1 / 30

สารต้านไวรัส( Antiviral drugs )

สารต้านไวรัส( Antiviral drugs ).

jana
Télécharger la présentation

สารต้านไวรัส( Antiviral drugs )

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สารต้านไวรัส(Antiviral drugs) • ความรู้เรื่องยาต้านไวรัสค่อนข้างพัฒนาช้า ทั้งนี้เพาะความสำเร็จส่วนใหญ่เกิดจากการใช้วัคซีนการศึกษาค้นคว้าจึงมุ่งไปทางด้านการพัฒนาวัคซีนแต่การใช้ยังมีปัญหา เช่น ไว รัสกลุ่มเฮอร์พีส ซึ่งระยะแฝงตัวสงบในเซลล์ ทำให้เกิดอาการโรคเป็น ๆ หาย ๆ และอาจเป็นสาเหตุของมะเร็ง ความพยายามผลิตยาส่วนใหญ่จึงเป็นยาสำหรับรักษาโรคติดเชื้อไวรัสกลุ่มเฮอร์พีส สำหรับไวรัสระบบหายใจ แม้จะมีวัคซีนสำหรับไข้หวัดใหญ่ แต่เชื้อไข้หวัดใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะแอนติเจนอยู่ตลอดเวลา วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่จึงต้องเปลี่ยนให้ทันสมัย มิฉะนั้นจะไม่สามารถป้องกันโรคได้ การใช้ยาต้านไวรัสจึงอาจได้ประโยชน์กว่า

  2. คุณสมบัติของสารต้านไวรัสคุณสมบัติของสารต้านไวรัส • 1. มีประสิทธิภาพฆ่าเชื้อไวรัสได้สูง โดยมีอาการข้างเคียงน้อย • 2. เลือกทำลายหรือยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัสเท่านั้น ไม่ทำให้เซลล์ โฮสต์ผิดปกติหรือมีอันตราย • 3. สามารถละลายได้ดี ซึมซาบเข้าในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ • 4. มีฤทธิ์กดระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายน้อยมากหรือไม่มี • 5. ออกฤทธิ์กว้างขวางต่อไวรัสได้หลายชนิด

  3. อะแมนตาดีนและไรแมนตาดีน(Amantadine and Rimantadine) • เป็นสารสังเคราะห์ที่ออกฤทธิ์ป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ทัยป์ เอ โดยขัดขวางการเกาะติดเซลล์ของไวรัสและการปลดปล่อยกรดนิวคลีอิกของโปรตีนที่หุ้ม (Uncoating) ยาถูกดูดซึมได้ดีเมื่อให้ทางปาก และถูกขับถ่ายออกทางปัสสาวะในรูปที่ไม่เปลี่ยนแปลง

  4. ประโยชน์ที่ใช้ • ใช้ป้องกันโรคที่เกิดจากไข้หวัดใหญ่ทัยป์ เอ (Influenz A virus) โดยให้รับประทานทันทีในขณะที่มีการระบาด หรือเมื่อไปสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ ยาจะออกฤทธิ์ป้องกันได้ทันทีและสามารถป้องกันการติดเชื้อได้แม้จะเป็นเชื้อสายพันธุ์ใหม่โดยที่ถ้าฉีดวัคซีนจะต้องเลือกวัคซีนที่ตรงกับเชื้อที่ระบาด และต้องฉีดก่อน 1-2 เดือน จึงจะมีภูมิคุ้มกันเกิดขึ้น • พบว่าเชื้อไข้หวัดใหญ่เชื้อสาย H3N2 บางสายพันธุ์ดื้อยานี้

  5. ฤทธิ์และอาการไม่พึงประสงค์ฤทธิ์และอาการไม่พึงประสงค์ • อาการไม่พึงประสงค์จากยาานี้ไม่รุนแรง ส่วนมากพบอาการผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง ได้แก่ นอนไม่หลับ ตามัว ตาพร่า ซึมเศร้า มือสั่น บางรายมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปากแห้ง ปัสสาวะบ่อย อาจเกิดผื่นผิวหนัง อาการมักเกิดขึ้นในสัปดาห์แรกของการใช้ยา และถ้ามีอาการแล้วหยุดยาอาการจะหาย

