1 / 65

การลดต้นทุนการผลิตข้าว ต.ท่าถ่าน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา (ข้าวไม่ไวแสง)

การลดต้นทุนการผลิตข้าว ต.ท่าถ่าน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา (ข้าวไม่ไวแสง). ระยะก่อนปลูกข้าว. 1. การเตรียมดิน. กระบวนการลดต้นทุน * ฉีดพ่นปุ๋ยอินทรีย์น้ำ อัตรา 5 ลิตร / ไร่ / น้ำ 20 ลิตร * ไถกลบตอซัง หมักไว้ 15 – 20 วัน ทุบ / ลูบเทือก

Télécharger la présentation

การลดต้นทุนการผลิตข้าว ต.ท่าถ่าน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา (ข้าวไม่ไวแสง)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การลดต้นทุนการผลิตข้าว ต.ท่าถ่าน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา (ข้าวไม่ไวแสง)

  2. ระยะก่อนปลูกข้าว

  3. 1. การเตรียมดิน • กระบวนการลดต้นทุน * ฉีดพ่นปุ๋ยอินทรีย์น้ำ อัตรา 5 ลิตร/ไร่/น้ำ 20 ลิตร * ไถกลบตอซัง หมักไว้ 15 – 20 วัน ทุบ/ลูบเทือก * ควรดึงร่องระบายร่องละ 4 เมตร เพื่อระบายน้ำและอากาศ

  4. 2. การเตรียมเมล็ดพันธุ์ กระบวนการลดต้นทุน * ทำแปลงเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เอง ลดค่าใช้จ่ายในการซื้อเมล็ดพันธุ์ * พันธุ์ข้าวต้องผ่านกระบวนการคัดพันธุ์ทำความสะอาด เพื่อกำจัดข้าวลีบออก ทำให้เปอร์เซ็นต์การงอกดีขึ้น

  5. * ทดสอบเมล็ดพันธุ์อย่างน้อย 5 กก. โดยการแช่น้ำ 12 ชม.หุ้ม 12 ชม. สังเกตการงอกไม่น้อยกว่า 85 % - น้ำที่แช่ต้องสะอาด - ถ้าอากาศหนาวต้องหุ้มเพิ่มอีก 6 ชั่วโมง - กระสอบที่ใช้ใส่เมล็ดพันธุ์ต้องน้ำไหลผ่านง่าย * หลังจากทดสอบความงอกของเมล็ดพันธุ์แล้วจึงนำเมล็ดพันธุ์ ข้าวใส่กระสอบ ๆ ละ 20 กก.แช่ไว้ 12 ชม. หลังจากนั้นนำไปหว่านได้

  6. ระยะกล้า

  7. 1. หว่านข้าว 20 กก./ไร่ (นาดำใช้ 12 กก./ไร่) • กระบวนการลดต้นทุน • * ลดพันธุ์ข้าวลงจากเดิม 25 – 30 กก./ไร่

  8. 2. ฉีดสารคุมฆ่าวัชพืช (หลังหว่านข้าว 7 - 12 วัน) กระบวนการลดต้นทุน * ใช้สารชีวภาพ หรือวิธีกล (ถอน ตัด) * ใช้สารประเภทคุม-ฆ่า ตามคำแนะนำ * ถ้าไม่กำจัดวัชพืชช่วงนี้จะเพิ่มต้นทุนการกำจัดภายหลังเพราะวัชพืชจะกำจัดยาก

  9. 3. กำจัดหอยเชอรี่ กระบวนการลดต้นทุน * ใช้กากชาหว่าน * ใช้สารชีวภาพ - ใส่กากชาตอนเตรียมดินจะได้ผลดีที่สุด

  10. 4. ป้องกันและกำจัดศัตรูพืช (หนอน แมลง) กระบวนการลดต้นทุน * หมั่นสำรวจแปลง * อนุรักษ์แมลงศัตรูธรรมชาติ * ใช้สารป้องกันกำจัดตามคำแนะนำ

  11. 5. ใส่ปุ๋ยครั้งแรก (ข้าวอายุ 20 - 25 วัน) กระบวนการลดต้นทุน * ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี - นาดำใช้ปุ๋ย 20 กก./ไร่ อัตรา 1:1 - นาหว่านใช้ปุ๋ย 30 กก./ไร่ อัตรา 1:1 - ปุ๋ยเคมีที่ใช้ ยูเรีย (46-0-0) - ข้าวอายุสั้นใส่ตอนอายุ 15-20 วัน

