1 / 31

เครื่องมือพิเศษ ถอด-ประกอบสปริงวาล์วฝาสูบรถยนต์

เครื่องมือพิเศษ ถอด-ประกอบสปริงวาล์วฝาสูบรถยนต์ Special group of hand. knock-Piston valve spring car นายทศพร ดาษหิรัญ ยย. 3/1 เลขที่ 20 นายศรัณย์ จันทร์ลอย ยย. 3/1 เลขที่ 8 นายณัฐวัฒน์ อ่อนไธสง ยย. 3/1 เลขที่ 14

Télécharger la présentation

เครื่องมือพิเศษ ถอด-ประกอบสปริงวาล์วฝาสูบรถยนต์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. เครื่องมือพิเศษ ถอด-ประกอบสปริงวาล์วฝาสูบรถยนต์ Special group of hand. knock-Piston valve spring car นายทศพร ดาษหิรัญ ยย.3/1 เลขที่ 20 นายศรัณย์ จันทร์ลอย ยย.3/1 เลขที่ 8 นายณัฐวัฒน์ อ่อนไธสง ยย.3/1 เลขที่ 14 นายจิรวัฒน์ พูลสวัสดิ์ ยย.3/1 เลขที่ 19 โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาวิชา เครื่องกล สาขางานยานยนต์ โรงเรียนเซนต์จอห์นโปลีเทคนิค ปีการศึกษา 2553

  2. ชื่อเรื่อง เครื่องมือพิเศษ ถอด-ประกอบสปริงวาล์วฝาสูบรถยนต์ สาขางาน ยานยนต์ วิชา โครงการ ที่ปรึกษาอาจารย์ สงกรานต์ กัลยา ปีการศึกษา 2553 บทคัดย่อ โครงการเรื่อง เครื่องมือพิเศษ ถอด-ประกอบสปริงวาล์วฝาสูบรถยนต์ โครงการนี้จัดทำขึ้นมา เพื่อลดการสูญเสียค่าใช้จ่ายในการซื้อปะเก็นฝาสูบในกรณีที่เปลี่ยนซีลปลอกวาล์ว และไม่ต้องใช้บุคลากรมากในการทำงาน ใช้เวลาการทำงานน้อยกว่าการที่ต้องยกฝาสูบออกมา และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในการยกฝาสูบ และสามารถใช้ปฏิบัติงานได้ไม่เสียเวลายกฝาสูบ ในการเปลี่ยนซีลปลอกวาล์วโดยที่ไม่ต้องยกฝาสูบออกมาจากเครื่องยนต์ ดังนั้นคณะผู้จัดทำจึงมีแนวคิดที่จะสร้าง เครื่องมือพิเศษ ถอด-ประกอบวาล์วฝาสูบรถยนต์ขึ้น

  3. กิตติกรรมประกาศ ขอขอบคุณอาจารย์สงกรานต์ กัลยา ที่ช่วยเป็นที่ปรึกษาโครงการนี้ ขอขอบคุณอาจารย์อำนาจ พัสดุ ที่ช่วยให้คำปรึกษาในเรื่องงานเขียนแบบ ขอขอบคุณบิดามารดาที่ช่วยในการสนับสนุน เงินทุนและปรึกษาในเรื่องต่างๆ ขอขอบคุณผู้ปกครองของนายทศพร ดาษหิรัญ ที่ช่วยสนับสนุนเครื่องมือ อุปกรณ์ และวัสดุที่ใช้ในการทำโครงการ คณะผู้จัดทำ นายทศพร ดาษหิรัญ นายศรัณย์ จันทร์ลอย นายณัฐวัฒน์ อ่อนไธสง นายจิรวัฒน์ พูลสวัสดิ์

