1 / 37

วิชา สศ 4 02 โภชนศาสตร์และการให้อาหารโค

วิชา สศ 4 02 โภชนศาสตร์และการให้อาหารโค. บทที่ 3 น้ำ ไขมันและการใช้ประโยชน์.

kellan
Télécharger la présentation

วิชา สศ 4 02 โภชนศาสตร์และการให้อาหารโค

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. วิชา สศ 402โภชนศาสตร์และการให้อาหารโค

  2. บทที่ 3น้ำ ไขมันและการใช้ประโยชน์ ในบทนี้นักศึกษาจะได้เรียนรู้ถึงความสำคัญของน้ำ โครงสร้างของไขมัน การแบ่งประเภทและ ความสำคัญของไขมันในร่างกาย การย่อย และ การใช้ประโยชน์ของไขมันในส่วนต่างๆของระบบทางเดินอาหารในสัตว์เคี้ยวเอื้อง เนื่องจากไขมันเป็นแหล่งพลังงานส่วนหนึ่งของร่างกาย

  3. น้ำสำคัญอย่างไร • จำเป็นต่อเซลล์และสิ่งมีชีวิต • ในแต่ละวันควรได้กินน้ำเพื่อใช้ดำรงชีพ เจริญเติบโต ให้ผลผลิต • ปริมาณน้ำในร่างกายขึ้นกับ อายุ สภาพร่างกายหรือไขมัน • เสียน้ำร้อยละ 10 สัตว์อาจตายได้ • Deuterium oxide , tritium isotopeของธาตุ H • %ไขมัน= 100 - %น้ำในร่างกาย/0.732

  4. หน้าที่ของน้ำ -รักษาอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่ นำความร้อนจากเมตาโบลิซึมไปที่ปอด และผิวหนังผ่านระบบเลือด น้ำ1กรัมนำความร้อนได้ 580 Cal • เป็นตัวกลางในการเกิดปฏิกิริยาทางเคมีของร่างกาย • เป็นส่วนประกอบของของเหลวในร่างกาย • นำพาโภชนะและขับถ่ายของเสีย • ทำให้อาหารอ่อนนุ่ม

  5. น้ำได้มาอย่างไร • การกินน้ำโดยตรง • ในอาหาร • น้ำจากเมตาโบลิซึม(metabolic water) แป้ง 1 กรัมเมตาโบลิซึมได้น้ำ 0.56 กรัม ไขมัน 1 กรัมเมตาโบลิซึมได้น้ำ 1.07 กรัม โปรตีน 1 กรัมเมตาโบลิซึมได้น้ำ 0.40 กรัม ดูดซึมได้ในกระเพาะรูเมน โอมาซัม ลำไส้เล็กส่วนกลาง และส่วนปลาย ลำไส้ใหญ่ ไส้ติ่ง ท่อไต

  6. อะไรมีผลต่อการกินน้ำ • ปริมาณวัตถุแห้งในอาหาร • ส่วนประกอบของอาหาร มีโปรตีน เกลือ ต้องการน้ำมากขึ้น • สิ่งแวดล้อม • สายพันธุ์และอายุสัตว์ • สภาพทางสรีรวิทยาของร่างกาย ความต้องการน้ำระบุ - ต่อหน่วยน้ำหนักสัตว์,ปริมาณที่กินต่อวัน,metabolic body sizeต่อหน่วยอาหารแห้งที่กิน

  7. สัตว์แต่ละชนิดกินน้ำต่างกันสัตว์แต่ละชนิดกินน้ำต่างกัน ชนิดของสัตว์ปริมาณน้ำ(ลิตร/วัน) • โคเนื้อ 22-66 • โคนม 38-110 • แพะ แกะ 4-15 • ม้า 30-45

