1 / 47

หัวใจชายหนุ่ม

หัวใจชายหนุ่ม. ชื่อและประวัติผู้แต่ง. สรุปเรื่องหัวใจชายหนุ่ม. ชื่อและนิสัยตัวละคร. ข้อคิดคติธรรม. ชีวิตรักของชายหนุ่ม. ประโยชน์และคุณค่า. การรับวัฒนธรรมตะวันตก. คำศัพท์. จดหมายจริงหรืออิงนิยาย. แบบทดสอบ. ออกจากระบบ. เนื้อเรื่องย่อ. ภาคผน วก. ชื่อและประวัติผู้แต่ง.

Télécharger la présentation

หัวใจชายหนุ่ม

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. หัวใจชายหนุ่ม ชื่อและประวัติผู้แต่ง สรุปเรื่องหัวใจชายหนุ่ม ชื่อและนิสัยตัวละคร ข้อคิดคติธรรม ชีวิตรักของชายหนุ่ม ประโยชน์และคุณค่า การรับวัฒนธรรมตะวันตก คำศัพท์ จดหมายจริงหรืออิงนิยาย แบบทดสอบ ออกจากระบบ เนื้อเรื่องย่อ ภาคผนวก

  2. ชื่อและประวัติผู้แต่งชื่อและประวัติผู้แต่ง พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสิน มหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 6 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เสด็จพระราชสมภพเมื่อ วันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น 2 ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2423 เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 29 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าองค์ที่ 2 ในจำนวน 9 พระองค์ที่ประสูติ เสวย ราชสมบัติเมื่อวันเสาร์ที่ 23 ตุลาคม ปีจอ พุทธศักราช 2453 และเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 รวมพระชนมพรรษา 46 พรรษา เสด็จดำรงราชสมบัติรวม 16 ปี ทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญาเมื่อเสด็จสวรรคตแล้วว่า "สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า" พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ในพระราชวงศ์จักรีพระองค์แรกที่ไม่มีวัดประจำ รัชกาลในเรื่อง “หัวใจชายหนุ่ม” นี้ พระองค์ได้ใช้พระนามแฝงว่า “รามจิตติ” ได้ลงพิมพ์ครั้งแรกในหนังสือพิมพ์ดุสิตสมิตรายเดือนเมื่อ พ.ศ. 246

  3. ชื่อและนิสัยตัวละคร นายประพันธ์ เป็นผู้นิยมวัฒนธรรมตะวันตกอย่างผิดๆ ซึ่งบางสิ่งไม่ถูกต้องตามธรรมเนียมของไทย อันเปรียบเหมือนการดูถูกบ้านเกิดเมืองนอน เช่น คำกล่าวที่ว่า “ อีกอย่างหนึ่งในเมืองไทยยังมีคนครึอยู่มาก ที่ชอบเก็บลูกสาวไม่ให้เห็นผู้ชาย ” ซึ่งที่จริงแล้วเป็นธรรมเนียมที่ดีของไทย ที่กุลสตรีที่ดีงามมักจะเก็บตัวอยู่แต่ในบ้าน เพื่อฝึกการบ้านการเรือน อีกประการก็มีจิตใจที่อ่อนไหวครั้งเมื่อเห็นจดหมายที่ส่งให้แก่แม่อุไรนั้น ถูกฉีกเป็นเศษเล็กเศษน้อยร่วงออกมา “ ฉันเทออกแล้วจึงจำได้ว่าเป็นจดหมายที่ฉันมีไปถึงแม่อุไรนั่นเอง ขอให้นึกเถิดว่าฉันสะดุ้งปานใด” ตั้งแต่ครั้งนั้นเองทำให้ประพันธ์เปลี่ยนทัศนคติใหม่ๆที่มีต่อสตรีไทย ทั้งยังเป็นห่วงเป็นใยเสียด้วยซ้ำ ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่ดี ดังที่กล่าวว่า “ ถ้าเมื่อไรผู้หญิงไทยที่ดีๆ พร้อมใจกันตั้งกติกาไม่ยอมเป็นเมียคนที่เลี้ยงผู้หญิงไว้อย่างเลี้ยงไก่เป็น ฝูงๆเท่านั้นแหละ ผู้ชายที่มักมากจักต้องเปลี่ยนความคิด และความประพฤติ”