  4. บทที่ 1 บทนำ 1.ความสำคัญของโครงการ โครงการ เครื่องมือพิเศษ ถอด-ประกอบสปริงวาล์วฝาสูบรถยนต์ โครงการนี้จัดทำขึ้นมา เพื่อลดการสูญเสียค่าใช้จ่ายในการซื้อปะเก็นฝาสูบในกรณีที่เปลี่ยนซีลปลอกวาล์ว และไม่ต้องใช้บุคลากรมากในการทำงาน ใช้เวลาการทำงานน้อยกว่าการที่ต้องยกฝาสูบออกมา และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในการยกฝาสูบ และสามารถใช้ปฏิบัติงานได้ไม่เสียเวลายกฝาสูบ ในการเปลี่ยนซีลปลอกวาล์วโดยที่ไม่ต้องยกฝาสูบออกมาจากเครื่องยนต์ ดังนั้นคณะผู้จัดทำจึงมีแนวคิดที่จะสร้าง เครื่องมือพิเศษ ถอด-ประกอบสปริงวาล์วฝาสูบรถยนต์ขึ้น 2. จุดประสงค์การทำโครงการ 1. เพื่อสร้างเครื่องมือพิเศษ ถอด-ประกอบสปริงวาล์วฝาสูบรถยนต์ 2. เพื่อใช้ในการ ถอด-ประกอบสปริงวาล์วฝาสูบ โดยที่ไม่ต้องถอดฝาสูบ 3. เพื่อให้ประหยัดเวลาในการ ถอด-ประกอบสปริงวาล์วฝาสูบ โดยที่ไม่ต้องถอดฝาสูบ 4. เพื่อให้ลดบุคลากรในการเปลี่ยนซีลปลอกวาล์ว 5. เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนซีลปลอกวาล์วโดยที่ไม่ต้องเสียปะเก็นฝาสูบ

  5. 3.ขอบเขตโครงการ 1. ตู้เชื่อมไฟฟ้าขนาด 220 โวลต์ 2. เครื่องมิลลิงขนาด 6 ฟุต 3. เครื่องกลึงขนาด 5 ฟุต 4. ลวดเชื่อมไฟฟ้าหุ้มฟรักซ์ขนาด 2.6 มิลลิเมตร 5. เหล็กเส้น ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 10 มิลลิเมตร ความยาว 50 เซนติเมตร 6. เหล็กเหนียวกลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 10 มิลลิเมตร ความยาว 35 เซนติเมตร 7. ชิ้นงานที่สำเร็จ 3 ชิ้น ชิ้นที่ 1สำหรับรถเก๋ง ขนาด กว้าง 148 มิลลิเมตร ยาว 339 มิลลิเมตรขนาดหมวกวาล์ว 21 มิลลิเมตร ชิ้นที่ 2 สำหรับรถเก๋ง ขนาด กว้าง 148 มิลลิเมตร ยาว 339 มิลลิเมตรขนาดหมวกวาล์ว 22.9 มิลลิเมตร ชิ้นที่ 3 สำหรับรถกระบะ ขนาด กว้าง 148 มิลลิเมตร ยาว 339 มิลลิเมตรขนาดหมวกวาล์ว 34 มิลลิเมตร 4.ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ 1. ได้เครื่องมือพิเศษ ถอด-ประกอบสปริงวาล์วฝาสูบรถยนต์ 2. การถอด-ประกอบสปริงวาล์วฝาสูบจะสามารถทำได้สะดวกยิ่งขึ้น 3. ได้เครื่องมือพิเศษที่ช่วยลดระยะเวลาในการถอด-ประกอบสปริงวาล์วฝาสูบ โดยที่ไม่ต้องถอดฝาสูบ 4. ช่วยลดค่าจ้างบุคลากรใน การถอด-ประกอบเปลี่ยนซีลปลอกวาล์ว 5. ได้เครื่องมือพิเศษที่ลดค่าใช้จ่ายในเปลี่ยนซีลปลอกวาล์ว โดยที่ไม่ต้องถอดฝาสูบ