  6. รูปของยา ขนาดและวิธีการใช้ ถ้าใช้เพื่อหวังผลป้องกันไข้หวัดใหญ่ เช่นกันระยะที่มีการระบาด ให้พร้อมกับฉีดวัคซีนและให้ติดต่อกันอย่างน้อย 30 วัน ข้อควรระวัง ไม่ควรใช้ในหญิงมีครรภ์ คนชรา และคนที่เป็นโรคประสาทอยู่เดิม

  7. ไอดอกยูริดีน (Idoxuridine) เป็นสารอนุพันธ์ของธัยมิดีน (Thymidine)ที่มีกลุ่มฮาโลเจน คือ ไอโดด์อยู่ด้วย ยานี้เป็นยาตัวแรกที่ให้ผลดีในการรักษาการอักเสบและแผลที่กระจกตา ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อเฮอร์พีส เหมาะที่จะใช้เป็นยาทาภายนอกเท่านั้น ไอดอกยูริดีนเมื่ออยู่ในรูปสารละลายจะคงทนอยู่ได้ประมาณ 6 เดือนที่อุณหภูมิห้อง ยาอาจถูกทำลายได้ง่ายถ้าแสงสว่างและความร้อน จึงควรเก็บในตู้เย็น ถ้ายาอยู่ในรูปขี้ผึ้งจะเก็บไว้ได้นานถึง 2 ปี โดยไม่ต้องเก็บไว้ในตู้เย็น

  8. ประโยชน์ที่ใช้ สำหรับรักษาการอักเสบที่บริเวณกระจกตา (Keratitis) ที่เกิดจากเชื้อเฮอร์พีส ซึ่งจะมีลักษณะเฉพาะเมื่อหยอดสีเรืองแสง จะเห็นแผลที่กระจกตาเป็นกิ่งก้านเหมือนรากไม้

  9. ฤทธิ์และอาการไม่พึงประสงค์ฤทธิ์และอาการไม่พึงประสงค์ อาจทำให้เกิดการอักเสบ เมื่อใช้หยอดหรือป้ายตา มีอาการบวมแดง คัน เสบ และเคืองตา ยาจะกดการเจริญของ Epithelial celi ทำให้แผลหายช้า เมื่อใช้ไปนาน ๆ เชื้อเฮอร์พีสอาจเกิดดื้อยาได้ ข้อควรระวัง ยานี้อาจมีอันตรายต่อทารกในครรภ์ ไม่ควรใช้ในหญิงมีครรภ์และในผู้ป่วยที่เป็นแผลลึกในกระจก (Deep stromal corneal ulcer)

  10. อะดีนีน อะราบิโนไซด์ หรือไวดาราบีนหรืออะรา-เอ(Adenine arabinoside;Vidarabine;Aea-A) เป็นยาที่ให้ผลในการรักษาเชื้อไวรัสกลุ่มเฮอร์พีสได้ดีมาก ออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ดีเอนเอโพลีเมอเรสของไวรัส ยานี้ละลายน้ำได้ยาก เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะถูกเปลี่ยนเป็นสารอะรา-ฮัยโปแซนทีน (Arahypo-xanthine)ซึ่งละลายได้ดี แต่มีฤทธิ์ต่อต้านไวรัสน้อยกว่าอะรา-เอ

  11. ประโยชน์ที่ใช้ ได้ผลดีในการติดเชื้อไวรัสกลุ่มเฮอร์พีสทั้งในรายที่เป็นแผลที่กระจกตา รายที่มีการติดเชื้อทั้งตัวซึ่งมีอาการรุนแรงโดยเฉพาะในทารกแรกเกิด และในผู้ป่วยที่มีระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง

