1 / 27

1.นวัตกรรม “ ผ้ายก ดียกกำลังสอง ”

1.นวัตกรรม “ ผ้ายก ดียกกำลังสอง ”. 2 . ชื่อผู้จัดทำ 1. นางสาวธาราทิพย์ ธนะคำดี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ 2. นายพิชัย สุดไชยา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ 3. นางสาววันวิสา ข์ พันธุ์เวียง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

jgallegos
Télécharger la présentation

1.นวัตกรรม “ ผ้ายก ดียกกำลังสอง ”

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. 1.นวัตกรรม “ผ้ายก ดียกกำลังสอง”

  2. 2. ชื่อผู้จัดทำ 1. นางสาวธาราทิพย์ ธนะคำดี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ 2. นายพิชัย สุดไชยา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ 3. นางสาววันวิสาข์ พันธุ์เวียง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ 3. สมาชิกทีม 1. นางสาวทัดดาว อ่อนก้อน ผู้ช่วยเหลือคนไข้ 2. นางสาวกีรติ ดาบสีพาย ผู้ช่วยเหลือคนไข้ 3. นายเทพนรินทร์ ใยสิงสอน พนักงานประจำตึก โรงพยาบาลศูนย์สกลนคร ห้องผู้ป่วยหนักศัลยกรรมระบบประสาท (ICU Neuro)

  3. 4. รายละเอียดเกี่ยวกับผลงานนวัตกรรม(ให้ระบุรายละเอียดให้มากที่สุด) (1) จุดเริ่มต้นหรือที่มาของการจัดทำ/คิดค้นนวัตกรรม ห้องผู้ป่วยหนักศัลยกรรมระบบประสาท ให้การดูแลผู้ป่วยทางระบบประสาทที่มีภาวะวิกฤตและฉุกเฉิน ผู้ป่วยส่วนใหญ่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ จึงจำเป็นต้องให้การช่วยเหลือทุกอย่าง ผู้ป่วยมีโอกาสเกิดแผลกดทับ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีภาวะอ้วนมากที่มีค่าดัชนีมวลกาย ≥30 จากสถิติจำนวนผู้ป่วยทั้งหมดที่เข้ารับการรักษาที่ห้องผู้ป่วยหนักศัลยกรรมระบบประสาทปีงบประมาณ 2559,2560, 2561 และ 2562 (ต.ค.61-มี.ค.62) จำนวนผู้ป่วย 287,349,394 และ 252 ราย ตามลำดับ ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาที่ห้องผู้ป่วยหนักศัลยกรรมระบบประสาทได้รับการประเมินค่าดัชนีมวลกายทุกราย (Sakon Nakhon Nutrition Triage =SNNT) Body Mass Index หรือ BMI คือความหนาของร่างกาย ใช้เป็นมาตรฐานในการประเมินภาวะอ้วนหรือผอมในผู้ใหญ่ตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไป ซึ่งคำนวณได้จาก การใช้น้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัมและหารด้วยส่วนสูงที่วัดเป็นเมตรยกกำลังสองซึ้งใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย

  4. พบว่าผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาที่ห้องผู้ป่วยหนักศัลยกรรมระบบประสาทในปีงบประมาณดังกล่าว มีจำนวนผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะโรคอ้วนอันตราย คือค่า BMI ≥ 30 มีจำนวน 25, 36, 40, และ 32 ราย(ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2561-31 มีนาคม 2562) คิดเป็นร้อยละ 8.71,10.31, 10.15 และ 12.80 จำนวนผู้ป่วยที่มีค่าดัชนีมวลกายเกิน มีจำนวนมากและจะเป็นปัญหาในระบบสุขภาพที่อาจจะเกิดกับผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ อาจจะเกิดแผลกดทับได้ง่าย จากการปฏิบัติที่ผ่านมา หน่วยงานใช้ผ้าขวางเตียงในการยกตัวผู้ป่วยก่อนพลิกตะแคงตัว พบว่าต้องออกแรงเยอะ และใช้เจ้าหน้าที่ช่วยยกประมาณ 5 คน ยืนฝั่งละ 2 คน และอีกคนต้องยกประคองศีรษะของผู้ป่วย ใช้เวลาในการยกประมาณ 3 นาที ขณะยกพบว่าผ้าขาดและก้นพ้นพื้นน้อย เจ้าหน้าที่ที่ช่วยยกและพลิกตะแคงตัวผู้ป่วยจะมีอาการปวดหลังและปวดต้นคอหลังจากยกผู้ป่วยที่ค่าดัชนีมวลกายเกิน ถ้ายกบ่อยติดต่อกันมากกว่า 3 ครั้ง/วัน จากการทำแบบสอบถามเจ้าหน้าที่ที่ยกผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังและต้นคอ คิดเป็นร้อยละ 98 ของเจ้าหน้าที่ทั้งหมด