  6. 5. วิธีการดําเนินการ 1.หาหัวข้อโครงการ 2.ศึกษาหาข้อมูลการทำเครื่องมือพิเศษ ถอด-ประกอบสปริงวาล์วฝาสูบรถยนต์ 3.สอบหัวข้อโครงการ 4.ร่างแบบชิ้นงาน 5.จัดซื้ออุปกรณ์ 6.ดำเนินขั้นตอนการทำงาน 7.ทดลองการทำงานของเครื่องมือพิเศษ ถอด-ประกอบสปริงวาล์วฝาสูบรถยนต์ 8.สรุปผลการทดลอง 9.จัดทำรูปเล่ม 10.นำเสนอโครงการ 6.นิยามศัพท์ ภาพสเก็ตซ์ คือ ภาพที่ถูกร่างขึ้นมาแบบที่ยังไม่มีการวัดขนาดที่ถูกต้อง วาล์ว คือ ทำหน้าที่เป็นประตูเปิดปิดอากาศที่ในห้องเผาไหม้(ในกระบอกสูบ)โดยทำงานเป็นจังหวะ สลับกัน ดูด อัด ระเบิด คายโดยมีแคมชาร์ฟเป็นตัวกำหนดจังหวะการเปิดปิดของวาล์ว เครื่องกลึง คือเป็นเครื่องจักรกลที่มีความสำคัญมาก เป็นเครื่องมือกลประเภทแปรรูปโลหะทรงกระบอก สำหรับกลึงเจาะคว้านรูได้มากมาย GGGคือเหล็กหล่อเหนียว

  7. บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวของ ในการศึกษาเรื่องเครื่องมือพิเศษ ถอด-ประกอบสปริงวาล์วฝาสูบรถยนต์ ผูวิจัยไดรวบรวมแนวคิดทฤษฎีและหลักการตางๆ จากเอกสารและโครงการที่เกี่ยวของดังตอไปนี้ เหล็กที่ใช้ในการทำโครงการ เหล็กหล่อเหนียว เป็นเหล็กหล่อที่มีแกรไฟต์ก้อนกลมแทรกอยู่ในเนื้อเหล็ก แกรไฟต์กลมเกิดจากการเจือแมกนีเซียม ถึง 0,5% ด้วยการรวมตัว (combination) หรือเจือแมกนีเซียมในรูปส่วนเจือนิกเกิล แมกนีเซียมในรูปส่วนเจือเฟอร์โร-ซิลิคอน-แมกนีเซียม (ferro silicon magnesium) เพิ่มเข้าไปในเบ้า (ladle) สัญลักษณ์ย่อ : GGG ความหนาแน่น 7,2 kg/dm3คาร์บอน 3,5...3,8% จุดหลอมเหลว 1400 ° Cความต้านแรงดึง 400...1200 N/mm2ความยืด 2...20% การหดตัว 0...2%

  8. ลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ (Coated Electrode)  กรรมวิธีการเชื่อมโลหะด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์มีองค์ประกอบที่สำคัญในการเชื่อมคือลวดเชื่อมซึ่งเป็นแท่งโลหะหุ้มไว้ด้วยฟลักซ์เพื่อสร้างแก๊สปกคลุมด้วยตัวเองทำให้การอาร์กสม่ำเสมอและปรับปรุงคุณภาพของแนวเชื่อมให้ดีขึ้นซึ่งมีส่วนประกอบ