  4. ชื่อและนิสัยตัวละครต่อชื่อและนิสัยตัวละครต่อ แม่อุไร จากคำกล่าวของนายประพันธ์ที่ว่า “ขอบอกโดยย่อว่าหล่อนเป็นผู้หญิงที่งามที่สุดที่ฉันเคยได้พบในกรุงสยาม หล่อนคล้ายผู้หญิงฝรั่งมากกว่าผู้หญิงไทย” เห็นได้ว่าบุคลิกดูเป็นคนมั่นใจในตัวเอง กล้าคิดกล้าพูดแบบคนตะวันตก แต่หากกาลเวลาเปลี่ยนแปลงไปทำให้เห็นว่าคนเราสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมกันได้ ตลอดเวลาตราบใดที่ยังไม่หมดลมหายใจ กิริยาดูหยาบกระด้าง ดูแคลน เห็นผิดเป็นชอบ ดังที่ว่า “เห็นว่าถ้าโกรธผัวได้ต่อหน้าคนเป็นเกียรติยศดี พูดจาต้องขู่ฟ่อๆ ราวกับแมวที่ดุเสมอ” และแสดงให้เห็นถึงกิริยามารยาทที่ไม่ใช่แบบแผนที่สุภาพเรียบร้อยของคนไทย “แม่อุไรเดินกระทืบตีนปังๆ ขึ้นไปถึงห้องรับแขก นั่งลงทำหน้ามู่ทู่ไม่พูดไม่จาอะไรเป็นครู่ใหญ่ๆ” อีกสิ่งหนึ่งคือ การที่ไม่รู้จักรักษานวลสงวนตัว ยอมทอดกายให้ชายถึงสองคน คือ นายประพันธ์ ทำให้ท้องก่อนแต่ง และพระยาตระเวนนคร ที่มีนางบำเรออยู่แล้วถึง ๗ คน ทำให้ผิดหวังในความรักซ้ำแล้วซ้ำเล่า

  5. ชื่อและนิสัยตัวละครต่อชื่อและนิสัยตัวละครต่อ พระยาตระเวนนคร เป็นคนเจ้าชู้ประเภท เสือผู้หญิง ดังที่นายประพันธ์กล่าวไว้ว่า “ถ้าเห็นผู้หญิงสวยๆ และมีคนตอมจะต้องพยายามให้ได้หญิงคนนั้นจนได้ แต่ได้แล้วมักจะเบื่อ” ทั้งยังมีปัญญาที่เฉลียวฉลาด จากการที่ ยังไม่ยอมตกลงเป็นผัวเมียโดยราชการกับแม่อุไร ทำให้ไม่ต้องคอยพาแม่อุไรไปออกงานสังคมมากนัก จึงมีโอกาสที่จะพบปะกับหญิงใหม่ๆ ได้ตลอดเวลา หลวงพิเศษผลพานิช เป็นพ่อค้าที่มั่งมี แต่มีความจริงใจ ดังคำที่ว่า “จริงอยู่หลวงพิเศษนั้นรูปร่างไม่ใช่เทวดาถอดรูป แต่หวังใจว่าคงจะเข้าลักษณะขุนช้าง คือ ถึงรูปชั่วใจช่วงเหมือนดวงเดือน” จึงนับว่าเป็นบุญของแม่อุไรที่ได้พบคนที่ดี

  6. หัวใจชายหนุ่ม : ชีวิตรักของชายหนุ่ม มุ่งแสดงให้เห็นว่าการแต่งงานของคนหนุ่มสาวที่มาจากการชอบพอกันเพียงเปลือกนอก ขาดการรู้จักและเข้าใจกันอย่างแท้จริงย่อมไม่ยั่งยืน และอับปางลงอย่างง่ายดาย เรื่องของแม่อุไรยังให้บทเรียนเป็นรูปธรรมแก่ผู้อ่านรุ่นหนุ่มสาวว่าการใช้เสรีภาพในทางที่ผิดโดยปล่อยเนื้อปล่อยตัวจนกระทั่งพลาดพลั้งชิงสุกก่อนห่ามจะต้องประสบชะตากรรมอันเลวร้ายอย่างไรบ้างในชีวิต