  12. ระยะแตกกอ

  13. 1. รักษาระดับน้ำในนา 5-10 ซม. 2. หมั่นตรวจแปลงนาทุก ๆ 3 วัน * น้ำ * การเจริญเติบโตของข้าว * แมลงศัตรูพืช/โรคพืช

  14. 2. ใส่ปุ๋ยเมื่ออายุข้าว 45-60 วัน กระบวนการลดต้นทุน * ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี - นาดำใช้ปุ๋ย 20 กก./ไร่ อัตรา 1:1 - นาหว่านใช้ปุ๋ย 40 กก./ไร่ อัตรา 1:1 - ข้าวอายุสั้นใส่ตอนอายุ 30 วัน

  15. 3. ตัดพันธุ์ปนและข้าววัชพืช กระบวนการลดต้นทุน * หมั่นสำรวจแปลง * ใช้วิธีการ ตัด / ถอน * สามารถทำตั้งแต่ข้าวอายุ 45 - ระยะข้าวโน้มรวง

  16. 4. ตัดหญ้าคันนา กระบวนการลดต้นทุน * ไม่ให้เป็นที่อาศัยของแมลงศัตรูพืชและวัชพืช * ลดต้นทุนการซื้อสารป้องกันและกำจัดแมลง

  17. ระยะสร้างรวง

  18. 1. ใส่ปุ๋ยต่อช่วง เมื่อข้าวอายุ 65 - 70 วัน (ปุ๋ยแต่งหน้า) กระบวนการลดต้นทุน * ใช้ปุ๋ย 46-0-0 อัตรา 5 กก./ไร่ หรือ 21-0-0 อัตรา 10 กก./ไร่ (เพื่อเพิ่มจำนวนการสร้างเมล็ด)

  19. 2. ฉีดฮอร์โมน/สารป้องกันกำจัดแมลง/ สารป้องกันกำจัดโรคพืช กระบวนการลดต้นทุน - ใช้ฮอร์โมนที่หมักเอง - สารสกัดสมุนไพรไล่แมลง - ใช้สมุนไพรที่มีรสฝาดกำจัดโรคพืช

  20. หมายเหตุ… ถ้าจำเป็นต้องใช้สารเคมี - ใช้สารเคมีให้ตรงกับโรคพืช/แมลง - ใช้สารเคมีที่ถูกต้อง ทางการอนุญาตให้ขาย

  21. ระยะออกรวง

  22. 1. รักษาระดับน้ำในนา 5 - 10 เซนติเมตร กระบวนการลดต้นทุน - หมั่นตรวจแปลงนาทุก ๆ 3 วัน - น้ำ - การเจริญเติบโตของข้าว - แมลงศัตรูพืช/โรคพืช

  23. 2. ฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชในช่วงข้าวแทงช่อดอก 5-10 % กระบวนการลดต้นทุน * ป้องกันอย่าให้ต้นข้าวเกิดโรค - ตั้งแต่การเตรียมดิน - เตรียมเมล็ดพันธุ์ - การดูแลรักษาแปลง - อนุรักษ์แมลงศัตรูธรรมชาติ (ชีววิธี)

  24. หมายเหตุ… - ถ้าเกิดโรคในขณะที่รวงข้าวตากเกสรให้ใช้สารเคมีในช่วงก่อนดอกบาน (เช้าไม่เกิน 9.00 น. บ่ายตั้งแต่ 15.00 น.เป็นต้นไป) - ถ้าใช้สารกำจัดแมลง ต้องดูฉลากยาให้ชัดเจนว่าสามารถผสมกับยากำจัดโรคพืชชนิดนี้ได้หรือไม่ (ยาร้อน-ยาเย็น) เพราะอาจเป็นอันตรายได้

  25. ระยะโน้มรวง

  26. 1. หลังจากข้าวออกรวงแล้ว * อย่าให้ในนาขาดน้ำ - เพื่อให้ข้าวสุกเสมอกัน (พลับพลึง) * หลังจากข้าวออกรวงแล้ว 21 วัน ให้ระบายน้ำออกจากแปลงนา - เพื่อสะดวกในการเก็บเกี่ยว