  9. งานเชื่อมไฟฟ้า เทคนิคการเชื่อมต่อตัวที • ปรับเครื่อง • ขั้วไฟ DC SP (E 6012)AC (E 6013) • - กระแสไฟ 90 - 120 แอมป์ปรับเครื่อง • - ขั้วไฟ DC SP (E 6012)AC (E 6013) - กระแสไฟ 90 - 120 แอมป์ • 2.เตรียมงาน • - จัดวางชิ้นงานเป็นลักษณะรอยต่อตัวทีโดยที่ให้ขอบงานข้างหนึ่งสั้น - เชื่อมยึดที่ขอบงานทั้งสองข้าง • 3.เชื่อมแนวแรก - เริ่มเชื่อมที่รอยต่อด้านที่เหลือขอบไว้สั้น - ตั้งมุมลวดเชื่อม 45 จากแนวดิ่งและมุมนำประมาณ 5-10 - เริ่มต้นอาร์คแล้วใช้ระยะอาร์คยาวอุ่นงาน - ลดระยะอาร์คลงมาชิดประมาณ ? เท่าความโตลวดเชื่อม แล้วเดินแนวต่อไป ข้อควรระวัง + ขณะอุ่นงานถ้าระยะอาร์คยาวไม่พออาจเกิดสแลคฝังในได้ง่าย+ ขนาดขาของแนวเชื่อมไม่ควรเล็กกว่า 4 มม.และไม่ควรโตกว่า 6 มม. ผิวหน้านูนเล็กน้อย

  10. การชุบแข็ง การชุบแข็งการชุบเคลือบผิว และการชุบแข็ง เป็นเทคโนโลยีที่มีมานาน มีวัตถุประสงค์ เพื่อปรับปรุงผิวชิ้นงานให้มีความแข็ง เพื่อทนต่อการสึกหรอ การเสียดสี ความร้อน รวมถึงป้องกันการกัดกร่อน การชุบเคลือบ เป็นการเอาวัสดุมาเคลือบ ติดกับผิวชิ้นงาน ได้แก่ การพ่นเคลือบด้วยเปลวความร้อน การชุบเคลือบผิวด้วยไฟฟ้า การเคลือบผิว ด้วยไอกายภาพ และไอเคมี การทาสี การเคลือบสารแม่เหล็กลงบนแผ่นดิสก์ อุตสาหกรรมเกือบทุกประเภทมักผ่านการชุบเคลือบทั้งสิ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมการบินและอวกาศ อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมเคมีและปิโตรเลียม ตลอดจน ชิ้นส่วนทางการแพทย์ส่วนการชุบแข็งเหล็กกล้า เป็นการทำให้เหล็กกล้า มีความแข็งเพิ่มขึ้น โดยการให้ความร้อน เพื่อทำให้เหล็กกล้า เปลี่ยนโครงสร้างผลึก จากนั้นจึงทำให้เย็นตัวลง โดยอัตราการเย็นตัว ต้องเร็วพอ ที่จะทำให้เหล็กกล้า เปลี่ยนโครงสร้างผลึกเป็น มาร์เทนไซด์ซึ่งมีความแข็งสูง

  11. งานเจาะ งานเจาะจัดเป็นกระบวนการผลิตขั้นพื้นฐาน ที่มีลักษณะการทำงานแบบง่าย ๆ ไม่ยุ่งยากซับซ้อน แต่มีความสำคัญมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในงานโลหะ การเจาะเป็นกระบวนการตัดเฉือนวัสดุงานออก โดยใช้ดอกสว่าน รูที่ได้จากการเจาะด้วยดอกสว่านจะมีลักษณะเป็นรูกลม เช่น รูยึดเหล็กดัดประตูหน้าต่างบานพับ กลอนประตูบ้าน ตลอดจนชิ้นส่วนรถจักรยาน รถยนต์ต่าง ๆ มีรูสำหรับการจับยึดมากมาย ดอกสว่าน (Drills) รูปร่างลักษณะ และชื่อเรียก สว่านลักษณะนี้จะมีคมอยู่ 2 คม มีร่องคายเศษอยู่ 2 ร่อง คมตัดจะขึ้นเป็นขอบเส้น มีแนวหลบหลังคมไปตาม ลำตัว คมจะเกิดขึ้นรอบ ๆ ลำตัวสว่านเป็นแนวเอียงมุมเหมือนกับเกลียวฟันไปรอบ ๆ ลำตัว

