380 likes | 845 Vues
สับปะรด ประวัติความเป็นมา สับปะรดมีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกากลางและอเมริกาใต้ สันนิษฐานว่านำเข้ามาในประเทศไทยครั้งแรกประมาณปีพ.ศ. 2223-2243 ตรงกับสมัยพระนารายณ์มหาราชโดยชาวโปรตุเกสที่เข้ามาค้าขายกับประเทศไทย.
E N D
สับปะรด ประวัติความเป็นมา สับปะรดมีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกากลางและอเมริกาใต้ สันนิษฐานว่านำเข้ามาในประเทศไทยครั้งแรกประมาณปีพ.ศ.2223-2243ตรงกับสมัยพระนารายณ์มหาราชโดยชาวโปรตุเกสที่เข้ามาค้าขายกับประเทศไทย
สับปะรด เป็นพืชที่ทนแล้งเนื่องจากมีระบบการสังเคราะห์แสงที่เรียกว่า Crassulacean acid metabolism ( CAM )ที่แตกต่างจากพืชทั่วไปเนื่องจากต้องการคายน้ำน้อย ตอนกลางวันปากใบจะปิดและเปิดในตอนกลางคืนแทน ซึ่งผิดจากพืชอื่นที่ปากใบเปิดตอนกลางวันและจะปิดตอนกลางคืนซึ่งสูญเสียน้ำมากกว่า
คุณประโยชน์ • สับปะรดมีกรดอะมิโน AHA และน้ำตาลทำให้ผิวหนังชุ่มชื้น • วิตามินเอ วิตามินซีช่วยต้านอนุมูลอิสระ • สับปะรดเป็นแหล่งของเอ็นไซม์โบรมิเลน ซึ่งมีประโยชน์ ช่วยย่อยโปรตีน ช่วยลดการเกาะกันเป็นลิ่มเลือดของเกล็ดเลือด ช่วยย่อยเซลที่ตายแล้ว ช่วยซ่อมแซมเนื้อเยื่อส่วนที่เสื่อมโทรม ช่วยให้แผลผ่าตัดทุเลาเร็วขึ้น บรรเทาอาการอักเสบจากริดสีดวงทวารอาการเกี่ยวกับเส้นเลือดดำ โรคกระดูก และข้ออักเสบ รูมาตอยด์ เก๊าท์ และอาการปวดประจำเดือน
คุณค่าทางโภชนาการ สับปะรดรับประทานเป็นผลไม้ได้ดีมีคุณค่าทางโภชนาการมากมายเพราะมีเกลือแร่และวิตามินต่างๆที่เป็นประโยชน์เมื่อรับประทานเนื้อสับปะรดจะได้รับสารอาหารและพลังงานดังนี้ สับปะรดจัดเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญอย่างหนึ่งของประเทศและเป็นพืชที่มีความสำคัญในอุตสาหกรรมเกษตรนอกจากนิยมบริโภคสดแล้วยังสามารถแปรรูปเป็นสับปะรดกระป๋องและในรูปน้ำสับปะรดส่งจำหน่ายต่างประเทศ ที่มา กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
สรรพคุณทางยา • ทุกส่วนของสับปะรดช่วยขับปัสสาวะ • ใบสด เป็นยาถ่าย • ผลดิบ ใช้ห้ามเลือด ขับระดู ขับพยาธิ • ผลสุก ช่วยย่อยอาหาร ขับเหงื่อ บำรุงกำลัง • เปลือก แก้กระษัย ทำให้ไตมีสุขภาพดี • ผลอ่อน แก้นิ่ว แก้กระษัย กัดและล้างทางเดินปัสสาวะ
