1 / 24

ที่ทำการปกครองจังหวัดตรัง

ที่ทำการปกครองจังหวัดตรัง. ประวัติ และรายละเอียดของสำนักงาน.

Télécharger la présentation

ที่ทำการปกครองจังหวัดตรัง

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ที่ทำการปกครองจังหวัดตรังที่ทำการปกครองจังหวัดตรัง

  2. ประวัติ และรายละเอียดของสำนักงาน กรมการปกครอง เป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงมหาดไทย ดำเนินงานเกี่ยวกับการรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงภายใน การบริหารการปกครองท้องที่ในระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้านการดำเนินการและพัฒนาระบบงานทะเบียนราษฎรและการขออนุญาตต่างๆ ตามกฎหมาย

  3. โครงสร้างที่ทำการปกครองจังหวัดตรังแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม

  4. กลุ่มงานความมั่นคง มีหน้าที่ ดำเนินการเกี่ยวกับ การรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงภายใน (ยาเสพติด มวลชน อาชญากรรม ป่าไม้ และรักษาความปลอดภัย แผนยุทธศาสตร์ความมั่นคง การพนันและแรงงานต่างด้าว) การจัดระเบียบสังคม งานกิจการชายแดน งานกิจการผู้อพยพ งานกิจการชนกลุ่มน้อย การแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนและความขัดแย้งของประชาชนในพื้นที่ การดำเนินงานวิทยาลัยลูกผู้ชาย การจับกุมและติดตามผู้ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดานด้านการสื่อสาร การดำเนินการเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดที่อยู่ในความรับผิดชอบ การจับกุมการบุกรุกทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การข่าว การประชุมโต๊ะมอบหมาย

  5. ศูนย์อำนวยการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด จังหวัดตรัง (ศพส.จ.ตรัง)ประวัติการจัดตั้งศูนย์อำนวยการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด จัดตั้งขึ้นตามนโยบายของรัฐบาลที่ได้แถลงไว้ต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ 23สิงหาคม 2554 โดยอาศัยอำนาจตามความในพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ให้ทุกหน่วยงานถือปฏิบัติเป็นแนวทางการปฏิบัติราชต่อไป

  6. การจัดตั้งศูนย์อำนวยการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติดขึ้นอย่าเป็นรูปธรรม เนื่องจากปัญหายาเสพติดที่ได้แพร่ระบาดขึ้นอย่างรวดเร็ว สร้างความทุกข์เดือดร้อนแก่ประชาชนในทุกพื้นที่ และได้ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น จนเกิดเป็นวิกฤตสำคัญของชาติบ้านเมืองอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งรัฐบาลถือเป็นวาระแห่งชาติ ทุกภาคส่วนต้องเร่งแก้ไขปัญหายาเสพติด อย่างจริงจังและต่อเนื่อง

  7. โครงสร้างการบริหารนายธีระยุทธ เอี่ยมตระกูล นายไชยยศ ธงไชย ผอ.สนง.ศพส.จ.ตรัง รอง ผอ.สนง.ศพส.จ.ตรัง นายประโยชน์ สมศักดิ์ นายอมรเศรษฐ์ สุวรรณมาศ เลขานุการ สนง.ศพส.จ.ตรัง หน.สนง.ศพส.จ.ตรัง นางสาวนพลักษณ์ พงษ์พิพัฒน์ด.ต.ธารัตน์ แดหวา ผู้ช่วยเลขานุการ สนง.ศพส.จ.ตรัง ผบ.หมู่ (ป) สภ.สิเกา ช่วยราชการสนง.ศพส.จ.ตรังนางสาวสุนิษา ท่าจีน เจ้าหน้าที่ สนง.ศพส.จ.ตรังนางนวพรรณ พรายพรรณ เจ้าหน้าที่ สนง.ศพส.จ.ตรัง

  8. อำนาจหน้าของศูนย์อำนวยการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด- จัดทำแผนปฏิบัติการ แผนงาน และโครงการต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่จังหวัด รองรับแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหายาเสพติดที่กำหนดขึ้นโดยร่วมกับส่วนราชการ หน่วยงานภาคเอกชน หรือองค์กรภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง - จัดวางระบบข้อมูลข่าวสารด้านยาเสพติด ติดตามและประเมินสถานการณ์ปัญหายาเสพติดในพื้นที่จังหวัดและปัญหาที่เกี่ยวเนื่อง- สั่งการหรือมอบหมายให้หน่วยงานราชการและหน่วยงานในพื้นที่จังหวัด ดำเนินการในลักษณะบูรณาการทั้งแผนงาน และงบประมารและการปฏิบัติ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด

