1 / 36

แนวทางการสอบสวนทางระบาดวิทยา

แนวทางการสอบสวนทางระบาดวิทยา. ความหมาย การสอบสวนโรค. การทำกิจกรรมเพื่อให้ได้ข้อมูลและข้อเท็จจริงต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ใช้วิธีการรวบรวมข้อมูลทางระบาดวิทยา จากแหล่ง ผู้ป่วย สิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง และการตรวจทางห้อง ปฏิบัติการ ทำให้เกิดความจริงและความรู้ ที่สามารถอธิบายถึงสาเหตุของการเกิดโรค

Télécharger la présentation

แนวทางการสอบสวนทางระบาดวิทยา

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. แนวทางการสอบสวนทางระบาดวิทยาแนวทางการสอบสวนทางระบาดวิทยา

  2. ความหมาย การสอบสวนโรค • การทำกิจกรรมเพื่อให้ได้ข้อมูลและข้อเท็จจริงต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง • ใช้วิธีการรวบรวมข้อมูลทางระบาดวิทยา • จากแหล่งผู้ป่วย สิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง และการตรวจทางห้อง ปฏิบัติการ • ทำให้เกิดความจริงและความรู้ • ที่สามารถอธิบายถึงสาเหตุของการเกิดโรค • และสามารถนำไปสู่การควบคุมและป้องกันโรคต่อไป

  3. วัตถุประสงค์ของการสอบสวนโรควัตถุประสงค์ของการสอบสวนโรค • เพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรคและยืนยันการระบาดของโรค • เพื่อหาเชื้อก่อโรคหรือสาเหตุการเกิดโรค

  4. วัตถุประสงค์ของการสอบสวนโรควัตถุประสงค์ของการสอบสวนโรค • เพื่อทราบลักษณะการเกิดโรคในผู้ป่วยแต่ละราย และรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการระบาดได้แก่ ประชากรกลุ่มที่เสี่ยงต่อการเกิดโรค ระยะเวลาของการระบาด การกระจายของโรค สาเหตุการระบาด แหล่งรังโรค และวิธีการถ่ายทอดโรค (ลักษณะทางระบาดวิทยาเชิงพรรณนา)

  5. วัตถุประสงค์ของการสอบสวนโรควัตถุประสงค์ของการสอบสวนโรค • เพื่อหาและกำหนดมาตรการในการควบคุมและป้องกันโรคอย่างมีประสิทธิภาพให้สงบโดยเร็ว และไม่ให้เกิดการระบาดอีก

  6. ประเภทของการสอบสวนโรคประเภทของการสอบสวนโรค • การสอบสวนผู้ป่วยเฉพาะราย (Individual case investigation) *** สำหรับสถานรักษาพยาบาล (ศูนย์สุขภาพชุมชน, สถานีอนามัย, คลินิก, โรงพยาบาล) • การสอบสวนการระบาด (Outbreak investigation) สำหรับสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ และ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด

  7. แนวทางในการดำเนินงานสอบสวนผู้ป่วยเฉพาะรายแนวทางในการดำเนินงานสอบสวนผู้ป่วยเฉพาะราย • 1.โรคอะไรบ้างที่ต้องสอบสวนเฉพาะรายเช่น • 1. โปลิโอ 5. อหิวาตกโรค • 2. คอตีบ6. หัด • 3. ไอกรน 7. พิษสุนัขบ้า • 4. บาดทะยัก 8. โรคที่เกิดผิดปกติในพื้นที่ • 9. DHF/DF/DSS (เฉพาะผู้ป่วยรายแรกในพื้นที่ และผู้ที่เสียชีวิต) • กรณีเสียชีวิตของผู้ป่วยเฝ้าระวัง/ไม่ทราบสาเหตุ