  7. หัวใจชายหนุ่ม : การรับวัฒนธรรมตะวันตกของชาวสยาม ประพันธ์ปฏิเสธที่จะแต่งงานกับหญิงที่บิดามารดาเลือกให้เพราะเห็นว่าเธอไม่ ทันสมัย แต่เมื่อเขาได้แต่งงานกับผู้หญิงที่เขาเรียกเอง ชีวิตคู่ของเขากลับมีปัญหาอย่างมากเพราะถึงแม้เขาจะเลือกคู่ครองด้วยรสนิยมแบบตะวันตก แต่เมื่อแต่งงานแล้ว เขากลับพบว่าหญิงที่ได้รับการเลี้ยงดูแบบตะวันตกให้มีอิสระอย่างเต็มที่ไม่เหมาะสมแก่เขา เมื่อประพันธ์และแม่อุไรไม่ยอมปรับตัวเข้ากัน จึงต้องอย่าขาดจากกันในตอนท้ายเรื่อง ประพันธ์ตกลงใจจะแต่งงานใหม่กับผู้หญิงที่เขาพอใจและผู้ใหญ่ก็เห็นชอบ เห็นได้ชัดเลยว่าเมื่อประพันธ์สามารถปรับความคิดแบบตะวันตกให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมไทยและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมให้เป็นไปทางที่ดีขึ้น ชีวิตของเขาก็มีความสุขประสบผลสำเร็จ ดังนั้นการรับวัฒนธรรมตะวันตกย่างไม่ ถูกต้องจะส่งผลร้ายแก่ตนเอง

  8. หัวใจชายหนุ่ม : จดหมายจริงหรืออิงนิยาย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเลือกเสนอแนวคิดที่ผ่านรูปแบบงานเขียนประเภทนงนิยายซึ่งถือว่าเป็นรูปแบบการประพันธ์ที่สามารถสร้างความสมจริงได้มากที่สุด แม้หัวใจชายหนุ่มจะเป็นเรื่องสมมติขึ้น แต่พระองค์ทรงใช้กลวิธีในการนำเสนอหลากหลายประการที่ทำให้ผู้อ่านรู้สึกราวกับว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องจริง

  9. เนื้อเรื่องย่อ นาย ประพันธ์เขียนจดหมายถึงนายประเสริฐซึ่งเป็นเพื่อนรักของเขา นายประพันธ์เป็นนักเรียนนอกจากประเทศอังกฤษ เมื่อกลับมาถึงเมืองไทย พ่อของเขาหวังจะให้แต่งงานกับแม่กิมเน้ย แต่ประพันธ์ไม่ชอบใจการแต่งตัวของหล่อนที่ประดับประดามากเกินไปและดูเกินงาม จนทำให้เขาปลีกตัวออกไปจากการคลุมถุงชนจนได้พบกับแม่อุไร ซึ่งเป็นหญิงสาวหัวนอกด้านวัฒนธรรมตะวันตกเช่นเดียวกับประพันธ์ ทั้งสองถูกคอกัน มักพากันเที่ยวเตร่สม่ำเสมอ จนในที่สุดเกิดได้เสียกันจนแม่อุไรตั้งครรภ์ จึงจำเป็นต้องแต่งงานกันบนความไม่พอใจของผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่าย แต่เมื่อแต่งงานไปนานๆ นิสัยของแม่อุไรได้เปลี่ยนไป ชอบข่มสามีต่อหน้าคนอื่น หยาบกระด้าง ไร้ซึ่งมารยาท จนหนักเข้าเธอเริ่มเหินห่างประพันธ์ไปคบกับพระยาตระเวนนคร เสือผู้หญิงที่ประสงค์ได้ผู้หญิงคนไหนย่อมได้ทุกครั้งไป

  10. เนื้อเรื่องย่อ ต่อ รวมถึงแม่อุไรที่ต้องหย่ากับประพันธ์ด้วยหวังว่าพระยาตระเวนนครจะให้เกียรติ เธอราวภรรยาคนสำคัญ แต่กลับตาลปัตรทางรักของแม่อุไรพังลงเมื่อพระยาตระเวนนครมีหญิงคนใหม่ เธอจึงกลับมาขอคืนดีกับประพันธ์ แต่ถูกปฏิเสธ จนเหตุการณ์ต่างๆ ผ่านชีวิตของนายประพันธ์ไป ทำให้เขาเริ่มคิดได้ว่าบางทีการดำเนินชีวิตแบบชาวตะวันตกนั้นมิสามารถใช้ได้ กับวิถีแห่งความเป็นไทย ในที่สุดเขาได้พบกับนางสาวศรีสมาน หญิงสาวผู้ที่เขาคิดว่าจะเยียวยา และบำรุงชีวิตของเขาให้ฟื้นคืนมาได้ ส่วนแม่อุไรก็ได้พบรักกับหลวงพิเศษผลพานิช พ่อค้าผู้มั่งมี แม้หน้าตาของเขาจะมิได้หล่อเหลา แต่มีเงินมากพอที่จะซื้อความสุขให้กับแม่อุไรได้เช่นกัน เรื่องราวต่างๆ ได้จบลงด้วยจดหมายฉบับสุดท้ายแต่เพียงเท่านี้...

