1 / 93

รูปแบบการอ้างเหตุผลที่ดี

รูปแบบการอ้างเหตุผลที่ดี. 1. ข้ออ้าง ( ทั้งหมด ) เป็นจริง ( ตรงตามข้อเท็จจริงหรือการยอมรับว่าจริง ) 2. ข้ออ้าง ( ทั้งหมด )จะ สัมพันธ์ กับข้อสรุป ( อย่างแท้จริง ) ใน 2 ลักษณะ คือ A. ข้ออ้าง ( ทั้งหมด ) สามารถยืนยันความ เป็น จริงของข้อสรุปได้ อย่างแน่นอน

karli
Télécharger la présentation

รูปแบบการอ้างเหตุผลที่ดี

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. รูปแบบการอ้างเหตุผลที่ดีรูปแบบการอ้างเหตุผลที่ดี 1.ข้ออ้าง(ทั้งหมด)เป็นจริง(ตรงตามข้อเท็จจริงหรือการยอมรับว่าจริง) 2.ข้ออ้าง(ทั้งหมด)จะสัมพันธ์กับข้อสรุป(อย่างแท้จริง) ใน 2 ลักษณะ คือ A. ข้ออ้าง(ทั้งหมด)สามารถยืนยันความเป็นจริงของข้อสรุปได้อย่างแน่นอน B. ข้ออ้าง(ทั้งหมด)มีความเป็นไปได้สูงที่จะยืนยันความเป็นจริงของข้อสรุป นิรนัย อุปนัย

  2. สรุปวิธีการนิรนัย ๑.วิธีการอนุมาน (นิรนัย) อริสโตเติลเป็นคนแรกที่นำมาใช้ ในการค้นหาความรู้โดยวิธีการคิดเชิงเหตุผลโดยการอ้าง ข้อเท็จจริง ๒ประการที่พบว่าจริงมาสรุปเป็นข้อเท็จจริงใหม่ วิธีการอนุมาน มีข้อบกพร่องสำคัญ ๒ อย่างคือ -ข้อสรุปที่ได้อาจไม่เป็นจริง เพราะข้ออ้างที่ใช้อาจไม่เป็นจริงเสมอไป -ข้อสรุปที่ได้มิใช่เป็นความรู้ใหม่ แต่เป็นความรู้เดิม(ความเชื่อเก่า)ที่รู้อยู่แล้ว 2+2= 4 น้ำ= H2O

  3. สู่ยุคRenaissance(1500-1600) สิ้นยุคทองของนิรนัย(ก่อนค.ศ -1600) วัยเด็กสื่อให้เห็นถึงวัยหนุ่ม เช่นเดียวกับยามเช้าก็คาดคะเนได้ถึงวันๆนั้น (จอห์นมิลตัน)

  4. มนุษยคิดทีละเรื่อง ถ่ายทอดออกมาเป็นเทอมหรือคำ-ประโยคโครงสร้างซิลลอจิสม์จะมี 3 เทอม 1. โลหะ (เทอมกลาง) 2. สื่อไฟฟ้า (เทอมเอก) 3. เหล็ก(เทอมโท) ในการใช้เหตุผล 1 ครั้งทุกเทอมจะใช้ 2 ครั้ง อาศัยเทอมกลาง เชื่อมเทอมโทกับเทอมเอก(2 เทอมที่เหลืออยู่ในข้ออ้าง) มาทำการตัดสินในข้อสรุป จากตัวอย่างข้างบน อาศัยเทอมกลางคือโลหะ เชื่อมทั้ง 2 เทอม(เหล็ก-สื่อไฟฟ้า) จึงได้ข้อสรุปว่า เหล็กเป็นสื่อไฟฟ้า

  5. วิธีการใช้เหตุผลในโลกตะวันตกยุคกลางวิธีการใช้เหตุผลในโลกตะวันตกยุคกลาง - อาณาจักรกรีกล่มสลาย พวกโรมันขึ้นมีอำนาจ ศาสนาคริสต์กลายเป็นศาสนาที่เจริญควบคู่ไปกับอาณาจักรโรมัน เกิดปรัชญาสมัยกลางขึ้น - การใช้เหตุผลในยุคนี้ คือ การใช้ความคิดเพื่อเข้าถึง พระเจ้า จนถึงคริสศตวรรษ 19 จึงได้มีการแปลหนังสือชื่อว่า เครื่องมือ จากภาษาอาหรับไปเป็นภาษาละติน ดังนั้นการใช้เหตุผลแบบอริสโตเติลจึงกลับมาอีกครั้งหนึ่ง

  6. เซ็นต์ออกัสติน ได้นำความคิดของเพลโตมาใช้ เซ็นต์อควินาส ได้นำความคิดของอริสโตเติลมาใช้ เป็นการนำเอาความคิดของนักปรัชญากรีกทั้ง 2 คน มารับใช้ศาสนาคริสต์เพื่อที่จะเข้าถึงความจริง แต่ก็เข้าถึงความจริงได้เพียงระดับหนึ่งเท่านั้น สุดท้าย ต้องอาศัยพระกรุณาจากพระเจ้า จึงจะสามารถเข้าถึงความจริงด้วยการส่องสว่างจากพระเจ้า

  7. ตัวอย่าง การใช้เหตุผล ในสมัยกลาง • ใครก็ตามที่ศรัทธาในพระเจ้าเป็นคนดี นักวิทยาศาสตร์ไม่ศรัทธาในพระเจ้า เพราะฉะนั้น นักวิทยาศาสตร์ไม่ใช่คนดี • จักรวาลเป็นสิ่งยิ่งใหญ่มหัศจรรย์ สิ่งยิ่งใหญ่มหัศจรรย์ จะต้องเกิดมาจากสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่า สิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่าทุกสิ่งในจักรวาล คือ พระเจ้า