สถานการณ์สับปะรด สับปะรดเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย พื้นที่ปลูกประมาณ 6 แสนไร่ ปลูกในพื้นที่มากกว่า20จังหวัด เกือบทุกภาคของประเทศ ผลผลิตรวมทั้งประเทศ ประมาณ 2 ล้านตัน ผลผลิต 30% บริโภคสดในประเทศ และ ส่งผลสดจำหน่ายต่างประเทศเล็กน้อย ผลผลิตส่วนใหญ่ประมาณ 70% แปรรูปส่งจำหน่ายต่างประเทศ มากเป็นอันดับหนึ่งของโลก นำรายได้เข้าประเทศ ปีละไม่ต่ำกว่า 20,000 ล้านบาท ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ คือสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ เสปน อิสราเอล แหล่งปลูกที่สำคัญ ได้แก่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ จ.ระยอง จ.เพชรบุรี จ.ราชบุรี
แผนผังข้อมูล ตามลักษณะห่วงโซ่อุปทาน (Supply chain)ของการผลิตสับปะรดและผลิตภัณฑ์แปรรูปจากสับปะรด 26% ขายปลีก: แผง รถเร่ ตลาดนัด ห้างซุปเปอร์มาร์เก็ต • ขายสดในประเทศ • แหล่ง/พื้นที่ปลูกสับปะรด • ผลผลิตสับปะรดสด • บรรจุภัณฑ์/การขนส่ง 4% ขายส่ง : ตลาดไท สี่มุมเมือง • บริโภคสด • พื้นที่ปลูก 6 แสนไร่ • แหล่งปลูก 20 จังหวัด เช่นประจวบฯ ระยอง เพชรบุรี ผลผลิต. 2 ล้านตัน 69% • ขายเข้าโรงงานแปรรูปในประเทศ • น้ำสับปะรด • ผลิตภัณฑ์แปรรูป 70% • สับปะรดกระป๋อง • แช่แข็ง • ปัญหา • อื่นๆ ตลาดภายในประเทศ • ปัญหา • ปัญหา • คุณภาพผลผลิตไม่ได้มาตรฐาน • ราคาตกต่ำ • การขนส่งราคาแพง • การเก็บรักษา อายุวางจำหน่ายสั้น ตลาดต่างประเทศ • ขาดเทคโนโลยีการผลิต ผลิตให้ได้คุณภาพ ผลผลิตเพิ่ม ต้นทุนการผลิตลด โรคแมลง • ขาดการวางแผนการตลาด ผลิตปริมาณเท่าไร จำหน่ายเมื่อไร ที่ไหน • ขายตัดราคากันเอง • โรงงานขนาดเล็กไม่มีเงินทุนพอ
ประเทศผู้ส่งออกน้ำสับปะรดของโลก ไทย 139 ล้าน US$ (29 %) อื่นๆ 214 ล้านUS$ (45%) ฟิลิปปินส์ 59 ล้านUS$ (12%) เนเธอร์แลนด์ 67 ล้านUS$ (14%)
ประเทศผู้ส่งออกสับปะรดกระป๋องของโลก ไทย 378 ล้านUS$ (48%) อื่นๆ 222 ล้านUS$ (27%) อินโดนีเซีย 101 ล้าน US$ (12%) ฟิลิปปินส์ 108 ล้าน US$ (13%)
พันธุ์สับปะรดที่ปลูกในประเทศไทยแบ่งได้3 กลุ่มคือ 1.กลุ่มCayenneได้แก่พันธุ์ปัตตาเวีย นางแล ห้วยมุ่น เป็นพันธุ์ที่ปลูกมากที่สุดเกิน 90% ของสับปะรดที่ปลูกทั้งประเทศ ส่วนใหญ่แปรรูปส่งโรงงานสับปะรดกระป๋องบางส่วนบริโภคสดภายในประเทศและส่งออก 2.กลุ่มQueenได้แก่พันธุ์ตราดสีทองหรือพันธุ์ภูเก็ต พันธุ์ภูแล เป็นพันธุ์ที่ปลูกไม่แพร่หลายมากนัก มักนิยมบริโภคสด 3. กลุ่มSpanish กลุ่มนี้มีลักษณะผลและลำต้นอยู่ระหว่างกลางของ CayenneและQueenได้แก่พันธุ์อินทรชิต
พันธุ์ปัตตาเวีย เป็นพันธุ์ที่ปลูกมากที่สุดเกิน 90% ของสับปะรดที่ปลูกทั้งประเทศ ส่วนใหญ่แปรรูปส่งโรงงานสับปะรดกระป๋องบางส่วนบริโภคสดภายในประเทศและส่งออก
