670 likes | 2.07k Vues
การประกันคุณภาพ (QUALITY ASSURANCE). มาตรฐาน ISO 9000 : 2000. กรณีศึกษา ISO 9000 : 2000 บริษัท ไทยลักซ์ เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน). บริษัท ไทย ลักซ์ เอ็น เตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) .
E N D
การประกันคุณภาพ (QUALITY ASSURANCE) มาตรฐาน ISO 9000 : 2000
กรณีศึกษา ISO 9000 : 2000 บริษัท ไทยลักซ์ เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน)
บริษัท ไทยลักซ์ เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) ตั้งอยู่ที่ : เลขที่ 62 ถ.รพช-อู่ตะเภา หมู่ที่ 2 ต. หนองชุมพล อ.เขาย้อย จ.เพชรบุรี 74160 เป็นบริษัท จดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยเป็นผู้ผลิต และจำหน่ายอาหารเลี้ยงสัตว์น้ำทั้งภายใน และต่างประเทศ การดำเนินธุรกิจของบริษัท แบ่งออกเป็น 2 ส่วนงานหลัก คือ ส่วนงานสายผลิตอาหารกุ้ง และส่วนงานสายผลิตอาหารปลา ทั้ง 2 ส่วนเป็นการดำเนินธุรกิจแบบครบวงจร โดยเริ่มตั้งแต่ การจัดหาวัตถุดิบ, การผลิต และการขาย
ผลงาน ปี 2544 บริษัท ไทยลักซ์ เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) ได้รับการรับรองระบบคุณภาพ ISO 9002 จากสถาบัน AJA/UKAS ประเทศอังกฤษ ในสายการผลิตอาหารกุ้ง ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตอาหารกุ้งรายแรกที่ได้รับการรับรองมาตรฐานนี้ ปี 2546 บริษัทยังคงมุ่งมั่นในการปรับปรุงระบบคุณภาพอย่างต่อเนื่องจนได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 9001:2000 พร้อมทั้งการรับรองระบบหลักเกณฑ์ที่ดีในการผลิตอาหารสัตว์ (GMP) และการรับรองระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม (HACCP) ปี 2547 บริษัทได้พัฒนาระบบการผลิตอาหารปลาจนได้รับการรับรองระบบคุณภาพในสายการผลิตนี้เช่นกัน ดังนั้นการรับรองระบบคุณภาพ ISO 9001:2000 จึงเปลี่ยนเป็นการรับรองระบบคุณภาพในสายการผลิตอาหารสัตว์
องค์ประกอบของระบบประกันคุณภาพ ISO 9000 : 2000 1.รายชื่อผู้จัดทำ ทบทวน เปลี่ยนแปลง และอนุมัติเอกสาร 2.วัตถุประสงค์การจัดทำคู่มือคุณภาพ 3.กระบวนการธุรกิจ ( Business Process ) 4.ระบบบริหารคุณภาพ (Quality Management System) 5.ความรับผิดชอบของฝ่ายบริหาร (Management responsibility) 6.การบริหารทรัพยากร (Resource management) 7. การทำให้ผลิตภัณฑ์เป็นจริง (PRODUCT REAIZATION) 8.การวัด การวิเคราะห์ และ การปรับปรุง (Measurement, analysis and improvement) ภาคผนวก
คณะกรรมการบริษัทฯ คณะกรรมการตรวจสอบภายใน กรรมการผู้จัดการใหญ่ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ (สายงานผลิตภัณฑ์) รองกรรมการผู้จัดการใหญ่(สายงานปฏิบัติการ) ผู้ช่วยกรรมการ ฯ (สายงานบัญชี/การเงิน) ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ ฝ่ายวิศวกรรม ฝ่ายขาย / การตลาด ฝ่ายบัญชีการเงิน ฝ่ายสินเชื่อ/บริหารหนี้ สำนักกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายตรวจสอบภายใน ฝ่ายผลิตอาหารปลา ฝ่ายวิชาการ ฝ่ายผลิตอาหารกุ้ง 1.รายชื่อผู้จัดทำ ทบทวน เปลี่ยนแปลง และอนุมัติเอกสาร