  8. ข้อแตกต่างการใช้เหตุผลสมัยกรีกโบราณกับสมัยกลางข้อแตกต่างการใช้เหตุผลสมัยกรีกโบราณกับสมัยกลาง สมัยกรีกโบราณ :ความจริงทั่วไป ที่นำมาสนับสนุน เกี่ยวข้องกับสิ่งธรรมชาติ วิธีการใช้เหตุผลแบบนิรนัย สมัยกลาง :ความจริงทั่วไป ที่นำมาสนับสนุนจะ เกี่ยวข้องกับความเชื่อในศาสนาคริสต์ สมัยใหม่และปัจจุบัน :ความจริงทั่วไป ที่นำมาสนับสนุน เกี่ยวข้องกับความรู้ทางวิทยาศาสตร์ วิธีการใช้เหตุผลแบบอุปนัย

  9. การใช้เหตุผลในโลกตะวันตกสมัยใหม่การใช้เหตุผลในโลกตะวันตกสมัยใหม่ • วิธีการใช้เหตุผลที่สำคัญของยุคนี้คือ “อุปนัย” มีฟรานซิสเบคอน เป็นคนแรกๆ ที่ได้พัฒนาขึ้นอย่างเป็นระบบ • ฟรานซิส เบคอน มีความเชื่อซึ่งเป็นพื้นฐานของวิธีอุปนัยว่า ความรู้คืออำนาจ หมายถึง ความรู้ที่นำมาใช้งานได้ ได้แก่ การใช้ความรู้เพื่อครอบงำและควบคุมธรรมชาติ • วิธีอุปนัยนี้ได้รับการพัฒนาต่อไป จนกลายเป็นวิธีการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีผลกระทบอย่างมากต่อวิถีชีวิตของมนุษย์ในยุคต่อมา

  10. Francis Bacon (๑๕๖๑-๑๖๒๖)บิดาแห่งตรรกศาสตร์อุปนัย ถ้าเขาเริ่มต้นด้วยความแน่ใจ เขาจะจบลงด้วยความสงสัย ถ้าเขาเริ่มต้นด้วยความสงสัย เขาจะจบลงด้วยความแน่ใจ

  11. การค้นหาความรู้ใหม่โดยวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลหรือการค้นหาความรู้ใหม่โดยวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลหรือ ข้อเท็จจริงย่อยๆแล้วนำมาแปลความสรุปผลใหม่ วิธีการอุปนัย มี ๒ ลักษณะ ๑.วิธีการอุปนัยแบบสมบูรณ์ (Census Survey) เป็นการสำรวจที่สำรวจจากประชากรทุกหน่วย โดยไม่ต้องเลือกตัวอย่าง (เรื่องเล็กๆ อาจทำได้ง่าย) ๒.วิธีการอุปนัยแบบไม่สมบูรณ์ (Sample Surveys) เป็นการสำรวจจากตัวอย่างบางส่วน ซึ่งเลือกออกมาจากประชากร (เรื่องใหญ่ๆ ที่ทำได้ยาก)

  12. ลักษณะความรู้ที่ใช้วิธีการอุปนัยลักษณะความรู้ที่ใช้วิธีการอุปนัย • ข้ออ้างได้มาจากข้อเท็จจริง(ประสบการณ์)บางส่วน • ปรากฏการณ์หนึ่งหรือข้อสรุปหนึ่ง ๆ เกิดมาจากหลายข้อเท็จจริง(ข้ออ้าง) • ข้อสรุปมีลักษณะเป็นข้อเท็จจริงทั่วไปที่กว้างขึ้น(สรุปเกินข้ออ้างเสมอ) • ข้อสรุปมีลักษณะก้าวกระโดดมีน้ำหนักเกินข้ออ้างที่ใช้(มีความไม่แน่นอน) • ข้อสรุปไม่อาจเป็นความจริงที่แน่นอนตายตัว • เกณฑ์การตัดสินอยู่ที่ “ระดับความน่าเชื่อถือ”(การปักใจเชื่อล่วงหน้า) …..โอกาส…หรือ…ความน่าจะเป็น…..

  13. ความเป็นไปได้ มี 2 ประเภท ๑.ความเป็นไปได้เชิงประจักษ์(Empirical possibility) . สำนักประจักษนิยม(Empiricism) มีแนวความคิดหลักว่า.... ความรู้นั้นจะเป็นที่ยอมรับได้ก็ต่อเมื่อสามารถพิสูจน์ด้วยอายตนะทั้งห้าเท่านั้น ความรู้ที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ด้วยอายตนะ ไม่ถือเป็นความรู้ หากแต่เป็นเพียงความเชื่อเท่านั้น ๒. ความเป็นไปได้เชิงตรรกะ(Logical possibility) ข้อความใดที่เมื่อวิเคราะห์ดูแล้วไม่ขัดแย้งตัวเอง จะมีความเป็นไปได้ . ตรรกะอุปนัย (Induction Logic) ความงมงายของตะวันตกความเชื่อที่หาเหตุผลไม่ได้ เช่น ใช้ หมึกพอล ทำนายผลฟุตบอลโลก โดยไม่ต้องใช้คำอธิบายหรือหลักวิทยาศาสตร์ใด ๆ

  14. ความเป็นจริง ข้ออ้าง ข้อสรุป เกณฑ์การอ้างเหตุผลอุปนัยครั้งใดก็ตาม ที่ข้ออ้างสามารถยืนยันได้เพียงแต่ว่า ข้อสรุปมีโอกาสสูงที่จะเป็นจริง ถือว่าการอ้างเหตุผลครั้งนั้นมี ความน่าเชื่อถือ (Reliable) ยืนยัน มีโอกาสสูง