  8. 1. การจะรู้ว่ามีผู้ป่วยต้องสอบสวนควรพิจารณาแหล่งข่าวอย่างไรบ้าง ? • ใคร/อะไร ? บ้างที่ถือได้ว่าเป็นแหล่งข่าวที่ดี - เจ้าหน้าที่โรงพยาบาล, อสม - รง.506/507 , รายงานผลการชันสูตร - หนังสือพิมพ์, ข่าวสารจากสื่อมวลชน อินเตอร์เน็ต อื่นๆ • แหล่งข่าว อยู่ที่ไหนบ้าง ? - โรงพยาบาลชุมชน, โรงพยาบาลจังหวัด (รพศ.,รพท.) - ห้องชันสูตร หมู่บ้าน

  9. 2. เมื่อตรวจสอบข่าว ควรสอบถามอะไรบ้าง ? • ผู้ป่วยเป็นใคร ? : เพศ อายุ อาชีพ ที่อยู่ขณะป่วย • เข้ารับการรักษาเมื่อใด ? : วัน เวลา • ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นอะไร • ผลการตรวจพบอะไร • ผลการรักษาขณะได้รับข่าวเป็นอย่างไร

  10. 3. เมื่อออกไปทำการสอบสวนควรไปที่ใด พบใคร? • โรงพยาบาล - แพทย์ผู้รักษา: เปลี่ยนแปลงการวินิจฉัยหรือเปล่า - ห้องชันสูตร: ผล lab พบอะไร - ตัวผู้ป่วย : ให้รายละเอียดได้หรือไม่ • ที่อยู่ของผู้ป่วย - ครอบครัวของผู้ป่วย : อยู่ใกล้ชิดตลอดเวลาหรือเปล่า - เพื่อนบ้านใกล้เคียง : มีความสัมพันธ์ไปมาหาสู่หรือร่วม กิจกรรมกับผู้ป่วยในช่วงตั้งแต่ก่อนผู้ป่วยมีอาการหรือเปล่า

  11. 3. เมื่อออกไปทำการสอบสวนควรไปที่ใด พบใคร? (ต่อ) • ที่เรียน/ที่ทำงานของผู้ป่วย - เพื่อนใกล้ชิด : คลุกคลีกับผู้ป่วยในช่วงตั้งแต่ก่อนผู้ป่วยมีอาการหรือไม่ ?

  12. 4. ต้องรวบรวมข้อมูลอะไรบ้าง? • ที่อยู่ขณะเริ่มป่วย • อยู่ที่ไหน : ไป/มา ได้อย่างไร , พื้นที่ติดต่อกับอะไรบ้าง • สภาพเป็นอย่างไร - ลักษณะตามภูมิศาสตร์ : ป่าละเมาะ, ที่ลุ่ม น้ำขังเกือบตลอดปี - สภาพสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในบ้าน, บริเวณบ้านและเพื่อน บ้าน : ส้วม แหล่งน้ำกินน้ำใช้ ขยะ • ความครอบคลุมของการบริการสาธารณสุขเป็นอย่างไร - อยู่ห่างจากสถานบริการมาก การได้รับวัคซีนครบตามกำหนด

  13. 4. ต้องรวบรวมข้อมูลอะไรบ้าง? (ต่อ) • ตัวผู้ป่วย • ระยะก่อนป่วยยู่ที่ไหนไปไหนมา : ไปเฝ้าไข้ที่โรงพยาบาล • ระยะก่อนป่วย มีใครมาเยี่ยม/อาศัย ที่บ้านหรือไม่ • ระยะ 3-5 วันก่อนป่วย กินอะไรบ้าง ซื้อมาจากที่ไหน • เริ่มมีอาการ วัน/เวลาใด • มีอาการอะไรบ้าง • ให้การรักษา อะไรบ้าง ก่อนเข้าโรงพยาบาล : กิน/ฉีดยาอะไร

