1 / 8

บทที่ 2 บทบาท ของการบริหาร การเงิน

บทที่ 2 บทบาท ของการบริหาร การเงิน. SIRIPORN SOMKHUMPA. บทบาทของการบริหารการเงิน.

keiran
Télécharger la présentation

บทที่ 2 บทบาท ของการบริหาร การเงิน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 2 บทบาทของการบริหารการเงิน SIRIPORN SOMKHUMPA

  2. บทบาทของการบริหารการเงินบทบาทของการบริหารการเงิน เมื่อก่อนการบริหารการเงินในธุรกิจของตนเองบทบาทก็จะไม่มาก เริ่มจากการวางแผน หรือประมาณการว่าธุรกิจเรานี้เริ่มแรกต้องใช้เงินเท่าไร แล้วกลับมามองว่าธุรกิจมีเงินอยู่แล้ว เท่าไร ขาดอีกเท่าไรที่ต้องจัดหาเพิ่ม หลังจากนั้นก็ดำเนินการจัดหาเงินมาลงทุนในกิจการ เช่น ซื้ออาคาร ซื้ออุปกรณ์ ซื้อวัตถุดิบ ซื้อสินค้ามาเพื่อดำเนินธุรกิจ ในภาวะปัจจุบันบทบาทของการเงินธุรกิจมีมากขึ้น เพราะเราไม่ได้เป็นธุรกิจเดียวต้องมีคู่แข่งขัน ต้องประสบกับภาวะที่ไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศ ภาวะเงินเฟ้อ การคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ ๆ ยิ่งทำให้ธุรกิจต้องใช้เงินทุนเพิ่มมากขึ้น การขยายตัวการดำเนินงานไปต่างประเทศจะผลักดันให้ผู้จัดการทางการเงินมีบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบในการบริหารทั่ว ๆ ไปด้วย

  3. วิวัฒนาการของการเงินธุรกิจวิวัฒนาการของการเงินธุรกิจ วิวัฒนาการของการเงินธุรกิจไว้ว่า การเงินธุรกิจ (Business Finance) มาจากคำเดิมในหมวดวิชาเศรษฐศาสตร์ คือ การเงินองค์การ (Corporate Finance) เพราะแต่เดิมวิชานี้เป็นสาขาหนึ่งของวิชาเศรษฐศาสตร์ ซึ่งเน้นการศึกษาจัดหาเงินทุนระยะยาว และวงจรชีวิตของกิจการ มีวิวัฒนาการแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะเริ่มแรก (พ.ศ.2483 – 2491) การดำเนินธุรกิจด้านการเงินมุ่งจัดหาเงินทุนจากแหล่งภายนอกมาลงทุน ระยะกลาง (หลังสงครามโลกครั้งที่ 2) ธุรกิจมีการขยายตัวสูงทางด้านการผลิต และเทคโนโลยีการซื้อขายระหว่างประเทศเพิ่มมากขึ้น การจัดหาเงินทุนระยะสั้นจากแหล่งภายในเพิ่มมากขึ้น การศึกษาทางการเงินธุรกิจในระยะนี้ มุ่งด้าน การบริหารเงินทุนหมุนเวียน (Working Capital) รวมทั้งศึกษาการวิเคราะห์ ความเคลื่อนไหวของเงินทุนและเงินสด ระยะที่สาม (ตั้งแต่ พ.ศ.2498 เป็นต้นมา) เศรษฐกิจขยายตัวมากการจัดหาเงินทุนมีข้อจำกัดมากขึ้น ธุรกิจมีทุนจำกัด ฉะนั้นต้องจัดสรรเงินทุนกี่ยวกับการใช้เงินทุนระยะยาว จัดอันดับความสำคัญและความจำเป็นก่อนหลัง วิเคราะห์และประเมินผลการบริหารทางการเงิน ซึ่งการตัดสินใจนี้ต้องอาศัยการพิจารณาข้อมูล และทางเลือกทุกทางที่อาจเป็นไปได้แล้วจึงตัดสินใจ

  4. ความรับผิดชอบในการดำเนินธุรกิจความรับผิดชอบในการดำเนินธุรกิจ 1.เจ้าหนี้ (Creditor) ต้องการให้มีความมั่นคงทางการเงิน สามารถจ่ายชำระหนี้ตามกำหนด 2.เจ้าของหรือผู้ถือหุ้น (Owner) ต้องการผลตอบแทนจากการลงทุนสูงสุด ต้องการกำไรมาก ๆเงินปันผลมาก ๆ มูลค่าของธุรกิจพิ่มขึ้น 3.ใสังคม (Society) ต้องการให้ดำเนินงานไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดี ไม่เป็นภัยต่อสุขภาพ ไม่เอาเปรียบผู้บริโภค 4.รัฐบาล (Government) ต้องการให้ดำเนินงานไม่ขัดต่อนโยบายของรัฐบาลและกฎหมายของประเทศ พร้อมทั้งมีการชำระภาษีอย่างถูกต้อง 5.ลูกจ้างพนักงาน (Employee)ต้องการโอกาสก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงาน มีความมั่นคงในการทำงานมีสวัสดิการที่ดี

