1 / 68

สมการเคมี โดย ผศ.ดร. ปิยฉัตร วัฒนชัย ภาควิชาวิศวกรรมเคมี

สมการเคมี โดย ผศ.ดร. ปิยฉัตร วัฒนชัย ภาควิชาวิศวกรรมเคมี. วัตถุประสงค์ของบทเรียน. สามารถคำนวณหามวลโมเลกุลและจำนวนโมลได้ สามารถเขียนสมการเคมีได้อย่างถูกต้อง (ดุลสมการ) สามารถคำนวณหาปริมาณสารตั้งต้นที่ต้องการหรือผลิตภัณฑ์ที่ได้

jeslyn
Télécharger la présentation

สมการเคมี โดย ผศ.ดร. ปิยฉัตร วัฒนชัย ภาควิชาวิศวกรรมเคมี

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สมการเคมี โดย ผศ.ดร. ปิยฉัตร วัฒนชัย ภาควิชาวิศวกรรมเคมี

  2. วัตถุประสงค์ของบทเรียนวัตถุประสงค์ของบทเรียน สามารถคำนวณหามวลโมเลกุลและจำนวนโมลได้ สามารถเขียนสมการเคมีได้อย่างถูกต้อง (ดุลสมการ) สามารถคำนวณหาปริมาณสารตั้งต้นที่ต้องการหรือผลิตภัณฑ์ที่ได้ สามารถระบุว่าสารใดเป็นสารกำหนดปริมาณ และคำนวณหาปริมาณที่ต้องการหรือปริมาณผลิตภัณฑ์ที่เกิดได้ สามารถหาผลผลิตตามทฤษฎี ผลผลิตตามจริง และร้อยละผลผลิตได้

  3. Atomic weight คือ น้ำหนักของอะตอมของธาตุซึ่งคำนวณจากน้ำหนักของโปรตอน นิวตรอน และอิเลคตรอนที่มีอยู่ทั้งหมด จึงมีหน่วยเป็นกรัม • Atomic mass คือตัวเลขที่แสดงว่าอะตอมนั้นๆ หนักเป็นกี่เท่าของ 1/12 ของน้ำหนัก C-12 1 อะตอม (ไม่มีหน่วย) • Molecular weight คือ ผลรวมของ atomic mass ของธาตุทุกตัวที่อยู่ในโมเลกุลนั้นต่อ 1 โมล มีหน่วยเป็นกรัมต่อโมล • Molecular mass คือ น้ำหนักรวมของอะตอม (atomic weight) ใน 1 โมเลกุลมีหน่วยเป็นกรัม

  4. Molecular Weight เช่น molecular weight ของ H2 1 mole H2 มีจำนวน 6.023 x 1023 โมเลกุล 1 โมเลกุล มี H 2 อะตอม (H 1 อะตอมมีโปรตอน 1 ตัว) atomic weight ของ H 1 อะตอม = 1 x 1.66 x 10-24 กรัม 1 mole H2 มีน้ำหนัก = 6.023 x 1023x 2 x 1 x 1.66 x 10-24กรัม ดังนั้นmolecular weight ของ H2= 2 กรัม/โมล

  5. หน่วยมาตรฐาน : amu (atomic mass unit) 1 อะตอมของ C-12 (มี 6 โปรตอน และ 6 นิวตรอน) มี atomic mass 12 amu 1 amu = 1/12 ของน้ำหนัก C-12 1 อะตอม = 1.66 x 10-24 g 1 g = 6.02 x 1023amu Atomic mass ของธาตุใดๆ จึงเป็นตัวเลขที่แสดงว่าธาตุนั้นๆ 1 อะตอม มีน้ำหนักเป็นกี่เท่าของ 1/12 ของน้ำหนัก C-12 1 อะตอม Atomic mass = atomic weight ธาตุ 1 อะตอม 1/12 ของatomic weightC-12 1 อะตอม

  6. Atomic mass • คือ ตัวเลขที่แสดงว่า 1 อะตอมของธาตุหนักเป็นกี่เท่าของ 1/12 ของน้ำหนัก C-12 1 อะตอม • ลักษณะสำคัญของ atomic mass และmolecular weight 1. ไม่มีหน่วย เพราะเป็นค่าเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐาน 2. molecular weight คำนวณจาก atomic mass ของธาตุทุกตัวในโมเลกุลรวมกัน

