1 / 140

ภาควิชาวิทยุโทรทัศน์ กลุ่มสาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา

ภาควิชาวิทยุโทรทัศน์ กลุ่มสาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา. บทรายการโทรทัศน์. หมายถึง “ การเขียนอธิบายเหตุการณ์ต่างๆ ตามลำดับเวลา ที่เรื่องราวนั้นๆได้เกิดขึ้น ด้วยภาพ ด้วยเสียง และความคิด โดยใช้ศัพท์เฉพาะของสื่อโทรทัศน์ ”.

karena
Télécharger la présentation

ภาควิชาวิทยุโทรทัศน์ กลุ่มสาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ภาควิชาวิทยุโทรทัศน์ กลุ่มสาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา

  2. บทรายการโทรทัศน์ หมายถึง “ การเขียนอธิบายเหตุการณ์ต่างๆ ตามลำดับเวลา ที่เรื่องราวนั้นๆได้เกิดขึ้น ด้วยภาพ ด้วยเสียง และความคิด โดยใช้ศัพท์เฉพาะของสื่อโทรทัศน์ ”

  3. คุณสมบัติของผู้เขียนบทโทรทัศน์ได้ดีคุณสมบัติของผู้เขียนบทโทรทัศน์ได้ดี เป็นผู้ที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีความอยากรู้อยากเห็น มีวินัย รู้จักการใช้ภาษา “ เข้าใจง่ายและเร็วแต่ไม่น่าเบื่อ ” รู้จักสื่อ “การทำงานและการเข้าถึงของสื่อ” มีความเพียร

  4. รูปแบบรายการวิทยุโทรทัศน์รูปแบบรายการวิทยุโทรทัศน์ เราสามารถแบ่งได้โดยอาศัยลักษณะการดำเนินรายการ แบบที่ 1“ รายการบรรยาย ” รายการแบบนี้มีลักษณะคล้ายคลึงกับการบรรยาย ของครูหน้าชั้นเรียน ถ้าผู้บรรยายไม่มีเทคนิคที่ดี ในการบรรยาย ก็จะทำให้รายการนั้นไม่น่าสนใจ

  5. แบบที่ 2“ รายการสนทนา ” เป็นการสนทนาระหว่างผู้ร่วมรายการตั้งแต่สองคน ขึ้นไป โดยมีผู้ดำเนินรายการเป็นผู้ร่วมสนทนาหรือ เชื่อมโยงเรื่องสนทนา ซึ่งมีการกำหนดขอบเขตการ สนทนาเอาไว้ล่วงหน้าแล้ว

  6. แบบที่ 3“ รายการอภิปราย ” มีลักษณะคล้ายกับรายการสนทนา แตกต่างกันตรงที่ มีผู้ร่วมรายการมากกว่า มีการตั้งข้อคำถามไว้แล้ว ผู้ร่วมอภิปรายต้องพูดในเวลาที่กำหนด ผู้ดำเนินการ อภิปรายช่วยเน้น / สรุป แต่ไม่ร่วมอภิปราย

  7. แบบที่ 4“ รายการสัมภาษณ์ ” เป็นรูปแบบรายการที่นิยมนำเสนอทั้งรายการ วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ การวางแผน ในการสัมภาษณ์ไว้ดี ตั้งคำถามให้ตรงเป้า เลือกภาพประกอบที่ดีจะทำให้รายการน่าสนใจยิ่งขึ้น

  8. แบบที่ 5“ รายการเกมและตอบปัญหาภาพ ” มักจะมีผู้ร่วมรายการ ร่วมเล่นเกม ผู้ดำเนินรายการ ต้องมีความสามารถ แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี จึงจะทำให้รายการสนุกและน่าติดตาม

  9. แบบที่ 6“ รายการสาธิต ทดลอง ” เป็นการแสดงให้เห็นจริงในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยทำให้ดู เช่น การทดลองทางวิทยาศาสตร์ รายการสาธิตทำกับข้าว เป็นต้น

  10. แบบที่ 7“ รายการเพลงและดนตรี ” วัตถุประสงค์ของรายการประเภทนี้คือการให้ความบันเทิงแก่ผู้ชม มีทั้งรูปแบบการแสดงเป็นวงอย่างเช่นดนตรีคลาสสิค การแสดงคอนเสิร์ต เน้นการจัดฉากและนำเสนอนักร้องเป็นหลัก

  11. แบบที่ 8“ รายการถ่ายทอดสด ” เป็นรายการที่มีจุดมุ่งหมายในการรายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะเกิดเหตุ มีการบรรยายหรือเล่าเรื่องพร้อมทั้งถ่ายทอดสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างทันทีทันใด