  5. จุดมุ่งหมายของธุรกิจ และจุดมุ่งหมายทางการเงิน 1.เพื่อให้เจ้าของได้รับความมั่งคั่งสูงสุด (Shareholder Wealth Maximization) หมายถึง การพยายามทำให้เจ้าของหรือผู้ถือหุ้นได้รับผลตอบแทนสูงที่สุด นั่นคือให้มี Highest Combination ของเงินปันผลที่จ่ายจากกำไรของกิจการ ในขณะเดียวกัน เราอาจจะแยกพิจารณาเป็นประเด็นๆ ได้ ดังนี้ 1.1ราคาตลาดของหุ้นสามัญ 1.2ผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น 1.3ผู้ถือหุ้นมีสัดส่วนการเป็นเจ้าของ 1.4การจ่ายเงินปันผล

  6. จุดมุ่งหมายของธุรกิจ และจุดมุ่งหมายทางการเงิน(ต่อ) 2.เพื่อให้ได้กำไรสูงสุด (Profit Maximization) คือการทำให้ธุรกิจกำไรสูงสุด (To Maximize Profit) ในทางทฤษฎีจะเป็นจริงภายใต้ข้อสมมติว่าภาวะต่าง ๆ มีความแน่นอนหรือไม่มีความเสี่ยง เป้าหมายกำไรสูงสุดนี้ คือ การเพิ่มกำไรรวมทั้งหมดที่ได้จากการประกอบการให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ จะเห็นว่าเป้าหมายนี้มีจุดบกพร่องหลายประการ เช่น 2.1เป้าหมายที่ไม่พิจารณาเรื่องความเสี่ยง 2.2เป้าหมายนี้ผู้บริหารจะขาดความใส่ใจในเรื่องของความเสี่ยงที่เกิดจากการจัดหาเงินมาเพื่อลงทุน 2.3เป้าหมายนี้มีความไม่ชัดเจนในเรื่องของการวัดกำไร 2.4เป้าหมายนี้ไม่คำนึงถึงมูลค่าของเงินตามเวลา 2.5เป้าหมายนี้ไม่มีการกระจายผลตอบแทนให้กับผู้เป็นเจ้าของ

  7. หน้าที่ของผู้จัดการทางการเงินหน้าที่ของผู้จัดการทางการเงิน หน้าที่ของผู้บริหารทางการเงินจะแตกต่างกันไปในแต่ละองค์การขึ้นกับรูปแบบขององค์การ ขนาดขององค์การ และทัศนคติผู้บริหาร แต่อย่างไรก็ตามพอจะกำหนดหน้าที่ของผู้จัดการทางการเงินได้ดังนี้ 1.ตัดสินใจการลงทุนหรือบริหารโครงสร้างทรัพย์สินของกิจการ 2.ตัดสินใจเรื่องการจัดหาเงินทุนหรือบริหารโครงสร้างทางการเงินของกิจการ • จำนวนเงินทุนที่สามารถจัดหาได้ (Availability) • ต้นทุนของเงินทุน (Cost of Funds) • เวลา (Timing) • เงินปันผล (Cash Dividend) 3.การวางแผนและวิเคราะห์ทางการเงิน

  8. สรุป การวางแผนทางการเงินนี้รวมถึงการประเมินเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่อาจจะเกิด และโอกาสที่จะเกิดด้วย การประเมินค่า (Evaluation) ของความต้องการเงินทุนที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ก็เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการวางแผน ประโยชน์อย่างหนึ่งของการวางแผนคือ It Shortens Reaction Time to Events ดังนั้น ตอนนี้ก็ควรเป็นเวลาที่กิจการต้องเตรียมดำเนินการเพื่อที่จะรองรับการขยายตัวนี้ โดยอาจจะมีการเจรจาขอวงเงินกู้ กับธนาคารหรืออาจจะออกขายหุ้นกู้และหุ้นทุนเพิ่มเติม เงินที่คาดว่าจะจัดหานี้เพื่อที่จะใช้ขยายการลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ ตลอดจนเตรียมสั่งอำนวยความสะดวกเพื่อรองรับความต้องการดังกล่าว จะเห็นได้ว่าการประเมินการตัดสินใจ เกี่ยวกับการลงทุน และการจัดหาเงินทุน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการวางแผนทางการเงิน

More Related