  7. ตัวอย่าง : ทังสเตนมี atomic mass 183.84 amu จงหาน้ำหนักเป็นกรัมของทังสเตน 25 อะตอม วิธีคิด : ทังสเตน 1 อะตอม มี atomic mass= 183.84 amu ทังสเตน 25 อะตอม มี atomic mass= 183.84 x 25amu = 4.596 x 103 amu เปลี่ยน amuเป็น g atomic mass1 amu= 1.66 x 10-24 g 4.596 x 103amu = 7.629 x 10-21 g ตอบ : ทังสเตน 25 อะตอม มีน้ำหนัก7.629 x 10-21 g

  8. Molecular weight ของสาร หาได้จากผลบวกของ atomic mass ของธาตุทั้งหมดในโมเลกุล SO2= 1 S + 2 O = (32 x 1) + (16 x 2) = 64 เช่น H2SO4 = 2 H + 1 S + 4 O = (2 x 1) + (1 x 32) + (4 x 16) = 98 CH3COOH = 2 C + 2 O + 4 H = (2 x 12) + (2 x 16) + (4 x 1) = 60

  9. จงคำนวณน้ำหนักโมเลกุลของน้ำตาลกลูโคส ซึ่งมีสูตรโมเลกุล C6H12O6         6  x  atomic mass ของ C     =     6  x  12.01    =     72.06         12 x   atomic mass ของ H     =    12 x  1.008     =     12.00         6  x  atomic mass ของ O    =     6  x  16.00     =      96.00 ดังนั้นน้ำหนักโมเลกุลของกลูโคส =   72.06  +  12.00  +  96.00   =   180.06

  10. NaCl=   23 + 35.5   =   58.5         C2H5Cl= (2 x 12)+(5 x 1)+(1 x 35.5) =   64.5 CuSO4· 5H2O     =   [(1 x 63.55) + (1 x 32) + (4 x 16)]  + 5 x [(2 x 1) + (1 x 16)]                                         =    249.55

  11. โมล (Mole) โมล: ปริมาณสารที่มีจำนวนอนุภาคเท่ากับจำนวนอะตอมของ C-12 ที่มีมวล 12 กรัม ซึ่งมีค่าเท่ากับ 6.02 x 1023อะตอม อนุภาคอาจเป็นอะตอม โมเลกุล หรือ ไอออน เลขจำนวน 6.02 x 1023เรียกว่า เลขอาโวกาโดร (Avogadro’s number) ชาวอิตาลี “Lorenzo Romano Amedeo Carlo Avogadro diQuaregnadiCerreto”

  12. เลขอาโวกาโดร มาจากไหน? 1 amu = 1.66 x 10-24 g 1 g = 6.02 x 1023 amu C-12 มวล 12 g = 12 x 6.02 x 1023 amu แต่ C-12 12 amu = 1 อะตอม ดังนั้น C-12 มวล 12 g = 6.02 x 1023อะตอม หรือ 1 โมลอะตอม C-12 = 6.02 x 1023อะตอม C-12 1 โมลของสารใดๆ หมายถึง ปริมาณสารจำนวน 6.02 x 1023อนุภาค ซึ่งมีมวลเท่ากับมวลอะตอมของธาตุหรือมวลโมเลกุลของสารนั้นๆ

  13. สารที่มีสถานะเป็นแก๊สสารที่มีสถานะเป็นแก๊ส แก๊ส 1 โมล มีปริมาตร 22.4 ลิตร ที่ STP มีจำนวน 6.02 x 1023โมเลกุล (Standard Temperature Pressure; อุณหภูมิ 0 C ความดัน 1 บรรยากาศ) โมลของสาร = น้ำหนักของสาร Atomic mass หรือMolecular weight จำนวนอะตอมหรือโมเลกุลของสาร = โมลของสาร x 6.02 x 1023 ปริมาตรแก๊สที่ STP = โมลของแก๊ส x 22.4 ลิตร

  14. สรุป 1 mol ของ C อะตอม= 6.02  1023 อะตอม = 12 กรัม 1 mol ของ O2โมเลกุล = 6.02 1023 โมเลกุล = 32 กรัม = 2  6.02  1023 อะตอม 1 mol ของ Na+ ไอออน = 6.02  1023 ไอออน = 23 กรัม