  5. จากการติดตามเก็บรวบรวมข้อมูลและพยายามแก้ไขปัญหานี้ จึงมีการประชุมตึก มีมติว่าควรทำนวัตกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมาในการแก้ปัญหานี้ คณะผู้จัดทำจึงคิดค้นนวัตกรรม“ผ้ายก ดียกกำลังสอง” ขึ้น โดยให้ทุกคนมีส่วนร่วม หาวิธียกผู้ป่วยเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับ ผู้ป่วยปลอดภัย ได้มาตรฐานในการพยาบาล และเจ้าหน้าผู้ใช้นวัตกรรมปลอดภัยจากการใช้นวัตกรรม และเพื่อเปรียบเทียบกับวิธีการใช้ผ้าขวางเตียงยกพลิกตะแคงตัวแบบเดิมที่ได้กระทำมาก่อน โดยเริ่มปฏิบัติกับผู้ป่วยที่ที่ค่าดัชนีมวลกายเกิน จำนวน 32คน 2. ระยะเวลาที่ใช้ในการจัดทำนวัตกรรม วันเริ่มต้นโครงการ1 ตุลาคม 2561 ระยะเวลาดำเนินการ ตุลาคม 2561- มีนาคม 2562 (รวม 6 เดือน)

  6. (3) ลักษณะผลงานนวัตกรรม(โปรดระบุลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง) เป็นสิ่งที่พัฒนา/คิดค้นขึ้นใหม่ โดยมีความแปลกใหม่คือ “ผ้ายก ดียกกำลังสอง”ประดิษฐ์คิดค้นขึ้นเอง โดยคัดเลือกวัสดุที่เหมาะสมกับผู้ป่วย เมื่อนำมาเย็บรวมกันเกิดความแข็งแรงทนทาน ตัวผ้าด้านบนเป็นผ้าฝ้ายผสม สีน้ำเงิน คุณสมบัติเนื้อผ้า นุ่มนวล เบาสบาย หนาปานกลาง ระบายความร้อนได้ดี ส่วนผ้าด้านล่างเป็นผ้ายางเขียวขี้ม้า เป็นพลาสติก PE ป้องกันกันน้ำไม่ให้ซึมเปื้อนที่นอน ทำความสะอาดง่าย มีความยืดหยุ่นดี ทนทาน เมื่อนำมาเย็บรวมกันจึงเกิดประสิทธิภาพคือแข็งแรงทนทานมากกว่าผ้าธรรมดา ตัวผ้ายกมี 3 ขนาด ขนาดเล็ก(ค่าดัชนีมวลกาย30-33), ขนาดกลาง(ค่าดัชนีมวลกาย34-37) และ ขนาดใหญ่(ค่าดัชนีมวลกาย ≥ = 30) ความกว้าง 70x160,100x160, 150x160 ซม. เลือกใช้ตามค่าดัชนีมวลกาย

  7. 5.เป้าหมาย/วัตถุประสงค์5.เป้าหมาย/วัตถุประสงค์ 1. เพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับสำหรับผู้ป่วยที่ค่าดัชนีมวลกาย ≥ 30 2. เพื่อลดอาการปวดหลังและต้นคอของเจ้าหน้าที่ที่ใช้นวัตกรรมยกผู้ป่วยที่ค่า ดัชนีมวลกาย ≥ 30 3. เพื่อให้ง่ายต่อการปฏิบัติ เจ้าหน้าที่ผู้ใช้นวัตกรรมมีความพึงพอใจ มากกว่าร้อยละ 85

  8. 6. หลักการและขั้นตอน รวมทั้งกรรมวิธีในการพัฒนา/คิดค้นวัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ คุณลักษณะหรือคุณสมบัติของวัสดุ/อุปกรณ์แต่ละชนิด 6.1 หลักการและขั้นตอน รวมทั้งกรรมวิธีในการพัฒนา 6.1.1 การวางแผนการดำเนินการ ประชุมสมาชิกกลุ่ม เพื่อ ค้นหาสาเหตุของปัญหา คิด วิเคราะห์ปัญหา ร่วมกันศึกษาผลงานวิชาการ อุปกรณ์ที่ใช้ทดแทนกันได้ ประหยัด/คุ้มค่า เกิดประโยชน์กับผู้ป่วยมากที่สุด