  12. ฤทธิ์และอาการไม่พึงประสงค์ฤทธิ์และอาการไม่พึงประสงค์ มีน้อยเมื่อเทียบกับไอดอกยูริดีน หรือซัยตาราบีน แต่อาจพบได้ถ้าใช้อะรา-เอในขนาดสูงเป็นเวลานาน อาการที่พบคือเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน และอ่อนเพลีย ยานี้กดการทำงานของไขกระดูกและอาจทำให้มีการอักเสบของหลอดเลือดดำในบริเวณที่ให้ยา วีธีการใช้ยา การใช้ยาในระยะแรกของโรคจะช่วยให้ผลการรักษาดี ถ้าเริ่มให้ยาเมื่อผู้ป่วยอาการแล้วจะได้ผลน้อยลง

  13. ข้อควรระวัง ยาชนิดนี้ฉีดเข้าหลอดเลือดไม่ควรใช้กับหญิงมีครรภ์และผู้ป่วยที่มีกรดยูริคสูง เช่น โรคเกาต์ และผู้ป่วยที่มีไตผิดปกติต้องระวังเป็นพิเศษ

  14. อะซัยโคลเวียร์ (Acyclovir) เป็นยารักษาโรคติดเชื้อเฮอร์พีสที่ดีที่สุดตัวหนึ่งยาจะออกฤทธิ์ผ่านเข้าสู่เซลล์ที่ติดเชื้อได้ดีกว่าเซลล์ปกติ อะซัยโคลเวียร์ถูกเปลี่ยนรูปเป็นอะซัยโคลเวียร์โมโนฟอสเฟต ไดฟอสเฟต และไตรฟอสเฟตด้วยเอนไซม์ธัยมิดีนไคเนสของไวรัส ยาที่เปลี่ยนรูปนี้จะออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ดีเอนเอโพลีเมอเรสของไวรัส จึงสามารถออกฤทธิ์ต่อไวรัสโดยไม่ทำอันตรายต่อเซลล์ปกติ

  15. ประโยชน์ที่ใช้ ใช้ได้ผลดีสำหรับการติดเชื้อไวรัสกลุ่มเฮอร์พีสโดยเฉพาะไวรัสเริม (Herpes simplex virus) และอีสุกอีใส-งูสวัด (Varicella zoster) ใช้ในการรักษาแผลที่กระจกตา แผลที่ริมฝีปาก และอวัยวะสืบพันธุ์ สมองอักเสบ ทารกแรกเกิดที่ติดเชื้อแสดงอาการอีสุกอีใสหรืองูสวัด ในคนทั่วไปที่ติดเชื้อไวรัสกลุ่มเฮอร์พีสไม่จำเป็นต้องใช้ยานี้ ยกเว้นมีอาการรุนแรง ยานี้ควรใช้ในผู้ที่ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง และติดเชื้อกลุ่มเฮอร์พีส

  16. ฤทธิ์และอาการไม่พึงประสงค์ฤทธิ์และอาการไม่พึงประสงค์ มีน้อยมากเมื่อเทียบกับยารักษาเฮอร์พีสตัวอื่นอาจพบการอักเสบของผิวหนังบริเวณที่ให้ยา หรือบริเวณที่ยาซึมจากหลอดเลือด เนื่องจากยามีฤทธิ์เป็นด่างแก่จึงอาจมีผลต่อการทำงานของไตและตับในรายที่ได้รับสารนี้อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องเดิน

  17. ซูโดวูดีน หรือ อะซิโดธัยมิดีน( Zidovudin; Azidothymidine; AZT ) • AZT เป็นยาที่ใช้รักษาผู้ป่วยโรคเอดส์และผู้ที่มีอาการสัมพันธ์กับโรคเอดส์ (AIDS-related complex, ARC )โครงสร้างของ AZT เป็น Thymidine analog ตำแหน่งของ 3- Hydroxy group ใน Thymidine ถูกแทนที่ด้วย Azide group ยาออกฤทธิ์ขัดขวางการสังเคราะห์ DNA โดย AZT จะถูกนำไปใช้ในการสังเคราะห์ DNA ของไวรัสแทน Thymidine โดย Enzyme reverse มากกว่าที่จะใช้ในการสังเคราะห์ DNA ของเซลล์ถึง 100 เท่า • ยานี้มีชื่อการค้าว่า เรโทรเวียร์ ( Retrovir ) รูปแบบของยามีทั้งชนิดกินเป็นแคปซูล และชนิดฉีดเข้าหลอดเลือดดำ