  12. การกลึง การกลึงจะทำได้ 3 วิธีทำ คือ 1.กลึงเรียวด้วย(COMPOUND REST )จะเป็นการกลึงโดยการหมุนปรับป้อมมีด (tool post) ให้เอียงไปตามองศาที่ต้องการนิยมใช้เครื่องกลึงเรียวสั้นๆ เท่านั้นเอง เนื่องจากเกลียวของ(COMPOUND SLIDE) มีช่วงระยะที่กำหนดไว้และความไม่สะดวกที่จะหมุนเดินป้อมมีดตัดงานจะเอียงองศาได้มาก 2.การกลึงเรียวด้วยการเยื้องศูนย์ท้ายแท่น (TAIL STOCK) เหมาะกับงานกลึงเรียวที่มีขนาดยาวๆแต่จะต้องเป็นอัตราเรียวน้อยๆ มีข้อเสียคือ การประคองของยันศูนย์จะบิดตัวไปทำให้เกิดความไม่แข็งแรง 3.การกลึงเรียว (ATTACHMENT) ทำงานได้กว้างกว่าการกลึงด้วย2วิธีที่กล่าวมา แต่ก็มีขิบเขตของการทำงานเช่นกัน

  13. บทที่3 วิธีดำเนินโครงการดำเนินการ/วิธีดำเนินการวิจัย 3.1การดำเนินโครงสร้าง 1.ร่างแบบโครงสร้าง เครื่องมือพิเศษ ถอด-ประกอบสปริงวาล์วฝาสูบรถยนต์ 2.จัดเตรียมหาอุปกรณ์ที่จะสร้างเครื่องมือพิเศษ ถอด-ประกอบสปริงวาล์วฝาสูบรถยนต์ขึ้นมา 3.เริ่มทำชิ้นส่วนของเครื่องมือพิเศษ ถอด-ประกอบสปริงวาล์วฝาสูบรถยนต์ 4.กลึงบ่ารับสปรึง

  14. 5.กลึงด้ามกดสปริง 6.ทำการกลึงสลัก

  15. 7. นำเหล็กเส้นมาดัดทำเป็นตะขอไว้เกี่ยวกับฝาสูบในการกดสปริง 3.2 มม. 13 มม.

  16. โครงสร้างในการประกอบ ชิ้นที่ 1 สำหรับรถเก๋งขนาดหมวกวาล์ว 21 มิลลิเมตร

  17. ชิ้นที่ 2 สำหรับรถเก๋งขนาดหมวกวาล์ว 22.9 มิลลิเมตร

  18. ชิ้นที่ 3 สำหรับรถกระบะขนาดหมวกวาล์ว 34 มิลลิเมตร

  19. รูปวัสดุอุปกรณ์ 1. เหล็กที่ใช้ในการทำโครงการ 1.1 เหล็กเหนียวกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 30 มิลลิเมตร ยาว 35 เซนติเมตร และเหล็กเส้นความยาว 50 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 10 มิลลิเมตร 2 เส้น เหล็กเส้น เหล็กเหนียวกลม 1.2 ลวดเชื่อมไฟฟ้าหุ้มฟรักช์ ขนาด 3.2 มิลลิเมตร

  20. 2. รูปเครื่องมือที่ใช้จัดทำ เครื่องกลึง ตู้เชื่อมไฟฟ้า เครื่องเจาะ

  21. 3.รูปภาพการปฏิบัติงาน การกลึงเหล็ก การเจาะเหล็ก

  22. การเจียรเหล็ก การเชื่อมเหล็ก

  23. การทำตะขอ ใช้ตะไบกัดร่อง

  24. 4.รูปโครงการที่สำเร็จ 3 ขนาด ขนาด 21 มม. ขนาด 22.9 มม. ขนาด 34 มม. 5.รูปการทดลอง การทดลองด้วยซีแค้ม