  11. สรุปเรื่องหัวใจชายหนุ่มสรุปเรื่องหัวใจชายหนุ่ม • ฉบับที่ 1 เรือ โอยามะมะรู เดินในทะเลแดง นายประพันธ์ ประยูรสิริ ได้ส่งจดหมายถึงนายประเสริฐ สุวัฒน์ ซึ่งเป็นเพื่อนรักกันเป็นฉบับแรก เนื้อความในจดหมายกล่าวถึงการเดินทางกลับมายังประเทศไทยจากลอนดอนของนายประพันธ์ นอกจากนั้นยังบรรยายถึงความเสียใจที่ไปกลับประเทศไทยและการดูถูกบ้านเกิดเมืองนอนของตนเอง และได้เล่าถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างการเดินทางกลับภายใจเรือโดยสาร คือ ได้พบปะกับผู้หญิงคนหนึ่งที่ตนเองสนใจ แต่ต้องผิดหวังเนื่องจากหล่อนมีหวานใจมารอรับที่ท่าเรืออยู่แล้ว

  12. สรุปเรื่องหัวใจชายหนุ่มต่อสรุปเรื่องหัวใจชายหนุ่มต่อ 2. ฉบับที่ 4 ถนนหัวลำโพงจดหมายในฉบับที่ 4 นี้กล่าวถึง การกลับมาถึงประเทศไทย และการเข้ารับราชการซึ่งใช้เส้นแต่ไม่สำเร็จผล นอกจากนี้คุณพ่อของนายประพันธ์ได้หาภรรยาไว้ให้นายประพันธ์แล้ว หล่อนชื่อ กิมเน้ยเป็นลูกสาวของนายอากรเพ้งซึ่งพ่อของนายประพันธ์รับรองว่าเป็นคนดีสมควรแก่นายประพันธ์ด้วยประการทั้งปวง แต่ด้วยนายประพันธ์เป็นนักเรียนนอก จึงไม่ยอมรับเรื่องการคลุมถุงชน จึงได้ขอดูตัวแม่กิมเน้ยก่อน นอกจากนั้นในจดหมายได้เล่าถึง การพบปะกับผู้หญิงคนหนึ่งที่ตนถูกใจที่โรงพัฒนากรด้วย 3. ฉบับที่ 5 ถนนหัวลำโพงจดหมายฉบับที่ 5 กล่าวถึง การได้เข้ารับราชการของนายประพันธ์ นายประพันธ์ได้เข้ารับราชการในกรมพานิชย์และสถิติพยากรณ์ และนายประพันธ์ได้พบกับกิมเน้ย หน้าตาของหล่อนเหมือนนายซุนฮูหยิน แต่ก็ยังไม่เป็นที่ถูกใจของนายประพันธ์ นอกจากนั้นนายประพันธ์ได้เล่าถึงผู้หญิงที่เจอในโรงพัฒนากร หล่อนชื่อ นางสาวอุไร พรรณโสภณ เป็นลูกสาวของพระพินิฐพัฒนากร

  13. สรุปเรื่องหัวใจชายหนุ่มต่อสรุปเรื่องหัวใจชายหนุ่มต่อ 4. ฉบับที่ 6 ถนนหัวลำโพง จดหมายฉบับที่ 6 กล่าวถึง การได้นัดพบแม่อุไร การไปเที่ยวในระหว่างงานฤดูหนาวทุกวัน ทุกคืน และได้บรรยายถึงรูปร่างลักษณะของแม่อุไร ว่าเป็นคนสวยน่ารัก และกล่าวว่า แม่อุไรงามที่สุดในกรุงสยาม แม่อุไรมีลักษณะเหมือนฝรั่งมากกว่าคนไทย มีการศึกษาดี โดยสิ่งที่นายประพันธ์ชอบมากที่สุดคือ การเต้นรำ ซึ่งแม่อุไรก็เต้นรำเป็นอีกด้วย 5. ฉบับที่ 9 หัวหินจดหมายฉบับที่ 9 กล่าวถึง การแต่งงานของแม่อุไรโดยรีบรัด เนื่องจากสาเหตุการนัดพบเจอกันบ่อยครั้ง จนทำให้แม่อุไรตั้งครรภ์ขึ้นมา การสู่ขอนั้นคุณพ่อได้ไปขอให้ท่านเจ้าคุณมหาดเล็กไปสู่ขอ หลังจากแต่งงานทั้งคู่ได้ไปฮันนี่มูนที่หัวหินด้วยกัน.

