1 / 39

ยาในประเทศไทย

ยาในประเทศไทย. สมศักดิ์ อาภาศรีทองสกุล คณะเภสัชศาสตร์ มมส . 21 สค . 2557. 1. 2. 3. 4. ประเภทของยา. แหล่งกระจายยา. ระบบเตือนภัย. ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ผิดกฎหมาย เสี่ยงอันตราย. Contents. ประเภทของยา. จำแนกตามการขออนุญาต ยาแผนปัจจุบัน ยาแผนโบราณ ยา สมุนไพร ไม่ต้องขออนุญาต

jadyn
Télécharger la présentation

ยาในประเทศไทย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ยาในประเทศไทย สมศักดิ์ อาภาศรีทองสกุล คณะเภสัชศาสตร์ มมส. 21สค. 2557

  2. 1 2 3 4 ประเภทของยา แหล่งกระจายยา ระบบเตือนภัย ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ผิดกฎหมาย เสี่ยงอันตราย Contents

  3. ประเภทของยา • จำแนกตามการขออนุญาต • ยาแผนปัจจุบัน • ยาแผนโบราณ • ยาสมุนไพร ไม่ต้องขออนุญาต • ยาสมุนไพร หมายความว่า ยาที่ได้จากพฤกษชาติ สัตว์ หรือแร่ ซึ่งมิได้ผสม ปรุง หรือแปรสภาพ

  4. จำนวนทะเบียนตำรับยาสำหรับมนุษย์ พ.ศ.2555 ผลิต นำเข้า รวม • ยาแผนปัจจุบัน 19,690 6,088 25,778 • ยาแผนโบราณ 13,181 843 14,024 • http://drug.fda.moph.go.th/zone_search/sea001.asp

  5. มูลค่าการผลิต/การนำเข้ายาสำหรับมนุษย์ พ.ศ.2553 (ล้านบาท) ผลิต นำเข้า รวม • ยาแผนปัจจุบัน 56,701 98,221 154,922 • ยาแผนโบราณ 3,140 359 3,499 • http://drug.fda.moph.go.th/zone_search/sea001.asp

  6. จำแนกตามระดับของอันตรายจากยาจำแนกตามระดับของอันตรายจากยา • ยาควบคุมพิเศษ โฆษณาได้เฉพาะผู้ประกอบวิชาชีพฯ • ยาอันตราย โฆษณาได้เฉพาะผู้ประกอบวิชาชีพฯ • ยาบรรจุเสร็จที่ไม่ใช่ยาอันตรายหรือยาควบคุมพิเศษ ขออนุญาตโฆษณาได้ • ยาสามัญประจำบ้าน ขออนุญาตโฆษณาได้

  7. การสำรวจอนามัยและสวัสดิการการสำรวจอนามัยและสวัสดิการ • สำนักงานสถิติแห่งชาติ • สำรวจข้อมูลด้านอนามัยและสวัสดิการครั้งแรกในปี 2517 • ในปี 2556 เป็นการสำรวจครั้งที่ 18 • เก็บข้อมูลจากประมาณ 27,960 ครัวเรือน ในทุกจังหวัดทั่วประเทศ ทั้งในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาล ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2556 • โดยมีวัตถุประสงค์ • เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับหลักประกันด้านสุขภาพ การเจ็บป่วย การไปรับบริการสาธารณสุข และข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ

  8. การเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบายการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ระหว่าง 1 เดือนก่อนการสัมภาษณ์ • การเจ็บป่วยที่ไม่ต้องนอนพักรักษาในสถานพยาบาล • การเจ็บป่วยที่ต้องนอนพักรักษาในสถานพยาบาล

  9. การเจ็บป่วยที่ไม่ต้องนอนพักรักษาในสถานพยาบาลการเจ็บป่วยที่ไม่ต้องนอนพักรักษาในสถานพยาบาล 2552 2554 2556 • ผู้มีอาการป่วย 20.3 20.6 23.0หรือรู้สึกไม่สบาย • ผู้มีโรคเรื้อรัง 15.8 16.0 19.9หรือโรคประจำตัว • ผู้ได้รับอุบัติเหตุ 2.5 2.5 2.1หรือถูกทำร้าย • รวม (ร้อยละ) 29.0 29.3 31.9