พันธุ์ตราดสีทองหรือพันธุ์ภูเก็ต พันธุ์สวี เนื้อแห้งกรอบ เป็นพันธุ์ที่ปลูกไม่แพร่หลายมากนัก มักนิยมบริโภคสดภายในประเทศส่วนใหญ่การส่งออกมีบ้างเล็กน้อยไปประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงเช่นสิงคโปร์ มาเลเซีย ลาว การส่งออกประเทศที่อยู่ห่างไกลยังไม่ประสบผลสำเร็จเนื่องจากพบอาการไส้ดำเมื่อถูกความเย็นนานๆ ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอนและวิธีการป้องกันแก้ไข
พันธุ์ ภูแลปลูกที่จ.เชียงราย จัดเป็นประเภทเดียวกันกับพันธุ์ภูเก็ต และตราดสีทอง เป็นพันธุ์ที่นิยมบริโภคสด
บทบาทกรมส่งเสริมการเกษตรในการสนับสนุนการผลิตการตลาดสับปะรดบทบาทกรมส่งเสริมการเกษตรในการสนับสนุนการผลิตการตลาดสับปะรด
นโยบายและแนวทางพัฒนาสับปะรดของประเทศไทยนโยบายและแนวทางพัฒนาสับปะรดของประเทศไทย 1. พัฒนาเทคโนโลยีการปลูกสับปะรดเพื่อเพิ่มผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่และปริมาณผลผลิตรวม 2. พัฒนาเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรให้เข้มแข็ง 3. เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสับปะรดทั้งสดและแปรรูป 4. ส่งเสริมและพัฒนาการใช้ประโยชน์จากสับปะรด
การเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนการผลิตสับปะรด อบรมให้ความรู้เกษตรกรในการผลิตสับปะรดที่ถูกต้องเหมาะสม สนับสนุนเกษตรกรใช้ปุ๋ยอินทรีย์ปุ๋ยชีวภาพในการปรับปรุงบำรุงดินและต้นสับปะรด ใช้สารเคมีที่ถูกต้องตามชนิด ปริมาณและช่วงเวลาที่เหมาะสม
อบรมให้ความรู้เกษตรกรปฏิบัติดูแลรักษาสับปะรดตามแนวgapอบรมให้ความรู้เกษตรกรปฏิบัติดูแลรักษาสับปะรดตามแนวgap เผยแพร่ข้อมูลเอกสารวิชาการด้านสับปะรดให้เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง และเกษตรกร ติดตามและนิเทศแปลงสับปะรดของเกษตรกรที่ร่วมโครงการ การผลิตสับปะรดให้มีคุณภาพและปลอดภัย
การเพิ่มมูลค่าผลผลิตสับปะรดการเพิ่มมูลค่าผลผลิตสับปะรด • สนับสนุนการแปรรูปผลผลิตเช่นอาหารแปรรูป เครื่องสำอางค์ ผลิตภัณฑ์ยา • การกระจายการผลิตในช่วงที่ผลผลิตมีน้อยในแหล่งที่มีแหล่งน้ำ • ส่งเสริมผลิตสับปะรดคุณภาพดีมากขึ้น
สร้างความเข้มแข็งให้องค์กรเกษตรกรสร้างความเข้มแข็งให้องค์กรเกษตรกร • สนับสนุนการจัดตั้งกลุ่มอาชีพหรือวิสาหกิจชุมชน • ให้ความรู้การบริหารกลุ่มให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืน • สนับสนุนจัดหาแหล่งเงินทุนลักษณะเงินทุนหมุนเวียนให้กลุ่ม • อบรมให้ความรู้ด้านการผลิตการตลาดให้กลุ่ม
การสนับสนุนด้านการตลาดการสนับสนุนด้านการตลาด • การกระจายผลผลิตออกนอกแหล่งผลิต โดยติดต่อประสานงาน หาแหล่งจำหน่ายตามห้างสรรพสินค้า สถานที่ราชการ สถานที่แหล่งท่องเที่ยว ชุมชนต่างๆ • การประชาสัมพันธ์ผลผลิตในช่วงผลผลิตออกสู่ตลาดมากเพื่อกระตุ้นการบริโภคผ่านสื่อต่างๆ