  8. ไขมัน คือะไร • ไขมันเป็นกลุ่มโภชนะที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย เช่นเดียวกับคาร์โบไฮเดรต แต่ใช้ในปริมาณน้อยมากในอาหารโค • ทางโภชนศาสตร์เรียก ลิพิดว่าไขมัน ซึ่งไม่ค่อยถูกต้อง เพราะไขมันคือไตรกลีเซอรอลที่เป็นลิพิดเชิงเดี่ยว(simple lipid) • ลิพิดจะรวมถึงฮอร์โมน ไวตามินที่ละลายในไขมัน หรือสารประกอบของคาร์โบไฮเดรตหรือไขมันด้วย

  9. ไขมันกับสัตว์เคี้ยวเอื้องไขมันกับสัตว์เคี้ยวเอื้อง • กินหญ้า หรือพืชอาหารสัตว์เป็นอาหารหลักจะได้ไขมันจากอาหารน้อย • จุลินทรีย์บางชนิดในกระเพาะรูเมนสามารถใช้ไขมันเป็นแหล่งพลังงานได้และถูกใช้เป็นพลังงานสำหรับตัวสัตว์ด้วย • ในสัตว์ ไขมันคือแหล่งสะสมพลังงาน ไขมันให้พลังงานมากกว่า ไกลโคเจนหรือคาร์โบไฮเดรต 2.25เท่า (39:17 MJ/kgDM)

  10. ไขมันหรือลิปิด(lipid) คืออะไร • สารประกอบที่ไม่ละลายน้ำ แต่ละลายได้ดีในอีเทอร์ หรือตัวทำละลายอินทรีย์(organic solvent) เช่นเบนซินและคลอโรฟอร์มประกอบด้วยธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจนและออกซิเจน • ไขมันในใบพืช เป็น galactolipid, waxes, phospholipid และ sterol • ไขมันในเมล็ดธัญพืชและนอาหารข้นคือ triglyceride ประกอบด้วยกรดไขมัน 3 โมเลกุลและกลีเซอรอล

  11. ลิพิดในพืชมี 2 ส่วน • ส่วนที่เป็นโครงสร้าง (structural lipid) ส่วนใหญ่เป็นไขมันที่เป็นโครงสร้างของผนังเซลล์เช่น sphingolipid, cholesterol หรือทำหน้าที่เคลือบผิว อยู่ในรูปของ wax • ส่วนที่สะสมภายในเซลล์ (storage lipid) คือtriglycerideมีในผลไม้และเมล็ดพืช ลิพิดที่อยู่ในรูปของน้ำมัน (oil or essential oil)

  12. หน้าที่ของลิพิด • เป็นแหล่งสะสมพลังงาน และสามารถดึงมาใช้ในยามขาดแคลน • เป็นฉนวนเก็บความร้อน • ช่วยดูดซึมไวตามินและเก็บไวตามิน • ให้กรดไขมันที่จำเป็น • เป็นองค์ประกอบของเซลล์และผนังเซลล์ • ถ่ายทอดสัญญาณประสาท

  13. ในทางเคมีแบ่งไขมันเป็นกี่ประเภทในทางเคมีแบ่งไขมันเป็นกี่ประเภท • 1.simple lipid : เป็นเอสเทอร์ของกรดไขมัน(fatty acid) และ แอลกอฮอล์ (alcohol) ชนิดอื่นๆ เช่นไตรกลีเซอไรด์(triglyceride) • 2.compound lipid : เป็นเอสเทอร์ของกลีเซอรอลที่มีกรดไขมันเป็นส่วนประกอบอยู่ 2 ตัวและมีสารกลุ่มอื่นรวมอยู่ด้วย เช่น ฟอสโฟไลปิด

  14. ในทางเคมีแบ่งไขมันเป็นกี่ประเภทในทางเคมีแบ่งไขมันเป็นกี่ประเภท • 3. derived lipid : ส่วนที่ได้จากการแตกตัวของไลปิดชนิดต่างๆ ได้แก่ กรดไขมัน (fatty acid), แอลกอฮอล์ (alcohol)และ สเตอรอล (sterols) Miscellaneous lipid : สารที่มีคุณสมบัติคล้ายไขมันคือละลายได้ในอีเทอร์ เช่น แคโรทีนอยด์ซึ่งเป็นสารให้สี วิตามินอี สเตอรอยด์