  10. สถานที่ในการรับบริการสาธารณสุขครั้งสุดท้ายสถานที่ในการรับบริการสาธารณสุขครั้งสุดท้าย 2552 2554 2556 • ผู้ป่วยที่มีการรักษา 80.6 68.5 71.8 • สถานบริการสาธารณสุขของรัฐ 47.0 39.7 41.4 • ซื้อ/หายากินเอง 20.5 18.8 17.6 • สถานพยาบาลเอกชน 12.5 9.8 12.3 • รักษาด้วยวิธีอื่น 0.6 0.2 0.5

  11. แหล่งกระจายยา • สถานบริการสาธารณสุขของรัฐ ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล-รพ.สต. /เดิมคือสถานีอนามัย-สอ. • โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลศูนย์ อื่นๆ เช่น โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาล • สถานพยาบาลเอกชน แผนปัจจุบัน/แผนโบราณ เช่น • คลินิกแพทย์ โรงพยาบาลเอกชน • ร้านยา แผนปัจจุบัน/แผนโบราณ

  12. สถานพยาบาลเอกชน • พรบ.สถานพยาบาล • กทม. สำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ • ต่างจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สสจ. • ร้านยา ร้านค้า ร้านชำ รถเร่ ฯลฯ • พรบ.ยา • กทม. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา อย. • ต่างจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สสจ.

  13. ร้านขายยาแผนปัจจุบัน • ต้องมีเภสัชกรประจำอยู่ตลอดเวลาทำการ • หมายความว่า • ต้องมีเภสัชกรปฏิบัติงานตลอดเวลาที่เปิดร้าน

  14. ร้านค้าทั่วไป ร้านชำ ฯลฯ → ยาสามัญประจำบ้าน • หมอพื้นบ้าน → ยาสมุนไพร ภูมิปัญญาพื้นบ้าน • รถเร่ ??? • อินเตอร์เน็ต ???

  15. อย่าหลงเชื่อโฆษณาทางเว็บไซต์อย่าหลงเชื่อโฆษณาทางเว็บไซต์ • อย. เตือนอย่าหลงเชื่อโฆษณาทางเว็บไซต์ • อ้าง ยาไซโตเท็คยาอาร์ยู 486 เป็นยาทำแท้ง • หากหลงเชื่อซื้อมาใช้ผิด อันตราย • ทำให้ตกเลือด ตัดมดลูก และอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ • ยาไซโตเท็ค เป็นยาใช้รักษาแผลของลำไส้เล็กส่วนต้นของกระเพาะอาหาร มีผลข้างเคียงทำให้มดลูกเกิดการรัดตัวอย่างรุนแรง จัดเป็นยาควบคุมพิเศษที่ให้ใช้เฉพาะในโรงพยาบาลเท่านั้น • ยาอาร์ยู 486 ไม่ได้รับการขึ้นทะเบียนตำรับยาจาก อย. ห้ามจำหน่ายในประเทศไทย

  16. ยาชุด สุดอันตราย • คุยกับยายคนนึงที่ใช้ยาชุด/ยาลูกกลอนเล่าให้ฟังว่า • “ยายใช้มานานแล้ว ใช้แล้วดี หายเร็ว เวลาปวดก็กินอีก ไม่กิน ไม่ได้ จะไม่ได้ทำงานเพราะปวดมาก ซื้อครั้งนึงก็ประมาณ 1,000-2,000 บาท บางทีก็ไปคลินิกหมอ ได้ยาเป็นชุดๆมากิน อาการปวดหายเป็นปลิดทิ้งเลย” • วันนี้มานอนรพ. ด้วยอาการบวมทั่วตัว มีเลือดออกใน กระเพาะอาหาร ... • จึงถามถึงแหล่งที่มาที่ซื้อยามากิน คือ ร้านชำในหมู่บ้านนั่นเอง ... • ภญ.จันทร์จรีย์ ดอกบัว (รพ.ปทุมราชวงศา จ.อำนาจเจริญ)