  18. ขนาดและวิธีใช้ • ผู้ใหญ่ กินครังละ 200- 300 มก. ถ้ากินไม่ได้ให้ผสมยากับน้ำเกลือหยดเข้าหลอดเลือดช้าๆในขนาด 2.5 มก. วันละ 6 ครั้ง ยาที่ให้ในแต่ละครั้งต้องหยดช้าๆ ห้ามเร็วเกินกว่า 1 ชมและห้ามใช้ยาชนิดเข้าเส้นเลือดนานเกินกว่า 2 สัปดาห์ เมื่อผู้ป่วยกินได้ให้เปลี่ยนเป็นชนิดกิน ยาชนิดเข้าเส้นเลือดนี้เป็นสารละลายใสถ้าพบว่าขุ่นไม่ควรใช้ • ประโยชน์ที่ใช้ • ยานี้มีผลลดการเพิ่มจำนวนของไวรัสทำให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น อัตราตายลดลงแต่ต้องให้ไปเรื่อยๆ มีผู้ป่วยบางรายได้รับยาเกิน 1 ปี และมีอาการข้างเคียงจากพิษของยาจนต้องลดขนาดหรือหยุดยา

  19. ฤทธิ์และอาการไม่พึงประสงค์ฤทธิ์และอาการไม่พึงประสงค์ • อาการที่พบคือ ปวดศรีษะ บางรายที่ใช้ยาขนาดสูงจะมีอาการสั่น กระสับกระส่าย นอนไม่หลับ อาการข้งเคียงที่รุนแรงคือ กดไขกระดูกทำให้มีอาการซีด จำนวนเม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือดต่ำ

  20. ไรบาไวริน ( Ribavirin ) • เป็นยาสังเคราะห์มีสูตรโครงสร้างคล้ายคลึงกับ Guanosine ออกฤทธิ์ยัยยั้งการเพิ่มจำวนวนของไวรัสหลายชนิดทั้งดีเอ็นเอและอาร์เอ็นเอ กลไกการออกฤทธิ์ยังไม่ทราบแน่ชัด เข้าใจว่ายาอาจขัดขวางการสร้าง Viral mRNA และยับยั้งการสร้าง Viral RNA polymerase • ประโยชน์ที่ใช้ • ใช้ได้ผลในการรักษาการติดเชื้อ Respiratory syncytial virus มีรายงานว่าได้ผลในการรักษา Influenza A และ B, Herpes simplex virus, Lassa fever, Retrovirus และไวรัสอื่นๆ

  21. ฤทธิ์และอาการไม่พึงประสงค์ฤทธิ์และอาการไม่พึงประสงค์ • อาการที่พบไม่รุนแรง ในบางรายอาจพบอาการซีดเมื่อใช้ยาเป็นเวลานาน เมื่อหยุดอาการจะทุเลา • รูปของยา • ไรบาไวริน มีชื่อการค้าว่า ไวโวโซล มี 3 รูปคือ • ชนิดพ่นละอองฝอย อยู่ในสภาพผงแห้ง • ชนิดกิน เป็นแคปซูล 100 และ 200 มก.หรือผสน้ำเชื่อม • ชนิดฉีดเข้ากล้ามเนื้อ หรือเข้าหลอดเลือด มีตัวยา 1 กรัม ใน 10 มก.