  14. สรุปเรื่องหัวใจชายหนุ่มต่อสรุปเรื่องหัวใจชายหนุ่มต่อ 6. ฉบับที่ 11 บ้านเลขที่ 00 ถนนสี่พระยา ประพันธ์เขียนจดหมายหลังจากกลับมาจากการ honey moon ที่หัวหิน ประพันธ์เล่าถึงการทะเลาะเบาะแว้งกับแม่อุไร ซึ่งเป็นการทะเลาะกันด้วยเรื่องไม่เป็นเรื่อง ประพันธ์จะทำอะไรก็ขัดใจแม่อุไรไปหมด และเล่าว่าแม่อุไรชอบทำตัวเหนือตนเอง 7. ฉบับที่ 12 บ้านเลขที่ 00 ถนนสี่พระยา หลังจากแม่อุไรแท้งลูก ก็มีกิริยาเปลี่ยนไป ออกเที่ยวกลางคืนคนเดียวทุกวัน สร้างหนี้สินมากมาย และไปสนิทสนมกับพระยาตระเวนนคร ถึงขั้นไปค้างคืนที่บ้าน ประพันธ์จึงทำการหย่าขาดกับแม่อุไรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

  15. สรุปเรื่องหัวใจชายหนุ่มต่อสรุปเรื่องหัวใจชายหนุ่มต่อ 8. ฉบับที่ 13 บ้านเลขที่ 00 ถนนสี่พระยา หลังจากหย่าขาดกับแม่อุไร แม่อุไรก็ได้ย้ายไปอยู่กับพระยาตระเวนนครอย่างเปิดเผย และเล่าถึงประวัติของพระยาตระเวน ว่ามีเมียอยู่แล้วถึง 7 คน ประพันธ์ยังเล่าถึงความก้าวหน้าในหน้าที่การงานของตนเองอีกด้วย 9. ฉบับที่ 15ที่พักกรมเสือป่าม้าหลวง ร.อ. พระราชวังสนามจันทร์ ประพันธ์เล่าว่าช่วงงานฤดูหนาวเห็นพระยาตระเวนไปเที่ยวกับแม่สร้อย ซึ่งเป็นเพื่อนของลูกสาวพระยาตระเวนนครอยู่ตลอด แต่แม่อุไรก็ไม่ได้ทำอะไร อาจเพราะกลัวว่าจะไม่มีที่อยู่ เพราะแม่อุไรก็ได้ตัดขาดกับพ่อของตนเองแล้ว

  16. สรุปเรื่องหัวใจชายหนุ่มต่อสรุปเรื่องหัวใจชายหนุ่มต่อ 10. ฉบับที่ 17 บ้านเลขที่ 00 ถนนสี่พระยา แม่อุไรไปหาประพันธ์ที่บ้าน มาอ้อนวอนขอให้ประพันธ์ช่วยรับเลี้ยงดู เนื่องจากแม่อุไรโดนไล่ออกจากบ้านของพระยาตระเวนนครแล้ว ประพันธ์จึงแนะนำให้แม่อุไรกลับไปง้อพ่อ และกลับไปอยู่กับพ่อดังเดิม 11. ฉบับที่ 18 บ้านเลขที่ 00 ถนนสี่พระยา ประพันธ์เล่าว่าแม่อุไรได้แต่งงานใหม่กับหลวงพิเศษผลพานิช พ่อค้าร่ำรวย และประพันธ์เองก็กำลังจะแต่งงานกับแม่ศรีสมาน ลูกสาวพระยาพิสิฐเสวก และให้ประเสริฐเตรียมตัวมาเป็นเพื่อนเจ้าบ่าวได้เลย

  17. ข้อคิดคติธรรม 1. พฤติกรรมของนายประพันธ์เป็นพฤติกรรมที่เลียนแบบพฤติกรรมของปุถุชนที่มีทั้ง ข้อดีและข้อเสีย ทั้งความถูกต้องและผิดพลาด เปรียบเสมือนกับมนุษย์ที่สามารถผิดพลาดได้ตลอดเวลา แต่อย่าลืมนำความผิดพลาดนั้นมาใช้ในการแก้ไขตนเอง และปรับทัศนคติที่ผิดอยู่ให้ดีขึ้น จนสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุขต่อไป 2. อย่าหลงวัฒนธรรมตะวันตกจนลืมจิตสำนึกแห่งความเป็นไทย ควรเก็บสิ่งที่ดีมาปฏิบัติ แล้วเก็บสิ่งที่ไม่ดีไว้เป็นอุทาหรณ์ ขณะเดียวกันก็อย่าดูถูกบ้านเกิดเมืองนอนว่าหัวโบราณ เก่าคร่ำครึ เพราะวัฒนธรรมที่ดีงามของไทยนี้แลจึงสามารถจรรโลงประเทศให้อยู่ได้มาสืบทุก วันนี้