  12. แบบที่ 9“ รายการสารคดี ” เป็นรายการที่นำเสนอเนื้อหาสาระเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเป็นรายการที่ให้ทั้งความรู้และความเพลิดเพลิน อาจมีรายละเอียดแง่มุมเดียวหรือหลายแง่มุมและมีวีธีการนำเสนอได้หลายลักษณะ การนำเสนออาจประกอบด้วยรูปแบบที่หลากหลายรวมไว้ในรายการสารคดีเดียวก็ได้

  13. แบบที่ 10“ รายการนิตยสารทางอากาศ ” เป็นรูปแบบรายการที่นำเสนอเรื่องราวต่างๆเหมือนนิตยสารของสื่อสิ่งพิมพ์ โดยเป็นการนำเสนอเรื่องราวย่อยๆหลายเรื่องในรายการเดียวกันหรือกลมกลืนกัน เรียกว่า รายการนิตยสารเฉพาะด้าน ถ้ามีเนื้อหาหลากหลายแตกต่างกันไปเรียกว่า นิตยสารทั่วไป ลักษณะสำคัญของรายการนิตยสารอยู่ที่การเชื่อมโยงเรื่องย่อย แต่ละเรื่องให้เข้ากันได้อย่างสอดคล้องกลมกลืน

  14. แบบที่ 11“ รายการละคร ” หรือแบบแสดงบทบาท เป็นรูปแบบที่ดึงดูดความสนใจได้ดีที่สุด อาจจะใช้วิธีการผูกเรื่อง มุ่งเน้นให้ผู้ชมได้รับความบันเทิง มีการแสดงสถานการณ์จำลองเป็นตอนๆ โดยต้องมีการวางแผนเขียนบท จัดเวที จัดฉาก ให้ดูเป็นจริงมากที่สุดอีกทั้งตัวผู้แสดงก็ต้องเลือกให้เหมาะสมกับบทบาท

  15. แบบที่ 12“ รายการสาระละคร ” เป็นรูปแบบของการแสดงละครและให้ความรู้ควบคู่กันไป วัตถุประสงค์ของสาระละครคือให้ความรู้โดยใช้ละครเป็นสื่อเพื่อให้รายการน่าสนใจ น่าติดตามมากกว่ารายการรูปแบบอื่นๆ

  16. สิ่งที่ควรคำนึงก่อนเขียนบทเพื่อการผลิตรายการวิทยุโทรทัศน์สิ่งที่ควรคำนึงก่อนเขียนบทเพื่อการผลิตรายการวิทยุโทรทัศน์ ผลิตเรื่องอะไร มีผู้เชี่ยวชาญที่สามารถให้คำแนะนำหรือไม่ หรือศึกษาเอกสาร รายละเอียดเพิ่มเติม กลุ่มผู้ชมเป็นใคร อายุ / เพศ / อาชีพ / ระดับการศึกษา / อื่นๆ ในรูปแบบไหน รายการเด็ก / รายการผู้หญิง / เกมโชว์ / อื่นๆ งบประมาณ คุณภาพขึ้นอยู่กับงบประมาณ ระยะเวลา สั้น / ยาว ให้สัมพันธ์กับเนื้อหาทั้งหมด

  17. แนวการเขียนบทโทรทัศน์แนวการเขียนบทโทรทัศน์ ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน คือ ส่วนนำเรื่องต้องเขียนบทให้ผู้ชมอยากติดตามด้วยการเร้าความสนใจ เช่นใช้การเกริ่นอย่างกว้างๆ ใช้ภาษาง่ายๆ ทึ้งปมปริศนาให้ผู้ชมอยากติดตามต่อไป ส่วนเนื้อหาผู้เขียนบทควรมีความรู้และประสบการณ์เพียงพอที่จะใช้ในการเขียนบท มีทักษะในการลำดับเรื่อง โดยเริ่มต้นจากแนวคิดแล้วขยายเป็นโครงเรื่องและใส่รายละเอียดตามลำดับ ส่วนสรุปเป็นการนำเอาเนื้อหาสำคัญที่ต้องการเน้นมาสรุป ให้แนวคิดหรือฝากแนวคิดให้ผู้ชมคิดต่อ