  14. 4. ต้องรวบรวมข้อมูลอะไรบ้าง? (ต่อ) • มีคนอื่นป่วยหรือไม่ • เมื่อไรบ้าง : ก่อนและหลังผู้ป่วยที่ได้รับแจ้งข่าว แสดงอาการป่วย • อยู่ที่ไหนบ้าง : บ้านเดียวกัน/ละแวกเดียวกัน/ที่ทำงาน ชั้นเรียน • รักษาที่ไหนกันบ้าง • มีคนที่อาจได้รับโรค (ผู้สัมผัส) กี่คน ใครบ้าง? • สมาชิกครอบครัวมีกี่คน ใครบ้างที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย • เพื่อนบ้านที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย • เพื่อนร่วมงาน เพื่อนนักเรียนในชั้นเรียนที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย

  15. 5. จะตรวจชันสูตรทางห้องปฏิบัติการได้อย่างไร? • ควรเก็บอะไรส่งตรวจบ้าง? • จากผู้ป่วยทุกรายหรือบางราย (จะเลือกอะไร?, ใครดี?) • จากผู้สัมผัสทุกรายหรือบางราย (จะเลือกอย่างไร?, ใครดี?: สัมผัสกับผู้ป่วยคนไหน?) • จากสิ่งแวดล้อม : อะไร? ตรงไหน? (เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยอย่างไร?)

  16. 6. เมื่อได้สอบสวนแล้วต้องดำเนินการเพื่อควบคุมโรคต่อใคร/อะไรบ้าง? • ผู้ป่วยที่พบใหม่ : จะรักษาและควบคุมการแพร่เชื้ออย่างไร? • ผู้สัมผัส: จะป้องกันไม่ให้ป่วยและควบคุมการแพร่เชื้ออย่างไร? • สิ่งแวดล้อม : จะทำลายเชื้อเพื่อลดการแพร่โรคได้อย่างไร? • ผู้อื่นที่อาจได้รับเชื้อภายหลัง (ผู้ที่เสี่ยงต่อโรค) : จะให้ความรู้และ/หรือให้ภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันไม่ให้ป่วยได้อย่างไร?

  17. 7. เมื่อเขียนรายงานการสอบสวนควรสรุปอะไรบ้าง? • การเกิดโรคครั้งนี้มีผู้ป่วยกี่คน, ตายกี่คน, ผู้สัมผัสกี่คน? • ตรวจพบเชื้ออะไรบ้างเป็นอัตราส่วนที่ตรวจพบเท่าใด : ผู้ป่วย/ผู้สัมผัส/สิ่งแวดล้อม • สถานการณ์ของโรคเป็นอย่างไร : มีแนวโน้มที่จะพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอีกหรือไม่ • จะติดตามเฝ้าระวังโรคในชุมชนอย่างไรนานแค่ไหน • ตามข้อมูลที่ได้มาจากการสอบสวนเห็นว่าจะควบคุมป้องกันให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร

  18. หมายเหตุ : • ควรทำบัญชีรายการ (Line listing) การตรวจวัตถุตัวอย่างและผู้ป่วยรายอื่น/ผู้สัมผัสที่ค้นหาพบจะสะดวกในการรวบรวมข้อมูล

  19. แนวทางในการดำเนินงานสอบสวนการระบาดแนวทางในการดำเนินงานสอบสวนการระบาด

  20. 1. เมื่อใดจึงจะทำการสอบสวนการระบาด • เมื่อเกิดการระบาด (Epidemic/Outbreak) • เมื่อพบผู้ป่วยด้วยโรคติดต่อร้ายแรงแม้เพียง 1 รายเช่นอหิวาตกโรคไข้กาฬหลังแอ่น • เมื่อพบผู้ป่วยที่ไม่เคยมีมาก่อนในท้องถิ่นแม้เพียง 1 ราย • เมื่อพบผู้ป่วยด้วยโรคซึ่งเคยเกิดการระบาดในท้องถิ่นแต่ควบคุมได้มาระยะหนึ่งแล้ว