  15. ไขมัน • ประกอบด้วย กรดไขมัน และกลีเซอรอล • เรียกว่า triglycerides หรือ triacylglyceral • Oil น้ำมัน และ Fat ไขมัน เรียกว่าไขมันก็ได้มีคุณสมบัติและโครงสร้างคล้ายกัน แต่มีสมบัติทางกายภาพต่างกัน

  16. โครงสร้างทางเคมีของไขมันโครงสร้างทางเคมีของไขมัน • ไขมันในอาหารสัตว์ส่วนใหญ่คือไตรกลีเซอไรด์ ประกอบด้วย กลีเซอรอล และกรดไขมันชนิดต่างๆ โครงสร้างของไตรกลีเซอไรด์ R = กรดไขมัน

  17. ประเภทของกรดไขมัน • Saturated fatty acid เรียกว่ากรดไขมันที่อิ่มตัว เป็นกรดไขมันที่มีพันธะเดี่ยว ไม่สามารถเติม H+ได้อีก • Unsaturated fatty acid เรียกว่ากรดไขมันที่ไม่อิ่มตัว เป็นกรดไขมันที่ยังมีพันธะคู่เหลืออยู่ สามารถเติม H+ ได้อีก ไขมันจากพืชมีกรดไขมันที่ไม่อิ่มตัวสูง linolenic acid, linoleic acid, arachidonic acid ไขมันจากสัตว์มีกรดไขมันที่อิ่มตัวสูง

  18. การย่อยไขมันในโคต่างจากสุกรหรือไม่การย่อยไขมันในโคต่างจากสุกรหรือไม่ - สัตว์เคี้ยวเอื้องใช้เอนไซม์จากจุลินทรีย์ , เอนไซม์จากระบบทางเดินอาหาร และเอนไซม์จากตับอ่อนในการย่อยอาหาร • - ในลูกสัตว์สามารถย่อยไขมันนมในปากได้โดย pregastic esterase • ในสุกรใช้เอนไซม์จากลำไส้เล็กและตับอ่อน

  19. ไขมันที่สำคัญในร่างกายไขมันที่สำคัญในร่างกาย กรดไขมันที่สำคัญในร่างกายคือ Volatile fatty acid • กรดอะเซทติก (acetic acid) CH3-COOH • กรดโพรพิโอนิก (propionic acid) CH3-CH2-COOH • กรดบิวทีริก (butyric acid) CH3-CH2-CH2-COOH

  20. ไขมันที่โคกิน • ในทางอาหารสัตว์แบ่งเป็น3 กลุ่มคือ • ส่วนที่สะสมในเมล็ด triglycerides • ส่วนที่สะสมที่ใบ galactolipids • ส่วนอื่นๆของพืช waxes, essential oil, carotenoids, chlorophyll

  21. การย่อยจะเกิดขึ้นที่กระเพาะรูเมนเป็นส่วนแรกการย่อยจะเกิดขึ้นที่กระเพาะรูเมนเป็นส่วนแรก • โดยจุลินทรีย์หลั่งเอนไซม์การย่อยสามารถแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ (1) hydrolysis (2)hydrogenation (3)isomerization • ในลูกโคการย่อยเกิดขึ้นในปากโดยเอนไซม์ pregastic esterase

  22. Hydrolysis • เกิดขึ้นในแบคทีเรีย โดยหลั่งเอนไซม์ lipase ออกมา ไขมันในพืชอาหารสัตว์พวก galactolipid +waxes + phospholipid และไขมันจากเมล็ดธัญพืชพวก triglyceride • volatile fatty acid + free fatty acid + microbial cell • VFA + free fatty acid (short chain) ดูดซึมผ่านผนังกระเพาะรูเมนได้

  23. การย่อยไขมันในกระเพาะรูเมนการย่อยไขมันในกระเพาะรูเมน • แบคทีเรีย กลุ่ม lipolitic bacteria จะหลั่งเอนไซม์ออกมาย่อยไขมันในพืช • : galactolipid galactose+ glycerol • : triglyceride glycerol + fatty acids • กลีเซอรอลและกาแลคโตสจะถูกหมักต่อไปได้เป็นกรดไขมันที่ระเหยง่าย เช่น acetic acid และ propionic acid • ไขมันแต่ละชนิดถูกhydrolysis ในอัตราที่แตกต่างกัน