  15. ความเป็นจริง ข้ออ้าง ข้อสรุป • ความน่าเชื่อถือ (Reliable) • ของงานวิจัยในห้องแล็บ(ในหลอดทดลอง)กับการใช้ในชีวิตจริง • บางทีมันคนละเรื่องกัน เช่น • เมล็ดสีดำของแก้วมังกรมีสารพิษคล้ายสารก่อมะเร็ง • เมล็ดแอ็ปเปิ้ลมีสารไซยาไนด์ • เมล็ดแอปปริคอตก็มีสารไซยาไนด์ • กินนมถั่วเหลือง(เพราะมีโฮร์โมนฟัยโตอีสโตเจน)เด็กชายจะกลายเป็นกะเทย กลลวงหรือกับดัก (สงครามผลประโยชน์) แต่กินรักษามะเร็งได้ ! ยืนยัน มีโอกาสสูง

  16. แนวคิดแบบอุปนัย นำไปสู่ปรัชญาแนวปฏิบัตินิยม ปฏิบัตินิยม ปักใจอยู่กับประสบการณ์อย่างเต็มที่ กฎ : 1. “อะไรที่ให้คุณประโยชน์ได้ต้องจริง” 2. ทดลองนำมาใช้และติดตามดูผล การคิด คือ การหาวิธีแก้ปัญหาให้ได้ผล ความเชื่อเป็นเครื่องมือเกณฑ์ตัดสินวิธีการคิดแบบอุปนัย คือ “ความปักใจเชื่อว่าน่าจะจริง”

  17. การอ้างเหตุผลแบบอุปนัยแบ่งเป็นประเภทได้ดังนี้การอ้างเหตุผลแบบอุปนัยแบ่งเป็นประเภทได้ดังนี้

  18. วิธีอุปนัยแบบต่าง ๆ วิธีวิทยาศาสตร์ การคิดอุปนัยเชิงเปรียบเทียบ (Induction by Analogy) การคิดแบบอุปนัยทั่วไป *การคิดแบบพุทธวิธี การคิดอุปนัยโดยวิธีสุ่มตัวอย่าง (Induction by Enumeration) การทิ้งเหตุผล วิธีอุปนัยหาสาเหตุของมิลล์ 5 วิธี (Mill’s Method) ตรรกอุปนัย (Induction Logic) (Scientific Method) (General Induction) (Fallacy)

  19. ๑.วิธีอุปนัยแบบทั่วไป๑.วิธีอุปนัยแบบทั่วไป คือการสรุปลักษณะทั่วไปจากสิ่งเฉพาะที่รู้จากประสบการณ์ หรือหลักฐานเท่าที่มี • รูปแบบ/โครงสร้าง…. ๑.อ้างข้อมูลบางส่วน... เช่น • คนไทยพูดภาษาไทย • มิสเตอร์หยุ่นพูดภาษาไทย ๒.ข้อสรุปมีลักษณะรวม ดังนั้น มิสเตอร์หยุ่นเป็นคนไทย ใครก็ตามที่พูดภาษาไทย……..

  20. มีงานวิจัยบ่งว่า “ส้มตำทั่วไปมีสารพิษ เปิบมากเป็นมะเร็ง” (ฉะนั้นส้มตำทุกร้าน กินแล้วเป็นมะเร็ง) คนต่างชาติพูดภาษาอื่น คนไทยพูดภาษาไทย คนไทยและคนต่างชาติ ที่พูดภาษาไทย

  21. ๒. การอ้างเหตุผลอุปนัยแบบ เปรียบเทียบ(Induction by Analogy) หมายถึง ความสามารถในการเทียบเคียงความเหมือนหรือความต่างระหว่างสิ่งหนึ่งกับสิ่งอื่น ๆโดยเปรียบเทียบกับข้อมูลเก่า เพื่อให้ได้ผลลัพธ์หรือข้อสรุป ที่ต้องการ ประโยชน์ของการเปรียบเทียบ การคิดเปรียบเทียบหาเหตุผลไปสู่ข้อสรุปเหมือนการเล่นจิ๊กซอว์ ๑. พบความต่างในความคล้าย รู้จักจำแนกแยกแยะได้ ๒. พบค้นพบข้อเท็จจริง ชี้ถูกชี้ผิดได้

  22. ๓. พบทางเลือกสำหรับการตัดสินใจ ทางเลือกไหนที่ดีที่สุด? ๔. ทำเรื่องยากให้เข้าใจง่ายขึ้น อุปมา-อุปมัย ฝนทั่งให้เป็นเข็ม “ไฟในอย่านำออก ไฟนอกอย่านำเข้า” ‘ยามรักน้ำต้มผักก็ว่าหวาน’ ๕. การเลียนแบบ นำไปสู่เป้าหมายที่ต้องการเร็วขึ้น Modeling ๖. การค้นพบ นำไปสู่การแก้ปัญหาบางอย่างได้ การทดลอง