  17. ยาชุด สุดอันตราย • คนในหมู่บ้านเขตรับผิดชอบของผม นิยมใช้ยาชุดกันใครๆ ก็ใช้ เขาบอกว่าได้ผลเร็วทันใจ บอกต่อๆ กัน หาซื้อก็ง่ายในชุมชน และที่ตลาด • และแล้วก็ได้มีผู้ป่วยคนหนึ่งเป็นหญิงวัยกลางคน แพ้ยาชุดอย่างรุนแรงจนบวม ผิวหนังลอก ปากเปื่อย • ข่าวนี้ทำให้ชาวบ้านแตกตื่นและหวาดกลัวว่าเกิดจากอะไร เขาได้ไปรักษาตัวที่โรงพยาบาล หมอบอกว่าเขาแพ้ยา ที่ใช้อยู่ในยาชุดนั่นเอง • ชาวบ้านบอกเราว่ากลัวแล้ว ไม่เอาแล้วยาชุด เห็นกับตา อันตรายจริงๆ และหมู่บ้านนั้นก็ไม่นิยมใช้ยาชุดกันแล้ว • ภก.พีรศิลป์  นิลวรรณ  (รพ.สต.หัวเสือ อ.ขุขันธ์ จ.ศรีสะเกษ)

  18. ยาชุด สุดอันตราย • ยาชุด หมายถึง ยาที่ผู้ขายจัดไว้เป็นชุด • โดยทั่วไปจะมียาตั้งแต่ 3-5 เม็ดขึ้นไป มีรูปแบบและสีต่างๆ กัน • ในยา 1 ชุด จะประกอบด้วยยาหลายๆ ชนิดรวมกัน ผู้ขายจะให้ผู้ซื้อกินครั้งละ 1 ชุด โดยไม่มีการแบ่งว่า เป็นยาชนิดใด ควรกินเวลาใด • ยาชุด ผิดกฎหมาย อันตราย ตายผ่อนส่ง • http://elib.fda.moph.go.th/library/default.asp?page2=subdetail&id_L1=27&id_L2=19683&id_L3=2568

  19. http://www.tumdee.org/alert/

  20. เมื่อเดือนมกราคม ปี 2557 • ผู้ป่วยรายหนึ่งได้กิน “แคปซูลผงบุก” แล้วมีอาการแพ้ อย่างรุนแรง ชนิด Toxic epidermal necrosis (TEN) • มีอาการผิวหนังลอกเหมือนแผลพุพองทั่วทั้งร่างกาย • ซึ่งเป็นอาการแพ้ที่รุนแรงที่สุด พบได้ยากและมีโอกาสเสียชีวิตได้ • ผลการตรวจวิเคราะห์ พบว่ามีการปนปลอมของยาไซบูทรามีน (Sibutramine)

  21. http://www.youtube.com/watch?v=jeO55UKkEc0

  22. Sibutramine-ไซบูทรามีน เดิมใช้เป็นยารักษาภาวะโรคอ้วน • แต่ภายหลังได้มีการศึกษาพบว่าการใช้ยาดังกล่าวมีผล เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจในผู้ป่วย มากกว่าผู้ที่ได้รับยาหลอก • โดยอาการไม่พึงประสงค์ดังกล่าว ได้แก่ ภาวะหัวใจขาดเลือดภาวะหัวใจวายกล้ามเนื้อหัวใจตาย เป็นต้น • สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา จึงประกาศยกเลิกทะเบียนยาและถอนทะเบียนยาดังกล่าวออกจากประเทศไทย

  23. ผลิตภัณฑ์หมอสมุนไพร ส้มป่อย • อวดอ้างสรรพคุณลดน้ำหนัก • แสดงเลข อย. 10-1-00449-1-0185 • ตรวจสอบแล้ว เป็นเลข อย.ของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอีกชื่อหนึ่ง • ผู้ผลิตมีเจตนาไม่สุจริต แสดงเลข อย.ปลอม ไม่แสดงที่ตั้งสถานที่ผลิต และอวดอ้างสรรพคุณทางยา หลอกลวงว่าลดน้ำหนักได้ผลเร็ว • อาจมีการลักลอบใส่ยาอันตราย เช่น ไซบูทรามีน

  24. จากการตรวจสอบ พบว่า • GlutaCollyและL-Car Colly • มี เลข อย.ครบถ้วน แต่เป็น อย.ปลอม • เพราะเลข อย. 70-1-04151-1-0090 และ 70-1-04151-1-0100 เป็นของบริษัทผู้ผลิตในจ.ราชบุรี • ไม่ตรงกับที่อยู่ที่แสดงในฉลากว่าเป็น จ.ขอนแก่น และ จ.ปทุมธานี