โครงสร้างกรรมการของบริษัทฯโครงสร้างกรรมการของบริษัทฯ โครงสร้างกรรมการของบริษัทฯ ประกอบด้วยคณะกรรมการ 3 ชุด คือ - คณะกรรมการบริษัทฯ - คณะกรรมการตรวจสอบ - คณะกรรมการและหากำหนดค่าตอบแทน Back
2.วัตถุประสงค์การจัดทำคู่มือคุณภาพ2.วัตถุประสงค์การจัดทำคู่มือคุณภาพ บริษัทได้จัดทำคู่มือคุณภาพ (Quality Manual) ขึ้นมาเพื่อให้ลูกค้าผู้เกี่ยวข้อง และบุคลากรในองค์กรได้รับทราบระบบคุณภาพของบริษัท ว่าได้ดำเนินการ และมีการควบคุมอย่างต่อเนื่อง โดยมีการรวบรวมขอบข่ายระบบคุณภาพตามข้อกำหนดของ ISO เกือบทั้งหมด (ยกเว้น ข้อกำหนดที่ 7.3 การออกแบบและการพัฒนาเนื่องจากลูกค้าเป็นผู้กำหนดรูปแบบเอง) ตลอดจนลำดับขั้นตอน และความสัมพันธ์ต่างๆ ที่มาจากกระบวนการปฏิบัติงานที่เทียบเคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด
ในการจัดทำการทบทวน การปรับปรุง และควบคุมคู่มือคุณภาพ บริษัทได้กำหนดเป็นแนวทางไว้ดังต่อไปนี้ • คู่มือคุณภาพ (Quality Manual) ที่จัดทำขึ้น ต้องผ่านการอนุมัติจากกรรมการผู้จัดการบริษัทผู้มีอำนาจลงนาม หรือ ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้มีอำนาจลงนามอนุมัติเท่านั้น • การแก้ไขปรับปรุง ต้องได้รับการทบทวนจากตัวแทนฝ่ายบริหารคุณภาพ (QMR : Quality Management Representative) และผู้เกี่ยวข้อง จึงเสนอให้ผู้มีอำนาจ หรือผู้รับมอบอำนาจ ลงนามอนุมัติเพื่อประกาศใช้ • ตัวแทนฝ่ายบริหารคุณภาพ (QMR) จะเป็นผู้ติดตามการบริหารงานในระบบคุณภาพขององค์กรตลอดจนให้มีการทบทวนการทำงานตามแนวทางของคู่มือคุณภาพนี้ • คู่มือคุณภาพ ได้รับการควบคุมตามข้อกำหนดในเรื่องการควบคุมเอกสารเช่นกัน Back
3.กระบวนการธุรกิจ ( Business Process )
4.ระบบบริหารคุณภาพ (Quality Management System) 4.1 รายระเอียดและขอบข่ายการจัดทำระบบบริหารคุณภาพ 4.2 เอกสารในระบบคุณภาพ 4.3 การควบคุมเอกสาร (Document Control) 4.4 การควบคุมบันทึกคุณภาพ (Quality Recording) Back
ภาพรวมผลิตภัณฑ์กระบวนการทั้งหมดภาพรวมผลิตภัณฑ์กระบวนการทั้งหมด ในการผลิตสินค้าอาหารเลี้ยงสัตว์น้ำ บริษัทได้นำเนินตามกระบวนการในระบบคุณภาพสามารถชี้บ่งถึงขวบวนการต่างๆ ได้เริ่มตั้งแต่ Back
4.2 เอกสารในระบบคุณภาพ บริษัทฯ จัดทำเอกสารในระบบคุณภาพ และจัดแบ่งระดับเอกสารไว้เป็น 4 ระดับ เอกสารระดับที่ 1 • คู่มือคุณภาพ (Quality Manual • นโยบายคุณภาพ (Quality Policy) • วัตถุประสงค์คุณภาพ (Quality Objective) เอกสารระดับที่ 2 ขั้นตอนการปฏิบัติงาน (Procedure Manual) มีทั้งหมด 6 ฉบับ (PM-DC-001,PM-DC-002, PM-DC-004, PM-DC-005, PM-DC-006) และ Flow Chart (แผนผังการไหล) เอกสารระดับที่ 3 วิธีการทำงาน (WORK INSTRUCTION) เอกสารระดับที่ 4 แบบฟอร์ม-กราฟ-บันทึกคุณภาพ รายงานการประชุมต่างๆ (Form Record) เอกสารสนับสนุน (Support Document) และเอกสารอ้างอิง Back
