1 / 11

การแปรสัณฐานของแผ่นธรณี

การแปรสัณฐานของแผ่นธรณี.

jiro
Télécharger la présentation

การแปรสัณฐานของแผ่นธรณี

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การแปรสัณฐานของแผ่นธรณีการแปรสัณฐานของแผ่นธรณี

  2. ธรณีแปรสัณฐาน ( Geotectonic) เป็นการศึกษาด้านธรณีเพื่อใช้อธิบายการเปลี่ยนแปลงและการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก โดยกระบวนการเปลี่ยนแปลงเคลื่อนไหวของเปลือกโลกเกิดจากการพาความร้อนของเปลือกโลกในชั้นหลอมเหลว (Mantle Convection)เนื่องจากพลังงานความร้อนของโลกทำให้เกิดกลไกของการพาความร้อน เป็นสาเหตุทำให้แผ่นทวีป (Plate) มีการเคลื่อนที่ไปตามการพาความร้อนของชั้นเปลือกโลกชั้นหลอมเหลวในช่วงปี ค.ศ.1960 - 1970 ได้มีการสรุปแนวความคิด ทฤษฎีที่สำคัญได้แก่ ทฤษฎีทวีปเลื่อน (Continental Drift Theory) ทฤษฎีธรณีแปรสัณฐาน  (Plate Tectonic Theory)

  3. ทฤษฎีธรณีแปรสัณฐาน (Plate Tectonic Theory) เป็นการอธิบายถึงลักษณะของผิวโลกที่มีความแตกต่างกัน เช่นความสูงต่ำแตกต่างกัน บางแห่งเกิดเป็นเทือกเขาสูงกลางทวีป บางแห่งจะเป็นที่ราบ ที่พื้นมหาสมุทรเองก็มีทั้งเกาะแก่ง เทือกเขา และร่องลึก ทฤษฎีว่าด้วยกลไกของการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก โดยมีหลักฐานประกอบบ่งชี้ชัดเจน  จึงทำให้เป็นทฤษฎีที่ได้รับความนิยมอยู่ในปัจจุบันนี้

  4. ทฤษฎีทวีปเลื่อนไหล หรือ ทฤษฎีการเลื่อนไหลของทวีป ดร. อัลเฟรดเวเกเนอร์ (Dr.Alfred  Wegener) ได้ตั้งสมมติฐานว่าผืนแผ่นดินทั้งหมดบนโลกแต่เดิมเป็นแผ่นดินผืนเดียวกัน  เรียกว่า  พันเจีย(Pangaea) และมหาสมุทรที่อยู่รอบๆ เรียกว่า พันทาลัสซา (Panthalassa) ต่อมาเมื่อประมาณ  200  ล้านปีที่แล้ว  พันเจียเริ่มแยกออกเป็นทวีปใหญ่   2 ทวีป  คือ1. ลอเรเซียทางตอนเหนือ 2. กอนด์วานาทางตอนใต้  อัลเฟรดเวเจเนอร์ (Alfred Wegener)

  5. ต่อมาในยุคไตรแอสสิก ประมาณ  200  ล้านปีที่แล้ว  พันเจียเริ่มแยกออกเป็นทวีปใหญ่  2 ทวีป  คือ ลอเรเซียทางตอนเหนือและกอนด์วานาทางตอนใต้ ลอเรเซีย (Laurasia) ประกอบด้วยทวีปอเมริกาเหนือ กรีนแลนด์ยูเรเซีย (ยกเว้นอินเดีย) และดินแดนทางซีกโลกใต้ เรียกว่า กอนด์วานา (Gondwana)ประกอบด้วยทวีปอเมริกาใต้ ทวีปแอฟริกา ทวีปแอนตาร์กติกา ทวีปออสเตรเลีย อนุทวีปอินเดีย เกาะมาดากัสการ์ จนเมื่อประมาณ 210-140 ล้านปีที่ผ่านมาออสเตรเลียยังคงเชื่อมอยู่กับแอนตารกติกา  และอเมริกาเหนือกับยุโรปก็ยังคงต่อเนื่องกัน 

  6. ประมาณ 140-66.4 ล้านปี มหาสมุทรแอตแลนติกแยกตัวกว้างขึ้น ทำให้แอฟริกาเคลื่อนที่ห่างออกไปจากอเมริกาใต้  และอินเดียได้เคลื่อนไปชนกับเอเชียจนเกิดเป็นภูเขาหิมาลัยซึ่งทำให้เกิดแผ่นดินและมหาสมุทรดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน 