  22. ขนาดและใธีใช้ • ไรบาไวรินชนิดละอองฝอย ใช้สำหรับทารกที่ติดเชื้อไวรัสอาร์เอสวี มีอาการรุนแรง เวลาใช้ละลายยาด้วยน้ำกลั่นไร้เชื้อ 100 มก.และเจือจางด้วยน้ำกลั่นไร้เชื้อจำนวน 300 มก. • ยาในสภาพผงแห้งเก็บที่อุณหภูมิห้อง ( 15-25 C ) ถ้าละลายน้ำแล้ว เก็บในตู้เย็นได้ไม่เกิน 24 ชม. ในสภาพปราศจากเชื้อ ยาพ่นต้องเปลี่ยนใหม่ 24 ชม. • มีรายงานว่าไรบาไวรินในสภาพละอองฝอยให้ผลดีในการรักษาไข้หวัดใหญ่ที่มีอาการรุนแรง • ยาในรูปกิน ผู้ใหญ่กินวันละ 1600 มก. วันต่อมาลดเหลือ 800 มก. ให้ในเด็กขนาด 15 มก./กก./วัน. แบ่งให้ 3-4 ครั้ง นาน 5-14 วัน • ยาฉีดเข้าเส้นเลือด ขนาดครั้งแรก 2 กรัม ฉีดตาทด้วย 1 กรัม ทุก 6 ชม. นาน 4 วัน0.5 กรัมทุก 8 ชม. อีก 6 วัน ให้ผลดีในการรักษา Lassaferver

  23. ไตรฟลูโอโรธัยมิดีน ( Trifluorothymidine; F3T ) • เป็นสารอนุพันธ์ของธัยมิดีนอีกตัวหนึ่ง มีใช้ในรูปของขี้ผึ้งป้ายตาใช้ในการรักษา Herpetic keratitis ยานี้ใช้ไดผลดีกว่า Ara-A IDU ในการรักษาแผลกระจกตาที่เกิดจากเฮอร์พีส แต่ถ้าหยดร่วมกัน Trifluorothymidine จะได้ผลที่ดีมาก

  24. โบรโมไวนิลออกซียูริดีน ( Bromovinyl deoxyuridine ) • ให้ผลในการรักษา HSV-1 ได้ดีกว่า HAV-2 และใช้ได้ผลสำหรับงูสวัด ตัวนานี้จะถูกเปลี่ยนรูปเป็น 5- Monophosphateโดยเอนไซม์ Thymidine kinase สามารถให้ได้โดยการรับประทาน

  25. กรดฟอสโฟโนฟอร์มิค( phosphonoformicacid; PPA ) • ออกฤทธิ์ได้กว้างขวางต่อเชื้อไวรัสเฮอร์พีส ใช้ในรายสมองอักเสบ ตาอักเสบ แผลเริมที่ผิวหนังและอวัยวะสืบพันธุ์ แต่พบว่าสารนี้จะค้างอยู่ในกระดูกเป็นเวลานานแล้งค่อยๆสลายไป • ยาในกลุ่มนี้ได้ค้นคว้า Analog มาใช้คือ ฟอสคาร์บอน ( Foscarnet ) หรือ Trisodium phospgonoformate นำมาทำเป็นครีม 2 -4 % ใช้ทาาแผลเริมที่ผิวหนังและอวัยวะสืบพันธุ์

  26. อาริลโดน ( Arildone ) • ออกฤทธิ์ยับยั้งการเพิ่ม จำนวนของ RNA viruses บางตัว ได้แก่ Herpesviruses, Polioviruses, Rhinoviruses, Picornaviruses, และ Respiratory syncytial virus • เอนไวรอกซีม ( Enviroxime ) • ได้ผลในการรักษาหวัดที่เกิดขึ้นจาก Phinovirus แต่ก็มีอาการแทรกซ้อนได้ ยังอยู่ในระยะศึกษาเพื่อให้ในรูปฉีดเป็นละอองฝอยเข้าจมูก

  27. โมรอกซีดีน ฮัยโดรคลอไรด์ ( Moroxydine hydrochloride ) • ออกฤทธิ์ขัดขวางการเพิ่มจำนวนของไวรัสทั้งชนิดดีเอนเอ และ อาร์เอนเอจะให้ผลในแง่ป้องกันดีกว่าการรักษา มีผู้ใช้สำหรับไข้หวัดใหญ่และการติดเชื้อเริม แต่การศึกษายังไม่กว้างขวางนัก ยานี้จำหน่ายในชื้อการค้า ไบโมลิน ( Bimolin )