  9. 6.2คิดค้นวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้คุณลักษณะหรือคุณสมบัติของวัสดุ6.2คิดค้นวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้คุณลักษณะหรือคุณสมบัติของวัสดุ ผู้จัดทำคิดค้นหาผ้าที่เหมาะสมกับผู้ป่วย และผ้าต้องใช้สองผืน ผืนบนสัมผัสกับตัวผู้ป่วยโดยตรง ส่วนผืนล่างต้องแข็งแรงทนทานและป้องกันน้ำซึมเปื้อนที่นอนได้ หาข้อมูลเกี่ยวกับคุณสมบัติของผ้าแต่ละชนิด ประโยชน์ของการใช้งาน คุ้มค่าคุ้มทุน เลือกสีน้ำเงินเป็นสีของความสงบเย็น ทำให้หลับสบาย ส่วนสีเขียวก็เป็นสีของความผ่อนคลาย นำผ้าสองชนิดเย็บติดรวมกัน เย็บหูจับข้างละ 4 อัน เย็บมุมเพิ่มความแข็งแรงทนทาน ผลิตใช้ง่าย ต้นทุนปานกลาง

  10. 6.3 อุปกรณ์แต่ละชนิด และ ขั้นตอนวิธีการในการทำ “ผ้ายก ดียกกำลังสอง” จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต 6.3.1 ผ้าฝ้ายผสมสีน้ำเงิน 6.3.2 ผ้ายางเขียวขี้ม้า 6.3.4 สายวัด 6.3.5 กรรไกร 6.3.6 จักรเย็บผ้า(มีที่บ้าน)

  11. 6.4วิธีการใช้งาน “ผ้ายกดียกกำลังสอง” นำไปใช้ยกตัวผู้ป่วยในการพลิกตะแคงตัว สำหรับผู้ป่วยที่มี ภาวะอ้วนมาก ใช้ผู้ยกทั้งหมด 4 คน ยืนอยู่ฝั่งละ 2 คน ใช้เวลาในการยก 1-2นาที “ผ้ายกดียกกำลังสอง”สามารถใช้ได้ทั้งสองด้าน ด้านสีน้ำเงินไม่ต้อง มีผ้ารองเวลายก เพราะตัวผ้านุ่ม เบาสบาย ส่วนด้านผ้ายางให้ใช้ ผ้าขวางรองทับอีกทีหนึ่ง

  12. ภาพที่ 1 ประชุมเรื่องการทำนวัตกรรม“ผ้ายก ดียกกำลังสอง”

  13. ภาพที่ 2 ผ้าฝ้ายผสม สีน้ำเงิน ภาพที่ 3 ผ้ายางเขียวขี้ม้า

  14. ภาพที่ 4 “ผ้ายก ดียกกำลังสอง” ขนาดเล็ก, ขนาดกลาง และ ขนาดใหญ่

  15. ภาพที่ 5 การยกแบบเดิมโดยใช้ผ้าขวางเตียง

  16. ภาพที่ 6 และภาพที่ 7 ใช้ “ผ้ายก ดียกกำลังสอง” ยกเพื่อพลิกตะแคงตัวผู้ป่วยที่มีค่าดัชนีมวลกาย= 30

  17. ภาพที่ 8 “ผ้ายก ดียกกำลังสอง”ภาพที่ 9 ยกและพลิกตะแคงตัวผู้ป่วย BMI=38

  18. งบประมาณที่ใช้ในการพัฒนา / คิดค้น “ผ้ายก ดียกกำลังสอง”ราคา 300 บาท/ 1 ผืน ผลิตทั้งหมด 8 ผืน รวม 2,400บาท เปลี่ยน ใช้กับผู้ป่วยทั้งหมด 32 ราย เมื่อใช้แล้วนำไปซักและนำกลับมาใช้กับผู้ป่วยรายต่อไปได้ เฉลี่ยคนละ 200 บาท • ประโยชน์ที่จะได้รับจากผลงานการพัฒนา / คิดค้น • เมื่อยังไม่ได้ใช้ผลงานพัฒนา / คิดค้น • ผ้ายกแบบเดิมใช้ผ้าขวางเตียงของโรงพยาบาล เนื้อผ้าบางและขาดง่าย ผู้ป่วยที่ค่าดัชนีมวลกายเกิน ไม่ปลอดภัยในการยกและพลิกตะแคงตัว ต้องใช้เจ้าหน้าช่วยยกหลายคนประมาณ 5 คน ใช้เวลายกประมาณ 3-4 นาที เจ้าหน้าที่ที่ยกตัวและพลิกตะแคงตัวมีอาการปวดหลังและต้นคอถ้ายกติดต่อกัน 3 ครั้ง/วัน