  15. การคำนวณจำนวนโมล จำนวนอนุภาค 6.02 x 1023อนุภาค ก๊าซ ปริมาตร 22.4 dm3 ที่ STP โมล (n) ของแข็ง/ของเหลว น้ำหนัก (กรัม) Molecular weight

  16. แบบฝึกหัด 1. กำหนด atomic mass ของH = 1   O =  16   Cl = 35.5   Na = 23   S =  32   K = 39 ธาตุ atomic massน้ำหนัก (กรัม)จำนวนอะตอมNa                                   23                      23              6.02 x 1023                  S                                 …………             …………          ………………                  K                                 …………             …………           ……………… สารประกอบmolecular weight น้ำหนัก (กรัม)จำนวนอะตอม HCl                                  36.5                   36.5           6.02 x 1023                  H2SO4                          …………               …………          ……………….NaOH                           …………              …………          .………………

  17. 2. ถ้าชั่งสารมาเป็นกรัม  โดยให้ตัวเลขของมวลนั้นเท่ากับ atomic mass หรือmolecular weight ของสารนั้น       สารนั้นจะมีจำนวนอนุภาค  =  ........ 3.  ตัวเลข  6.02X1023อนุภาค นี้เรียกว่า  ................... 4. คำว่าอนุภาค  หมายถึงสิ่งใดบ้าง  ........................................................

  18. 5.กำหนด atomic mass ของH = 1   C = 12   N = 14   O = 16   Cl = 35.5   Na = 23         P = 31    S =  32    K = 39    Cu = 63.5 5.1 น้ำ  1  โมล  คิดเป็นกี่กรัม           ……………………………………………………………………………………………5.2 น้ำ  0.2  โมล  คิดเป็นกี่กรัม           ……………………………………………………………………………………………5.3 ฟอสฟอรัส   5 โมลเป็นกี่กรัม           ……………………………………………………………………………………………         5.4 แอมโมเนีย  (NH3) 85 กรัมเป็นกี่โมล          ……………………………………………………………………………………………5.5 คาร์บอนเตตระคลอไรด์ (CCl4) 77 กรัมเป็นกี่โมล           ……………………………………………………………………………………………

  19. 6.  จงคำนวณหาโมลและน้ำหนักของสารต่อไปนี้6.1 แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์  3.01X 1022โมเลกุล          ……………………………………………………………………………6.2 โพแทสเซียมไอออน  18.06 X 1022ไอออน          ……………………………………………………………………………6.3 ทองแดง  1 อะตอม          …………………………………………………………………………… 7.  สารต่อไปนี้มีจำนวนอนุภาคเท่าใด7.1 โซเดียมไอออน (Na+) 0.5 โมล           …………………………………………………………………………………………7.2 คาร์บอน  6 กรัม          …………………………………………………………………………………………7.3 กรดซัลฟิวริก  (H2SO4) 0.98 กรัม          …………………………………………………………………………………………

  20. สมการเคมี (Chemical Equation) • เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงการเกิดปฏิกิริยาเคมี (chemical reaction) ระหว่างสารตั้งต้น (reactant) (อาจเป็นปฏิกิริยาระหว่างโมเลกุล อะตอม หรือไอออนก็ได้) เพื่อเกิดเป็นผลิตภัณฑ์ (product) โดยเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ และสูตรโมเลกุลที่เป็นตัวแทนของธาตุที่อยู่ในสารประกอบตัวอย่างสมการเคมีเช่น • CH4 (g) + 2O2 (g)  CO2 (g) + 2H2O (g) • สารที่เขียนทางซ้ายมือของลูกศร เรียกว่า สารตั้งต้น • สารที่เขียนทางขวามือของลูกศร เรียกว่า สารผลิตภัณฑ์ • เครื่องหมาย + หมายถึงทำปฏิกิริยากัน • เครื่องหมาย  แสดงการเปลี่ยนแปลงของสารตั้งต้นไปเป็นสารผลิตภัณฑ์ • เครื่องหมาย หมายถึงการให้ความร้อนแก่ปฏิกิริยา

