3.47k likes | 10.28k Vues
ปริมาณสัมพันธ์ (Stoichiometry). เนื้อหา. 1. มวลอะตอม 2. โมล 3. การหาสูตรอย่างง่ายและสูตรโมเลกุล 4. การหามวลเป็นร้อยละจากสูตร 5. ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณของสารในสมการเคมี 6. ผลผลิตตามทฤษฎี ผลผลิตจริงและผลผลิตร้อยละ. ปริมาณสารสัมพันธ์ ( Stoichiometry ).
E N D
เนื้อหา 1.มวลอะตอม 2.โมล 3.การหาสูตรอย่างง่ายและสูตรโมเลกุล 4.การหามวลเป็นร้อยละจากสูตร 5.ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณของสารในสมการเคมี 6. ผลผลิตตามทฤษฎี ผลผลิตจริงและผลผลิตร้อยละ
ปริมาณสารสัมพันธ์(Stoichiometry)ปริมาณสารสัมพันธ์(Stoichiometry) • เป็นการศึกษาการเปลี่ยนแปลงมวลของสาร ทางกายภาพและทางเคมีเป็นหลัก และ • บอกปริมาณของสารซึ่งอยู่ในลักษณะที่ต่างกันออกไป ทำไมต้องศึกษาปริมาณสารสัมพันธ์ • ใช้คาดคะเนปริมาณผลผลิต เมื่อทราบปริมาณตัวทำปฏิกิริยา • ช่วยประหยัดสารเคมี เพราะสามารถบอกได้ว่าควรใช้ • ตัวทำปฏิกิริยาปริมาณเท่าใดให้พอดี • คำนวณหาพลังงานที่เกิดจากปฏิกิริยาหรือที่ใช้ในปฏิกิริยาได้ • เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ด้านการเพิ่มผลผลิต
ปริมาณสารสัมพันธ์ มวลอะตอม มวลอะตอม (Atomic mass) คือ ตัวเลขที่ได้จากการเปรียบเทียบมวลของธาตุ 1 อะตอม กับมวลของธาตุมาตรฐาน 1 อะตอม ในรูปของหน่วยมวลอะตอม (atomic mass unit, amu) มวลอะตอมของธาตุ คือ มวลเปรียบเทียบที่บอกให้ทราบว่า 1 อะตอมของธาตุนั้นหนักเป็นกี่เท่าของธาตุมารตฐาน
ปริมาณสารสัมพันธ์ มวลอะตอม หน่วยมาตรฐาน : amu (atomic mass unit) 1 อะตอมของ C-12 (มี 6 โปรตอน และ 6 นิวตรอน) มีมวลอะตอม 12 amu 1 amu = 1/12 ของมวล C-12 1 อะตอม = 1.66 x 10-24g มวลอะตอมของธาตุใดๆ จึงเป็นตัวเลขที่แสดงว่าธาตุนั้นๆ 1 อะตอม มีมวลเป็นกี่เท่าของ 1/12 ของมวล C-12 1 อะตอม มวลอะตอมของธาตุ = มวลของธาตุ 1 อะตอม 1/12 ของมวล C-12 1 อะตอม
มวลของ 1 atom Au = 16.4 มวลของ 1 atom 12C มวลของ1 atomAu = 16.4 12 amu. ปริมาณสารสัมพันธ์ มวลอะตอม ตัวอย่างโจทย์ ทอง (Au) มีมวลอะตอมเป็น 16.4 เท่าของ 12C ทองมีมวลอะตอมเป็นกี่ amu มวลของ 1 atom 12C = 12 amu มวลของ1 atomAu = 16.4x 12 amu= 197 amu
ปริมาณสารสัมพันธ์ มวลอะตอม ตัวอย่าง : ทังสเตนมีมวลอะตอม 183.84 amu จงหาน้ำหนักเป็นกรัมของทังสเตน 25 อะตอม วิธีคิด : ทังสเตน 1 อะตอม มีมวล = 183.84 amu ทังสเตน 25 อะตอม มีมวล = 183.84 x 25 amu = 4.596 x 103amu เปลี่ยน amuเป็น g มวล 1 amu= 1.66 x 10-24 g มวล 4.596 x 103amu = 7.629 x 10-21 g ตอบ : ทังสเตน 25 อะตอม มีมวล 7.629 x 10-21 g