  28. สารเคมีอื่นๆ ที่มีการศึกษาว่าอาจใช้เป็นยารักษาไวรัส เช่น • 2-Deoxy-D-Glucose ยับยั้ง Enveloped virusในหลอดทดลองใช้รักษาเริมที่อวัยวะสืบพันธุ์ได้ผลแต่ยังต้องศึกษาต่อไป • 9-(2-(Hydroxy-1- (hydroxymethyl) ethoxy methyl ) มีโครงสร้างคล้ายกับ ให้ผลในการรักษาการติดเชื้อHSV-1 HSV-2 • Fluoriodoaracytosine ( FIAC ) เป็นยาที่พบว่าให้ผลหยุดการเจริญของเชื้อ HSV-1, HSV-2 VZA และ CMV บางสายพันธุ์ ยานี้ทดลองรักษาผู้ป่วยระบบภูมิคุ้มกันบกพร่องที่ติดเชื้อ VZAโดยวิธีฉีดเข้าหลอดเลือด พบว่าได้ผลดี • Dihydroxypropoxymethylguanine ( DHPG) หรือ Ganciclovirใช้ในการักษา CMV ได้ผลดีและใช้รักษา HSV-1,HSV-2,VZV ได้ • Dihydroxy propyladenine ( DHPA)ออกฤทธิ์ยับยั้งการสร้าง mRNA ทั้งของ DNA และ RNA Viruses จึงออกฤทธิ์ได้กว้างขวาง ทดลองรักษา Rotavirus และ Rabies ในสัตว์ทดลองได้ผลดี

  29. ยากระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน อินโนวิเพลก ( Inosiplex ) • ออกฤทธิ์กระตุ้นเซลล์และระบบภูมิคุ้มกัน อาจมีผลช่วยให้โรคไวรัสทุเลาเร็วขึ้น แต่ยังอยู่ในระยะศึกษา บริบัทผู้ผลิตอ้างว่าได้ผลต่อไวรัสหลายชนิดทั้งอาร์เอนเอและดีเอ็นเอยานี้จำหน่ายในชื่อการค้าไอโสพริโนซิน ( Isoprinosine )ในรูปแคปซูล

  30. บทสรุป • โรคไวรัสเป็นโรคที่พบบ่อย แม้ว่าโรคไวรัส ส่วนใหญ่ในคนทั่วไปจะเป็นโรคที่มีอาการเฉียบพลับและหายได้เอง แต่เชื้อไวรัสบางตัวมีการติดเชื้อเรื้อรังทำให้เกิดโรครุนแรงตามมา การติดเชื้อไวรัสในผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือะเป็นโรคเรื้อรังอยู่เดิมมักก่อนโรคมีอาการรุนแรงถึงแก่ชีวิต • วิธีป้องกันโรคไวรัสที่ดีที่สุดคือการให้วัคซีนป้องกันล่วงหน้า แต่ถ้าสัมผัสเชื้อมาก่อนได้รับวัคซีนการให้วัคซีนอาจไม่ทันเวลา ร่างกายสร้างภูมิ-คุ้มกันไม่ทันกับระยะฟักตัวของโรค จำเป็นต้องให้อิมมูโนโกลบูลินร่วมด้วย • ในรอบสิบปีที่ผ่านมาการพัฒนาอินเตอร์เหอรอนเพื่อใช้ทางการแพทย์ และยารักษาโรคไวรัสก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ยารักษาโรคไวรัสที่ให้ผลดีและเป็นที่ยอมรับเวลานี้ คือ อะซัยโคลเวียร์ ที่ใช้ในการรักษาและป้องกันโรคเริม อีสุกอีใส-งูสวัด และซิโตวูดีน ที่ใช้บรรเทาอาการในผู้ป่วยเอดส์

More Related