  21. การเกิดปฏิกิริยาเคมี มีหลักการอยู่ 3 อย่างที่เกิดขึ้น • 1. เกิดสารใหม่ สารผลิตภัณฑ์ที่ได้จะมีสมบัติแตกต่างไปจากสารตั้งต้น • 2. มีการเปลี่ยนแปลงพลังงานระหว่างระบบที่เกิดปฏิกิริยากับสิ่งแวดล้อม • 3.ปริมาณสัมพันธ์ของสารตั้งต้นและสารผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นคงที่ • กฎทรงมวลของสาร (Law of Conservation of Mass) ซึ่งกล่าวว่า “ในการเปลี่ยนแปลงทางเคมี มวลของสสารจะไม่สูญหาย” หรือกล่าวคือ มวลของสสารก่อนและหลังการเปลี่ยนแปลงจะเท่ากัน

  22. โดยสมการเคมีเขียนได้ 2 แบบคือ • 1. สมการแบบโมเลกุล (Molecule equation) • เป็นสมการที่แสดงปฏิกิริยาระหว่างโมเลกุลของสาร โดยอาจแสดงสถานะทาง • กายภาพของสารเพิ่มเติมด้วยด้วยอักษรย่อเขียนในวงเล็บ เช่น • (g) แทนสถานะ ก๊าซ ; gas (l) แทนสถานะ ของเหลว ; liquid • (s) แทนสถานะ ของแข็ง ; solid (aq) แทนสถานะ สารละลายในน้ำ ; aqueous • โดยสมการโมเลกุลที่ทำการดุลสมการแล้วจะต้องมีจำนวนอะตอมของแต่ละธาตุทั้งสองข้างของลูกศรเท่ากัน โดยใช้ตัวเลขที่เป็นอัตราส่วนที่น้อยที่สุด

  23. ตัวอย่าง • แคลเซียมไฮดรอกไซด์ (Ca(OH)2)ทำปฏิกิริยากับแอมโมเนียมคลอไรด์ (NH4Cl) จะได้แคลเซียมคลอไรด์และแอมโมเนียมไฮดรอกไซด์ • Ca(OH)2 (l) + NH4Cl (l) → CaCl2 (l) + NH4(OH) (l) • หรือ • เหล็ก + กำมะถัน → เหล็กซัลไฟด์ • Fe (s) + S (s) → FeS (s) • หรือ • CH4 (g) + 2O2 (g)  CO2 (g) + 2H2O (g)

  24. 2. สมการแบบไอออนิก(Ionic equation) • เป็นสมการเคมีของปฏิกิริยาที่สารตั้งต้นและผลิตภัณฑ์ อย่างน้อย 1 ชนิดเป็นไอออน จะเขียนเฉพาะไอออนและโมเลกุลที่จำเป็นเท่านั้น ส่วนสารที่เป็นอิเลกโตรไลต์อ่อน (แตกตัวเป็นไอออนในน้ำได้น้อย), สารที่ไม่ละลาย, สารที่ตกตะกอน หรือ สารเป็นก๊าซให้เขียนเป็นสูตรโมเลกุล • เช่น ปฏิกิริยาระหว่างสารละลาย NaClกับ AgNO3 เกิด AgClและ NaNO3

  25. จากสมการแบบโมเลกุล • AgNO3 (aq) + NaCl (aq) → AgCl(s) + NaNO3 (aq) • ขั้นตอนที่ 1 : เขียนไอออนทั้งหมดที่สามารถละลายน้ำได้ • Ag+(aq) + NO3- (aq) + Na+(aq) + Cl-(aq) → AgCl(s) + Na+(aq) + NO3- (aq) • ขั้นตอนที่ 2 : ตัดไอออนที่เหมือนกันทั้งสองข้างของสมการออก ดังนั้นสมการไอออนคือ • Ag+(aq) + Cl-(aq) → AgCl(s)

  26. ตัวอย่าง • สมการแบบโมเลกุล : • CH3COOH (l) + NaOH (aq) → CH3COONa (aq) + H2O (l) • สมการไอออน : • CH3COOH + OH- → CH3COO- + H2O

  27. แบบฝึกหัด • จงเปลี่ยนสมการโมเลกุลให้อยู่ในรูปสมการไอออน • NaOH + HCl NaCl + H2O • Ca(OH)2 (aq) + Na2CO3 (aq)  CaCO3 (s) + 2NaOH (aq) • CaCl2 (aq) + 2AgNO3 (aq)  Ca(NO3)2 (aq) + 2AgCl (s) • NaOH (s) + HNO3 (aq)  NaNO3 (aq) + H2O (l) • BaSO4 (s) + Na2CO3 (aq)  BaCO3 (s) + Na2SO4 (aq)