  19. (2) หลังจากที่ได้ใช้ผลงานพัฒนา / คิดค้น พบว่า • การเกิดแผลกดทับของผู้ป่วยที่ค่าดัชนีมวลกาย ≥ 30 = 0 • ไม่พบอุบัติการณ์ การระคายเคืองผิวหนัง/การเกิดรอยแดง/แผลบริเวณผิวหนังใช้นวัตกรรม“ผ้ายกดียกกำลังสอง” • เจ้าหน้าที่ห้องผู้ป่วยหนักศัลยกรรมระบบประสาทมีความพึงพอใจร้อยละ 95 (เป้าหมายร้อยละ 85) • ผลิตใช้ง่าย สะดวก สะอาด ปลอดภัยและราคาไม่แพง ผู้ป่วยปลอดภัยในขณะเคลื่อนย้ายภาพลเพิ่มประสิทธิภาพให้พยาบาลในการดูแลผู้ป่วยที่นอนบนเตียงและช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ • “ผ้ายก ดียกกำลังสอง” ใช้เจ้าหน้าที่ในการยกลดลงเหลือ 4 คน ใช้เวลาในการยก 1-2 นาที • การเกิดอุบัติการณ์ อาการปวดหลังของเจ้าหน้าที่จากการพลิกตะแคงตัวผู้ป่วยที่ค่าดัชนีมวลกาย≥30 = 0

  20. 10.บทเรียนที่ได้รับ : เขียนบทเรียนที่ได้รับในลักษณะของ bullet ในประเด็นต่อไปนี้ • 10.1ปัญหาหรือความท้าทายที่เกิดขึ้นในระหว่างดำเนินการและวิธีการจัดการกับความท้าทายเหล่านั้น • สมาชิกกลุ่มนำเสนอผ้ามาหลายชนิด ต้องค้นหาศึกษาข้อมูลคุณสมบัติของผ้าแต่ละชนิด เลือกดูผ้าตามร้านต่างๆ มากกว่า 3 ร้าน จึงได้เลือกผ้าที่เหมาะสมที่จะทำนวัตกรรมใช้กับผู้ป่วย ได้ข้อสรุป ว่าเลือกเนื้อผ้าที่คุณภาพดี ทนทาน

  21. 10.2ข้อแนะนำในสิ่งที่ควรปฏิบัติในลักษณะที่เป็น action-oriented และเหตุผลซึ้งชี้ให้เห็นความสำคัญของเรื่องนั้น ผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้และมีค่าดัชนีมวลกายเกิน เสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับที่ไหล่ ข้อศอก ท้ายทอย ข้างใบหู เข่า กระดูกก้นกบ การป้องกันเพื่อไม่ให้อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งได้รับแรงกดทับเป็นเวลานานๆ จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนท่านอนให้ผู้ป่วยอย่างน้อยทุก 2 ชั่วโมง นวัตกรรม “ผ้ายก ดียกกำลังสอง”เป็นอุปกรณ์ที่จะช่วยให้การยกเพื่อพลิกตะแคงตัวผู้ป่วยมีประสิทธิภาพ ป้องกันการเกิดแผลกดทับ เจ้าหน้าที่ใช้นวัตกรรมยกไม่เกิดโรคจาการทำงาน

  22. 10.3สิ่งที่เกิดขึ้นสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับกระบวนการ บริการ หรือส่วนอื่นใดในองค์กรได้บ้าง นวัตกรรม “ผ้ายก ดียกกำลังสอง”สามารถขยายผล นำนวัตกรรมไปใช้ได้ทุกหอผู้ป่วยที่เป็นผู้ป่วยผู้ใหญ่ ผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ และเป็นผู้ป่วยที่มีค่าดัชนีมวลกายเกิน เพราะถ้าเกิดแผลกดทับกับผู้ป่วยเพียง 1 คน ค่าใช้จ่ายก็จะเพิ่มขึ้น วันนอนรพ.ของผู้ป่วยก็เพิ่มตามมา ถ้าเจ้าหน้าที่เกิดภาวะเจ็บป่วยจากการทำงาน จะมีผลกระทบต่องานที่ทำ ครอบครัว สูญเสียรายได้ การป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดย่อมดีกว่าปล่อยให้เกิดแผลกดทับแล้วมาแก้ไข ในโอกาสต่อไปจะผลิตใช้กับผู้ป่วยที่น้ำหนักตัวปกติที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเอง เพราะเกิดประโยชน์กับผู้ป่วยและผู้ใช้นวัตกรรม

  23. THANK YOU

More Related