  21. 2. การจะรู้ว่ามีการระบาดเกิดขึ้นต้องสอบสวนควรคำนึงถึงลักษณะอะไรของแหล่งข่าวบ้าง • ใคร/อะไรบ้างที่ถือได้ว่าเป็นแหล่งข่าวที่ดี • เจ้าหน้าที่สาธารณสุขตำบล/อำเภอ, ผสส./อสม. • E.4, Daily record, E.2, รายงานผลการชันสูตร • หนังสือพิมพ์, ข่าวสารจากสื่อมวลชนอื่นๆ • แหล่งข่าวอยู่ที่ไหนบ้าง • สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ, สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด • ห้องชันสูตร

  22. 3. เมื่อตรวจสอบข่าวควรสอบถามอะไรบ้าง • มีผู้ป่วย/ตายจำนวนเท่าใด • ส่วนใหญ่เป็นใคร : เพศอายุอาชีพ • พบผู้ป่วยส่วนใหญ่เมื่อไร : วันรับรักษาวันที่พบลักษณะการระบาด • ผู้ป่วยส่วนใหญ่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นอะไร • ผลการตรวจชันสูตรพบอะไร • ผลการรักษาขณะได้รับแจ้งข่าวเป็นอย่างไร

  23. 4. การยืนยันการระบาดจะทำได้อย่างไร • เปรียบเทียบจำนวนผู้ป่วยในปีนี้กับค่าเฉลี่ยของปีก่อนๆในช่วงเดียวกันเช่นข้อมูลใน E.2 และ Daily record

  24. 5. ก่อนลงมือสอบสวนต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง • มีวัตถุประสงค์ที่ต้องการจะรู้อะไรเช่น • หาขอบเขตการระบาดเชื้อสาเหตุแหล่งโรค • หาวิธีการถ่ายทอดโรค • ในการดำเนินการสอบสวนจะทำอะไรบ้างอย่างไรดีเช่น • ค้นหาผู้ป่วยในชุมชนโดยการสัมภาษณ์ • หาปัจจัยที่เป็นสาเหตุของการระบาดโดยการเปรียบเทียบการได้รับปัจจัยเสี่ยงระหว่างผู้ป่วยและผู้ที่ไม่ป่วย

  25. 5. ก่อนลงมือสอบสวนต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง(ต่อ) • คำจำกัดความในการสอบสวนนี้มีอะไรบ้าง • ผู้ป่วยคือใครเช่นผู้ป่วยหมายถึงผู้ที่มีอาการ 2/3 ของอาการต่อไปนี้...................โดยมีวันเริ่มป่วยระหว่างวันที่.........ถึงวันที่........ • Control คือใครเช่น control ได้แก่ผู้ที่ไม่มีอาการอยู่ในกลุ่มอายุเดียวกันกับผู้ป่วย • จะใช้วิธีการคำนวณทางสถิติอะไรดี • อัตราอัตราส่วนสัดส่วน • Chi-square test , t-test • Odds ratio/Relative risk

  26. 6. ควรไปพบใครบ้างและควรรวบรวมข้อมูลอะไร • แพทย์ผู้รักษา • เปลี่ยนแปลงการวินิจฉัยหรือไม่ • ผู้ป่วยที่เข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาทั้งหมดมีกี่คนตายกี่คน • ผู้ป่วย/ตายที่แพทย์ให้การวินิจฉัยแล้วมีอาการอะไรบ้างที่สำคัญเช่น • ถ่ายอุจจาระเป็นน้ำเกิน 3 ครั้ง 100% • อาเจียน 90% • ปวดท้อง 80%

  27. 6. ควรไปพบใครบ้างและควรรวบรวมข้อมูลอะไร(ต่อ) • สาธารณสุขจังหวัด/ศูนย์ระบาดอำเภอ • สถานการณ์ก่อนหน้านี้เป็นอย่างไร • ความถี่ของการเกิดโรคช่วงนี้เกินค่าเฉลี่ยเดิมไปมากกว่า 2 เท่าของค่าSD,Median หรือไม่ • แนวโน้มของโรคเป็นอย่างไร • หัวหน้าชุมชน(กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน/ครูใหญ่) • ใครป่วยบ้างตามตามคำจำกัดความอยู่ที่ไหน