  28. การเขียนสมการเคมีให้ถูกต้องการเขียนสมการเคมีให้ถูกต้อง • เขียนสูตรของสารตั้งต้นและสารผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้อง • จากกฎทรงมวลเราจึงต้องทำให้แต่ละข้างของสมการต้องมีจำนวนอะตอม และประจุที่เท่ากัน เรียกว่า การดุลสมการเคมี • การดุลสมการเคมี • ทำโดยให้จำนวนอะตอมของธาตุทุกธาตุทางซ้าย (สารตั้งต้น) เท่ากับจำนวนอะตอมของธาตุทุกธาตุทางขวา (สารผลิตภัณฑ์) ของสมการ โดยนำตัวเลขไปเติมหน้าสูตรเคมีตัวเลขหน้าสูตรเคมีของสารต่างๆในสมการเคมีภายหลังการดุลเรียบร้อยแล้ว คือ สัมประสิทธิ์ปริมาณสัมพันธ์ของสารต่างๆ ในปฏิกิริยาเคมีนั้น

  29. H2 (g)                      +        O2 (g)"       H2O (l)    H2 (g)                      +        O2 (g)"       H2O (l)    

  30. C3H8 (g)                      +        O2 (g)"CO2(g)        +       H2O (l)    C3H8 (g)                      +        O2 (g)"CO2(g)        +       H2O (l)    

  31. การคำนวณที่เกี่ยวกับสมการเคมีการคำนวณที่เกี่ยวกับสมการเคมี ในการคำนวณเกี่ยวกับสมการเคมี เราจำเป็นต้องนำความรู้ในเรื่องโมลที่ได้กล่าวมาข้างต้นมาประยุกต์ใช้ในโจทย์ หน่วยที่ใช้บอกปริมาณของสารตั้งต้น หรือสารผลิตภัณฑ์ ได้แก่ หน่วยโมล กรัม และลิตร ซึ่งไม่ว่าจะเป็นหน่วยใดก็ตาม วิธีที่ใช้หาปริมาณสารในปฏิกิริยา จะเรียกว่า วิธีของโมล (mole method) มีขั้นตอนดังนี้ 1 . เขียนสูตรของสารตั้งต้น และสารผลิตภัณฑ์ ที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องพร้อมทั้งดุลสมการ ให้เรียบร้อย 2 . เปลี่ยนปริมาณของสารที่กำหนด (มักเป็นสารตั้งต้น) ให้อยู่ในหน่วยโมล 3 . คำนวณหาจำนวนโมลของสารที่ต้องการ (สารผลิตภัณฑ์) จากโมลของสมการที่ดุลแล้ว 4 . ใช้จำนวนโมลของสารที่ดุลได้ เปลี่ยนปริมาณของสารให้อยู่ในหน่วยที่ต้องการ 5 . ตรวจสอบคำตอบที่ได้ว่าสอดคล้องกับความเป็นจริงหรือไม่

  32. ความหมายของสารในปฏิกิริยาเคมีความหมายของสารในปฏิกิริยาเคมี 2SO2 (g) + O2 (g)  2SO3 (g) 2 โมเลกุล1 โมเลกุล 2 โมเลกุล 2 โมล1 โมล2 โมล 128 กรัม32กรัม160กรัม 44.8 ลิตร ที่ STP 22.4ลิตร ที่ STP 44.8ลิตร ที่ STP 2 ปริมาตร1ปริมาตร 2ปริมาตร

  33. ตัวอย่าง โลหะแอลคาไลน์ทุกชนิดสามารถทำปฏิกริยากับน้ำ ได้ก๊าซไฮโดรเจน และไฮดรอกไซด์ของโลหะนั้นเช่น ลิเทียมทำปฏิกริยากับน้ำ ดังสมการ ถ้าใช้ลิเทียม 6.23 โมล ทำปฏิกริยาอย่างสมบูรณ์กับน้ำจะได้ก๊าซไฮโดรเจนกี่โมล ถ้าใช้ลิเทียม 80.57 กรัม ทำปฏิกริยาอย่างสมบูรณ์กับน้ำจะได้ก๊าซไฮโดรเจน กี่กรัม ค. ถ้าต้องการเตรียม LiOH 2.59 โมล จะต้องใช้ลิเทียมกี่โมล