  18. ก่อนการเขียนบทโทรทัศน์ก่อนการเขียนบทโทรทัศน์ ผู้เขียนต้องมีความรู้และประสบการณ์เพียงพอในเรื่องนั้นๆ หรือควรศึกษาค้นคว้าเอกสารอ้างอิงต่างๆ ให้ดีก่อน หากเนื้อเรื่องยาว ควรแบ่งเนื้อหาออกเป็นตอนๆ ใช้สำนวนภาษาที่หลากหลาย เพื่อเร้าความสนใจของผู้ชมตลอดเวลา สร้างแรงบันดาลใจในการเขียน ก่อนเริ่มต้นการเขียน ความสามารถและทักษะในการเขียน การเขียนบท ควรเริ่มต้นจากการกำหนดแนวคิดอย่างกว้างๆ แล้วจึงค่อยขยายรายละเอียดต่างๆออกมาเป็นโครงเรื่อง และขยายต่อไปเรื่อยๆ จนได้รายละเอียดครบถ้วน

  19. การเขียนบทรายการโทรทัศน์ไม่ให้น่าเบื่อ คือการนำรูปแบบรายการประเภทต่างๆ เข้ามาประกอบในรายการเพื่อให้เกิดความหลากหลาย น่าสนใจ อาจนำรูปแบบรายการพูดคุย การสัมภาษณ์ ร่วมด้วย ดังนั้นบทที่ดี คือการเขียนเรื่องให้น่าสนใจ มีเอกภาพ ภาษาต้องมีความสละสลวย เข้าใจง่าย มีจุดเด่นจุดเดียว แต่ต้องมีความหลากหลายในการนำเสนอ รายการโทรทัศน์ที่ดีมาจากบทที่ดี แต่บทที่ดีอาจไม่ได้หมายถึงรายการที่ดีก็เป็นได้

  20. ขั้นเตรียมการ 1. ศึกษานโยบายของรายการ ซึ่งนโยบายของรายการ อาจมาจากสถานี ผู้ผลิตรายการหรือผู้อุปถัมภ์รายการก็ได้ ซึ่งจะนำมาถึงการกำหนดชื่อของรายการและการกำหนดรูปแบบรายการที่สอดคล้องกับนโยบาย

  21. 2. กำหนดวัตถุประสงค์ เป็นการกำหนดไว้ว่าผู้ชมจะได้รับอะไรจากการรับชมกล่าวคือนโยบายจะมีขอบเขตกว้าง วัตถุประสงค์จะละเอียดและเป็นรูปธรรมกว่า ช่วยกำหนดขอบเขตและเขียนบทได้ง่ายขึ้น

  22. 3. กำหนดกลุ่มเป้าหมาย ผู้ชมรายการเป็นเพศใด อยู่ในวัยไหน อาชีพหรือเป็นกลุ่มคนอย่างไร ทั้งนี้เพราะกลุ่มเป้าหมายมีความสัมพันธ์กับนโยบายและวัตถุประสงค์ของรายการ อีกทั้งยังสัมพันธ์กับการกำหนดวันและเวลาออกอากาศอีกด้วย

  23. การกำหนดกลุ่มเป้าหมายการกำหนดกลุ่มเป้าหมาย • เพศ ชาย - หญิง • อายุ เด็ก - วัยรุ่น - วัยทำงาน - ผู้สูงอายุ • อาชีพ นักศึกษา - นักธุรกิจ - แม่บ้าน กลุ่มเป้าหมายของรายการโทรทัศน์จะไม่เจาะจงในรายละเอียดมากนักเนื่องจากรายการโทรทัศน์เป็นสื่อที่เข้าถึงผู้ชมเป็นจำนวน ดังนั้นการกำหนดกลุ่มเป้าหมายจึงมีการวางไว้อย่างกว้างๆ

  24. การกำหนดกลุ่มเป้าหมายของรายการโทรทัศน์เพื่อการกำหนดกลุ่มเป้าหมายของรายการโทรทัศน์เพื่อ • เลือกช่วงเวลาสำหรับออกอากาศให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย • ระยะเวลา/ความยาวนานของรายการที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย • กำหนดประเภทของรายการ เช่น รายการข่าว รายการที่มุ่งให้ความรู้รายการเพื่อบันเทิง รายการเพื่อประชาสัมพันธ์โฆษณา • กำหนดรูปแบบรายการให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย เช่น รายการสนทนา รายการเกม/ตอบปัญหา รายการสารคดีเป็นต้น

  25. รูปแบบการเขียนบท 1. Rundown Script(บทคร่าวๆ) เป็นเพียงโครงร่างคร่าวๆ ของรายการวิทยุโทรทัศน์ เป็นเรื่องอะไร ลำดับของรายการมีอะไรบ้าง ทั้งนี้เพื่อให้ฝ่ายต่างๆรู้ลำดับของรายการ เมื่อมีบทคร่าวๆแล้ว ผู้ที่เกี่ยวข้องจะเข้าใจภาพรวมของการทำงาน ว่าแต่ละฝ่ายจะต้องเตรียมการเพิ่มเติมในส่วนที่เกี่ยวข้องอื่นๆ