  23. พ่อลูกคู่หนึ่งสนทนากันอยู่ลูกกำลังย่างเข้าสู่วัยรุ่นมีคำถามเรื่องเพศสัมพันธ์มาถามพ่อพ่อลูกคู่หนึ่งสนทนากันอยู่ลูกกำลังย่างเข้าสู่วัยรุ่นมีคำถามเรื่องเพศสัมพันธ์มาถามพ่อ ลูก – พ่อครับทำไม การมีเพศสัมพันธ์ทำให้มีความรู้สึกยังไงครับพ่อ-ก็มันเหมือนกับการที่เอ็งเอานิ้วเอ็งไปแคะขี้มูกในจมูกของเอ็งแหละ ลูก-ทำไมเวลามีเพศสัมพันธ์ ผู้หญิงถึงร้องครวญคราง เหมือนมีความรู้สึกดีกว่าผู้ชายครับพ่อ - อ้าว.. แล้วเวลาเอ็งแคะขี้มูก เอ็งรู้สึกว่า นิ้วของเอ็งดีขึ้น หรือว่ารูจมูกของเอ็งดีขึ้น... ลูก -ในเมื่อผู้หญิงรู้สึกดีขึ้น แล้วทำไมผู้หญิงถึงเกลียดการข่มขืนล่ะพ่อ -มันไม่เหมือนกัน แล้วถ้าเอ็งเดินอยู่บนถนนแล้วมีคนวิ่งมาเอานิ้วมาทิ่มจมูกเอ็งนะ เอ็งจะชกหน้ามันไหม ลูก -แล้วทำไมผู้หญิงถึงไม่ชอบมีเพศสัมพันธ์กันในระหว่างมีประจำเดือนพ่อ -แล้วถ้าจมูกของเอ็งเลือดไหลอยู่ เอ็งจะแคะขี้มูกมั้ย.. ลูก -ทำไมผู้ชายถึงไม่ชอบใส่ถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์พ่อ -แล้วถ้าพ่อบังคับเอ็งใส่ถุงมือแคะขี้มูกเอ็งจะรู้สึกยังไง ลูก - อีกคำถามครับพ่อ ทำไมผู้หญิงชอบบรรยากาศเงียบ ๆ สลัว ๆขณะที่มีความต้องการพ่อ - อ้าว..แล้วพ่อใช้ให้เอ็งแคะขี้มูก หน้าชั้นเรียนเอ็งจะทำได้มั้ย..โธ่ลูกพ่อเอ๊ย...... ลูก - “พ่อครับ พ่อเก่งจังเลย”

  24. การเปรียบเทียบ มี ๒ ชนิด ๑.การอธิบายเชิงเปรียบเทียบ (อุปมาอุปมัย) เพื่อให้เข้าใจมโนภาพนั้นชัดขึ้น • ชีวิตของเราจะผิดอะไรกับกองเพลิง ชีวิตต้องการฟืนอยู่ทุกขณะจิต มันทำให้เรามีภาวะที่ว่างไม่ได้ ถ้าจะมีผู้ซึ่งพ้นจากภาระนี้ได้ และไม่ต้องมาคอยกังวลอยู่อีก ก็เพราะเขาพบฟืนวิเศษชนิดที่ทำให้ ดวงชีวิตลุกโพลงอยู่ชั่วนิรันดรได้ โดยไม่ต้องคอยดูแลมันอีกนั่นเอง -สิ่งที่คุณทำอยู่ในเวลานี้เปรียบไป ไม่ต่างอะไรกับแมงเม่าที่บินเข้ากองไฟ

  25. ๒.การอ้างเหตุผลเชิงเปรียบเทียบ๒.การอ้างเหตุผลเชิงเปรียบเทียบ ๒.๑.การอ้างเหตุผลเปรียบเทียบในลักษณะวิเคราะห์ -การศึกษาเปรียบเทียบนโยบายพรรคการเมืองไทย -ความยุติธรรม -เสรีภาพ -สิทธิมนุษยชน -เศรษฐกิจ -ฯลฯ พี่ชายของดินเนอร์ ขับวินมอเตอร์ไซด์ ชอบสูบบุหรี่ เป็นมะเร็งปอดตาย ดินเนอร์ ก็ขับวินมอเตอร์ไซด์ ชอบสูบบุหรี่เหมือนกัน ฉะนั้น ดินเนอร์จะต้องตายด้วยมะเร็งปอด -ร้านอาหาร ก. มีอาหาร 1 2 3 4 5...... อาหาร 1(แกงเขียวหวานไก่) กินอร่อย . . . อาหารของร้าน ก. 2 3 4 5(ทั้งหมด) กินอร่อย . . . สาขาของร้าน ก. มีอาหาร 1 2 3 4 5...... น่าจะเป็นร้านที่มีอาหารกินอร่อยเหมือน ร้าน ก. . . . (สาขาร้าน ก. ทุกร้านที่มีอาหารเหมือนกัน ก็ต้องเป็นร้านที่มีอาหารอร่อยด้วย)

  26. ๒.๒. การอ้างเหตุผลแบบเปรียบเทียบโดยอุปมาอุปมัย “เวลาวินิจฉัยปัญหาต่าง ๆเรามักจะนำเรื่องอื่น ๆ มาเปรียบเทียบเสมอ” (เอาความรู้ทั่วไปหรือประสบการณ์ร่วมมาเป็นหลักยึด/มาตรฐาน) - อาชญากรเหมือนสัตว์ร้ายที่คุกคามความมั่นคงของประชาชน ถ้าสัตว์ถูกฆ่าคนก็ปลอดภัย ดังนั้น เราควรกำจัดอาชญากรให้หมดไป ลักษณะการอ้างเหตุผลเปรียบเทียบ 1.การอ้างเปรียบเทียบจากข้อมูลเดียว 2.การอ้างเปรียบเทียบจากลักษณะเฉพาะที่เหมือนกัน 3.มีการสรุปรวมทั้งหมดจากข้อมูลเดียว