ปริมาณสารสัมพันธ์ ตัวอย่าง โพแทสเซียม 1อะตอมมีมวล 64.74x10-24กรัม จะมีมวลอะตอมเท่าไหร่ วิธีทำ มวลของK1อะตอม 64.74x10-24กรัม มวลอะตอมของ K = มวลอะตอมของ K = มวลอะตอมของ K = 39 1.66x10-24กรัม 1.66x10-24 มวลอะตอมของธาตุ = มวลของธาตุ 1 อะตอม โดยทั่วไปธาตุต่างๆมักมีหลายไอโซโทปในธรรมชาติ แต่ละไอโซโทปจะมีมวลอะตอมไม่เท่ากัน 1.66x10-24
ปริมาณสารสัมพันธ์ มวลอะตอม มวลอะตอมเฉลี่ย (Average atomic mass) : นำมวลอะตอมของธาตุที่มีหลายไอโซโทปมาหามวลอะตอมเฉลี่ย มวลอะตอมเฉลี่ย = =
ปริมาณสารสัมพันธ์ มวลอะตอม ตัวอย่าง ทองแดงเป็นโลหะที่มนุษย์รู้จักมาตั้งแต่สมัยโบราณใช้ทำสายไฟฟ้า และเหรียญกษาปณ์ เป็นต้น มวลอะตอมของไอโซโทปที่เสถียร 2 ชนิด ของทองแดง (69.09%) และ (30.91%) มีค่า 62.93 และ 64.9278 amuตามลำดับ จงคำนวณมวลอะตอมเฉลี่ยของทองแดง มวลอะตอมเฉลี่ย = = มวลอะตอมเฉลี่ย = = 63.55 amu
ปริมาณสารสัมพันธ์ มวลอะตอม ตัวอย่างที่ 2มวลอะตอมของไอโซโทปที่เสถียร 2 ไอโซโทปของโบรอน คือ (19.78 %) และ (80.22 %) มีค่า 10.0129 และ 11.0093 amu ตามลำดับ จงคำนวณมวลอะตอมเฉลี่ยของโบรอน มวลอะตอมเฉลี่ย = = มวลอะตอมเฉลี่ย = =10.81amu
ปริมาณสารสัมพันธ์ มวลโมเลกุล น้ำหนักโมเลกุล (MolecularWeight) ใช้วิธีเปรียบเทียบกับมวลของธาตุมาตรฐาน C-12 เช่นเดียวกับมวลอะตอม มวลโมเลกุลของสารใดๆ บอกให้ทราบว่า สารนั้น 1 โมเลกุลมีมวลเป็นกี่เท่า ของ 1/12 ของมวล C-12 1 อะตอม มวลโมเลกุล = มวลของสาร 1 โมเลกุล 1/12 ของมวล C-12 1 อะตอม
มวลโมเลกุลของสาร หาได้จากผลบวกของมวลอะตอม ของธาตุทั้งหมดในโมเลกุล SO2= 1 S + 2 O = (32 x 1) + (16 x 2) = 64 เช่น H2SO4 = 2 H + 1 S + 4 O = (2 x 1) + (1 x 32) + (4 x 16) = 98 CH3COOH = 2 C + 2 O + 4 H = (2 x 12) + (2 x 16) + (4 x 1) = 60
ปริมาณสารสัมพันธ์ มวลโมเลกุล จงคำนวณน้ำหนักโมเลกุลของน้ำตาลกลูโคส ซึ่งมีสูตรโมเลกุล C6H12O6 6 x น้ำหนักอะตอมของ C = 6 x 12.01 = 72.06 12 x น้ำหนักอะตอมของ H = 12 x 1.008 = 12.00 6 x น้ำหนักอะตอมของ O = 6 x 16.00 = 96.00 ดังนั้นน้ำหนักโมเลกุลของกลูโคส = 72.06 + 12.00 + 96.00 = 180.06
ปริมาณสารสัมพันธ์ โมล โมล: ปริมาณสารที่มีจำนวนอนุภาคเท่ากับจำนวนอะตอมของ C-12 ที่มีมวล 12 กรัม ซึ่งมีค่าเท่ากับ 6.02 x 1023อะตอม อนุภาคอาจเป็นอะตอม โมเลกุล หรือ ไอออน เลขจำนวน 6.02 x 1023เรียกว่า เลขอาโวกาโดร (Avogadro’s number) “Lorenzo Romano Amedeo Carlo Avogadro di Quaregna di Cerreto” ชาวอิตาลี 1 โมลของสารใดๆ หมายถึง ปริมาณสารจำนวน 6.02 x 1023อนุภาค ซึ่งมีมวลเท่ากับมวลอะตอมของธาตุหรือมวลโมเลกุลของสารนั้นๆ