  26. รูปแบบการเขียนบท 2. Semi Script(บทกิ่งสมบูรณ์) เป็นบทที่ผู้เขียนบทรู้ถึงแนวคิดของเรื่องและค้นคว้าข้อมูลพร้อมทั้งเขียนเป็นบทได้แล้ว แต่มีบางช่วงที่ไม่อาจระบุลงไปได้ จึงได้วางแนวทางของเรื่องไว้เพื่อให้ผู้ดำเนินรายการทำงานได้อย่างสะดวกรวดเร็วขึ้น บทรูปแบบนี้มักใช้กับรายการอภิปราย สาธิต เกมการแข่งขัน หรือการสนทนา

  27. รูปแบบการเขียนบท 3. Fully Script(บทสมบูรณ์) เป็นบทที่บอกรายละเอียดทุกสิ่งไว้อย่างครบถ้วน เขียนคำพูดทุกคำที่ต้องการสื่อออกไป บอกลักษณะภาพที่ต้องการเพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้นำไปเตรียมการ ทั้งตัวแสดง ช่างกล้อง ฉากและอื่นๆ ทั้งนี้มักใช้กับบทภาพยนตร์หรือละครโทรทัศน์

  28. แบบเขียนโครงร่าง แผ่นที่........... แบบเขียนโครงร่าง เรื่อง................................................................................วันที่............................... ภาพ เสียง ภาพ เสียง

  29. บทแบบบรรยายภาพ

  30. บทแบบเขียนภาพประกอบ

  31. บทแบบย่อ

  32. STORYBOARD เรื่อง.................................................................................แผ่นที่.......................... ภาพ เสียง .............................................................. .............................................................. .............................................................. .............................................................. อธิบายภาพ............................................ ..............................................................

  33. ลักษณะของสื่อวิทยุโทรทัศน์ลักษณะของสื่อวิทยุโทรทัศน์ 1. โทรทัศน์เป็นสื่อที่เข้าถึงได้ง่าย ประกอบไปด้วยภาพและเสียง การชมเป็นไปด้วยความสะดวกสบาย สามารถวิพากษ์วิจารณ์ได้อย่างอิสระ บางคนอาจไม่ชอบในครั้งแรกแต่พอดูไปก็เกิดชอบและติดตามโดยตลอด สามารถถ่ายทอดสดเหตุการณ์พิเศษหรือกีฬา ซึ่งสามารถเห็นภาพได้มากกว่าไปดูด้วยตนเอง

  34. 2. โทรทัศน์เป็นสื่อที่มีความรวดเร็ว ได้เปรียบสื่อทุกชนิดเพราะรวดเร็วเหมือนรายการสดทางวิทยุแต่โทรทัศน์มีภาพและเสียงพร้อมกัน

  35. 3. โทรทัศน์เป็นสื่อที่สร้างความใกล้ชิดในการนำเสนอ เพราะโทรทัศน์เป็นสื่อที่เข้าถึงบ้าน เราสามารถบริโภค สื่อโทรทัศน์ได้ทันทีที่เราต้องการ “การดูโทรทัศน์เสมือนว่าโลกภายนอกถูกนำเข้ามาหาเรา”

  36. ขั้นตอนการผลิตรายการวิทยุโทรทัศน์ขั้นตอนการผลิตรายการวิทยุโทรทัศน์ ขั้นก่อนการผลิต ประชุมเพื่อหาแนวคิด กำหนดวัตถุประสงค์ กลุ่มเป้าหมาย ศึกษาแนวทางการผลิต ขั้นการผลิต รายการสด / บันทึกเทปโทรทัศน์ ขั้นหลังการผลิต การตัดต่อลำดับภาพ ใส่สัญญาณเสียง เทคนิคพิเศษต่างๆ ก่อนนำไปเผยแพร่

  37. ขั้นตอนการเขียนบทวิทยุโทรทัศน์ ” • แนวคิด Theme • โครงเรื่อง Plot • โครงเรื่องขยาย Treatment • ตัวละคร Character • ฉาก Scene • คำพูด / บทสนทนา Diction / Dialogue • คนตรี / เสียงประกอบ Music / Sound effects • บทแสดง / บทภาพยนตร์ Screen play • บทถ่ายทำ Shooting script • บทภาพ Story board

