1 / 24

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

โครงการค่ายเรียนรู้คุณธรรม นำชีวิตพอเพียง ปี 25 51 นายสุริยา เสถียรกิจอำไพ 13 กุมภาพันธ์ 2551 (สัมมนาอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการฯ). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผน 8 ให้ความสำคัญกับการมี ส่วนร่วมของทุกภาคส่วน มุ่งให้คนเป็น ศูนย์กลางของการพัฒนา

Télécharger la présentation

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. โครงการค่ายเรียนรู้คุณธรรม นำชีวิตพอเพียง ปี 2551นายสุริยา เสถียรกิจอำไพ13 กุมภาพันธ์ 2551(สัมมนาอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการฯ)

  2. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผน 8 ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน มุ่งให้คนเป็น ศูนย์กลางของการพัฒนา แผน 9 ให้อัญเชิญ “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญานำทางในการพัฒนา และบริหารประเทศ ควบคู่กับกระบวนทัศน์การพัฒนาแบบ เป็นองค์รวม แผน 10 กำหนดวิสัยทัศน์ จะนำประเทศไปสู่ “สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน” (Green and Happiness society) ให้คนไทยมีคุณธรรมนำความรู้ รู้เท่าทันโลก ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง สังคมสันติสุข เศรษฐกิจมีคุณภาพ เสถียรภาพ และเป็นธรรมสิ่งแวดล้อมและ ทรัพยากรธรรมชาติยั่งยืน

  3. แผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี (2551 – 2565) เป้าหมาย - ยกระดับคุณภาพอุดมศึกษาไทย เพื่อผลิตบุคลากรที่ มีคุณภาพ - พัฒนาศักยภาพอุดมศึกษาในการสร้างความรู้และ นวัตกรรม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของประเทศ - สนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืนของท้องถิ่นไทย

  4. แนวทางในการพัฒนาเยาวชน (เฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับ กิจการนักศึกษา) - อุดมศึกษา ควรส่งเสริมกิจกรรมนอกหลักสูตร เพื่อเพิ่มพื้นที่การเรียนรู้ของเยาวชน ในรูปแบบทักษะชีวิต ทักษะสังคม สมรรถนะพื้นฐานที่ข้ามพ้นความรู้วิชาการ การสะสมความรู้ความสามารถที่หาไม่ได้จากการเรียนการสอนในห้องที่ขาดปฏิสัมพันธ์ บูรณาการกิจกรรมนอกหลักสูตรและชีวิตจริงเข้ากับหลักสูตร เพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกและปฏิบัติ - อุดมศึกษา ควรจัดให้มีการสอนและกิจกรรมการพัฒนาด้านการสื่อความ การตัดสินใจ การพัฒนาความเป็นผู้นำ การแก้ปัญหา การทำงานเป็นทีม ความอดทน คุณธรรม ฯลฯ

  5. คุณภาพบัณฑิต การเตรียมนิสิตนักศึกษาให้เป็นบัณฑิตที่มีความสมบูรณ์พร้อม ทันต่อการเปลี่ยนแปลงและมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาประเทศ ต้องเป็นความร่วมมือของ 2 ฝ่าย คือ วิชาการและกิจการนิสิตนักศึกษา งานกิจกรรมนักศึกษา มีส่วนสำคัญยิ่งในการพัฒนานักศึกษา กิจกรรมนักศึกษามุ่งเน้นการพัฒนา 4 ด้าน - การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ อย่าป้อนความรู้ทางวิชาการจนทำลายความคิดสร้างสรรค์ - พัฒนาความเป็นมิตร ใจกว้าง อดทน การลดการเอาลัดเอาเปรียบ - พัฒนาให้เป็นคนมีคุณธรรม จริยธรรม - พัฒนาความรับผิดชอบต่อสังคม

  6. กิจกรรมนักศึกษา จึงควรมีลักษณะ - ทำด้วยความสมัครใจ - มีส่วนร่วมหรือคิดปฏิบัติเอง - อยู่ในกรอบศีลธรรมอันดี - มีรูปแบบและขั้นตอนในการทำกิจกรรม - มีอาจารย์คอยให้คำแนะนำปรึกษา

  7. สกอ. สนับสนุนกิจกรรมนักศึกษา ใน 3 รูปแบบ - กิจกรรมนักศึกษาที่เป็นวิชาการ เช่น สหกิจศึกษา - กิจกรรมนักศึกษา ลักษณะค่ายอาสาพัฒนาบำเพ็ญ ประโยชน์มุ่งสร้างจิตอาสาขึ้นในตัวนักศึกษา - กิจกรรมนักศึกษาลักษณะ ค่ายเรียนรู้ไปแลกเปลี่ยน เรียนรู้จากสังคมจริง ๆ ที่ประสบความสำเร็จ