4.3 การควบคุมเอกสาร (Document Control) บริษัทฯ กำหนดวิธีการในการควบคุมเอกสารโดยจัดทำเป็นขั้นตอนปฏิบัติงาน เรื่องการควบคุมเอกสารและข้อมูล PM-DC-001 และวิธีการกำหนดรูปแบบเอกสาร WI-DC-002 ที่มีผลกระทบต่อระบบคุณภาพของบริษัทฯ โดยยึดหลักในการปฏิบัติดังนี้ • ก่อนการแจกจ่ายเอกสารจะต้องผ่านการพิจารณาอนุมัติตามความเหมาะสม • มีการทบทวนปรับปรุงเอกสารให้มีความทันสมัยและมีความจำเป็นอยู่เสมอและต้องมีการอนุมัติใหม่เมื่อมีกรณีแก้ไขปรับปรุง • มีการแสดงสถานะ กำหนดรูปแบบและรหัสของเอกสาร อ่านเข้าใจง่าย ชี้บ่งได้ชัดเจน • มีการแจกจ่ายเอกสารตรงตามที่จำเป็นต้องใช้งาน ณ จุดปฏิบัติงาน และมีการเรียกคืนเอกสารที่ยกเลิกหรือไม่ใช้งานแล้ว • เพื่อความมั่นใจว่าไม่น่านำเอกสารล้าสมัยไปใช้โดยไม่ตั้งใจ • กรณีเอกสารจากภายนอก บริษัทฯ มีการควบคุมการขึ้นทะเบียนการแจกจ่ายและยกยกเลิกเอกสารดังกล่าว • กำหนดรูปแบบเอกสาร บริษัทได้กำหนดรูปแบบการออกเอกสารใหม่ และเอกสารเก่าที่ใช้อยู่เดิมไว้ตาม WI-DC-001 วิธีการกำหนดรูปแบบเอกสารไว้แล้ว Back
4.4 การควบคุมบันทึกคุณภาพ (Quality Recording) โดยจัดทำเป็นขั้นตอนปฏิบัติงานเรื่องการควบคุมบันทึกคุณภาพ PM-DC-002 บันทึกต่างๆ ในแบบฟอร์ม กราฟ รายงานการประชุม ผลการตรวจสอบต่างๆ ที่ จำเป็นในการสอบกลับ แต่ละหน่วยงานต้องกำหนดรูปแบบ รหัส และวิธีการจัดเก็บรักษาไว้ในที่ปลอดภัย สะดวกในการค้นหา และนำไปใช้ในกรณีจำเป็น ในการกำหนดแบบฟอร์มต้องเข้าใจง่าย ใช้งานสะดวก ชี้ได้ชัดเจน มีการกำหนดระยะเวลาจัดเก็บ Back
5.ความรับผิดชอบของฝ่ายบริหาร (Management responsibility) 5.1 ความมุ่งมั่นของฝ่ายบริหาร (Managementcommitment) เป้าหมายการดำการในการจัดทำ ISO 9001:2000 ของ บริษัท ไทยลักซ์ เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) • พัฒนาอาหารสัตว์น้ำให้มีคุณภาพดีที่สุดเพื่อลูกค้าของบริษัทจะได้ใช้สินค้าที่ดีที่สุด • วิจัยเพื่อสร้างระบบการจัดการที่มีคุณภาพ เพื่อให้มั่นใจว่าสัตว์น้ำจะได้รับสารอาหารครบถ้วนตามความต้องการ • คิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่สำหรับสัตว์น้ำชนิดใหม่ที่จะมีแนวโน้มการเลี้ยงกันมากขึ้นในแถบเอเชีย • พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อให้อุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำยั่งยืนต่อไป
5.3 นโยบายคุณภาพ (Quality policy) นโยบายคุณภาพ ของ บริษัท ไทยลักซ์ เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน)
5.4 การวางแผน (Planing) แผนการดำเนินงานแผนงานการดำเนินงานเพื่อเข้าสู่ระบบจัดทำ ISO 9001:2000 ของ บริษัท ไทยลักซ์ เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน)
5.5 ความรับผิดชอบ อำนาจสั่งการ และการสื่อสาร (responsibility and authority) คณะกรรมการบริษัท ฯ ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ เพื่อช่วยในการกำกับดูแลกิจการของบริษัทฯ รวมทั้งมีการแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทนเพื่อช่วยในการสรรหาผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมในการดำรงตำแน่งกรรมการบริษัทฯและค่าตอบแทนที่เหมาะสมสำหรับกรรมการบริษัทฯ โดยอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบ และคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทนไปตามรายละเอียด 5.6การทบทวนของฝ่ายบริหาร (Management review) ให้ความสำคัญต่อระบบการทวนสอบภายในทั้งในระดับบริหารและระดับปฏิบัติงาน โดยมีแผนกตรวจสอบภายในทำหน้าที่ตรวจสอบเพื่อให้มั่นใจว่าการปฏิบัติงานหลักได้ดำเนินการตามแนวทางที่กำหนดและมีประสิทธิภาพและเพื่อให้หน่วยงานงานที่ทำการทวนสอบภายในมีความเป็นอิสระสามารถทำหน้าที่ตรวจสอบได้อย่างเต็มที่และลุล่วง Back
6.การบริหารทรัพยากร (Resource management) ผู้บริหารสูงสุดพิจารณาอนุมัติ จัดหาทรัพยากรที่จำเป็นให้เพียงพอต่อการดำเนินงาน และสนับสนุนให้มีการปรับปรุงประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง เพื่อดำรงรักษาไว้ซึ่งระบบคุณภาพ และเพื่อเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้า ซึ่งทางบริษัทฯพิจารณา 6.1 ทรัพยากรบุคคล (Human resources) บริษัทมีพนักงานอยู่ 3 ระดับ คือ ระดับผู้บริหาร ระดับหัวหน้างาน ระดับพนักงาน การคัดเลือกผู้ปฏิบัติงานนั้นๆ ผู้บริหารสูงสุดจะคัดเลือกบุคลากรโดยพิจารณาความสามารถที่เหมาะสมกับงาน พื้นฐานการศึกษา การฝึกอบรมทักษะประสบการณ์เพื่อตอบสนองความต้องการของหน่วยงาน 6.2 ด้านการฝึกอบรม (Training) การฝึกอบรมเพื่อให้การทำงานในระบบคุณภาพที่มีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการฝึกอบรมทั้งภายในและภายนอกสถานประกอบการ รวมทั้งจัดทำแผนฝึกอบรมเพื่อให้บุคลากรได้เพิ่มพูนความรู้ความสามารถ และการตระหนักถึงความสำคัญของการทำงานที่จะบรรลุตามนโยบายและวัตถุประสงค์ของบริษัท
6.3 การจัดสรรทรัพยากร (Provision of resources) ด้านสาธารณูปโภค บริษัทคำนึงถึงทรัพยากรด้านสาธารณูปโภค ถือเป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งในการเพิ่มคุณภาพในการทำงาน เช่น พื้นที่ทำงาน ห้องสุขา น้ำดื่ม ประปา ไฟฟ้า ตัวอย่างการจัดสรรทรัพยากรต่างๆ
6.4 สภาพแวดล้อมในการทำงาน (Work environment) บริษัทดำเนินการจัดวางเครื่องจักร และอุปกรณ์ให้เหมาะสมกับอาคาร สถานที่ โดยบริษัทได้แยกพื้นที่ทำงานของพนักงาน พื้นที่ตั้งเครื่องจักร พื้นที่วางผลิตภัณฑ์ พื้นที่ทางเดิน ไว้เป็นสัดส่วน โดยคำนึงถึงความเป็นระเบียบสะอาดและปลอดภัย ตัวอย่างการจัดสรรทรัพยากรสภาพแวดล้อมในการทำงาน Back
7. การทำให้ผลิตภัณฑ์เป็นจริง (PRODUCT REAIZATION) การดำเนินงานตามแผนธุรกิจในหัวข้อกำหนดที่ 3 เพื่อให้ลูกค้าได้รับความพึงพอใจอย่างสูงสุดของการบริการ จึงมีการสำรวจความพึงพอใจของลูกค้าโดยมีการตรวจสอบเป็นระยะๆ โดยรับการร้องเรียนและความต้องการของลูกค้าผ่านศูนย์สาขา รายละเอียด เช่น การสื่อสารกับลูกค้า • มีการรายงานความต้องการของลูกค้าผ่านทางศูนย์บริการและมีการจดบันทึกรายละเอียดถึงความต้องการของลูกค้า และมีการรายงานกลับมาที่ศูนย์ใหญ่เป็นระยะๆ • การสอบถามสัญญา หรือจัดการกับคำสั่งซื้อของลูกค้า • ฝ่ายการตลาดจะดำเนินการในเรื่องการรับข้อร้องเรียนจากลูกค้า Back
8.การวัด การวิเคราะห์ และ การปรับปรุง (Measurement, analysis and improvement)