  28. 6. ควรไปพบใครบ้างและควรรวบรวมข้อมูลอะไร(ต่อ) • ผู้ที่เป็นผู้ป่วยตามคำจำกัดความ • เพศอายุอาชีพวัน/เวลาและที่อยู่เมื่อเริ่มป่วย • มีอาการอะไรบ้าง • มีพฤติกรรมอะไรบ้างก่อนมีอาการป่วย

  29. 7. ตั้งสมมุติฐานอะไรบ้าง • การระบาดเกิดจากแหล่งโรคแบบไหน : แหล่งโรคร่วมแหล่งโรคแพร่กระจายจาก Epidemic curve • แหล่งโรคน่าจะอยู่บริเวณไหน : พื้นที่บริเวณที่มีอัตราป่วยสูงจาก spot map • อะไรน่าจะเป็นสาเหตุของการระบาด : ปัจจัยเสี่ยง (risk factor) จาก Agent specific attack rate

  30. 8. จะพิสูจน์สมมุติฐานได้อย่างไรบ้าง • ทำ Case control study : การระบาดในชุมชนใหญ่ประชากรมาก • ทำ Retrospective cohort study : การระบาดในสถาบันเล็กประชากรน้อย

  31. 9. จะยืนยันโดยการตรวจชันสูตรทางห้องปฏิบัติการได้อย่างไร • ควรเก็บอะไรส่งตรวจส่งตรวจ • จากผู้ป่วยทุกรายหรือบางราย (จะเลือกอย่างไรใครดี ) • จาก control ทุกรายหรือบางราย (จะเลือกอย่างไรใครดี mach กับผู้ป่วยอย่างไร ) • จากสิ่งแวดล้อม : บริเวณไหน • ส่งตรวจอะไรที่ไหนที่ไหนดี

  32. 10. เมื่อสอบสวนแล้วต้องดำเนินการเพื่อควบคุมการระบาดต่อใครอะไรบ้าง • ผู้ป่วยที่ค้นพบทั้งหมดระหว่างการสอบสวน : จะรักษาและควบคุมการแพร่เชื้ออย่างไร • ผู้สัมผัสของผู้ป่วยทุกราย : จะป้องกันไม่ให้ป่วยและควบคุมการแพร่เชื้ออย่างไร • สิ่งแวดล้อม : จะทำลายเชื้อเพื่อลดการแพร่โรคได้อย่างไร • ผู้ที่อาจได้รับเชื้อภายหลัง (ผู้ที่เสี่ยงต่อโรค) : จะให้ความรู้และ/หรือให้ภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันไม่ให้ป่วยได้อย่างไร

  33. 11. เมื่อเขียนรายงานการสอบสวนการระบาดควรสรุปอะไรบ้าง • การระบาดครั้งนี้มีผู้ป่วย/ตายกี่คน • การระบาดเริ่มตั้งแต่เมื่อไร (ถึงเมื่อไร) • ผู้ป่วย/ตายเป็นใครบ้าง • อะไรเป็น means / vectors ของการระบาด • Source / reservoir อยู่ที่ไหนจากข้อมูลการสอบสวน • เชื้อ / agent อะไรและผลการชันสูตร

  34. 11. เมื่อเขียนรายงานการสอบสวนการระบาดควรสรุปอะไรบ้าง(ต่อ) • แนวโน้มของสถานการณ์การระบาดเป็นอย่างไร (จาก Epidemic curve) • จะติดตามเฝ้าระวังอย่างไรนานเท่าใดประมาณ 2 เท่าของระยะฟักตัวของโรค • จากข้อมูลการสอบสวนเห็นว่าการควบคุม/ป้องกันที่มีประสิทธิภาพควรประกอบด้วยอะไรบ้าง

More Related