  24. ผลผลิตที่ได้จากการหมักย่อยไขมันในกระเพาะรูเมนผลผลิตที่ได้จากการหมักย่อยไขมันในกระเพาะรูเมน คือ - กรดไขมันที่ระเหยง่าย (Volatile fatty acid) เช่น acetic acid และ propionic acid ถูกร่างกายนำไปใช้ประโยชน์ (ATP, glucose, milk fat , body fat) - free fatty acid ถูกนำไปใช้สร้างเป็นเซลล์ของแบคทีเรียและ โปรโตซัว VFA บางส่วนถูกนำไปใช้เป็นพลังงานได้

  25. การย่อยไขมันในกระเพาะรูเมนการย่อยไขมันในกระเพาะรูเมน ในปาก อาหารหยาบ และอาหารข้น Galactolipid Triglyceride Glycerol + galactose glycerol + free fatty acids fermentation VFA, free fatty acids (sat+unsat) microbial cell absorbed short chain fatty acid absorbed VFA, short chain fatty acid rumen ลำไส้เล็ก

  26. การใช้ประโยชน์ VFA และ free fatty acid • Acetic acid - นำไปใช้เป็นพลังงาน - นำไปสร้างไขมันในนม • Propionic acid - นำไปสร้างกลูโคสและไขมันในร่างกาย • Free fatty acid - นำไปสร้างเป็น Microbial cell - เป็นพลังงานผ่านขบวนการเบต้าออกซิเดชั่น

  27. Hydrogenation คืออะไร • คือการเติม H+ให้กับกรดไขมันที่ไม่อิ่มตัว(Unsaturated fatty acid) ที่เกิดขึ้นในกระเพาะรูเมน โดยใช้ H+ ที่เกิดจาก Fermentation • เป็นวิธีสังเคราะห์กรดไขมันที่อิ่มตัว กรดไขมันที่อิ่มตัวที่พบมากในกระเพาะรูเมนคือ Stearic acid อาหารที่กินส่วนใหญ่เป็นกรดไขมันที่ไม่อิ่มตัวพวก Olelic acid และLinoleic acid • เกิดทั้งในแบคทีเรียและโปรโตซัว ที่อยู่ใน Rumen, Caecum

  28. ขบวนการ Isomerization ต่อจากขั้นตอน Hydrogenation เพื่อเปลี่ยนตำแหน่งของพันธะคู่ในกรดไขมัน • โดยพันธะคู่ของกรดไขมันที่ไม่อิ่มตัวที่เป็นแบบซีส (cis) จะถูกเปลี่ยนเป็นแบบทรานส์ (trans) • กรดไขมันที่มีพันธะคู่แบบทรานส์ เมื่อถูกนำไปสร้างเป็นไขมันในร่างกาย ไขมันที่ได้จึงมีสภาพเป็นของแข็ง เนื่องจากมีจุดหลอมเหลวสูงขึ้น

  29. กระเพาะรูเมนย่อยไขมันหมดหรือไม่กระเพาะรูเมนย่อยไขมันหมดหรือไม่ • บางส่วนของไขมันในอาหารไม่สามารถถูกย่อยได้ • ดังนั้นไขมันที่เข้าสู่ลำไส้เล็กจะประกอบด้วย : ไขมันในอาหารที่ไม่ถูกย่อยโดยจุลินทรีย์ : ไขมันที่เป็นโครงสร้างของเซลล์ในจุลินทรีย์ : กรดไขมันอิสระที่มีสายยาว (long chain fatty acid)

  30. การย่อยไขมันในลำไส้เล็กการย่อยไขมันในลำไส้เล็ก การย่อยจะคล้ายกับการย่อยไขมันในสัตว์กระเพาะเดี่ยว • เนื่องจากเป็นการย่อยโดยใช้ Pancreatic lipaseและ Intestinal juice • โดยใช้น้ำดีช่วยทำให้โมเลกุลของไขมันแตกกระจายเป็นโมเลกุลเล็กๆ • ผลผลิตจากการย่อย คือ : กรดไขมันอิสระชนิดต่างๆ : กลีเซอรอล