ปริมาณสารสัมพันธ์ โมล สารที่มีสถานะเป็นแก๊ส แก๊ส 1 โมล มีปริมาตร 22.4 ลิตร ที่ STP มีจำนวน 6.02 x 1023โมเลกุล (Standard Temperature Pressure; อุณหภูมิ 0 C ความดัน 1 บรรยากาศ) โมลของสาร = น้ำหนักของสาร มวลอะตอมหรือมวลโมเลกุล จำนวนอะตอมหรือโมเลกุลของสาร = โมลของสาร x 6.02 x 1023 ปริมาตรแก๊สที่ STP = โมลของแก๊ส x 22.4 ลิตร
โมล (mole) หน่วยที่ใช้บอกปริมาณสาร 1 mole = 6.02 x1023อนุภาค n = จำนวนอนุภาค NA เมื่อ n = mole NA = Avogadro’s number (6.02 x1023อนุภาค/mol)
สารบริสุทธิ์ n = m MW n =mol; m =mass MW = molecular weight การคำนวณปริมาณสาร
แก๊ส n = V atSTP 22.4 การคำนวณปริมาณสาร (Standard Temperature and Pressure, STP) ที่อุณหภูมิ 0oC (273 K) และ ความดัน 1 บรรยากาศ (760 mmHg)
การคำนวณปริมาณสาร • สารละลาย • n = CV • 1000 • n = mol; C = molarity (M) • V = volume (mLหรือ cm3)
ปริมาณสัมพันธ์ ตัวอย่าง (น้ำหนักเชิงอะตอมของ C = 12, O = 16, Na = 23, Ca = 40, Cl = 35.5, Cu = 63.5) ก) C 36 g มีกี่โมล ข) CO2 88 g คิดเป็นกี่โมล 88 g 36 g = 2 mol 1 mol 1 mol 1 mol = 3 mol 12 g 44 g 106 g ค) Na2CO3 0.5 mol มีน้ำหนักกี่กรัม Na2CO3 159 g มีกี่โมล 106 g 0.5 mol = 53 g 1 mol 159 g = 1.5 mol
จำนวนโมล = น้ำหนักสาร มวลโมเลกุล จำนวนโมลของ NH3 = 15.35 = 0.90 โมล 17 คำถาม : ถ้ามีแก๊สแอมโมเนียหนัก 15.35 กรัม จงคำนวณหาจำนวนโมล จำนวนโมเลกุล และ ปริมาตรที่ STP NH3มวลโมเลกุล = 17 จำนวนโมเลกุล = จำนวนโมล x 6.02 x 1023โมเลกุล = 0.90 x 6.02 x 1023 = 5.42 x 1023 ปริมาตรที่ STP = จำนวนโมล x 22.4 ลิตร = 0.90 x 22.4 = 20.16 ลิตร
สูตรเคมี (Chemical formula) กลุ่มสัญลักษณ์ของธาตุหรือสารประกอบที่แสดงถึงองค์ประกอบของสารต่างๆ ว่าประกอบด้วยธาตุใดบ้างอย่างละกี่อะตอม • Empirical formula สูตรเอมไพริกัล • อัตราส่วนอย่างต่ำระหว่างอะตอมของธาตุในสารประกอบ • Molecular formula สูตรโมเลกุล • บอกจำนวนอะตอมจริงของธาตุในสารประกอบ • Structural formula สูตรโครงสร้าง • แสดงโครงสร้างและพันธะระหว่างอะตอม MW หาจาก molecular formula