  38. “ ศัพท์ ” ในงานวิทยุโทรทัศน์ โทรทัศน์ Television ภาพยนตร์ Film วีดิทัศน์ Video Shot Take Scene Sequence Story การตัดต่อ Editing การเปลี่ยนภาพ Transition Fade in / Fade out Dissolve / Cut / Wipe

  39. โทรทัศน์เป็นสื่อที่ใช้ภาพหลายๆภาพ หลายๆขนาด จากหลายๆมุม เป็นสื่อกลางในการสื่อสาร เริ่มด้วยภาพหนึ่งภาพเรียกว่า เฟรม (frame) หลายๆ เฟรมต่อกันเรียกว่า ช็อต (shot) หลายๆ ช็อต ต่อกันเรียกว่าฉากหรือซีน (scene) หลายๆ ซีนต่อกันเรียกว่า ตอนหรือซีเควนซ์ (sequence) หลายๆ ซีเควนซ์ต่อกันเป็นหนึ่งเรื่องหรือสตอรี่ (Story) • เมื่อได้บทถ่ายทำแล้ว สิ่งที่ต้องศึกษาลำดับต่อไปคือ • มุมกล้อง • ขนาดภาพ • การเคลื่อนที่และความต่อเนื่อง

  40. “ เสียง ” ในงานวิทยุโทรทัศน์ • เสียงบรรยาย Narration • บทสนทนา Dialogue • เสียงดนตรี / เพลง Music • Title music / Background music / Ending music • เสียงประกอบ Sound Effects • Actuality Sound effects / Recorded Sound effects / Mechanical Sound effects

  41. “ ศัพท์ ” ทีมงาน ผู้ผลิตรายการ Producer ผู้ช่วยผู้ผลิตรายการ Producer Assistant ผู้จัดการสถานที่ถ่ายทำ Location Manager ผู้เขียนบท Script Writer ผู้กำกับรายการ Director ผู้ช่วยผู้กำกับรายการ Assistant Director ผู้กำกับแสง Lighting Director ช่างภาพโทรทัศน์ Camera operator ผู้ควบคุมเสียง Audio Technical

  42. “ ศัพท์ ” ทีมงาน คนตีสเลท Clapper loader คนจัดไฟ Gaffer ผู้กำกับงานศิลป์ Art director ผู้ออกแบบเครื่องแต่งกาย Costume designer ผู้ออกแบบงานสร้าง Production designer ช่างแต่งหน้า Make-up artist ตัดต่อ Editor ตากล้องภาพนิ่ง Stills ผู้ดูแลของในกองถ่าย Property master

  43. มุมมองของภาพ View of shot

  44. มุมมองระดับสายตา EYE LEVEL เปรียบได้กับการมองในระดับเดียวกับสายตาของคนเรา เสมือนเรายืนมองอยู่ในลักษณะปกติ มักจะเป็นการถ่ายภาพทั่วไป

  45. มุมมองจากมุมสูง (นกมอง) BIRD EYE VIEW เป็นภาพจากมุมสูงกว่าระดับการมองแบบปกติ เสมือนเราเป็นนกที่กำลังมองลงมายังเบื้องล่าง ภาพลักษณะนี้จะทำให้ทุกสิ่งดูเล็กกว่าความเป็นจริงหรือดูต่ำต้อย บางครั้งอาจถ่ายจากเครื่องบินหรือเครน

  46. มุมมองจากมุมต่ำ (มดมอง) ANT EYE VIEW เป็นภาพจากมุมต่ำกว่าระดับการมองแบบปกติ เสมือนเราเป็นมดที่กำลังเงยหน้ามองขึ้นเบื้องบน จะเห็นทุกสิ่งดูใหญ่โตภาพลักษณะนี้จะทำให้ทุกสิ่งดูยิ่งใหญ่ สง่างามหรือน่าเกรงขาม

  47. ชนิดของภาพ (Type of shot) ภาพหรือ shot ต่างๆที่เราใช้เรียกในงานโทรทัศน์

  48. Extreme Close-up (E.C.U.) เป็น shot ซึ่งละเอียดมาก แสดงส่วนหนึ่งส่วนใดของหน้าเพียงส่วนเดียว เช่น ตา จมูก ปาก

  49. Very Close-up (V.C.U.) (Face shot) ภาพส่วนของใบหน้าไม่ต้องมีผมและคาง

  50. Big Close-up (B.C.U.) ภาพเต็มหน้าและศีรษะถึงบ่า โดยศีรษะมีเนื้อที่ 5 ใน 6 ของจอภาพ

More Related