1 / 23

โดย นายยุทธสงค์ นามสาย กลุ่มวิชาการเพื่อการพัฒนาที่ดิน สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 3

สาธิตการใช้ผลิตภัณฑ์อินทรีย์บางชนิดเพื่อเพิ่มผลผลิต และคุณภาพของหอมแดงในกลุ่มชุดดินที่ 35 จังหวัดศรีสะเกษ. โดย นายยุทธสงค์ นามสาย กลุ่มวิชาการเพื่อการพัฒนาที่ดิน สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 3. ความสำคัญ.

kanoa
Télécharger la présentation

โดย นายยุทธสงค์ นามสาย กลุ่มวิชาการเพื่อการพัฒนาที่ดิน สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 3

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สาธิตการใช้ผลิตภัณฑ์อินทรีย์บางชนิดเพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพของหอมแดงในกลุ่มชุดดินที่ 35 จังหวัดศรีสะเกษ โดยนายยุทธสงค์นามสาย กลุ่มวิชาการเพื่อการพัฒนาที่ดิน สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 3

  2. ความสำคัญ หอมแดงเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดศรีสะเกษ ทำรายได้ให้จังหวัดประมาณ 400-700 ล้านบาทต่อปี อำเภอยางชุมน้อย เป็นแหล่งผลิตที่สำคัญที่สุดของจังหวัด เป็นพืชที่สามารถสร้างงานสร้างรายได้ให้กับคนในท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี ปัจจุบันเกษตรกรมีการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีกันมาก ทำให้มีต้นทุนที่ค่อนข้างสูง และอาจมีสารพิษตกค้างในผลผลิตได้ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเกษตรกรและประชาชนผู้บริโภค ในฐานะเป็นนักวิชาการในพื้นที่ ที่มีการผลิตหอมแดงเพื่อการค้าเป็นอันดับหนึ่งของประเทศ และกรมพัฒนาที่ดินมีผลิตภัณฑ์ พด. ที่ส่งเสริมให้เกษตรกรใช้หลายชนิด มีแนวคิดอยากส่งเสริมการใช้ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของกรมฯ ในการผลิตหอมแดง เพื่อช่วยให้ได้ผลผลิตที่ดี มีคุณภาพ ปลอดภัย และลดต้นทุนการผลิต แต่เพื่อให้การแนะนำส่งเสริมการใช้ผลิตภัณฑ์อินทรีย์กับการผลิตหอมแดง เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องศึกษาเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจนว่าผลิตภัณฑ์อินทรีย์ต่าง ๆ นั้น มีผลดี และสามารถช่วยยกระดับผลผลิตหอมแดงได้ดีมากน้อยเพียงใด

  3. วัตถุประสงค์ • เพื่อศึกษาผลของการใช้ปุ๋ยพืชสด โดโลไมท์ ปุ๋ยพืชสด ผลิตภัณฑ์อินทรีย์ พด.2 พด.3 พด.7 แลปุ๋ยเคมีที่มีผลต่อผลผลิตและคุณภาพหอมแดงในกลุ่มชุดดินที่ 35 • เพื่อศึกษาผลตอบแทนทางเศรษฐกิจจากการใช้ปุ๋ยพืชสด โดโลไมท์ ผลิตภัณฑ์พด.2 พด.3 พด.7 และปุ๋ยเคมีในการปลูกหอมแดงในกลุ่มชุดดินที่ 35

  4. อุปกรณ์ 1.เมล็ดพันธุ์ถั่วพร้า หัวพันธุ์หอมแดง 2. ปูนโดโลไมท์ (อัตรา 920 กก./ไร่ ตามความต้องการปูนของดิน) 3.ปุ๋ยหมัก(สำหรับผลิตปุ๋ยหมักชีวภาพ ผลิตภัณฑ์ พด.3) 4.ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 5.สารเคมีป้องกันวัชพืชและโรค - แมลง 6.วัสดุคลุมดิน (ฟางข้าว) 7.สารเร่ง พด.2 3 7 สำหรับทำผลิตภัณฑ์ พด. -ผลิตภัณฑ์ พด.2 คือ น้ำหมักชีวภาพที่ผลิตจากสารเร่ง พด.2 - ผลิตภัณฑ์ พด.3 คือ ปุ๋ยหมักชีวภาพควบคุมเชื้อสาเหตุโรคพืชที่ผลิตจากสารเร่ง พด.3 - ผลิตภัณฑ์ พด.7 คือ สารสกัดสมุนไพรป้องกันแมลงศัตรูพืชที่ผลิตจากสารเร่ง พด.7