  34. วิธีทำ จากโจทย์พบว่า สมการได้ผ่านการดุลมาแล้ว จากสมการเคมี Li 2 โมล ทำปฏิกิริยาได้ H2 1 โมล ดังนั้น Li 6.23 โมล จะทำปฏิกิริยาได้ H2 (1 x 6.23) / 2 = 3.12 โมล ถ้าใช้ Li 6.23 โมล ทำปฏิกริยากับน้ำจะได้ H2 3.12 โมล ข. เนื่องจาก atomic mass ของ Li = 6.94 , atomic mass ของ H = 1.00 จำนวนโมลของ Li ที่ใช้ = 80.57 / 6.94 = 11.61 โมล จากสมการเคมี Li 2 โมล ทำปฏิกิริยาได้ H2 1 โมล ดังนั้น Li 11.61 โมล ทำปฏิกิริยาจะได้ H2 (1x11.61) / 2 = 5.80 โมล น้ำหนักของ H2 ที่ได้ = 5.80 x 2.00 = 11.60 กรัม

  35. ค. เนื่องจาก โจทย์ต้องการหาปริมาณของ Li ที่ใช้ จึงต้องคิดย้อนกลับจากสารผลิตภัณฑ์ที่ได้ จากสมการเคมีหากต้องการได้ LiOH 2 โมล ต้องใช้ Li 2 โมล ดังนั้นหากต้องการได้ LiOH 2.59 โมล ต้องใช้ Li (2 x 2.59) / 2 = 2.59 โมล

  36. ตัวอย่าง โพรเพนเป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนชนิดอิ่มตัว เมื่อนำมาเผาจะเกิดปฏิกิริยาดังนี้ ก. จงคำนวณหาโมลของออกซิเจนที่ใช้เผาไหม้โพรเพน 5 โมล ข. จงหาน้ำหนักของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดขึ้นเมื่อใช้โพรเพน 10 กรัม ค. จงหาปริมาตรก๊าซออกซิเจนที่ STP ที่ทำปฏิกริยากับโพรเพนมากเกินพอ แล้วเกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 20 กรัม

  37. วิธีทำ จากสมการเคมีที่โจทย์กำหนดพบว่า จะต้องทำสมการให้สมดุลก่อน เปรียบเทียบจำนวนอะตอมทั้งสองฝั่ง เลือกอะตอม C มาดุลก่อน โดยการเติม 3 หน้าโมเลกุลของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จะได้ว่า จากนั้น ดุลอะตอม H โดยการเติม 4 หน้าโมเลกุลของน้ำ จะได้ว่า สุดท้าย ดุลอะตอม O โดยการเติม 5 หน้าโมเลกุลของออกซิเจน ก็จะได้สมการที่สมดุล ดังนี้

  38. จากสมการที่ดุลแล้วพบว่าโพรเพน 1 โมล ทำปฏิกิริยาพอดีกับออกซิเจน 5 โมล ดังนั้น ถ้าใช้โพรเพน 5 โมล จะทำปฏิกิริยาพอดีกับออกซิเจน (5 x 5) / 1 = 25 โมล เพราะ molecular weight ของโพรเพน = 44.00 , molecular weight ของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ = 44.00 ดังนั้น จำนวนโมลของโพรเพน = 10 / 44.00 = 0.23 โมล จากสมการเคมี โพรเพน 1 โมล จะทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 3 โมล ดังนั้น ถ้าใช้โพรเพน 0.23 โมล จะทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (0.23 x 3) / 2 = 0.69 โมล น้ำหนักของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดขึ้นคือ 0.69 x 44.00 = 30.36 กรัม

  39. ค. เนื่องจาก โจทย์กำหนดว่าใช้โพรเพนมากเกินพอ ดังนั้นออกซิเจนเป็น สารกำหนดปริมาณ (limiting agents) จำนวนโมลของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ = 20 / 44.00 = 0.45 โมล จากสมการเคมี ถ้าต้องการให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 3 โมล จะต้องใช้ออกซิเจน 5 โมล ดังนั้น ถ้าต้องการให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 0.45 โมล ต้องใช้ออกซิเจน (0.45 x 5) / 3 = 0.75 โมล ปริมาตรของออกซิเจนที่ใช้ในสภาวะ STP = 0.75 x 22.4 = 16.8 ลิตร