  27. สาว ๆ คนไหนนิ้วนางยาวกว่านิ้วชี้ เตรียมเอาดีด้านกีฬา • ความยาวของนิ้วอาจเป็นดัชนีบ่งชี้อนาคตในวงการกีฬาของนักแข่งหญิง นักวิจัยจากเกาะอังกฤษเผยผลการศึกษา หญิงสาวที่นิ้วนางยาวกว่านิ้วชี้จะมีแต้มต่อมากกว่าสาวอื่นๆ ในด้านกีฬา โดยเฉพาะประเภทที่เกี่ยวข้องกับการวิ่งอย่างเช่น ฟุตบอล และเทนนิส นั่นเพราะความยาวของนิ้วนางเกี่ยวเนื่องกับระดับฮอร์โมนเพศชายในตัวสาวเจ้าการค้นพบนี้อาจเป็นกุญแจไขข้อข้องใจของบรรดาพ่อแม่ว่า จะยอมเสียเงินก้อนโตจ้างโค้ชเก่งๆ มาฝึกปรือลูกสาวเพื่อกรุยทางสู่การเป็นดาวดังในวงการกีฬาดีหรือไม่  ปกติแล้ว ผู้หญิงส่วนใหญ่จะมีนิ้วนางสั้นกว่าหรือยาวเท่านิ้วชี้ในทางกลับกัน ผู้ชายส่วนใหญ่นิ้วนางจะยาวกว่านิ้วชี้ แต่การค้นพบนี้เป็นหลักฐานชิ้นใหม่ที่ยืนยันว่า สัดส่วนระหว่างนิ้วชี้เมื่อเปรียบเทียบความยาวกับนิ้วอื่นๆ มีความเกี่ยวโยงกับความแตกต่างทางลักษณะเชิงบุคลิกภาพมากมาย เช่น เพศวิถี ภาวะเจริญพันธ์ สติปัญญา ความก้าวร้าว และความสามารถทางดนตรี เป็นต้น ความรู้โดยการเปรียบเทียบ

  28. จุดเด่น-จุดด้อย รู้ได้ด้วยนิ้วมือ(เปรียบเทียบ)หันฝ่ามือเข้าหาตัวเอง โดยผู้หญิงให้ดูมือซ้าย ส่วนผู้ชายให้ดูมือขวาแล้วขีดเส้นแบ่งข้อต่อแต่ละข้อบนนิ้วก้อย จะได้ทั้งหมด 3 ข้อ  ตามรูปประกอบ • ส่วนที่ยาวที่สุด คือส่วนที่บอกถึงจุดเด่นในตัวคุณ • ข้อบนสุดยาวที่สุดคุณเป็นคนมีพรสวรรค์ในการพูดจาดึงดูดคน เป็นคนพูดจาฉะฉานชัดเจนทั้งในน้ำเสียงและกริยาท่าทางเป็นคนช่างสังเกตและรอบคอบ

  29. จุดเด่น-จุดด้อย รู้ได้ด้วยนิ้วมือ (เปรียบเทียบ)หันฝ่ามือเข้าหาตัวเอง โดยผู้หญิงให้ดูมือซ้าย ส่วนผู้ชายให้ดูมือขวา แล้วขีดเส้นแบ่งข้อต่อแต่ละข้อบนนิ้วก้อย จะได้ทั้งหมด 3 ข้อ  ตามรูปประกอบ • ส่วนที่ยาวที่สุด คือส่วนที่บอกถึงจุดเด่นในตัวคุณ • ข้อกลางยาวที่สุดคุณเป็นคนที่ให้ความใส่ใจต่อผู้อื่นและมีความอดทน เป็นเลิศลักษณะความยาวข้อกลางนี้ ส่วนมากพบในผู้ที่อยู่ในวงการแพทย์

  30. จุดเด่น-จุดด้อย รู้ได้ด้วยนิ้วมือ(เปรียบเทียบ)หันฝ่ามือเข้าหาตัวเอง โดยผู้หญิงให้ดูมือซ้าย ส่วนผู้ชายให้ดูมือขวา แล้วขีดเส้นแบ่งข้อต่อแต่ละข้อบนนิ้วก้อย จะได้ทั้งหมด 3 ข้อ  ตามรูปประกอบ • ส่วนที่ยาวที่สุด คือส่วนที่บอกถึงจุดเด่นในตัวคุณ • ข้อล่างยาวที่สุดคุณเป็นคนรักอิสระเสรีอย่างมากไม่ชอบการถูกควบคุมและเป็นคนพูดจาเปิดเผย ตรงไปตรงมา ฝีปากคมคาย  เป็นคนที่ยึดมั่นในเหตุผลและโต้เถียงเก่ง

  31. จุดเด่น-จุดด้อย รู้ได้ด้วยนิ้วมือ(เปรียบเทียบ)หันฝ่ามือเข้าหาตัวเอง โดยผู้หญิงให้ดูมือซ้าย ส่วนผู้ชายให้ดูมือขวา แล้วขีดเส้นแบ่งข้อต่อแต่ละข้อบนนิ้วก้อย จะได้ทั้งหมด 3 ข้อ  ตามรูปประกอบ • ส่วนที่สั้นที่สุด คือส่วนที่บอกถึงจุดด้อยในตัวคุณ • ข้อบนสุดสั้นที่สุด คุณเป็นคนไม่กล้าแสดงออกอย่างมาก เป็นคนขี้อายถึงขนาดตัวคุณเองก็ยากที่ จะเข้าใจในตัวเองนอกจากนี้คุณยังเป็นคนที่ไม่มีมนุษยสัมพันธ์กับคนอื่นอีกด้วย

  32. จุดเด่น-จุดด้อย รู้ได้ด้วยนิ้วมือ(เปรียบเทียบ)หันฝ่ามือเข้าหาตัวเอง โดยผู้หญิงให้ดูมือซ้าย ส่วนผู้ชายให้ดูมือขวา แล้วขีดเส้นแบ่งข้อต่อแต่ละข้อบนนิ้วก้อย จะได้ทั้งหมด 3 ข้อ  ตามรูปประกอบ • ส่วนที่สั้นที่สุด คือส่วนที่บอกถึงจุดด้อยในตัวคุณ • ข้อกลางสั้นที่สุด คุณเป็นคนซื่อสัตย์ยุติธรรมแน่วแน่มั่นคงอาจจะเรียกได้ว่าถึงขั้นไม่มี ความประนีประนอม จนดูเหมือนความที่เป็นคนตรง กลายเป็นข้อด้อยของคุณไปเลย

  33. จุดเด่น-จุดด้อย รู้ได้ด้วยนิ้วมือ(เปรียบเทียบ)หันฝ่ามือเข้าหาตัวเอง โดยผู้หญิงให้ดูมือซ้าย ส่วนผู้ชายให้ดูมือขวา แล้วขีดเส้นแบ่งข้อต่อแต่ละข้อบนนิ้วก้อย จะได้ทั้งหมด 3 ข้อ  ตามรูปประกอบ • ส่วนที่สั้นที่สุด คือส่วนที่บอกถึงจุดด้อยในตัวคุณ • ข้อล่างสั้นที่สุดคุณเป็นคนซื่อๆ ง่ายๆไม่มีเล่ห์เหลี่ยมมารยาเชื่อคนง่ายเสียจนกระทั่งอาจจะถูกหลอกหรือถูกโกงได้ง่ายด้วยความไร้เดียงสาของคุณเอง

  34. เกณฑ์ตัดสินการอ้างเหตุผลแบบเปรียบเทียบที่ดี…ต้องดูเกณฑ์ตัดสินการอ้างเหตุผลแบบเปรียบเทียบที่ดี…ต้องดู ขึ้นกับปริมาณของลักษณะร่วมกันที่สำคัญ (มีความสำคัญหรือเป็นคุณสมบัติหลักหรือไม่?) ๒. ขึ้นกับปริมาณของลักษณะแตกต่างที่สำคัญ (มีข้อแตกต่างที่สำคัญอาจหักล้างข้ออ้างได้ไหม?) ๓. ความหลากหลายของตัวอย่างที่นำมาอ้าง (มีตัวอย่างที่เกิดขึ้นเหมือนกันมากน้อยแค่ไหน) ๔. ข้อสรุปแย้งได้หรือไม่ (มีข้อสรุปที่ไม่ตรงกับข้ออ้างไหม)

  35. ๓. การอ้างเหตุผลแบบสุ่มตัวอย่าง(Induction by Enumeration) มีลักษณะที่สำคัญ คือ • การสรุปคุณสมบัติบางอย่างจากตัวอย่างที่แน่นอนจำนวนหนึ่งไปสู่การมีคุณสมบัติทั่วไปของประเภทเดียวกัน "เราพบว่า ความยาวของนิ้วนั้น 70% เป็นผลจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม โดยที่สภาพภายในครรภ์มารดามีอิทธิพลด้วยเล็กน้อย" ศ.ทิม สเปกเตอร์ (Tim Spector) จากแผนกวิจัยด้านฝาแฝดและวิชาโรคติดต่อทางพันธุกรรม ของคิงส์ คอลเลจ ลอนดอน (King's College London) เจ้าของงานวิจัยชิ้นนี้ระบุ • มีรูปแบบในการอ้างเหตุผลลักษณะเชิงสังเคราะห์ • “คือการดึงเอาองค์ประกอบต่างๆมารวมเป็นข้อสรุปใหม่”

  36. วิธีการของการทำโพล คือการเลือกตัวอย่างที่เป็นกลุ่มเป้าหมายมาจำนวนหนึ่ง โดยเลือกจากความหลากหลายของประชากรทั้งเพศ อายุ อาชีพ ฐานะ ที่อยู่ และอื่นๆ เพื่อให้เป็นตัวแทนของประชากรทั้งหมด วิธีการแบบโพลล์ได้รับการพิจารณาศึกษาอย่างเป็นระบบมากขึ้น คือ ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างตามหลักวิชาการ โดยหลักความเป็นไปได้ทางสถิติ ให้ทุกหน่วยของประชากรมีโอกาสเท่าเทียมกันในการถูกเลือกเป็นกลุ่มตัวอย่าง ปัจจุบัน วิธีที่จะใช้ศึกษาประชามติหรือโพลล์มี 5 วิธี คือ • 1. การวิจัยแบบสังเกตการณ์ (Observation Research) คือ การวิจัยที่อาศัยการเก็บข้อมูลด้วยการสังเกตกลุ่มตัวอย่างในสถานการณ์ที่เกี่ยวข้อง • 2. การวิจัยแบบสำรวจ (Survey Research or Polling) การวิจัยแบบสำรวจหรือการทำโพลล์นี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาอย่างง่าย (Simple Descriptive Survey) • 3. การทำสำรวจแบบเจาะเฉพาะกลุ่ม (Focus Group) เป็นการสำรวจที่กลุ่มตัวอย่างแต่ละคนในแต่ละกลุ่มได้อภิปรายกันเกี่ยวกับเรื่องที่สำรวจร่วมกับผู้วิจัยที่มีความเชี่ยวชาญ • 4. การวิจัยแบบทดลอง (Experimental Research) ซึ่งเป็นวิธีวิจัยที่มีความน่าเชื่อถือในเชิงวิทยาศาสตร์มากที่สุด การวิจัยแบบทดลองจะต้องมีการคัดเลือกกลุ่มทดลองที่เหมาะสมกัน และทำการทดลองกลุ่มดังกล่าวด้วยวิธีต่าง ๆ กัน โดยมีการควบคุมปัจจัยภายนอก • 5. การวิจัยโดยวิเคราะห์เนื้อหาจากสื่อมวลชน (The Analysis of Mass Media Content) เป็นการวิจัยที่ศึกษาเนื้อหาสาร ซึ่งสะท้อนความคิดเห็นจากหนังสือพิมพ์และสื่อมวลชนอื่น ๆ • โพลล์คือการศึกษาประชามติ การทำโพลล์ก็จะต้องใช้กระบวนการวิจัย