สูตรเอมพิริคัลและสูตรโมเลกุลสูตรเอมพิริคัลและสูตรโมเลกุล สูตรเอมพิริคัล คือ สูตรเคมีที่แสดงอัตราส่วนอย่างต่ำของจำนวนอะตอมของธาตุที่เป็นองค์ประกอบในสารประกอบ เช่น CH4เป็นสูตรเคมีที่มีอัตราส่วนจำนวนอะตอม C และ H เป็น 1:4 และอัตราส่วนจำนวนอะตอมก็มีค่าเท่ากับอัตราส่วนจำนวนโมลด้วย ดังนั้น อัตราส่วนจำนวนโมลของ C และ H ใน CH4 ก็คือ 1:4 ด้วย สูตรโมเลกุล คือ สูตรเคมีที่แสดงจำนวนอะตอมของธาตุที่มีอยู่ใน 1 โมเลกุลของธาตุหรือสารประกอบ สารประกอบที่มีสูตรเอมพิริคัลเหมือนกันอาจมีสูตรโมเลกุลต่างกันและเป็นสารประกอบต่างชนิดกันก็ได้ เช่น สารประกอบที่มีสูตรเอมพิริคัลเป็น CH2อาจเป็นโมเลกุล C2H4 C3H6 C4H8หรือ C5H10 ก็ได้ สูตรโมเลกุล = (สูตรเอมพิริคัล)n
การหาสูตรเอมไพริกัลและสูตรโมเลกุลการหาสูตรเอมไพริกัลและสูตรโมเลกุล ปริมาณสารสัมพันธ์ ต้องบอกว่าสารนั้นประกอบด้วยธาตุใดบ้างและมีมวลอย่างละเท่าไหร่ การบอกมวลอาจบอกเป็นกรัมหรือร้อยละ หาอัตราโดยจำนวนโมลอะตอม (mole ratio) ของธาตุองค์ประกอบโดยนำมวลอะตอมของธาตุนั้นไปหารปริมาณของธาตุที่บอกในข้อ 1 นำผลหารจากข้อสองมาเทียบให้เป็นอัตราส่วนอย่างต่ำและเลขจำนวนเต็มลงตัวน้อยๆ ผลที่ได้จากข้อสามจะเป็นสูตรอย่างง่ายของสารประกอบ สูตรโมเลกุล = (สูตรเอมไพริกัล)n n = 1, 2, 3, …….. ต้องมีการปัดเศษ 0.1 – 0.2 ปัดทิ้ง 0.3 – 0.7 ปัดทิ้งไม่ได้ ต้องหาตัวเลขที่มีค่าต่ำสุดมาคูณให้มีค่า ใกล้เคียงกับตัวเลขที่จะปัดได้ 0.8 – 0.9 ปัดขึ้น 1
วิธีทำ อัตราส่วนโดยน้ำหนัก S : O = 50.05 : 49.95 อัตราส่วนโดยจำนวนอะตอม S : O = 50.05 : 49.95 32 16 = 1.56 : 3.12 = 1.56 : 3.12 1.56 1.56 = 1 : 2 หาสูตรโมเลกุล (SO2)n = 64 [32 + (16 x 2)]n = 64 n = 1 ตัวอย่าง.สารประกอบชนิดหนึ่งประกอบด้วย S 50.05% โดยน้ำหนัก และ O 49.95% โดยน้ำหนัก ถ้าน้ำหนักโมเลกุลของสารปะกอบนี้ เท่ากับ 64 จงคำนวณหาสูตรเอมไพริกัล และ สูตรโมเลกุลของสาร ทำให้เป็นอัตราส่วนอย่างต่ำ โดยการหารด้วยตัวเลขที่น้อยที่สุด คือ 1.56 สูตรเอมไพริกัล คือ SO2 สูตรโมเลกุล คือ SO2
การหาสูตรเอมไพริกัลและสูตรโมเลกุลการหาสูตรเอมไพริกัลและสูตรโมเลกุล ปริมาณสารสัมพันธ์ ตัวอย่างกรดแอสคอบิก (วิตามินซี) รักษาเลือดออกตามไรฟัน กรดนี้ประกอบด้วย คาร์บอน (C) 40.92 % ไฮโดรเจน (H) 4.58 % และออกซิเจน (O) 54.50 % โดยมวล จงหาสูตรอย่างง่าย และสูตรโมเลกุลของกรด แอสคอบิก (กำหนดมวลโมเลกุลของกรดแอสคอบิกเท่ากับ 176) อัตราส่วนโดยมวลของ C : H : O = 40.92 : 4.58 : 54.50 : : อัตราส่วนโดยโมลของ C : H : O = = 3.41 : 4.58 : 3.41 หาอัตราส่วนอย่างต่ำ = = 1.0 : 1.3 : 1.0 ดังนั้น สูตรอย่างง่าย คือ C1H1.3O1
การหาสูตรเอมไพริกัลและสูตรโมเลกุลการหาสูตรเอมไพริกัลและสูตรโมเลกุล ปริมาณสารสัมพันธ์ ขั้นต่อไปเปลี่ยน 1.3 ให้เป็นเลขจำนวนเต็มโดยวิธีลองผิดลองถูก คูณ 2 ตลอด จะได้ C2H2.6O2 ซึ่งยังปัดไม่ได้ คูณ 3 ตลอด จะได้ C3H3.9O3C3H4O3 หาสูตรโมเลกุลจาก (สูตรอย่างง่าย)n = มวลโมเลกุล (C3H4O3 )n = 176 (3(12) + 4(1) + 3(16))n = 176 88 n = 176 n = = 2 ดังนั้น สูตรโมเลกุลของกรดแอสคอร์บิก คือ (C3H4O3 )2 = C6H8O6