  40. แบบฝึกหัด 1. ก๊าซผสมระหว่างก๊าซมีเทนกับก๊าซโพรเพน อย่างละ 15 ลูกบาศก์เซนติเมตร จะต้องใช้ก๊าซออกซิเจนกี่ลูกบาศก์เซนติเมตรจึงจะทำปฏิกิริยาพอดีกับก๊าซผสมนี้ CH4 + C3H8 + O2 CO2 + H2O 2. ในการผลิต Freon ซึ่งใช้เป็นน้ำยาในตู้เย็น ดังแสดงในสมการ เมื่อใช้ CCl4 ปริมาณ 30.8 กรัม ผสมกับ SbF3 17.9 กรัม จะได้ Freon กี่กรัมกำหนดให้molecular weight ของ CCl4 = 154, SbF3 = 179, CCl2F2 = 121

  41. แบบฝึกหัด 3. สารละลาย NaOHทำปฏิกิริยากับคลอไรด์ของโลหะ A ได้ตะกอนไฮดรอกไซด์ของ A ดังสมการ ถ้าสารละลาย NaOH 0.2 โมลต่อลูกบาศก์เดซิเมตร จำนวน 10 ลูกบาศก์เซนติเมตร ทำปฏิกิริยาพอดีกับACln 0.2 โมลต่อลูกบาศก์เดซิเมตร จำนวน 5 ลูกบาศก์เซนติเมตร สูตรโมเลกุลของ ACln ควรเป็นอย่างไร

  42. สารกำหนดปริมาณ (Limiting Reagent) และสารเกินพอ (Excess Reagent) สารที่เข้าทำปฏิกิริยามีปริมาณไม่พอดีกัน ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นจะสิ้นสุดเมื่อสารใดสารหนึ่งหมด สารที่หมดก่อนจะเป็นตัวกำหนดปริมาณของผลิตภัณฑ์ของสารผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นเรียกว่า สารกำหนดปริมาณ (Limiting Reagent) ส่วนสารที่มีปริมาณเหลือเกินพอในการทำปฏิกิริยาจะเรียกว่า สารเกินพอ (Excess Reagent)

  43. สารกำหนดปริมาณในการเกิดปฏิกิริยาเป็นการคำนวณสารจากสมการของปฏิกิริยาที่โจทย์บอกข้อมูลเกี่ยวกับสารตั้งต้นมาให้มากกว่าหนึ่งชนิด ลักษณะโจทย์มี 2 แบบ คือ โจทย์บอกข้อมูลของสารตั้งต้นมาให้มากกว่าหนึ่งชนิด แต่ไม่บอกข้อมูลเกี่ยวกับสารผลิตภัณฑ์ ในการคำนวณต้องพิจารณา ว่าสารใดถูกใช้ทำปฏิกิริยาหมด แล้วจึงใช้สารนั้นเป็นหลักในการคำนวณสิ่งที่ต้องการจากสมการได้ 2. โจทย์บอกข้อมูลของสารตั้งต้นมาให้มากกว่าหนึ่งชนิด และบอกข้อมูลของสารผลิตภัณฑ์ชนิดใดชนิดหนึ่งมาให้ด้วย ในการคำนวณให้ใช้ข้อมูลจากสารผลิตภัณฑ์เป็นเกณฑ์ในการเทียบหาสิ่งที่ต้องการจากสมการเคมี

  44. ตัวอย่าง จงคำนวณว่าจะเตรียมลิเทียมออกไซด์ได้กี่โมลจากลิเทียม 1.0 g และออกซิเจน1.5 g สารใดเป็นสารกำหนดปริมาณ สารใดเหลือและเหลือกี่กรัม 4Li + O2 2Li2O (Li = 6.9, O = 16)

  45. วิธีทำ ลิเทียม 1.0 g = 1.0 g / 6.9 g/mol = 0.144 mol ออกซิเจน1.5 g = 1.5 g / 32 g/mol = 0.0469 mol พิจารณาจากสมการจะเห็นว่าลิเทียม 4 โมลทำปฏิกิริยาพอดีกับออกซิเจน 1 โมล ดังนั้น ลิเทียม 0.144 โมลทำปฏิกิริยาพอดีกับออกซิเจน = 0.144/4 = 0.036 โมล

More Related