  18. ข้อคิดคติธรรม ต่อ 3. การแต่งงานของหนุ่มสาวที่มาจากการชอบพอกันแค่เพียงเปลือกนอก ขาดการรู้จักและเข้าใจกันอย่างแท้จริงย่อมไม่ยั่งยืนและอับปางลงอย่างง่าย ดาย เช่นกรณีของประพันธ์ และแม่อุไรที่รักเร็วใจเร็ว ทำให้ความรักนั้นจบลงในเวลาอันสั้น 4. การใช้เสรีภาพในทางที่ผิดโดยปล่อยเนื้อปล่อยตัวจนกระทั่งพลาดพลั้งชิงสุก ก่อนห่ามจะต้องประสบชะตากรรมอันเลวร้าย ดังแม่อุไรที่ปล่อยตัวได้เสียกับประพันธ์ทำให้ไม่เป็นที่พอใจของผู้ใหญ่ของ ทั้งสองฝ่าย นำไปสู่การหย่าร้างกันวันข้างหน้า

  19. ข้อคิดคติธรรม ต่อ 5. คนเราควรดำเนินชีวิตในทางยุติธรรม ดังเช่นประพันธ์ เขาไม่ชอบการใช้เส้นสาย แต่ไม่สามารถหางานได้ด้วยตนเอง จึงต้องยอมรับงานที่ผู้ใหญ่ฝากฝังให้ แต่ก็ได้ใช้ความสามารถของตนเองทำให้มีความก้าวหน้าในราชการ ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงบริบาลบรมศักดิ์ในที่สุด

  20. ประโยชน์และคุณค่า คุณค่าด้านวรรณศิลป์มี การเริ่มต้นเรื่องได้อย่างหลงใหลและน่าติดตาม อีกทั้งการดำเนินเรื่องก็ชวนให้ติดตามไปจนจบเรื่อง สำนวนภาษาในการเขียนจดหมายและการเลือกใช้คำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ รวมทั้งคำแสลงมากมายสอดคล้องกับลักษณะของประพันธ์ผู้ยังอยู่ในวัยหนุ่มและ เพิ่งกลับมาจากต่างประเทศใหม่ๆ นอกจากนั้นจดเนื้อความของจดหมายก็เป็นมุมมองหรือทัศนะที่ตรงไปตรงมาเหมือน จดหมายส่วนตัวทั่วๆ ไป กลวิธีที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ทำให้หัวใจชายหนุ่มมีความสมจริงเป็นอย่างยิ่ง และสามารถสื่อแนวคิดที่ต้องการนำเสนอได้แจ่มแจ้งชัดเจน

  21. ประโยชน์และคุณค่า ต่อ คุณค่าด้านเนื้อหามี การสร้างตัวละครได้อย่างสมจริง แสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมของปุถุชนที่มีทั้งสิ่งที่ถูกต้องและผิดพลาด และมีทั้งความสมควรและไม่สมควร โดยมีลักษณะที่สมจริง สมเหตุสมผล โดยประพันธ์ถือเป็นคนที่มีแนวคิดสมัยใหม่ซึ่งบางครั้งตรงกันข้ามกับความเป็น ไทยที่เหมาะสม แต่ยังสามารถกลับตัวกลับใจมาเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้ จึงมีความสมบูรณ์ทั้งตัวละคร และเนื้อหาของตัวละครด้วย

  22. ประโยชน์และคุณค่า ต่อ คุณค่าด้านสังคมบท กวีย่อมสะท้อนสภาพสังคมของกวีตามมุมมองของกวี ซึ่งสามารถเข้าถึงสังคมไทยในสมัยรัชกาลที่ ๖ ซึ่งแตกต่างกับสังคมยุคปัจจุบันอย่างมาก ทั้งในด้านของการปกครองที่กล่าวไว้ในเรื่องว่า “ท่านว่าขายของได้ดีอย่างไรๆ ก็จะเป็นอะไรไม่ได้ นอกจากขุนนางกรมท่าซ้าย ทั้งกว่าจะได้เป็นหลวงก็อีกหลาย แล้วอาจจะเป็นหลวงตั้งแต่อายุ ๓๐ เมื่ออายุ ๔๕ จึงได้เป็นพระ แล้วก็ยังเป็นพระจนทุกวันนี้ และไม่แลเห็นทางที่จะเป็นพระยาด้วย” แสดงให้เห็นว่าบ้านเมืองในอดีตกับปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปมาก ทั้งสภาพจิตใจคนในสมัยต่างๆ ก็แตกต่างกันไปด้วย ทางที่ดีหากเราสามารถกระทำความดีได้ ไม่ว่าจะอยู่ในยุคสมัยใดก็ตาม ก็ควรหมั่นทำความดีไว้ เพราะแม้ตัวได้วายลง แต่ความดีมิได้วายตามไปด้วยอย่างแน่นอน