  27. ระยะเก็บเกี่ยว

  28. 1. หลังจากข้าวออกรวงแล้ว 26 - 28 วัน ให้ทำการเก็บเกี่ยว (ระยะพลับพลึง) กระบวนการลดต้นทุน * เก็บเกี่ยวขายทันที (ข้าวสด) - ลดต้นทุนการขนส่งและการตาก

  29. * กรณีจำนำข้าวควรลดความชื้นโดยการตากให้มีความชื้น 15% * กรณีใช้ทำพันธุ์ให้ตากแดดลดความชื้นไม่เกิน 14% (ตาก 2-3 แดด)

  30. ระยะหลังการเก็บเกี่ยวระยะหลังการเก็บเกี่ยว

  31. 1. ไถกลบตอซัง กระบวนการลดต้นทุน * ฉีดปุ๋ยอินทรีย์น้ำ หลังจากเก็บเกี่ยวเสร็จและดินต้องความชื้นพอประมาณ อัตราใช้ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ 5 ลิตร/น้ำ 20 ลิตร * หมักทิ้งไว้ 15-20 วัน รอการทำนาครั้งต่อไป

  32. 2. กำจัดข้าวเรื้อ กระบวนการลดต้นทุน * ล่อให้ข้าวเรื้อขึ้นแล้วไถ ลดการเกิดข้าวดีด ข้าวเด้ง

  33. การเมาตอซัง • การแก้ไข การเกิดแก็สในดินเนื่องจากการหมักฟางหรือตอซังข้าวหลังจากหว่านข้าวไปแล้ว 4-5 วัน ให้ระบายน้ำออกจากแปลงนาให้แห้งประมาณ 1 สัปดาห์ เพื่อให้ดินแห้งแก๊สจะได้ระเหยออกมาได้หลังจากนั้นวิดน้ำเข้านาและปฏิบัติตามขั้นตอนเหมือนเดิม

  34. สูตรไล่แมลง • ส่วนผสม 1. กระเทียม 2. พริกสด หรือพริกแห้ง 3. ตะไคร้ 4. ข่า 5. เหล้าขาว 6. น้ำส้มสายชูหมัก 7. น้ำสะอาด

  35. วิธีทำ * นำพริก ตะไคร้ กระเทียม ข่า มาทุบหรือหั่นให้แตก นำส่วนผสมใส่ลงในถังที่มีฝาปิดผนึกไม่ให้อากาศเข้าได้ เพราะจะทำให้แอลกอฮอล์ระเหยออกได้ นำเหล้าขาวมาผสมกับน้ำ ใส่ให้ท่วมวัสดุที่ใช้ ใส่น้ำส้มสายชูลงไปคนให้เข้ากัน ปิดฝาผนึกไว้ 24 ชั่วโมง นำมาฉีดพ่นไล่แมลง ส่วนที่เหลือเก็บไว้ใช้ในคราวต่อไป

  36. น้ำสกัดชีวภาพ (หัวเชื้อ) • ส่วนผสม 1. พืชผักอวบน้ำทุกชนิด 3 กิโลกรัม 2. ผลไม้สุกต่างๆ หรือเปลือกสับปะรด 3 กิโลกรัม 3. กากน้ำตาล หรือน้ำตาลทรายแดง 1 กิโลกรัม

  37. วิธีทำ -นำพืชผักผลไม้มาสับเป็นชิ้นเล็ก ๆ คลุกกับ กากน้ำตาลหมักใส่ในถัง หากของหนักทับและปิด ฝาให้สนิททิ้งไว้ในที่ร่ม 5-10 วัน จะได้น้ำสกัดมี สีน้ำตาล มีกลิ่นหอมอมเปรี้ยว แล้วกรองเอาแต่น้ำ ใส่ขวดเก็บไว้ใช้เป็นหัวเชื้อ (เก็บได้นาน 6 เดือน)

  38. วิธีใช้ - หัวเชื้อ 15 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร • ประโยชน์ 1. ใช้ฉีดพ่นพืชผักผลไม้ 2. ใช้ทำปุ๋ยน้ำหมัก 3. ใช้ทำปุ๋ยหมักแห้ง

  39. ประโยชน์ (ต่อ) 4.ใช้ปรับสภาพดินและน้ำ (ปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์) 5. ใช้ดับกลิ่นในถังส้วมและกองขยะ 6. ใช้เลี้ยงสัตว์ (ใส่น้ำให้กิน) 7. ใช้เลี้ยงปลา กุ้ง (คลุกอาหารให้กิน)

