่ 1ถ้ากำหนดรายได้ประชาชาติดุลยภาพในระบบเศรษฐกิจแบบปิดมีภาครัฐบาลและรัฐบาลมีการเก็บภาษีเงินได้แบบเหมาจ่าย กำหนดให้C = 400 + 0.75 Yd I = 150 G = 70 T = 10

  38. เพราะฉะนั้นความต้องการใช้จ่ายมวลรวมเพราะฉะนั้นความต้องการใช้จ่ายมวลรวม DAE = C + I + G DAE = (400 + 0.75Yd) + 150 + 70 และเนื่องจาก Yd = Y – T แทนค่า T = 10 เพราะฉะนั้น Yd = Y – 10 แทนค่า Ydลงในสมการ DAE จะได้ว่า DAE = 400 + 0.75 ( Y – 10 ) + 150 + 70 ดังนั้นDAE = 612.5 + 0.75Y

  39. รายได้ประชาชาติดุลยภาพจะเกิดขึ้นเมื่อรายได้ประชาชาติดุลยภาพจะเกิดขึ้นเมื่อ DAE = Y นั่นคือ 612.5 + 0.75Y = Y Y = 612.5 0.25 Y = 2,450

  40. รายได้ประชาชาติดุลยภาพจะเกิดขึ้นเมื่อรายได้ประชาชาติดุลยภาพจะเกิดขึ้นเมื่อ S + T = G + I -400 + 0.25 Yd + 10 = 70 + 150 แทนค่า Yd = Y – 10จะได้ -400 + 0.25 (Y – 10) + 10 = 220 -400 + 0.25 Y – 2.5 + 10 = 220 0.25 Y = 220 Y = 612.5 / 0.25 = 2,450

  41. ตัวอย่างที่ 2 ถ้ากำหนดรายได้ประชาชาติดุลยภาพในระบบเศรษฐกิจแบบปิดมีภาครัฐบาลและรัฐบาลมีการเก็บภาษีเงินได้แบบอัตราคงที่ กำหนดให้     C = 200 + 0.85 Yd I  =  400    G  = 100    T  =  8 + 0.2Y

  42. เพราะฉะนั้นความต้องการใช้จ่ายมวลรวมเพราะฉะนั้นความต้องการใช้จ่ายมวลรวม DAE = C + I + G DAE = (200+0.85Yd)+400 + 100 และเนื่องจาก      Yd = Y – T แทนค่า T = 8 + 0.2Y เพราะฉะนั้น Yd = Y – (8 + 0.2Y) Yd = 0.8Y - 8

  43. ดังนั้น C = 200 + 0.85(0.8Y - 8) C = 200 + 0.68Y – 6.8 C = 193.2 + 0.68Y จะได้สมการ DAE = 193.2 + 0.68Y + 400 + 100 DAE = 693.2 + 0.68Y

  44. รายได้ประชาชาติดุลยภาพจะเกิดขึ้นเมื่อรายได้ประชาชาติดุลยภาพจะเกิดขึ้นเมื่อ DAE = Y นั่นคือ 693.2 + 0.68Y = Y 0.32Y = 693.2 Y = 693.2 0.32 Y = 2,166.25 เพราะฉะนั้นรายได้ประชาชาติดุลยภาพคือ 2,166.25

  45. รายได้ประชาชาติดุลยภาพจะเกิดขึ้นเมื่อรายได้ประชาชาติดุลยภาพจะเกิดขึ้นเมื่อ S + T = G + I แทนค่าสมการได้ -200 + 0.15 Yd +8 + 0.2Y = 100 + 400 แทนค่าYd = Y – (8 + 0.2Y) จะได้ -200 + 0.15 (Y – (8 + 0.2Y)) +8 + 0.2Y = 500 -200 + 0.15(Y-8-0.2Y) +8 + 0.2Y = 500 -200 + 0.15 (0.8Y - 8) + 8 + 0.2Y = 500 -200 + 0.120Y – 1.20 + 8 + 0.2Y = 500

  46. -193.2Y + 0.32Y = 500 0.32 Y = 693.2 Y = 693.2 0.32 Y = 2,166.25 เพราะฉะนั้นรายได้ประชาชาติดุลยภาพคือ 2,166.25

  47. กรณีระบบเศรษฐกิจแบบเปิดกรณีระบบเศรษฐกิจแบบเปิด ในระบบเศรษฐกิจแบบเปิดจะประกอบด้วยหน่วยเศรษฐกิจ 4 หน่วยคือภาคครัวเรือนภาคธุรกิจภาครัฐบาลและภาคต่างประเทศดังนั้นค่าใช้จ่ายมวลรวม (DAE) ในระบบเศรษฐกิจแบบนี้จะประกอบด้วย รายจ่ายในการบริโภค (C) รายจ่ายในการลงทุน (I) รายจ่ายของรัฐบาล (G) การส่งออกสุทธิ (X-M)

  48. การวิเคราะห์รายได้ประชาชาติดุลยภาพมี 2 วิธีคือ 1. การวิเคราะห์รายได้ประชาชาติเท่ากับความต้องการใช้จ่ายมวลรวม ฉะนั้นการเกิดรายได้ประชาชาติดุลยภาพจึงเกิดขึ้นเมื่อ Y = DAE = C + I + G + (X-M) หรือ Y = DAE = Ca + bYd + Ia + Ga + Xa – Ma - mY

  49. โดยที่C = Ca + bYd I = Ia G = Ga X = Xa M = Ma + mY นั่นคือรายได้ประชาชาติดุลยภาพจะเกิดขึ้นเมื่อ Y = DAE = Ca + Ia + Ga + Xa – Ma + bYd – mY

  50. รายได้ประชาชาติ (Y) DAE ระบบเศรษฐกิจแบบปิด (C+I+G) การส่งออกสุทธิ (X-M) DAE ระบบเศรษฐกิจแบบเปิด C+I+G+(X-M) การปรับตัว 80 135 20 155 เพิ่มการผลิต 120 165 19 184 เพิ่มการผลิต 180 210 18 228 เพิ่มการผลิต 240 255 17 272 เพิ่มการผลิต 300 300 16 316 เพิ่มการผลิต 360 345 15 360 ดุลยภาพ 400 375 14 389 ลดการผลิต

More Related