  5. การดำเนินงาน 1. การใส่ผลิตภัณฑ์ พด.3(ปุ๋ยหมักชีวภาพควบคุมเชื้อสาเหตุโรคพืชจากสารเร่ง พด.3) ใส่พร้อมการเตรียมดินครั้งสุดท้าย โดยหว่านให้ทั่วทั้งแปลงใน อัตรา 100 กก. /ไร่ 2.ปูนโดโลไมท์ ใส่หลังเตรียมดินครั้งสุดท้ายก่อนปลูกหอมแดง 3.การใช้น้ำหมักชีวภาพ พด.2 ใช้วิธีฉีดพ่นทางใบในอัตรา 20 ลิตร/ไร่/ครั้ง (ผสมกับน้ำ1:400) ฉีดพ่นทุก15วัน ตั้งแต่อายุ15วันจนถึง60วัน(จำนวน 4 ครั้ง)

  6. 4. การปลูกและสับกลบพืชปุ๋ยสดปลูกประมาณ ก.ค-ส.ค) อัตราเมล็ดพันธุ์ 10 กก./ไร่ ด้วยวิธีหว่านเมล็ดแล้วคราดกลบ สับกลบเมื่ออายุ 50 วัน5. การปลูกหอมแดง ระยะปลูก 15 x 15 ซ.มก่อนปลูกต้องรดน้ำแปลงให้มีความชื้นพอเหมาะ ให้ลึกประมาณครึ่งหัว คลุมแปลงด้วยฟางข้าว อัตราประมาณ 800 กก./ไร่ (ปลูกหอมแดงกลางเดือนต.ค พร้อมกันทุกแปลง)

  7. วิธีการทดลอง • ดำเนินการทดลองแบบ Observation Trial มี 5 วิธีการ ดังนี้

  8. วิธีการที่ 1 CHECK(ไม่ใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีกำจัดศัตรูพืช)

  9. วิธีการที่ 2 วิธีเกษตรกร (ใช้ปุ๋ยเคมี 13-13-21 อัตรา 80 กก./ไร่+สารเคมีกำจัดวัชพืช และศัตรูพืช)

  10. วิธีการที่ 3 ปุ๋ยพืชสด ปูนโดโลไมท์ ผลิตภัณฑ์ พด.1 2 3 7 (ไม่ใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมี)

  11. วิธีการที่ 4 ปุ๋ยพืชสด โดโลไมท์ ผลิตภัณฑ์ พด.1 2 3 7 +ปุ๋ยเคมี 13-13-21 อัตรา 40 กก./ไร่

  12. วิธีการที่ 5 ปุ๋ยพืชสด โดโลไมท์ ผลิตภัณฑ์ พด.1 2 3 7 +ปุ๋ยเคมี 13-13-21 อัตรา 40 กก./ไร่

  13. ผลการวิจัย

  14. 1. ผลการวิเคราะห์ดิน

  15. 2. มวลชีวภาพพืชปุ๋ยสด(กก./ไร่)

  16. 3. ผลผลิตหอมแดง

  17. 4. จำนวนหัวหอมแดงต่อกิโลกรัม

  18. 5.ต้นทุนและผลตอบแทนทางด้านเศรษฐกิจ(บาทต่อไร่)5.ต้นทุนและผลตอบแทนทางด้านเศรษฐกิจ(บาทต่อไร่)

  19. รายละเอียดต้นทุนพื้นฐาน (บาท/ไร่)