  23. คำศัพท์ เรื่องหัวใจชายหนุ่ม กรมท่าซ้าย กรมท่า คือส่วนราชการในสมัยก่อนซึ่งสังกัดกรมพระคลัง มีหน้าที่เกี่ยวกับการประเทศและปกครองเมืองท่ากรมท่าซ้ายมี หน้าที่เกี่ยวกับชาวจีน ขุดอู่ อู่ คือเปลเด็ก คำว่า ขุดอู่มีความหมาย เหมือนผูกอู่ ทำตาม ความพอใจขอผู้ที่จะได้รับผลโดยตรง ซึ่งในที่นี้หมายถึง การเลือกคู่ครองด้วยตนเอง ครึ เก่า ล้าสมัย ฉิว รู้สึกไม่พอใจข้นมาทันที ซุนฮูหยิน ฮูหยินเป็นคำเรียกของภรรยาขุนนางจีน นางซุนฮูหยินเป็นตัวละครในเรื่อง สามก๊ก ในที่นี้ หมายถึง แม่กิมเน้ยซึ่งมีเชื้อสายจีน แตรตรวจ แตรที่ใช้เป่าเป็นสัญญาณเวลาเรียกพล

  24. คำศัพท์ เรื่องหัวใจชายหนุ่ม ต่อ เทวาดาถอดรูป มีรูปร่างหน้าตาดีเหมือนเทวาดา บ้าระหึ่ม ทะลึ่งตึงตัง มุทะเล ผู้รั้ง ผู้รักษาการ พระ บรรดาศักดิ์ของข้าราชการ สูงกว่าหลวง ต่ำกว่าเจ้าพระยา เรี่ยม สะอาดหมดจด เอี่ยมอ่อง ลงรอยเป็นท่าพระนม ยกมือขึ้นมาเพื่อสวัสดีบ่อยมาจนมือแทบจะยกอยู่ในท่านั้น ลอยนวล ตามสบาย ไม่ผู้ใดจับกุม ศิวิไลซ์ มาจากภาษาอังกฤษว่า Civilised หมายถึงเจริญมีอริยธรรม สิ้นพูด หมดคำพูดที่จะกล่าวเพราะพูดไปก็ไม่เกิดประโยชน์ใด

  25. คำศัพท์ เรื่องหัวใจชายหนุ่ม ต่อ หมอบราบคาบแก้ว ยอมตามโดยไมขัดขืน หมายว่า คาดว่า หัวนอก คนที่นิยมแบบฝรั่ง หัวเมือง ต่างจังหวัด อยู่ข้าง ค่อนข้าง อึง เสียงดัง เสียงเอะอะ ฮันนี่มูน มาจากคำภาษาอังกฤษว่า Honeymoon หมายถึงการเที่ยวของคู่แต่งงานใหม่

  26. แบบทดสอบ 1. เรื่องหัวใจชายหนุ่มเป็นพระราชนิพนธ์ของรัชกาลใด ก.  ร.๒ข.  ร.๓ค.  ร.๕ง.   ร.๖ เฉลยข้อที่ 1

  27. แบบทดสอบ 2. จดหมายฉบับแรกถูกเขียนจากที่ใด ก. ทะเลดำข. ทะเลแดง  ค. ถนนหัวลำโพงง. ถนนสี่พระยา เฉลยข้อที่ 2

  28. แบบทดสอบ 3. หญิงที่นายประพันธ์พบระหว่างการเดินทางกลับคือใคร ก. ลิลี่ข. มิส มิลเลอร์ค. แม่อุไรง. แม่กิมเน้ย เฉลยข้อที่ 3

  29. แบบทดสอบ 4. ผู้แต่งใช้นามปากกาว่าอะไร? ก. รามจิตติข. อัศวพาหุค. นายแก้ว-นายขวัญง. ศรีอยุธยา เฉลยข้อที่ 4

  30. แบบทดสอบ 5. ผู้เขียนจดหมายกลับมาจากประเทศใด? ก. อเมริกาข. อังกฤษค. ฝรั่งเศสง. ออสเตรเลีย เฉลยข้อที่ 5