  25. ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ผิดกฎหมาย เสี่ยงอันตราย อย่าซื้อ... อย่าใช้

  26. อย.เตือนภัยผู้บริโภค อย่าหลงเชื่อผลิตภัณฑ์สุขภาพ อวดอ้างสรรพคุณเกินจริง หลอกขาย ผ่านทาง Social mediaหรือ ทางอินเทอร์เน็ต

  27. อย. เตือนอย่าเชื่อน้ำว่านหางจระเข้รักษาอีโบล่าได้ • กรณีการเผยแพร่ข้อมูลทางสื่อออนไลน์ มีการให้ข้อมูลที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่าผลิตภัณฑ์น้ำว่านหางจระเข้ S VERAสามารถใช้รักษาอาการโรคติดต่อจากเชื้อไวรัสอีโบล่าได้ • น้ำว่านหางจระเข้ในเบื้องต้นเมื่อดูจากสูตรส่วนประกอบ และการจดทะเบียนเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร ดังนั้น • น้ำว่านหางจระเข้เป็นอาหาร ไม่สามารถรักษาโรคได้

  28. จับคลินิกรับฉีดกลูต้าไธโอนผิดกฎหมาย • อย. ร่วม สบส. และตำรวจ บก.ปคบ. • บุกจับคลินิกรับฉีดกลูต้าไธโอนผิดกฎหมาย ย่านสีลม เตือนคุณผู้หญิงระวัง • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารกลูตาไธโอน เป็นอาหาร • ไม่ช่วยทำให้ผิวขาวขึ้นได้

  29. อันตรายจากการรับประทานหรือฉีดกลูตาไธโอน • ส่งผลให้เม็ดสีเมลานินในผิวหนังและที่จอตาลดลง ทำให้จอตา รับแสงได้น้อยลง เสี่ยงต่อการมองเห็นในอนาคต • และหากเม็ดสีที่ผิวหนังลดลง ทำให้ผิวเหี่ยวย่นเร็ว แก่เร็วขึ้น รวมทั้งเพิ่มความเสี่ยงของโรคมะเร็งในผิวหนัง • สารกลูตาไธโอนที่เป็นยาฉีด อย.ไม่ได้มีการขึ้นทะเบียนตำรับยา • หากแพทย์นำไปฉีดให้คนไข้ เป็นเรื่องผิดกฎหมาย • แม้จะเป็นยานำเข้าหรือลักลอบซื้อจากต่างประเทศ ก็ผิดกฎหมาย

  30. อย. เตือนผู้บริโภค อย่าหลงเชื่อ“ยาสมุนไพรอายุวัฒนะ” • อย. เตือนผู้บริโภค อย่าหลงเชื่อ • “ยาสมุนไพรอายุวัฒนะ ฉลากระบุทะเบียน G 463/46” • อันตรายพบสเตียรอยด์ปนเปื้อน แสดงฉลากปลอม • ยาสมุนไพรอายุวัฒนะที่ตรวจพบการปนเปื้อนยาสเตียรอยด์ • หรือยาสมุนไพรใดก็ตามที่ตรวจพบสเตียรอยด์ • เป็นยาผิดกฎหมาย และเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค

  31. ยากลุ่มสเตียรอยด์ต้องใช้ภายใต้ความดูแลของแพทย์ • เพราะเป็นยาที่มีผลกระทบต่อระบบต่างๆ ในร่างกาย แทบทุกระบบ มีผลข้างเคียงสูง เช่น • ทำให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา ได้ง่าย • เยื่อบุกระเพาะอาหารบางลง อาจถึงขั้นกระเพาะทะลุ • กล้ามเนื้อลีบ กระดูกผุ ภูมิคุ้มกันลดลง • บางรายอาจถึงขั้นไตวายเป็นอันตรายถึงชีวิต

  32. หากผู้บริโภคจะเลือกซื้อยาแผนโบราณ • ขอให้ซื้อยาจากร้านที่มีใบอนุญาตขายยาเท่านั้น • อย่าหลงเชื่อซื้อยาจากแหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือ • เช่น ตลาดนัด ตามวัด รถเร่ขายยา แผงลอย หรือซื้อยาผ่านทางอินเทอร์เน็ต เฟซบุ๊ค เป็นต้น • เพราะอาจได้รับยาที่มีการลักลอบใส่สเตียรอยด์

More Related