8.การวัด การวิเคราะห์ และ การปรับปรุง (Measurement, analysis and improvement) 8.1 การวางแผน (Planning) บริษัทจะใช้ระบบ IQA ในการตรวจติดตามคุณภาพสำหรับทุก ๆ แผนกนั่นคือจะมีการแต่งตั้งทีม IQA ขึ้นเพื่อทำหน้าที่ตรวจ IQA คือ Internal Quality Audit เป็นหนึ่งในประเภทของการตรวจติดตาม เป็นการตรวจติดตามโดยบุคลากรภายในองค์กรของตนเอง และบุคลากรที่ตรวจจะต้องเป็นอิสระต่อหน่วยงานที่ถูกตรวจ มีขั้นตอนในการทำดังนี้ 1.) กำหนดวัตถุประสงค์2.) วางแผนการตรวจติดตาม3.) คัดเลือกทีมตรวจติดตาม4.) วางแผนก่อนตรวจติดตาม5.) แจ้งให้ผู้ถูกตรวจรับทราบ6.) ตรวจสอบเอกสารและเตรียมAudit checklist7.) เปิดประชุมการตรวจติดตาม8.) ทำการตรวจติดตาม9.) สรุปข้อบกพร่อง10.) ปิดประชุมการตรวจติดตาม และแจ้งข้อบกพร่อง11.) ทำรายงาน12.) ติดตามผลการแก้ไข13.) ทบทวนโดยผู้บริหาร
รูปตัวอย่างแบบฟอร์มการแจ้งรายละเอียดการตรวจติดตามคุณภาพภายในรูปตัวอย่างแบบฟอร์มการแจ้งรายละเอียดการตรวจติดตามคุณภาพภายใน
รูปตัวอย่างแผนการตรวจคุณภาพภายในรูปตัวอย่างแผนการตรวจคุณภาพภายใน
8.2 การติดตาม และ การวัด (Monitoring and measurement) แผนกที่ไม่ผ่านข้อกำหนดตามมาตรฐาน บริษัทจะมีการออกใบแจ้งดำเนินการแก้ไข (CAR) ให้กับแผนกที่ไม่ผ่านมาตรฐาน ซึ่งจะต้องมีการแก้ไขปัญหานั้น ๆ ให้อยู่ในข้อกำหนดของมาตรฐานจึงจะมีการเซนรับรองจากตัวแทนฝ่ายบริหาร
8.3 การควบคุมผลิตภัณฑ์ที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด นอกเหนือจากการตรวจวัดประจำปีในเดือนมิถุนายน บริษัทจะมีการสุ่มตรวจคุณภาพภายในซ้ำ สำหรับแผนกที่ไม่ผ่านข้อกำหนดตามมาตรฐานบ่อยครั้ง 8.4 การวิเคราะห์ข้อมูล (analysis of data) ทีมจะต้องมีการรายงานผลการตรวจติดตามคุณภาพภายในทั้งหมดเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้ฝ่ายบริหารรับทราบ
รูปตัวอย่างแบบฟอร์มรายงานผลการตรวจติดตามคุณภาพภายในรูปตัวอย่างแบบฟอร์มรายงานผลการตรวจติดตามคุณภาพภายใน
8.5 การปรับปรุง (Improvement) การปรับปรุงคุณภาพจากการตรวจวัด จะใช้มาตรฐาน ISO 9001:200 /CPI (Continual Process Improvement) และการกำหนด KPI (Key Performance Indicator: ตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงาน) ในการตรวจวัด
โครงการปรับปรุงคุณภาพโดยใช้มาตรฐาน ISO 9001:200 / CPI (Continual Process Improvement) และการกำหนด KPI (Key Performance Indicator: ตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงาน)
รูปใบรับรองมาตรฐาน ISO 9000 ของบริษัทไทยลักซ์ เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) โดยมี Moody International Certification เป็นผู้ให้การรับรอง
คณะผู้จัดทำ • นางสาวกมลวรรณ หยงสตาร์ รหัส 09490598 • นางสาวจุฑามาศ ศิรวุฒินานนท์ รหัส 09490611 • นายเจนณรงค์ โพธิจันทร์ รหัส 09490612 • นายดนัย ศิริอุดม รหัส 09490627 • นายทศพล โชติกปฏิพัทธ์ รหัส 09490630 • นายไพฑูรย์ กิจพยัคฆ์ รหัส 09490669 • นายภัทรภูมิ เก้าลิ้ม รหัส 09490671 • นายเสกสรร เกื้อหนุน รหัส 09490721 • นายอดิศร พ่วงจารี รหัส 09490725 • นายเอกลักษณ์ ศักดิ์เรืองฤทธิ์ รหัส 09490742