การหาสูตรเอมไพริกัลและสูตรโมเลกุลการหาสูตรเอมไพริกัลและสูตรโมเลกุล ปริมาณสารสัมพันธ์
ความสัมพันธ์ของปริมาณสารกับสมการเคมีความสัมพันธ์ของปริมาณสารกับสมการเคมี เงื่อนไข ผลผลิต ตัวทำปฏิกิริยา ปริมาณสารสัมพันธ์ สมการเคมี สมการเคมี ประกอบด้วยสัญลักษณ์หรือสูตรของสารต่างๆ - ใช้เขียนแทนการเปลี่ยนแปลงทางเคมี - บอกให้ทราบว่า สารใดทำปฏิกิริยากันและเกิดสารใดบ้าง - ใช้ในการคำนวณปริมาณสัมพันธ์ของสารต่างๆในปฏิกิริยานั้นๆ
ความสัมพันธ์ของปริมาณสารกับสมการเคมีความสัมพันธ์ของปริมาณสารกับสมการเคมี ปริมาณสารสัมพันธ์ ก่อนที่จะนำสมการเคมีมาใช้ในการคำนวณ สมการเคมีนั้นต้องดุลเสียก่อน นั่นคือจะต้องเป็นไปตาม กฎทรงมวล (อะตอมของแต่ละธาตุทางซ้ายมือของสมการนั้นจะต้องเท่ากับอะตอมของแต่ละธาตุทางขวามือของสมการ) 1. เริ่มดุลจากโมเลกุลที่ใหญ่ที่สุดหรือโมเลกุลที่ประกอบด้วย ธาตุมากที่สุดก่อน 2. ดุลโลหะ 3. ดุลอโลหะ(ยกเว้น H และ O) 4. ดุล H และ O 5. ตรวจดูจำนวนของธาตุในสมการ
การดุลสมการเคมี 2 CH4 C2H8 ไม่ใช่ ปริมาณสารสัมพันธ์ • เขียนสูตรโมเลกุลที่ถูกต้องของตัวทำปฏิกิริยาไว้ทางซ้ายมือและเขียนสูตรโมเลกุลที่ถูกต้องของผลิตภัณฑ์ไว้ทางขวามือ มีเทนทำปฏิกิริยากับออกซิเจนเกิดเป็นคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ CH4 + O2 -----> CO2 + H2O • เติมตัวเลขสัมประสิทธิ์หน้าสูตรโมเลกุลของสารแต่ละตัวเพื่อให้จำนวนอะตอมของธาตุทางซ้ายและขวามือของสมการเท่ากัน ห้ามเปลี่ยนตัวเลขห้อยในสูตรโมเลกุลเด็ดขาด • เริ่มต้นจากการดุลอะตอมของธาตุที่พบในแต่ละข้างของสมการเพียงข้างละหนึ่งสาร (เลือกธาตุที่มีเพียงตัวเดียวก่อน) • ดุล C ก่อน แต่ทั้งสองข้างมีข้างละ 1 อะตอมเท่ากัน • ดุล H โดยเติม 2 หน้า H2O ในข้างขวามือ CH4 + O2 -----> CO2 + 2 H2O • ดุลอะตอมของธาตุที่พบในแต่ละข้างของสมการที่มีมากกว่าหนึ่งตัว CH4 + O2 -----> CO2 + 2 H2O 1x2 = 21x2 + 2x1 = 4 คูณ O2ฝั่งซ้ายด้วย 2 CH4 + 2 O2 -----> CO2 + 2 H2O
ความสัมพันธ์ของปริมาณสารกับสมการเคมีความสัมพันธ์ของปริมาณสารกับสมการเคมี ปริมาณสารสัมพันธ์ 1._ H2 + _ O2 ----> _ H2O 2. _ C3H8 + _ O2 ----> _ CO2 + _ H2O 3. _ Na2O2 + _ H2O ----> _NaOH + _O2 4. _ KClO3 ----> _ KCl + _ O2 5. _ KClO3 + _ C12H22O11 ----> _ KCl + _CO2 + _H2O จงดุลสมการต่อไปนี้ 2H2 + O2 ----> 2H2O C3H8 + 5O2 ----> 3CO2 + 4H2O 2Na2O2 + 2H2O ----> 4NaOH +O2 2KClO3 ----> 2KCl + 3O2 8KClO3 + C12H22O11 ----> 8KCl + 12CO2 + 11H2O