  8. แนวทางในการดำเนินงานโครงการค่ายเรียนรู้คุณธรรม นำชีวิตพอเพียง ปี 2551

  9. 1. กรอบแนวคิด ค่ายเรียนรู้คุณธรรม นำชีวิตพอเพียง เป็นส่วนหนึ่งที่จะส่งเสริมให้สังคมไทยเป็นสังคม “อยู่เย็นเป็นสุข” (Green and Happiness Society) กิจกรรมจะประกอบไปด้วย 1. การเรียนรู้และปฏิบัติเกี่ยวกับคุณธรรมที่เป็นพื้นฐานสำคัญของแต่ละชุมชน 2. องค์ความรู้หรือศาสตร์เฉพาะแต่ละสาขาในชุมชนที่นำไปสู่ความสุขความเข้มแข็ง

  10. 2. วัตถุประสงค์ 1. ได้รับประสบการณ์ตรง และเรียนรู้จากการไปสัมผัสหรือปฏิบัติงานจริง (Activity Based Learning) 2. นิสิตนักศึกษา ผู้นำ ชุมชน และปราชญ์ชาวบ้าน ได้ร่วมกันศึกษาถึงแก่นแท้ของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3. พัฒนาความเป็นผู้นำ (Leadership Development) กล้าคิด กล้าทำ กล้านำในสิ่งที่ถูกต้องชอบธรรม 4. เชื่อมโยงความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษา ชุมชน ศาสนาและปราชญ์ชาวบ้าน

  11. 3. กิจกรรม 1. การศึกษาเรียนรู้คุณธรรม จริยธรรม แนวทางการ ดำเนินชีวิตที่อยู่บนหลักความพอดี พอประมาณ และ มีเหตุมีผลตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2. เรียนรู้ร่วมกันกับปราชญ์ชาวบ้าน ผู้นำชุมชน 3. ศึกษาองค์ประกอบของสังคมในด้านศิลปะ วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น การไม่เบียดเบียนทรัพยากรธรรมชาติ ของชุมชน ฯลฯ

  12. 4. การจัดทำเอกสารสรุปผลการเรียนรู้และข้อเสนอแนะจาก การเรียนรู้ 5. นำความรู้ที่ค้นพบไปประยุกต์ปฏิบัติให้เห็นผล และ เผยแพร่ขยายผลต่อชุมชนในมหาวิทยาลัย และต่อสังคม ในวงกว้าง

  13. 4. แนวทางการจัดกิจกรรม 4.1. ลักษณะกิจกรรม - จัดเป็นค่ายนิสิตนักศึกษา ในลักษณะค่ายศึกษาเรียนรู้ - มีการพักค้างในชุมชนเพื่อเรียนรู้ประสบการณ์การ อยู่ค่าย - ต้องไม่เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา

  14. 4.2 ลักษณะการดำเนินงาน (สถาบัน) 1. เตรียมความพร้อมให้กับนิสิตนักศึกษา โดยการจัดการปฐมนิเทศ - ความเป็นมาของโครงการ - ลักษณะชุมชน - กรอบการเรียนรู้ในชุมชน - แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง - ทักษะกระบวนการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ชุมชน

  15. 4.2 ลักษณะการดำเนินงาน (นักศึกษา) 1. ศึกษาและเรียนรู้วิธีการสร้างชุมชนให้เป็นชุมชนอยู่เย็น เป็นสุข (เฉพาะจุดเด่นในแต่ละชุมชน) - วัฒนธรรมหรือแบบแผนการใช้ชีวิต - เศรษฐกิจชุมชนอย่างพึ่งตนเอง - การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน - วิถีประชาธิปไตยในชุมชน - การสร้างความสมานฉันท์ในชุมชน - การสร้างภูมิคุ้มกันของชุมชน - ปราชญ์ชาวบ้านในชุมชน

  16. 2. การวิเคราะห์ชุมชน เพื่อค้นหาข้อดี ข้อเสีย จุดเด่น จุดด้อย - ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จ - ปัจจัยเสี่ยง 3. สรุปองค์ความรู้ / ผลการเรียนรู้ และการนำความรู้ คุณธรรมที่ได้จากการเรียนรู้ไปประยุกต์ใช้