  9. - จัดกิจกรรมรณรงค์ป้องกันกลุ่มผู้มีโอกาสเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดกลุ่มเสี่ยงต่างๆ และจัดให้มีการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้เสพยาเสพติดในชุมชนอย่างเพียงพอ - อำนวยการ ประสานงาน เร่งรัด ตรวจสอบติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่จังหวัด ของส่วนราชการ หน่วยงานภาคเอกชน และองค์กรภาคประชาชนที่เกี่ยวข้อง

  10. หน้าที่หลักที่รับผิดชอบหน้าที่หลักที่รับผิดชอบ • ดาวน์โหลดเอกสารคำสั่ง และวาระการประชุมลงเว็บไซต์ของ ศพส.จ.ตรัง • ออกเลขหนังสือ • ถอดเทปและพิมพ์รายงานการประชุม • ส่งแฟลกซ์ • พิมพ์ดีด • จัดเตรียมเอกสารและอุปกรณ์ในการจัดโครงการนอกพื้นที่ • ส่งจดหมายที่ช่องรังนกห้องปกครอง และไปรษณีย์ • ถ่ายเอกสาร • พิมพ์ดีด • ลงรับหนังสือภายใน

  11. กิจกรรมที่เข้าร่วมระหว่างสหกิจศึกษากิจกรรมที่เข้าร่วมระหว่างสหกิจศึกษา การจัดอบรมโครงการพัฒนาประสิทธิภาพ

  12. ไปดูงานโครงการชุมชนอุ่นใจได้ลูกหลานกลับคืน จังหวัดสงขลา

  13. การตรวจติดตามผู้เข้ารับการบำบัดยาเสพติดการตรวจติดตามผู้เข้ารับการบำบัดยาเสพติด

  14. หัวข้อวิจัย บทบาทและปัญหาในการดำเนินโครงการ “ชุมชนอุ่นใจได้ลูกหลานกลับคืน X-Rayเชิงรุก 90วัน”: กรณีศึกษาศูนย์อำนวยการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติดจังหวัดตรัง(ศพส.จ.ตรัง) วัตถุประสงค์ในการศึกษา 1.เพื่อศึกษาบทบาทของเจ้าหน้าที่ในการดำเนินโครงการชุมชนอุ่นใจได้ลูกหลานกลับคืน X-Rayเชิงรุก 90วัน 2.เพื่อนำมาใช้แก้ไขปัญหายาเสพติด ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งปรับปรุงโครงการชุมชนอุ่นใจได้ลูกหลานกลับคืน X-Rayเชิงรุก 90 วัน

  15. สรุปผลการวิจัย การศึกษาบทบาทของเจ้าหน้าที่ พบว่า บทบาทของเจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่จะมีการติดต่อประสานงานกับอำเภอ ศาลากลางจังหวัด มีการติดตามผลผู้เสพยาเสพติดเดือนละ 1ครั้ง ส่วนใหญ่จะใช้วิธีการสอบถามจากผู้นำชุมชน บทบาทของเจ้าหน้าที่รัฐ ประชาชน มีส่วนช่วยให้โครงการบรรลุตามเป้าหมาย และช่วยแนะนำ/ประชาสัมพันธ์ถึงโทษพิษภัยของยาเสพติด การศึกษาปัญหาในการดำเนินบทบาทและปัญหา พบว่า ปัญหาระหว่างการดำเนินโครงการ คือการขาดความร่วมมือจากประชาชน การไม่รู้หนังสือของประชาชน ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่จะให้ความร่วมมือในระดับปานกลาง และสาเหตุที่ประชาชนไม่ให้ความร่วมมือกับโครงการ เพราะประชาชนกลัวว่าจะถูกปองร้ายจากผู้เสพยาเสพติด

  16. ประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้จากการไปสหกิจศึกษาประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้จากการไปสหกิจศึกษา การปรับตัว

More Related