  25. การทดลองด้วยเครื่องมือพิเศษการทดลองด้วยเครื่องมือพิเศษ

  26. 6. รูปภาพการนำเครื่องมือพิเศษนำไปใช้งานจริง

  27. บทที่4 ผลการทดลอง/วิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูล 4.1 ขั้นตอนการทดสอบงาน 1.เตรียมอุปกรที่ใช้ในการทดสอบงาน 2.ได้ทดสอบการถอด-ประกอบสปริงวาล์วรถยนต์ด้วยซีแค้ม 3.ได้ทดสอบการถอด-ประกอบสปริงวาล์วด้วยเครื่องมือพิเศษถอด-ประกอบวาล์วรถยนต์ เครื่องมือที่ใช้ เครื่องมือซีแค้มเครื่องมือพิเศษ 3 ชิ้น ขนาด 21 มม. ขนาด 22.9 มม. ขนาด 34 มม.

  28. 4.2 ตารางเปรียบเทียบเวลาการประกอบสปริงวาล์วระหว่างการใช้เครื่องมือธรรมดากับเครื่องมือพิเศษ ชิ้นที่ 1 สำหรับรถเก๋งขนาดหมวกวาล์ว 21 มิลลิเมตร ชิ้นที่ 2 สำหรับรถเก๋งขนาดหมวกวาล์ว 22.9 มิลลิเมตร ชิ้นที่ 3 สำหรับรถกระบะขนาดหมวกวาล์ว 34 มิลลิเมตร

  29. ผลการวิเคราะห์ 1. การใช้เครื่องมือธรรมดา จะก่อให้เกิดความยากลำบากในการประกอบและเสียเวลาในการประกอบมาก 2. การใช้เครื่องมือพิเศษ จะสะดวกและมีความรวดเร็วในการประกอบ 4.3 ปัญหาในการทดลอง 1. ขาดการฝึกฝนในการใช้เครื่องมือ 2. เกือกม้ากระเด็นออก 3. จัดตะขอไม่ได้ระยะกดไม่ลง 4.4 การนำไปใช้งาน 1. สามารถกดวาล์วได้โดยไม่ต้องถอดฝาสูบ 2. สามารถลดเวลาในการกดสปริงวาล์วรถยนต์ได้ 3. สามารถใช้งานได้จริงและมีประสิทธิภาพ

  30. บทที่ 5 สรุป อภิปรายและข้อเสนอแนะ ผลจากการจัดทำโครงการ เครื่องมือพิเศษ ถอด-ประกอบสปริงวาล์วฝาสูบรถยนต์ ผู้จัดทำได้สรุปผลการดำเนินงานดังต่อไปนี้ 5.1 สรุปผลการทดลอง 5.2 ปัญหาและอุปสรรคในการทดลอง 5.3 ข้อเสนอแนะและแนวทางการพัฒนา 5.1 สรุปผลการทดลอง 1. ระยะเวลาที่ใช้เครื่องมือพิเศษเร็วกว่าเครื่องมือc-clamp 2. ใช้งานได้จริงและมีประสิทธิภาพ 3. เป็นที่น่าพอใจสำหรับผู้ทดลอง 5.2 ปัญหาและอุปสรรคในการทดลอง 1. ขาดการฝึกฝนในการใช้เครื่องมือ 2. เกือกม้าหลุดในขณะกดสปริงวาล์ว 3. ด้ามทำจากเหล็กกดแล้วเจ็บมือ(แก้ไข) 5.3 ข้อเสนอแนะและแนวทางการพัฒนา 1.ต้องใช้ความฝึกฝนหาความชำนาญ 2.ทำยางหุ้มด้ามเหล็ก(แก้ไข) 3.ทำหน้าสัมผัสสปริงวาล์วในขนาดต่างๆ เพิ่มขึ้น(แก้ไข)

  31. บรรณานุกรม หนังสือ อ. นริศ ศรีเมฆ เขียนแบบเทคนิคเบื้องต้น พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพมหานคร สำนักพิมพ์ เอมพันธ์ พุทธศักราช 2545 อ. นริศ ศรีเมฆ งานฝึกฝีมือ พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพมหานคร สำนักพิมพ์ เอ็มพันธ์ พุทธศักราช 2545

More Related