  20. สรุปผลการทดลอง • การที่ใช้ปุ๋ยพืชสด โดโลไมท์ และผลิตภัณฑ์ พด.2,3 และ7 สมบัติของดินมีแนวโน้มดีขึ้น • การใช้ปุ๋ยพืชสด โดโลไมท์ และผลิตภัณฑ์ พด.2,3 และ7 ให้ผลผลิตหอมแดงเพิ่มขึ้นจาก Control51% และเมื่อใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมี ได้ผลผลิตเพิ่ม 63%-66% ขณะที่การใช้ปุ๋ยเคมีอัตรา 80 กก./ไร่และใช้สารเคมีป้องกันกำจัดวัชพืช-ศัตรูพืช (วิธีเกษตรกร) ให้ผลผลิตเพิ่ม 66% เช่นกัน แต่อย่างไรก็ตามวการที่ใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมี(วิธีการของเกษตรกร) กับการใช้ปุ๋ยพืชสด โดโลไมท์ และผลิตภัณฑ์ พด.2,3 และ7 (ไม่ใช้สารเคมี) แต่ใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมี พบว่า ให้ผลผลิตไม่แตกต่างกัน • จำนวนหัวหอมแดงต่อกิโลกรัมพบว่าการใช้ปุ๋ยพืชสด โดโลไมท์ และผลิตภัณฑ์ พด.2,3 และ7ทั้งที่ใช้โดยไม่ใช้สารเคมี หรือใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมี มีจำนวนหัวต่อกิโลกรัมน้อยกว่าการใช้ปุ๋ยเคมี (วิธีการของเกษตรกร) แสดงว่าหอมแดงมีขนาดของหัวที่โตกว่า และมีคุณภาพดีกว่า • การผลิตหอมแดงมีต้นทุนค่อนข้างสูง (ระหว่าง 11,550- 18,340 บาท/ไร่)โดยการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีมีต้นทุนที่สูงที่สุด สูงกว่าการที่ใช้ปุ๋ยพืชสด โดโลไมท์ และผลิตภัณฑ์ พด.2,3 และ7 (ไม่ใช้สารเคมี) 23.9% สำหรับผลตอบแทนที่เป็นกำไรพบว่า ทั้งวิธีของเกษตรกร และ วิธีการใช้ปุ๋ยพืชสด+โดโลไมท์+ ผลิตภัณฑ์ พด.2,3,7 ทั้งที่ไม่ใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมี และใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมีต่างให้ผลตอบแทนที่เป็นกำไร มีเพียงแปลงควบคุมเท่านั้นที่ให้ผลตอบแทนขาดทุน

  21. ข้อคิดเห็นและเสนอแนะ 1.) การใช้ผลิตภัณฑ์ พด. ซึ่งไม่ใช้สารเคมีสำหรับป้องกันกำจัดวัชพืช มีปัญหาเรื่องวัชพืชรบกวนมาก ซึ่งการจัดการวัชพืชในแปลงหอมต้องใช้แรงงานคนเท่านั้น ทำให้เกิดต้นทุนในการกำจัดวัชพืชค่อนข้างสูง (1,500 บาท/ไร่) ซึ่งถ้าหากลดต้นทุนส่วนนี้ได้จะทำให้การใช้ผลิตภัณฑ์ พด.มีกำไรที่เพิ่มขึ้น และ การถอนวัชพืชในแปลงมีผลกระทบกระเทือนต่อการเจริญเติบโตของหอมแดงค่อนข้างมาก อันอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่กระทบต่อการให้ผลผลิต 2.) ควรมีการนำผลิตภัณฑ์พัฒนาที่ดินชนิดอื่น ๆ เช่น สารเร่ง พด.12 ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงสูตรกรมพัฒนาที่ดิน มาร่วมทดสอบด้วย 3.) น่าจะมีการศึกษาผลของการใช้ผลิตภัณฑ์พัฒนาที่ดินที่มีต่อคุณภาพในด้านการเก็บรักษาผลผลิตหอมแดง(หัวฝ่อ) น่าจะเกิดประโยชน์ได้มากยิ่งขึ้น

  22. ขอแสดงความขอบคุณสวัสดีครับขอแสดงความขอบคุณสวัสดีครับ

More Related