  37. โพลล์ หมายถึง ''การสำรวจความคิดเห็น'' ที่มา : คำนี้มาจากภาษาดัตซ์ (ฮอลแลนด์) polle แปลว่า "หัว, ศีรษะ" ซึ่งภาษาอังกฤษเอามาใช้ใน แง่การนับจำนวนหัว เช่นจำนวนคน ต่อมาใช้ในทำนองการนับจำนวนเสียง หรือการหยั่งเสียง ทั้งในทางการเมืองเช่นการหยั่งเสียงช่วงเลือกตั้ง และในเรื่องทั่วๆไป การวิจัย คือ กระบวนการค้นคว้าหาความจริง ภายในขอบเขตที่กำหนดไว้อย่างมีระบบ ตามระเบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อประโยชน์ในการอธิบายหรือคาดการณ์ล่วงหน้า และประชามติ คือ ความคิดเห็นของประชาชนโดยทั่วไป ความคิดเห็นนั้นเป็นการแสดงออกของทัศนคติของบุคคลด้วยภาษาหรือคำพูดหรือแนวโน้มของบุคคลที่จะแสดงหรือมีปฏิกิริยาต่อสิ่งต่าง ๆ ในลักษณะหนึ่ง ๆ โดยเฉพาะ 

  38. จากการสำรวจคนไทยทั่วประเทศ 1,000,000 คนพบว่ามี 500,000 คนอ่านหนังสือพิมพ์กันเป็นประจำทุกวัน สรุปว่าคนไทยทั่วประเทศอ่านหนังสือพิมพ์กัน 50 % สิ่งสำคัญในการอ้างแบบใช้ตัวอย่าง • จำนวนตัวอย่างต้องมากพอ • ตัวอย่างต้องเป็นตัวแทนที่ดีในการใช้สรุป

  39. เบื้องหลังการทดสอบ GT200 • ผลการทดสอบประสิทธิภาพGT200 ตรวจพบกล่องที่มีวัตถุระเบิด จำนวน 4 ครั้ง (จาก 20 ครั้ง) • วิธีการทดสอบโดยย่อคือ • ทำการซ่อน – ค้นหา ทั้งสิ้น 20 ครั้งแต่ละครั้งใช้กล่อง 4 ใบ • โดยมีกล่องใบหนึ่งซ่อนวัตถุระเบิด C4 ไว้อย่างสุ่ม ๆ • ดังนั้นในการซ่อน-ค้นหาแต่ละครั้งโอกาสที่จะพบโดยการสุ่มเลือกมั่ว ๆคือเท่ากับ 1/4หรือ 25% • และถ้าทำซ้ำ 20 ครั้ง ค่าเฉลี่ยโอกาสที่จะพบโดยการสุ่มมั่ว ๆ คือ • โอกาส 20 X 25%= 5 ครั้ง • ผลที่ได้ไม่ต่างจากการเดาสุ่ม

  40. ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์: ใครคือเจ้าพ่อผู้มีอิทธิพล • จากการปราบปรามเจ้าพ่อผู้มีอิทธิพลของรัฐบาลในขณะนี้ ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,000 ตัวอย่าง จากทุกระดับการศึกษา ในหัวข้อ "ใครคือเจ้าพ่อผู้มีอิทธิพล" เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2546 ผลการสำรวจสรุปได้ดังนี้ • ชาวกรุงเทพฯ ถึงร้อยละ 51 เห็นว่านักการเมือง เป็นเจ้าพ่อผู้มีอิทธิพลอันดับหนึ่ง รองลงมาได้แก่ ตำรวจ ร้อยละ 27 และข้าราชการร้อยละ 13 • เมื่อจำแนกชาวกรุงเทพฯ ตามระดับการศึกษาพบว่า ผู้มีการศึกษาสูงคือ ระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่า ถึงร้อยละ 63 เห็นว่านักการเมืองเป็นเจ้าพ่อผู้มีอิทธิพลอันดับหนึ่ง รองลงมา ได้แก่ ตำรวจ ร้อยละ 24 และข้าราชการ ร้อยละ 7 ส่วนผู้มีการศึกษาค่อนข้างน้อยคือ ระดับประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 25 เห็นว่า นักการเมือง เป็นเจ้าพ่อผู้มีอิทธิพลอันดับหนึ่ง รองลงมาได้แก่ ตำรวจ ร้อยละ 32 • กลุ่ม   ทุกระดับการศึกษา   ปริญญาตรี/สูงกว่า   อนุปริญญา/ปวส  มัธยมศึกษา   ประถมศึกษา/ต่ำกว่า • นักการเมือง       5163 41 48 45 • ตำรวจ           2724 2929 32 • ข้าราชการ         137 18 1318 ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์

  41. นักท่องเที่ยว หญิงไทยทั้งหมด หญิง บริการ ทางเพศ ชาวต่างประเทศคนหนึ่งมาเที่ยวเมืองไทย ไกด์ได้นำเที่ยว พัฒน์พงษ์ พัทยา อาบอบนวดและสถานบันเทิงต่าง ๆ เขาพบว่าทุกที่ ๆ ไป มีแต่หญิงบริการทางเพศ แม้ตอนขับรถผ่านสวนสาธารณะ คนขับยังชี้ให้ดูเลยว่ามีหญิงให้บริการทางเพศอยู่ ยิ่งกว่านั้นหญิงไทยที่เขามีปฏิสัมพันธ์ด้วย ล้วนเป็นหญิงบริการทางเพศทั้งสิ้น เขาจึงสรุปว่า ผู้หญิงไทยส่วนใหญ่เป็นหญิงบริการทางเพศ