  7. นักธรณีวิทยา  แบ่งเปลือกโลกออกเป็นแผ่น ๆ  เรียกว่าแผ่นเปลือกโลก(Plate)   หรือแผ่นธรณีภาค(Lithosphere Plate) แผ่นธรณีภาคขนาดใหญ่ มีทั้งหมด 6 แผ่น      1. แผ่นธรณีภาคยูเรเซีย(Eurasian Plate) รองรับทวีปยุโรป ทวีปเอเชียและพื้นน้ำบริเวณใกล้เคียง      2. แผ่นธรณีภาคอเมริกา(American Plate) รองรับทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปอเมริกาใต้และพื้นน้ำ ครึ่งซีกตะวันตกของมหาสมุทรแอตแลนติก      3. แผ่นธรณีภาคแปซิฟิก(Pacific Plate) รองรับมหาสมุทรแปซิฟิก      4. แผ่นธรณีภาคอินเดีย – ออสเตรเลีย (India-Australian Plate) รองรับทวีปออสเตรเลีย ประเทศอินเดีย และพื้นน้ำระหว่างประเทศออสเตรเลียกับประเทศอินเดีย      5. แผ่นธรณีภาคแอนตาร์กติก(Antartic Plate) รองรับทวีปแอนตาร์กติกและพื้นน้ำโดยรอบ      6. แผ่นธรณีภาคอัฟริกา(African Plate) รองรับทวีปอัฟริกาและพื้นน้ำโดยรอบ นอกจากนี้ยังมีแผ่นธรณีภาคขนาดเล็กที่แทรกอยู่ระหว่าง แผ่นธรณีภาคขนาดใหญ่ รวมกันมีจำนวน 13 แผ่น ได้แก่ แผ่นฟิจิ แผ่นฟิลิปปินส์  แผ่นนาสกา  แผ่นคาริบเบียน แผ่นคาริบเบียน  แผ่นคอคอส  แผ่นนาสกา

  8. หลักฐานและข้อมูลทางธรณีวิทยาหลักฐานและข้อมูลทางธรณีวิทยา รอยต่อของแผ่นธรณีภาค เมื่อนักเรียนนำแผ่นภาพแต่ละทวีปมาต่อกันจะเห็นว่ามีส่วนที่สามารถต่อกันได้พอดี  เช่น   ขอบตะวันออกของอเมริกาใต้สามารถต่อกับขอบตะวันตกของทวีปแอฟริกาใต้ได้พอดี  

  9. การค้นพบซากดึกดำบรรพ์การค้นพบซากดึกดำบรรพ์ นักธรณีวิทยาเชื่อว่าซากดึกดำบรรพ์ของสิ่งมีชีวิต ต่าง ๆ ในแต่ละแผ่นธรณีภาคน่าจะเป็นหลักฐาน อีกอย่างหนึ่งซึ่งใช้ยืนยันเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง ธรณีภาคของโลกได้ เพราะถ้าเป็นหินที่เคยเกิดอยู่ใน พื้นที่เดียวกันมาก่อน  เมื่อแผ่นธรณีภาคแยกจากกัน ไปแล้ว  ลักษณะของซากดึกดำบรรพ์และหินก็ควร จะเหมือนกันจากการสำรวจค้นพบพืชตระกูลเฟิร์น กลอซซอพเทอริสและสัตว์เลื้อยคลานมีโซซอรัส กระจายไปอยู่ในทวีปต่างๆที่ห่างไกลกัน กลอซซอพเทอริส มีโซซอรัส

  10. หลักฐานอื่น ๆ ยังมีหลักฐานการเปลี่ยนแปลงของอากาศที่ทำให้เกิดการสะสมตัวของตะกอนในบริเวณต่าง ๆ ของโลก  เช่น  หินที่เกิดจากตะกอนธารน้ำแข็งซึ่งควรจะเกิดขึ้นบริเวณขั้วโลก  แต่ปัจจุบันพบหินลักษณะนี้ในบริเวณชายทะเลทางตอนใต้ของอัฟริกาและอินเดียว เป็นต้น  แสดงว่า แผ่นทวีปมีการเคลื่อนที่หลังจากที่มีการ สะสมตะกอนจากธารน้ำแข็งแล้ว

  11. ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ • วีดีโอเพิ่มเติม http://www.youtube.com/watch?v=ZkE0YFgubgQ http://www.youtube.com/watch?v=eeWugS6ClhU • ความรู้เพิ่มเติม http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type2/science04/34/index.html http://geothai.net/gneiss/?p=120 https://sites.google.com/site/geology2555/1-lok/1-3-thvsdi-thrni-paer-san-das • สื่อการเรียนรู้เพิ่มเติม ครูติ๊ก http://www.learnbytechno.com/

More Related