  31. แบบทดสอบ 6. จงเรียงลำดับตำแหน่งของนายประพันธ์? 1) ผู้บังคับบัญชากรมม้าหลวง 2) รับราชการในกรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์ 3) ผู้ช่วยเจ้ากรมโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์ 4) รับราชการในกรมบัญชาการมหาดเล็ก ก.  3 4 2 1 ข.  3 2 1 4 ค. 2 4 3 1 ง. 2 1 3 4 เฉลยข้อที่ 6

  32. แบบทดสอบ 7. สถานที่ใดไม่ปรากฏในจดหมายของนายประพันธ์? ก. ถนนหัวลำโพง ข.ชะอำ ค. ถนนสี่พระยา ง.  พระราชวังสนามจันทร์ เฉลยข้อที่ 7

  33. แบบทดสอบ 8. คำว่า หล่อนเป็นผู้ที่มีชายตอมมานานแล้ว ในที่นี้หมายถึงแมลงอะไร? ก. แมลงหวี่ ข. แมลงวัน ค. แมลงภู่ ง. ผีเสื้อ เฉลยข้อที่ 8

  34. แบบทดสอบ 9. ข้อใดถูกต้อง? ก. บิดาของผู้เขียนจดหมายต้องการให้บุตรประกอบอาชีพค้าขาย ข. แม่อุไรท้องก่อนแต่ง ค. หลังจากแต่งงานทั้งสองอยู่กินกันอย่างมีความสุข ง. พระยาตระเวนนครมีลูกชื่อแม่สร้อย เฉลยข้อที่ 9

  35. แบบทดสอบ 10. วรรณคดีเรื่องใดที่ไม่ปรากฏในจดหมาย? ก. ขุนช้างขุนแผน ข. สามก๊ก ค. อิเหนา ง. ไชยเชษฐ์ เฉลยข้อที่ 10

  36. เฉลยแบบทดสอบ เฉลยข้อที่ 1 ตอบ ง ร.6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

  37. เฉลยแบบทดสอบ เฉลยข้อที่ 2 ตอบ ข ทะเลแดง ในเรือ โอยามะมะรู เป็นสถานที่แรกที่ นายประพันธ์ ประยูรสิริเขียนถึงนายระเสริฐ สุวัฒณ์

  38. เฉลยแบบทดสอบ เฉลยข้อที่ 3 ตอบ ข. มิส มิลเลอร์ เป็นผู้หญิงที่นายประพันธ์พบระหว่างเดินทางกลับเมืองไทย แต่เธอมีหวานใจรออยู่ที่ท่าเรือ

  39. เฉลยแบบทดสอบ เฉลยข้อที่ 4 ตอบ ก รามจิตติ ซึ่งหมายถึง ข้าพเจ้า

  40. เฉลยแบบทดสอบ เฉลยข้อที่ 5 ตอบ ข. อังกฤษ

  41. เฉลยแบบทดสอบ เฉลยข้อที่ 6 ตอบค. 2 4 3 1 รับราชการในกรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์ รับราชการในกรมบัญชาการมหาดเล็ก ผู้ช่วยเจ้ากรมโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์ ผู้บังคับบัญชากรมม้าหลวง * ต่อจากนั้นเขาได้บรรจุตำแหน่งผู้บังคับบัญชาหมวดผู้ 1 และต่อมาได้เลื่อนยศเป็นนายหมู่เอก

  42. เฉลยแบบทดสอบ เฉลยข้อที่ 7 ตอบ ข. ชะอำ

  43. เฉลยแบบทดสอบ เฉลยข้อที่ 8 ตอบ ข. แมลงวัน

  44. เฉลยแบบทดสอบ เฉลยข้อที่ 9 ตอบ ข. แม่อุไรท้องก่อนแต่ง เพราะว่า แม่สร้อยไม่ใช่ลูกแต่เป็นเมียหลังจากแม่อุไรอีกคนของพระยาตระเวนนคร

  45. เฉลยแบบทดสอบ เฉลยข้อที่ 10 ตอบ ค. อิเหนา

  46. ภาคผนวก ที่มาและได้รับอนุญาตจาก: บุญลักษณ์ เอี่ยมสำองค์ เกื้อกมล พฤกษประมูล และโสภิต พิทักษ์. ภาษาไทย วรรณคดี และวรรณกรรม ม.4 พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์. และค้นมาจากเว็บ - www. thaihandworks.com - www.ohmpps.go.th ออก

More Related