  42. ข้อสรุปของการอ้างเหตุผลจากตัวอย่าง มีลักษณะเป็น “ลักษณะทั่วไปทางจำนวน/สถิติ” Ex. • ผลการหยั่งเสียงการลงคะแนน (การทำโพล) .การพยากรณ์ทางโหราศาสตร์ • ผลการ ทดลองวิจัยทางแพทย์ • ผลการทดสอบคุณภาพของยาชนิดใหม่ ๆ ฯลฯ • ผลการ ตรวจสอบคุณภาพสินค้าของ อย. • การ พยากรณ์อากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา “75 %ของคนป่วยที่ไปหาหมอ อาจรักษาหายได้ด้วยตัวเอง ถ้าเขาไม่ตื่นตกใจและทุกข์”

  43. เกณฑ์ตัดสินการอ้างเหตุผลจากตัวอย่างที่ดีเกณฑ์ตัดสินการอ้างเหตุผลจากตัวอย่างที่ดี ๑. ขนาดปริมาณของตัวอย่าง (จำนวนตัวแทนที่ใช้อ้างมากพอไหม) ๒. ความหลากหลายของตัวอย่าง (ประเภทของสิ่งในการสุ่มตัวอย่างมีมากไหม) ๓. ตัวอย่างเป็นตัวแทนที่ดีไหม ตัวแทนที่ใช้อ้างสัมพันธ์กับสิ่งที่จะสรุปหรือไม่ /แย้งได้ไหม

  44. ข้อบกพร่องของการอ้างเหตุผลจากตัวอย่างข้อบกพร่องของการอ้างเหตุผลจากตัวอย่าง 1.เก็บสถิติน้อยหรือด่วนสรุป (ข้อมูลไม่สมบูรณ์) 2.เก็บสถิติไม่เป็นกลาง (เพื่อชี้นำ ,ปลุกกระแส) 3.การเลือกเชื่อตัวอย่างที่ขัดกับสถิติ (มีอคติ) เพราะชอบฟังในสิ่งที่อยากฟัง คนใกล้ชิดผู้มีอำนาจบางคน จึงเป็นพวกที่พูดในสิ่งที่ “ผู้มีอำนาจ” อยากฟัง เสียส่วนใหญ่

  45. ลักษณะความน่าเชื่อถือของวิธีการอุปนัยลักษณะความน่าเชื่อถือของวิธีการอุปนัย 1.ขึ้นอยู่กับจำนวนปริมาณของหลักฐาน 2.ขึ้นอยู่กับหลักฐานที่ใช้เป็นตัวแทนที่ดีให้สรุปหรือไม่ 3.ขึ้นอยู่กับว่าเรื่องที่สรุปมีความซับซ้อนน้อยหรือมาก

  46. การอ้างเหตุผลแบบอุปนัยวางอยู่บนพื้นฐานสำคัญ 2 ประการ 1.เชื่อในกฎความสม่ำเสมอของธรรมชาติ(Uniformity of Nature) 2. เชื่อในความเป็นสาเหตุของปรากฏการณ์(Causation) สิ่งอย่างเดียวกันย่อมมีกฎเกณฑ์อย่างเดียวกัน เหตุอย่างเดียวกันมีผลย่อมอย่างเดียวกันเสมอ

  47. ๔. วิธีหาสาเหตุของมิลล์(1806 - 1873) “การกระทำทุกอย่างย่อมมีจุดมุ่งหมายของตน” ์ (All action is for the sake of some end.) วิธีการของมิลล์ (Mills Method) เป็นวิธีการอุปนัยชนิดหนึ่ง เริ่มด้วยการยอมรับกฎแห่งสาเหตุและผลเป็นกฎสากล เพราะเชื่อว่าปรากฏการณ์ทั้งหลายย่อมเป็นเหตุเป็นผลแก่กันและกันทั้งสิ้น ทุกอย่างมีสาเหตุไม่ใช่ความบังเอิญ วิธีหากฎเกณฑ์ของสาเหตุและผลของมิลล์เป็นวิธีหาสาเหตุโดยการทดลอง มิลล์ได้เสนอวิธีการหาสาเหตุโดยการทดลองไว้ 5 วิธี

  48. วิธีการหาสาเหตุของมิลล์(ต้องมี ๒ข้อมูลขึ้นไป) • ๑.วิธีดูสาเหตุร่วม • กฎ:“ทุกข้อมูลต้องมีตัวร่วมปรากฏอยู่ด้วยกัน” สาเหตุ… ผล… ข้อมูลที ๑… เช่นA B C Dเกิด I u t z ( ก ) ข้อมูลที ๒… เช่นAE F G เกิด x y t n ( ก ) ข้อมูลที ๓… เช่นO P QA เกิด พ ห ท t( ก ) • ข้อมูลที ๔… เช่นK VAW เกิด u h t ฟ ( ก ) • ฯลฯ สรุปว่า……. A น่าจะเป็นสาเหตุร่วมที่ก่อให้เกิด t ( ก ) เพราะเชื่อว่าปรากฏการณ์หนึ่งอาจมีสาเหตุมากกว่าหนึ่งและในหลาย ๆสาเหตุนั้น เราจำเป็นต้องเลือกเฉพาะสาเหตุที่เป็นไปได้ที่ทำให้ผลอย่างหนึ่งเกิดขึ้น

  49. Symbolically, the method of agreement can be represented as: • A B C D occurs together with w x y z: A E F G occurs together with w t u v: ------------------: Therefore A is the cause, the effect, or part of the cause of w.

  50. ตัวอย่างวิธีหาความสอดคล้อง (ดูสาเหตุร่วม) คำทำนายทายรักจากเลขบัตรประชาชน นำเลข 3 ตัวสุดท้ายจากบัตรประชาชนมาบวกกันเช่น 3587785089561 เอาเลข5 + 6 + 1ได้ 12แล้วเอา1 + 2ได้ 3(บวกให้ได้เลขตัวเดียว)

More Related