  40. สูตรปุ๋ยน้ำหมัก (จากสัตว์) • ส่วนผสม 1. หอยเชอรี่หรือปลาสดหรือโปรตีนจากสัตว์ต่าง ๆ 3 กิโลกรัม 2. กากน้ำตาลหรือน้ำตาลทรายแดง 3 กิโลกรัม 3. หัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้น 1 ลิตร 4. น้ำสะอาด 10 ลิตร 5. ถังพลาสติกมีฝาปิด 1 ใบ

  41. วิธีทำ • นำหอยเชอรี่มาทุบ มาสับ หรือบด ให้พอแตก • ผสมน้ำกับกากน้ำตาลและหัวเชื้อเข้าด้วยกัน • นำหอยหรือปลา หรือเนื้อ ใส่ในถัง • นำน้ำที่ผสมกับกากน้ำตาลและหัวเชื้อลงในถังแล้วคนให้เข้ากัน และปิดฝาให้สนิทเก็บไว้ในที่ร่ม อย่างน้อย 15 วัน แล้วจึงนำมาใช้ได้

  42. วิธีใช้ - น้ำปุ๋ยหมัก 50 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร • สรรพคุณ - ใช้เป็นปุ๋ยทางใบ ใช้ปรับสภาพดิน เพิ่มจุลินทรีย์ในดิน • หมายเหตุ - ในขณะหมักจะมีก๊าซในถังให้เปิดฝาระบายออกแล้วรีบปิดให้สนิท

  43. ปุ๋ยหมักชีวภาพ (ชนิดผง) • ส่วนผสม 1. มูลสัตว์ (ไก่ไข่ หมู) 1 กระสอบ 2. แกลบ 1 กระสอบ 3. ขี้เถ้าแกลบ 1 กระสอบ 4. รำละเอียด 2 กิโลกรัม 5. หัวเชื้อจุลินทรีย์ 1 ลิตร 6. น้ำสะอาด 10 ลิตร

  44. วิธีทำ • นำส่วนผสม มูลสัตว์ แกลบ ขี้เถ้าแกลบ รำ ผสมให้เข้ากัน • ผสมน้ำกับจุลินทรีย์ให้เข้ากัน และรดบนส่วนผสมทั้งหมดให้ความชื้นพอประมาณ (กำดูพอแบมือไม่แตก) • คลุกเข้ากันดีแล้วตักใส่กระสอบ มัดปากให้แน่น • วางกองเป็นชั้นทับกัน (แต่ข้างไม่ติดกัน) 5-7 วัน ใช้ได้

  45. วิธีใช้ • นาข้าว 200 กิโลกรัม/ไร่ • พืชผัก 1 กิโลกรัม/ตารางเมตร • ไม้ผล 1-5 กิโลกรัม/ต้น/ปี

  46. ปุ๋ยเม็ดชีวภาพ (แทนปุ๋ยเคมี) • ส่วนผสม 1. ปุ๋ยหมักชีวภาพ (แห้งผง) 70 กิโลกรัม 2. มูลไก่ไข่หรือมูลค้างคาว 10 กิโลกรัม 3. หินฟอสเฟต 10 กิโลกรัม 4. โดโรไมท์ 10 กิโลกรัม 5. ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพสูตร(จากสัตว์) 3 กิโลกรัม 6. น้ำสกัดชีวภาพ (หัวเชื้อ) 2 กิโลกรัม 7. น้ำสะอาด 5 กิโลกรัม

  47. วิธีทำ • นำปุ๋ยหมักมูลไก่หรือมูลค้างคาวหินฟอสเฟต โดโรไมท์ ผสมเข้าเครื่อง บดย่อยให้ละเอียด • ผสมปุ๋ยน้ำสกัด (หัวเชื้อ) น้ำสะอาด เข้าด้วยกัน • นำส่วนผสมทั้งแห้งและเปียก มาผสมกันให้มีความชื้นพอเหมาะ และเข้าเครื่องปั้นเม็ด • ผึ่งลมให้แห้งแล้วเก็บใส่กระสอบ (เก็บในที่ร่ม)

  48. วิธีใช้ • นาข้าว 50 กิโลกรัม/ไร่ • พืชไร่/พืชผัก 1-2 กิโลกรัม/ตารางเมตร • ไม้ผลยืนต้น 1-5 กิโลกรัม/ต้น/ปี

  49. ต้นทุนการผลิตข้าวไม่ไวแสง (นาดำ) ต่อไร่

More Related