  31. ขั้นตอนการย่อยไขมัน • Emulsification เม็ดไขมันโดยน้ำดี • pancreatic lipase ย่อยไขมันโดยการ hydrolysisได้ง่ายขึ้น • โดยจะย่อยกรดไขมันที่ตำแหน่งที่ 1 และ ตำแหน่งที่ 3 ผลจากการย่อยคือ : กรดไขมันอิสระ 2 โมเลกุล : โมโนกลีเซอไรด์ที่มีกรดไขมันที่ตำแหน่งที่ 2 • โมโนกลีเซอไรด์ที่มีกรดไขมันที่ตำแหน่งที่ 2 จะถูกย่อยโดย lipaseได้ เมื่อผ่านการ Isomerization ก่อน

  32. การดูดซึมไขมัน -Free fatty acid (short chain)ดูดซึมไปใช้ประโยชน์ได้ -Glycerol ดูดซึมไปใช้ประโยชน์ได้ -Free fatty acid (long chain)ดูดซึมไม่ได้ต้องเปลี่ยนเป็น Triglyceride ใหม่ก่อน โดยขบวนการ Reesterification ที่ Mucosa cell • ผลผลิตต้องดูดซึมผ่านผนังลำไส้เข้าสู่ท่อน้ำเหลืองฝอยใน วิลไลก่อน แล้วผ่านเข้าในเส้นเลือดที่ไปตับ

  33. Reesterification เกิดขึ้นเพื่ออะไร • เพื่อนำกรดไขมันที่มีสายยาวไปใช้ประโยชน์ในร่างกาย Triglyceride ที่เกิดขึ้นใหม่ เกิดจากการรวมตัวกันของ : long chain fatty acid : glycerol : phospholipid : cholesterol เรียกว่าสารที่เกิดขึ้นใหม่ว่า Chylomycron

  34. การย่อยในลำไส้เล็ก Undigested lipid Microbial lipid + bile+ lipase • Glycerol + free fatty acids short chains long chains Intestinal lumen Reesterification Glycerol + long chains triglycerides + cholesterol+phospholipid Mucosal cell absorbed chylomycron To lymph or blood

  35. การย่อยในลำไส้ใหญ่ มีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อย เนื่องจาก • กินอาหารที่มีไขมันน้อย • ส่วนใหญ่ไขมันถูกย่อยในลำไส้เล็กหมด กรณีที่มีการย่อยจะใช้การหมักย่อยโดยจุลินทรีย์เช่นเดียวกับการย่อยไขมันในกระเพาะรูเมน

  36. กรดไขมันถูกใช้ประโยชน์คือกรดไขมันถูกใช้ประโยชน์คือ : ใช้สังเคราะห์เป็นไขมันหรือไตรกลีเซอไรด์ โดยรวมตัวกับกลีเซอรอล ไขมันที่สังเคราะห์ได้ เก็บสะสมไว้ ตามส่วนต่างๆของร่างกายสำหรับ : ใช้สังเคราะห์เป็นกรดไขมันในร่างกาย : ใช้เป็นพลังงานโดยผ่านβ-oxidation

  37. การใช้ประโยชน์ของกลีเซอรอลการใช้ประโยชน์ของกลีเซอรอล : ใช้เป็นพลังงาน • โดยเปลี่ยนให้เป็นกลูโคส เพื่อนำไปใช้เป็นแหล่งพลังงานเข้า TCA cycle • หรือนำกลีเซอรอลไปใช้เป็นแหล่งพลังงานโดยตรง : ใช้สร้างเป็นไขมัน (lipogenesis) ที่ตับเนื้อเยื่อไขมันและ เต้านม แหล่งของกลีเซอรอล : สังเคราะห์ได้จากกลูโคส : การย่อยไขมัน (lipolysis) or β-oxidation

More Related