ปริมาณสารสัมพันธ์ การคำนวณจากสมการเคมี - เขียนสมการเคมีของปฏิกิริยานั้น พร้อมดุลสมการให้ถูกต้อง - พิจารณาเฉพาะสารที่ต้องการทราบและสารที่กำหนดให้ที่มีความเกี่ยวข้องกัน - นำข้อมูลที่กำหนดให้มาคำนวณเพื่อหาปริมาณสารที่ต้องการ Ex : จงคำนวณว่าต้องใช้สังกะสีกี่กรัม และกี่โมล ทำปฏิกิรยากับกรด เกลือ จึงจะทำให้แก๊สไฮโดรเจน 0.224 ลิตร ที่ STP ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นคือ Zn + 2HCl ----> ZnCl2+ H2 ที่ STP H2 22.4 ลิตร (1 mol) เตรียมได้จากสังกะสี 65.4 g (1 mol) H2 0.224 ลิตร เตรียมได้จากสังกะสี = 0.654 g ดังนั้นจะต้องใช้สังกะสี= 0.654 gหรือ= 0.01 mol
ปริมาณสารสัมพันธ์ สารกำหนดปริมาณ ถ้าสารที่ทำปฏิกิริยามีปริมาณไม่พอดีกัน ปฏิกิริยาจะสิ้นสุดเมื่อสารใดสารหนึ่งหมด สารที่หมดก่อนจะเป็นตัวกำหนดปริมาณของผลผลิตที่เกิดขึ้น เรียกว่า สารกำหนดปริมาณ (Limiting reagent)
Ex : จงคำนวณว่าเกิด H2O กี่กรัม จากปฏิกิริยาระหว่างไฮโดรเจน 11.2 ลิตร และออกซิเจน 11.2 ลิตรที่ STP 2H2(g)+ O2(g)-----> 2H2O(g) H2 11.2 ลิตรมีปริมาณ = 0.5 mol O2 11.2 ลิตรมีปริมาณ = 0.5 mol หาสารกำหนดปริมาณ ; H2 = = 0.25 mol O2= = 0.5 mol ดังนั้น H2เป็นสารกำหนดปริมาณ จากสมการ H2 2 mol เตรียมน้ำได้ 2 x 18 g H2 0.5 mol เตรียมน้ำได้ 9.0 g ดังนั้นเตรียมน้ำได้ 9.0 g.
ผลได้ตามทฤษฎี (Theoretical yield) เป็นค่าที่ได้จากการคำนวณปริมาณผลผลิตตามสมการเคมี ที่ถือว่าปฏิกิริยานั้นเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ ในทางปฏิบัติ ผลผลิตที่ได้จากปฏิกิริยาจะมีค่าแตกต่างไปจากผลที่ได้ตามทฤษฎีเสมอ ปริมาณผลผลิตที่ได้นี้ เรียกว่า ผลได้จริง (Actual yield) การรายงานผลการทดลอง มักเปรียบเทียบผลได้จริงกับผลตามทฤษฎี ในรูปของ ผลได้ร้อยละ (Percentage yield) ผลได้ร้อยละ = ผลได้จริง X 100 ผลได้ตามทฤษฎี
Ex : จงหาปริมาณผลผลิตตามทฤษฎี(เป็นกรัม) ของทองแดงที่ได้จากการ แยก คอปเปอร์(I) ซัลไฟด์ (Cu2S) 1590 g.ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นคือ Cu2S + O2----> 2Cu + SO2ถ้าผลการทดลองได้ทองแดง 1,200 g. จงคำนวณหาผลผลิตร้อยละ ถ้าการทดลองเกิดทองแดง 1200 กรัม Cu2S 1590 g. = 1590 = 10 mol จากสมการ Cu2S 1 molเตรียม Cu ได้ 2 mol = 2 x 63.5 g. Cu2S 10 molเตรียม Cu ได้ 2 x 63.5 x 10 = 1270 g. ผลผลิตร้อยละ = 1200 x 100 = 94.5 159 1270