  17. 4. การขยายผลไปสู่การปฏิบัติจริง • การจัดทำเอกสารสรุปผล ต้องจัดทำเอกสารรายงานผลการศึกษา - ส่งสกอ. จำนวน 1 เล่ม พร้อม CDRom 1 แผ่น ภายใน 45 วันหลังจากเสร็จสิ้นโครงการ ทั้งนี้ไม่เกินวันที่ 30 กันยายน 2551 - ควรจัดทำเอกสารเพิ่มอีกจำนวนหนึ่งเพื่อมอบให้หน่วยงานในพื้นที่ องค์กร ชุมชน และห้องสมุดของสถาบันไว้ศึกษา

  18. เอกสารสรุปผล ควรประกอบด้วย - บทสรุปสำหรับผู้บริหาร - บทนำ - วิธีการศึกษา - สภาพทั่วไปของชุมชน - สรุปผลการศึกษา / เรียนรู้ชุมชน ส่วนนี้จะเป็นส่วนหลักของ เอกสารสรุปผล

  19. - ข้อสรุปและเสนอแนะจากการศึกษาเรียนรู้ชุมชนสำหรับ - นำเสนอต่อสถานศึกษา - นำเสนอต่อรัฐบาล - นำเสนอต่อหน่วยงานระดับชาติและระดับชุมชน - ภาคผนวก

  20. 5. พื้นที่ดำเนินการ กำหนดให้มีพื้นที่ดำเนินการไว้ไม่น้อยกว่า 150 ชุมชน 1. องค์ประกอบการเลือกพื้นที่ปฏิบัติงาน ควรจะพิจารณา - ดำเนินการซ้ำพื้นที่เดิมกับค่ายเรียนรู้คุณธรรม นำชีวิตพอเพียง ปี 2550 ได้ - ในพื้นที่เดียวกัน หากมีหลายค่ายไม่ควรเป็นเวลาเดียวกัน - พื้นที่เรียนรู้อาจเลือกตัวอย่างชุมชนได้จากรายชื่อหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบตัวอย่าง 75 หมู่บ้าน 75 หรือพื้นที่อื่นๆ ที่มีความเหมาะสม 2. ใน 1 จังหวัดอาจมีพื้นที่ดำเนินการหลายพื้นที่หรือบางจังหวัดอาจ ไม่มีพื้นที่ดำเนินการ

  21. 3. การเลือกพื้นที่ ให้สถาบันและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ร่วมกัน กำหนด 4. ขนาดชุมชนที่ศึกษาเรียนรู้ให้พิจารณาตามความเป็นจริง เหมาะสม 5. สถาบันอุดมศึกษา 1 แห่ง ควรรับผิดชอบไม่น้อยกว่า 1 พื้นที่

  22. 6. การรับสมัครและคัดเลือกนิสิตนักศึกษาเข้าร่วมโครงการ 6.1 คุณสมบัติ - เป็นนิสิตนักศึกษา และกำลังศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา - มีความประพฤติดี - สามารถเข้าร่วมปฏิบัติงานโครงการฯ ได้จนครบระยะเวลา ที่กำหนด - สรุปผลงานตามที่ได้รับมอบหมายจนสำเร็จตามเวลา 6.2 การรับสมัคร - สมัครเข้าร่วมโครงการฯ ได้ที่สถาบันที่ตนเองศึกษาอยู่ - ได้รับคำอนุญาตของผู้ปกครองและอาจารย์ที่ปรึกษา

  23. 6.3 จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ พื้นที่ละ 40 คน 7. ระยะเวลาปฏิบัติงาน - สามารถปฏิบัติงานได้ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม – 30 กันยายน 2551 - การปฏิบัติงาน • ภาคสนามไม่น้อยกว่า 15 วัน แบบต่อเนื่อง • เขียนสรุปผลรายงานและขยายผล เมื่อรวมกับวันปฏิบัติงาน ภาคสนาม แล้วต้องมีวันปฏิบัติงาน รวมทั้งสิ้นไม่น้อยกว่า 25 วัน

  24. 8. งบประมาณ งบประมาณสนับสนุนสำหรับ 1 ชุมชนประกอบด้วย นักศึกษา 40 คน อาจารย์ที่ปรึกษาและเจ้าหน้าที่ประสานงาน ระยะเวลาปฏิบัติงานไม่น้อยกว่า 25 วัน เป็นเงิน 210,000.-บาท 9. กำหนดส่งโครงการ 1.ส่งโครงการตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ – 31 มีนาคม 2551 2. ต้องได้รับการพิจารณาอนุมัติโครงการและงบประมาณจาก สกอ. ก่อนดำเนินงานภาคสนาม

More Related